[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: ขม..ค่ะึึ ที่ 02 พฤศจิกายน 2553 10:37:44



หัวข้อ: ฝนดาวตก มาแล้ว!
เริ่มหัวข้อโดย: ขม..ค่ะึึ ที่ 02 พฤศจิกายน 2553 10:37:44
(http://image.dek-d.com/contentimg/nan/Hamilton01.jpg)

ฝนดาวตก มาแล้ว! 17-18พฤศจิกาฯนี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เชิญชวนคนไทยร่วมชมปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" หรือ "ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวสิงโต"
ที่หวนกลับมาให้เห็นกันอีกครั้ง 17-18 พฤศจิกายน!

ฝนดาวตก, ฝนดาวตกลีโอนิดส์, ดาวสิงโต, พายุฝนดาวตก,Meteor Stormกลาง
เดือนพฤศจิกายนของทุกปีจะเกิดปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์"
ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลกมากบ้างน้อยบ้าง
โดยปีที่มองเห็นสูงสุดต้องย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ.2541 และ 2544

ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เกิดจากเศษซากหลงเหลือของ "ดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล"

มีวงโคจรรอบ "ดวงอาทิตย์" เป็นวงรี โดยหนึ่งรอบใช้เวลา 33.2 ปี

และ ทุกๆ 33 ปี ดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็นพิเศษ เรียกว่า "พายุฝนดาวตก" (Meteor Storm)
ซึ่งการโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
และจะเข้าใกล้ครั้งต่อไปในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2556

อย่างไรก็ตาม สำหรับเดือนนี้
นักดาราศาสตร์พยากรณ์ว่า คนไทยทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ
จะมีโอกาสชม ฝนดาวตกลีโอนิดส์นับร้อยดวงแบบชัดๆ อีกครั้ง
โดยช่วงเวลาที่คาดว่าจะมองเห็นฝนดาวตกสูงสุด คือ
ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 17 ต่อเนื่องไปจนถึงรุ่งเช้า 18 พฤศจิกายนนี้
ตกราวๆ 150-160 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตก, ฝนดาวตกลีโอนิดส์, ดาวสิงโต, พายุฝนดาวตก,Meteor Storm
ขณะ ที่ "เจเรอมี่ โวเบลลอน" นักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ อเมริกา
ชี้ว่า ช่วงก่อนตีห้าเล็กน้อยตามเวลาประเทศไทย
ถ้าโชคดีชาวโลกอาจได้เห็นฝนดาวตกลีโอนิดส์ร่วมๆ 500 ดวง พุ่งสว่างวาบบนฟากฟ้า!

สำหรับสถานที่ที่เหมาะสมกับการดูฝนดาวตกลีโอนิดส์
ถ้าจะให้ดีควรเป็นจุดที่ไม่มีแสงไฟรบกวน
หรือห่างจากเมืองใหญ่ไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หันหน้าไปทางดาวเหนือ

ส่วนการถ่ายภาพควรตั้งความไวแสง ISO 400-800
ถ้าใช้กล้องสองตาควรมีหน้าเลนส์ไม่ต่ำกว่า 50 มิลลิเมตร และกำลังขยาย 7 เท่าขึ้นไป

สถิติปรากฏการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ ช่วงกลาง เดือนพฤศจิกายนของทุกปี
จะเกิดปรากฏการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonid Meteor shower) หรือ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต
ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกอยู่บริเวณตำแหน่งหัวของสิงโต
มีลักษณะเป็นริ้วสีขาวพาดผ่านท้องฟ้า และเกิดลูกไฟควบคู่กันไปด้วย
ซึ่งเกิดจากเศษซากหลงเหลือของ "ดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล"
มีวงโคจรรอบ "ดวงอาทิตย์" เป็นวงรี โดยหนึ่งรอบใช้เวลา 33.2 ปี
และทุก ๆ 33 ปี ดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็นพิเศษ เรียกว่า "พายุฝนดาวตก" (Meteor Storm)
ซึ่งการโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
และจะเข้าใกล้ครั้งต่อไปในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2556

(http://webboardnl.thde.com/picture/12583/1258356040webboardnl.jpg)