หัวข้อ: ประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา ปี ๒๕๕๗ ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร สระบุรี เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 กรกฎาคม 2557 14:27:49 .
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/17980779045157_2.JPG) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/19273705573545_1.JPG) ประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นประเพณีท้องถิ่นสำคัญที่อยู่กับวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารมาช้านาน เมื่อถึงวันเข้าพรรษา หรือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ชาวอำเภอพระพุทธบาทและพื้นที่ใกล้เคียงจะพากันไปเก็บดอกเข้าพรรษาที่ขึ้นอยู่ตามไหล่เขาโพธิลังกาหรือเขาสุวรรณบรรพต เทือกเขาวงและเขาพุในเขต มาจัดรวมกับธูปเทียนเพื่อตักบาตรถวายพระเป็นประจำทุกปี และพระสงฆ์ก็จะนำดอกเข้าพรรษาเหล่านี้ไปสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเชื่อกันว่าอานิสงส์จะส่งผลให้ผู้ทำบุญตักบาตรได้ขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ต่อมา มีประชาชนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาร่วมงานประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษาเพิ่มมากขึ้น เทศบาลเมืองพระพุทธบาทได้เห็นความสำคัญจึงให้การสนับสนุนและส่งเสริม เพื่ออนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น กระทั่งในปัจจุบันกลายเป็นประเพณีของจังหวัดและเป็นประเพณีระดับประเทศ และได้ชื่อว่า เป็นประเพณีหนึ่งเดียวในโลก โดยเดิมได้จัดงานเพียง ๑ วัน แต่เนื่องจากมีพุทธศาสนิกชนมาร่วมทำบุญตักบาตรจำนวนมาก เทศบาลเมืองพระพุทธบาทจึงได้กำหนดเพิ่มจำนวนวันตักบาตรดอกเข้าพรรษา เป็นปีละ ๓ วัน วันละ ๒ รอบ คือรอบเช้าเวลา ๐๙.๐๐ น. และรอบบ่ายเวลา ๑๕.๐๐ น. • ปฐมเหตุการตักบาตรดอกไม้ สืบเนื่องมาจากตำนานที่ว่า พระเจ้าพิมพิสาร แห่งกรุงราชคฤห์ ทรงโปรดปรานดอกมะลิมาก จึงรับสั่งให้นายมาลาการนำดอกมะลิมาถวายวันละ ๘ กำมือ ต่อมาวันหนึ่ง ขณะที่นายมาลาการกำลังเก็บดอกมะลิ ก็ได้พบเห็นพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์อีกจำนวนหนึ่งกำลังออกบิณฑบาต นายมาลาการเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า จึงนำดอกไม้ถวายแด่พระพุทธเจ้า และตั้งจิตอธิษฐานว่า ข้าวของทุกสิ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงมอบให้เพียงเพื่อยังชีพในภพนี้เท่านั้น แต่การถวายดอกไม้แด่พระพุทธองค์ ส่งอานิสงส์ถึงชาติภพหน้า ดังนั้นแม้จะถูกลงโทษประหารชีวิต เพราะไม่ได้ถวายดอกมะลิพระเจ้าพิมพิสารก็ยินยอม จากนั้น เมื่อภรรยาของนายมาลาการทราบเรื่อง เกรงจะถูกลงโทษ จึงได้หลบหนีไป แต่เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทราบเรื่องดังกล่าวกลับไม่กริ้ว ซ้ำยังพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก พระราชทานรางวัลความดีความชอบให้นายมาลาการมากมาย ทำให้นายมาลาการมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข จากตำนานดังกล่าว จึงส่งผลให้ประเพณี "ตักบาตรดอกไม้" ถูกสืบทอดปฏิบัติเรื่อยมา เนื่องจากชาวพุทธเชื่อว่า การตักบาตรดอกไม้จะได้บุญได้กุศลอันยิ่งใหญ่ และอานิสงส์ส่งไปถึงภพหน้านั่นเอง (http://www.sookjaipic.com/images_upload/23828572862678_2..JPG) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/13167896659837_10.JPG) ดอกหงส์เหิน ชาวบ้านมักจะเรียกว่า “ดอกเข้าพรรษา” เพราะจะออกดอกช่วงเทศกาลเข้าพรรษาพอดี ดอกหงส์เหิน หรือ “ดอกเข้าพรรษา” มีลักษณะคล้ายต้นกระชายหรือขมิ้น สูงประมาณ ๑-๒ คืบเศษ ดอกมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อ มีหลากหลายสี เช่น สีขาว เหลือง เหลืองแซมม่วง ลำต้นเป็นหัวใต้ดินแบบเหง้า ดอกออกเป็นช่อโค้ง ห้อยตัวอย่างอ่อนช้อยเหมือนหงส์กำลังบิน จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ หงส์เหิน การขยายพันธุ์ ทำได้ทั้งการแยกเหง้า เพาะเมล็ด แต่วิธีที่สะดวกรวดเร็วได้ผลดี คือแยกเหง้า และควรปลูกไว้ใต้ไม้ยืนต้น เพราะเป็นพืชต้องการแสงรำไร เกษตรกรใน อ.พระพุทธบาท จะรวมกลุ่มกันปลูกมากกว่า ๑ กลุ่ม กลุ่มละ ๑๐-๒๐ ราย แต่ละรายจะมีรายได้ในช่วงเทศกาลนี้กว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี รวมกันแล้วมีเงินสะพัดหลายล้านบาท ภาพส่วนหนึ่งของงานประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/42775572422477_3.JPG) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/80992981129222_4.JPG) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/22251463888419_6.JPG) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/16701729678445_7.JPG) (ผู้โพสต์มีธุระเดินทางผ่านหน้าวัดพระพุทธบาทฯ เมื่อขบวนแห่เกือบเสร็จสิ้นแล้ว จึงเก็บภาพของงานยิ่งใหญ่ครั้งนี้ได้เพียงปลายขบวน) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/65991880537735_DSC02804.JPG) "สักการะ รอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี" กดอ่านที่ตัวอักษรภาษาอังกฤษสีเทาด้านล่างค่ะ http://www.sookjai.com/index.php?topic=40293.0 (http://www.sookjai.com/index.php?topic=40293.0) |