[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 24 สิงหาคม 2557 20:22:40



หัวข้อ: ตำนานพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 สิงหาคม 2557 20:22:40
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44991498813033_1.JPG)
วัดพระแท่นศิลาอาสน์
ที่ประดิษฐาน "พระแท่นศิลาอาสน์" ปูชนียวัตถุสถานสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
อำเภอลับแล  จังหวัดอุตรดิตถ์

เมืองลับแล
เมืองลับแล (อำเภอลับแล) มีเมืองเก่าอยู่ ๒ เมือง คือ เมืองทุ่งยั้งตั้งอยู่ริน้ำยกเก่า จากการสันนิษฐานในด้านประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากร เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาติละว้าเพราะขุดพบกลองมโหระทึกและพร้าสัมฤทธิ์ได้ในบริเวณนี้ ต่อมาได้มีพวกไทยอพยพมาทางใต้ ก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเข้ามาอยู่แทน และในสมัยสุโขทัยเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองหน้าด่านชั้นนอกของเมืองสุโขทัย โดยขึ้นอยู่กับเมืองเชลียง อีกเมืองหนึ่งคือเมืองลับแล ตั้งขึ้นในสมัยอยุธยาเดิมเป็นตำบลที่ชาวเมืองเหนือหนีความเดือดร้อนอพยพมาอยู่กัน ภายหลังได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองเรียกว่าเมืองลับแล

มูลเหตุที่เรียกกันว่า เมืองลับแล เนื่องจากสภาพภูมิประเทศประกอบด้วยดงทึบ มีภูเขาและเนินดินสูงๆ ต่ำๆ สลับซับซ้อนอยู่โดยรอบ อยู่ในหุบเขายากแก่การเข้าออก ท้องที่มีลำห้วยลำธารไหลผ่านช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในการประกอบอาชีพทางเรือกสวน ไร่ นา จึงปรากฏว่าอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและผลไม้นานาชนิด โดยมากผู้ที่เข้าไปอยู่ไม่ค่อยอยากจากไปด้วยความพึงพอใจของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า ลับแล


วัดพระแท่นศิลาอาสน์
วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ  ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

พระแท่นศิลาอาสน์เป็นพุทธเจดีย์ เช่นเดียวกับพระแท่นดงรัง เป็นที่เชื่อกันมาแต่โบราณว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งห้าพระองค์ในภัทรกัปนี้ ได้เสด็จมาประทับนั่งบนพระแท่นแห่งนี้ เพื่อเจริญภาวนา และได้ประทับยับยั้งในเวลาที่ตรัสรู้แล้ว เพื่อโปรดสัตว์ ซึ่งแสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์นี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างต่อเนื่องในพระพุทธศาสนามายาวนาน ตัวพระแท่นเป็นศิลาแลง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๘ ฟุต ยาวประมาณ ๑๐ ฟุต สูง ๓ ฟุต ที่ฐานพระแท่นประดับด้วยลายกลีบบัวโดยรอบ มีพระมณฑป ศิลปะเชียงแสนครอบ อยู่ภายในพระวิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า พระแท่นศิลาอาสน์อาจมีมาก่อนแล้วช้านาน ก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เสด็จไปบูชา เพราะพระแท่นศิลาอาสน์อยู่ริมเมืองทุ่งยั้งซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งสมัยอาณาจักรเชียงแสนก่อนสุโขทัย และบางทีชื่อทุ่งยั้งนั้นเอง จะเป็นนิมิตให้เกิดมีพระแท่น เป็นที่พระพุทธเจ้าประทับยับยั้ง เมื่อเสด็จผ่านมาทางนั้น ในทางตำนานมีคติที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จยังประเทศต่างๆ ภายนอกอินเดียด้วยอิทธิฤทธิ์ฌานสมาบัติ และได้ประดิษฐานเจดีย์ หรือตรัสพยากรณ์อะไรไว้ในประเทศเหล่านั้น เป็นคติที่เกิดในลังกาทวีป และประเทศอื่นได้รับเอาไปเชื่อถือด้วย จึงเกิดมีเจดีย์วัตถุและพุทธพยาการณ์ ที่อ้างว่าพระพุทธองค์ได้ทรงประดิษฐานเจดีย์ไว้ มากบ้าง น้อยบ้างทุกประเทศ เฉพาะเมืองไทย มีปรากฏในพงศาวดารโดยลำดับมาว่า พบรอยพระพุทธบาท ณ ไหล่เขาสุวรรณบรรพต เมื่อรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม รัชกาลพระเจ้าเสือได้เสด็จไปบูชาพระพุทธฉาย ณ เขาปัถวี และพระเจ้าบรมโกศ เสด็จไปบูชาพระแท่นศิลาอาสน์

มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า นายช่างที่สร้างวิหาร วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝาง และวัดสุทัศน์ เป็นนายช่างคนเดียวกัน บานประตูเก่าของพระวิหารเป็นไม้แกะสลักฝีมือดี แกะไม้ออกมาเด่น เป็นลายซ้อนกันหลายชั้น แม่ลายเป็นก้านขด ปลายเป็นรูปภาพต่าง ๆ เป็นลายเดียวกับลายบานมุขที่วิหารพระพุทธชินราช อาจสร้างแต่ครั้งพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านนา เคียงคู่กับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยนั้น

ต่อมาพระเจ้าบรมโกศมีพระราชศรัทธา ให้ทำประตูมุขตามลายเดิมถวายแทน แล้วโปรดให้เอาบานเดิมนั้นไปใช้เป็นบานวิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ประตูวิหารเก่าบานดังกล่าวได้ถูกไฟไหม้ไปเมื่อ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๑  ไฟป่าลุกลามไหม้เข้ามาถึงวัด ไฟไหม้ครั้งนั้น เหลือกุฏิซึ่งประดิษฐานหลวงพ่อธรรมจักรอยู่เพียงหลังเดียว ต่อมาพระยาวโรดมภักดีศรีอุตรดิตถ์นคร (อั้น หงษนันท์) เจ้าเมืองอุตรดิตถ์ ได้เรี่ยไรเงินสร้างและซ่อมแซมวิหาร ภายในวิหารมีซุ้มมณฑปครอบพระแท่นศิลาอาสน์ไว้
...วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24083344100250_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22233300987217_5.JPG)

 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/21756588336494_6.JPG)

ตำนานพระแท่นศิลาอาสน์
ตำนานพระแท่นศิลาอาสน์ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์แน่ชัด
ว่าค้นพบหรือสร้างในสมัยใด ใครเป็นผู้ค้นพบหรือผู้สร้าง
เพียงแต่มีผู้ตั้งข้อสันนิษฐาน โดยเล่ากันอย่างพิสดารไว้เท่านั้น
โอกาสนี้ จึงขอเสนออีกหนึ่งตำนานความเป็นมาของพระแท่นศิลาอาสน์
จากบันทึกประกอบภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่
ติดไว้เกือบชนเพดานวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน ๑๕ ภาพ
.....คัดได้ดังนี้....



๑.  เมืองกัมโพชนคร ยังมีหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งซึ่งอยู่นอกเมืองมาก ชาวบ้านมีอาชีพทำไร่ทำนา หาของป่าและล่าสัตว์เพื่อยังชีพ ซึ่งนำของที่ได้มาขายแลกเปลี่ยนที่เมืองกัมโพชนคร  

๒. วันหนึ่ง นายพรานหนุ่มออกจากบ้านเดินทางเข้าป่าพร้อมอาวุธคู่มือเพื่อไปล่าสัตว์  นายพรานได้ลัดเลาะไปจนถึงเขาซอก รอนแรมไปค่ำไหนนอนนั่นจนกว่าจะล่าสัตว์ได้ แต่เขาก็ไม่ได้พบอะไรเลย และแล้วเขาได้ลุล่วงไปในบริเวณสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์

๓. เมื่อเวลาพลบค่ำ นายพรานจึงหาที่หลับนอน เขาได้เอาเครื่องมือล่าสัตว์วางลงบนแท่นศิลาแลง ส่วนตนเองนอนใกล้แท่นศิลาแลงแห่งนั้น ได้นิมิตฝันว่ามีอารักขเทวดาบอกว่า สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ พรานป่าไม่ควรเอาเครื่องมือล่าสัตว์วางแท่นนี้

๔. นายพรานตื่นขึ้นมาระลึกถึงนิมิตฝัน ก็มิได้คิดอะไรมาก เพราะความเคยชินที่ไม่กลัวต่อผีสางนางไม้นอนต่อไป อารักขเทวดาจึงปรากฏกายประจักษ์ให้เห็น และขับไล่ไปให้พ้นจากสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้

๕. นายพรานจึงรีบเดินทางออกจากสถานที่นั้นเพื่อกลับบ้าน และได้พบฤๅษีตนหนึ่ง เขาดีใจมาก ได้เล่าเรื่องความฝันที่รุกขเทวดามาขับไล่ตนให้ฤๅษีฟัง  ฤๅษีจึงขอให้นายพรานพาไปดูยังสถานที่ ที่ได้พบแท่นศิลาแลงแท่งนั้น

๖. ฤๅษีได้พบแท่นศิลาแลงมีลักษณะสีเลื่อมมันเกลี้ยง จึงรู้ได้ปัญญาญาณว่า สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ ได้เคยเสด็จมาบำเพ็ญเพียรบารมีครั้งยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์คือพระกกุสันโธ พระนาคะมโน พระกัสสะโป พระโคนาโม และพระเมตเตยโย

๗. ฤๅษีพร้อมด้วยนานพราน จึงเดินทางเข้าแจ้งแต่เจ้าธรรมกุมาร เจ้าเมืองกัมโพชนคร (เมืองทุ่งยั้ง) ที่ตนได้พบพระแท่นศิลาอาสน์อันศักดิ์สิทธิ์ เจ้าธรรมกุมารทรงดีพระทัยยิ่งนักใคร่จะไปนมัสการพระแท่นแห่งนั้น

๘. เจ้าธรรมกุมารพร้อมด้วยอำมาตย์ราชเสนาตามเสด็จ ออกนอกเมืองกัมโพชนครสู่บริเวณเขาซอกเพื่อทอดพระเนตรพระแทนศิลาอาสน์อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนั้น

๙. เมื่อเจ้าธรรมกุมารและอำมาตย์ราชเสนามาถึง เจ้าธรรมกุมารทรงทอดพระเนตรพระแท่นศิลาอาสน์ เห็นจริงดังฤๅษีบอกพร้อมกับทำการนมัสการ และทรงตรัสว่า “เป็นลาภอันประเสริฐแต่เมืองเราแล้ว”

๑๐. เจ้าธรรมกุมารเสด็จกลับสู่พระนครแล้ว จึงได้ให้ราชเสนานำใบบอกแจ้งแต่พระราชบิดาแห่งเมืองเชลียง เพื่อทูลขอพระราชทานสร้างมณฑปวิหารพระแท่นศิลาอาสน์แห่งเมืองกัมโพชนคร

๑๑. เจ้าธรรมกุมารให้เสนาผู้ใหญ่เชิญฤๅษีทั้ง ๕ พราหมณ์ทั้ง ๔ และอำมาตย์ท้าวพระยาทั้งหลายมาประชุมหารือ เรื่องสร้างมณฑปพระแท่น สร้างวิหารอันใหญ่อันรามครอบมณฑปพระแท่นศิลาอาสน์ในครั้งนี้

๑๒. เจ้าธรรมกุมารพร้อมด้วยฤๅษีทั้ง ๕ พราหมณ์ทั้ง ๔ ปู่ครูทั้งหลาย ยกพลเสนามาทำการก่อสร้างมณฑป และวิหารพระแท่นนานนับปีจึงแล้วเสร็จ

๑๓. เมื่อได้ฤกษ์ยามดีพร้อมแล้ว เจ้าธรรมกุมารจึงทรงทำพิธีเปิดงานนมัสการพระท่านศิลาอาสน์ (สมโภชเฉลิมฉลอง) อันโอฬารยิ่งนัก

๑๔. หมู่เหล่าอำมาตย์ราชเสนา ไพร่ฟ้าประชาชนทั้งหลาย ต่างทำการสมโภชเฉลิมฉลองไหว้พระแท่นศิลาอาสน์ มีมหรสพการแสดง ซื้อขายเปลี่ยนสินค้า ๓ วัน ๓ คืน คือ วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปีแต่นั้นสืบมา

๑๕. พระครูถาวรธรรมโกวิทเจ้าอาวาสวัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง ได้ขยายวันนมัสการเพิ่มขึ้นนับแต่ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๓ ถึงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ รวมเป็น ๑๐ วัน ๑๐ คืน และวัน ๑๕ ค่ำ เป็นวันมาฆะบูชาจัดให้มีการเวียนเทียนรอบวิหารพร้อมพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46772355379329_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65361300524738_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51350470218393_1_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39896272867917_7.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/88876269716355_8.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95809544788466_9.JPG)
พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ ประดิษฐานในวัดพระแท่นศิลาอาสน์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๔

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28166401800182_10.JPG)
พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๖ ประดิษฐานในวัดพระแท่นศิลาอาสน์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)  
ขณะทรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร
ทรงเสด็จยกช่อฟ้า วิหารพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒
(ไฟไหม้วิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๑)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81381735247042_1_2.JPG)
ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์ คือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดพระแท่นศิลาอาสน์
ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์มีไม้ดอกไม้ประดับ สวนสมุนไพร และรถพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่
ชั้นล่างจัดแสดงภาพเขียนภาพถ่ายในอดีตของวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ชุดผ้าไทยโบราณ 
ชั้นสองจัดแสดงพระพุทธรูปเก่าแก่ พระพุทธรูปที่แกะสลักจากไม้ รวมทั้งเครื่องมือใช้สอย
ในชีวิตประจำวันของชาวบ้านในชุมชน เช่น เครื่องมือจับสัตว์น้ำแบบโบราณ เครื่องถ้วยชาม หม้อ 
เครื่องจักสาน อุปกรณ์ทำมาหากิน และการละเล่นต่างๆ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/14299444895651_11.JPG)