[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => กระบวนการ NEW AGE => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มีนาคม 2553 09:41:51



หัวข้อ: กฏแห่งกระจก : กฏมหัศจรรย์ที่จะช่วยแก้ไขทุกปัญหาชีวิตของคุณ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มีนาคม 2553 09:41:51
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/656/29656/images/CoverRule-Of-Mirror.jpg)
 

กฎแห่งกระจก


มีใครได้อ่านหนังสือเรื่อง กฎแห่งกระจกหรือยังคะ  เขียนโดย โยชิโนริ โนงุจิ แปลโดย ทิพย์วรรณ ยามาโมะโตะ อ่านแล้วน้ำตาไหลเลยหล่ะ ซึ้งกินใจมากเลยค่ะ

เห็นบอกไว้ว่าเป็นเรื่องจริงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว ตัวนำเรื่องชื่อ เอโกะ เป็นแม่บ้านวัย 41กำลังมีเรื่องกลุ้มใจที่ยูตะ ลูกชายของเธอถูกเพื่อน ๆ กลั่นแกล้ง ทำให้เอโกะเจ็บปวดใจมาก และเมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น เอโกะจึงตัดสินใจโทรศัพท์ไปหาคุณยางุจิ รุ่นพี่ของสามีเพื่อขอคำปรึกษา เอโกะเปิดใจปรึกษาปัญหาลูกชายของตัวเอง เมื่อคุณยางุจิได้รับฟังแล้วจึงยกหลักจิตวิทยาที่ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ ‘ผลลัพธ์’ เมื่อมี ‘ผลลัพธ์’ ก็ต้องมี ‘สาเหตุ’ และสาเหตุนั้นก็มาจากจิตใจของคุณเอง หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตคือกระจกส่องสะท้อนจิตใจ
 



บางส่วนของเนื้อเรื่องค่ะ  


ได้ข้อมูลมาจาก
 
http://board.palungjit.com/showthread.php?t=152238 (http://board.palungjit.com/showthread.php?t=152238)
 
 



ซื้อหนังสือมา พออ่านจบก็ให้เพื่อนยืมไปอ่าน เพื่อนอ่านแล้วดีก็ให้เพื่อนอีกคนยืมต่อ ตอนนี้ผ่านไป 3 คนแล้วค่ะ ยังไม่ได้คืนเลย คนที่ 3 ก็บอกว่าขอยืมไปให้เพื่อนแถวบ้านอ่านต่อ ไม่รู้จะได้คืนมั้ย ตั้งใจจะบริจาคเข้าห้องสมุดคณะฯ เสียหน่อยจะได้มีคนอ่านเยอะ ๆ



คนที่อ่านไปแล้วเขามาเล่าให้ฟังค่ะว่าดีมาก ๆ เลย แต่ทำไมได้ คงให้อภัยไม่ได้ ก็เลยบอกเค้าไปว่าจริง ๆ แล้วก็ไม่คาดหวังว่าอ่านแล้วจะทำได้หรอกนะ ขอแค่เพียงฉุกคิดก็ดีใจมาก ๆ แล้วหล่ะค่ะ
<HR>


เอโกะผู้มีความทุกข์จากการที่ลูกชายไม่ยอมเปิดใจเป็นที่มาของที่ปรึกษาโยชิโนริ โนงุจิ “กฎแห่งกระจก”สะท้อนถึงจิตใจ ก้าวข้ามปัญหาด้วยการให้อภัย

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ‘ผลลัพธ์’ เมื่อมี ‘ผลลัพธ์’ ก็ต้องมี‘ต้นเหตุ’ และต้นเหตุก็ต้องมีที่มาจากจิตใจของเราเองหรือพูดอีกนัยก็คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตคือกระจกสะท้อนจิตใจของเราเอง การมีกระจกที่เรียกว่าชีวิตจะทำให้เรามองเห็นสภาพของตัวเอง แลเกิดแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ชีวิตของคนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
“ทุกคนต่างก็มีจุดเด่นและความสามารถเฉพาะตัว”
“เริ่มจากการกระทำภายนอกก่อนก็ได้ เดี๋ยวความรู้สึกก็ตามมาเอง”

“มีกฎที่เรียกว่า‘กฎของสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น’ เมื่อเราเริ่มเข้าใจถึงสิ่งหนึ่ง เราก็จะเริ่มเข้าใจอีกสิ่งหนึ่งตามมา ที่จริงแล้ว ทุกปัญหาในชีวิตที่เกิดขึ้นเพื่อทำให้รู้ซึ้งถึงความสำคัญบางสิ่ง หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นมาบังเอิญแต่เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นต่างหาก นั่นหมายความว่า ปัญหาที่เราแก้ไขด้วยตนเองไม่ได้จะไม่มีวันเกิดขึ้น เราแก้ไขได้ทุกปัญหาและถ้าพยายามอย่างเอาใจใส่ มองโลกในแง่ดี เราก็จะนึกขอบคุณในภายหลังว่า ดีแล้วที่เกิดปัญหานั้นขึ้น เพราะนั่นทำให้ฉัน…’”
“ปัญหาในชีวิตที่เกิดขึ้นเพื่อให้เรารู้ซึ้งถึงสิ่งสำคัญ”

ชีวิตคือกระจกส่องสะท้อนจิตใจ “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตคือกระจกส่องสะท้อนจิตใจของเราเอง” และนี่ก็คือ“กฎแห่งกระจก” ถ้าจิตใจของเรามีแต่ความทุกข์ เงาในกระจกที่สะท้อนออกมาก็คือเหตูการณ์ไม่ดีต่างๆนานาที่ทำให้เป็นทุกข์ ในทางกลับกัน ถ้าจิตใจของเราเปี่ยมไปด้วยความสำนึกรู้คุณเหตุการณ์ดีๆที่จะทำให้เรารู้สึกสำนึกรู้คุณก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“ชีวิตคือกระจกส่องสะท้อนจิตใจของเราเอง”หมายความว่า“เหตุการณ์ในปัจจุบันจะเกิดขึ้นตามคลื่นความถี่ของหัวใจ”พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ“สาเหตที่เกิดขึ้นในจิตใจจะกลายเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง” เป็นกฎง่ายๆที่เมื่อเข้าใจแล้ว เราจะรู้วิธีควบคุมชีวิตของตัวเอง เราเห็นจิตใจของตนเองได้ด้วยการมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

การแก้ปัญหาชีวิตตั้งแต่รากฐานนั้นจำเป็นต้องแก้ที่ต้นเหตุในจิตใจตัวเอง จะหวังพึ่งคนอื่นหรือรอให้สถานการณ์เปลี่ยนไปโดยที่ไม่เปลี่ยนแปลงจิตใจตัวเองเลยนั้นอะไรๆก็คงไม่เป็นไปอย่างที่คิด
ขอให้ตระหนักให้ดีว่า ต้องทำปัจจุบันให้ดีที่สุด แล้วค่อยๆเปลี่ยนแปลงจิตใจไปพร้อมๆกับ
ความสบายใจจากการให้อภัย

คำว่า “ให้อภัยไม่ได้” คือสภาพจิตใจที่ติดอยู่กับอดีต และนึกเกลียดใครบางคนอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่เราเกลียดคนอื่นและ “ไม่ให้อภัย” เราจะรู้สึกไม่สบายใจ

ทุกคนมีสิทธิ์ “ให้อภัย” หรือ “ไม่ให้อภัย”การให้อภัยนั้นไม่ได้หมายถึการยอมรับการกระทำของคนอื่นไม่ได้หมายถึงการมองข้ามความผิดของเขา และไม่ได้หมายความว่าเราต้องอดทนทั้งที่คิดว่าเขาผิด

การให้อภัยหมายถึงการปล่อยวางจากการยึดติดอยู่กับอดีตเลิกโทษว่าเป็นความผิดของใคร และเลือกที่จะมีแต่ความสบายใจ การให้อภัยไม่ได้เป็นการทำเพื่อคนอื่น แต่เพื่อตัวคุณเองต่างหาก

ก่อนคุณต้องให้อภัยตัวเอง ในสาขาจิตวิทยาเราเรียกสิ่งนี้ว่าการยอมรับตัวเอง ยอมรับว่าคุณกำลังเจ็บช้ำแล้วให้อภัยตัวเองที่ให้คนอื่นไม่ได้ เมื่อคิดได้เช่นนั้นแล้ว ขอให้คุณมองสิ่งที่เรียกว่าBelief ของตัวเอง Belief คือสิ่งที่คุณเชื่อมั่นโดยไม่มีข้อสงสัย

ตัวอย่างของ Belief ที่ทำให้เราอภัยให้ผู้อื่นได้ยาก ได้แก่
- การให้อภัยทำให้เราเสียประโยชน์
- การที่เรารู้สึกแย่ก็เพราะเขาแท้ๆ เราไม่ผิดร้อยเปอร์เซ็นต์
- การเนผู้เสียหายย่อมสบายกว่าการยอมรับว่าเป็นคนผิด
- เขาต้องได้รับโทษอย่างสาสม
- แค้นนี้ต้องชำระ
- เราให้อภัยไม่ได้ เราต้องปกป้องตัวเอง
แต่ขอให้ลองคิดดูให้ดีว่า Belief เหล่านี้ทำให้คุณมีความสุขหรือไม่



8 ขั้นตอนสู่การให้อภัย

[ขั้นตอนที่ 1] เขียนรายชื่อ “คนที่ให้อภัยไม่ได้”ลงในกระดาษ เลือกคนที่คุณคิดว่าเหมาะจะลองใช้ “ 8 ขั้นตอนสู่การให้อภัย” ดู

[ขั้นตอนที่2] ระบายความรู้สึกของตัวเองเขียนระบายความรู้สึกที่มีต่อคนคนนั้นควรเขียนความรู้สึกในใจแทนที่จะเขียนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถ้ารู้สึกโกรธจะเขียนคำว่า
“ คนบ้า” “ทุเรศ” หรือคำอื่นก็ได้และถ้ารู้สึกเป็นทุกข์เศร้าเสียใจก็ขอให้เขียนลงไปด้วยเขียนระบายความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา เมื่อเขียนอย่างหมดไส้หมดพุงแล้ว ขอให้ฉีกกระดาษเป็นชิ้นๆแล้วทิ้งลงถังขยะไป

[ขั้นตอนที่3] จินตนาการสาเหตุของการกระทำ

1.เขียนการกระทำของคนคนนั้นที่ทำให้คุณ “ให้อภัยไม่ได้”
2.ลองจินตนาการสาเหตุที่ทำให้เขาต้องทำเช่นนั้น แรงจูงใจที่ทำให้คนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยจำแนกออกเป็นสองสาเหตุใหญ่ๆคือ อยากมีความสุข และ อยากเลี่ยงความทุกข์ ลองจินตนาการว่าเขาอยากได้ความสุขแบบใดหรืออยากเลี่ยงความทุกข์แบบไหนถึงได้ทำเช่นนั้น
3.ขอให้เข้าใจว่าสิ่งนั้นคือการกระทำที่เกิดขึ้นจากความด้อยประสบการณ์ ความไม่รู้หรือความอ่อนแอ เราทุกคนมักทำผิดพลาดอยู่บ่อยๆ เช่น ทำบางอย่างเพื่อให้มีความสุข แต่กลับกลายเป็นความทุกข์ การกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงความทุกข์กลับกลายเป็นเพิ่มความทุกข์ เข้าไปอีก
4.ขอให้พิจารณาการกระทำของคนคนนั้นพูดออกมาว่า “ คุณก็คงอยากมีความสุขคุณก็คงอยากหนีให้พ้นจากความทุกข์เหมือนกันกับฉัน”

[ขั้นตอนที่4]เขียนสิ่งที่ควรขอบคุณ เขียนสิ่งที่ควรขอบคุณคนคนนั้นออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆก็ขอให้เขียนลงไป แม้ต้องใช้เวลาสักหน่อย เขียนให้มากเข้าไว้

[ขั้นตอนที่5]ขอพลังจากการพูด
1 .ปฏิญาณว่า “ฉันจะให้อภัยคุณเพื่อความเป็นอิสระความสบายใจ และความสุขของตัวเอง”
2.กล่าวคำขอบคุณซ้ำๆว่า“คุณ (ชื่อ) ขอบคุณครับ/ค่ะ” ไม่จำเป็นต้องรู้สึกจากใจจริง แม้ในจิตใจจะยังรู้สึกไม่ให้อภัย แต่ก็ขอให้เริ่มจากคำพูด ( การกระทำภายนอก) ก่อน ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ 10 นาทีเป็นอย่างน้อย เราจพูดได้ประมาณ 400-500 ครั้ง และหากเป็นไปได้ ขอให้พูดต่อเนื่องนาน 30 นาที เพื่อจะได้รู้สึกอยากพูดขอบคุรคนคนนั้นจากความรู้สึกที่แท้จริงแล้วจึงค่อยพูดกับเจ้าตัว

[ขั้นตอนที่6]เขียนสิ่งที่อยากขอโทษ เขียนสิ่งที่อยากขอโทษคนคนนั้นให้มากที่สุด


[ขั้นตอนที่7] เขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการรู้จักคนคนนั้น คุณอาจได้เรียนรู้หรือรับรู้สิ่งใหม่ๆจากการคิดเรื่องที่ว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรกับเขา ควรทำตัวอย่างไรจึงจะทำให้ทั้งคุณและเขามีความสุข

[ขั้นตอนที่8]ประกาศว่าฉันให้อภัยแล้ว

หากทำครบทั้ง 8 ขั้นตอนแล้ว แต่ยังรู้สึก “ให้อภัยไม่ได้” ก็ไม่เป็นไรให้ทำตามขั้นตอนที่ 2 ถึง ขั้นตอนที่ 5 เป็นประจำ พร้อมนึกถึงหน้าของคนคนนั้น แล้วพูดซ้ำไปซ้ำมาว่า (ชื่อคนๆนั้น) ขอบคุณครับ/ค่ะ ทำอย่างน้อยวันละ 5 นาที แล้ววันหนึ่งความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น

 
http://www.oknation.net/blog/concentration/2008/10/16/entry-1 (http://www.oknation.net/blog/concentration/2008/10/16/entry-1)