หัวข้อ: บรมธรรม โดยพระธรรมโกศาจารย์ 0.1 เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 23 มีนาคม 2553 10:45:31 (http://i46.photobucket.com/albums/f112/thavee/PC09000-4.jpg) http://www.fungdham.com/download/song/allhits/24.wma ความหมาย บรม คือ สูงสุด ที่สุด ไม่มีอะไรยิ่งกว่าธรรม คือสิ่งสภาวะหรือธรรมชาติ หมาย ถึงโลกุตตรธรรม หรือ ปรมัตถธรรม(สิ่งที่มีความหมายลึกซึ้ง) นิยาม สิ่งสูงสุด Summum bonum เป็นยอดสุดของทุกสิ่ง (แต่ไ่ม่ใ่ช่ยอดสุดอยู่ผู้เดียว ต้องมาเกี่ยวข้องกับมนุษย์ เป็นพื้นฐานของสิ่งทั่วไปทำให้ชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้) เป็นสิ่งที่มนุษย์ควรได้รับในชาตินี้ เป็นคำตอบของคำถามทุกสิ่งที่มนุษย์ปรารถนาอย่างสูงสุด เช่นนิพพาน พระเจ้า(สวรรค์) ปรมัตถมัน ไกวัลย์ความสุข ใช้กับสิ่งที่เป็นฝ่ายมโนนิยม(spiritualism) เท่านั้น เพราะมีแต่ฝ่า่ยจิตหรือฝ่า่ยวิญญาณจึงสิ้นสุด ฝ่ายวัตถุนั้นไมมี่ที่สิ้นสุด มีแตจ่ ะกระตุ้นให้อยากให้หิว ยิ่ง ๆ ขึ้นไปไมมี่จุดจบ บรมธรรมของฝ่ายวัตถุคือสวรรค์ เสพสุขทางวัตถุที่ละเอียดประณีต(สวรรค์ไม่ใช่สิ่งสูงสุด) ...................................สิ่งที่เป็นบรมธรรม.............................. .............................บรมธรรมตามหลักจริยธรรมสากล................................ ๑.๑ ความสุข Happiness สะอาด สว่าง สงบ คือสุขที่แท้ แตหายากในหมู่มนุษย์ยิ่งขึ้นทุกที สุขที่ยิ่งกวา่ สุขทางเนื้อหนัง มิใช่ความสนุกสนานเอร็ดอร่อย เนื้อหนัง คือ ตะกละกามารมณ์อย่างไมลื่มหูลืมตา เป็น plesure มากกวา่ happiness ความสุขทางเนื้อหนัง หรือการกินดีอยู่ดี มิใช่ความสุขในพุทธศาสนา เพราะเต็มไปดว้ยความหิวทาง วิญญาณ................. หิวทางวิญญาณคือ ยิ่งกินยิ่งเสพยิ่งหิว สุขที่แท้ตอ้งหยุดความหิวทางวิญญาณได้ เมื่อหยุดความหิวทางวิญญาณได้ คือความสุข ๑.๒ ความเต็ม perfectness หรือความสมบูรณ์แห่ง ความเป็นมนุษย์ เป็นผู้มีหรือใดใ้นสิ่งที่ควรได้ ไม่หิว ไม่ทะเยอทะยานด้วย ความหิวทางวิญญาณอีกต่อไป ตอ้งเป็นความเต็มทางวิญญาน ไม่ใช่ความเต็มทางวัตถุแม้ว่าในความเต็มนั้นจะมีวัตถุรวมอยู่ดว้ย วัตถุนิยมนั้นไม่เต็ม เพราะเอากิเลสเป็นมาตรฐานมีแต่เรื่องทางจิตใจที่สามารถเต็ม จิตที่อบรมดีแล้วจะถึงความอิ่มความเต็มไม่กลับมาหิวอีก และสามารถเข้าถึงความอิ่มตลอดกาล จิตของมนุษย์ยุคนี้ ไม่เต็ม มีความพร่องความหิวมากมาย เมื่อรู้ว่ายังไม่เ่ต็มก็ตอ้งไม่ประมาท เหมือนพุทธภาษิตที่เป็นพินัยกรรมก่อนปรินพพานว่า เธอทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิดไม่ประมาทคือสมบูรณ์อยู่ด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญา ขยันขันแข็ง เพื่อให้ถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง............. หัวข้อ: Re: บรมธรรม เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 23 มีนาคม 2553 11:00:40 (http://i46.photobucket.com/albums/f112/thavee/PC09000-4.jpg) ๑.๓ หน้าที่บริสุทธ์ิ Duty for duty’s sake ทำงานเพื่องาน หรือหน้า้ที่เพื่อหน้าที่ มิใช่เพื่อเงินหรือเพื่อตัวกูของกู หน้าที่บริสุทธิ์คือ จิตไม่หมายมั่นว่า เป็นตัวกูของกูเพราะทุกสิ่งเป็นของธรรมชาติ การหมายมั่นเป็น การปล้นธรรมชาติ สังคมเต็มไปด้วยปัญหาเพราะทำงานเพื่อเงินเพื่อรวย ทำงานเพื่อเงินเพราะไม่เ่ข้า้ใจหน้า้ที่บริสุทธิ์ซึ่งจะให้ผลบริสุทธ์ิกว่าเงิน สังคมก็จะสงบสุขกว่า่ ทำหน้าที่เพื่อหน้า้ที่แล้วไม่ต้องกลัวอด เพราะเมื่อทำงานผลของงานก็ย่อมเกิดให้ไ้ด้กินได้ใ้ช้โ้ดยไม่ ต้องหวังพระอรหันต์ทำหนักงานมากเพื่อช่วยยเหลือสัตว์โลกโดยไม่หวังอะไรตอบแทนงานของท่านจึงบริสุทธิ์ ประเสริฐ สะอาดและมีคุณค่า ๑.๔ ความรักสากล Universal love รักผู้อื่นเห็นแก่ผู่้อื่นยิ่งกว่า่เห็นแก่ตัว หรือพวกพ้องของตัว ตัวเราเป็นหนึ่งในหลายล้านชีวิต ถ้ามีความรักในหลายชีวิตนั้นความรักจะยิ่งใหญกว่ารักตัวเอง ความรักที่ไมมี่ที่สุดไมมี่ประมาณทั้งเทวดาและมนุษย์ จนลืมตัวเอง ไม่มีตัวเองเหลืออยู่ในที่สุด(ละตัวตนได้) หัวข้อ: Re: บรมธรรม โดยพระธรรมโกศาจารย์ 0.1 เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 23 มีนาคม 2553 11:09:03 (http://i46.photobucket.com/albums/f112/thavee/PC09000-4.jpg) .............................ความสัมพันธ์ของบรมธรรมตามหลักจริยธรรม................................... จริยธรรมทั้งสี่นี้ ไม่อาจแยกจากกันได้ คนที่รักตัวหรือเห็นแก่ตัวย่อมไมอาจทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ได้ เมื่อไม่อาจทำหน้าที่เพื่อหน้า้ที่ก็ย่อมไม่อาจเป็นมนุษย์สมบูรณ์ได้เป็นผู้พร่องผู้หิวอยู่เป็นนิตย์เป็นทาสของความ อยากเมื่อเป็น ผู้ถูกความหิวหรือความอยากเผาลนอยู่ไมมี่ที่สิ้นสุดย่อมไมอาจอยู่อย่างเป็นสุข ผู้ที่สามารถทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ ก็มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ มีความสุข และมีความรักในสรรพสิ่ง นี่คือ บรมธรรมตามหลักจริยธรรมสากล ................................บรมธรรมตามหลักศาสนา................................... ศาสนาเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่ม ความลุ่มลึกนั้นเป็นไปเท่า่ที่แต่ละบุคคลจะเขา้ถึงได้ไม่เกี่ยวกับสังคม โดยตรงจริยธรรมตามหลักของศาสนาที่มีพระเจ้า้ก็มีแผ่านดินของพระเจ้าเป็นสิ่งที่สูงสุดที่ทุกคนปรารถนา มีปรมาตมัน คือ อัตตาหรือตัวตนที่ยิ่งใหญที่่ถาวรศาสนาที่ไม่มีพระเจ้า พุทธ มีนิพพาน คือ ความเย็นเพราะความดับสนิทแห่งไฟคือ กิเลสมี ไกวัลย์ คือ เป็นอนันตกาล เป็นทั้งหมดเหลาจื้อมี เต๋า๋ คือสิ่งที่มีอยูก่อนสิ่งทั้งปวงสิ่งที่ไร้ชื่อไร้นาม(ธรรมธาตุ) หัวข้อ: Re: บรมธรรม โดยพระธรรมโกศาจารย์ 0.1 เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 23 มีนาคม 2553 11:18:55 (http://i46.photobucket.com/albums/f112/thavee/PC09000-4.jpg) ...........................บรมธรรมเพื่ออะไร?.............................. ๑. เพื่อตอบคำถามว่า เกิดมาทำไม ? ๒. เพื่อให้มนุษย์ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับในชาตินี้ ๓. เพื่อให้ปัจเจกบุคคลมีสันติสุขทันตาเห็น โดยไม่ต้องพึ่งวัตถุ หรือตกเป็นทาสของวัตถุ ๔. เพื่อเป็นรากฐานของศีลธรรม คือ ความปรติสงบสุขของสังคม ศีลธรรมที่ไมมี่บรมธรรมเป็นรากฐานนั้น เป็นศีลธรรมที่บีบคั้น ๕. เพื่อแก้ปัญหาของสังคมทุกปัญหาอย่า่งถึงรากของปัญหา เช่น สงคราม เศรษฐกิจ การเมือง ความ อดอยากฯลฯ ..........................บรมธรรมโดยวิธีใด........................... ๑. ระดับสังคม มีระบบสังคม การเมือง การปกครองที่เอื้อต่อ บรมธรรม ไม่ใช่ระบบที่มุ่งเน้นแต่เ่รื่องทางวัตถุเหมือน บรรพบุรุษพยายามปกป้องชาติ เพราะชาติมีสิ่งที่ประเสริฐคือศาสนา อันมีสิ่งสูงค่าคือบรมธรรม เชิดชูมีบรมธรรมว่าเป็นบุคคลที่สูงสุด มีระบบเศรษฐกิจที่ถูกต้องคือมีการแบ่งหน้าที่กันทำตามความสามารถตามสติปัญญาเพื่อทำสิ่งที่ มีค่าน้อยให้มีค่ามากมีระบบการศึกษาที่ถูกต้อง คือสอนให้รู้จักว่า บรมธรรมคืออะไร ชีวิตคืออะไร อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิตเป็นการจัดสภาวะแวดล้อมรอบตัวเด็กให้เต็มไปด้วยวัฒนธรรมทางวิญญาณ ๒. ระดับปัจเจก เป็นผู้ขนขวายศึกษาจนรู้ว่าเกิดมาทำไม? เป็นผู้มีบรมธรรมเป็นสรณคม หรือเป็นที่พึ่ง เป็นผู้รู้จักทาง(อริยมรรค) รู้จักวิธีฝึกจิต ยกระดับจิตให้มีศักยภาพ เป็นผู้ไม่ทอดทิ้งธุระจริงจังในการเดินทาง มีชีวิตเพื่อบรมธรรม มอบทุกสิ่งให้บรมธรรมแม้แต่ลมหายใจ ...........................................จบ"บรมธรรม"....................................... หัวข้อ: Re: บรมธรรม โดยพระธรรมโกศาจารย์ 0.1 เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 23 มีนาคม 2553 11:20:32 (http://thephotoeclectic.com/thephotoeclectic/Buddha_Nature_1_files/Buddha%20Cactus.jpg) (:88:) (:88:) (:88:) |