[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => เอกสารธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 05 พฤศจิกายน 2558 16:07:58



หัวข้อ: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 05 พฤศจิกายน 2558 16:07:58
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72947427713208__3626_3617_3648_3604_3655_3592.gif)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

บทพระนิพนธ์
พระคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

               ---------- * ----------

ในบรรดาความไม่ประมาททั้งหลาย  ความไม่ประมาทในความคิดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เป็นต้นสายของความไม่ประมาททั้งปวง

ความคิดเป็นเรื่องของใจ และใจนั้นท่านก็แสดงไว้แจ้งชัดว่าเป็นใหญ่ เป็นประธานทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ การพูด การดู การฟัง การทำ
เป็นไปตามที่ใจคิดทั้งนั้น ความคิดให้เกิดความเห็นชอบ คือความคิดด้วยอาศัยเหตุผล อาศัยปัญญาให้ตรงให้ถูกต้องตามความจริง
ความจริงเป็นอย่างไรต้องอาศัยปัญญา ต้องไม่ประมาทปัญญา คิดให้เห็นตามความจริงนั้้น ไม่คิดให้เห็นผิดจากความเป็นจริง.
              ---------- * ----------


ทางที่ถูกควรจะเอาชนะอุปสรรคในทางที่ชอบ และพยายามส่งเสริมความดีของตน คิดให้เห็นว่า เราทำความดี
ก็เพื่อความดี มิใช่เพื่อให้ใครชม ใครจะชมหรือติ เราก็ยังไม่ควรรับหรือปฏิเสธ ควรนำมาคิดสอบสวนตัวเราเองดู เพื่อแก้ไขตัวเราเอง
ให้ดีขึ้น แต่ไม่รับมาเป็นเครื่องหลอกตัวเองว่าวิเศษเพราะเขาชม หรือเลวทรามเพราะเขาติ เขาจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา เราจะดีหรือไม่ดี
อยู่ที่การกระทำของเราเอง.
              ---------- * ----------
               (http://www.sookjaipic.com/images_upload/31573522049519__3610_1.gif)


การคบหาสมาคมกันระหว่างบุคคลนั้น ท่านสอนให้เลือกคบ คือให้คบแต่บัณฑิตอันหมายถึงคนดี ไม่ให้คบคนพาล
อันหมายถึงคนไม่ดี เพราะเมื่อคบกันก็หมายถึงว่าจะต้องมีวิสาสะ คือความคุ้นเคยไว้วางใจกัน ถ้าไปไว้วางใจในคนไม่ดีก็จะเกิดอันตราย
จึงได้ตรัสเตือนไว้ว่าภัยเกิดจากวิสาสะ ไม่ต้องกล่าวถึงบุคคลอื่น แม้ตนเองจะไว้ใจตนเองเสมอไปได้หรือถ้ายังมีกิเลส คือ โลภ โกรธ
หลง อยู่ จะไว้ใจที่มีกิเลสดังกล่าวนี้หาได้ไม่ ฉะนั้น เมื่อไม่ควรจะไว้ใจตนเองได้เสมอไปแล้ว จะไว้ใจผู้อื่นโดยไม่เลือกไม่พิจารณาได้อย่างไร
              ---------- * ----------


พื้นแผ่นดิน แม่น้ำ ภูเขา ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ คนเรามีปัญญาถมให้เป็นถนน ขุดให้เป็นแม่น้ำลำคลอง ทำสะพาน
ข้ามแม่น้ำใหญ่ สร้างทำนบกั้นน้ำ ขุดอุโมงค์ทะเลภูเขา เรียกว่าใช้กรรมปัจจุบันปรับปรุงธรรมชาติ ฉันใด  ความขรุขระของชีวิตเพราะกรรมเก่า
ก็ฉันนั้น เหมือนความขรุขระของแผ่นดินตามธรรมชาติ คนเราสามารถประกอบกรรมปัจจุบัน ปรับปรุงสกัดกั้นกรรมเก่า เหมือนอย่างสร้างทำนบ
กั้นน้ำ เป็นต้น เพราะคนเรามีปัญญา.
              ---------- * ----------
               (http://www.sookjaipic.com/images_upload/51636450241009_db.gif)


ถ้าเป็นเรื่องจริง เมื่อถึงเวลาที่ควรติก็ต้องติ เมื่อถึงเวลาที่ควรชมก็ต้องชม แต่ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง ก็ไม่ควรพูดแท้
และแม้เป็นเรื่องจริง หากไม่ถึงเวลาที่ควรติหรือชม ก็อย่าไปติหรือชม นิ่งเสียดีกว่า ฉะนั้น ความมีกาลัญญุตา ในที่นั้นๆ
จึงเป็นหลักสำคัญ คือ เวลาที่ควรนิ่งก็นิ่ง เวลาที่ควรพูดก็พูด หรือเวลาที่ควรอุเบกขาก็วางอุเบกขา เวลาที่ไม่ควรอุเบกขาก็พูดออกไป
สุดแต่ว่าเวลาไหนจะควรติหรือชม.
              ---------- * ----------


ทางพระพุทธศาสนาสอนให้ทุกๆ คนพิจารณาให้ทราบหลักกรรมเนืองๆ เพื่อเป็นผู้ไม่ประมาท พยายามละกรรมชั่ว ประกอบแต่กรรมดี
เพราะทุกๆ คนสามารถละกรรมชั่ว ประกอบแต่กรรมที่ดีได้ การที่ยังปฏิบัติดังกล่าวไม่ได้ ก็เพราะยังประมาท มิได้พิจารณาให้รู้ตระหนักในหลักรรม
และไม่เชื่อกรรม ไม่เชื่อผลของกรรม ไม่เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน  ต่อเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท และมีศรัทธาความเชื่อดังกล่าว จึงละกรรมชั่ว
ทำกรรมดีได้ตามสมควร.
              ---------- * ----------
               (http://www.sookjaipic.com/images_upload/93340822392039_fv.gif)


มงคล คือเหตุให้ถึงความเจริญนั้น มี ๒ อย่าง คือ มงคลภายนอกอย่างหนึ่ง มงคลภายในอย่างหนึ่ง มงคลภายนอกนั้น
ได้แก่ สิ่งที่ตามองเห็น เรื่องที่หูได้ยิน และสิ่งต่างๆ ที่ประสบทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ตลอดจนถึงที่ปรากฏแก่ใจ ซึ่งสมมติกันถือกันว่าเป็นมงคล
คือเหตุที่ให้ถึงความเจริญ ส่วนมงคลภายในนั้น ทางพระพุทธศาสนามุ่งถึงความประพฤติดี ประพฤติชอบของตนเอง ที่เป็นส่วนเหตุอันจะให้เกิดผล
คือความสุขความเจริญ.
              ---------- * ----------


พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจในกรรม ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม เป็นทาสของกรรม หรืออยู่ใต้อำนาจกรรม
แต่สอนให้รู้จักกรรม ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน  คนมีอำนาจเหนือกรรม อาจควบคุมกรรมของตนได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า
จะต้องควบคุมจิตเจตนาของตนได้ด้วย โดยตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม เช่น เมตตา สติ ปัญญาเป็นต้น อันเป็นส่วนจิตและศีลอันหมายถึง
ตั้งเจตนาเว้นการที่ควรเว้น ทำการที่ควรทำอยู่ในขอบเขตอันควร
              ---------- * ----------


อำนาจของกรรมยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ไม่มีอำนาจใดทำลายล้างได้ แม้อำนาจของกรรมดีก็ไม่อาจ
ทำลายอำนาจของกรรมชั่วและอำนาจของกรรมชั่วก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมดี อย่างมากที่สุดที่มีอยู่ คืออำนาจของกรรมดี
แม้ให้มาก ให้สม่ำเสมอในภพภูมินี้ ก็อาจจะทำให้อำนาจของกรรมชั่วที่ได้ทำมาแล้วตามมาถึงได้ยากดังมีเครื่องขวางกั้นไว้ หรือไม่
เช่นนั้น ก็ดังที่ท่านเปรียบว่าเหมือนวิ่งหนีผู้ร้ายที่วิ่งไล่ตามมา ถ้ามีกำลังแข็งแรง วิ่งเร็วกว่าผู้ร้าย ก็ย่อมยากที่ผู้ร้ายจะไล่ทัน
ความแข็งแรงของผู้วิ่งหนีกรรมชั่ว ก็หาใช่อะไรอื่น คือความความเข้มแข็งสม่ำเสมอของการทำกรรมดีนั่นเอง
              ---------- * ----------
               (http://www.sookjaipic.com/images_upload/76250617288880_a1.gif)


ในชีวิตมนุษย์... ความเจริญรุ่งเรือง ร่มเย็นเป็นสุขก็ตาม ความตกต่ำทุกข์ร้อนก็ตาม ย่อมเกิดจากกรรม
ย่อมมีกรรมเป็นเหตุให้เกิดอย่างแน่นอนเสมอไป ผลดีทั้งปวง ย่อมเกิดจากกรรมดี มีกรรมดีเป็นเหตุ ผลไม่ดีทั้งปวง ย่อมเกิด
จากกรรมไม่ดี มีกรรมไม่ดีเป็นเหตุกรรมของผู้ใด ผลย่อมเป็นของผู้นั้น ผลจักไม่เป็นของผู้อื่น ผู้ใดทำกรรมดี ผู้นั้นย่อมจัก
ได้รับผลดี เป็นความเจริญรุ่งเรืองร่มเย็นเป็นสุข ผู้ใดทำกรรมไม่ดี ผู้นั้นย่อมได้รับผลไม่ดีเป็นความตกต่ำและเป็นความทุกข์ร้อน.

              
---------- * ----------
               (http://www.sookjaipic.com/images_upload/48764018673035__3604_3629_3585_3652_3617_3657.gif)


ทั้งคนและสัตว์ ต่างถูกอำนาจกรรมทำให้เป็นไป คนก็ตาม สัตว์ก็ตาม เกิดด้วยอำนาจของกรรม
กรรมนำให้เป็นคน และกรรมนำให้เป็นสัตว์ เชื่อไว้ก่อนย่อมมีโอกาสที่จะพ้นจากความเป็นสัตว์ เพราะเมื่อเชื่อว่ากรรม
มีอำนาจถึงเพียงนั้น ก็ย่อมขวนขวายทำกรรมที่จะไม่นำให้ต้องไปเป็นสัตว์ ไม่มีใครที่ไม่กลัวความเป็นสัตว์ และมีโอกาส
ที่จะได้เกิดเป็นสัตว์แน่ในภพภูมิข้างหน้า แม้บังเอิญไปทำกรรมที่จะทำให้เกิดผลเช่นนั้นโดยจะรู้หรือไม่รู้ เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม
พลาดพลั้งไปทำกรรมผิดเข้า ก็จะไม่อาจปฏิเสธผลของกรรมได้เลย .
              ---------- * ----------


การที่จะให้ใครช่วยเหลือทำอะไร ต้องเลือกคนที่มีปัญญา ที่รู้จักผิดถูก ควรไม่ควร มิใช่ว่าถ้าเขามุ่งดี
ปรารถนาดีแล้ว เป็นมอบการงานให้ทำเรื่อยไป เพราะถ้าเป็นคนขาดปัญญา แม้จะทำด้วยความตั้งใจช่วยจริงแต่ก็อาจจะทำการ
ที่เป็นโทษ แม้อย่างอุกฤษฎ์ก็ได้ คนเรานั้น นอกจากจะมีปัญญาแล้ว ยังต้องมีความคิดอีกด้วย จึงจะเอาตัวรอดได้จากอันตรายต่างๆ
ในโลก วิสัยของบัณฑิตคือคนที่ฉลาดนั้นย่อมไม่ยอมแพ้หรืออับจนต่อเหตุการณ์ทั้งหลายที่รัดรึงเข้ามา ย่อมใช้ความคิดคลี่คลาย
เอาตัวรอดปลอดภัยให้จงได้ และเป็นธรรมดาอยู่ ที่คนฉลาดกว่าย่อมเอาชนะคนที่ฉลาดน้อยกว่าได้.
              ---------- * ----------
               (http://www.sookjaipic.com/images_upload/48764018673035__3604_3629_3585_3652_3617_3657.gif)


อันความรัก หรือที่รัก เมื่อผู้ใดมีร้อยหนึ่ง ผู้นั้นก็มีทุกข์ร้อยหนึ่ง รักเก้าสิบ แปดสิบ เจ็ดสิบ หกสิบ ห้าสิบ เป็นต้น
จำนวนทุกข์ก็มีเท่านั้น  ถึงแม้มีรักเพียงอย่างหนึ่งก็มีทุกข์อย่างหนึ่ง ต่อเมื่อไม่มีรักจึงจะไม่มีทุกข์ ผู้หมดรักหมดทุกข์นั้น
พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "เป็นผู้ไม่มีโศก ไม่มีธุลีใจ ไม่มีคับแค้น".

               ---------- * ----------


การพลาดพลั้งทำกรรมไม่ดีนำไปสู่ทุคติ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ในภพชาตินี้ และสามารถมีญาณหยั่งรู้ภพชาติในอดีต
ของตนที่เป็นสัตว์ เช่น ท่านพระอาจารย์องค์สำคัญที่ท่านเล่าไว้ว่าเคยเกิดเป็นไก่ ย่อมรู้ชัดถึงความแตกต่างระหว่างความเป็นคนกับเป็นสัตว์
ย่อมได้ความสลดสังเวช และความหวาดกลัวความต้องเวียนว่ายตายเกิดเป็นที่สุด เพราะได้รู้ชัดด้วยตนเองแล้วว่า การพลาดพลั้งทำกรรมไม่ดี
ไม่ว่าจะทางกายหรือทางใจคือการนำไปสู่ทุคติต่างๆ อันไม่เป็นที่พึงปรารถอย่างยิ่ง อันจักก่อให้เกิดความทุกข์ร้อนนานาประการ.

               ---------- * ----------


"คนที่ถือกำเนิดเป็นคนนั้น ยังไม่จัดเป็นคนโดยสมบูรณ์ เพราะเหตุเพียงเกิดมามีรูปร่างเป็นคน
ต่อเมื่อมีการปฏิบัติประกอบด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีสมกับความเป็นคน จึงเรียกว่าเป็นคนโดยธรรม เมื่อมีธรรมของคนสมบูรณ์
แม้คำในหิโตประเทศ ก็กล่าวว่า การกิน การนอน ความกลัว และการสืบพันธุ์ของคนและดิรัจฉานเสมอกัน แต่ธรรมของคน
และดิรัจฉานเหล่านั้นแปลกกว่ากัน เว้นจากธรรมเสีย คนก็เสมอกับดิรัจฉาน...".

               ---------- * ----------


ศรัทธาความเชื่อของคนนั้น ถ้าเชื่อผิดก็เท่ากับก้าวไปในทางผิดครึ่งทางแล้ว ถ้าเชื่อถูกก็เท่ากับก้าวไปในทางถูกครึ่งทางแล้ว
เช่นเดียวกัน  ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงได้สอนย้ำให้เชื่อกรรม หมายถึงความดีความชั่ว ว่ามีผลที่ผู้ทำจะต้องเป็นผู้รับ เมื่อเชื่อดังนี้แล้ว
ก็จะไม่ก้าวไปในทางชั่วหรือในทางอันตรายแน่


               (http://www.sookjaipic.com/images_upload/48764018673035__3604_3629_3585_3652_3617_3657.gif)


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 ธันวาคม 2559 16:52:15
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76870330505900__3619_6.gif)

ผลของกรรมดีและกรรมชั่ว มีคุณและโทษในตัว

ผลของกรรมดีและผลของกรรมชั่ว มีทั้งคุณและมีทั้งโทษอยู่ในตัว
คุณหรือโทษจะปรากฏตามการวางใจรับผลนั้น ผลของกรรมดีที่เกิด
แก่ผู้ใดก็ตาม แม้ผู้นั้นวางใจรับไม่ถูก ไม่ประกอบด้วยปัญญา
ผลดีก็จะไม่สมบูรณ์ ทั้งผลร้ายก็จะต้องตามมา.


พระคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

---------- * ----------


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 09 มกราคม 2560 18:38:14

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36861260318093_13725046_1049268895121265_2241.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44245981838967_13697150_1049268911787930_6922.jpg)
ภาพจาก : งานประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา วัดพระพุทธบาท
อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (ปี พ.ศ.๒๕๕๙)


การทำอะไรทุกๆ อย่างที่อำนวยประโยชน์ก็จะต้องมีการเสียสละบ้างไม่มากก็น้อย
ดังเช่นจะทำทาน ก็ต้องเสียสละทรัพย์ ทั้งนี้ก็เพราะเห็นว่า บุญข้อนี้มีค่าสูงกว่าทรัพย์
ที่สละไป การทำประโยชน์อื่นๆ ทุกอย่างก็เป็นเช่นเดียวกัน


พระคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92020710599091__MG_6360.JPG)

ท่านพระอาจารย์สำคัญองค์หนึ่ง ท่านปรารถนาพุทธภูมิ คือ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า
ครั้นมาระลึกชาติได้ว่าเคยเกิดเป็นไก่หลายร้อยหลายพันชาติ ก่อนที่จะได้มาเป็นมนุษย์ในชาตินี้  
ท่านก็เปลี่ยนความปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธะ มาเป็นพระผู้ไกลจากกิเลส ไม่ต้องเวียนว่าย
ตายเกิดต่อไป เพราะท่านสลดสังเวชชีวิตที่ผ่านมาแล้วมากมาย และหวาดเกรงชีวิตที่จะต้องพบ
อีกต่อไปนับภพนับชาติไม่ถ้วน กว่าจะถึงจุดปรารถนาคือพุทธภูมิ....

ด้วยความพากเพียรพยายามสุดสติปัญญาความสามารถที่จะตัดภพชาติอนาคตให้หมดสิ้นโดยเร็ว
ในที่สุดก็เชื่อกันว่าท่านพระอาจารย์สำคัญองค์นั้นท่านก็สำเร็จประสงค์ถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงในภพภูมิปัจจุบัน


พระคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39709856609503_10.jpg)
ภาพจากวัดแม่นางปลื้ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนให้เกิดสติขึ้นว่า...ความทุกข์นี้มีเพราะความรัก
มีมากก็เป็นทุกข์มาก มีรักน้อยก็เป็นทุกข์น้อย จนถึงไม่มีรักเลย จึงไม่ต้องเป็นทุกข์เลย  
แต่ตามวิสัยโลกจะต้องมีความรัก มีบุคคลและสิ่งที่รัก ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้มีสติ
ควบคุมใจมิให้ความรักมีอำนาจเหนือสติ แต่ให้สติมีอำนาจควบคุมความรักให้ดำเนินในทางที่ถูก
และให้มีความรู้เท่าทันว่าจะต้องพลัดพรากสักวันหนึ่งอย่างแน่นอน
เมื่อถึงคราวเช่นนั้น จักได้ระงับใจลงได้


พระคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93848507023519_DSC01661.jpg)
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีต่อพระมหาอุปราชา
จิตรกรรมพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก

ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน
นี้เป็นพระพุทธภาษิต เพราะนรชนคือคนเรา รัตนะคือปัญญาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
เป็นพิเศษกว่าสัตว์ร่วมโลกทั้งหลาย จึงได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ และสามารถอบรมปัญญาให้มากขึ้นได้ด้วย
ฉะนั้น คนเราจึงมีความฉลาด สามารถเปลี่ยนภาวะจากความเป็นคนป่ามาเป็นคนเมือง มีความเจริญ
ด้วยอารยธรรม วัฒนธรรม มีบ้านเมือง มีระเบียบ การปกครอง มีศาสนา มีเครื่องบำรุงความสุข
ทางกายทางใจต่างๆ สิ่งทั้งปวงเหล่านี้สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายหามีไม่ ทั้งนี้ด้วยอำนาจของปัญญานี้เอง


พระคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70502416210042_18664551_216207022228319_10622.jpg)
ภาพจาก : วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
(การอุปสมบทหมู่)

ผู้มีบุญ คือ ผู้ที่ทำบุญทำกุศลทำคุณงามความดีไว้มากในอดีตชาติ
อันความเกิดขึ้นของผู้มีบุญนั้น ย่อมเกิดขึ้นพร้อมบุญห้อมล้อมรักษา แม้ชนกกรรมนำให้เกิด
จะนำให้เกิดลำบาก เมื่อบุญที่ทำไว้มากกว่ากรรมไม่ดีที่นำให้ลำบาก ก็จะต้องถูกตัดรอน
ด้วยอำนาจของกุศลกรรม คือบุญอันยิ่งใหญ่กว่า คือเกิดมามารดาบิดายากจน มือแห่งบุญ
ก็จะต้องเอื้อมมาโอบอุ้มให้พ้นจากความลำบากยากจน ให้มั่งมีศรีสุขควรแก่บุญที่ได้ทำไว้


พระคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 10 มิถุนายน 2560 17:20:35

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14020128548145__MG_6092.jpg)
ภาพจาก : สมเด็จนางพญาเรือนแก้ว วัดนางพญา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ ปธานการณํ
สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต

พระพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้แปลความว่า
"ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ กุศทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น"
ขันติเป็นธรรมเครื่องทำให้งาม คู่กับโสรัจจะ ซึ่งเป็นธรรมเครื่องทำให้งามเช่นกัน ขันติเป็นความอดทน
โสรัจจะเป็นความเสงี่ยม ผู้มีขันติความอดทนและมีโสรัจจะความเสงี่ยม นั้นเป็นผู้งาม


พระมงคลวิเสสกถา ในสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง
วันเสาร์ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67905740191539_DSC_0066.jpg)

"อย่าแสดงตนว่ารู้ดี หรืออวดรู้ คนอื่นเขาจะหมั่นไส้เอา"
กล่าวคือ แม้บางเรื่องจะเป็นเรื่องจริงที่รู้อยู่ แต่ก็หาควรที่จะพูดกับทุกคนไม่
บางเรื่องหากไม่ถูกด้วย 'กาละ' คือ เวลา และ 'เทศะ' คือสถานที่แล้ว ก็ไม่ควรพูด


คติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92578123013178__MG_9988.JPG)
จิตรกรรมฝาผนังพระวิหารพระพุทธชินราช
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก

"การได้เกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานั้น
เป็นมงคลสูงสุดของชีวิต
ผู้มีสัมมาทิฐิจึงตั้งจิตปรารถนาอย่างจริงจัง"


คติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

450-22


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 เมษายน 2561 15:38:56
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/88460531665219__3610_2.gif)
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


บทพระนิพนธ์
พระคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

---------- * ----------

คนน่าสงสารในโลกนี้มีมากนัก ทั้งน่าสงสารทางกายและน่าสงสารทางใจ เราเองแทบทุกคนก็เป็นโรคน่าสงสารเช่นที่กล่าว
แต่เมื่อไม่ใช่โรคทางกาย ก็ไม่เห็นกันไม่รู้กันว่าตนเป็นคนหนึ่งจำนวนมหาศาลที่น่าสงสาร และน่าสงสารยิ่งกว่าเป็นโรคทางกาย
น่ากลัวน่าเป็นห่วงยิ่งกว่าโรคทางกาย. โรคน่าสงสารทางใจตัวเอง ต้องรู้ด้วยตัวของตัวเอง ต้องยอมรับด้วยตัวของตัวเอง
จึงจะแก้ไขได้ ไม่เช่นนั้นแล้วก็ไม่มีทางจะรักษาโรคทางใจได้เลย แม้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจะเป็นโอสถรักษา
โรคทางใจของผู้ที่ไม่ยอมรับรู้ว่าใจของตนมีโรค นั่นก็คือผู้ไม่ยอมรับการรักษา ไม่ยอมรับโอสถของพระพุทธเจ้า เขาย่อม
เป็นคนน่าสงสารตลอดไป. พบคนเช่นนี้พึงย้อนดูตนเองคงจะต้องพบโรคทางใจด้วยกัน เพียงแต่ว่าจะมากน้อยหนักเบา
กว่ากันเพียงไร ตามอำนาจของกรรมที่ได้กระทำมาแล้วเท่านั้น


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51636450241009_db.gif)

อย่าเป็นผู้ปฏิเสธในเรื่องของกรรม
อย่าเป็นผู้ปฏิเสธในเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม อย่างปราศจากเหตุผล
คืออย่าปฏิเสธดื้อๆ ว่า ใครจะเคยเกิดเป็นอะไรมาก่อนก็ตาม ก็ไม่ใช่เรา เราไม่
เคยเกิดเช่นนั้นแน่ คนจะเกิดมาเป็นสัตว์ไม่ได้ สัตว์จะไปเกิดเป็นคนก็ไม่ได้ ไม่มี
เหตุผล เป็นความเชื่อที่ปราศจากเหตุผล เป็นคนสมัยใหม่แล้วจะเชื่ออย่างนั้น
ไม่ได้ เพื่อความไม่ประมาท จงอย่าปฏิเสธโดยไม่รู้จริงเช่นนี้ เพราะวันหนึ่งจะหนี
ไม่พ้นผลที่น่ากลัวของกรรม.

คติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51636450241009_db.gif)

อำนาจแห่งกรรมของตนเอง
ผู้ที่เป็นมนุษย์ในชาตินี้ อาจเกิดเป็นสัตว์ในชาติหน้าได้ ด้วยอำนาจแห่งกรรมของตนเองที่เพียงพอ
แก่ความเป็นสัตว์ ซึ่งมีต่างๆ ประเภท ทั้งหมูหมากาไก่วัวควายช้างม้า ที่อำนาจกรรมอำนาจนำให้
มนุษย์ไปเกิดได้ประเภทนั้นๆ ในพระพุทธศาสนามีเรื่องเล่าถึงพระภิกษุรูปหนึ่งในสมัยพุทธกาล
ที่ประพฤติดีประพฤติชอบมาตลอด ก่อนแต่จะมรณภาพได้จีวรมาผืนหนึ่งซักตากไว้บนราว
ด้วยมีใจผูกพันยินดีที่จะได้ครองจีวรใหม่ เกิดมรณภาพในช่วงเวลาก่อนจะทันได้ใช้จีวร เพื่อนภิกษุ
จะถือจีวรนั้นเป็นของตน สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามไว้  มีพระพุทธดำรัส
ให้รอก่อน ๗ วัน เพราะขณะนั้นพระภิกษุผู้เป็นเจ้าของได้ไปเกิดเป็นเล็นเกาะติดอยู่กับผ้าจีวร
ด้วยอำนาจจิตที่ยึดมั่นผูกพันเป็นเจ้าของ.  อายุของเล็นอยู่นานเพียง ๗ วัน จากนั้นจะได้ไป
เสวยผลแห่งกรรมดีที่พระภิกษุรูปนั้นได้ประกอบกระทำไว้เป็นอันมาก นี้เป็นเรื่องแสดงอำนาจ
ของกรรมทางใจที่ใหญ่ยิ่ง อาจนำให้พระภิกษุไปเกิดเป็นสัตว์ได้

คติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51636450241009_db.gif)

ผลแห่งกรรม ย่อมตรงต่อเหตุที่กระทำไว้
อำนาจของกรรมทั้งใหญ่ยิ่งทั้งล้ำลึก ยากที่สามัญชนคนทั้งหลายจะเข้าใจได้ถูกแท้ แต่แม้ผู้ใด
จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม ย่อมไม่พ้นผลของกรรมที่ตนกระทำแล้วได้ ย่อมต้องได้รับผลของ
กรรมที่ตนกระทำแล้ว ทำกรรมดีใดจักได้รับผลของกรรมดีนั้น ทำกรรมไม่ดีใด...จักได้รับผล
ของกรรมที่ไม่ดีนั้้นแน่นอนเสมอไป. ผลที่เกิดแต่กรรมใด ย่อมตรงกับกรรมที่เป็นเหตุแห่งผล
น้้นเสมอ เช่น ความขี้โรคย่อมเกิดแต่ความเบียดเบียน ความขี้โรคเป็นผลอันตรงกับกรรมที่
เป็นเหตุคือความเบียดบียน ความเบียดเบียนเป็นการทำให้เกิดความไม่เป็นสุข ความขี้โรคก็
เป็นความไม่เป็นสุข ผู้ทำเหตุคือความเบียดเบียน ก็ย่อมได้รับผลเป็นผู้ขี้โรค ผลย่อมตรงต่อ
เหตุดังนี้


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51636450241009_db.gif)

ใจจักร้อนรุ่ม ถ้าไม่เข้าใจเรื่องกรรมและผลกรรม
แม้ในฐานะเป็นผู้ดู มิใช่ผู้พลอยได้รับความเดือดร้อนทนทุกข์ทรมานด้วย ถ้าไม่สามารถ
ทำใจ อบรมใจให้เข้าใจในเรื่องของกรรม และการให้ผลของกรรมได้แล้ว เมื่อตนต้องเป็น
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในเหตุการณ์อันร้ายแรง  ก็ย่อมยากที่จะช่วยใจตนเองให้พ้นจาก
ความร้อนได้ แม้เพียงพอสมควร.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51636450241009_db.gif)

ความคิดเป็นเหตุแห่งสุขและทุกข์
ความคิดเป็นเหตุแห่งความทุกข์ และความคิดก็เป็นเหตุแห่งความสุขได้
พึงรอบคอบในการใช้ความคิด คิดให้ดี คิดให้งาม คิดให้ถูก คิดให้ชอบ  แล้วชีวิต
ในชาตินี้ก็จะงดงาม สืบเนื่องไปถึงภพชาติใหม่ได้ด้วย     ระวังความคิดให้ดีที่สุด
เพราะความคิดที่ผูกพันในสิ่งที่ไม่สมควร ที่ทำให้พระภิกษุองค์หนึ่งต้องไปเกิดเป็น
เล็น อีกองค์หนึ่งต้องไปเกิดเป็นไก่อยู่หลายภพหลายชาติ เราทั้งหลายหาได้มีบุญ
สมบัติเสมอพระภิกษุทั้งสองนั้นไม่   ความคิดที่ผิดพลาดของเราจะมินำเราไปเป็น
อะไรที่น่ากลัวเหลือเกินหรือ.

คติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 พฤษภาคม 2562 18:08:49
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33304050192236_IMG_3377.jpg)
พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก

การระวังใจ สำคัญยิ่งนัก
การระวังใจจึงสำคัญยิ่งนัก ปล่อยใจให้คิดสูงส่งงดงามไปด้วยบุญกุศล ชาตินี้ก็เป็นสุขเบิกบาน
ด้วยอำนาจของบุญกุศลที่ใจคิดถึง ละชาตินี้ไปแล้วจะได้มีชาติใหม่ที่งดงาม ควรแก่ความงดงาม
ของความคิดที่มีอยู่ในจิตใจ.    ผู้พรั่งพร้อมด้วยสมบัติทางกายและทางใจที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
คือผู้ที่เป็นไปตามอำนาจของใจในอดีต  อันย่อมมีผลสืบเนื่องถึงอำนาจของใจในภพชาติใหม่ด้วย
ส่วนผู้ที่ปล่อยใจให้คิดต่ำทรามชั่วร้ายด้วยบาปอกุศล ชาตินี้ก็เป็นทุกข์เร่าร้อนด้วยอำนาจของบาป
อกุศลที่ใจคิดถึง  ละไปแล้วจะได้มีชาติใหม่ที่ต่ำทรามบกพร่อง ควรแก่ความต่ำช้าของความคิด
ที่มีอยู่ในจิตใจ  ผู้ขาดแคลนทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ที่เห็นกันอยู่ไม่น้อยในปัจจุบัน
คือผู้เป็นไปตามอำนาจของใจในอดีต   อันย่อมมีผลสืบเนื่องถึงอำนาจของใจในภพชาติใหม่ด้วย
จึงพึงระวังความคิดให้อย่างยิ่ง ให้งดงามด้วยบุญกุศลไว้เสมอ  จะได้ไม่ต้องมีสภาพที่ไม่เป็นที่พึง
ปรารถนา..

คติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 19:41:22
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72947427713208__3626_3617_3648_3604_3655_3592.gif)

ทุกชีวิตล้วนผ่านภพชาติในอดีตมาแล้ว
การที่อยู่ดีๆ ก็ถูกจี้ถูกปล้นจนถึงชีวิต  เป็นการต้องตายจากผู้เป็นที่รัก สิ่งเป็นที่รัก อย่างไม่รู้ตัว
อย่างไม่อาจขอความช่วยเหลือจากผู้ใดได้    ผู้นับถือพระพุทธศาสนารู้ว่า นั่นเป็นผลของกรรม
ที่ต้องได้กระทำไว้แล้วในภพชาติใดภพชาติหนึ่ง  ซึ่งปุถุชนคนไม่มีญาณพิเศษทั้งหลายหาอาจรู้
ชัดไม่ ว่าได้มีการทำกรรมอันเป็นอกุศลเหตุนั้นตั้งแต่เมื่อใด จะส่งผลเมื่อใด  แต่ผู้ปฏิบัติธรรมจน
สามารถมีความรู้พิเศษจะรู้ได้ และบางทีก็ได้แสดงให้รู้ล่วงหน้า เช่นที่พระอาจารย์สำคัญองค์หนึ่ง
ท่านได้ปรารภให้ได้ยินเนืองๆ ว่า ในอดีตท่านเคยขับเกวียนทับเด็กตาย โดยจงใจเจตนา  ดังนั้น
ท่านจะต้องได้รับผลของกรรมนั้น คือจะต้องถูกรถทับจนเสียชีวิตแน่ในภพชาตินี้.

คติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 19:21:22
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72947427713208__3626_3617_3648_3604_3655_3592.gif)

ชีวิตในอดีตชาติ อาจทำให้ละกิเลสได้เป็นอันมาก
ก่อนจะมาเป็นเราแต่ละคนในภูมิของมนุษย์นี้ ต่างก็ได้เป็นอะไรต่ออะไรมาแล้วมากมาย นับชนิด
นับชาติไม่ได้  เป็นกันทั้งเทวดา สัตว์ใหญ่สัตว์เล็ก รวมทั้งมนุษย์ชายหญิง คนมีคนจน คนสวย
คนไม่สวย คนพิการคนไม่พิการ อายุสั้นอายุยาว ขาวดำ ไทยจีนแขกฝรั่ง ต่างเคยมีเคยเป็นกัน
มาทั้งนั้น  แม้เป็นผู้ระลึกชาติได้ก็จะสลดสังเวชยิ่งนัก และอาจจะสละละวางความโลภความโกรธ
ความหลงได้เป็นอันมาก.  เห็นสุนัขขี้เรื้อนสักตัว แล้วลองนึกว่าครั้งหนึ่งเราก็เคยเป็น เช่นเดียว
กัน เคยกระเซอะกระเซิงเที่ยวหาอาหารกิน ถูกคนตี ถูกสุนัขด้วยกันกัด ถูกใครทั้งหลายที่ได้มา
ประสบพบผ่านแสดงกิริยาวาจารังเกียจเกลียดชัง ไม่ก้อนอิฐก้อนหินก็ถูกทุ่มถูกขว้างใส่ ให้ต้อง
ถึงเลือดตกยางออก ตกใจกลัวภัยนานา แต่จะบอกกล่าวอ้อนวอนให้ผู้ใดเห็นใจก็ทำไม่ได้ อย่าง
มากก็เพียงเปล่งเสียงโหยหวนที่หามีผู้เข้าใจในความทุกข์ร้อนไม่  แม้นึกไปในอดีตเช่นนี้ สมมติ
ตัวเองว่าในภพชาติหนึ่งเป็นเช่นนี้ นึกให้จริงจังเช่นนี้จะเกิดความกลัวกรรม เพราะย่อมได้ความ
เข้าใจว่ากรรมไม่ดีแน่แท้ที่ทำให้ชีวิตต้องเป็นเช่นนั้น.


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 เมษายน 2563 19:06:20
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72947427713208__3626_3617_3648_3604_3655_3592.gif)

เมื่อโลกวุ่นวายด้วยความวิปริตต่างๆ  ไม่ว่าจะภัยเกิดแต่มนุษย์ หรืออมนุษย์ หรือภัยเกิดแต่ธรรมชาติ
ก็ตาม  นั่นคือเครื่องแสดงถึงจิตใจมากมายที่มืดมิดเป็นอันมากด้วยความสกปรกเศร้าหมองของกิเลส
ทั้งโลภ ทั้งโกรธ ทั้งหลง  พึงช่วยกันแก้ไขด้วยพยายามอบรมจิตใจของตนให้เศร้าหมองน้อยที่สุด  ให้
ไกลจากความโลภความโกรธความหลงให้มากที่สุด ฯ

ไทยที่เป็นเมืองพระพุทธศาสนาแท้ๆ ก็ยังหนีไม่พ้น จะโทษอะไรอื่นไม่ได้ ไม่ถูก ต้องโทษกิเลสที่ท่วมทับ
จิตใจคนจนสกปรกมากมาย  ก่อให้เกิดอำนาจร้ายอย่างรุนแรง  เป็นมหันตภัยน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก วิธี
เดียวที่จักแก้ไขได้คือพากันทำใจให้ไกลกิเลสพอสมควร ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
• สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร •


เกิดเป็นคน เร่งรักษาจิตให้จงดี
เกิดมาเป็นคน มีอวัยวะครบถ้วนไม่พิกลพิการ ไม่ไร้สติ เป็นบุญนักหนาแล้ว   เร่งรักษาจิตให้จงดี
ให้อาหารที่เป็นประโยชน์ที่สุด  อย่าปล่อยให้เปะปะไปแสวงหาอาหารตามใจชอบ จะต้องหลงไปพบ
อาหารที่เป็นพิษแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุคนี้สมัยนี้มีอาหารที่เป็นโทษเป็นพิษร้ายแรงแก่จิตใจ
มากมาย เต็มไปทั่วทุกหนทุกแห่ง โอกาสที่ใจจะหลบหลีกให้พ้นพิษภัยเหล่าน้้นยากมาก.

สติปัญญารักษาใจที่เพียงพอเท่านั้น ที่จะทำให้แลเห็นช่องทางหลบหลีกพิษภัยเหล่านั้นได้ สามารถ
รักษาใจให้พ้นพิษภัยร้ายแรง มีความสวัสดีได้ แม้พอสมควร.
"พระคติธรรม" • สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร •

“พระตถาคต จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือความตั้งขึ้นแห่งธรรม
ความกำหนดแน่แห่งธรรม ก็ดำรงอยู่ คือสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา แต่ว่าพระตถาคตได้อุบัติขึ้นในโลก ได้ทรงตรัสรู้ธรรมฐิติ
ธรรมนิยามนั้นแล้ว ก็ทรงแสดงเปิดเผยให้รู้ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ดังนี้”
"พระคติธรรม" • สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร •
(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn%3AANd9GcTfdvulQ4-joxrWZC_wXTAJiD1XQWtXsW_i3w6rcstaAsKeIg4b&usqp=CAU)


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 กันยายน 2563 17:16:31
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/63439677531520_117341040_2998279826949787_237.jpg)

"พระพุทธศาสนา มีพรหมเทพเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา พุทธประวัติแสดงไว้ว่า
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม โปรดพรหมเทพเป็นประจำทุกค่ำคืน ในพระสูตรต่างๆ
เช่น ธัมมจักกัปปวัตรนสูตร ก็แสดงถึงความเข้ามาเกี่ยวข้องของพรหมเทพเป็นอันมาก
ที่สดับพระปฐมเทศนาแล้วแซ่ซ้องสาธุการกึกก้องไปทุกช่องชั้นฟ้า และในการเจริญ
พระพุทธมนต์ทุกวันนี้ ท่านก็มีบทสวดชุมนุมเทวดา จนเป็นที่เชื่อกันว่า ที่ใดไม่มี
สวดมนต์ประจำ ที่นั้นจะไม่มีเทวดารักษา บ้านเรือนใดไม่มีการสวดมนต์ บ้านเรือนนั้น
ก็ไม่มีเทวดารักษา ด้วยเทวดาชอบฟังเสียงสวดมนต์ คิดตามเหตุผลก็น่าจะเป็นไปได้ 
เพราะพระพุทธมนต์เป็นมงคลสูงส่ง เป็นมงคลแก่บ้านเรือนสถานที่และจิตใจ
ผู้สวดมนต์เป็นประจำก็ย่อมจะได้รับความคุ้มครองรักษาจากพรหมเทพผู้ได้มีส่วนร่วม
สดับรับฟังด้วย การสวดมนต์จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรละเลย "

พระคติธรรม  สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 10 ตุลาคม 2563 18:52:30
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11284161979953_120948120_3986291311395402_201.jpg)

ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้  มีประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติในการดำเนินชีวิตทุกอย่าง
แต่จะต้องมีความเข้าใจมุ่งหมายและรู้จักใช้ปฏิบัติให้เหมาะ ฉะนั้น ผู้ที่เข้าใจพระพุทธ
ศาสนาดี ย่อมจะปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม จะไม่จนทั้งทรัพย์ภายนอก ทั้งทรัพย์ภายใน  
ดังที่มีตัวอย่างอยู่ไม่น้อย  ไม่ต้องพูดถึงทางธรรม  แม้ทางโลกโดยตรงเช่นการค้า ถ้า
ดำเนินไปอย่างไม่เข้าใจไม่ฉลาดก็ขาดทุนเสียหาย.
(http://www.sookjai.com/Themes/default/images/post/xx.gif)


อันคนที่ทำงานที่เป็นคุณให้เกิดประโยชน์ ย่อมจะต้องประสบถ้อยคำถากถาง หรือการ
ขัดขวางน้อยหรือมาก ผู้มีใจอ่อนแอก็จะเกิดความย่อท้อไม่อยากที่จะทำดีต่อไป แต่ผู้ที่
มีกำลังใจย่อมจะไม่ท้อถอย ยิ่งถูกค่อนแคะก็ยิ่งจะเกิดกำลังใจมากขึ้น คำค่อนแคะกลาย
เป็นพาหนะที่มีเดชะแห่งการทำความดี แม้พระพุทธเจ้าก็ยังถูกคนที่ริษยามุ่งทำร้าย
จ้างคนให้ตามด่าว่าในบางครั้ง
.
(http://www.sookjai.com/Themes/default/images/post/xx.gif)


เพราะขาดสติเท่านั้น  จึงทำให้ไม่ค่อยได้รู้ตัว ไม่สงวนรักษาใจของตนให้เป็นสิ่งมีค่า
พอสมควร ต้องพยายามทำสติให้มีอยู่เสมอ จึงจะรู้ตัว สามารถสงวนรักษาใจให้เป็น
สิ่งมีค่าได้ คือสามารถยับยั้งความโลภ ความโกรธ ความหลง มิให้เกิดขึ้นจนเกินไปได้
(http://www.sookjai.com/Themes/default/images/post/xx.gif)
 

โลกธรรม อันหมายถึงเรื่องราวที่ก่อให้เกิดสุขเกิดทุกข์ ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ
บางคราวก็มีมาเหมือนน้ำท่วม ที่เรียกว่าอุทกภัย อันที่จริง ทั้งความสุขทั้งความทุกข์
เป็นอุทกภัยเหมือนกัน ถ้ามีสิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของใจดีแล้วก็ไม่เดือดร้อน
การทำใจก็คือการให้เป็นเกาะที่พึ่งของใจนี่เอง คนมีบุญก็คือคนที่มีเกาะของใจดี
ที่ได้สร้างสมมา และกำลังสร้างสมอยู่.

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 ตุลาคม 2563 16:14:53

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn%3AANd9GcTfdvulQ4-joxrWZC_wXTAJiD1XQWtXsW_i3w6rcstaAsKeIg4b&usqp=CAU)

โทษของการยึดมั่นกับอดีต

ความคิดผูกพันกับอดีตเป็นทุกข์ได้อย่างยิ่ง เป็นทุกข์ได้ยืดเยื้อ ตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่นเมื่อได้รับฟังเสียงหรือได้เห็นภาพที่ไม่ถูกหูถูกตา เสียงนั้นภาพนั้นจะผ่านหูผ่านตาไปในทันที เป็นอดีตไปในทันที แต่ความไม่พอใจหรือความโกรธจะไม่ผ่านไปในทันที ด้วยเสียงขาดหายไปแล้ว แต่ใจก็ยังปรุงคิดถึงเสียงนั้นอยู่ ภาพลับตาไปแล้วแต่ใจก็ยังปรุงคิดถึงภาพนั้นอยู่ ความไม่ชอบใจหรือความโกรธที่เกิดพร้อมกับเสียงกับภาพจึงไม่ดับไปพร้อมกับเสียงกับภาพ แต่จะยืดเยื้ออยู่พร้อมกับความคิดยึดมั่นในอดีต

พิจารณาเหตุผลตามความถูกต้องเป็นจริง ก็ย่อมจะประจักษ์ว่าความไม่ชอบใจหรือความโกรธที่มีอยู่นั้นไม่ใช่เพราะเสียงของใครภาพอะไร แต่เป็นเสียงที่ตนเองคิดผูกพันไว้ และเป็นภาพที่ตนเองคิดผูกพันไว้ ความคิดของตนเองจึงเป็นผู้นำทุกข์มาใส่ตนเอง ไม่ใช่ทุกข์เกิดจากอะไรอื่น อย่างน้อยที่สุดควรจะให้ความความทุกข์เกิดดับไปพร้อมกับรูปเสียงจึงจะถูก ได้ยินเสียงไม่ชอบใจถ้าจะเกิดความไม่ชอบใจ ในขณะได้ยินเสียงนั้น ห้ามไม่ได้จริง ก็ช่างเถิด แต่เมื่อเสียงนั้นดับแล้ว ผ่านพ้นไปแล้ว ต้องให้ความไม่ชอบใจดับไปด้วย ผ่านพ้นไปด้วย จึงจะถูก จึงสามารถช่วยตนเองให้มีความสบายใจได้

ถ้าไม่ชอบใจอยู่นานๆ โกรธอยู่นานๆ แล้วก็โทษคนนั้น คนนี้ โทษสิ่งนั้นสิ่งนี้ ว่าเป็นต้นเหตุให้ต้องโกรธเช่นนี้ผิด ต้องโทษตัวเอง โทษความคิดของตัวเอง และต้องพยายามคิดให้เห็นว่า นั่นเป็นโทษของการยึดมั่นผูกพันกับอดีต ยึดมั่นอยู่นานเพียงไร ก็จะได้รับทุกข์อยู่นานเพียงนั้น ปล่อยความยึดมั่นได้เร็วเพียงไรก็จะพ้นจากความทุกข์เร็วเพียงนั้น

อย่าโทษผู้อื่นสิ่งอื่นไม่ว่าจะเกี่ยวกับความทุกข์ใดทั้งสิ้น ให้พยายามโทษตนเอง และแก้ไขที่ตนเองไม่เช่นนั้นความทุกข์จะไม่สิ้นสุดหยุดลงได้เลย มีแต่จะเพิ่มขึ้น ลองคิดง่ายๆ เมื่อโทษ ว่าคนนั้นคนนี้เป็นเหตุให้เราเป็นทุกข์ความโกรธก็จะเพิ่มขึ้น จะคุกรุ่นอยู่ นั่นคือความทุกข์ เพราะจะทำให้ไม่สบายใจ ก็เมื่อมีความร้อนด้วยความโกรธ จะสบายได้อย่างไร

ที่จริงใครๆ ไม่อยากจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิด จึงไม่มีใครที่จะยอมง่ายๆ ว่าตนเป็นผู้ผิด มักจะโทษผู้อื่นเสียทั้งนั้น นี้แหละเป็นการให้โทษแก่ตนเองอย่างยิ่ง เป็นการให้โทษแก่ตนเองโดยตรง เรียกว่าเป็นศัตรูของตนเอง ทั้งยั้งเป็นศัตรูที่ร้ายแรงที่สุด ที่มีโอกาสจะดำรงความเป็นศัตรูอยู่ได้อย่างไม่ได้รับการปราบปราม หรือต่อต้าน เชื่อพระพุทธเจ้า และโทษตนเอง แก้ที่ตนเอง อย่าโทษผู้อื่น อย่าแก้ผู้อื่น และการแก้ที่ตนเองก็คือการแก้ที่ใจ แก้ที่ความคิดในใจนี้แหละ ไม่ต้องไปแก้ที่ไหนให้มากที่มากแห่งไป ที่ซึ่งจะต้องแก้มีอยู่แห่งเดียว หาพบได้ง่าย ไม่ต้องเที่ยวค้นหาที่ไหนๆ ให้ยุ่งยาก ดูใจตนเองนี้แหละ ดูความคิดของตนเองนี้แหละ จะเห็นผิดเห็นถูกที่ใจตนเองหรือที่ความคิดของตนเองนี้อย่างแน่นอน และถ้าต้องการความสุขจริงๆ แล้ว ก็พยายามแก้ไขขัดเกลาใจตนเอง ที่ความคิดของตนเองนี้แหละอย่าได้ว่างเว้น จะนั่งนอนหรือเดินก็ทำได้ แก้ได้ ไม่ใช่ว่าจะต้องหาเวลาหาโอกาสหาสถานที่ ว่าเมื่อนั้นเมื่อนี้ ที่นั่นที่นี่ จึงจะทำได้ ทุกโอกาสทุกสถานที่ เหมาะสมกับการแก้ทุกข์ด้วยการแก้ใจ แก้ความคิดของตนเองทั้งสิ้น


• พระคติธรรม  สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก •
(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81937064768539__640x480_.jpg)


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 พฤศจิกายน 2563 16:06:15
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64295527173413_125260951_4092871104070755_233.jpg)

หน้าที่ของคนเราที่จะพึงปฏิบัติต่อชีวิตร่างกาย คือบริหารรักษาให้ปราศจากโรค ให้มีสมรรถภาพ
และรีบประกอบประโยชน์ให้เป็นชีวิตดี ชีวิตที่อุดม ไม่ให้เป็นชีวิตชั่ว ชีวิตเปล่าประโยชน์ (โมฆชีวิต)  
และในขณะเดียวกัน ก็ให้กำหนดรู้คติธรรมดาของชีวิต เพื่อความไม่ประมาท พระพุทธเจ้าตรัสห้าม
มิให้ทำลายชีวิตร่างกาย ถ้าจะเกิดความอยาก ความโกรธ ความเกลียด ในอันที่จะทำลายชีวิต
ร่างกายก็ให้ทำลายความอยาก ความโกรธความเกลียดนั้นเสีย
                                               (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)


การหัดทำสมาธิอยู่เสมอให้จิตได้สมาธิที่ดีขึ้น  และออกไปทำงานก็ใช้สมาธิในการทำงาน  คือไม่ใช้
สมาธิมากำหนดอยู่ในกรรมฐานข้อใดข้อหนึ่ง  นำสมาธินั้นกำหนดในงานที่ทำ  งานที่ทำนั้นจะดีขึ้น
เพราะว่าพลังของสมาธินั้นเป็นอันเดียวกัน คือความที่มีจิตตั้งมั่นแน่วแน่ เมื่อน้อมไปตั้งอยู่ในเรื่องหนึ่ง
เรื่องใดแล้ว ก็จะตั้งอยู่ในเรื่องนั้นได้มั่นคง เอาสมาธินั้นมาตั้งในงานที่ทำก็จะทำงานได้ดีและได้ตัวปัญญา
อันเป็นผลของสมาธิเมื่อมีสมาธิในการทำงาน ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ดี เมื่อจะทำอะไรก็ใช้สมาธิ
ในสิ่งนั้น ก็ได้ปัญญาในสิ่งที่ทำนั้นทุกอย่าง
                                               (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)


คติธรรมดาที่ไม่มีใครเกิดมาในโลกนี้จะหนีไปให้พ้นได้ ก็คือ ความแก่ ความตาย แต่คนโดยมาก
พากันประมาทเหมือนอย่างว่าไม่แก่ ไม่ตาย น่าที่จะรีบทำความดี แต่ก็ไม่ทำ กลับไปทำความชั่ว
ก่อความเดือดร้อนให้แก่กันและกัน ต่างต้องเผชิญทุกข์เพราะกรรมที่ต่างก่อให้แก่กันอีกด้วย ฉะนั้น
ก็น่าจะนึกถึงความแก่ ความตายกันบ้าง เพื่อจะได้ลดความมัวเมา และทำความดี
                                               (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)


คนส่วนมากยังมีความเชื่อว่ามีผู้ดลบันดาลให้เกิดสิ่งต่างๆ ขึ้น  แต่ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงว่า
คนมีกรรมเป็นของตน จะมีสุขหรือทุกข์เพราะกรรม ผู้คนเลยหันมากลัวกรรม กรรมจึงคล้ายเป็น
ผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกเข้าใจในทางร้ายอยู่เสมอ กรรมจึงกลายเป็นอดีตที่น่ากลัว  พระพุทธศาสนา
ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม ไม่ได้สอนให้ตกเป็นทาสของกรรมหรืออยู่ใต้อำนาจของกรรม แต่สอน
ให้รู้จักกรรม ให้มีอำนาจเหนือกรรม ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน
                                               (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)


เมื่อมองไปเบื้องหน้า ไม่มีบิดา-มารดาเป็นที่ยึดเหนี่ยว มองไปเบื้องขวาก็ไม่พบครู-อาจารย์ที่จะอบรม
แนะนำ มองไปเบื้องหลังก็ไม่พบญาติพี่น้องผู้หวังดี มองไปเบื้องซ้ายก็ไม่มีสหายที่เป็นกัลยาณมิตร
มองไปเบื้องล่างก็ไม่พบผู้ที่รับใช้ให้ความช่วยเหลือ มองไปเบื้องบนก็ไม่พบสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี
ซึ่งจะเป็นผู้ชี้ทางที่ถูกให้ ตรงกันข้าม มองไปทางทิศไหนก็พบแต่โรงหนัง โรงละคร สถานอบายมุขต่างๆ
และบุคคลต่างๆ ที่ชักนำไปทางเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะเป็นเหตุชักจูงกันไปในทางเสื่อมเสียต่างๆ
แต่ถ้าทิศทั้งหลายดีอยู่โดยมากก็ยากจะเสื่อมเสียได้
                                               (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)


คนเรานั้น นอกจากจะมีปัญญาแล้ว ยังต้องมีความคิดอีกด้วย จึงจะเอาตัวรอดได้จากอันตรายต่างๆ
ในโลก วิสัยของบัณฑิตคือคนที่ฉลาดนั้น ย่อมไม่ยอมแพ้หรืออับจนต่อเหตุการณ์ทั้งหลายที่รัดรึงเข้ามา
ย่อมใช้ความคิดคลี่คลายเอาตัวรอดปลอดภัยให้จงได้ และเป็นธรรมดาอยู่ที่คนฉลาดกว่า ย่อมเอาชนะ
คนที่ฉลาดน้อยกว่าได้
                                               (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)


ศีลเป็นตัวปกติภาพของคนโดยแท้ แต่คนโดยมากมักควบคุมตัวเองไว้ไม่ได้ จึงรักษาปกติภาพของตน
ไว้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติศีลเป็นขอบเขตของความประพฤติไว้ เพื่อช่วยให้คนรักษาปกติภาพ
ของตนไว้นั่นเอง ส่วนที่ต้องรับจากพระนั้นก็เป็นเพียงวิธีชักนำอย่างหนึ่ง เพราะโดยตรง ศีลนั้นต้องรับ
จากใจของตนเอง คือใจของตนเองต้องเกิดวิรัติทั้ง ๓ ข้อ เมื่อใจมีวิรัติขึ้นแม้เพียงข้อใด ข้อหนึ่ง ก็เกิด
เป็นศีลขึ้นทันที วิรัติ ๓ นั้นคือ ความเว้นได้ในทันทีที่เผชิญหน้ากับวัตถุ ๑ ความเว้นได้ด้วย ตั้งใจถือ
ศีลไว้ ๑ และความเว้นได้เด็ดขาดทีเดียว ๑
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
ที่มา "๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระสังฆราช"


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57368611544370_124352184_4084671018224097_556.jpg)


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 ธันวาคม 2563 19:29:00

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91318669625454__0004_Copy_.jpg)

เมตตากับศีลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสมอ
ยากจะแยกจากกันได้
ผู้มีศีลก็คือผู้มีเมตตา ผู้มีเมตตาย่อมเป็นผู้มีศีล

พระคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ภาพจาก วัดผาซ่อนแก้ว จังหวัดเพชรบูรณ์


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 มกราคม 2564 20:28:29
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68284417150749_121395393_902321873628316_6312.jpg)

“การที่จะให้ใครช่วยเหลือทำอะไร ต้องเลือกคนที่มีปัญญา ที่รู้จักถูกผิด ควรไม่ควร
มิใช่ว่าถ้าเข้ามุ่งดี ปรารถนาดีแล้ว เป็นมอบการงานให้ทำเรื่อยไป  เพราะถ้าเป็นคน
ขาดปัญญา แม้จะทำด้วยความตั้งใจช่วยจริง  แต่ก็อาจจะทำการที่เป็นโทษแม้อย่าง
อุกฤษฏ์ก็ได้..”


ผู้มีเมตตาต่อสัตว์ ... สัตว์รู้ สัตว์จะไม่ระแวงภัย
ผู้ไม่มีเมตตาต่อสัตว์ ... สัตว์ก็รู้ สัตว์ก็จะระแวงภัย
ภัยจากสัตว์นั้น อาจจะไม่น่าต้องเกรง  ภัยจากหมาแมว เป็นภัยเล็กน้อยนัก
แต่ภัยจากความไม่มีเมตตาของตนเองนั้น เป็นภัยที่ยิ่งใหญ่ต่อตนเอง ยิ่งกว่า
ต่อผู้อื่น สัตว์อื่น ... เพียงแต่ไม่เห็นกันให้ถูกตามความจริงเท่านั้น

พระคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 มกราคม 2564 20:42:50
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14623246093590_139461517_4261005193924011_599.jpg)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ได้เสด็จมาทรงปฏิบัติพระกรรมฐานกับ “หลวงปู่ขาว อนาลโย” ณ วัดถ้ำกลองเพล
ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๑

..ปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้น้อยนักก็คือ ชีวิตในชาตินี้น้อยนัก
ชีวิตในชาติข้างหน้ายาวนาน ไม่อาจประมาณได้  ชีวิตในภพ
ข้างหน้าจะสิ้นสุดเมื่อไร ขึ้นอยู่กับความหมดจดจากกิเลส
อย่างสิ้นเชิงเท่านั้น เปรียบชีวิตข้างหน้ากับชีวิตนี้แล้ว ชีวิตนี้
จึงน้อยนัก  แม้รักตนจริงก็ควรรักให้ตลอดไปถึงชีวิตชาติหน้า
ข้างหน้าด้วย ไม่ใช่จะคิดเพียงสั้นๆ รักแต่ชีวิตนี้เท่านั้น..


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84092455895410_139558385_4261001473924383_664.jpg)
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
ได้เสด็จมาทรงกราบนมัสการ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ ณ วัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

“...ความจริงในใจนั้นสำคัญยิ่งนัก ถ้าใจเป็นอย่างไรแล้ว กายวาจาจะแสดง
ออกมาเป็นอย่างนั้น ผู้ที่มีความจริงใจสวยงามจึงเป็นคนสบายไม่ต้องเสแสร้ง
แสดงออกให้ลำบาก ตรงกันข้ามกับผู้ที่มีความจริงใจไม่สวยงาม ที่จะต้องเป็น
คนไม่สบายที่จะต้องเสแสร้งแสดงออกอย่างลำบากยากเย็นอยู่เสมอ... ”


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64385610322157_139403731_4261029097254954_611.jpg)
สมเด็จฯ ทรงถวายน้ำสรง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์

“...โอกาสให้ทำความดี มีเปิดเสมอสำหรับทุกคน และก็มีปิดได้เช่นเดียวกัน
จึงไม่พึงปล่อยให้โอกาสที่เปิดแล้วสำหรับทำความดีผ่านพ้นไป... ”


พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(สมเด็จพระญาญสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

๑๐๐ พระชันษาสมเด็จฯ


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 31 มกราคม 2564 19:02:36
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47612331517868_139709279_4261030053921525_354.jpg)

อะไรมันจะมาศักดิ์สิทธิ์ เท่าตัวเราไม่มีหรอก
ตัวเรานั่นแหละ เป็นของศักดิ์สิทธิ์
กรรมดีเราทำมาตั้งแต่ก่อน
ชาตินี้ทำเพิ่มใหม่
นั่นแหละเป็นของดีของเราแท้
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)

ถ้าจะปล่อยนกปล่อยปลาสักที
ก็ขอทำใจให้ได้ว่า "เพื่อให้ชีวิตแก่สัตว์"
ไม่ใช่เพื่อให้ตัวเอง หายเจ็บ หายไข้ มีอายุมั่นขวัญยืน
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)

จิตที่ประกอบด้วย ความยินดีต่อความสุขความเจริญของผู้อื่น
เป็นเครื่องกำจัดความ “ริษยา”
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)


กลัวความเกิดเถิด อย่ากลัวความตายเลย เพียงหายใจออก
แล้วไม่หายใจเข้า ก็ตายได้สบายง่ายๆ แล้ว แต่สิ้นลมแล้วไป
ปรากฏขึ้นที่ไหนในสภาพอย่างไร นั่นสิควรกลัว ควรกลัวสุด
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)

ชีวิตมีค่า จึงควรที่เราจะต้องใช้ชีวิตให้สมค่าของชีวิต คือ การที่ได้เกิด
มาเป็นมนุษย์ โดยการทำความดี คือการไม่ทำบาปทั้งปวง การทำความดี
ให้ถึงพร้อม การทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)

การจะทำใจให้เป็นสุขผ่องใสนั้นไม่มีใครจะทำให้ใครได้ เจ้าตัวต้องทำของตัวเอง
วิธีทำก็คือ เมื่อเกิดโลภโกรธหลงขึ้นเมื่อใด ให้พยายามมีสติรู้ให้เร็วที่สุด และใช้
ปัญญายับยั้งเสียให้ทันท่วงที อย่าปล่อยให้ช้า เพราะจะเหมือนไฟไหม้บ้าน ยิ่งดับ
ช้าก็ยิ่งดับยากและเสียหายมากโดยไม่จำเป็น

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(สมเด็จพระญาญสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 19:54:29
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68881394300195_152505694_4366088120082384_211.jpg)

คนที่เป็นหัวหน้าเป็นผู้นำของหมู่ชน ย่อมนำคนเป็นอันมากให้ทำตามหรือไม่ตามอีกด้วย
ฉะนั้น ถ้าจิตใจไม่ดี ไม่ฉลาด ก็จะนำให้ทำไม่ดีหรือทำอย่างไม่ฉลาด ถ้าเป็นผู้นำของ
หมู่ชนก็จะทำคนเป็นอันมากซึ่งเป็นผู้ตามให้วิบัติเสื่อมเสีย แต่ถ้าจิตใจดีมีความฉลาด
ก็จะนำให้ทำดีหรือทำอย่างฉลาด ถ้าเป็นผู้นำของหมู่ชน ก็จะทำคนเป็นอันมากซึ่งเป็น
ผู้ตามให้เจริญสวัสดี เมื่อจิตใจเป็นผู้นำของคนดังนี้ ความฝึกจิตจึงเป็นการดี

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)


คนเราน้ันจะมีคนเตือนอยู่มากในเมื่อยังเป็นเด็กอยู่ คร้ันเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นๆ คนอื่นที่
จะเตือนก็น้อยเข้าๆ ยิ่งเป็นคนดึงดันด้วยก็เลยไม่มีใครกล้าเตือน   ฉะน้ัน เป็นผู้ใหญ่
ขึ้นเพียงใด ก็ต้องอาศัยวิธีเตือนตนเองมากเข้าเพียงน้ัน พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้
"เตือนตนด้วยตน สอบสวนตนด้วยตน
และ ตรัสถึงผลว่า “ผู้ที่มีสติครองตน จักอยู่เป็นสุข


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)


การให้ทานนั้นก็แสดงว่าเป็นการชนะใจ คือชนะความโลภ ความตระหนี่
ให้ทานออกไปคราวหนึ่ง ก็ชำระล้างความโลภความตระหนี่ในสิ่งที่ให้นั้นได้คราวหนึ่ง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)



ไม่ว่าเผชิญกับความยากลำบากกายใจอย่างใด
ให้มั่นใจว่าการทำให้ความยากลำบากนั้นคลี่คลาย
จะต้องกระทำเมื่อมีใจสงบเย็นแล้วเท่านั้น
ใจที่เร่าร้อนขุ่นมัวไม่อาจคิดนึกตริตรองให้เห็นความ
ปลอดโปร่งได้ ไม่อาจช่วยให้ร้ายกลายเป็นดีได้

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(สมเด็จพระญาญสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 04 เมษายน 2564 09:18:08

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47612331517868_139709279_4261030053921525_354.jpg)

ตัวเราที่ดี ต้องมีใจที่อบรมด้วยธรรมอันงาม ตัวเราที่ดีนั้น ไม่ใช่เป็นตัวเราที่มีหน้าตาสวยงามอย่างเดียว
ไม่ใช่เป็นตัวเราที่ได้รับการตกแต่งด้วยเครื่องสําอาง หรือเสื้อผ้าแพรพรรณอันวิจิตรเท่านั้น   ตัวเราที่ดี
ต้องเป็นตัวเราที่ประพฤติปฏิบัติถูกต้องตามทํานองคลองธรรม มีจิตใจที่อบรมด้วยธรรมอันงาม ปรารถนา
จะมีตัวเราก็ต้องปฏิบัติต่อตัวเราเช่นนี้จึงจะถูกต้อง จึงจะพอบรรเทาโทษของการยึดมั่นในตัวเราลงได้บ้าง


พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(สมเด็จพระญาญสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 03 พฤษภาคม 2564 19:46:16
(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn%3AANd9GcTfdvulQ4-joxrWZC_wXTAJiD1XQWtXsW_i3w6rcstaAsKeIg4b&usqp=CAU)

"มีผู้เล่าให้ฟังด้วยความมั่นใจในอำนาจสิ่งลี้ลับที่ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงศักดิ์ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว รู้เห็นกันกว้างขวางพอสมควร เรื่องมีว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อพรหมเทพ ที่มุ่งหมายให้เป็นรูปเทพสำคัญองค์หนึ่ง คือ ท่านท้าววิรุฬหกมหาราช จตุโลกบาลทิศใต้ ซึ่งมีประเทศไทยรวมอยู่ในทิศใต้ของโลกด้วย จึงเชื่อกันว่าท่านท้าววิรุฬหกมหาราชมีหน้าที่ดูแลรักษาประเทศไทย หมายรวมถึงคนไทยด้วย วันหนึ่งมีผู้ถวายผ้าสีแดงสวยงามมากห่มอยู่ และต่อมาเพียงวันเดียวผ้าสีแดงนั้นก็หายไป โดยไม่มีผู้รู้ว่าหายไปไหนได้อย่างไร

มีสุภาพสตรีสองคนอยู่ในข่ายเพ่งเล็งว่าเป็นผู้ถอดผ้าสีแดงผืนนั้นออกจากองค์ท่านท้าวจตุโลกบาลวิรุฬหกมาหาราช แต่ทั้งสองปฏิเสธ ไม่รับรู้เรื่องนี้ ผู้หนึ่งไม่ตอบโต้แก้ตัว เพียงแต่ฟังเฉยๆ ซึ่งก็เท่ากับไม่รับรู้ ส่วนอีกผู้หนึ่งเมื่อถูกถามก็ยืนกรานแต่เพียงว่า ฉันไม่รู้ ฉันไม่รู้ เวลาผ่านไปไม่ถึงเดือน ผู้ที่ปฏิเสธด้วยการเงียบ ให้เข้าใจกันเองว่าตนไม่ได้เป็นผู้นำผ้าห่มไปจากรูปท่านท้าวจตุโลกบาล เธอผู้นั้นเกิดอาการน่าแปลกขึ้น คือ มือข้างหนึ่งมีอาการเหยียดนิ้วทั้งห้าไม่ได้เช่นปกติ

หมอนวดหมอจับเส้นจับกระดูกที่ว่าเก่งมาก และรู้จักกันดีกับเธอได้ช่วยตามความสามารถ แต่หมอก็สารภาพตรงๆ ว่าไม่เคยพบเช่นนี้มาก่อนทำอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น ทั้งยังข้ามจากมือข้างหนึ่งที่กำลังรักษาอยู่ ไปเกิดขึ้นที่อีกข้างหนึ่งแล้ว กลายเป็นทั้งสองมือ นิ้วทั้งหมดหงิกงอหยิบจับอะไรไม่ได้ ต้องป้อนข้าวป้อนน้ำกัน โดยที่ไม่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยขนาดล้มหมอนนอนเสื่อ แต่มือก็ทำงานไม่ได้ เลยไปถึงปากก็อ้ายาก ยืนก็ค่อนข้างลำบาก รวมไปถึงเดินก็ไม่สะดวก เพราะการทรงตัวไม่เป็นปกติเหมือนเคย

เมื่ออาการของคนหนึ่งเป็นเช่นนี้ อีกหนึ่งที่เป็นผู้ร่วมต้องสงสัยก็เอ่ยปากสารภาพ ว่าผู้ที่มือหงิกมืองอ กินยาก เดินยาก ยืนยาก เป็นผู้ที่ใช้ไม้สอยผ้าแดงห่มรูปหล่อท่านท้าววิรุฬหกมหาราช และโยนทิ้งลงไปในอ่างเก็บน้ำบริเวณใกล้เคียง ตนเองไม่ได้ร่วมมือด้วย เพียงแต่ดูอยู่เท่านั้น และเป็นที่ควรอัศจรรย์อย่างยิ่ง เมื่อได้สารภาพทั้งที่ก่อนหน้านั้นปฏิเสธยืนกรานแต่ว่าฉันไม่รู้ ฉันไม่รู้ จนไม่มีผู้ใดรู้ความจริงว่าผ้าห่มรูปหล่อเทวดานั้นหายไปไหน

ครั้นเห็นเพื่อนมือหงิกมืองอ ปากเบี้ยวรับอาหารได้ค่อนข้างยาก คงจะตกใจมาก คงจะแน่ใจว่าผู้ที่ดึงผ้าห่มท่านท้าววิรุฬหกมหาราชกำลังรับกรรมที่ได้ทำไว้แล้ว มือเป็นส่วนที่ใช้สอยผ้าห่มเทวรูป ผลกรรมจึงปรากฏที่มือให้เห็นชัดเจน เพื่อนหญิงที่เห็นเหตุการณ์ตลอดเวลา แต่ช่วยปกป้องให้พ้นผิด โดยกล่าวว่าฉันไม่รู้ ฉันไม่รู้ จนกระทั่งเมื่อตกใจเห็นชัดในผลแห่งการกระทำของเพื่อน จึงรับสารภาพว่าเพื่อนหญิงคนนั้นเป็นผู้ล่วงล้ำก้ำเกินเทวรูปท่านท้าวจตุโลกบาล แต่ก็สายเกินไป เพราะพร่ำพูดได้ประโยคนี้เท่านี้ เหมือนจะพูดอะไรอื่นไม่ได้

หลังจากค่อนข้างทุกข์ทรมานหนักหนาขึ้นเป็นลำดับทั้งสองคน กว่า ๑๐ ปีจึงละโลกนี้ไป ในลักษณะที่ทำให้ผู้รู้เรื่องโดยตลอดหวั่นกลัวกรรมที่ทำไปโดยไม่รู้เรื่องไม่รู้ราวที่สุด เพียงรูปหล่อเทวะที่ดูเหมือนเป็นเพียงอิฐเพียงหินธรรมดาไม่ใหญ่โตมโหฬาร ผลร้ายของการก้ำเกินปราศจากสัมมาคารวะยังร้ายแรงเพียงนี้ และแน่นอนบรรดาผู้ห้อมล้อมรักษาเป็นฝ่ายปฏิบัติตามหน้าที่เท่านั้น เหมือนทหารรักษาเจ้านายของเขาย่อมทำหน้าที่เต็มความสามารถเพื่อรักษาเจ้านาย

สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยิ่งใหญ่เหนือพรหมเทพทั้งหลายมากมาย การล่วงล้ำก้ำเกินพระองค์ท่าน แม้เพียงด้วยวาจา ก็ยากจะรอดพ้นการรู้เห็นของบรรดาเหล่าผู้แวดล้อมรักษาอยู่ จึงยากจะรอดพ้นจากการถูกลงโทษทัณฑ์ เพียงแต่ว่าจะถึงตัวแล้วถึงชีวิตผู้บังอาจล่วงเกินพระผู้ไม่ควรแก่การถูกล่วงเกินเมื่อไรเท่านั้น ไม่พึงประมาทอย่างยิ่ง"

.
--- แสงส่องใจ ที่ระลึกวิสาขบูชา ๒๕๒๗
พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 12 พฤษภาคม 2564 19:03:01

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27772077504131_183953204_4588534767837717_531.jpg)

“ผู้ที่เกิดมาดีมีสุขสมบูรณ์ในภพชาตินี้ก็มิใช่ว่าไม่มีมือแห่งอกุศลกรรมตามตะครุบอยู่ มีแน่...
ทุกคนมีมือแห่งอกุศลกรรมตามตะครุบอยู่แน่ แต่ในขณะเดียวกันทุกคนก็มีมือแห่งกุศลกรรม
เป็นผู้ช่วยอยู่ มือแห่งกรรมกุศลกรรมนั้น ถ้าจะเปรียบให้เห็นง่ายๆ ก็ต้องเปรียบกับเท้า มีมือ
ผู้ร้ายติดตามตะครุบอยู่ จะหนีพ้นก็ต้องอาศัยเท้าพาวิ่งให้เร็วที่สุดเท้าที่จะเร็วได้...นั่นก็คือ
ต้องทําบุญทํากุศลคุณงามความดีให้มากที่สุด ให้เต็มสติปัญญาความสามารถเสมอ ความดี
เท่านั้นจะช่วยให้พ้นมือแห่งกรรมร้ายได้แม้จะพ้นอย่างหวุดหวิดก็ต้องดีกว่าไม่พ้น.”

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)

คติธรรมดาที่ไม่มีใครเกิดมาในโลกนี้ จะหนีไปให้พ้นได้ ก็คือ ความแก่ ความตาย แต่คนโดยมาก
พากันประมาทเหมือนอย่างว่าไม่แก่ ไม่ตาย น่าที่จะรีบทำความดี แต่ก็ไม่ทำ กลับไปทำความชั่ว
ก่อความเดือดร้อนให้แก่กันและกัน ต่างต้องเผชิญทุกข์เพราะกรรมที่ต่างก่อให้แก่กันอีกด้วย
ฉะนั้น ก็น่าจะนึกถึงความแก่ ความตายกันบ้าง เพื่อจะได้ลดความมัวเมา และทำความดี


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62787216115328__640x480_.jpg)

ความยึดถือนี้เองก็เป็นตัวกิเลส ความทุกข์ต่างๆ  ก็เป็นผลของกิเลส
และแม้จะยึดถือไว้เพียงไร ขันธ์ ๕ นี้ก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายไปตามธรรมดานั้นเอง

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(สมเด็จพระญาญสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
(เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชฯ องค์ที่ ๑๙


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 พฤษภาคม 2564 19:41:52
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92880663937992_185373916_2822613134657840_565.jpg)

ศีล คือเครื่องคุ้มครองป้องกัน

"... กรรมไม่ดีมีโทษเป็นผลน่ากลัวจริง "ครูอาจารย์องค์สำคัญท่านพยายามสอนศิษย์ให้กลัวการทำกรรมไม่ดี" ด้วยการนำเรื่องที่ท่านเคยประสบมาเล่า ซึ่งเมื่อท่านรับรองว่า "ท่านได้รู้ใด้เห็นมาด้วยองค์ท่านเอง" ก็ไม่น่าจะมีผู้เคลีอบแคลงสงสัย เป็นด้น

ท่านเล่าว่า "ครั้งหนึ่งท่านธุดงค์อยู่ในป่า มีผ้าขาวน้อยติดตามไป ตกดึกผ้าขาวตกอกตกใจวิ่งจากที่พักของตนเข้าไปหาท่าน" ปรากฏว่าได้เห็นสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเห็นเข้ามาคุกคามจะเอาชีวิต ท่านอาจารย์องค์นั้นเล่าว่า "เมื่อผ้าขาวน้อยเข้าไปหาท่านแล้วย้งแสดงความกลัว" และท่านก็ได้ยินเสียงร้องที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน

"เสียงนั้นร้องก็องก็อง ก็อยก็อย ก็องก็องก็อยก็อย" เป็นเสียงเล็กๆ เบาๆ ท่านมองหาตัวก็ไม่เห็น "ท่านจึงทำสมาธิและก็ได้เห็นหน้าเล็กๆ หน้าหนึ่งลอยอยู่ ลักษณะเหมือนหน้าชะนี เป็นเจ้าของเสียงร้อง ก็องก็องก็อยก้อย ก้องก็องก็อยก็อย"

"เมื่อมันสบตาท่านอาจารย์ ก็หลบวูบหายไป" เสียงร้องนั้นก็หายไปด้วย "ท่านอาจารย์บอกกับสานุศิษย์ว่านั้นเป็นผีก็องก็อย" ที่มุ่งมาหาผ้าขาวน้อยนั้นเพื่อจะดูดเลือดกิน "ท่านสงสัยว่าทำไมผีตัวนั้น จึงมุ่งมาที่ผ้าขาว ซึ่งเป็นผู้ถือศีล"

ท่านจึงซักถามผ้าขาวว่า "ได้รักษาศีลบริสุทธิ์ดีหรือ" จึงได้รับทราบว่า "ในตอนกลางว้น วันนั้นผ้าขาวเผามด" เพราะมาขี้นที่นอนจำนวนมาก ท่านอาจารย์ท่านชี้ว่า "เมื่อไม่มีศีลก็ไม่มีเครื่องคุ้มครอง ผ้าขาวได้รับความคุ้มครองจากศีลอันบริสุทธึ๋ของท่าน" จึงรอดชีวิต .."


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร องค์ที่ ๑๙


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 03 มิถุนายน 2564 19:08:11
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97355075925588_186482480_4650134488344411_566.jpg)
ทุกขสัจจะ

การปฏิบัติอบรมทางปัญญานั้น โดยปริยายคือทางอันหนึ่ง ก็คือการพิจารณาในสัจจะทั้ง ๔ อันเป็นหลักใหญ่ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และได้ทรงแสดงสั่งสอนไว้ คือ ทุกขสัจจะ สภาพที่แท้จริงคือทุกข์ เป็นต้น และในทุกขสัจจะนั้น ก็ให้พิจารณาไปตามพระพุทธาธิบายโดยลำดับก่อนว่า

         ชาติปิ ทุกฺขา     ความเกิด เป็นทุกข์
         ชราปิ ทุกฺขาความแก่ เป็นทุกข์
         มรณมฺปิ ทุกฺขํความตาย เป็นทุกข์
         โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺ สุปายาสาปิ ทุกฺขา     ความโศก ความคร่ำครวญ ร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์
         อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
         ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโขความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์
         ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นสมประสงค์ เป็นทุกข์
         สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา กล่าวโดยย่อ ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการ เป็นทุกข์ ดังนี้

พระพุทธาธิบายนี้ ชี้ให้เห็นสัจจะ คือ ความจริงของชีวิต ว่าจะต้องมีเกิด แก่ ตาย จะต้องประกอบด้วยความเกิดเป็นต้น จะต้องมีความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก จะต้องมีความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก จะต้องมีความปรารถนาไม่สมหวัง และทั้งหมดนี้ก็รวมเข้าที่ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการ อันรวมเข้าเป็นกายและใจ อันรวมเข้าเป็นตัวชีวิตนี้เอง ให้รู้สัจจะ คือ ความจริงของชีวิต ว่าเป็นไปอยู่อย่างนี้ นี้เป็นทุกขสัจจะ สภาพที่แท้จริงคือทุกข์ ที่ควรพิจารณาให้รู้ไว้เป็นประการแรก  

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(สมเด็จพระญาญสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 10 มิถุนายน 2564 19:52:15
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71595295560028_11391324_272932689543703_35995.jpg)

ภาพในอดีตที่หาชมได้ยาก อันนำมาซึ่งคุณธรรมที่ลูกศิษย์ต้องดำเนินตามแบบอย่าง
"ความกตัญญู คือ ใบเบิกทางไปสู่ที่สูง" ภาพนี้ราวปี พ.ศ.๒๕๐๘ เมื่อครั้ง
พระองค์ท่านยังทรงสมณศักดิ์ ที่รองสมเด็จพระราชาคณะ ราชทินนาม พระศาสนโสภณ
ในงานฌาปนกิจโยมมารดา นางกิมน้อย คชวัตร มีเรื่องตามบทความพระประวัติมากมาย
ที่มีอยู่ว่าโยมมารดาได้เย็บอาสนะถวาย พระองค์ท่านได้ใช้อาสนะนี้มาโดยตลอด แม้กระทั่ง
เก่าก็ยังทรงใช้สอดใต้อาสนะผืนใหม่เวลาที่ทรงสวดมนต์ทำวัตร
(http://www.sookjai.com/Themes/default/images/post/xx.gif)

พระพุทธศาสนา สอนให้คนเข้าใจในกรรมนั้น ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม เป็นทาสของกรรมหรืออยู่ใต้อำนาจกรรม
แต่สอนให้รู้จักกรรม ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน กรรมคือการอะไรทุกอย่างที่คนทำอยู่ทุกวันทุกเวลา
ประกอบด้วยเจตนา คือ ความจงใจ
(http://www.sookjai.com/Themes/default/images/post/xx.gif)

ผู้ให้อภัยง่าย ก็คือ ไม่โกรธง่ายนั่นเอง ดังนั้น ผู้ที่ปรารถนาจะฝึกจิตให้ไม่โกรธง่าย จึงควรต้องฝึกตนให้เป็นผู้มีเหตุผล
เคารพเหตุผล นั่นคือให้คิดหาเหตุผลเพื่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้ที่ตนอยากจะโกรธ เมื่อเห็นอกเห็นใจด้วยเหตุผลแล้ว
จะได้ไม่โกรธ จะได้อภัยให้ในความผิดพลาดหรือบกพร่องของเขา    กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ให้คิดหาเหตุผลเพื่อให้เกิด
เมตตาในผู้ที่ตนอยากจะโกรธนั่นเอง
(http://www.sookjai.com/Themes/default/images/post/xx.gif)

การที่จะดูว่าอะไรดีหรือไม่ดี ต้องดูให้ยืดยาวออกไปถึงปลายทาง มิใช่ดูเพียงครึ่งๆ กลางๆ และไม่มัวพะวงติดอยู่กับสุข ทุกข์
หรือความสนุกไม่สนุกในระยะสั้นๆ เพราะจะทำให้ก้าวหน้าไปถึงเบื้องปลายไม่สำเร็จ   คนเราซึ่งเดินทางไปไม่ถึงจุดหมาย
ปลายทาง ต้องหล่นเรี่ยเสียหายอยู่ในระหว่างทางเป็นอันมาก เพราะเหตุต่างๆ ดังเช่นที่เรียกว่า ชิงสุกก่อนห่ามบ้าง
ถืออิสระเสรีบ้าง ฉะนั้นการหัดเป็นคนดีมีเหตุผลที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกๆ คน และจะเป็นคนมีเหตุผล
ก็เพราะสัมมาทิฏฐิ คือมีความเห็นถูกต้อง

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(สมเด็จพระญาญสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

ขอขอบคุณที่มา : ๑๐๐ พระชันษาสมเด็จพระสังฆราช


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 กรกฎาคม 2564 20:01:52
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99987278588944_201079496_4712830698741456_272.jpg)

เวร คือ ความเป็นศัตรูกันของบุคคล ๒ คน หรือ ๒ ฝ่าย เพราะฝ่ายหนึ่งก่อกรรม
อีกฝ่ายหนึ่งก็ผูกใจเจ็บคิดแก้แค้น ถ้าไม่ผูกใจเจ็บก็ไม่เกิดเป็นเวรโดยสมบูรณ์ กรรม
เมื่อให้ผลแล้วก็หมดไป เวรเมื่อทั้งสองฝ่ายยังผูกใจเป็นศัตรูกันก็ยังไม่ระงับ เวรจึงอาจ
ยาวก็ได้สั้นก็ได้.....ผู้ที่ทำกรรมดีอยู่มากเสมอๆ จึงไม่ต้องกลัวกรรมชั่วในอดีตหาก
จะมีกุศลของตนก็จะชูช่วยให้มีความสุขความเจริญสืบต่อไป และถ้าได้แผ่เมตตาจิต
อยู่เนืองๆ ก็จะระงับคู่เวรอดีตได้อีกด้วย ระงับได้ตลอดถึงปัจจุบัน


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 กรกฎาคม 2564 18:11:28
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13364271612630_201837450_4224216834334630_328.jpg)

อาหารบางอย่างมดไม่ขึ้น วางไว้ไม่มีน้ำหล่อ มดก็ไม่ขึ้น นั่นไม่หมายความว่า ไม่มีมดในบริเวณนั้น
มดนั้นมีอยู่ทุกแห่ง  เพียงแต่ว่าจะปรากฏตัวออกมาให้เห็นมากน้อยเพียงไรหรือไม่เท่านั้น   อาหาร
บางอย่างมดขึ้น บางอย่างมดไม่ขึ้น เหตุผลมีว่า เพราะอาหารบางอย่างมีกลิ่น ส่งกลิ่นออกไปนำมด
มดไม่ได้เข้ามาเอง มดเข้ามาขึ้นอาหารเพราะถูกกลิ่นอาหารนั่นเองนำเข้ามา

เมื่อเปรียบกิเลสเหมือนมด มดไม่ขึ้นอาหารที่ไม่ส่งกลิ่นออกไปชักนำฉันใด กิเลสก็ไม่ได้เข้าห้อมล้อม
ปกคลุมใจที่ไม่ส่งออกไปชักนำฉันนั้น ความคิดปรุงแต่ง เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น
ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส คือการส่งใจออกไปชักนำกิเลสเข้ามาห้อมล้อมจิตใจ เหมือนอาหารที่ปรุงแต่ง
ด้วยกลิ่นของความหวานออกไปชักนำมดมารุมขึ้นอาหาร

หยุดความคิดปรุงแต่งเมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส กิเลสแม้มีอยู่
เต็มโลก ก็ไม่เข้ามาห้อมล้อมใจ ใจย่อมผ่องใส สว่าง ห่างไกลความร้อนความมืดของกิเลส
.
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

Cr. ๑๐๐ พระชันษาสมเด็จพระญาณสังวร


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 กรกฎาคม 2564 19:56:03
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51211173294318_217557839_4788684957822696_249.jpg)

คนเรามีปัจจุบันอยู่ยาวแสนยาว แต่ก็ยังหลงผูกพันอยู่กับอดีต ไปใฝ่ถึงอนาคต  นี่ก็เป็นเพราะความหลง
มีความหลงจัดเพียงไหน ก็จะพาให้พ้นไปจากปัจจุบันได้มากเพียงน้ัน  ไปผูกพันยึดมั่นกับอดีต ไปใฝ่ถึง
อนาคตรุนแรงเพียงน้ัน ความจริงก็มิได้ไปผูกพันยึดมั่นอดีตหรือไปใฝ่ถึงอนาคตด้วยเนื้อตัวของตนอย่างไร
ไปด้วยความคิดเท่าน้ัน ความคิดนี้แหละเป็นสื่อ หรือเป็นทาสที่สําคัญของความหลง จัดการกับความคิด
ของเราเสียให้ดี บังคับไว้ให้ได้ ให้เป็นทาสของเรา อย่าให้เป็นทาสของความหลง เราไม่ต้องการเป็นทุกข์
เราก็ต้องบังคับความคิดให้ได้ ถ้าไม่บังคับความคิดของเราเองให้ได้  เราก็จะต้องเป็นทุกข์เพราะความคิด
ของเราเอง จะไปโทษว่าผู้อื่นทําให้เราเป็นทุกข์ไม่ได้  ขืนโทษเช่นนั้นอยู่ตราบใด เราก็จะไม่มีวิธีแก้ทุกข์
ตราบนั้น จะต้องเป็นทุกข์อยู่ตราบน้ัน

ควบคุมความคิดให้ดี ความคิดใดทําให้ไม่สบายใจ ให้ยอมรับทันทีว่าความคิดนั้นต้องยุติ ต้องไม่ปล่อยไว้
ให้มีอยู่ต่อไป เปลี่ยนไปคิดถึงเรื่องอะไรอื่นที่ให้ความสบายใจก็ได้ หรือให้ดียิ่งขึ้นก็ท่องพุทโธ พุทโธ
เสียเถิดจะได้เป็นสุขแน่นอน

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(สมเด็จพระญาญสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 สิงหาคม 2564 15:45:11
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50799109993709_238275073_4881276068563584_565.jpg)

จิตใดที่เป็นจิตของบัณฑิต คือ ผู้มีปัญญาในธรรม ผู้ได้ศึกษาธรรมได้ปฏิบัติธรรม ได้รับผลแห่งธรรมปฏิบัติ
มีสมบัติที่เป็นธรรม คือ ธรรมสมบัติ จิตนั้นมีคุณลักษณะเปรียบได้ดั่งภูเขาหินแท่งทึบ ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
อันผู้อยู่ในโลกจะต้องพบเป็นธรรมดา เพราะเป็นสิ่งมีประจำโลกทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว คือทั้งลาภ ความเสื่อมลาภ
ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ ผู้มีใจเป็นบัณฑิต เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่งบัณฑิต แม้
ต้องเผชิญโลกธรรมทั้ง 8 นี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว ย่อมมีใจตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว


อย่าหลงคิดว่าทำดีไม่ได้ดี กำลังทำกรรมดีอยู่มากมาย นึกไม่ได้เลยว่าในชีวิตนี้ ได้ทำกรรมไม่ดี แต่กำลังต้อง
เดือนร้อนแสนสาหัส ก็อย่าหลงคิดว่าทำดีไม่ได้ดี   แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าผลของกรรมไม่ดี ที่ได้กระทำไว้
ส่งผลแล้วตามมาทัน แล้วผลของกรรมดีที่กำลังทำอยู่ในชีวิตนี้แรงไม่พอ จึงต้องรออยู่

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(สมเด็จพระญาญสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระสังฆราช


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 27 กันยายน 2564 19:20:05
(http://f.ptcdn.info/034/039/000/o0lz1v4cuOvFxhpJwqG-o.jpg)

บิณฑบาต

"อาการที่ขออย่างภิกษุ" ดั่งนี้ จึงไม่ใช่เป็นการขอที่เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเปรียบว่า
เหมือนอย่างแมลงผึ้งที่เคล้าเอารสของดอกไม้ เพื่อไปทำน้ำผึ้ง โดยไม่เบียดเบียนดอกไม้ ไม่เบียดเบียนกลิ่นของ
ดอกไม้ ไม่เบียดเบียนรสส่วนใดส่วนหนึ่งของดอกไม้ต้นดอกไม้ นำเอารสหวานไปเท่านั้น มุนีผู้ที่จาริกบิณฑบาต
ไปในละแวกบ้านก็เช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนชาวบ้านให้เดือดร้อน  รับแต่ของที่เขาแบ่งมาใส่บาตรคนละเล็ก
คนละน้อย โดยไม่ทำให้ผู้ที่ใส่บาตรต้องเดือดร้อน ต้องเสียหายแต่อย่างใด  เพราะโดยปกตินั้นเขาก็ปรุงอาหาร
ไว้สำหรับบริโภคอยู่แล้ว และโดยมากนั้นก็มักจะปรุงไว้มีส่วนเหลือ เพราะฉะนั้น แม้เขาจะแบ่งมาใส่บาตรบ้าง
ก็ไม่ทำให้เขาต้องขาดอาหารบริโภค แล้วก็ใส่บาตรกันหลายๆ คน คนละเล็กคนละน้อย

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)  



หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 14 ตุลาคม 2564 20:14:11
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34883866541915_242796537_5028432793847910_400.jpg)

“..ชีวิตนี้ของทุกคนน้อยนัก น้อยจริงๆ และวาระสุดท้ายจะมาถึงวินาทีใดวินาทีหนึ่งหารู้ไม่
จึงไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง คิดให้ไกลกิเลสให้ได้จริงๆ เถิด เพราะความไกลกิเลสเท่านั้นที่จะ
พาให้ไกลทุกข์ได้ ความคิดนั้นแก้กิเลสได้ ดับกิเลสได้ คือทำที่ร้อนให้เย็นได้ ความสำคัญ
อยู่ที่ต้องคิดให้เป็น คิดให้ถูกเรื่อง ถูกจริตนิสัยของตน   ความสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ
ต้องมีความจริงจังที่จะดับความร้อนในใจตน..”


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 พฤศจิกายน 2564 19:21:19
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81168259390526_247701428_5112951145396074_373.jpg)

ในเส้นทางแห่งสังสารวัฏ อันแสนยาวนาน
“จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว
ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่
ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้น”

( ขุ. ชา. ๒๗/๑๕๗๓-๕/๓๑๘ )

“...ผู้มีธรรมถือเหตุผลเป็นสำคัญเสมอ ไม่ว่าใครจะทำผิดมาแล้วมากน้อยเพียงไหน  หากเห็นเหตุผล
ที่กระทำไปเช่นนั้น จักอภัยให้ได้อย่างง่ายดาย  การตั้งใจจริงที่จะไม่โกรธพร้อมกับใช้ปัญญาหาเหตุผล
มาประกอบเพื่อไม่ให้เกิดความโกรธ ก็คือการตั้งใจจริงที่จะเข้าใจเหตุผลความจำเป็นของคนอื่นที่ทำสิ่ง
อันชวนให้โกรธ และเมื่อเห็นเหตุผลความจำเป็นของเขาแล้ว ก็จะอภัยให้ได้ ไม่โกรธ   การฝึกใจไม่ให้
โกรธ จึงเท่ากับเป็นการฝึกให้อภัยในความผิดของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่รู้จักหรือไม่รู้จักก็ตาม...”

โลกปัจจุบันมีอะไรๆ ที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นมากมาย และหนักหนาขึ้นทุกที   จนกระทั่งมีคำกล่าวว่า
โลกทุกวันนี้มืดน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก นั่นก็แสดงว่าโลกทุกวันนี้ต้องการธัมมะมาก   อีกนัยหนึ่งก็คือ
โลกทุกวันนี้ขาดธัมมะมากเกินไป  จึงตกอยู่ในอันตรายร้ายแรงมากมายร้อยแปด  การปฏิบัติธรรม
กันให้มากที่สุดเท่านั้นที่จะช่วยให้โลกร้อนน้อยลง สว่างขึ้น อันตรายลดน้อยลง   คนอื่นจะเชื่อหรือ
ไม่เชื่อ จะปฏิบัติธรรมเพียงใดหรือไม่ ไม่มีใครบังคับได้ แต่ทุกคนบังคับตัวเองได้ จึงใคร่ขอให้ช่วยกัน
บังคับใจตนเองให้มาใฝ่ธรรม ปฏิบัติธรรมให้ยิ่งขึ้นเถิด จะเป็นการช่วยทั้งตนเองและช่วยทั้งโลก ให้มี
ความสุข ความร่มเย็น ความสว่างไสว ห่างไกลจากความเดือดร้อน จากภัยพิบัตินานาประการ.

"ใจที่สงบมีพลังเข้มแข็ง และเข้มแข็งทั้งสติและปัญญา ใจที่สงบจะทำให้มีสติปัญญามาก และแจ่มใสไม่ขุ่นมัว  
ความแจ่มใสนี้ เปรียบเหมือนแสงสว่างที่สามารถส่องให้เห็นความควรไม่ควร คือ ควรปฏิบัติอย่างไร ไม่ควร
ปฏิบัติอย่างไร ใจที่สงบก็จะรู้ชัดถูกต้อง ตรงกันข้ามกับใจที่วุ่นวายขุ่นมัวไม่แจ่มใส ซึ่งเปรียบเหมือนความมืด
ย่อมไม่สามารถช่วยให้เห็นความถูกต้อง ความควรไม่ควรได้ มีแต่จะพาให้ผิดพลาดเท่านั้น"

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(สมเด็จพระญาญสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 03 ธันวาคม 2564 20:14:40

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82599156681034_263953532_2964801763772309_162.jpg)

น้ำแข็งจำนวนมากเพียงพอ  ทำให้น้ำเดือดพล่านกลายเป็นน้ำเย็นเฉียบได้ฉันใด
เมตตาที่เพียงพอ ย่อมทำให้ใจที่พลุ่งพล่านปานน้ำเดือด กลายเป็นใจที่เยือกเย็น
เช่นน้ำเย็นเฉียบได้ฉันนั้น ดังความร้อนบ้าคลั่งของช้างนาฬาคีรี ได้รับความเย็น
หาที่เปรียบมิได้ แห่งน้ำพระหฤทัยพระพุทธองค์ ก็สงบลงทันที เย็นสนิททันที

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก.


ขอขอบคุณที่มา เพจพระพุทธศาสนา


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 ธันวาคม 2564 15:50:14
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40799566068582_269839303_2980659518853200_496.jpg)

อำนาจของกรรมชั่วร้ายนั้น สามารถทำให้ธรณีแยกออกสูบผู้ทำกรรมนั้นได้

พระเทวทัตเป็นตัวอย่างที่แสดงความน่ากลัวที่สุดของกรรม ท่านคิดทำลายพระพุทธเจ้า แม้เพียงทำได้เล็กน้อยนัก คือเพียงทำให้พระพุทธบาทห้อพระโลหิต และสำนึกผิดได้ในที่สุด พร้อมจะขอประทานโทษ แต่ก็หนีมือแห่งกรรมร้ายแรงที่ทำไว้ไม่พ้นหนีไม่ทัน พระเทวทัตถูกธรณีสูบทันทีที่เท้าสัมผัสพื้นธรณี ขณะกำลังจะได้เข้าไปเห็นพระพักตร์สมเด็จพระบรมศาสดา จังไม่ทันได้กราบพระพุทธบาทขอประทานโทษทั้งปวง

น่าจะคิดถึงความทรมานทั้งกายและใจของพระเทวทัตเมื่อเสวยผลกรรมนั้น น่าจะคิดให้จริงจังเพื่อให้เกิดความกลัวกรรมที่มีอำนาจยิ่งใหญ่นัก

การทำลายพระพุทธเจ้ากับการทำลายพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นกรรมหนักเสมอกัน พึงสังวรระวังให้รอบคอบในเรื่องนี้ อย่าคิดอย่างประมาทว่า พระพุทธศาสนาไม่มีชีวิต ตายไม่มี บาดเจ็บไม่มี จะทำอะไรกับพระพุทธศาสนาจึงไม่น่าจะเป็นบาปเป็นอกุศลกรรม อย่าประมาทในเรื่องนี้ มิฉะนั้น เมื่อต้องได้เสวยผลแห่งการทำลายพระพุทธศาสนาจะทุกข์ทรมานนัก ใครก็จักช่วยไม่ได้

          • สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก •


ขอขอบคุณที่มา เพจพระพุทธศาสนา


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 16:00:36

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/77950840526156_h106_web_1382626492_Copy_.jpg)

จิตที่ใกล้จะดับนั้นปกติเป็นจิตที่อ่อนมาก ไม่มีกำลังที่จะต้านทานใดๆ ทั้งนั้น คุ้นเคยกับความรู้สึกใดเกี่ยวกับเรื่องใด ความรู้สึกนั้นเกี่ยวกับเรื่องนั้นก็จะเข้าครอบงำจิต มีอำนาจเหนือจิต ทำให้จิตเมื่อใกล้ดับผูกพันอยู่กับความรู้สึกนั้นเกี่ยวกับเรื่องนั้น เมื่อจิตดับคือจากร่าง ก็จากไปพร้อมกับความรู้สึกนั้นเกี่ยวกับเรื่องนั้น นำไปก่อเกิดกายที่ควรแก่สภาพจิตทุกประการ

ผู้ที่หวงสมบัติ กลัวจะมีผู้มานำไป ก่อนจะดับจิต มีใจผูกเฝ้าสมบัติอย่างหวงแหน เมื่อดับจิตไปก็เคยมีไปเกิดเป็นงู เฝ้าอยู่ที่สมบัตินั้น ผู้ใดเข้าไปใกล้ก็จะแสดงตัวให้เป็นเป็นงูใหญ่ เช่นที่เล่ากันถึงเรื่องที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ ว่าข้าราชการผู้หนึ่งมีพระพุทธรูปที่หวงมากอยู่องค์หนึ่ง เมื่อละโลกนี้ไป สหายไปเยี่ยมศพได้ขอดูพระองค์นั้น ขณะกำลังดูอยู่ ก็มีงูตัวหนึ่งมาจากไหนไม่ปรากฏ มาแผ่แม่เบี้ยอยู่ใกล้ๆ ผู้มาขอดูไหวทันเข้าใจทันทีว่าเจ้าของได้เฝ้าพระอยู่ด้วยความหวงแหน จึงพูดกับงูดังๆ ว่าไม่ได้คิดจะนำพระไปไหน เพียงมาขอดูเท่านั้น อย่าเป็นห่วง เพียงเท่านั้นงูก็เลื้อยห่างหายไป นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจริงเมื่อไม่นานมานี้ ที่เชื่อกันว่าผู้ที่หวงสมบัติมากๆ ตายไปขณะที่จิตผูกพันเช่นนั้น ต้องไปเกิดเป็นงู ต้องเฝ้าสมบัติ ไม่ได้ไปเสวยผลของกรรมดีใดๆ ที่ได้กระทำไว้ จนกว่าใจจะปล่อยวาง ละความยึดถือความหวงแหนสมบัตินั้นๆ

ด้วยผู้ใหญ่ผู้มีสัมมาทิฐิสัมมาปัญญาแต่ไหนแต่ไรมา ท่านเชื่อในเรื่องอำนาจความยึดมั่นของจิต ท่านจึงสอนลูกหลานไว้ว่าก่อนจะหลับไปให้ภาวนาพุทโธ นึกถึงพระพุทธเจ้า และให้ตั้งใจปรารถนาว่า เมื่อจากโลกนี้ไปเมื่อใดก็ตาม ขอให้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ทันที ให้ได้พบพระพุทธศาสนา ท่านสอนกันให้ตั้งใจเช่นนี้ก่อนจะหลับไป และท่านสอนว่า ถ้าการหลับครั้งนั้นจะไม่ได้กลับมาตื่นอีก ก็จะได้ไปดี เป็นไปดังแรงปรารถนา การได้เกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานั้นเป็นมงคลสูงสุดของชีวิต ผู้มีสัมมาทิฐิจึงตั้งจิตปรารถนาอย่างจริงจัง

ผู้อธิษฐานจิตปรารถนากลับมาเกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานั้น คือผู้รับรองความสำคัญของชีวิตนี้ แม้จะน้อยนัก ว่าชีวิตนี้เท่านั้นที่จะนำไปสู่ความสวัสดีมีสุขได้อย่างแท้จริง เพราะชีวิตนี้เท่านั้นที่พร้อมสำหรับบำเพ็ญบุญกุศลทุกประการ จะทำดีเพียงไรก็ทำได้ในชีวิตนี้ ทำดีสูงสุดจนเกิดผลสูงสูง คือการปฏิบัติได้สำเร็จมรรคผลนิพพาน พ้นทุกข์สิ้นเชิง ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ก็ทำได้ในชีวิตนี้ หรือทำดีเพียงเพื่อได้ถึงสวรรค์พ้นนรก ก็ทำได้ในชีวิตนี้ การตั้งจิตอธิษฐานไม่ให้หลงไปภพภูมิอื่นหลังละโลกนี้ไปแล้ว แต่ให้กลับมาสู่ภพภูมิของมนุษย์โดยเร็ว ได้พบพระพุทธศาสนา จึงเป็นความถูกต้อง พึงทำอย่างยิ่ง

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 เมษายน 2565 13:49:00
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13747627660632_277755105_5634770699880780_758.jpg)

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

อาศัยกิเลส บำเพ็ญบารมี และแม้ว่าเวลาบังเกิดกิเลสขึ้น เช่นเกิดราคะความติดใจยินดี โทสะความโกรธแค้นขัดเคือง โมหะความหลงหรือเกิดความโลภอยากได้ เกิดตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากต่างๆ ก็ปฏิบัติระงับใจตัวเอง มั่นคงอยู่ในศีลที่จะไม่ประพฤติละเมิดไปตามอำนาจของกิเลส เว้นจากการฆ่าการทำร้ายเขาได้ เว้นจากการลักขโมยเขาได้ เว้นจากประพฤติผิดประเพณีในทางกามได้ เว้นจากพูดเท็จได้ เว้นจากน้ำเมาคือสุราเมรัย อันเป็นฐานของความประมาทได้เป็นต้น คือแปลว่าเว้นใจตัวเองได้ เว้นกิเลสในใจของตัวเองได้ มีความอดทนเอาไว้ไม่ปล่อยกิเลสออกไปให้เป็นกรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบด้วยใช้สติ ใช้ปัญญา ใช้ความอดทน วางใจลงไปให้เป็นอุเบกขาให้ได้ คือทำตนมัธยัสถ์เป็นกลาง ไม่ยอมให้ฝ่ายยินดีหรือยินร้ายดึงเอาไป  ดั่งนี้ก็เป็นการบำเพ็ญบารมี เวลาโกรธขึ้นมาก็ปฏิบัติดับโกรธให้ได้ ก็เป็นการบำเพ็ญบารมีกันอย่างหนึ่งๆ โลภอะไรขึ้นมาเมื่อเป็นสิ่งที่ไม่สมควรก็ปฏิบัติดับโลภได้ ดับได้ทีหนึ่งก็เป็นการเพิ่มบารมีขึ้นทีหนึ่ง  เพราะฉะนั้น จึงสามารถที่จะบำเพ็ญบารมีหรือความดีได้ในทุกโอกาส ได้ในทุกขณะ ได้ในทุกสถานที่

ที่มา : ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระสังฆราช


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 13 มีนาคม 2566 18:51:30
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/14548777706093_330984130_2581024835371289_585.jpg)

"..... ที่น่ากลัวที่สุดสำหรับผู้ละโลกนี้ไปแล้วก็คือชีวิตในโลกหน้า  ในโลกใหม่ของแต่ละคน
หัดนึกถึงความจริงที่จะต้องหนีไม่ได้ คือการเกิดใหม่ในทันทีที่การเกิดเก่าจบสิ้นลง ที่ว่าชีวิต
ในภพชาติใหม่ น่ากลัวที่สุด ก็เพราะไม่มีใครรู้ว่าชาติหน้าของเราแต่ละคนจะเป็นเช่นไร ดีหรือ
ร้ายเพียงไหน จะขึ้นสวรรค์หรือจะลงนรก ต่างก็น่าจะไม่รู้กัน และเพราะน่าจะพากันไม่เคยสนใจ
แม้เพียงจะคิด ว่าทันทีที่ขาดใจตาย เราจะเป็นอย่างไร เราจะไปไหน ไปเป็นอะไร เราพากัน
ไม่สนใจ ไม่นึกถึง สิ่งที่ควรสนใจ ควรนึกถึง อย่างที่สุดนี้ เพื่อจะได้ให้เวลาตัวเองในการจัด
ที่ใหม่ให้ชีวิตตน ชาติหน้าที่ทุกคนต้องไปถึงแน่ทันทีที่ออกจากร่างในชาตินี้ จะเป็นการช่วย
ตนเอง ให้มีโอกาสหาที่ทางเตรียมไว้สำหรับชีวิตใหม่ ที่ต้องพบแน่ในวันหนึ่งข้างหน้า เพียง
แต่อาจจะช้าหรืออาจจะเร็วเท่านั้น ใครจะไม่มีภพชาติใหม่ไม่มี นอกจากพระอรหันต์ผู้ไกล
กิเลสแล้วสิ้นเชิงเท่านั้น ที่ท่านจะไม่เกิดอีกต่อไปแล้ว..."

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร



ที่มา : ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระสังฆราช


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 มีนาคม 2566 19:01:10

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/63439677531520_117341040_2998279826949787_237.jpg)

"ผู้มีปัญญาพอประมาณ เตรียมเสบียงสำหรับภพชาติหน้าด้วยการทำทานการกุศล  เพื่อได้ชีวิตใหม่
ในภพชาติข้างหน้าอย่างไม่ขาดแคลน   บางคนก็ทำบุญทำกุศลปรารถนาสวรรค์  บางคนก็ปรารถนา
ความมั่งมีในภพภูมิของมนุษย์  ซึ่งนับว่าเป็นการกระทำที่ถูก  เป็นการเชื่อกรรม ว่ากรรมดีจักให้ผลดี
จึงเมื่อหวังผลดีก็ทำกรรมดี   ผู้มีปัญญามาก เล็งรู้ว่าความไม่เที่ยงมีอยู่  แม้เกิดดีในภพใหม่  ได้ขึ้น
สวรรค์ชั้นฟ้าสมปรารถนา  แต่ด้วยความไม่เที่ยงก็ย่อมสามารถพ้นจากฐานะนั้นมาได้รับผลของกรรม
เป็นความทุกข์ยากในภพภูมิอื่นได้ ดังนั้นผู้มีปัญญาจึงไม่มุ่งปรารถนาความเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร
ก็ตาม สูงส่งเป็นสุขเพียงใดก็ตาม  เพราะมีปัญญาทำให้รู้ว่าความสุขนั้นไม่ยั่งยืน  และทำให้รู้ด้วยว่า
แม้ปรารถนาความไม่ต้องพ้นจากความสุขไปสู่ความทุกข์  ก็ต้องปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ คือละจาก
กิเลสให้ไกลจริงเท่านั้น..."

พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร



หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 ตุลาคม 2566 18:40:09
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28585905250575_22_Copy_.jpg)

โลกธรรม อันหมายถึงเรื่องราวที่ก่อให้เกิดสุข เกิดทุกข์ ที่ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ
บางคราวก็มีมาเหมือนน้ำท่วมที่เรียกว่าอุทกภัย อันที่จริงทั้งความสุขทั้งความทุกข์
เป็นอุทกภัยเหมือนกัน ถ้ามีสิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของใจดีแล้ว ก็ไม่เดือดร้อน

การทำใจก็คือการให้เป็นเกาะที่พึ่งของใจนี่เอง  คนมีบุญก็คือคนที่มีเกาะของ
จิตใจดี ที่ได้สร้างสมมาแล้ว และกำลังสร้างสมอยู่

พระธรรมวรคติ  สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร


หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 ตุลาคม 2566 20:05:55

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24003550658623_11_Copy_.jpg)

สติ
ในเวลาเมื่อเข้าสู่สมาคมในที่นั้นๆ  ก็แสดงได้ถูกต้อง ควรจะนั่งก็นั่ง ควรจะยืนก็ยืน
ควรจะเดินก็เดิน ควรจะนอนก็นอน และควรที่จะแสดงกิริยาอาการนอบน้อมอย่างไร
หรือปฏิบัติอย่างไรให้เหมาะสม ก็กระทำให้ถูกต้องแก่ระเบียบของที่ประชุมนั้นๆ
ดังนี้ ก็ต้องอาศัยความระลึกได้ ความตามระลึกได้ถึงกิริยาอาการที่กระทำมาแล้ว
ในอดีต หรือที่ฝึกหัดมาแล้วนั้นเอง จึงกระทำได้ถูกต้อง

พระธรรมเทศนาเรื่อง สติกถา
๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๓




หัวข้อ: Re: "พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 มีนาคม 2567 10:19:36


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27944564902120_55906338_2098438556905248_3543.jpg)

เมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพานได้ทรงตั้งธรรมที่ทรงแสดงแล้ว  
และวินัยที่ทรงบัญญัติแล้วให้เป็นศาสดาแทนพระองค์ เมื่อทรงล่วงไปแล้ว
มิได้ทรงตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งขึ้นแทนพระองค์


"พระคติธรรม" สมเด็จพระญาณสังวร กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก -เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์