หัวข้อ: ภาวนามนตรา เสริมพลังกลุ่ม ตามความเชื่อของชาวทิเบตในพุทธศาสนา เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 08 มีนาคม 2554 09:14:15 (http://pics.manager.co.th/Images/554000002605602.JPEG)
ทำอย่างไรจึงจะรวย? เราจะเจ็บไข้ได้ป่วยไหม? แล้วชีวิตจะประสบความสำเร็จอย่างที่คิดไว้หรือเปล่า? ลองนับดูว่าในหนึ่งวัน คุณคิดถึงเรื่องตัวเองกี่ครั้ง และมีสักกี่หนที่คุณคิดถึงเรื่องของคนอื่นบ้าง ถ้าคิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออกว่าครั้งสุดท้ายที่รู้สึกเห็นใจและอยากช่วยเหลือ คนอื่นๆ คือเมื่อไหร่กัน วันนี้ M-Light มีวิธีการขัดเกลาจิตใจตามวิถีชาวทิเบตมาให้ลองปฏิบัติดู ชาวทิเบตและชาว ไทยเป็นพุทธศาสนิกชนเหมือนกัน ต่างกันเพียงแค่วิถีปฏิบัติเท่านั้นเอง คือทิเบตนับถือนิกายมหายาน ส่วนประเทศไทยนับถือแบบเถรวาทเป็นหลัก รศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ ประธานมูลนิธิพันดารา คือบุคคลที่เข้าใจความแตกต่างของทั้งสองรูปแบบเป็นอย่างดี และวันนี้ท่านมีวิถีปฏิบัติตามแบบชาวทิเบตมาแนะนำให้เราลองนำไปปรับใช้ เมตตาคนอื่น ตนเองเป็นสุข สังคมในยุคปัจจุบัน แค่ให้เข้าวัดทำบุญยังหาเวลาแทบไม่ได้ เมื่อเราบอกว่าจะชักชวนให้ลองมาปฏิบัติธรรมตามแบบทิเบต หลายคนคงนึกปฏิเสธทันที เพราะรู้สึกเสียเวลาเกินไปที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งที่ความจริงแล้วแนวคิดแบบทิเบตไม่ต่างไปจากพุทธศาสนาในแบบที่ เรารู้จักกันมาตั้งแต่ยังเด็ก และยังสามารถเริ่มต้นปฏิบัติได้ง่ายๆ เพียงแค่หัดยึดความสุขของตนเองเป็นรอง และรู้จักถือเอาความสุขของผู้อื่นมาก่อนเท่านั้นเอง “โดย หลักการแล้วพุทธศาสนาแบบทิเบตกับที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือกันอยู่ ไม่ได้ต่างอะไรกันมาก จะเน้นเรื่องไตรลักษณ์ การปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญาเหมือนๆ กัน เพียงแต่ทางทิเบตจะเน้นว่าการปฏิบัติธรรมต้องเป็น ไปเพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย คือถือตัวเองเป็นรองและนึกถึงสัตว์ทั้งหลายมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ฝ่ายเถรวาทจะเน้นให้แต่ละคนปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงการหลุดพ้น เน้นความสุขของผู้ปฏิบัติมาก่อน ดังนั้นการเริ่มต้นปฏิบัติตามวิถีของทิเบตง่ายๆ ก็คือให้ตั้งจิตแผ่เมตตา แผ่ความรักความกรุณาให้แก่ผู้อื่น” อาจารย์กฤษดาวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมทิเบต อธิบาย การแผ่เมตตาให้แก่สรรพชี วิตอื่นๆ นอกจากจะช่วยให้สิ่งมีชีวิตบนโลกได้รับอานิสงส์แห่งผลบุญแล้ว ยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจที่เป็นสุขไปพร้อมกันด้วย เพราะคนส่วน ใหญ่ที่เป็นทุกข์ในชีวิต มักคิดเวียนวนอยู่กับปัญหาของตนเอง การส่งจิตภาวนาให้แก่สัตว์อื่นจึงช่วยให้เราได้รับรู้ความทุกข์ของผู้อื่น รู้จักละจากปัญหาของตนเอง ท้ายที่สุดจึงทำให้จิตใจเป็นสุข อย่างที่อาจารย์กฤษดาวรรณกล่าวไว้ว่า “เมื่อ เราเอาความกรุณามาเป็นอุบาย ได้รับรู้ถึงชีวิตที่เป็นทุกข์กว่า ชี้ให้เห็นว่ายังมีปัญหาของผู้อื่นที่หนักหนากว่าเราอีกมาก ก็สามารถที่จะช่วยได้ เมื่อได้ช่วยผู้อื่น เราก็จะเห็นคุณค่าของตัวเอง ความทุกข์ทั้งหมดที่มีก็จะค่อยๆ หมดไป” “มนตรา” ช่วยชีวิต ทางทิเบตจะมีการสวดที่เรียกว่า “มนตรา” คือคาถาเพื่อทำความเคารพพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ซึ่งมีมากมายหลายคาถาตามความเชื่อที่ว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน สำหรับผู้ที่ต้องการปฏิบัติในระยะเริ่มต้น อาจารย์กฤษดาวรรณแนะนำให้เริ่มจากบูชา “พระแม่ตารา” หรือพระพุทธเจ้าในภาคที่เป็นผู้หญิง ไม่ว่าจะเกิดความทุกข์ใจจากเรื่องใด สามารถขจัดออกไปได้ด้วยการนึกถึงความรักของพระองค์ “เมื่อ เรานึกถึงความรักของแม่จะทำให้เรารู้สึกอบอุ่นและช่วยให้หายเศร้าได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเรานึกถึงพระพุทธเจ้าในองค์ที่เป็นผู้หญิงก็สามารถช่วยให้เราพ้นทุกข์ได้ เช่นกัน วิธีปฏิบัติคือให้นึกว่าพระองค์อยู่ที่หัวใจของเรา เป็นเหมือนแสงสว่างอยู่ที่กลางใจ แล้วเราสัมผัสถึงความรักของพระองค์ได้ เมื่อคิดได้อย่างนี้ก็จะทำให้หายเศร้า สำหรับคนที่เริ่มปฏิบัติอาจจะยังไม่ต้องสวดคาถาไปด้วยก็ได้ แค่นึกถึงก่อนก็พอ” ประธานมูลนิธิพันดารา มูลนิธิเพื่อการปฏิบัติธรรมตามวิถีชาวทิเบต แนะนำวิธีปฏิบัติ ก่อนขยายความให้ฟังต่อ “เคยมีคนมาหาอาจารย์เหมือน กัน บอกว่านอนไม่หลับ ไม่รู้จะทำยังไง เราก็แนะนำให้เขาสวดมนตรา นึกถึงพระแม่ตารา คิดว่าพระองค์อยู่กับเราก่อนที่เขาจะหลับ ให้ นึกถึงว่าพระองค์มีขนาดเล็ก เล็กเท่าขนาดเมล็ดข้าว แล้วเราก็หลับไปพร้อมกับความรู้สึกนั้น หลายคนที่ลองทำดูบอกว่าได้ผลนะคะ เขานอนหลับได้จริงๆ ก็ถือเป็นอุบายอย่างหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาได้ค่ะ” “หรือ อย่างผู้ป่วยท่านหนึ่งเป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายแล้วเขาเพิ่งทราบ ไม่เหลือวิธีรักษาอย่างอื่นแล้วนอกจากต้องทำคีโม เขาก็มาปรึกษาเราว่าเขาเครียดมากทุกครั้งที่ทำคีโม เราก็บอกเขาไปว่าเขาสามารถจะนึกถึงพระแม่ตาราได้ในขณะที่คุณหมอ กำลังให้การรักษาอยู่ได้ ให้ท่านช่วยขจัดความกลัว ให้นึกว่าเรามีเพื่อนอยู่ใกล้ๆ เราไม่ได้อยู่คนเดียว เขาก็ลองปฏิบัติดูแล้วเขาก็บอกว่ารู้สึกดีขึ้นนะคะ จากที่เคยเครียดเคยกังวลว่าจะเจ็บอย่างเดียว” อาจารย์กฤษดาวรรณยกตัวอย่างให้ฟัง ทุกข์หมดไปด้วยท่ากราบแบบทิเบต มนุษย์เงินเดือนที่ต้องกรำงานหนักทุกวัน อาจารย์แนะนำให้ลองหันมาทำสมาธิตามแบบทิเบตดู โดย เริ่มต้นจากการภาวนามนตรา ปลดเปลื้องความทุกข์ด้วยการกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ และทำใจให้อยู่กับปัจจุบัน รับรองว่าจิตใจจะเป็นสุขอย่างแน่นอน “คนที่เครียดนี่ ถ้าเราให้เขานั่งหลับตาทำสมาธิ ความเครียดจะไม่หมดไป แต่จะยิ่งพอกพูนฟุ้งซ่านมากขึ้น เพราะฉะนั้นต้องให้เขาได้ทำกิจกรรม ได้ร่วมภาวนามนตรากับผู้อื่น จะทำให้เขารับรู้ได้ถึงพลังกลุ่ม เวลาเราอยู่ด้วยกัน เราสวดเป็นเพลง เสียงเพลงจะช่วยเยียวยาจิตใจ ทำให้เขาลืมความทุกข์ได้ ให้เขาได้ลองกราบพระแบบอัษฎางคประดิษฐ์ คือให้ร่างกายทั้ง 8 ส่วนได้สัมผัสพื้น มือทั้ง 2 หัวเข่าทั้ง 2 เท้าทั้ง 2 หน้าผากแล้วก็ลำตัวจรดพื้นดินเพื่อเป็นการทำสมาธิ เมื่อ ทุกส่วนของร่างกายสัมผัสกับพื้นดิน เราจะได้สลายบาปกรรมไปด้วย ชาวทิเบตเชื่อกันว่ายิ่งกราบเยอะ อกุศลกรรมต่างๆ ที่ได้เคยทำก็จะหมดไป และช่วยให้ใจมีสมาธิค่ะ” “ระหว่างที่ปฏิบัติจะช่วย ให้ได้อยู่กับปัจจุบันขณะ จากก่อนหน้านี้ที่บางคนอาจคิดพะวงเรื่องงานตลอดเวลา เป็นทุกข์จากการคิดวางแผนและกังวลต่อการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติจะช่วยให้เราปล่อยวาง ทำใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ รู้จักปล่อยวางจากอนาคตและอดีต อยู่กับปัจจุบัน และถ้ายิ่งได้เดินทางมาปฏิบัติท่ามกลางธรรมชาติและป่าเขา การ อยู่ที่โล่งๆ ที่กว้างๆ ออกมาจากคอนโด หรือเมืองแคบๆ บ้าง จะช่วยให้จิตใจได้เปิดกว้างมากขึ้น ใจกว้างมากขึ้น มองเห็นผู้อื่นมากขึ้น รู้จักเผื่อแผ่แก่คนอื่น ท้ายที่สุดจิตใจของเราก็จะเป็นสุข” รายงานโดย ทีมข่าว M-Lite / ASTV สุดสัปดาห์ http://krisadawan.wordpress.com/ (http://krisadawan.wordpress.com/) หัวข้อ: Re: ภาวนามนตรา เสริมพลังกลุ่ม ตามความเชื่อของชาวทิเบตในพุทธศาสนา เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 08 มีนาคม 2554 10:48:05 อนุโมทนา อ.มด ครับ
|