[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 11 เมษายน 2553 21:55:30



หัวข้อ: เวลาเหลือน้อย : อ.บูรพา ผดุงไทย
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 11 เมษายน 2553 21:55:30

(http://www.bloggang.com/data/0518/picture/1178099291.jpg)

เวลาเหลือน้อย : อ.บูรพา ผดุงไทย

  ” เราอาศัยโลกอยู่แต่ไม่อาจเป็นเจ้าของโลกได้
มนุษย์มีอำนาจครอบครองสิ่งต่างๆ บนโลกได้เพียงชั่วคราว
เมื่อต้องจากโลกนี้ไป..


อำนาจแห่งการครอบครองบนโลกก็หมดลงตามไปด้วย
หากเราไม่เข้าใจและไม่ยอมรับในความจริงนี้
ดวงจิตวิญญาณที่ยังคงมีความยึดมั่นถือมั่น

คิดเป็นจริงเป็นจัง คิดว่าโลกนี้เป็นของของตนจริง
จึงต้องได้รับความทุกข์อย่างแสนสาหัส
ด้วยอวิชชาที่ไม่ยอมปล่อยวางสมมติบนโลก “


” ภาพลวงตา..

เราทุกคนต่างอยู่บนโลกแห่งจินตนาการ
โลกที่เต็มไปด้วยภาพมายาการปรุงแต่ง

สิ่งที่เราเห็น จึงมิใช่สิ่งที่เป็นอยู่อย่างแท้จริง
มันจึงเป็นเพียงแค่ภาพมายาที่ถูกกำหนดด้วยอำนาจกิเลสโลก

เราจึงไม่เคยเห็นตัวตนที่แท้่จริงของโลกและตัวของเราเองเลย
สิ่งที่เราเห็นจึงเป็นเพียงแค่ภาพลวงตา..เท่านั้นเอง “


” มิติเวลาแห่งอดีต..

เมื่อเรามองขึ้นไปบนท้องฟ้า
เรากำลังมองดูภาพจากในอดีตเมื่อหลายล้านปีมาแ่ล้่ว

สิ่งที่เราเห็นอาจมิใช่สิ่งที่เป็นอยู่จริง
โลกและจักรวาลจึงเป็นแค่เพียงภาพมายาที่จิตของเราปรุงแต่งขึ้นมา
มันมีตัวตนจริงที่ไหน?..”



(http://www.palungdham.com/landscape/landscape188.jpg)


หัวข้อ: Re: เวลาเหลือน้อย : อ.บูรพา ผดุงไทย
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 11 เมษายน 2553 22:16:46

(http://i412.photobucket.com/albums/pp209/JSeventh/lake.jpg)

” ความสุขที่แท้จริง (บรมสุข)

ความสุขอย่างไหนเป็นความสุขที่แท้จริงกันแน่?..

ระหว่างความสุขทางโลกที่เกิดจากการได้สนองอำนาจมายากิเลสโลก (เป็นทาส)
กับความสุขทางธรรมที่เกิดจากการหลุดพ้นจากอำนาจมายากิเลสโลก (เป็นอิสระ)

ความยึดมั่นถือมั่นในสมมติบัญญัติโลกว่าเป็นของตน
กับการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นนั้นลงได้ “


” วิทยาศาสตร์ ศาสนา และธรรมชาติ

..แท้จริงแล้วล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน
แต่ด้วยความเจ้าปัญญาช่างคิดช่างฝันของมนุษย์แท้ๆ
จึงทำให้สิ่งที่เหมือนกัน กลายเป็นสิ่งที่แตกต่างกันได้ “


” มิติแห่งความคิดและความฝัน

การเวียนว่ายตายเกิดนับร้อยนับพันชาติ
อาจเป็นปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นในความฝันเพียงครั้งเดียวของเราเท่านั้น “


” ผู้ที่หมดอวิชชาแล้วย่อมไม่มาเกิด

มนุษย์ทุกคนที่เกิดขึ้นมาบนโลกสมมติใบนี้
ล้วนเป็นผู้ที่ยังคงมีอวิชชา (ความโง่) อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น

จะโง่มาก หรือโง่น้อยเท่านั้น
ที่หมดสิ้นอวิชชา (ความโง่) แล้วไม่มี

ผู้ที่หมดสิ้นอวิชชา..หมดความหลงผิด หมดความโง่แล้ว
ย่ิอมไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดบนโลกสมมติใบนี้

พวกเราทั้งหลายจึงเป็นเพื่อนร่วมทางด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
ไม่มีใครดีำว่าใคร ไม่มีใครเก่งกว่าใคร

เราต่างตกที่นั่งเดียวกันทุกคน
คือ ผู้แสวงหาหนทางกลับบ้านด้วยกันทั้งนั้น “


หัวข้อ: Re: เวลาเหลือน้อย : อ.บูรพา ผดุงไทย
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 11 เมษายน 2553 22:33:26

(http://www.palungdham.com/news/tlob02.jpg)

” เข้าใจมิใช่เข้าถึง

อยากไปเมืองเชียงใหม่..
อย่ามัวแต่นั่งรอให้เมืองเชียงใหม่ มันเดินทางมาหาเรา
อยากถึงเมืองเชียงใหม่ เราต้องเดินทางไปหามัน

ออกเดินทางเสียแต่เดี๋ยวนี้
บางทีชาตินี้อาจถึงเมืองเชียงใหม่ได้

อย่ามัวเอาแต่ศึกษาเรียนรู้แล้วจินตนาการถึงเมืองเชียงใหม่อยู่เลย
เพราะมันไม่มีวันที่จะถึงเมืองเชียงใหม่ได้..ด้วยการจินตนาการคาดเดา

มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวของเมืองเชียงใหม่ด้วยการจินตนาการ
จึงมิได้หมายความว่าตนนั้นได้เดินทางมาถึงเมืองเชียงใหม่จริง

ศึกษาธรรมนั้น อาจเข้าใจธรรม
แต่ปฏิบัติธรรมเท่านั้น จึงจะเข้าถึงธรรม”


” อนัตตา

อวิชชาเปรียบดังเส้นเชือกที่ถูกผูกเป็นปมซ้อนกันไว้เป็นชั้นๆ
ด้วยปัญญา (รู้แจ้ง) จึงสามารถแก้ปมเชือกเหล่านั้นออกได้
เมื่อแก้ปมหนึ่งออกได้ ก็พบว่ายังมีปมอื่นซ่อนอยู่อีก

จนกระทั่งมาถึงปมสุดท้ายของเชือกเส้นนี้

หากแก้ปมสุดท้ายนี้ออกได้ เชือกเส้นนี้ก็จะเป็นอิสระและปราศจากปมอีกต่อไป
แต่เมื่อปมสุดท้ายของเชือกเส้นนี้ถูกแก้ออกได้แล้ว..เส้นเชือกนั้นกลับหายไป

ผู้ปฏิบัติทุกคนที่เดินทางมาถึงปมสุดท้ายของอวิชชา
ต่างก็พบกับความจริงของคำว่า อนัตตา นี้เหมือนกันทุกคน

เส้นเชือกที่ว่านั้น มันไม่เคยมีตัวตนอยู่จริงเลยตั้งแต่ต้น

นี่แหละที่สุดของ อนัตตา
มีปม จึงมีเชือก หมดปม เส้นเชือกก็ (ไม่มีตัวตน) หายไป “



(http://i412.photobucket.com/albums/pp209/JSeventh/sunset_perfsky.jpg)

 (:88:)  http://forum.serithai.net/viewtopic.php?f=8&t=2614 (http://forum.serithai.net/viewtopic.php?f=8&t=2614)