หัวข้อ: CHAPTER ONE OF สังขารุเปกขาญาณ เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 12 เมษายน 2553 09:23:28 (http://img442.imageshack.us/img442/305/budddah.jpg) http://www.fungdham.com/download/song/allhits/22.wma .......................................สังขารุเปกขาญาณ................................. สังขารุเปกขาญาณ หมายความว่า ญาณพิจารณาเห็นรูปนาม โดยอาการวางเฉยในสังขาร-นิมิตอารมณ์ สังขารคือ สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อลงมาได้แก่ รูปกับนาม ขันธ์ที่ 1 เป็นรูป ขันธ์ที่ 2 - 3 - 4 - 5 เป็นนามการวางเฉยนั้นคือเป็นกลาง ๆ ในสังขารุเปกขาญาณนั้นปัญญาพิจารณา กำหนดรู้รูปนามเป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ ว่างเปล่าจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา แล้ววางเฉยมีสติกาหนดได้ดี โดยสรุปดังนี้................................................... ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามว่า เป็นทุกข์ เห็นความเป็นไปของรูปนาม ที่เกิดขึ้นมาแล้วว่าเป็นทุกข์ เห็นนิมิต คือ เครื่องหมายของรูปนามที่บอกให้รู้ว่า ไม่เที่ยงทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ ว่าเป็นทุกข์ เห็นการสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิดอีกว่าเป็นทุกข์ เห็นคติทั้ง 5 ว่าเป็นทุกข์ เห็นปฏิสนธิว่าเป็นทุกข์ เห็นความบังเกิดของขันธ์ 5 ว่าเป็นทุกข์ เห็นการเกิดเป็นไปของผลกรรมว่าเป็นทุกข์ เห็นโสกะว่าเป็นทุกข์ เห็นปริเทวะว่าเป็นทุกข์เห็นอุปายาสะว่าเป็นทุกข์ เพื่อพิจารณาเห็นทุกข์อย่างนี้แล้วเกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น จึงมนสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้าอีกแล้ววางเฉยจัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามว่าเป็นภัย เห็นความเป็นไปของรูปนาม ที่เกิดมาแล้วว่าเห็นภัย เห็นนิมิตคือเครื่องหมายของรูปนามที่บอกให้ รู้ว่าไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับไม่ได้ว่าเป็นภัย เห็นการสั่งสมกรรมเพื่อให้เกิดอีกว่าเป็นภัย เห็นคติทั้ง 5 ว่าเป็นภัย เห็นปฏิสนธิว่าเป็นภัย เห็นความบังเกิดขึ้นของขันธ์ 5 ว่าเป็นภัย เห็นการเกิดซึ่งเป็นผลของกรรมว่าเป็นภัย เห็นชาติว่าเป็นภัย เห็นชราว่าเป็นภัย เห็นพยาธิว่าเป็นภัยเห็นมรณะว่าเป็นภัย เห็นปริเทวะว่าเป็นภัยเห็นอุปายาสะว่าเป็นภัยเมื่อพิจารณาเห็นภัยอย่างนี้แล้วเกิดความเบื่อหน่ายอยากหลุดพ้นจึงมนะสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้าอีก แล้วจึงวางเฉย จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนามว่าสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นความเป็นไปของรูปนามที่บอกให้รู้ว่าไม่เที่ยงทนอยู่ไม่ได้บังคับบัญชา ไม่ได้ว่าสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นการสั่งสมกรรมเพื่อให้ได้เกิดอีกว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นความบังเกิดขึ้นของ ขันธ์ 5 ว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นความเกิดเป็นไปของวิบากว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เห็นชาติ ชรา หัวข้อ: Re: CHAPTER ONE OF สังขารุเปกขาญาณ เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 12 เมษายน 2553 09:28:05 (http://img442.imageshack.us/img442/305/budddah.jpg) มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะว่าเป็นสังขารคือผู้ปรุงแต่ง เมื่อพิจารณาเห็นสังขารโดยอาการอย่างนี้แล้วเกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น จึงมนะสิการถึงพระไตรลักษณ์ซ้าอีก แล้ววางเฉย จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปนาม ตั้งแต่ชาติจนถึงอุปายาสะ(ความคับแค้นใจ)เพราะถูกความเสื่อม 5 ประการ คือ ความเสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เป็นต้น ถูกครอบงาเป็นไปด้วยเหยื่อล่อให้หลงติดอยู่ในวัฏฏะ จึงเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น จึงมนสิการ ถึงพระไตรลักษณ์ซ้าแล้วซ้าอีก แล้ววางเฉย จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นว่าความเกิดขึ้นของรูปนาม ตั้งแต่ชาติจนถึงอุปายาสะ ว่าเป็นสังขารผู้ปรุงแต่งให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนนานาประการ แล้ววางเฉยสังขารเหล่านั้น ปัญญาเช่นนี้ จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นว่าสังขารและอุเปกขาทั้ง 2 ก็เป็นสังขาร แล้ววางเฉยสังขารเหล่านั้น จัดเป็นสังขารุเปกขาญาณ จิตของปุถุชน พระเสขบุคคล วีตราคบุคคล(หมายถึงพระอรหันต์เช่นเดียวกับพระอเสขบุคคล) เมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว มีสภาวะเหมือนกันตรงเห็นพระไตรลักษณ์ เมื่อเห็นพระไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน ก็เห็นแจ้งสังขารุเปกขาว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหมือนกัน จิตของปุถุชน เสขบุคคล วีตราคบุคคล เมื่อถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว ต่างกันตรงที่เป็นกุศลและอัพยากฤต คือ สังขารุเปกขาของปุถุชนกับของ พระเสขบุคคลเป็นกุศล แต่ของพระอรหันต์เป็นอัพยากฤตเมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นรูปนามโดยความเป็นของสูญอยู่ อย่างนี้ แล้วยกขึ้นสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กาหนดพิจารณาซ้าแล้วซ้าอีก ผลก็จะปรากฏดังนี้............................................... ละความกลัว ละความยินดี มีใจวางเฉยในรูปนาม ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ในรูปนามว่าเป็นของเรา จิตไม่หวนกลับไปยินดีไปภพ 3 กำเนิด 4 คติ 5 วิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 คงเหลืออยู่แต่ความวางเฉยในรูปนาม หรือเห็นรูปนามเป็นปฏิกูลสะอิดสะเอียนขยะแขยงถึงถอยกลับ หวนกลับจากภพชาติเป็นต้น อุปมาเหมือนหยาดน้าค้างบนใบบัวที่เมื่อใบบัวเอียงลงน้าค้าง ก็มีแต่จะไหลลงไปอย่างเดียวไม่หวนกลับ ไม่ย้อนกลับมาติดอยู่บนใบบัวอีกฉันใด ใจของผู้ปฏิบัติเมื่อถึงญาณนี้ก็ไม่หวนกลับไม่เวียนกลับมาในภพ 3 เป็นต้นอีก ผู้ปฏิบัติเมื่อสติมีกาลังแก้กล้าปรากฏแล้ว ความโลภ โกรธ หลง ก็ไม่มี อุปมาเหมือนกับไฟฟูากาลังมากย่อมให้แสงสว่างมากดูอะไร ๆ ก็เห็นได้ชัดเจนไม่มีความมืดฉันนั้น ดังนั้น ใจจึงมีแต่ความวางเฉย ใจไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ไม่ผูกพัน ไม่เกาะเกี่ยว ไม่กาหนัดพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น จึงปรากฏแต่ความวางเฉย ไม่รับบัญญัติไว้เป็นอารมณ์ คือ ไม่รับว่าขันธ์ 5 เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน เพราะ มีสติปัญญาพิจารณาเห็นแน่ชัดแล้วว่าขันธ์ 5 เป็นอสุภะ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทาให้สัญญาวิปัลลาสหายไป ไม่เข้าใจผิดและไม่หลงติดอยู่ ใจจึงมีแต่ความวางเฉยในรูปนาม ไม่สั่งสมทุกข์ไว้ มีแต่พยายามตัดรากของทุกข์ให้หมดไปให้สลายไป ใจก็วางเฉยในรูปนาม เมื่อเห็นรูปนามว่าเป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นโทษ เบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น ใจเข้มแข็งแล้ววางเฉย จิตก็จะไปสู่ความสงบ ถ้ายังไม่ หัวข้อ: Re: CHAPTER ONE OF สังขารุเปกขาญาณ เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 12 เมษายน 2553 09:33:17 (http://img442.imageshack.us/img442/305/budddah.jpg) ถึงพระนิพพานก็จะยึดรูปนามมาเป็นอารมณ์ซ้า ๆ อยู่อย่างนั้นอีก สังขารุเปกขาญาณนี้ยิ่งนานก็ยิ่งละเอียด สุขุม ประณีต ดุจบุคคลเอาตะแกรงร่อนแปู้งฉะนั้นเมื่อพิจารณารูปนามโดยประการต่าง ๆ แล้วละความกลัวละความยินดี วางเฉยได้ จิตย่อมตั้งมั่นอยู่ด้วยอานาจของอนุปัสสนาทั้ง 3 เมื่อตั้งอยู่โดยอาการอย่างนี้ย่อม ถึงความเป็นวิโมกขมุข 3 วิโมกขมุข แปลว่า หนทางแห่งความหลุดพ้นโดยวิเศษจากกิเสสทั้งปวง ได้แก่อนุปัสสนาทั้ง 3 เพราะเป็นหนทางนาออกไปจากโลกนาไปเหนือโลก คือโลกุตตระได้แก่หนทางไปสู่พระนิพพาน ยอดของวิปัสสนา ธรรมดาต้นไม้ต้องมียอดฉันใด วิปัสสนาก็มียอดฉันนั้น ยอดของวิปัสสนามี 2 อย่าง คือ สิกขาปัตตะ วิปัสสนาที่ถึงยอดถึงปลายถึงความสูงสุด ได้แก่ สังขารุเปกขาญาณ ที่ครบองค์ 6 คือ.......................................... 1. ไม่มีความกลัว ไม่มีความยินดียินร้าย 2. ดีใจก็ไม่มี เสียใจก็ไม่มี 3. วางเฉยในสังขารทั้งปวง 4 ปล่อยวางแล้ววางเฉยได้ในที่สุดหรือสมาธิตั้งอยู่นานกาหนดอยู่ได้นาน ๆ 5. มีความเป็นกลางในการตรวจสอบสังขารหรือตั้งอยู่ในอนุปัสสนา 3 6. ไม่ปรารถนาในภพต่าง เมื่อครบองค์ 6 แล้ว ผู้นั้นก็มีหวังจะได้บรรลุ มรรค ผลนิพพานอย่างแน่นอน วุฏฐานคามินี วิปัสสนาที่ออกจากนิมิตจากวัตถุที่เป็นเหตุให้ยึดมั่นถือมั่น ได้แก่ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาและวิปัสสนาที่ ออกไปจากมิจฉาทิฏฐิ ภายในขันธสันดานของตน และออกไปจากกองกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้นเอง ..........................................จบสังขารุเปกขาญาณ...................................... หัวข้อ: Re: CHAPTER ONE OF สังขารุเปกขาญาณ เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 13 เมษายน 2553 06:10:39 (http://212cafe.com/boardvip/user_board/cm99/picture/00043_24.jpg) อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ น้อง"บางครั้ง" |