[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => เอกสารธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 08 พฤษภาคม 2554 16:59:54



หัวข้อ: คำสอนสำหรับผู้บำเพ็ญโยคะ (ท่าน สัตยา ไสบาบา)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 พฤษภาคม 2554 16:59:54


(http://www.saibaba-aclearview.com/saibaba26jan/saibaba06.jpg)

คำสอนสำหรับผู้บำเพ็ญโยคะ
(ท่าน สัตยา ไสบาบา)

   (1) จงยึดมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้า เลิกละการยึดติดกับอัตตา ราว กับว่ามันไม่เคยดำรงอยู่เลย อัตตาเปรียบดังฟองน้ำอันน้อยนิดเมื่อปล่อยวางลง ได้จักเข้าสู่มหาสมุทรอันไพศาล เธอกลายเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง เธอคือนิรันดร เธอคือ สิ่งทั้งมวล

   (2) กิเลสและความร่านอยากจะต้องได้รับการแปรรูป จนกระทั่ง เธอเป็นนายเหนือใจ กิเลสทำให้ใจไม่สงบและทำให้ใจไปเร่งเร้าประสาทสัมผัสดุจ สุนัขที่วิ่งตามหลังนาย การควบคุมประสาทสัมผัสอันใดอันหนึ่งไม่เพียงพอหรอก เธอจะต้องควบคุมมันทั้งหมดให้ได้โดยสมบูรณ์

   (3) วินัยที่แท้จริงคือการทำลายล้างกิเลส โจรผู้ฉลาดยังอาจหาทาง ลักขโมยได้เป็นร้อยวิธีแม้นายยามจะระมัดระวังเพียงใดก็ตาม ฉันใดก็ฉันนั้น ต่อให้ เธอพยายามควบคุมประสาทสัมผัสสักเพียงใดก็ตาม ใจของเธอก็จะชักนำประสาท สัมผัสให้มาอยู่ข้างมัน และใช้มันสนองกิเลสของใจจนได้

   (4) การประพฤติใดๆ ที่ยังมีจิตสำนึกของการเป็นร่างกายอยู่เป็น การกระทำที่มีอัตตา สภาวะไร้ตัวตนจะไม่มีทางบรรลุได้ ขณะที่ยังติดอยู่กับจิตสำนึก ของการเป็นร่าง

   การมีจิตสำนึกแห่งความเป็นเทพ และนึกถึงพระเจ้าแทนร่างกายร่างนี้ จักนำ “เปรมะ” หรือความรักมาสู่ตัวเธอ ด้วยแรงบันดาลใจและการชี้แนะจาก พระเจ้า เธอจักสามารถบรรลุสิ่งดีงามมากมายโดยเธอแทบไม่ต้องประกาศออกมา เลยว่า เธอไร้อัตตาในวิสัยทัศน์ของเธอ เพราะสำหรับตัวเธอสิ่งที่เธอทำลงไป ทั้งหมด มันเป็นเจตนารมณ์ของพระเจ้า เป็นลีลาของพระเจ้า และเป็นงานของ พระเจ้า

   (5) จิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์เป็นกระจกเงาที่ดีที่สุดในการสะท้อน สัจธรรม หลักวิชาคำสอนทางจิตวิญญาณต่างๆ ล้วนมีไว้เพื่อชำระดวงจิตให้สะอาด ทั้งสิ้น ในทันทีที่จิตใจสะอาดความจริงทั้งหลายจักปรากฏออกมาเองโดยทันใด สัจธรรมทั้งหมดในจักรวาลจักเผยตัวเองออกมาในใจเธอ ถ้าเธอมีจิตใจที่สะอาด บริสุทธิ์พอ

   (6) เธอต้องลดการสนทนาอภิปรายและการโต้แย้งทั้งหลายลง ให้เหลือน้อยที่สุด เพราะนี่เป็นสาเหตุในการบ่มเพาะจิตใจชิงดีชิงเด่น และนำไปสู่ ความโกรธกับการแก้แค้น จงอย่าดิ้นรนเพื่อให้โลกยกย่องสรรเสริญ จงอย่าโกรธ หรือน้อยใจเมื่อโลกไม่นับถือเธอหรือยอมรับความดีของเธอ ข้อนี้เป็นเรื่องแรกที่เธอ ต้องเรียนรู้ หากเธอคิดจะเดินบนเส้นทางแห่งจิตวิญญาณ

   (7) จงฝึกตนให้เป็นสุขสบายได้ในทุกสถานที่ จงดำรงชีวิตอย่าง เบิกบานใจไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่แห่งใด จงสำราญอยู่ในอาณาจักรแห่งจิตใจของเธอ ที่นั่นเธอจักบูชาพระเจ้าที่เธอเลือกสรรเป็นที่พึ่งของเธอ จงทำตนให้เป็นอิสระจากผล กระทบทั้งปวงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นคนหรือธรรมชาติ

   (8) เธอจงมองดูกลุ่มเมฆที่ลอยฟ่องอยู่บนท้องฟ้า จงสังเกตให้เห็น ว่า กลุ่มเมฆไม่เคยผูกพันใกล้ชิดแน่นแฟ้นยั่งยืนกับท้องฟ้าที่กลุ่มเมฆอาศัย ซุกซ่อนตัวอยู่เพียงชั่วครู่ชั่วยามเลย ฉันใดก็ฉันนั้นกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวเธอ กับร่างกายสังขารของเธอ เพราะธรรมชาติของตัวเธอคือปรมาตมัน ขณะที่ร่างกาย สังขารเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ชั่วคราวที่คอยปิดบังซุกซ่อนสัจธรรม

   (9) สิ่งทั้งปวงคือพระเจ้า ตัวเธอก็คือพระเจ้าที่อยู่เหนือและอยู่พ้น อดีต ปัจจุบัน และอนาคต เธอไม่ใช่ร่างกายอันผูกพันอยู่กับกาลเวลา และตกอยู่ ในเครื่องร้อยรัดของอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เธอจงมีจิตใจแน่วแน่มั่นคงอยู่เสมอ ว่า เธอเป็นธรรมชาติแห่งพรหม จงนึกคิดดังนี้อยู่เป็นนิจ แล้วเธอจะเติบโตไปสู่ความ เป็นผู้รู้แจ้งได้ 

   (10) กระบวนการในการชำระจิตสำนึกภายในของมนุษย์ให้ สะอาดด้วยการฝึกจิตเป็นเอกคัตตา คือความมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวในความคิด คำพูด ความรู้สึก และการกระทำโดยมุ่งไปที่พระเจ้า จักทำให้มนุษย์ผู้นั้นพ้น มลทินและข้อบกพร่องทั้งปวง เมื่อจิตสำนึกภายในมีความบริสุทธิ์สะอาดปราศจาก ความขุ่นมัวแล้ว พระเจ้าจะสถิตอยู่ ณ ที่นั้น และมนุษย์ผู้นั้นจะมีโอกาสได้ประจักษ์ พระเจ้าภายในตัวเขา



หัวข้อ: Re: คำสอนสำหรับผู้บำเพ็ญโยคะ (ท่าน สัตยา ไสบาบา)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 พฤษภาคม 2554 17:08:29

   (11)  “ไวราคยะ” หรือการสละละวางไม่ยึดติดนั้นขึ้นอยู่กับ “ญาณ” และ “ภักติ” หากขาดการสละละวางแล้วทุกอย่างก็ไร้ผล “ไวราคยะ” จึงเป็นบันได ขั้นแรกของความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ ผู้บำเพ็ญโยคะจะต้องตระหนักในองค์ สาม “ภักติ” “ญาณ” และ “ไวราคยะ” โดยจะแยกจากกันมิได้ หรือจะปฏิบัติ แยกกันก็ไม่ได้  

   (12)  ผู้มีญาณหยั่งรู้จะสามารถละความเกลียดชังในตัวได้ เขาจะ เป็นผู้ที่รักในสรรพสิ่ง เขาจะไม่ถูกอัตตาของตนทำให้แปดเปื้อนทะนงตน และเขาจะ กระทำอย่างที่ตัวเขาได้ลั่นวาจาเอาไว้  

   (13)  ชีวิตมนุษย์คือสิ่งที่มีวิวัฒนาการสูงสุดอย่างไม่ต้องสงสัย และ เพื่อที่จะให้ความหมายแก่ชีวิตมนุษย์นั้น คนเราจำเป็นต้องบำเพ็ญเพียรทางจิต วิญญาณ เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ โดยนัยนี้อุปนิสัยจึงมีความสำคัญ ที่สุด เพราะ อุปนิสัยสามารถทำให้ชีวิตเป็นนิรันดร์เอาชนะความตายได้  

   คนบางคนกล่าวว่า ความรู้คืออำนาจ แต่ก็หาเป็นความจริงไม่ อุปนิสัยต่างหากที่เป็นอำนาจ ดังนั้น คนเราทุกคนพึงพากเพียรฝึกฝนเปลี่ยนแปลงตนเอง จนกระทั่งมีอุปนิสัยที่ไม่มีที่ติและปราศจากความชั่วร้ายใดๆ  

   (14)  ในบรรดาคุณลักษณะที่ประกอบกันเพื่อให้อุปนิสัยมีความ สมบูรณ์ไร้ที่ตินั้น ความรัก ความอดทน ความอดกลั้น ความหนักแน่นมั่นคง และกุศลจิต เป็นคุณลักษณะที่ประเสริฐที่สุดที่คนเราจำต้องปลูกฝัง และยึดมั่น ไว้เป็นอุปนิสัย  

   (15)  ไม่มีความชั่วร้ายใดๆ ของมนุษย์ที่แก้ไขมิได้ โดยความพาก เพียรตั้งใจอย่างจริงจัง ความเคยชินอาจเปลี่ยนได้ อุปนิสัยอาจขัดเกลาได้  

   การตั้งใจบำเพ็ญประโยชน์ด้วยความเสียสละก็ดี การละวางก็ดี การ อุทิศตนก็ดี การสวดมนต์ภาวนาก็ดี การวิปัสสนาก็ดี ล้วนสามารถเป็นเครื่องช่วย ขจัดอุปนิสัยเก่าแก่ดั้งเดิมที่พันธนาการมนุษย์ไว้กับโลกได้ แล้วเสริมสร้างอุปนิสัย ใหม่ให้กับชีวิตของเรา ซึ่งจักชักนำเราให้ดำเนินไปในทางธรรมได้  

   (16)  คนทุกคนพึงตั้งคำถามกับตนเองว่า : บรรดามหาตมะและมหา บุรุษผู้ทรงคุณวิเศษทั้งหลายเหล่านั้นต่างก็เป็นมนุษย์เหมือนตัวเรา มีร่างกาย เป็นคนเหมือนเรา ในเมื่อพวกท่านสามารถบรรลุถึงความดีพร้อมทุกประการได้ แล้วทำไมตัวเราจะทำสำเร็จเช่นเดียวกันไม่ได้เล่า ถ้าหากเราปฏิบัติตามครรลอง ของพวกท่าน?

   หากเรามัวพะวงแต่หาข้อผิดข้อบกพร่องของผู้อื่น ตัวเราจักได้รับ ประโยชน์อันใด? ด้วยเหตุนี้เธอพึงตั้งเจตจำนงเป็นอย่างแรกก่อนว่า เธอจะเสาะหา ข้อบกพร่องผิดพลาดภายในตัวของเธอเอง แล้วพยายามแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆ เพื่อเป็นผู้ที่ดีพร้อม  

   (17)  ต่อหน้าความตาย ยศศักดิ์ อำนาจ และเกียรติทั้งหลายจะมลาย หายไปสิ้น เมื่อเธอได้ตระหนักในเรื่องนี้แล้วจงอุตส่าห์พยายามทั้งกลางวันและ กลางคืน เพื่อชำระร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณให้สะอาดบริสุทธิ์ เพื่อจักได้ ประจักษ์แจ้งในอาตมันโดยการรับใช้มนุษย์ชาติ  

   เธอพึงดูแลรักษาร่างกายของเธอให้ดี ในฐานะที่มันเป็นยานพาหนะ รับใช้ แต่จงจำไว้ว่าเธอมิใช่ร่างกายอันนี้ และร่างกายนี้ก็หาใช่ตัวเธอไม่  

   (18)ตัต ตวัม อสิ : สูเจ้าคือสิ่งนั้น นี่คืออัญพจน์ที่สูงส่งและ ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เธอคืออาตมันที่ไม่อาจทำลายได้ การที่เธอมีร่างกายร่างนี้ก็เพื่อ อาตมันและเพื่อประจักษ์แจ้งในพระเจ้าในตัวเธอ ดังนั้นเธอต้องพร้อมที่จะพลี ร่างทุกขณะ ร่างกายนี้เป็นเพียงเครื่องมือ เป็นอุปกรณ์ที่พระเจ้าประทานให้มา จงใช้ ร่างกายนี้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวเถิด  

   (19)ยามใดที่เราปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นการถวายแด่พระเจ้านั้น สิ่งที่ดี สิ่งที่ดีกว่า และสิ่งที่ดีที่สุดจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ก่อนอื่นฉันและเธอ จะกลายเป็นเรา จากนั้นเราและพระเจ้าจะกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คนแต่ละคน หรือ “ชีวา” ควรรวมเป็นสิ่งเดียวกับสรรพสิ่งก่อน จากนั้นค่อยรวมกับปรมาตมัน นี่แหละคือความหมายของมนตร์ “โอม ตัต สัต”  

   (20)ปรมาตมันเท่านั้นที่เป็นสัจธรรม เป็นความจริง ปรมาตมันคือ ความรัก จงเพ่งสมาธิภาวนาถึงปรมาตมันว่าเป็นความรัก เป็นความจริง  

   จงคบหาอยู่ในหมู่วิญญูชนคนดี มีความมักน้อย ปล่อยวาง แล้วเธอ จะมีจิตใจที่เข้มแข็งและมีศานติภายใน



หัวข้อ: Re: คำสอนสำหรับผู้บำเพ็ญโยคะ (ท่าน สัตยา ไส&#
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 พฤษภาคม 2554 17:48:27


   (21)  เธอจงประกอบกิจการงานทุกอย่างด้วยพลังความสามารถที่เธอ มีอยู่ เธอจงพูดและจงทำด้วยความสัตย์จริง ในช่วงแรกๆ เธออาจผิดพลาดไปบ้าง เธออาจประสบความทุกข์ยากลำบาก แต่ในที่สุดเธอจักประสบความสำเร็จและบรรลุ บรมสุข เธอจักประจักษ์ในความจริงและปรมาตมันโดยผ่านการประพฤติปฏิบัติ และการดำเนินชีวิตของเธอ

   (22) หากคนใดเป็นผู้ที่มีพลังอำนาจอย่างแท้จริง จะรับทราบได้ โดยคุณลักษณะที่เขามีอยู่ นั่นคือ ความจริง ความเมตตา ความรัก ความอดทน ความอดกลั้น และความสำนึกในพระคุณ ผู้ใดที่มีคุณลักษณะเหล่านี้ ความ อหังการ์จะไม่อาจเกิดมีได้ ดังนั้นเธอจงหมั่นเพิ่มพูนคุณลักษณะดังกล่าว

   (23) ความสุขอันถาวรยั่งยืนนั้นจักหาได้ด้วยวิชาความรู้จากคัมภีร์ อุปนิษัทเท่านั้น ความรู้นี้เป็นคำสอนของเหล่าฤาษีเกี่ยวกับ ศาสตร์แห่งการบรรลุ ความเป็นพระเจ้าของคนเรา มีแต่ความรู้อันนี้เท่านั้นที่จักช่วยมนุษย์ให้รอดและ นำสันติสุขมาให้ สิ่งที่สูงกว่านี้หามีไม่ ไม่ว่าเธอจะศึกษาวิชาความรู้ใดๆ มาเพื่อการ ประกอบอาชีพ เธอก็ควรสนใจศึกษาความรู้จากคัมภีร์อุปนิษัทนี้ด้วย
   
    (24) ท้องฟ้าอาจทอดเงาลงไปในหม้อน้ำเมาได้ แต่ก็มิได้เกิด มลทินจากสิ่งนั้น อาตมันก็เช่นกัน อาตมันบริสุทธิ์ไร้มลทินสถิตอยู่ในร่างกายซึ่งเป็น เพียงพาหนะ ผลของการกระทำไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด จักติดตรึงอยู่เฉพาะกับ ร่างกาย มิได้เข้าไปถึงอาตมันที่สถิตอยู่ข้างใน

   (25) จงอย่าท้อถอยไปเลย ความทุกข์ยากเหนื่อยยากในโลกนี้เป็น เพียงสิ่งลวงตาและชั่วคราว จงตั้งใจให้มั่นในความจริงอันยิ่งใหญ่คือพระเจ้าผู้ทรง อำนาจเหนือสิ่งทั้งปวง แล้วมุ่งหน้าเดินไปตามทางแห่งภักติอย่างกล้าหาญ และมุ่ง ปฏิบัติธรรมด้วยความอุทิศตัว

   (26) จิตใจนั้นจำต้องหันไปหาคุณความดีอยู่ตลอดเวลา เธอพึง สำรวจตรวจตราการกระทำของตัวเธออยู่ทุกขณะจิต การสำรวจเช่นนี้เปรียบได้ ดังการใช้เครื่องมือสลักหินแท่งแห่งบุคลิกภาพของมนุษย์ให้เป็นรูปประติมากรรม อันงดงาม หากเครื่องมือสลักผิดพลาดอาจทำให้เสียรูปไป ดังนั้นแม้การกระทำใดๆ เพียงเล็กน้อยก็จำต้องระมัดระวังตั้งใจให้มากที่สุด

   (27)กระแสน้ำที่ไหลสาดกระจายไปรอบๆ มิได้พุ่งตรงไปใน ทิศทางเดียวกันย่อมเป็นการสูญเปล่า ฉันใดก็ฉันนั้น จะมีประโยชน์อะไรกับแรง ดลใจดีๆ ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วครู่และไม่แน่ไม่นอน? กระแสแห่งแรงดลใจที่ดีจะต้อง ไหลพุ่งเป็นลำอย่างต่อเนื่องตลอดทั่วเขตความคิดอันศักดิ์สิทธิ์ และในที่สุดต้องไหล เชื่อมเข้ากับมหาสมุทรอันไพศาลด้วยบรมสุข ในขณะจิตดับ บุคคลที่สามารถบรรลุ เป้าหมายเช่นนั้นได้ย่อมเป็นผู้ที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง

   (28) วัตถุประสงค์ของการบำเพ็ญจิตทั้งหลายคือ การสลายทำลาย ‘ใจ’ สักวันหนึ่งการทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่งที่เธอทำไว้จะทำให้เธอประสบความ สำเร็จในการสลายมันลงได้เพื่อชัยชนะอันนี้ ความดีทั้งหลายที่เธอก่อไว้ในอดีตจะ ร่วมกันส่งผล แม้จะเป็นความดีเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่มีอันไหนที่สูญเปล่าเลย
   
   (29)  คุณสมบัติแบบมนุษย์ที่ดีในสมัยก่อนเสื่อมสลายไปไหนเสีย แล้วล่ะ? สัจธรรม ขันติ ศีลธรรม วินัย ...เมื่อไหร่เธอจึงจะปลูกฝังคุณธรรมเหล่านี้ ขึ้นในตัวล่ะ? จงลุกขึ้นเถิด จงตื่นเถิด จงสถาปนาการปกครองสมัยพระรามอันเป็น ยุคสมัยที่จิตใจของผู้คนยังเปี่ยมด้วยสัจธรรม เปรม และสันติขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเถิด

   (30) เมื่อรูปและนามของพระเจ้าตามที่ผู้ภักดีต่อพระองค์แต่งปั้น ขึ้นหรือคิดขึ้นได้แปรเปลี่ยนไปเป็นสภาวะอันปราศจากรูปและปราศจากคุณ ลักษณะใดๆ แล้ว เราเรียกสภาวะนั้นว่าพรหม และเมื่อพรหมอันเดียวกันนั้น ปรากฏคุณลักษณะ หรือรูปร่างต่างๆ ขึ้นมา สิ่งที่ปรากฏขึ้นมานี้คือสิ่งที่เรียกว่า พระราม พระกฤษณะ พระวิษณุ หรือพระศิวะ
   
   เมื่อใดก็ตามที่ผู้ภักดีต่อพระเจ้า บรรลุถึงสภาวะความสุขที่ดื่มด่ำอันเกิดจากการรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พระเจ้าแล้ว ลักษณะพิเศษทั้งหลายที่ต่างกันระหว่างเขาคนนั้นกับพระเจ้าก็จะมลาย หายไป



หัวข้อ: Re: คำสอนสำหรับผู้บำเพ็ญโยคะ (ท่าน สัตยา ไสบาบา)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 พฤษภาคม 2554 18:12:04


   (31)  เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจเหลือเกินที่ชีวิตนี้ของมนุษย์ซึ่งมีค่าราว กับเพชรที่ประเมินค่าไม่ได้ ถูกมนุษย์กระทำราวกับเป็นเหรียญเก่าๆ ที่ไร้ค่า! ไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะมาสำนึกเสียใจถึงเวลาที่ได้สูญเปล่าไปโดยมิได้สำรวม จิตทำสมาธิถึงพระเจ้า หรือฝึกฝนบำเพ็ญเพียรวิธีต่างๆ เพื่อเข้าถึงพระเจ้า

   มันจะมีประโยชน์อะไรที่คิดมาวางแผนขุดบ่อน้ำ ในเมื่อบ้านถูก ไฟไหม้ไปแล้ว? การที่จะมาเริ่มสำรวมจิตคิดถึงพระเจ้าเมื่อใกล้ตาย ก็เหมือนกับการ เริ่มขุดบ่อน้ำเมื่อไฟไหม้ไปแล้วนั่นเอง

   (32) บุคคลที่เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้านั้น เขาจะต้องเป็นผู้มีจิตใจ เปี่ยมไปด้วยความรัก เขาจะต้องยืนอยู่เคียงข้างธรรมะหรือความถูกต้อง เขาจะพูด แต่ความจริง หัวใจของเขาเอิบอาบไปด้วยความปราณี เขาจะไม่ประพฤติผิด เขาจะ หลีกเว้นจากบาป เขาจะยอมสละละทิ้งทุกอย่างได้อย่างยินดี เขาจะเป็นผู้ดำรงอยู่ใน ทางสายกลาง เขาจะง่วนอยู่กับการทำความดีเพื่อผู้อื่น เขาจะไม่เห็นแก่ตัว เขาจะ ปราศจากความกังวลความเคลือบแคลงใจใดๆ เขาจะไม่ยินดีต่อคำสรรเสริญ แต่ ปรารถนาจะได้ยินผู้อื่นได้รับคำสรรเสริญ

   (33) โดยการควบคุมอินทรีย์ต่างๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย แรงกระตุ้นให้เกิดกิเลสจะถูกทำลาย และการตั้งมั่นแห่งจิตจะมีมากขึ้น การควบคุม อินทรีย์ภายนอกจะช่วยการควบคุมภายในได้ในหลายๆ ทาง แต่การประสบ ความสำเร็จในการควบคุมภายนอกนั้น ทำได้ยากกว่าการควบคุมภายใน

   (34) มีประตูเข้าสู่มายาอยู่สองทางสำหรับสัตว์โลก ทางหนึ่งคือ อาการกระหายอยากของอัตตา ทางที่สองคือ อาการกระหายอยากของลิ้น มนุษย์ ทุกคนจะต้องคอยควบคุมความกระหายอยากทั้งสองนี้เอาไว้ เพราะตราบใดที่มันยัง อยู่ มันจะนำความทุกข์โศกมาให้ เพราะมันเป็นต้นตอของบาป และบาปนี่เองที่เป็น ปุ๋ยให้ความเจริญงอกงามแก่มายา

   (35) ไม่ว่าตัวเธอจะสาละวนอยู่ในกิจกรรมใดก็ตาม เธอจะต้องพึง ระลึกถึงสิ่งต่อไปนี้อยู่เสมอ ดุจเป็นลมหายใจเข้าออกของตัวเองว่า “ฉันเกิดมา เพื่อรับใช้พระเจ้าและเพื่อรู้แจ้งในอาตมันที่เป็นตัวตนที่แท้ของฉัน”

   กิริยาอาการทุกอย่างของเธอไม่ว่าการกิน การเดิน การเรียน การรับใช้ การเคลื่อนไหว อาการเหล่านี้เธอพึงกระทำโดยมีความเชื่อมั่นว่ามันจะนำพาเธอมา อยู่เบื้องหน้าของพระเจ้าได้

   ทุกๆ สิ่งที่เธอทำลงไปเธอควรทำด้วยจิตใจที่อุทิศแด่พระเจ้า

   (36) เธอต้องระลึกไว้ว่า ความหิว ความกระหาย ความเบิกบาน ความเศร้า ความทุกข์โศก ความลำเค็ญ และความโกรธ เหล่านี้เป็นได้แค่สิ่งที่ กระตุ้นให้ตัวเธอมุ่งเข้าถึงพระเจ้าเท่านั้น ถ้าหากเธอมีทัศนคติในเชิงบวกเช่นนี้แล้ว บาปย่อมไม่อาจแปดเปื้อนสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ได้ และตัวสิ่งกระตุ้นเหล่านี้เองก็จะสูญ สลายไร้ร่องรอยไม่เหลือทั้งนามและรูป

   (37)   บุคคลผู้ตกอยู่ในห้วงทุกข์โศก ย่อมไม่รู้สึกสนใจในงานเลี้ยง ฉลองหรือการต่อสู้ ฉันใดก็ฉันนั้น บุคคลที่บำเพ็ญโยคะอย่างแท้จริง ผู้ซึ่งครุ่น คำนึงถึงแต่พระเจ้าย่อมไม่ลิ้มรสหรือคิดคำนึงถึงโลกียวิสัยที่เป็นแหล่งของความ สนุกสนานเพลิดเพลิน

   (38) แทนที่จะตกเป็นทาสของสิ่งที่ไม่ยั่งยืนและสิ่งจอมปลอม หรือ สูญเปล่าเวลาอันมีค่าไปกับการเสาะแสวงหาสิ่งเหล่านี้ เธอจงอุทิศเวลาทุกขณะจิต ของเธอเพื่อการค้นหาสัจธรรมและการใคร่ครวญถึงพระเจ้าที่เป็นความจริงแท้ ตลอดกาล การอุทิศตัวเช่นนี้แหละที่เป็นหน้าที่ที่แท้จริงของมนุษย์

   (39)  เธอควรแลเห็นร่างกายของเธอเป็นดุจทุ่งนา เห็นการทำดีของ ตัวเธอเป็นเมล็ดพันธุ์พืช และเธอจงบ่มเพาะพระนามของพระเจ้าด้วยความช่วย เหลือจากหัวใจของเธอที่เป็นดุจชาวนา เพื่อที่เธอจักสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตซึ่ง ก็คือตัวพระเจ้าได้ แต่ เธอจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างไรเล่า ถ้าหากเธอไม่ได้ปลูก อะไรลงไปก่อน?

   (40) มนุษย์ทุกคนมีแนวโน้มที่จะกระทำความผิดโดยไม่รู้ตัว ดุจไฟ ที่ไม่ว่าจะเปล่งแสงเจิดจ้าเพียงใดก็ยังมีควันพวยพุ่งออกมา คนเราก็เช่นกัน ต่อให้ ทำดีมากแค่ไหนก็ยังมีความชั่วแฝงเข้ามาได้เล็กๆ น้อยๆ เธอจึงควรทำความเพียร เพื่อลดทอนความชั่วให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนกระทั่งความดีเพิ่มมากขึ้นอีก และความชั่วลดน้อยลง




หัวข้อ: Re: คำสอนสำหรับผู้บำเพ็ญโยคะ (ท่าน สัตยา ไสบาบา)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 พฤษภาคม 2554 18:17:29


   (41)  การรับใช้พระเจ้านั้น ไม่ใช่ดูกันที่จีวรสีเหลืองหรือที่พิธีกรรม ทางศาสนา หรือที่การบวงสรวง หรือที่การโกนผม หรือที่การอุ้มบาตร ฯลฯ แต่ดู การมีหัวใจที่บริสุทธิ์สะอาดต่างหาก การใคร่ครวญอย่างไม่สะดุดขาดตอนถึง พระเจ้าต่างหาก การมีความรู้สึกว่าสรรพสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียว และเป็นสิ่งที่พระเจ้า สร้างขึ้นมาต่างหาก การไม่ยึดติดกับประสาทสัมผัสต่างหาก การรักทุกสิ่งอย่าง เท่าเทียมกันต่างหาก การพูดแต่ความสัตย์ต่างหาก ที่เป็นลักษณะของการรับใช้ พระเจ้าที่แท้จริง

   (42) จงอย่าลำพองเมื่อมีคนมาสรรเสริญเยินยอเธอ และจงอย่าหดหู่ เมื่อมีใครมาตำหนิว่าร้ายเธอ ขอให้เธอจงมีจิตใจที่แข็งแกร่งดุจราชสีห์ เธอต้องรู้จัก วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องผิดพลาดของตัวเธอเอง ข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากเลย   

   (43) เธอควรดำเนินชีวิตแบบที่ไม่สร้างความเจ็บปวดให้แก่สิ่งมี ชีวิตใดๆ เธอควรมีใจรักและแน่วแน่มั่นคงในการทำดีเพื่อให้คนอื่นเป็นสุข และใน การเคารพบูชาพระเจ้านี่คือธรรมะสำหรับมนุษย์

   (44)  ยิ่งเชื้อเพลิงมีคุณภาพดีเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้แสงเพลิงโชติ ช่วงสว่างมากขึ้นเพียงนั้น ไฟมีพลังอำนาจในการให้แสงสว่างตามธรรมชาติของมัน ฉันใดก็ฉันนั้น ไฟปัญญาของผู้บำเพ็ญโยคะก็เช่นกัน เธอจะต้องหมั่นเติมเชื้อเพลิง แห่งการสละกิเลส เชื้อเพลิงแห่งความสงบสุข เชื้อเพลิงแห่งสัจธรรม เชื้อเพลิงแห่ง ความกรุณา เชื้อเพลิงแห่งขันติ และเชื้อเพลิงแห่งกุศลกรรมอยู่เสมอ ยิ่งเธอปฏิบัติ เช่นนี้มากขึ้นเท่าใด การบำเพ็ญโยคะของเธอก็จะยิ่งมีผลดีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

   (45) ผู้ประสงค์จะสถิตอยู่ในพรหมโลก จะต้องแสวงหาความวิเวก ฝึกฌานและมนตร์อย่างสม่ำเสมอ เขาต้องแสวงหาความแน่วแน่ในจิตโดยการ ฝึกฝนตามแนวนี้ ขณะเดียวกันเขาจะต้องมีความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือสิ่งมี ชีวิตอยู่ตลอดเวลา เขาจะต้องทำงานโดยไม่คาดหวังในผลที่จะได้รับ เมื่อบุคคล เช่นนี้ลงมาเกิดบนโลกนี้ทุกข์ทั้งหลายจะมลายไปสิ้น

   (46) สิ่งใดที่เป็นความเห็นแก่ตัว เธอจะต้องสละทิ้งไป เธอจักต้อง พยายามทำความดีต่อผู้อื่นอยู่เสมอ สิ่งที่ควรเป็นความปรารถนาของเธอคือมุ่งสร้าง ความสุขสวัสดิ์แก่ชาวโลก เมื่อมีความรู้สึกเช่นนี้อยู่ในใจ เธอควรเพ่งจิตถึงพระเจ้า นี่คือหนทางที่ถูกต้อง

   (47) เมื่อใดที่เธอมีจิตเป็นสมาธิจดจ่อในพระเจ้าและแสวงหาสัจธรรม อยู่ทุกขณะจิต แม้ว่าร่างกายและอินทรีย์ของเธอจะมิใช่ผู้กระทำกรรม หัวใจของคน ที่มิได้พยายามปลูกฝังความคิดอันศักดิ์สิทธิ์ลงในจิตใจ ย่อมเป็นแหล่งซ่องสุมของ ความเลวความชั่วร้าย บุคคลที่ปรารถนาความหลุดพ้นและเข้าถึงความยิ่งใหญ่จัก ต้องจดจำสิ่งนี้เอาไว้ในใจให้จงได้

   (48)  ในการเข้าฌานถึงพระเจ้านั้น มันไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา และสถานที่ เรื่องอย่างนี้ไม่มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หรือฤกษ์เวลาพิเศษเฉพาะเลย เพราะเมื่อใดก็ตามที่ใจของเธอเข้าอยู่ในฌานถึงพระเจ้าได้ที่นั่นก็เป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ และเวลานั้นก็เป็นฤกษ์งามยามดีอยู่ในตัว

   (49)  มนุษย์จะต้องอุทิศตนให้แก่ธรรมะ และจดจ่อในพระธรรม เสมอ เพื่อที่เขาจะได้มีชีวิตอยู่อย่างสันติ และโลกก็จะสุขในสันติ

   มนุษย์ไม่อาจจะไขว่คว้าสันติที่แท้จริงได้ และมนุษย์ไม่อาจชิง ความเมตตาของพระเจ้าได้โดยวิธีอื่นใด นอกจากการดำเนินชีวิตตามหลักธรรม เท่านั้น

   (50) พระเจ้าคือสภาวะรูปแห่งธรรมะ เธอจะช่วงชิงความเมตตา จากพระเจ้าได้ก็โดยอาศัยธรรมะเท่านั้น พระเจ้าคือตัวธรรมะนั้นเอง คัมภีร์พระเวท ทั้งหลายคือการประกาศอันกึกก้องถึงเกียรติภูมิแห่งธรรมะ



หัวข้อ: Re: คำสอนสำหรับผู้บำเพ็ญโยคะ (ท่าน สัตยา ไสบาบา)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 พฤษภาคม 2554 18:25:00


   (51)  ใครก็ตามที่พยายามปราบพยศของอัตตา พยายามเอาชนะ ความเห็นแก่ตัว พยายามทำลายความรู้สึกชั่วแล่นฝ่ายต่ำ และพยายามถอดถอน ความเห็นผิดว่าร่างกายอันนี้คือตัวตนของตน เป็นที่แน่นอนว่าเขาผู้นั้นกำลังอยู่บน เส้นทางแห่งธรรม เป้าหมายของพระธรรมคือการหลอมรวมลูกคลื่นเล็กๆ เข้ากับ มหาสมุทร หรือการหลอมตัวตนเล็กๆ เข้ากับพระเจ้า

   (52) เปลวไฟแห่งฌานซึ่งทำให้เธอเชื่อมั่นได้ว่าสรรพสิ่งคือพรหมัน จะแผดเผาอัตตาของเธอและความยึดมั่นถือมั่นทางโลกของเธอ ให้เป็นขี้เถ้า เธอจะ รู้สึกดูดดื่มกับน้ำทิพย์แห่งความรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมัน นั่นคือ เป้าหมาย ขั้นสุดท้ายของ “ธรรม” และ “กรรม”

   (53) เป้าหมายของธรรม คือ การทำให้ชีวิตเลิกยึดมั่นถือมั่นใน ธรรมชาติภายนอกและในภาพลวงตาที่ถูกสร้างขึ้น และทำให้ได้รู้แจ้งในความเป็น จริงที่เกี่ยวกับตัวสัจธรรมเอง

   (54) คนสมัยนี้พยายามทำพระเจ้าให้กลายเป็นก้อนหินแล้ว ความพยายามเช่นนี้จะนำไปสู่สัจจธรรมได้อย่างไรเล่า? ภารกิจที่แท้จริงของเธอ คือการมองก้อนหินให้เป็นพระเจ้า ก่อนอื่นเธอต้องทำสมาธินึกถึงรูปของพระเจ้า ให้ ภาพของพระเจ้าประทับอยู่ในจิตวิญญาณของเธอเสียก่อน จากนั้นเธอต้องนึกถึง ภาพของพระเจ้าในก้อนหินแล้วลืมก้อนหินนั้น จนกระทั่งก้อนหินนั้นถูกเปลี่ยนเป็น พระเจ้า

   (55) การที่ตัวเธอถูกจองจำพันธนาการอยู่นั้น ก็เพราะเธอเป็นผู้ พันธนาการตัวเองไว้ และเดินออกนอกเส้นทางแห่งธรรมะ ไม่มีใครหรือสิ่งใดดอก ที่พันธนาการตัวเธอ หากเธอมีศรัทธาในพระเจ้าผู้ทรงสถิตอยู่ ณ ทุกหนทุกแห่ง อย่างลึกซึ้งมั่นคงแล้ว เธอก็จะรู้ได้เองว่า พระเจ้าก็คือตัวเธอเอง และตัวเธอไม่เคยถูก พันธนาการ การที่จะปลูกศรัทธาเช่นนี้ให้เติบโตได้ เธอจะต้องยึดความจริงข้อนี้เอาไว้ ให้มั่น ถ้าหากเธอขาดหลักการเหล่านี้แล้ว ชีวิตของเธอจะตกเป็นเป้าของความท้อแท้ และหลอกลวง
   
   (56) เธอจะทำกิจกรรมอะไรนั้นไม่สำคัญ หรือเธอจะเลือกบูชา พระเจ้าในรูปและนามใดก็มิใช่เรื่องสำคัญ เครื่องพันธนาการย่อมเป็นเครื่อง พันธนาการไม่ว่าจะเป็นเหล็กหรือทองคำ ในทำนองเดียวกัน ไม่ว่างานที่เธอทำจะเป็น งานประเภทไหน หากมันตั้งอยู่บนฐานแห่ง “อาตมธรรม” หรือ “สัจจะแห่งอาตมัน” แล้ว งานนั้นย่อมเป็นธรรมะอย่างไม่ต้องสงสัย งานเช่นนั้นย่อมนำสันติสุขมาให้แก่ ตัวเรา

   (57) สามัญชนมักเชื่อว่า พวกเขามีความภักดีต่อพระเจ้า แต่พวก เขาไม่ได้ฉุกคิดเลยว่า พระเจ้าได้ยอมรับพวกเขาเป็นสานุศิษย์หรือไม่ ผู้ที่อดทน ค้นหาคำตอบนี้มีไม่มากเลย นี่แหละคือมาตรวัดความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณที่แท้ จริง

   (58) จงอย่าเคลิ้มไปตามความคิดเห็นทางตรรกะล้วนๆ ที่แห้งแล้ว หรือทำให้สมองของเธอสับสนไปด้วยคำเยาะเย้ยถากถางและอคติ หรือหลงไปสนใจ ในสิ่งที่คนอื่นเขาทำหรือเชื่อกันแล้วก็พยายามจะไปปฏิรูปหรือแก้ไขพวกเขา เธอต้องมีความเชื่อมั่นในอาตมันซึ่งเป็นสัจธรรมอันแท้จริงเกี่ยวกับตัวเธอเอง เธอ จงทดสอบแนวทางการกระทำต่างๆ โดยดูว่าแนวทางเหล่านั้นมันไปขัดขวาง กระบวนเปิดเผยให้เห็นอาตมันหรือไม่
   
   (59) บุคคลซึ่งมีความยึดติดและเกลียดชังอยู่ในใจนั้น แม้จะอยู่ใน ป่าแบบฤาษีก็ไม่อาจหนีรอดจากเภทภัยได้ แต่บุคคลที่สามารถควบคุมอินทรีย์ของ ตนเองได้ แม้ว่าเขาจะครองชีวิตอยู่ในเพศฆราวาส เขาก็เป็นฤาษีที่แท้จริง

   (60) วินัยของตนเองเป็นพื้นฐานสำหรับการดำเนินชีวิตอย่างประสบ ความสำเร็จ ชีวิตที่มีวินัยทำให้มนุษย์สามารถได้รับความสงบสุขสันติที่เป็นนิรันดรได้ ถ้าปราศจากสันติก็ไม่สามารถมีความสุขได้ สันติเป็นธรรมชาติของอาตมัน ซึ่งจะอยู่ ร่วมกับหัวใจที่บริสุทธิ์สะอาดเท่านั้น สันติจะไม่บังเกิดในหัวใจที่เต็มไปด้วยกิเลส และความโลภ สันติเป็นลักษณะพิเศษของเหล่าโยคี ฤาษี และสัตบุรุษทั้งหลาย



หัวข้อ: Re: คำสอนสำหรับผู้บำเพ็ญโยคะ (ท่าน สัตยา ไสบาบา)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 พฤษภาคม 2554 19:04:51


  (61)  สิ่งที่ผู้บำเพ็ญโยคะจักต้องปฏิบัตินั้นได้แก่

   ประการที่หนึ่ง การปรับปรุงจิตให้เกิด ‘วิเวก’ ซึ่งหมายถึง ความ สามารถในการที่จะวิเคราะห์ระหว่างความถาวรยืนนานกับความไม่แน่นอน และ ความสามารถที่จะตัดสินว่าอะไรทรงคุณค่าอย่างแท้จริง

   ประการที่สอง ความเพียรพยายามอย่างแน่วแน่ ในการฝึกฝนจน เชี่ยวชาญ สามารถจำแนกได้ถึงสิ่งที่ทรงคุณค่าและเป็นความจริงแท้

   ประการที่สาม มีปณิธานหนักแน่น ในการเพียรพยายามอย่างไม่ท้อ ถอย ไม่ว่าจะมีอุปสรรคขัดขวางหนทางปฏิบัตินั้นด้วยประการใดก็ตาม

   การปฏิบัติทั้งสามนี้เรียกว่า “ตบะอย่างแท้จริง” การบำเพ็ญตบะ เท่านั้นที่จะทำให้เกิดสันติและความปิติสุข

   (62) ความหนักแน่นและความไม่หวั่นไหวย่อมเป็นคุณสมบัติที่ เป็นประโยชน์และสำคัญยิ่งในการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในใจ และเอาชนะ ความขัดแย้งนี้ เธอต้องมีความสงบสุขุมและเยือกเย็น นอกจากนั้นต้องมีความ กล้าหาญ ความฉลาด ความพากเพียร เพื่อเสริมสร้างจิตใจให้แข็งแกร่งมั่นคง

   (63) ใบหน้าที่อิ่มเอิบ ดวงตาทอประกาย อากัปกิริยาที่เข้มแข็งมุ่งมั่น วาจาสุภาพ จิตใจที่กว้างขวาง ใจที่เป็นกุศลมีคุณความดีที่มั่นคง เหล่านี้เป็น คุณสมบัติของผู้ที่มีความก้าวหน้าทางจิต

   (64) ลุกขึ้นเถิด เธอผู้กระหายในการฝึกฝนทางจิตเพื่อรู้จักตน เอง! จงทุ่มเทตนเองในการฝึกฝนปฏิบัตินั้น จงเสริมพลังศรัทธาของเธอให้กล้าแข็ง จงหมั่นปลูกฝังศรัทธาไว้ จงทำให้ศานติเป็นสมบัติอันมั่นคงของเธอ จงอิ่มเอิบกับ ชีวิตด้วยความปิติสุข จงชื่นชมยินดีกับจินตภาพของอาตมัน จงลุกขึ้นอย่ามัวรีรอ ลังเล!

   (65)  มนุษย์จะสามารถรู้จักตนเองอย่างแท้จริงได้ก็ต่อเมื่อใจได้ถูก ควบคุมไว้อย่างสมบูรณ์แล้วเท่านั้น ดังนั้นความยากแค้นลำเค็ญต่างๆ รวมทั้ง ความปวดร้าว ความระแวงสงสัย ความขัดแย้งในใจต่างๆ จะสิ้นสุดลง มนุษย์จัก สามารถเอาชนะความโศก ความหลงผิด และความวิตกกังวลได้จนสิ้น เขาจะสถิต อยู่ในศานติอันเงียบสงัด

   (66) จงเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่า เธอคือจักรวาลและอาตมันที่เป็น อมตะ สิ่งนี้จะช่วยให้การฝึกฝนทางจิตของเธอเป็นไปได้ง่ายขึ้น ถ้าหากเธอหลง ละเมอว่า ตัวเธอคือร่างกาย คือประสาทสัมผัส คืออัตตาที่เป็นปัจเจกแล้วไซร้ การ ฝึกฝนทางจิตของเธอจะเป็นเหมือนผลไม้ที่มีหนอนบ่อนไส้ ไม่มีวันเจริญเติบโต และสุกได้ และความหวานแห่งผลพวงของความสุขอันเป็นนิรันดรจะไม่มีทางได้รับ เลยแม้จะผ่านไปอีกกี่ชาติก็ตาม

   (67) อะไรคือโมกษะหรือความหลุดพ้นที่แท้จริง? โมกษะคือศานติ ที่ได้รับจากการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด โดยการปล่อยวางไม่ยึดมั่นกับสิ่งที่ได้ พบเห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้เรียนรู้ ได้อ่าน ได้กระทำ หรือกำลังกระทำอยู่

   (68) อนิจจา...มนุษย์ได้ลืมเลือนภารกิจหน้าที่ที่เขาต้องมาสู่ภพนี้ เขาไม่ยอมตอบคำถามที่ว่า เขามาจากที่ใด เขาหลับตาไม่ยอมรับรู้ว่าเขาอยู่ที่ไหน สติปัญญาความเฉลียวฉลาดของเขาถูกชักจูงไปสู่ความสนุกสนานรื่นเริง รวมทั้งสิ่ง อำนวยความสะดวกสบายทั้งปวง จนเขาสูญเสียพลังอำนาจทั้งปวงของเขาไป ช่างเป็น โศกนาฏกรรมอะไรเช่นนี้

   (69) แรกทีเดียว เธอต้องทราบภูมิลำเนาที่แท้จริงของเธอก่อน

   เธอเป็นใคร? อาตมัน
   เธอมาจากที่แห่งใด? จากอาตมัน
   เธอกำลังจะไปไหน? ไปสู่อาตมัน

   เธอจะอยู่ที่นี่นานเท่าใด? นานเท่าที่เธอยังผูกพันอยู่กับกามทั้งปวง

   เธออยู่ที่ไหน? อยู่ในที่ที่ไม่จริงแท้แน่นอนและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
   เธออยู่ในรูปของอะไร? อนัตตา
   เธอผูกพันอยู่กับอะไร? กิจอันไม่จีรังยั่งยืน

   ดังนั้น เธอควรทำเช่นใดหลังจากนี้? ต้องละวางสิ่งเหล่านั้นและเพียร พยายามปฏิบัติธรรมเพื่อหลอมรวมเข้ากับอาตมัน     


(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRuM-eP0TbkEWa2sjaFOGVrSf3KhgQNvjJ7p4veeJh_NNB7qNRauWPn2Q-6)

Credit by : http://bookstore.blog.mthai.com/page36 (http://bookstore.blog.mthai.com/page36)
นำมาแบ่งปันโดย.. baby@home
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ



หัวข้อ: Re: คำสอนสำหรับผู้บำเพ็ญโยคะ (ท่าน สัตยา ไสบาบา)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 09 พฤษภาคม 2554 11:11:22


(http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/465/613/original_sattayasai.jpg?1285755098)
ท่าน สัตยาไสบาบา เป็น แรงบันดาลใจ ให้ อาจารย์อาจอง ชุมสาย
มาตั้งโรงเรียนทวนกระแสโลก

(http://www.uppicweb.com/x/i/ik/92001.jpg)
โรงเรียน สัตยาไส ครับ มีให้ดู ในยูทู๊บด้วย โลกเรียนแห่งโลกยุคใหม่
เด็กจะมีความสุข ครับ

"การเรียนรู้สู่สันติสุข" สัตยาไส
- รุ่งอรุณ


โรงเรียนสัตยาไส ไม่เน้นวิชาการแต่ให้ความสำคัญกับความสุข กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กมีความสุข  “เมื่อเขาสุขแล้ว จะเก่งขึ้นมาเอง” ผลสัมฤทธิ์การเรียนของสัตยาไส นักเรียนชั้น ม.ปลาย สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ๑๐๐ %

....

มีคำถามว่า ทำไมถึงมาทำงานด้านการศึกษา?

รศ.ประภาภัทร ท่านตอบว่า “เพราะไม่รู้ว่ามันยากไง” 

รศ.ประภาภัทร นิยม อดีตอาจารย์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และต่อมาท่านได้ออกมาทำโรงเรียน ทำงานด้านการศึกษาระดับพื้นฐาน จึงพบว่าการทำงานด้านการให้การศึกษานั้น ยากและท้าทาย กว่าที่คิดไว้

เราหลับกันมานาน เราทำอย่างที่เคยทำ รู้เท่าที่รู้ สอนเท่าที่มีในหนังสือ ตำรา รูปแบบการจัดการศึกษาของเราแบบนี้นี่เอง ทำให้ระบบการศึกษาตอบโจทย์สังคมใหม่ๆไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็แปลกแยกออกไปจากวิถีชีวิตทุกขณะ

คนทำงานด้านการศึกษาในความคิดของ รศ.ประภาภัทร ท่านบอกว่า ต้องมี ๓ประเด็นนี้ คือ

        ๑. ต้องเคลื่อนไหวระดับจิตวิญญาณ
        ๒. ตื่นพอที่จะมองเห็น เห็นทั้งตัวเองและสังคม
        ๓. ตระหนักว่า ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดนิ่ง

ทำไมการศึกษาไม่ทำให้เรา “รู้” ตรงนี้สำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในสังคม การศึกษาไม่ได้ทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้เลย ณ ถึงวันนี้เราต้องคิดไปข้างหน้าแล้วว่า เราจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร?  เราตื่นพอที่จะรู้ว่า สิ่งที่เราสอนอยู่ ว่า “มันไม่ใช่” การศึกษาทางเลือกจะกระตุ้นให้คนได้ตื่น เรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลงนั้น

การจัดการศึกษาที่โรงเรียนร่งอรุณพยายามทำใน ๓ อย่าง

๑.     เปลี่ยนที่ตัวเราเอง (ครู) สร้างวิธีการเรียนรู้ให้ลึกซึ้ง  ทั้งด้านวิธีคิด กระบวนทัศน์ การบ่มเพาะให้เข้าใจ ทัศนคติ มองเห็นความเชื่อมโยง หน้าที่ของนักการศึกษาคือ การบ่มเพาะการเรียนรู้ ประเทศไทยมีทุนด้านศาสนาที่มีพุทธศานาเป็นศาสนาประจำชาติ คุณค่า หรือทุนตรงนี้เป็นทุนที่เอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านจิตวิญญา

๒.    ความรู้ที่เกิดจากสถานการณ์จริง ด้วยวิธีคิดที่ว่า เราจะเติบโตอย่างไร? เราจะอยู่กับคนอื่นอย่างไร? รู้เท่าทันอย่างไร?  โรงเรียนรุ่งอรุณ จึงพานักเรียนออกไปเรียนรู้ การจัดการหลักสูตรทุก Domain อยู่ในทุกวิชา ที่เราเรียกว่า “บูรณาการ” สอนการดูแลโลก สอนให้ลึกซึ้งถึงวิธีคิด

๓.    การสื่อสารที่เป็นสาระ   โรงเรียนรุ่งอรุณใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบ การแลกเปลี่ยนความรู้ เรียนรู้จากผู้อื่น เรียนรู้จากการสนทนา เป็นการสื่อสารที่มีสาระ นำความรู้ฝังลึกออกมานำเสนอ สร้างความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา

ทางออก ทางรอดการศึกษา
ดร.อาจอง ฝากในช่วงท้ายบอกว่า เราต้องช่วยกันตั้งแต่ ระดับอนุบาล – อุดมศึกษา สร้างคนดีตั้งแต่ระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานป้อนเข้าสู่มหาวิทยาลัย  หากทำเช่นนี้จะช่วยลดภาระมหาวิทยาลัยมากในการเริ่มต้นสร้างคน

ปัจจัย ๒ อย่างที่สัตยาไสให้ความสำคัญ ก็คือ การมีครูที่ดี ครูที่พูดทุกอย่างออกมาจากใจ (ภาษาใจ) สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ฟัง การฝึกสมาธิให้แก่เด็ก การทำสมาธิยกระดับจิตใจเด็กให้สูง รร.สัตยาไสให้เด็กนั่งสมาธิ ๙ ครั้งต่อวัน

รศ.ประภาภัทร ให้ข้อคิดเห็นในมุมของนโยบาย ท่านบอกว่า ต้องมาจากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการต้องเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย หากไม่มีคนเล็กคนน้อยก็เหนื่อยกันต่อไป

                         (http://gotoknow.org/file/mhsresearch/preview/IMG_5026.JPG)

คุยเรื่องเเนวคิด แล้วลงสู่การปฏิบัติเป็นไปได้หรือ?

ที่โต๊ะอาหารกลางวันของงานสัมมนาในวันนั้น ผมนั่งพูดคุยประเด็นนี้ต่อกับ ผู้อำนวยการโรงเรียน ๔ – ๕ ท่านที่เข้ามาร่วมรับฟัง  ทุกท่านเห็นด้วยและเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ในความเป็นจริงนั้น การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาที่เน้นการสร้างมนุษย์ “สุข ดี เก่ง” ปัจจัยไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนแต่เพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ผู้ปกครองด้วย(ทั้งค่านิยม,ความเชื่อ,ทัศนคติของสังคม)  นโยบายก็มีส่วนอย่างมาก โรงเรียนของท่านก็ต้องฝ่ากระแสเหล่านี้ไปให้ได้ หากมองภาพใหญ่ในขณะนี้ก็ตีบตันไปหมด...คิดได้ แต่ ทำยากจัง

ผมก็คิดว่า เราก็ยังไม่สิ้นหวังกันหรอก ในเมื่อเราทำในภาพใหญ่ของโรงเรียนทั้งหมดไม่ได้ แต่การปรับเปลี่ยนวิธีคิดของครูเกี่ยวกับการให้ความรู้ เป็นการสร้างความรู้ การบูรณาการสิ่งเหล่านี้เข้าไปในหลักสูตร-รายวิชา ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ ท่ามกลางความไม่พร้อม ไม่เอื้อด้วยประการทั้งปวงของระบบการจัดการศึกษาของเราในขณะนี้

ผมคิดว่าเราทำได้ และในหลายๆโรงเรียนที่ผมได้ร่วมเรียนรู้ด้วยในเวทีต่างๆ ก็เห็นได้ว่า มีครูเพื่อศิษย์คิดนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆเป็นลักษณะ  Best Practice ขึ้นมา เพื่อมุ่งไปข้างหน้าสร้างคน “สุข ดี เก่ง” อยู่แล้ว (มีมากมายด้วย)

คิดต่อว่า เราจะให้สิ่งดีๆที่เราเรียกว่านวัตกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ สื่อสารต่อสาธารณะได้อย่างไร? เราจะสร้างพื้นที่นี้อย่างไร? เราจะให้กำลังใจครูดีเหล่านี้ได้อย่างไร?

โจทย์นี้สามารถทำได้เลย แต่ผู้มีส่วนรับผิดชอบของประเทศต้องให้ความสำคัญด้วย



http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/321726 (http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/321726)



หัวข้อ: Re: คำสอนสำหรับผู้บำเพ็ญโยคะ (ท่าน สัตยา ไสบาบา) Sai Gayatri
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 16 กรกฎาคม 2555 20:40:46



Sai Gayatri (http://www.youtube.com/watch?feature=endscreen&NR=1&v=D58pigO5Dig#) อัปโหลดโดย neopurusha เมื่อ 25 ก.ย. 2011

Om Sai Eeshwaraya Veedmahe
Sathya Devaya Dhimahi
Tanna Sarva Prachodayat

shanti shanti shanti ommmmmmmmmmmmm...