หัวข้อ: นี้ อย่างนี้ว่า... เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 14 มิถุนายน 2554 11:10:06 (http://images.travelpod.com/users/dan-levitan/3.1303560564.huge-stupa-in-bodha.jpg) [๔๐๓] ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาค ทรงกล่าวสอนนางมุตตาสิกขมานาเนืองๆ ด้วยพระคาถา นี้ อย่างนี้ว่า ดูกรนางมุตตา เธอจงเปลื้องจิตจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งหลาย ดุจ พระจันทร์ถูกราหูจับแล้วพ้นจากเครื่องเศร้าหมอง ฉะนั้น เธอมีจิตหลุด พ้นแล้ว จงไม่มีหนี้บริโภคก้อนข้าวเถิด. อภินิหารตัวจริง อยู่ที่จิตหลุด http://www.oknation.net/blog/tocare/2008/04/30/entry-1 (http://www.oknation.net/blog/tocare/2008/04/30/entry-1) ปญฺญาย อตฺถํ ปชานาติ ความว่า บุคคลผู้เป็นพหูสูตตั้งอยู่ในสุตมยญาณ (ญาณอันสำเร็จด้วยการฟัง) แล้วปฏิบัติอยู่ซึ่งข้อปฏิบัตินั้น ย่อมรู้และแทงตลอด อรรถอันต่างด้วยโลกิยะและโลกุตระ จำแนกออกเป็นทิฏฐธรรมเป็นต้นและจำแนกออกโดยอริยสัจ มีทุกขสัจเป็นต้น ด้วยการสอบสวนข้อความตามที่ได้ฟังมาและด้วยภาวนาคือการเข้าไปเพ่งธรรม. ญาโต อตฺโถ สุขาวโห ความว่า ประโยชน์มีทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์เป็นต้นก็ดี ประโยชน์ในทุกขสัจเป็นต้นก็ดี ตามที่กล่าวแล้วที่ตนรู้แล้ว คือบรรลุแล้วตามความเป็นจริง ย่อมนำมาคือให้สำเร็จความสุขต่างโดยโลกิยสุขและโลกุตรสุข. ประโยชน์ย่อมไม่มี แก่ผู้ที่มีปัญญาภาวนาตามที่ตนทรงไว้ ด้วยเหตุเพียงการฟังอย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระเถระเมื่อจะแสดงถึงวิธีปฏิบัติแห่งภาวนาปัญญานั้น จึงกล่าวว่า ภิกษุควรซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด ควรประพฤติธรรมอันเป็นเหตุให้จิตหลุดจากสังโยชน์ (http://ifdawn.com/esa/ag/wheel.gif) กาม " บรรดาครูอาจารย์เหล่านั้น ที่สึกออกไป ล้วนแต่เพราะกามทั้งสิ้น เป็นไปตามอำนาจของกาม กามนี้เป็นอุปสรรคเครื่องขัดขวางบุคคลผู้มุ่งมั่นต่อความดี ในแนวทางของพระพุทธศาสนา บรรดาสัตว์ทั้งหลายยอมตาย ก็เพราะกามนี้มามากต่อมาก เพราะความสำคัญผิด ไม่รู้จักโทษของกามที่แท้จริง ปล่อยใจปล่อยกาย ให้ตกไปสู่อำนาจของกามเข้า เมื่อถูกกามครอบงำจิตแล้ว ก็ยังไม่รู้สึก สำคัญผิดคิดว่าดี จึงยอมตัวลงบำรุงบำเรอ ท้ายที่สุด ก็ถอนตัวไม่ออก” หลวงปู่แหวน อุบายภาวนาอย่างอิสระ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา เมื่อครั้งท่านเป็นเณรใหญ่ อยู่ที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ เวลานั่งสมาธิ ก็เห็นแต่ใบหน้าของหญิงสาว เวลาบริกรรม ว่า พูทโธ ก็กลายเป็น ว่าชื่อผู้หญิงแทน ท่านจึงตัดสินใจ ใช้ชื่อผู้หญิงเป็นคำบริกรรมแทนคำว่า พุทโธ ก็ทำให้จิตสงบ เกิดสมาธิ ได้เหมือนกัน หลวงพ่อ จึงได้หลักว่า การภาวนา จะใช้คำบริกรรมอะไรก็ได้ เป็นอุบาย หาสิ่งให้ใจมันยึดเกาะ พอจิตสงบ คำบริกรรมนั้น ก็หายไป หลวงปู่ชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี เวลาภาวนา จิตท่านวิตกเกี่ยวกับเรื่องกาม ท่านก็แก้ได้โดยยกอวัยวะเพศและอุจจาระของผู้หญิงขึ้นมาพิจารณาในสมาธิ พิจารณาให้เห็นธรรมชาติอย่างชัดเจน ทำให้พบว่าความงามเป็นภายนอกล่อลวงหลอก ท่านจึงสามารถตัดขาดได้ คือตัดได้ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทัน เรื่องเล่าหลวงปู่แหวน โอวาทธรรมที่องค์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ ให้เป็นคติแก่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ.... จากการที่หลวงปู่แหวนท่านถามหลวงปู่มั่นว่า ทำไมจึงไม่อนุญาตให้ หลวงปู่ทองรัตน์(อาจารย์ของหลวงปู่ชา สุภัทโท) ญัตติเป็นธรรมยุติ.ท่านตอบว่า"....ถ้าพากันมาญัตติเป็นธรรมยุติเสีย หมดแล้ว ฝ่ายมหานิกายจะไม่มีใครแนะนำปฏิบัติ....." และตามด้วยคติธรรมที่ลึกซึ้งจับใจว่า "....มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย แต่มรรคผลขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว (http://img146.imageshack.us/img146/8508/buddha3qztd4.gif) อยากเข้าใจ ก็ไม่เข้าใจ เมื่อทำนาบนแผ่นดิน อยู่บนแผ่นดิน เมื่ออยู่กับฐาน ความเข้าใจโผล่ขี้นมา ก็ถอนรากความเข้าใจออกเสีย วิสุทธิ วิมุติ คือรู้ที่จะกำจัดและคลายกำหนัดจากกริยา (http://montradevi.org/attachfile/imagepost-20101102-053541.gif) ความรู้อันนี้ เป็นเรื่องเหนือความเข้าใจทั้งมวล เมื่อเสวยความเข้าใจอย่างถูกมัดตัว เรียกว่าบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่าผู้ประกอบด้วยทุกข์ นี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวก ผู้ได้เรียนรู้ กับปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี ปุถุชนผู้เรียนรู้ เพิ่มอีก 8 ตัว อริยะสาวกไม่เหลือสักตัว (http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS3ho_Xi535WTdruKu_Nvxt_VnQlYGi1UGAnzXIyIjSaZRQ8QYP) Credit by : http://agaligohome.com (http://agaligohome.com) (http://image.forumcommunity.it/4/7/2/7/2/4/5/1263046355.jpg) นำมาแบ่งปันโดย : miracle of love Pics by : Google อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม ใต้ร่มธรรมดอทเน็ท อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ หัวข้อ: Re: นี้ อย่างนี้ว่า... เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 14 มิถุนายน 2554 16:48:13 เป็นเช่นนั้นเอง
อภินิหารตัวจริง อยู่ที่จิตหลุด คือหลุดจากสังโยขน์ ;D ;D ;D หัวข้อ: Re: นี้ อย่างนี้ว่า... เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 14 มิถุนายน 2554 16:50:20 หายไปนานนะครับ
น่าเสียดายพลศักดิ์คู่กัดตายไปแล้ว (หายจ้อยไปในทุกเวบเลยพลศักดิ์) หัวข้อ: Re: นี้ อย่างนี้ว่า... เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 14 มิถุนายน 2554 22:18:03 ไม่ได้หายไปไหนหรอกครับ แต่ไม่ได้ปรากฎตัวครับ
;D ;D ;D หัวข้อ: Re: นี้ อย่างนี้ว่า... เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 14 มิถุนายน 2554 22:21:39 ตกลงพลศักดิ์ยังมีชีวิตอยู่ใช่ไม๊ครับเนี่ย
เห็นหายเงียบไปจากทุกเวบ ผมนึกว่าแกไปสบาย (ไปใช้กรรม) แล้ว หัวข้อ: Re: นี้ อย่างนี้ว่า... เริ่มหัวข้อโดย: armageddon ที่ 14 มิถุนายน 2554 22:34:51 ไม่ต้องห่วงหรอกครับ
คุณพลศักดิ์น่าจะคงยังมีชีวิตเวียนว่ายตายเกิดอีกนานครับ กว่าจะสิ้นภพจบพรหมจรรย์ ;D ;D ;D อาจจะนานพอๆกับคุณแมค ก็ได้ ;D ;D ;D หัวข้อ: Re: นี้ อย่างนี้ว่า... เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 14 มิถุนายน 2554 23:00:43 ๕๕๕๕ ให้เค้าไปก่อนผมดีกว่าครับ
ชีวิตผมจะได้มีความสุขเพิ่มอีกอย่าง อพลศักฺ ปรมาลาภา การไม่มีพลศักดิ์เป็นลาภอันประเสริฐ ;D ;D ;D ;D หัวข้อ: Re: นี้ อย่างนี้ว่า... เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 06 เมษายน 2555 15:15:20 (http://www.spiritoribelle.com/images/java/BlueMoon3.gif) สังขาร,เหตุปัจจัย,ไตรลักษณ์ มีความหมายว่า สังขาร สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ซึ่งหลายคนเข้าใจว่า ปรุงแต่งโดยจิต ไม่ถูกครับ มันเป็นสภาวะที่ใช้แทนอาการของจิตหรือจิต ตัวที่ทำหน้าที่ปรุงแต่งก็คือ กาย ในส่วนที่เรียกว่า สมอง ซื่งกระบวนการที่ว่าถูกควบคุมด้วยกิเลสสังโยชน์สิบ พวกเราหลายคนเข้าใจว่า โทสะ โมหะและโลภะเป็นกิเลส มันไม่ใช่ครับ ทั้งสามอย่างนี้มันเป็นอาการของจิต มันมีผลมาจาก สัญญาสิ่งที่เราไปรับรู้มาสิ่งไหนเป็นกุศลสิ่งไหนเป็นอกุศล ถ้าเราเอาสัญญา ส่วนดีอาการของจิตก็จะเป็นกุศล เอาส่วนไม่ดีมันก็เป็นอกุศล ดังนั้นสังขารก็คือ สิ่งที่เราคิดนึกต่างๆ นั้นเอง เหตุปัจจัย สิ่งที่ทำให้เกิดอีกสิ่งหนึ่ง หรือเรียกว่า เหตุ อย่างเช่น ความร้อนเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดไอน้ำ ไอน้ำทำให้เกิดเมฆ การรู้เหตุปัจจัยทำให้เราสามารถแก้หรือดับปัญหาต่างๆที่เรากำลังเผชิญอยู่ได้ ในทางธรรมก็คือการรู้ทุกข์สมุทัย ไตรลักษณ์เป็นบัญญัติที่ใช้เรียก "ธรรมนิยาม"ครับ ไตรลักษณ์ตั้งชื่อ ตามลักษณะอาการของธรรมนิยามสามอย่าง คือ ความไม่เที่ยงของสังขาร ความทุกข์ของสังขาร และความไม่ใช่ตัวตนบังคับไม่ได้ของสังขาร ส่วนสังขารที่ว่าก็คือ สังขารในข้อแรกนั้นแหล่ะครับ ลักษณะของธรรมนิยามหรือมาเรียกภายหลังว่าไตรลักษณ์ มีความสำคัญมาก มันมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประสูติเสียอีก พระพุทธเจ้าไปค้นพบ และนำมาดับเหตุแห่งทุกข์ได้ บัญญัติทั้งสามนี้เราศึกษาและปฏิบัติ เพื่อเอามาแทงตลอดปฏิจสมุบาทได้ครับ ความหมายก็คือเอามาดับเหตุแห่งทุกข์ ทุกข์ในที่นี้คือ การเกิดใหม่ครับ ***** ธรรมที่เป็นแม่บทก็คืออริยสัจสี่ ไตรลักษณ์หรือธรรมนิยาม เป็นส่วนหนึ่งในอริยสัจสี่ เราใช้อริยสัจจ์สี่ไปแทงตลอดปฎิจสมุบาท ****** สมาทาน ความหมายมันก็ตรงตัวอยู่แล้ว "การรับเอามา" สมาทานสัมมาทิฐิ ก็คือการเอาสัมมาทิฐิเป็นที่ตั้ง และความหมายเป็นที่ตั้ง ถ้าเป็นสภาวะก็คืออารมณ์สัมมาทิฐิ การให้สัมมาทิฐิเป็นอารมณ์ก็เพื่อ เอาอารมณ์นี้ไปพิจารณาธรรมต่างๆ ตามความเป็นจริง ผลที่ได้จึงจะเป็นอุเบกขา ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยของอริยมรรคอีกเจ็ดตัว การจะเกิดอารมณ์นิพพานได้นั้น อริยมรรคทั้งแปด ต้องมาประชุมพร้อมกันหรือที่เรียกว่ามรรคสมังคี จนเกิดสัมมาญาณ จนเป็นปัญญาวิมุติ นี่แหละอารมณ์นิพพาน สภาวะอันเป็นมรรคสมังคี จึงจะมีนิพพานเป็นอารมณ์ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41665&start=45 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41665&start=45) หัวข้อ: Re: ว่าด้วยมานะลักษณะต่างๆ เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 04 สิงหาคม 2555 12:46:36 ว่าด้วยมานะลักษณะต่างๆ (https://encrypted-tbn2.google.com/images?q=tbn:ANd9GcQkSI3sBj6dJhMLBkrGEs6b32yHFd9_9XUSam_2Nn7-gMad3WDP) [๘๒๙] ชื่อว่ามานะ ในคำว่า พึงกำหนดรู้มานะ คือ มานะอย่างหนึ่งได้แก่ความฟูขึ้น แห่งจิต. มานะ ๒ อย่าง ได้แก่มานะในความยกตน ๑ มานะในความข่มผู้อื่น ๑ มานะ ๓ อย่าง ได้แก่มานะว่าเราดีกว่าเขา ๑ มานะว่าเราเสมอเขา ๑ มานะว่า เราเลวกว่าเขา ๑. มานะ ๔ อย่าง ได้แก่บุคคลให้มานะเกิดเพราะลาภ ๑ ให้มานะเกิดเพราะยศ ๑ ให้มานะเกิดเพราะสรรเสริญ ๑ ให้มานะเกิดเพราะสุข ๑. มานะ ๕ อย่าง ได้แก่ บุคคลให้มานะเกิดว่า เราได้รูปที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่า เราได้เสียงที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่า เราได้กลิ่นที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่า เราได้รสที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่า เราได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑. มานะ ๖ อย่าง ได้แก่บุคคล ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจักษุ ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งหู ๑ ให้มานะ เกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจมูก ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งลิ้น ๑ ให้มานะเกิด เพราะความถึงพร้อมแห่งกาย ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งใจ ๑. มานะ ๗ อย่าง ได้แก่ความถือตัว ๑ ความดูหมิ่น ๑ ความถือตัวและความดูหมิ่น ๑ ความถือตัวต่ำ ๑ ความ ถือตัวสูง ๑ ความถือตัวว่าเรามั่งมี ๑ ความถือตัวผิด ๑. มานะ ๘ อย่าง ได้แก่บุคคลให้ความ ถือตัวเกิดเพราะลาภ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะ ยศ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความนินทา ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิด เพราะทุกข์. มานะ ๙ อย่าง ได้แก่มานะว่าเราดีกว่าคนที่ดี ๑ มานะว่า เราเสมอกับคนที่ดี ๑ มานะว่า เราเลวกว่าคนที่ดี ๑ มานะว่า เราดีกว่าผู้เสมอกัน ๑ มานะว่า เราเสมอกับผู้เสมอกัน ๑ มานะว่า เราเสมอกับผู้เลว ๑ มานะว่า เราดีกว่าผู้เลว ๑ มานะว่า เราเสมอกับผู้เลว ๑ มานะว่า เราเลวกว่าผู้เลว. มานะ ๑๐ อย่าง ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมานะให้เกิดเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ฯลฯ เพราะวัตถุอื่นๆ บ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น มานะดังว่าธงไชย มานะอันประคองจิตไว้ ความที่จิตใคร่ดังว่า ธงยอดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า มานะ. คำว่า พึงกำหนดรู้มานะ ความว่า พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา ญาตปริญญาเป็นไฉน? นรชนย่อมรู้จักมานะ คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า นี้เป็นมานะอย่างหนึ่ง ได้แก่ความฟูขึ้นแห่งจิตเป็นมานะ ๒ อย่าง ได้แก่มานะในการยกตน มานะในการข่มผู้อื่น ฯลฯ นี้เป็นมานะ ๑๐ อย่าง ได้แก่บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมานะให้เกิด เพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ฯลฯ เพราะวัตถุอื่นๆ บ้าง นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา. ตีรณปริญญา เป็นไฉน? นรชนรู้อย่างนี้แล้วย่อมพิจารณามานะโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยอุบายเป็นเครื่องสลัดทุกข์ นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา. ปหานปริญญาเป็นไฉน? นรชน พิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งมานะ นี้ชื่อว่าปหาน- *ปริญญา. คำว่า พึงกำหนดรู้มานะ คือ พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓ นี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำหนดรู้มานะ. (https://encrypted-tbn1.google.com/images?q=tbn:ANd9GcQksCT9-chEwnzc2aca28l3dArS8PNrIHTQq4fVETv2d4yyzbx_mA) : http://84000.org/tipitaka/read/?29/829/519 (http://84000.org/tipitaka/read/?29/829/519) |