หัวข้อ: วิถีชีวิตชาวสยามในอดีต - การแต่งกายยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 03 สิงหาคม 2554 17:29:43 การแต่งกายในสมัยรัตนโกสินทร์ระยะเริ่มแรกยังคงรับช่วงต่อจากสมัยอยุธยาตอนปลาย เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่สมัยต้นรัตนโกสินทร์มาจากกรุงศรีอยุธยา ฉะนั้น ความรู้ ความคิด ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ จึงไม่ผิดแผกแตกต่างจากสมัยอยุธยามากนัก ต่อมาได้วิวัฒนาการไปตามสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม การติดต่อกับนานาประเทศ
(http://www.designer.in.th/wp-content/uploads/2011/01/r1-r3.jpg) รัชกาลที่ 1-3 (พ.ศ. 2325-2394) สตรี ในราชสำนัก สตรีนุ่งผ้ายกหรือผ้าลายทอง ห่มสไบเฉียงด้วยผ้าปักหรือผ้าแพรที่พับเหมือนอัดกลีบ ผมตัดไว้เชิงสั้น (เนื่องด้วยในสมัยอยุธยาตอนปลายเกิดสงคราม หญิงต้องตัดผมสั้นเพื่อปลอมตัวเป็นชาย สะดวกในการหนีภัยจากพม่า) (http://image.ohozaa.com/i7/bd200.jpg) ชาย ชายนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนสีต่าง ๆ สวมเสื้อคอปิด ผ่าอกแขนยาว แต่โดยปกติไม่นิยมสวมเสื้อการแต่งกายของขุนนางในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จะสวมเสื้อเข้าเฝ้าในฤดูหนาวเท่านั้น ราษฎร ราษฎรทั่วไป สตรีนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูป ผ่าอก แขนกระบอก ตามปกติเมื่ออยู่กับบ้านนิยมห่มผ้าแถบ ซึ่งมีวิธีห่ม 4 แบบคือ 1. ใช้คาดหน้าอกแล้วเหน็บริมผ้าข้างบนซุกลงไปให้ติดกับส่วนที่คาดหน้าอกปล่อยชายทิ้งลงไปข้างหน้าสตรีที่มีอายุนิยมห่มแบบนี้ ส่วนมากเป็นผ้าแถบธรรมดาไม่มีจีบ 2. ห่มคาดหน้าอก แล้วเอาชายข้างหนึ่งพาดบ่าทิ้งชายลงไปข้างหลังเรียกว่า ห่มสไบเฉียง (ไม่เรียกผ้าแถบเฉียง) ห่มแบบนี้ส่วนมากเป็นสไบจีบ หญิงสาวและหญิงกลางคนนิยมห่มแบบนี้ มักเป็นคนชั้นสูงหรือผู้มีฐานะ 3. ห่มตะเบงมานหรือตะเบงมาน เอาผ้าคาดตัวแล้วเอาชายทั้งสองที่เท่ากันมาคาดไว้ที่หน้าอกไขว้ขึ้นไปผูกกันไว้ที่ต้นคอ การห่มแบบนี้ไม่นิยมกันจะห่มเมื่อทำงานหนักหรืองานที่ต้องยกแขนขึ้นลง เช่น ตำข้าว 4. คล้องคอ ให้ชายผ้าห้อยลงมาข้างหน้าเท่ากัน ตรงกันข้ามกับผู้ชายที่ห่มสองไหล่ทิ้งชายไว้ข้างหลัง การห่มแบบนี้ต้องสวมเสื้อด้วย ห่มกัน ทั้งหญิงสาวและกลางคนขึ้นไปและมักเป็นชาวสวน การห่มชนิดนี้มักจะห่มไปเที่ยวหรือไปงานรื่นเริงต่าง ๆ (http://2.bp.blogspot.com/_Aprg4up9nek/SaK0jifz3RI/AAAAAAAABXI/EP3Zef_I1pY/s320/life4.jpg) ทรงผม สตรีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไว้ผมปีก คือ ไว้ผมยาวเฉพาะบนกลางศีรษะควั่นผมรอบศีรษะเป็นรอยจนเห็นขอบชัดเจน (คล้ายผมทรงมหาดไทย ของผู้ชายต่างกันที่ผู้หญิงไม่โกนรอบกลางศีรษะอย่างผู้ชาย ) ปล่อยจอนที่ข้างหูยาวลงมา แล้วยกขึ้นทัดหู เรียกว่า “จอนหู” บางครั้งใช้จอนหูเกี่ยวดอกไม้ให้ห้อยอยู่ข้างหูเรียกว่า “ผมทัด” ก็มีที่เรียกว่า “ผมปีก” นั้น เพราะมองเห็นเชิงผมเป็นขอบอย่างถนัดชัดเจน (http://image.ohozaa.com/id/2u100.jpg) ชายเเต่งแบบเดียวกับสมัยอยุธยา คือ นุ่งผ้าโจงกระเบน ไม่สวมเสื้อไว้ผมทรง “มหาดไทย” ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “ทรงหลักแจว” คือ โกนผมรอบศีรษะไว้ผมเฉพาะกลางศีรษะยาวประมาณ 4 ซม. แล้วหวีแต่งเรือนผมตามแต่จะเห็นงาม ผมมหาดไทยมี 2 อย่าง คือ มหาดไทยโกนและมหาดไทยตัด มหาดไทยโกนนั้นใช้โกนผมข้าง ๆ ให้เกลี้ยงเหลือไว้แต่ตอนกลางเป็นรูปกลมแต่แบนดังแปรง ส่วนมหาดไทยตัด คือตัดข้างให้เตียนแทนที่จะโกน และถอนผมที่อยู่รอบตอนบนออกให้เห็นเป็นรอย เรียกว่าไรผม ถอนแล้วยังไม่เรียบร้อยดีก็ใช้มีดโกนกันไรผมอีกที เด็กชายและหญิง ไว้ผมจุกจนอายุ 11 หรือ 13 ปี จึงโกนจุก แล้วไว้ผมตามแบบของผู้ใหญ่ต่อมา (http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/221/469/original_so139-6858.jpg?1285432916) สนามหลวง - ดนู ฮันตระกูล (http://www.youtube.com/watch?v=wPBpwu_304c#) |