[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: ใบบุญ ที่ 07 มิถุนายน 2565 09:41:51



หัวข้อ: คนไทยดื่ม "กาแฟ" ตั้งแต่เมื่อใด?
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 07 มิถุนายน 2565 09:41:51
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96770955166882_286529304_5027205950742090_172.jpg)

คนไทยดื่ม "กาแฟ" ตั้งแต่เมื่อใด?

ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม

ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า คนไทยเริ่มดื่ม "กาแฟ" กันมาตั้งแต่เมื่อใด?

ในที่นี้ต้องเท้าความไปที่ประวัติความเป็นมาของกาแฟกันสักหน่อย กาแฟมีถิ่นกำเนิดบริเวณทวีปแอฟริกา แล้วแพร่พันธุ์นำมาปลูกในดินแดนอาระเบีย ก่อนจะแพร่หลายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก

ในช่วงที่กาแฟถูกนำไปเผยแพร่ในดินแดนอาระเบียนั้น ดินแดนที่ตอบรับกาแฟเป็นแห่งแรกคือ เยเมน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 ถึงต้นศตวรรษที่ 15 ในช่วงเวลานั้น กาแฟส่วนใหญ่เป็นของรับประทานของผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซูฟี โดยเชื่อว่าการเคี้ยวเมล็ดกาแฟจะใช้ขจัดความง่วงในระหว่างการดำเนินพิธีกรรมทางศาสนาในช่วงกลางคืน และเพื่อใช้เป็นยาเสริมความสามารถในการเข้าถึงพระเจ้า

ต่อมา กาแฟก็ได้แพร่กระจายไปทั่วทั้งคาบสมุทรอาระเบียไปพร้อมกับผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซูฟี ทั้งในไคโร ดามัสกัส และเมกกะ จากนั้นการดื่มกาแฟก็แพร่กระจายควบคู่กับการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กาแฟจึงน่าจะแพร่เข้าสู่ดินแดนประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ บันทึกถึงกาแฟว่า "อนึ่ง แขกมัวร์ในประเทศสยามดื่มกาแฟ ซึ่งมาจากเมืองอาหรับ และชาวปอรตุเกศนั้นดื่มโกโก้ เมื่อมีส่งมาจากมนิลาเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งนำมาจากอินเดียภาคตะวันออกในเขตคุ้มครองของสเปญอีกทอดหนึ่ง"

เชื่อว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาอาจมีคนไทยได้ทดลองดื่มกาแฟบ้างแล้วเป็นแน่ แต่คงไม่เป็นที่นิยมมากนัก คงดื่มมากกันในหมู่แขกมัวร์ หรือก็คือชาวมุสลิมจากเปอร์เซีย (แถบประเทศอิหร่านในปัจจุบัน) ส่วนเครื่องดื่มของคนไทยสมัยนั้นที่นิยมคือ น้ำเปล่า หรือน้ำบริสุทธิ์อบให้หอม น้ำชาอย่างจีน เหล้า ทั้งที่เป็นเหล้าองุ่น และเหล้าพื้นบ้านที่หมักจากข้าว

แต่ที่มีบันทึกเป็นหลักฐานค่อนข้างแน่ชัดว่า คนไทยโดยเฉพาะขุนนางและชนชั้นสูงเริ่มดื่มกาแฟนั้น เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

โดยหมอบรัดเลย์ มิชชันารีชาวอเมริกันที่เข้ามายังสยามกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ โดยภายหลังจากหมอบรัดเลย์ปลูกฝีสำเร็จ จนได้รับความดีความชอบจากรัชกาลที่ 3 พระราชทานเงินให้หมอบรัดเลย์ 3 ชั่ง ราว 145 ดอลลาร์ หมอบรัดเลย์เดินทางไปรับเงินพระราชทานที่บ้านของพระคลัง ซึ่งน่าจะเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เจ้าพระยาพระคลังในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้ดื่มกาแฟในบ้านของขุนนางผู้ใหญ่แห่งตระกูลบุนนาค ดังที่หมอบรัดเลย์บันทึกว่า

"พระเจ้าอยู่หัวทรงซาบซึ้งพระราชหฤทัยในการทำงานบริการประชาชนของข้าพเจ้า แต่แทบไม่เคยคิดเลยว่าจะได้เห็นในรูปอื่นนอกเหนือจากเป็นวาจาเท่านั้น พระคลังส่งคนรับใช้มาพาข้าพเจ้าไปที่บ้านเพื่อรับพระราชทานเงินหลวงนั้น ข้าพเจ้าทำตาม และได้รับการต้อนรับอย่างให้เกียรติเป็นพิเศษ มีของกินคือกาแฟอย่างดี ซึ่งขณะนั้นเป็นเครื่องดื่มอันหายากในสยาม ตระเตรียมไว้โดยเฉพาะสำหรับข้าพเจ้า พวกผู้ดีและเจ้าขุนมูลนายบางคนกำลังเริ่มกินกาแฟเลียนแบบชาวต่างชาติ พระคลังรู้ว่าข้าพเจ้าชินต่อการกินกาแฟทุกวันจึงจัดหามาไว้ให้"

จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ชี้ชัดว่า กาแฟในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นของหายาก จึงสันนิษฐานได้ว่า กาแฟในสมัยนั้นคงมีราคาสูง และยังไม่เป็นที่นิยมโดยทั่วไป
.
ในยุคแรกคงมีแต่ชนชั้นสูงเท่านั้นที่ได้ลิ้มรสชาติของกาแฟ