หัวข้อ: Record of Ragnarok มหาศึกคนชนเทพ พระพุทธเจ้าและแก่นแท้ของพุทธศาสนา เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2566 18:11:20 (http://)
(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQJoHLUUmPIGSSPR66X--e6StVG0jdw4gcH9g&usqp=CAU) (https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTRRAeqj0Z20MVqXRd6aGhOxX5q57g_EXD2uA&usqp=CAU) (https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSTSin642BhqPwHRJUqxcJ6f8E-QYIp6H_8zQ&usqp=CAU) (https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSa8JidWuszKysSFEDjVMbF8O1Vs9pC2HE4Bg&usqp=CAU) (https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSdlPGfjHXS02YflGrqr-fvBdL2RGEqzUAHkA&usqp=CAU) มหาศึกคนชนเทพ พระพุทธเจ้าและแก่นแท้ของพุทธศาสนา “ท่านผู้เจริญเป็นเทวดาหรือ” “เราไม่เป็นเทวดา” “เป็นคนธรรพ์หรือ” “ไม่เป็น” “เป็นยักษ์กระมัง” “ไม่เป็น” “หรือว่าเป็นมนุษย์” “ไม่เป็น” “ถ้าเช่นนั้นท่านเป็นใครกันแน่?” (https://static.thairath.co.th/media/dFQROr7oWzulq5Fa5BlcE6f3SIgyRp5cpTe2gx4F3a6tTJV3fqpjzF1ifz4pXiPSNRB.webp) การสนทนาธรรมระหว่าง "โทณพราหมณ์" และ "พระพุทธเจ้า" จาก พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม 2 หน้าที่ 136 ซึ่งกำลังจะเป็นต้นทางที่นำไปสู่ “สารพัดคำตอบ” หลังเกิดคำถามมากมาย จากการนำเสนอภาพลักษณ์ของ “พระพุทธเจ้า” ในรูปลักษณ์ใหม่ ผ่านมังงะชื่อดัง “มหาศึกคนชนเทพ” (Record of Ragnarok) ที่กำลังเรียกเสียงฮือฮาอยู่ในเวลานี้ (https://static.thairath.co.th/media/PZnhTOtr5D3rd9oc9nLeNASfkMFaQCPXy0UA0WwqtgtQXwF.webp) การตีความรูปลักษณ์ของพระพุทธเจ้าเช่นนี้ มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด และสามารถทำได้หรือไม่? ในพุทธประวัติหรือตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธองค์ มีอะไรที่บ่งชี้ถึงรูปลักษณ์จนนำไปสู่การตีความเช่นนี้ได้หรือไม่ วันนี้ "ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์" จึงได้ขอไปกราบนมัสการสนทนาธรรมกับ "พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์" ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าคณะภาค ๖-๗ (ธรรมยุต) เพื่อพยายามค้นหาคำตอบในเรื่องนี้ดู (https://static.thairath.co.th/media/Dtbezn3nNUxytg04aiL9FFYzPD3i6ISPat8JtFNkqnxCZp.webp) "พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์" ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าคณะภาค ๖- ๗ (ธรรมยุต) พระพุทธเจ้า : ในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะพระสูตรที่มีชื่อว่า “โทณสูตร” ใน อังคุตตรนิกาย ซึ่งมีโทณพราหมณ์ ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ท่านเป็นอะไร?” หลังมองเห็นว่าพุทธองค์แตกต่างไปจากคนธรรมดา พระพุทธเจ้า ท่านจึงตอบกลับไปว่า “เราเป็นพุทธะ” ซึ่ง พุทธะในที่นี้หมายถึง “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” นั่นเป็นเพราะท่านได้ตัดทิ้งอาสวะกิเลสทั้งหลาย ที่จะทำให้อยากเป็นทั้ง เทวดา คนธรรพ์ ยักษ์ หรือมนุษย์ จนกระทั่งหมดสิ้นไปแล้ว ฉะนั้นการที่จะเพ่งมองเพื่อพิจารณา “พระพุทธเจ้า” จึงต้องทำความเข้าใจในนัยสำคัญ นั่นคือ “พุทธภาวะ” หรือ "ภาวะที่ไม่มีกิเลส" ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่สามารถอธิบายในแง่ของ “รูปธรรม” ได้ (https://static.thairath.co.th/media/PZnhTOtr5D3rd9oc9nLeNASfkMFaQCPXys5nh1u4TUKlqe9.webp) การตีความพระพุทธเจ้า : “ในวิวัฒนาการทางพระพุทธศาสนา เมื่อนามธรรมเข้าถึงได้ยาก จึงนำเสนอในเชิงรูปธรรม ที่ชัดเจนขึ้นมาแทน เป็นเหตุให้มองเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระพุทธเจ้า โดยนำพุทธภาวะไปติดกับเจ้าชายสิทธัตถะ จนกระทั่งทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เจ้าชายสิทธัตถะและพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ความเป็นเจ้าชายสิทธัตถะกับความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นภาวะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เจ้าชายสิทธัตถะเป็นผู้ยังมีกิเลสอยู่ ส่วนพระพุทธเจ้านั้นได้ทำลายกิเลสหมดสิ้นแล้ว ฉะนั้น แม้เป็นบุคคลเดียวกัน แต่บุคลิกนั้นแตกต่างกัน ส่วนรูปร่างหน้าตาของ พระพุทธเจ้าจะเป็นอย่างไร คงยากที่จะหาใครที่จะมาระบุชี้ชัดลงไปได้ ทั้งพระพุทธเจ้าก็ทรงสอนไม่ให้ยึดในตัวตนของพระองค์ ฉะนั้น การที่จะจินตนาการว่าจะให้พระพุทธเจ้าเป็นเช่นไร จึงย่อมเป็นไปตามปัจเจกของแต่ละบุคคล” (https://static.thairath.co.th/media/Dtbezn3nNUxytg04aiL9FFYzPD3i6ISPpYlMuMr3XuoLEL.webp) ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ผู้คนส่วนใหญ่มักพยายามนำรูปร่างของ "เจ้าชายสิทธัตถะ" ซึ่งสามารถจับต้องได้ไปใส่ไว้กับพุทธะ แต่คำถามที่น่าสนใจสำหรับประเด็นนี้ คือ เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นบุคคลคนเดียวกับ พระพุทธเจ้า หรือไม่ คำตอบคือ ก็อาจจะเป็นบุคคลคนเดียวกันก็ได้ หรือ ไม่ใช่ก็ได้เช่นกัน เพราะเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้ ท่านก็ไม่ใช่ เจ้าชายสิทธัตถะ อีกต่อไปแล้วนั่นเอง ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการตีความเรื่อง “วันวิสาขบูชา” ซึ่งตามตำนานระบุว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าท่านทรงประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน ในวันและเดือนเดียวกันนั้น คนส่วนหนึ่งอาจมองว่าเป็นเรื่องของความอัศจรรย์ แต่กลับกัน อาจหมายถึง การประสูติ หมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ได้กำเนิดขึ้น ส่วนการที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ก็คือ การรู้ว่าอะไรคือความจริง ขณะที่การปรินิพพาน ก็หมายถึง "กิเลสที่เคยมีได้สิ้นลงไปแล้ว" (https://static.thairath.co.th/media/Dtbezn3nNUxytg04aiL9FFYzPD3i6ISPhDr9bDviAI7cbc.webp) "พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์" “การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในวันและเดือนเดียวกันนั้นหากลองตีความในเชิงภาษาธรรมอาจหมายถึง พุทธภาวะที่มีอยู่กับทุกคน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรามีความรู้ใหม่ ก็นับว่าเป็น การเกิด ความรู้ใหม่ทำลายความไม่รู้เก่าทั้งหมด ก็คือ การตรัสรู้ ก็จะทำให้ตัวตนเก่าของเราตายไป ความรู้ใหม่ทำให้ตัวตนเก่าและความรู้เก่าสิ้นไป นั่นก็คือ การปรินิพพาน หรือ การดับ นั่นเอง ฉะนั้น จึงขึ้นอยู่กับวิธีการตีความ” ด้วยเหตุนี้ “พระพุทธรูป” ในแต่ละประเทศหรือในแต่ละภูมิภาคในโลก มีรูปแบบที่แตกต่างกัน เป็นไปตามจินตนาการของคนในพื้นที่หรือวัฒนธรรมนั้น ๆ ต่างก็สร้างพระพุทธรูปของตน สมบูรณ์ที่สุด เป็นแบบของมนุษย์ที่ปราศจากกิเลสทั้งปวง คือ ไม่มีความโลภ โกรธ และหลง (ความไม่รู้) หรือ ภาวะที่เรียกว่า “สงบ” หรือ “สมณะ” นั่นเอง (https://static.thairath.co.th/media/Dtbezn3nNUxytg04aiL9FFYzPD3i6ISPxw9Hc6p5WJQ7T1.webp) ข้อบ่งชี้รูปลักษณ์พระพุทธเจ้า ตามพุทธประวัติ หรือหลักธรรมคำสอน : “เท่าที่อาตมาได้ศึกษา ก็มีเพียงการเปรียบเปรยไว้ ในคำว่า มหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ แต่ถ้ารวมทั้งหมด 32 ประการแล้วก็ดูจะไม่เหมือนมนุษย์สักเท่าไหร่” ข้อบ่งชี้รูปร่างลักษณะของพระพุทธเจ้า ตามพุทธประวัติ หรือหลักธรรมคำสอน อาจมีอยู่บ้างแต่ไม่มีการลงลึกในรายละเอียด เช่น อาจระบุเอาไว้ว่า พุทธองค์ทรงสูงกว่าคนทั่วๆ ไปเท่านั้น อภินิหารของพระพุทธเจ้า : “หากเราเข้าใจในภาษาบาลี และเราเข้าใจในพระไตรปิฎก อภินิหารอย่างที่เราเข้าใจ ไม่มี เพราะในความเป็นจริงแล้วมีเพียงแต่ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ หรือ อภินิหารจากการเทศน์ นั่นคือเมื่อเทศน์ไปแล้วเกิด Transformation คือ อภินิหาร ไม่ใช่ อภินิหารอย่างที่เราเข้าใจ อภินิหารในภาษาบาลี แปลว่า ความตั้งใจหมายมุ่ง หรือการนำจิตมุ่งไปทำให้สำเร็จผลที่มุ่งหมาย” (https://static.thairath.co.th/media/Dtbezn3nNUxytg04aiL9FFYzPD3i6ISP6EkcHTYj9wmHrz.webp) ในพระไตรปิฎก มีพระสูตรที่เรียกว่า “ปาฏิหาริยสูตร” หรือ พระสูตรที่ว่าด้วยปาฏิหาริย์ ซึ่งได้อธิบาย ปาฏิหาริย์ เป็นธรรมะเอาไว้เป็นข้อๆ ยกตัวอย่างเช่น "เนกขัมมะ" แปลว่า การออกบวชย่อมทำได้ เรียกว่า "อิทธิ" และเมื่อออกบวชแล้ว ละกามฉันทะได้ หรือ สำรวมกาย วาจา ใจ ได้ เรียกว่า "ปาฏิหาริย์" ฉะนั้นเมื่อบวชแล้วละกามฉันทะได้ จึงเรียกว่า "อิทธิปาฏิหาริย์" หรือหากจะให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ “การทำได้และได้ผล” จึงจะเป็นปาฏิหาริย์ที่แท้จริง (https://static.thairath.co.th/media/PZnhTOtr5D3rd9oc9nLeNASfkMFaQCPXy5voDsDJjrmH6aG.webp) การตีความ พระพุทธเจ้า ผ่านวัฒนธรรมบันเทิง : “ในพุทธศาสนา นิกายเถรวาท มองว่าทุกคนมีเชื้อของความเป็นพุทธะอยู่ ถ้าเรามีความพยายาม ถ้าเราสามารถที่จะทำให้ชาตินี้ให้เป็นชาติสุดท้ายได้” เมื่อหลายสิบปีก่อน ต้องยอมรับว่าชาวพุทธส่วนใหญ่ยังคงยึดติดกับ “รูปสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้ามากๆ” จนกระทั่งบางครั้งไม่อยากเห็น “พระพุทธเจ้าในรูปแบบของคนมีชีวิต” ด้วยเหตุนี้หากมีการนำเสนอพระพุทธเจ้าในรูปลักษณ์ที่ผิดแผกไปจากเดิม โดยเฉพาะในโลกของภาพยนตร์ หรือละคร จึงมักถูกออกมาประท้วงอย่างรุนแรง แต่ในปัจจุบัน เมื่อผู้คนเริ่มเข้าใจในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และมองว่าเป็นเรื่องของพุทธภาวะ หรือ สภาวะแห่งความรู้แจ้งมากขึ้น ประเด็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นจึงค่อยๆ เบาบางลง (https://static.thairath.co.th/media/Dtbezn3nNUxytg04aiL9FFYzPD3i6ISPoTABBUliuLuJmO.webp) หากพอจำกันได้ ประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ มีการสร้างพระพุทธรูปประจำวันเกิดแบบใหม่ โดยการรวมทั้ง 7 ปางเข้าไว้ในองค์เดียวกัน ซึ่งพอออกมารูปลักษณ์ก็ดูแปลกออกไป และตอนที่ผู้คนได้เห็นกันแรกๆ ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา แต่พอเวลาผ่านไปผู้คนก็เริ่มเฉยๆ ซึ่งนั่นก็คงขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ และการยอมรับของผู้คนในแต่ละยุคสมัยด้วยว่า จะสามารถยอมรับได้มากหรือน้อยแค่ไหน? “ทั้งหมดนี้ล้วนขึ้นอยู่กับพุทธศาสนิกชน หากเป็นพุทธศาสนิกชน ที่มีศรัทธาจริตติดในรูปร่างของพระพุทธเจ้า ก็ไม่อาจจะรับพระพุทธรูปในรูปลักษณ์ที่ผิดแผกไป หากแต่สิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจก็คือ การสร้างภาพยนตร์ ละคร หรือ แอนิเมชัน คือ การสร้างความบันเทิง มิใช่สารคดี จึงมักจะมีการนำเสนอด้วยการเติมแต่งเนื้อหาเพื่อสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชม ฉะนั้น สิ่งที่พุทธศาสนิกชนควรให้ความสำคัญ จึงไม่ใช่การติดในรูปลักษณ์ของพระพุทธเจ้าว่าจะออกมาเป็นเช่นไร แต่ควรให้ความสำคัญว่ามีการนำเสนอพระพุทธเจ้า ที่ผิดเพี้ยนไปจาก “พุทธภาวะ” ซึ่งเป็นแก่นหลักของพุทธศาสนามากน้อยเพียงใด” พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ เทศนาธรรมปิดท้าย จาก https://www.thairath.co.th/scoop/culture/2618555 (https://www.thairath.co.th/scoop/culture/2618555) สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16089.0.html (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16089.0.html) https://www.youtube.com/v//5yP8eEYYTSc https://www.youtube.com/v//MjrIITROkd8 https://www.youtube.com/v//XlNy93asrwI https://www.youtube.com/v//4r2sSTUHZd4 https://www.youtube.com/v//713OlJ07PdY https://www.youtube.com/v//oYm67spq9qw https://www.youtube.com/v//sxAplsA0i0E |