[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 19 สิงหาคม 2566 17:58:51



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - คู่ต่อสู้ไม่ใช่ศัตรู: พหุนิยมเพื่อแก้อาการประชาธิปไตยไทยหลากหลายต่ำ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 19 สิงหาคม 2566 17:58:51
คู่ต่อสู้ไม่ใช่ศัตรู: พหุนิยมเพื่อแก้อาการประชาธิปไตยไทยหลากหลายต่ำ  
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-08-19 16:37</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ธนัชชนม์ ธนาธิปปริพัฒน์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>วาทะอย่างน้อยตั้งแต่ปี 2012 : <strong>แช่แข็งประเทศไทย </strong><a href="#1">[1] [/url]สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจที่ ยับยั้ง กีดกัน และกดทับความหลากหลาย มีประชาชนอาจเป็นนับพันชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากปฏิบัติการกดปราบนี้ หลายคนเสียชีวิต พิการ บาดเจ็บ เป็นผู้ต้องขัง สิ้นเนื้อประดาตัว และไม่ได้รับความยุติธรรม เช่นเดียวกับที่กระบวนการแช่แข็งเพื่อยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์เป็น แต่ปัจจุบัน ปี พ.ศ.2566 หรือกว่า 10 ปีต่อมา <strong>“การเมืองหลากหลายต่ำ” </strong>เป็นปรากฏการณ์จริงที่เป็นผลตามมาเนื่องด้วยอุปมานั้น ในเมื่อความหลากหลายไม่หวนคืนกลับสู่ความเป็นพหุนิยม (pluralism) ซึ่งเป็นดัชนีทางการที่ใช้ชี้วัดประชาธิปไตย เช่น การตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ <a href="#2">[2][/url] การผลิตซ้ำของสื่อแบบขั้วตรงข้าม <a href="#3">[3] [/url]หรือกระทั่งวังวนของความขัดแย้งแบบผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ (antagonism) สิ่งเหล่านี้เป็นมรดกโดยเขลาของรัฐประหาร การชุมนุมแบบรับใช้นาย และวิกฤตการณ์รัฐสภา 20 กว่าปีของประเทศไทย</p>
<p style="margin: 0cm 0cm 8pt;">การเลือกตั้ง ปี พ.ศ.2566 ปรากฏผลการเลือกตั้งที่เชื่อได้ว่า ฉันทมติของประชาชนแทงทะลุกำแพงอำนาจที่แช่แข็งประเทศไทย ปรากฏการณ์ที่พรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทยในฐานะ 2 ตัวแสดง ที่ถูกกระทำย่ำยีจากขั้วตรงข้ามได้รับฉันทมติอันดับที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ยืนยันโอกาสที่สังคมไทยจะปลดปล่อยกระบวนการทางรัฐสภาให้พ้นจากการครอบงำแบบเบ็ดเสร็จ แต่ที่กำลังวิวาทะกันอยู่คือ ขนาดของการปลดปล่อย และระดับของการหลุดพ้นจากการครอบงำ ต้องไม่ลืมว่า สภาพจริงของการเมืองไทยยังเสื่อผืนหมอนใบ ความหลากหลายทางการเมืองต่ำ หรืออาจถึงขั้นต่ำมาก ระบบและกลไกที่ออกแบบไว้ต้านทานความหลากหลายยังทำงานอยู่เข้มข้น เห็นจากคำร้องให้ยุบพรรคก้าวไกลพ่วงการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และอีกหลายคดีที่รอคอย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกลอยู่ แม้กระทั่งการใช้ทฤษฎีตัวประกันกับแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยด้วย ล้วนเป็นหนึ่งในขบวนการเดียวกัน <a href="#4">[4][/url]</p>
<p>การเมืองไทยไม่เคยมีปัญหาในการฉายภาพผลลัพธ์ชวนฝัน (the ends) แม้สักครั้ง เพราะแต่ละรอบในประวัติศาสตร์การเมืองไทยจะให้กำเนิด ดาวเด่น นักฝัน ไอดอล หรือแกนนำปราศรัยที่เต็มเปี่ยมวาทศิลป์ สม่ำเสมอเรื่อยมา และก็เช่นกันที่การเมืองไทยมีปัญหาทุกครั้งเกี่ยวกับวิธีการ (the means) ต่างฝ่ายก็ต่างผิดหลักการ หรือวิธีการไม่มากก็น้อย ผู้ที่ผิดต่อความเชื่อของอีกฝ่ายจะถูกขยายแผล ตีตราเป็นยักษ์มาร
เป็นผี เป็นคนชั่วหยาบของอีกฝ่าย เรื่องเหล่านี้เป็นเพียง the return of history ภายใต้สนามการเมืองหลากหลายต่ำ สะท้อนให้เห็นถึงความด้อยพัฒนาของการเมืองไทยจากต้นเหตุที่ได้กล่าวไปแล้ว โลกทัศน์ที่นักการเมืองออกท่าแบบผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ (antagonism) แต่ก็พร้อมจะลอยนวลพ้นผิด (impunity) เป็นความด่างพร้อยสำคัญของธรรมาภิบาล (good governace) ว่าด้วยความรับผิดรับชอบ (accountability)</p>
<p>ขบวนการทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ที่ตื่นขึ้น (woke) ภายใต้ละครการเมืองที่แสร้งว่ารบกัน (ซึ่งในปี พ.ศ.2566 เปิดเปลือยให้เห็นได้ชัดแล้วว่ามิได้เป็นเช่นนั้น) ท่ามกลางการแช่แข็งด้วยอำนาจกดปราบจนความหลากหลายต่ำ การแพร่ความเกลียดชัง (hate spreaders) ท่าทีผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ (antagonism) ทำให้เกิดขบวนการสุดโต่งที่ไม่เสแสร้ง แต่เป็นอันตรายต่อตนเองและหลักการ เป็นต้น การกำราบอธรรมด้วยอธรรมอีกรูปแบบหนึ่ง หรือการชูแนวคิดแบบ the end justify the means เช่น ถ้าความต่ำช้าและป่าเถื่อนจำเป็นเพื่อบรรลุเป้าหมายก็ไม่ควรลังเลให้ลงมือกระทำได้ทันที ในหลายพฤติกรรมเหล่านี้ก้ำกึ่งระหว่างการผลักดันให้สังคมไทยไร้ขื่อแปกับการใช้ความรุนแรงเท่าที่จำเป็นเพื่อทวงถามหลักการประชาธิปไตยที่สูญหายในทัศนะของ Zizek อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของทุกนักคิดไม่ใช่สัจธรรมสากล แต่สุขภาพจิตและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินต่างหากที่เป็นเรื่องจริง</p>
<p><strong>คำถามคือ ภายใต้วิธีคิดแบบเดิมๆ จะแน่ใจได้อย่างไรว่า เราจะไม่ปลดปล่อยสังคมจากปีศาจร้ายตัวเก่าไปสู่ปีศาจร้ายตัวใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องล้าหลังมากแล้วในสังคมประชาธิปไตยแบบพหุนิยม</strong></p>
<p>ในสภาพหลากหลายต่ำเพียง 2 ขั้ว (bipolarity) สิ่งที่รัฐบาลอายุสั้นในสภาวะเปลี่ยนผ่านควรรับประกัน ได้แก่ การดำรงขันติธรรม (tolerance) และหนุนเสริมสภาพหลายขั้ว (multipolarity) เพื่อเติมเต็มพหุนิยมทางประชาธิปไตย (pluralist democracy) ตัวอย่างในปัจจุบัน เช่น พรรคไทยสร้างไทย ที่มีจุดยืนสนับสนุนประชาธิปไตยอย่างเปิดเผยแต่ไม่แก้ไข ม.112 พรรคประชาชาติที่มีแนวคิดทางการเมืองและวัฒนธรรมอีกเฉดหนึ่ง พรรคเป็นธรรมที่พยายามแสดงจุดยืนและอุดมการณ์ พรรคเพื่อไทรวมพลังที่น่าจับตาเรื่องพัฒนาการ แม้แต่ พรรคไทยภักดีที่ rebranding <a href="#5">[5][/url] หรือพรรคเล็กอื่นๆ ที่มีจังหวะและท่วงทำนองของตนเองด้วย อาทิเช่น พรรคสามัญชน พรรคเส้นด้าย พรรคเปลี่ยน พรรคเสรีรวมไทย เหล่านี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้
ถ้ากระแสผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ (antagonism) ยังคงรุนแรง</p>
<p><strong>เป็นหน้าที่ของทุกพรรคการเมือง และทุกตัวแสดงทางการเมือง ที่จะส่งเสริมพหุนิยมทางประชาธิปไตย เพื่อฟื้นฟูเสรีภาพทางวิชาการและความคิดเห็นทางการเมือง ที่ถูกกดปราบอย่างยาวนานกว่าสองทศวรรษ</strong></p>
<p>ฉันทมติ (consensus) หากพิจารณาจากทฤษฎีเก่า ย่อมไม่ใช่เรื่องของการตอบสนองทุกเสียงที่เสนอ แต่เป็นเรื่องของการตัดบางเสียงออก และในเมื่อมีการตัด กีดกัน ไม่สามารถประสานรวมได้จึงต้องแยกกันย่อมทำให้เกิดภาพทำนองมิตรแท้ศัตรูถาวร (friend-enemies distinction) (ดู Carl Schmitt <a href="#6">[6][/url]) และอาจพัฒนาไปถึงท่าทีผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ (antagonism) Schmitt ตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 ผลิตคำอธิบายนี้ ในบริบทการเรืองอำนาจของการเมืองแบบขั้วตรงข้าม และพร้อมจะละเมิดความมั่นคงร่วมกัน (collective security) ดูเหมือนว่า คำอธิบายนี้ไม่เก่าเลยสำหรับการอ่านปรากฏการณ์การเมืองไทยแม้มีคนรุ่นใหม่มาร่วมด้วยแล้ว</p>
<p>การเมืองอย่างสร้างสรรค์ในความหมายของพรรคเพื่อไทย <a href="#7">[7][/url] หรือการเมืองใหม่ในความหมายของพรรคก้าวไกล (ทั้งจาก เรื่อง identity politics หรือวิธีการสื่อสารทางการเมืองแบบใหม่ก็ตาม) ยังเดินตามความคิดเรื่อง friend-enemies distinction ของ Schmitt ตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 ซึ่งมีผีความขัดแย้งขั้วตรงข้าม
ผีคอมมิวนิสต์ ผีอะไรจากอดีตมาหลอกหลอนหรือไม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าความหลากหลายทางการเมืองต่ำย่อมถีบทึ้งให้พัฒนาการทางการเมืองถดถอย แต่ถ้าตั้งต้นจะ set zero เพื่อฟื้นฟูพหุนิยมทางประชาธิปไตยหลังจากถดถอยมากว่า 20 ปี แนวคิดใหม่ๆ ที่ควรเข้ามาแทนที่ ท่าทีผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ (antagonism)</p>
<p>อาจเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจของ Chantal Mouffe ในงานเขียนหลายชิ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000) เช่น บทความชื่อ Why the left needs a political adversary not a moral enemy (Mouffe, 2001) <a href="#8">[8][/url] หรือแปลไทยว่า ทำไมฝ่ายซ้าย (ควร) ปรารถนาคู่ต่อสู้ทางการเมืองที่ไม่ใช่ศัตรูทางศีลธรรม</p>
<p><strong>Mouffe ชี้ว่า พหุนิยมทางประชาธิปไตยควรเป็นการมองแบบ agonism หรือคู่ขัดแย้ง (struggle) มากกว่า anta-agonism ที่มีนัยยะของการต่อต้าน (anti, against) ดังนั้น ศัตรูทางการเมือง ควรเหลือเพียงคู่ต่อสู้ทางการเมือง การต่อสู้ก็ทำได้เต็มที่ หลากหลาย เสรี ตราบเท่าที่ไม่เบี่ยงเบนองศาไปสู่วิธีคิดแบบสุดโต่ง</strong></p>
<p>ดังนั้น คู่ขัดแย้ง หรือความขัดแย้ง เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีเพื่อแสดงคุณลักษณะของพหุนิยม แต่ไม่ใช่ข้อความที่ว่า ความขัดแย้งเป็นปรากฏการณ์เดียวสำหรับพหุนิยม หรือทุกเรื่องกลายเป็นความขัดแย้งทั้งสิ้น เพราะจะย้อนแย้งกับพหุนิยมเอง สำหรับประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (deliberate democracy) ที่ถูกกังขาว่า จะไปด้วยกันได้กับการดำรงอยู่ของความขัดแย้งหรือไม่ สามารถยืนยันความเป็นไปได้ผ่านรัฐที่อนุญาตให้ต่อสู้กันทางความคิดอย่างหลากหลายของกลุ่มขบวนการ และได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการผลัดกันครองอำนาจนำ (แบบเฉพาะส่วน) จนสามารถดำเนินนโยบายที่เป็นวาทกรรมของตนได้ ตราบเท่าที่ไม่ทำลายประโยชน์สาธารณะซึ่งประชาชนต่างเห็นพ้องต้องกันแบบสัมพัทธ์ ณ ขณะนั้น</p>
<p>ท้ายนี้ กว่า 20 ปีที่ประชาธิปไตยไทย ถดถอยสู่ความไม่หลากหลายจากที่ไม่ค่อยหลากหลายอยู่แล้ว บัดนี้ หดแคบเหลือเพียงศัตรูคู่อาฆาต แยกมิตรแยกศัตรูไม่ได้ รัฐหลุดประพฤติตนเถื่อนถ่อย ชนชั้นนำย่ามใจแสดงความไร้ขื่อแป เสรีภาพทางวิชาการถูกกดปราบ ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นหุ่นเชิดที่ทยอยรอวันจับโกหกได้ ถ้าจะปลดปล่อยประเทศไทยสู่พหุนิยมทางประชาธิปไตย แรกสุด คือ “คู่ต่อสู้ไม่ใช่ศัตรู”</p>
<p style="margin:0cm 0cm 8pt"><strong>ตื่น (woke) จากมนต์สะกดที่เสกเป่าให้ประชาชนเห็นกันและกันเป็นศัตรู
พหุนิยม ไม่ได้ มีแต่เรื่องดีๆ ยังรวมถึง เรื่องแย่ๆ รวมถึง คนน่ารังเกียจแต่ก็ยังเป็นคน ถึงที่สุดแล้ว การยืนยันว่าคนควรถูกปฏิบัติตามหลักการขั้นต่ำ ต้องยืนยันกันเข้มข้น ความรุนแรง ความขัดแย้ง ความสุดโต่ง  เพียงอย่างเดียวไม่ใช่ พหุนิยม ไม่ใช่ประชาธิปไตย เช่นเดียวกับที่อำนาจนิยมทั้งหลายไม่ใช่ประชาธิปไตย </strong></p>
<p> </p>
<p><strong>อ้างอิง</strong></p>
<p><a id="1" name="1">[1] [/url]https://prachatai.com/journal/2012/11/43670 (https://prachatai.com/journal/2012/11/43670)</p>
<p><a name="2" id="2">[2][/url] https://thestandard.co/ministry-of-foreign-affairs-spokesman-dissolving-party-is-a-step-back-in-politic/ (https://thestandard.co/ministry-of-foreign-affairs-spokesman-dissolving-party-is-a-step-back-in-politic/)</p>
<p><a name="3" id="3">[3][/url] โปรดดูใน ปกาสิต วัฒนา, ทิพรัตน์ บุบผะศิริ, พัน ฉัตรไชยยันต์ และวุฒิพล วุฒิวรพงศ์. (2563). “การเมืองยุคแบ่งขั้วกับการปฏิบัติการข่าวสารบนสื่อโซเชียลมีเดีย ในช่วง พ.ศ.2557-2562”. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, ปีที่ 3, ฉบับที่ 3, หน้า 68-106.</p>
<p><a name="4" id="4">[4][/url] https://www.dailynews.co.th/news/2620102/ (https://www.dailynews.co.th/news/2620102/)</p>
<p><a name="5" id="5">[5][/url] https://thestandard.co/thai-pakdee-party-rebranding/ (https://thestandard.co/thai-pakdee-party-rebranding/)</p>
<p><a name="6" id="6">[6][/url] ดูแนวคิดของ Schmitt ในหนังสือ The Concept of the Political (ปี 1932 : 2475)</p>
<p><a name="7" id="7">[7][/url] แถลงการณ์พรรคเพื่อไทย วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2566</p>
<p><a name="8" id="8">[8][/url] https://transversal.at/transversal/0401/mouffe/en (https://transversal.at/transversal/0401/mouffe/en)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทความ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%8C-%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ธนัชชนม์ ธนาธิปปริพัฒน์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมืองหลากหลายต่ำ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมืองพหุนิยม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105529