หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ย้อนอ่าน 112WATCH คุยกับ 'เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเล็กซานเดอร์' ว่าด้วย ม.112 กับการเลือกต เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 22 สิงหาคม 2566 01:12:32 ย้อนอ่าน 112WATCH คุยกับ 'เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเล็กซานเดอร์' ว่าด้วย ม.112 กับการเลือกตั้ง 66
<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-08-22 00:29</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ย้อนอ่านมุมมอง เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเล็กซานเดอร์ นักวิชาการภาษาศาสตร์เชิงสังคม ม.อุบล ซึ่งให้สัมภาษณ์กับ 112WATCH ก่อนเลือกตั้ง ถึงโจทย์ ม.112 กับการเลือกตั้งครั้งนี้ และพัฒนาประชาธิปไตย</p> <p>22 ส.ค.2566 เว็บไซต์โครงการ 112WATCH (https://112watch.org/th/saowanee-t-alexander-on-lese-majeste-and-elections-in-thailand/?fbclid=IwAR1_hJxp0mY-LSxAffAuTw2_Vop629sDFlCpDqjiHlLklmqpkwCgVRCqIuw) ที่เผยแพร่บทสัมภาษณ์ เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเล็กซานเดอร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์เชิงสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา ช่วงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 14 พ.ค.66 กับประเด็นกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์มีผลกับการเลือกตั้งในประเทศไทยอย่างไร </p> <div class="more-story"> <ul> <li>112WATCH คุยกับนักวิชาการรุ่นใหม่ ต่อการใช้มาตรา 112 กำจัดคนเห็นต่าง (https://prachatai.com/journal/2023/06/104598)</li> <li>112WATCH : คุยกับนักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอิทธิพลจีนที่มีต่อสื่อ การเมือง และสังคมไทย (https://prachatai.com/journal/2023/04/103667)</li> <li>112WATCH คุยกับนักวิชาการ ว่าด้วย ม.112 และผลต่ออาเซียน (https://prachatai.com/journal/2023/02/102774)</li> </ul> </div> <h3><span style="color:#2980b9;">112WATCH: มาตรา 112 มีผลกับการเลือกตั้งในประเทศไทยอย่างไรบ้าง?</span></h3> <p>เสาวนีย์ : กฎหมายมาตรานี้เป็นหนึ่งในประเด็นหลักของการเลือกตั้งครั้งนี้เลย เราได้เห็นหลายพรรควางจุดยืนอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับกฎหมายข้อนี้ หลายพรรคไม่สามารถเลี่ยงตอบได้ว่าจริงๆ แล้วพรรคมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายข้อนี้และการบังคับใช้กฎหมายอย่างไร ประเด็นนี้ร้อนแรงถึงขั้นที่ว่าพรรคใหม่ๆ อย่างเช่น พรรคสามัญชนประกาศจุดยืนเรื่องการยกเลิกมาตรา 112 ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ให้ความสนใจกับประเด็นนี้ ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่กับกฎหมายข้อนี้ ตอนนี้ทุกคนมีสิทธิ์เลือกแล้วที่คูหาเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การพูดถึงมาตรา 112 จำเป็นต้องมีการกล่าวอ้างถึงสถาบันเนื่องจากกฎหมายข้อนี้เกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์โดยตรง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้นำพรรคอภิปรายกันทางทีวีในสื่อกระแสหลักกันแบบเปิดเผย ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเช่นกัน คดี 112 เลยเป็นเหตุผลที่ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จึงสำคัญมากๆ ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร สังคมไทยก้าวไปข้างหน้าแล้วเกี่ยวกับการพูดคุยถึงกฎหมายข้อนี้และผลกระทบในที่สาธารณะ</p> <h3><span style="color:#2980b9;">นับตั้งแต่การประท้วงปี 2563 เยาวชนไทยโดนคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก เหตุการณ์นี้สร้างความกังวลให้กับสังคมไทยและนานาชาติอย่างไร</span></h3> <p>เสาวนีย์ : กังวลมากขึ้นแน่นอนเพราะมีคดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในหลายๆ ภูมิภาค คนที่โดนคดีไม่ใช่แค่แกนนำระดับประเทศ แต่แกนนำในต่างจังหวัดก็โดนคดีในจังหวัดตัวเองเช่นกัน บางคนเป็นเยาวชน บางคนเกี่ยวข้องกับการประท้วงการเมือง บางคนก็ไม่เกี่ยวเลย ผู้เห็นเหตุการณ์บางคนเริ่มเห็นว่าคดีเหล่านี้ใกล้ตัวขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ลูกหลานหรือคนในครอบครัวเริ่มโดนคดีกฎหมายนี้เองบ้างแล้ว คนในต่างจังหวัดกลายเป็นคนที่ต้องติดตามข่าวเกี่ยวกับกฎหมายข้อนี้ ยิ่งทุกวันนี้ข่าวสารกระจายรวดเร็วในช่องทางดิจิตอลต่างๆ เรื่องการจับกุมเยาวชนยิ่งกระจายไปทั่ว นี่ยังไม่นับคดีผู้ป่วยทางจิต ประเด็นนี้น่าเป็นห่วงเพราะเป็นคำถามด้านศีลธรรมว่าเราจะมองผู้กระทำความผิดอย่างไรในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหานั้นเป็นเยาวชนและผู้ป่วยทางจิต เรื่องนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องที่น่ากังวลในระดับนานาชาติเช่นกัน</p> <h3><span style="color:#2980b9;">จากการที่เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประท้วงมากขึ้น อธิบายได้ไหมว่า การเปลี่ยนยุคสมัย (generation shift) มีผลกระทบต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในไทยอย่างไร </span></h3> <p>เสาวนีย์ : ที่ตนเข้าใจคือ generation shift เป็นผลจากหลายๆ อย่างไม่ใช่แค่อายุ มันเกิดจากว่าแต่ละรุ่นเจอกับบริบททางสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจแบบไหนและตอบสนองอย่างไร การที่จะเข้าใจว่า generation shift เกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไรต้องมาคุยกันเรื่องบริบทที่พวกเขาเจอกันก่อน ตนคิดว่าในปี 2563 สถานการณ์ทางการเมืองผลักให้เยาวชนมาถึงจุดที่ต้องลงถนนมาประท้วง เยาวชนหลายๆคนที่มาเข้าร่วมอยู่ภายใต้เผด็จการมาตั้งแต่ปี 2557 หรืออาจจะนับย้อนไปถึงตอนที่บรรยากาศทางการเมืองเริ่มแย่มาตั้งแต่ปี 2549 ก่อนที่พวกเขาจะเกิดอีก การเลือกตั้งในปี 2562 สร้างความผิดหวังให้กับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกอย่างมากแม้ว่าพรรคฝั่งประชาธิปไตยจะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง นอกจากนี้ เยาวชนยังต้องเจอกับการจัดการโควิด 19 ของรัฐบาลอีก หลายคนรู้สึกว่าไม่มีอะไรจะเสีย ต้องทิ้งไพ่ใบสุดท้าย เลยเกิดคำขวัญที่ว่า “ให้มันจบที่รุ่นเรา” จนแพร่หลายในกลุ่มผู้ประท้วงทั่วประเทศ ตนคิดว่าอายุของเยาวชนเหล่านี้ยังไม่เจอกับภาระเยอะ หรือยังไม่มีข้อจำกัดในชีวิต พวกเขาเลยมองทุกอย่างด้วยอุดมคติและกล้าขับเคลื่อนมากกว่าคนรุ่นอื่น ผู้ประท้วงรุ่นเยาว์นี้เลยอยากจะช่วยยกปัญหาของชาติขึ้นมา พวกเขาซื่อตรงกับสิ่งที่พวกเขาคิดและสิ่งที่พวกเขาเชื่อ แน่นอนว่าอาจจะมีหลายคนที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการ ยุทธศาสตร์ หรือแม้แต่ความเชื่อทางการเมืองของพวกเขา แต่ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าพวกเขาต้องเริ่มถกกันเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม ตนเชื่อว่าการรับฟังและถกเถียงกันในแบบอารยชนคือหนทางที่จะพัฒนาไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตย</p> <h3><span style="color:#2980b9;">มีความหวังหรือไม่ว่าหลังจากการเลือกตั้ง รัฐบาลใหม่จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงปัญหามาตรา 112 ได้</span></h3> <p>เสาวนีย์ : ขึ้นอยู่กับว่าพรรคไหนชนะการเลือกตั้งและชนะขาดหรือไม่ และขึ้นกับว่าพรรคนั้นจะสามารถตั้งรัฐบาลได้เลยหรือไม่ ถ้าพรรคฝั่งประชาธิปไตยสามารถตั้งรัฐบาลได้ ก็เป็นไปได้ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาที่พูดไว้ตอนหาเสียงได้ แต่สำหรับมาตรา 112 ตราบใดที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่อยากจะมาคุยกันแบบตรงๆ เกี่ยวกับการนำไปใช้ในทางที่ผิด (ซึ่งเกิดขึ้นได้กับกฎหมายทุกข้อ) หรือเกี่ยวกับการบังคับใช้มากเกินไป ปัญหากับกฎหมายข้อนี้มันก็ยังอยู่ สำหรับตนแล้ว เราต้องเปิดใจ พูดคุยกันแบบเปิดเผย นี่คือจุดเริ่มต้นเลย ตนคิดว่าสิ่งที่สังคมต้องการมากที่สุดตอนนี้ไม่ใช่คำตอบของความขัดแย้งหรือปัญหาระดับชาติ แต่เราต้องการเวทีที่เราจะเริ่มพูดคุยกันถึงปัญหานี้โดยที่ไม่ต้องกลัวว่าจะโดนเข้าใจผิด กลัวว่าจะโดนตัดสิน และกลัวว่าจะโดนฟ้อง</p> <h3><span style="color:#2980b9;">มีคำแนะนำอย่างไรในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 ในแบบอุดมคติ</span></h3> <p>เสาวนีย์: จริงๆ แล้วตนไม่รู้ว่าจะแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมาตรานี้อย่างไร แต่อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ เราจำเป็นต้องรับรู้ก่อนเลยว่าประเทศของเรานีมีปัญหากับมาตรานี้ (เช่นเดียวกับกฎหมายข้ออื่นๆ) และคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจะต้องพูดคุยกันเชิงสร้างสรรค์ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ในโลกอุดมคตินั้น เราจะต้องมีสังคมที่ปลอดภัยที่เราสามารถแลกเปลี่ยนสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย ขณะเดียวกันก็เคารพความเห็นต่างของคนอื่น เพื่อที่จะแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้วยสันติวิธี</p> </div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สัมภาษณ์[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/112watch" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">112WATCH[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A1112" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ม.112[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-66" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเลือกตั้ง 66[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเล็กซานเดอร์[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div> https://prachatai.com/journal/2023/08/105559 |