[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 14 กันยายน 2566 03:35:48



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ครม.มีมติตั้ง คกก.ศึกษาแนวทาง แก้ รธน. พร้อมรับฟังประชาชน ย้ำไม่แก้หมวด 1 และ 2
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 14 กันยายน 2566 03:35:48
ครม.มีมติตั้ง คกก.ศึกษาแนวทาง แก้ รธน. พร้อมรับฟังประชาชน ย้ำไม่แก้หมวด 1 และ 2
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-09-13 16:34</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพจาก ทำเนียบรัฐบาล (https://www.thaigov.go.th/gallery/contents/details/11106)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ครม.มีมติตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางแก้รัฐธรรมนูญมี “ภูมิธรรม” นั่งหัวโต๊ะ ย้ำไม่แก้หมวด 1 และ 2 แต่พร้อมรับฟังจากประชาชนเพิ่มและจะนำคำถามที่เสนอโดยประชาชน 211,904 ชื่อและข้อเสนอจากคณะกรรมการที่เคยตั้งมาก่อนหน้านี้มาร่วมพิจารณาด้วย อย่างไรก็ตามทางกลุ่ม "ประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ" แถลงย้ำข้อเสนอว่าร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับด้วย สสร.ที่เลือกตั้งจากประชาชน</p>
<p>13 ก.ย.2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ในประเด็นเรื่องการแก้ไขปัญหาความเห็นต่างในรัฐธรรมนูญ 2560</p>
<p>เศรษฐากล่าวในประเด็นนี้ว่า ครม.เห็นชอบให้ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ โดยยึดตามแนวทางของศาลรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ โดยจะใช้เวทีรัฐสภาในการหารือรูปแบบแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมออกแบบกฎกติกาที่เป็นประชาธิปไตยร่วมกัน</p>
<p>หลังจากการแถลงข่าวของนายกฯ แล้ว ชัย วัชรงค์  โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (https://www.youtube.com/watch?v=Ol0-nT-niAQ) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมติ ครม.ในเรื่องนี้เพิ่มเติมด้วยว่าวันนี้ ครม.มีมติจะแก้รัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ส่วนจะแก้ไขอย่างไรเป็นไปตามคำสั่งศาลรรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ ตามที่พรรคเพื่อไทยเคยยื่นขอแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่เมื่อผ่านไปสองวาระก็มาติดคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญว่าต้องให้เอากลับไปฟังเสียงประชาชนก่อนจึงต้องทำประชามติ</p>
<p>โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องวิธีการทำประชามติจะทำอย่างไรนั้น ครม.ก็จะให้ประชาชนได้มาร่วมแสดงความคิดเห็นว่าจะให้ถามเรื่องอะไรบ้างเพื่อเป็นการเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม และเมื่อได้แนวทางแล้วก็จัดทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป</p>
<p>ชัยกล่าวต่อว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีจุดสำคัญอยู่ 2 เรื่องคือ เรื่องแรกคือทำให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น สอง ไม่แก้หมวดที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์</p>
<p>มีผู้สื่อข่าวถามระหว่างการแถลงถึงประเด็นที่ทาง iLaw มีการยื่นรายชื่อเสนอคำถามประชามติ 211,904 ชื่อไปถึง กกต.แล้วสภาเองก็มีการตั้งกรคณะกรรมการมาแล้ว ทำไมทาง ครม.จึงต้องคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาแนวทางอีกและยังไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้และเป็นการดึงเวลาหรือไม่?</p>
<p>โฆษกประจำสำนักนายฯ ตอบในประเด็นนี้ข้อเสนอจาก iLaw และคณะกรรมการของสภา ครม.จะรับฟังมาพิจารณาแน่นอน ถ้าพิจารณาแล้วไม่มีความเห็นอื่นก็จะพิจารณาจากสองแหล่งนี้เป็นหลัก แต่อาจมีความเห็นจากประชาชนกลุ่มอื่นๆ  อีกจึงต้องรอดูว่าจะมีประชาชนที่อยากแสดงความเห็นและเข้ามามีส่วนร่วมอีกหรือไม่ เพราะถ้ายึดถือแต่ของ iLaw หรือข้อเสนอที่มีการเสนอมาก่อนหน้านี้คนที่ยังไม่ได้ให้ความเห็นผ่าน iLaw ก็จะบอกว่าทำไมฟังอยู่ที่เดียวแต่พวกเขายังไม่ได้เสนอความเห็น</p>
<p>“มันจะรอบด้านกว่ามั้ยถ้าฟังทุกด้าน  ไม่ใช่ไม่ฟังนะครับอย่าไปมองว่ารัฐบาลดึงเวลาเลย เราตระหนักว่าไอลอว์เป็นองค์กรที่มีคุณภาพและหวังดีกับประเทศชาติ แต่อย่าลืมว่าประเทศนี้เนี่ยมันมีความหลากหลาย คนกลุ่มที่เขามีความเห็นต่างก็มี ขอเวลารัฐบาลนิดเดียว ขอทำความเข้าใจกับทุกกลุ่มจะได้เป็นเรื่องที่ออกมาแล้วไม่ต้องไปเถียงกันทีหลังอีก”</p>
<p>ทั้งนี้โฆษก ครม.กล่าวว่าสำหรับเรื่องนี้ยังไม่ได้มีกรอบเวลาว่าคณะกรรมการศึกษาแนวทางดังกล่าวจะใช้เวลานานเท่าไหร่ แต่นายกฯ ได้ขอให้ดำเนินการโดยเร็ว</p>
<p>วันเดียวกันนี้ทางกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญที่ก่อนหน้านี้รวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอคำถามประชามติว่า “ให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน” จนได้ผู้ร่วมลงชื่อ 211,904  ชื่อ ได้ออกแถลงการณ์ในเรื่องผ่านทางแฟนเพจของ iLaw ด้วยเช่นกัน</p>
<p>แถลงการณ์ดังกล่าวระบุถึงความกังวลต่อแนวทางการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของรัฐบาลเศรษฐาในคำแถลงนโยบายของ ครม.นั้นไม่ชัดเจนและยังสวนทางกับที่พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลเคยหาเสียงเอาไว้ แม้ว่าจะเข้าใจว่ารัฐบาลต้องการลดความขัดแย้งจึงต้องหารือแนวทางในการทำรัฐธรรมนูญใหม่และยังหลีกเลี่ยงที่จะแก้ไขหมวดที่ 1 และ 2 ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นประเด็นละเอียดอ่อน</p>
<p>“แต่เมื่อเป้าประสงค์ของรัฐบาล คือ การเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน รัฐบาลจึงควรเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทุกคนได้เป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลหรือรัฐสภาไม่ควรสร้างเงื่อนไขที่จะเป็นข้อจำกัดในการร่างรัฐธรรมนูญโดยประชาชน เพราะท้ายที่สุด การตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญล้วนเป็นฉันทามติของประชาชน ต่างจากการร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่ร่างขึ้นโดยคนเพียงกลุ่มเดียว และนำไปสู่วิกฤติและความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรง” แถลงการณ์ระบุ</p>
<p>ในแถลงการณ์ระบุข้อเรียกร้องต่อ ครม. ไว้ 2 ประเด็นดังนี้</p>
<p>1. ทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง และพิจารณานำแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประชาชนเสนอ ได้แก่ ‘ให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน’ มาเป็นแนวทางหลัก เนื่องจากประชาชนเสียงข้างมากได้ให้การสนับสนุนแนวทางดังกล่าวผ่านการออกเสียงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค.2566</p>
<p>2. คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติที่คณะรัฐมนตรีจะตั้งขึ้นควรจะพิจารณานำคำถามประชามติที่ประชาชนได้ระดมชื่อกันกว่าสองแสนรายชื่อเสนอมาเป็นแนวคิดหลักในการกำหนดคำถามประชามติ เพราะเป็นคำถามที่มีความครอบคลุมและชัดเจนในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน เพื่อเป็นหลักประกันให้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญต่อจากนี้เป็นไปอย่างชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับทั่วกัน</p>
<iframe src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FiLawClub%2Fposts%2Fpfbid02bdUzh7oNU1xwtj8fn1RA1YPr6UZwFG3MZbLPKK3zkzC6Lzgba1mehbqHUcEj1KJZl&amp;show_text=true&amp;width=500" width="500" height="737" style="border:none;overflow:hidden" scrolling="no" frameborder="0" allowfullscreen="true" allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share"></iframe><p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แก้รัฐธรรมนูญ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เศรษฐา ทวีสิน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ประชุม ครม.[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชัย วัชรงค์[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105887