[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 30 กันยายน 2566 12:31:36



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 24-30 ก.ย. 2566
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 30 กันยายน 2566 12:31:36
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 24-30 ก.ย. 2566
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-09-30 11:54</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p><strong>รมว.แรงงาน ลั่น ขึ้นค่าแรงเป็นของขวัญปีใหม่ แต่ไม่ยืนยันจะได้ 400 บาทต่อวัน</strong></p>
<p>นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จะขึ้นค่าแรงให้เป็นของขวัญปีใหม่แน่นอน แต่ไม่ยืนยันว่าจะได้ 400 บาทต่อวันหรือไม่</p>
<p>สาเหตุที่ยังไม่ยืนยันว่าจะได้ 400 บาทต่อวันหรือไม่นั้น เพราะต้องขอหารือร่วมกับคณะกรรมการค่าจ้างก่อน เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะปรับได้กี่เปอร์เซ็นต์ตามความเหมาะสม บนพื้นฐานค่าแรงขั้นต่ำของแต่ละจังหวัด ค่าแรงในแต่ละอุตสาหกรรมซึ่งไม่เท่ากัน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อของประเทศมาเป็นฐานตั้งต้น โดยคาดจะได้ข้อสรุปสิ้นเดือน พ.ย. 2566</p>
<p>ทั้งนี้ การประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2567 ฝ่ายนายจ้างจะต้องไม่เดือดร้อนด้วย โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เนื่องจากผู้ประกอบการกลุ่มนี้ถือครองแรงงานก้อนใหญ่สุดของทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ</p>
<p>นายพิพัฒน์ กล่าวต่อว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนี้ ไม่สามารถแยกใช้เฉพาะแรงงานไทยได้ เพื่อให้แรงงานทุกคนได้รับค่าแรงขั้นต่ำเท่าเทียมกัน</p>
<p>นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานยังบอกอีกว่า เชื่อว่าเมื่อปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้ว จะมีแรงงานข้ามชาติมาทำงานในไทยเพิ่ม จากปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติมากกว่า 5 ล้านคน และคาดว่าในระยะยาว 20-30 ปีข้างหน้า ไทยจะมีแรงงานข้ามชาติมากกว่า 50% ของแรงงานทั้งหมด เนื่องจากปัจจัยทางประชากรศาสตร์ อัตราการเกิดใหม่ต่ำ ทำให้มีแรงงานไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการจ้างงาน</p>
<p>ที่มา: PPTV, 29/9/2566 (https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/206818)</p>
<p><strong>สภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานฯหนุนรัฐเพิ่มค่าจ้างตามทักษะฝีมือ</strong></p>
<p>สภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานฯหนุนกระทรวงแรงงานโฟกัสอัตราค่าจ้างตามทักษะฝีมือแรงงานเพื่อความยั่งยืนแนะเพิ่มหลักสูตรอบรมนายจ้างโดยเฉพาะเอสเอ็มอีให้สามารถปรับตัว ชี้รัฐควรตั้งกองทุนเทคโนโลยีเพื่อการเปลี่ยนผ่าน ไม่ค้านขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 1 ม.ค.67 แต่ควรผ่านกลไกไตรภาคีเป็นสำคัญ</p>
<p>นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย และในฐานะประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติชุดที่ 20 เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้นำทีมคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาฯ เข้าพบ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อแสดงความยินดีในการเข้ารับตำแหน่งและได้หารืออนาคตตลาดแรงงานไทยซึ่งเห็นตรงกันว่าจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานควบคู่ไปกับการขยายตัวของค่าจ้างที่มุ่งเน้นอัตราค่าจ้างตามทักษะฝีมือแรงงานเพื่อความยั่งยืนของตลาดแรงงานและภาคธุรกิจไทยอย่างแท้จริง</p>
<p>“ที่ประชุมได้เสนอให้กระทรวงแรงงานโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้จัดทำหลักสูตรการพัฒนาฝีมือแรงงานให้กับนายจ้างหรือผู้ประกอบการ จากเดิมที่มีแต่ลูกจ้าง เพราะหากนายจ้างต้องการพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะลูกจ้างให้ดีขึ้น(Upskill)และการสร้างทักษะใหม่(Reskill) ซึ่งหากนายจ้างโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ไม่มีทักษะที่จะเปลี่ยนแปลงจะไปพัฒนาลูกจ้างก็คงไม่เกิดประโยชน์”นายธนิตกล่าว</p>
<p>นอกจากนี้ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานจำเป็นต้องนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประกอบการดำเนินธุรกิจ และการบริการให้มากขึ้นซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นระบบอัตโนมัติ(AI) เสมอไปหากยังมีในเรื่องของการใช้ระบบออนไลน์เข้ามาช่วยเสริมงานต่างๆ ให้เร็วและลดต้นทุนเช่น แอปพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อการขาย การบริการ อย่างไรก็ตามการผลักดันให้ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยมีการปรับตัวโดยเฉพาะเทคโนโลยีนั้นจำเป็นต้องอาศัยทุนซึ่งขณะนี้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุนได้ยากขึ้นดังนั้นภาครัฐควรจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีเพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมการเปลี่ยนผ่าน</p>
<p>สำหรับประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวันที่เป็นเป้าหมายของรัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลังที่มีเป้าหมายจะประกาศใช้วันที่ 1 ม.ค. 67 นั้น จากการหารือกับรมว.แรงงานนั้นได้เห็นตรงกันว่า ควรปรับขึ้นแต่ควรผ่านความเห็นของกลไกของคณะกรรมการค่าจ้างกลาง(ไตรภาคี) ที่จะมีขั้นตอนตั้งแต่การเสนอค่าแรงจากไตรภาคีจังหวัด โดยยึดหลักการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ ความเป็นอยู่ของลูกจ้างและความสามารถการจ่ายของนายจ้างเป็นสำคัญ</p>
<p>ส่วนประเด็นของแรงงานต่างด้าวนั้นทางรมว.แรงงานได้ยืนยันจะดูแลและจะมีมาตรการต่ออายุซึ่งทางสภาฯจึงได้เสนอให้มีการแยกแรงงานต่างด้าวสำหรับภาคเกษตรและภาคการผลิตออกจากกันเนื่องจากแรงงานต่างด้าวสำหรับภาคเกษตรที่ผ่านมาจะไม่มีความชัดเจนเพราะฤดูเก็บเกี่ยวของภาคเกษตรมีระยะเวลาสั้นๆ ก็จะจบลงแต่เมื่อใช้กฏหมายเดียวกันทำให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันจึงควรจะแยกเพื่อให้อัตราค่าจ้างต่างกันตามความเหมาะสม</p>
<p>“ อุตสาหกรรมไทยเราติดกับดักหยุดใช้แรงงานเข้มข้น เราต้องเปลี่ยนไปสู่การใช้นวัตกรรมที่เข้มข้นแทนซึ่งต้องพัฒนาด้วยตนเองด้วยจะเล็กน้อยก็ต้องปรับเปลี่ยนเพราะการเติบโตจากรายเล็ก ไปสู่ กลางและใหญ่ ต้องแข่งขันกับรายใหญ่และต่างชาติเสมอและแน่นอนว่าวันนี้การค้าโลกมุ่งสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน ต้องดูแลสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิต มากขึ้นผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัวในทุกด้าน”นายธนิตกล่าว</p>
<p>ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 27/9/2566 (https://mgronline.com/business/detail/9660000087082)</p>
<p><strong>กรมการจัดหางาน รุกหนักกวาดล้างต่างชาติแย่งงานคนไทย ตรวจสอบทั่วประเทศแล้วกว่า 5 แสนคน</strong></p>
<p>นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า จากกรณีสื่อมวลชนตีแผ่ความทุกข์ใจของแม่ค้าชาวไทย ที่พบคนต่างชาติเปิดแผงค้าขายในตลาด เข็นรถขายน้ำผลไม้ ขับขี่จักรยานยนต์พ่วงข้างขายอาหาร</p>
<p>หรือเข้ามาค้าขายเปิดกิจการย่านการค้าสำคัญในประเทศไทยเป็นจำนวนมากจนคล้ายแย่งอาชีพคนไทย นั้น กรมการจัดหางาน ขอยืนยันว่าตลอดปีที่ผ่านมากรมฯไม่เคยนิ่งนอนใจ สั่งการเจ้าหน้าที่จากกองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศลงพื้นที่กวาดล้างแรงงานต่างชาติที่แย่งอาชีพคนไทย และแรงงานต่างชาติที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจท่องเที่ยว ตำรวจในพื้นที่ และกรมการปกครอง โดยมีทั้งการสุ่มตรวจในพื้นที่ย่านการค้าแหล่งเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ ย่านเยาวราช ห้วยขวาง แยกราชประสงค์ ตลาดหทัยมิตร ถนนจันทร์ และจังหวัดที่พบคนต่างชาติเป็นจำนวนมาก อาทิ จังหวัดนนทบุรี เชียงใหม่ ชลบุรี นครปฐม และระนอง รวมทั้งในพื้นที่ที่มีการแจ้งเบาะแสร้องทุกข์โดยประชาชน หรือสื่อมวลชน ทำให้ปีงบประมาณ 2566 (วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 25 กันยายน 2566) มีการเข้าตรวจสอบสถานประกอบการทั่วประเทศที่จ้างแรงงานต่างชาติแล้ว จำนวน 53,732 แห่ง ดำเนินคดี 1,587 แห่ง และตรวจสอบคนต่างชาติแล้ว จำนวน 528,683 คน มีการดำเนินคดีทั้งสิ้น 3,464 คน แยกเป็นสัญชาติเมียนมา 1,850 คน กัมพูชา 636 คน ลาว 562 คน เวียดนาม 145 คน และสัญชาติอื่น ๆ 271 คน ซึ่งพบเป็นความผิดแย่งอาชีพคนไทย ทั้งสิ้น 1,634 คน โดยจังหวัดที่พบนายจ้าง สถานประกอบการและแรงงานต่างชาติกระทำผิดมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. กรุงเทพมหานคร 2. สมุทรสาคร 3. นครปฐม 4. ชลบุรี และ  5.นนทบุรี และอาชีพที่พบคนต่างชาติแย่งอาชีพคนไทยมากที่สุด ได้แก่ งานเร่ขายสินค้า งานตัดผม งานขับขี่ยานพาหนะ งานนวด และมัคคุเทศก์ตามลำดับ</p>
<p>นายไพโรจน์ กล่าวต่อไปว่า กรมการจัดหางานให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ โดยผลักดันให้เกิดการจ้างงานที่ถูกต้องตามกฎหมายและเพียงพอต่อการขับเคลื่อนกิจการของนายจ้างในประเทศไทย พร้อมกับควบคุมให้มีจำนวนแรงงานต่างชาติเท่าที่จำเป็น และอนุญาตให้ทำเฉพาะงานที่คนไทยไม่ทำ เพื่อมิให้กระทบต่อโอกาสในการมีงานทำหรือรายได้ของคนไทย โดยแรงงานต่างชาติต้องมีเอกสารประจำตัวบุคคลและใบอนุญาตทำงานถูกต้อง รวมทั้งต้องทำงานตามสิทธิ ที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ (มีทั้งสิ้น 40 งาน) ซึ่งหากคนต่างด้าวฝ่าฝืนทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือสิทธิ จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศต้นทาง รวมถึงห้ามขอใบอนุญาตทำงานเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ และนายจ้าง/สถานประกอบการ ที่รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน หรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หากกระทำผิดซ้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี</p>
<p>“การลงพื้นที่ตรวจสอบดำเนินคดีอย่างเข้มงวด ควบคู่กับการประชาสัมพันธ์แนวทางขออนุญาตทำงานตามกฎหมายประเทศไทย ส่งผลให้จำนวนนายจ้าง/สถานประกอบการ และแรงงานต่างชาติที่กระทำผิดลดลง เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแรงงานภายในประเทศ เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคง และความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน สอดรับนโยบายสร้างรากฐานเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการคุ้มครองแรงงานของนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว</p>
<p>ที่มา: ข่าวทำเนียบรัฐบาล, 27/9/2566 (https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/72651)</p>
<p><strong>ขึ้นค่าจ้างตามทักษะแรงงาน เอกชนย้ำค่าแรงขั้นต่ำตามมติไตรภาคี</strong></p>
<p>นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) ในฐานะประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติชุดที่ 20 เปิดเผยหลังนำคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาฯเข้าพบนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ว่า ได้หารือถึงอนาคตตลาดแรงงานไทย ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายเห็นตรงกันว่ารัฐบาลจะต้องมีแผนเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน ควบคู่ไปกับการขยายตัวของค่าจ้าง ที่มุ่งเน้นอัตราค่าจ้างตามทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อความยั่งยืนของตลาดแรงงานและภาคธุรกิจไทยอย่างแท้จริง</p>
<p>“ผมได้เสนอให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดทำหลักสูตรการพัฒนาฝีมือแรงงานให้กับนายจ้างหรือผู้ประกอบการ จากเดิมที่มีแต่ลูกจ้าง เพราะหากนายจ้างต้องการพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะลูกจ้างให้ดีขึ้น (Upskill) และการสร้างทักษะใหม่ (Reskill) หากนายจ้างโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี)ไม่มีทักษะที่จะเปลี่ยนแปลง จะไปพัฒนาลูกจ้างก็คงไม่เกิดประโยชน์”</p>
<p>นอกจากนี้ ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน ก็จะต้องนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ที่ทันสมัยเข้ามาประกอบการดำเนินธุรกิจ และการ บริการให้มากขึ้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นระบบอัตโนมัติ (AI) เสมอไป หากยังมีในเรื่องของการใช้ระบบออนไลน์เข้ามาช่วยเสริมงานต่างๆให้เร็วและลดต้นทุน เช่น แอปพลิเคชันต่างๆเพื่อการขายการบริการ อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยมีการปรับตัว โดยเฉพาะเทคโนโลยีนั้นจำเป็นต้องอาศัยทุน ซึ่งขณะนี้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุนได้ยากขึ้น รัฐบาลจึงควรจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยี เพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมการเปลี่ยนผ่าน</p>
<p>สำหรับประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวัน ที่เป็นเป้าหมายของรัฐบาล ที่มีเป้าหมายจะประกาศใช้วันที่ 1 ม.ค. 2567 นั้น จากการหารือกับ รมว.แรงงาน ได้เห็นตรงกันว่า ควรปรับขึ้น แต่ควรผ่านความเห็นของกลไกของคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี) ที่จะมีขั้นตอนตั้งแต่การเสนอค่าแรงจากไตรภาคีจังหวัด โดยยึดหลักการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ ความเป็นอยู่ของลูกจ้าง และความสามารถในการจ่ายของนายจ้างเป็นสำคัญ</p>
<p>ขณะเดียวกัน ในประเด็นของแรงงานต่างด้าว นายพิพัฒน์ได้ยืนยันจะดูแลให้ทั้งฝั่งแรงงานและนายจ้าง โดยจะมีมาตรการต่ออายุ ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯ ได้เสนอให้มีการแยกแรงงานต่างด้าว สำหรับภาคเกษตรและภาคการผลิตออกจากกัน เนื่องจากแรงงานต่างด้าวสำหรับภาคเกษตรที่ผ่านมาจะไม่มีความชัดเจน เพราะฤดูเก็บเกี่ยวของภาคเกษตรมีระยะเวลาสั้นๆก็จะจบลง แต่เมื่อใช้กฎหมายเดียวกัน ทำให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากัน จึงควรจะแยกเพื่อให้อัตราค่าจ้างแตกต่างกันตามความเหมาะสมของประเภทงาน</p>
<p>“ต้องยอมรับว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมไทยติดกับดัก หยุดใช้แรงงานเข้มข้น เราจึงต้องเปลี่ยนไปสู่การใช้นวัตกรรมที่เข้มข้นแทน ซึ่งต้องพัฒนาด้วยตนเองด้วย จะเล็กน้อยก็ต้องปรับเปลี่ยนเพราะการเติบโตจากรายเล็ก ไปสู่กลางและใหญ่ ต้องแข่งขันกับรายใหญ่และต่างชาติตลอดเวลา และปัจจุบันการค้าโลกก็มุ่งสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน ผู้ประกอบการก็ต้องดูแลสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตให้มากขึ้น”</p>
<p>ที่มา: ไทยรัฐมันนี, 27/6/2566 (https://www.thairath.co.th/.../econ.../thailand_econ/2728369)</p>
<p><strong>สส.ตั้งคำถาม กอช. มีแนวทางดึงแรงงานนอกระบบที่ประกอบอาชีพอิสระ กว่า 20 ล้านคนเข้าเป็นสมาชิกหรือไม่</strong></p>
<p>นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวชื่นชมรัฐบาลที่ผ่านมาที่เห็นความสำคัญของกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ที่มีวัตถุประสงค์หลักคือให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระมีเงินออมใช้เมื่อถึงวัยเกษียณ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมสูงวัยแบบเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2564 และในปี 2574 ประเทศไทยมีประชากรที่สูงวัยมากถึง 28% จึงมีคำถามที่อยากถามกับ กอช. ว่าจะมีแนวทางในการหาสมาชิกเพิ่มอย่างไร จากการที่ดูตัวเลขในรายงานฉบับนี้จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันมีสมาชิกเพียง 2.5 ล้านคน ซึ่งจำนวนสมาชิกตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปี 2565 เพิ่มขึ้นเพียงปีละไม่ถึง 3% และถ้าดูต่อไปจะเห็นว่าปัจจุบันนี้จำนวนแรงงานนอกระบบที่ประกอบอาชีพอิสระปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 20 กว่าล้านคน แปลว่าปัจจุบันสมาชิกของ กอช. นั้นคิดได้เพียงแค่ 12% ของผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระเท่านั้น</p>
<p>สส.พิชชารัตน์ กล่าวว่าในรายงานของ กอช.ที่รายงานต่อสภาได้ระบุถึงยุทธศาสตร์ที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของการเพิ่มจำนวนสมาชิกอย่างทั่วถึง และการส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่อง มีตัวอย่างให้เห็นในเล่มรายงานว่า กอช. มีการปรับปรุงกลยุทธ์และจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ร่วมกับหลายกระทรวง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม สำนักงานกองทุนหมู่บ้าน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และยังมีการจัดกิจกรรมมากมาย แต่เมื่อดูในรายละเอียดหน้างบการเงิน พบว่า ในส่วนของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าส่งเสริมการตลาดในปี 2565 เพิ่มขึ้นมาจากปี 2564 ถึง 152% ซึ่งตนเห็นว่า ประชาชนก็คงสงสัยเช่นเดียวกันว่า กอช. เคยทำดัชนีชี้วัดผลงานหรือ KPI บ้างหรือไม่ เพราะการออมเป็นสิ่งสำคัญแต่การลงทุนในการประชาสัมพันธ์ที่ได้ประโยชน์น้อยเช่นนี้ จึงอยากถามว่าคุ้มค่าหรือไม่</p>
<p>ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา, 26/9/2566 (https://www.tpchannel.org/radio/news/22823)</p>
<p><strong>โซเชียลเผยแรงงานไทยในเกาหลีใต้ ถูกนายจ้างต่างชาติ ชี้หน้าด่า-ทำร้ายร่างกาย</strong></p>
<p>เพจเฟซบุ๊ก อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทริน์ part 6 ได้แชร์คลิปจากผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ที่ออกมาเผยภาพหญิงสาว "แรงงานไทย" ถูกนายจ้างชาวเกาหลีตะโกนด่าด้วยถ้อยคำรุนแรง ก่อนเข้ามาทำร้ายร่างกาย มี "แรงงานไทย" ที่อยู่รอบข้างมาห้าม แต่นายจ้างคนดังกล่าวก็ไม่หยุด และเดินเข้ามากระชากหัวจนล้มลง หญิงไทยต้องรีบวิ่งหนีเอาชีวิตรอด</p>
<p>เจ้าของโพสต์เขียนข้อความระบุว่า "แรงงานไทยทำงานอาราไบต์(รับจ้างรายวัน) แถวเขตนาจู กวางจูใต้ โดนเถ้าแก่ทำร้าย และทำร้ายบ่อยมาก เคยมีบางคนโดนกระทืบติดดินมาแล้ว ฝากบอกคนเกาหลีด้วยนะ ถึงพวกเราจะจนเราก็ไม่ได้มาขอเงินพวกคุณฟรีๆ นะ</p>
<p>เราทำงานแลกเงินด้วยหยาดเหงื่อ เลือดตาแทบกระเด็นจึงจะได้เงินพวกคุณมา คนไทยก็มีหัวใจนะ คนไทยเราก็เป็นคนเป็นมนุษย์เฉกเช่นเดียวกับคนเกาหลี พวกเราไม่ใช่ทาส ไม่ใช่ขี้ข้าไม่ใช่หมานะ โปรดเข้าใจให้เกียรติความเป็นคนแก่พวกเราด้วย"</p>
<p>หลังคลิป "แรงงานไทย" โดนทำร้ายถูกแชร์ออกไป ผู้คนให้ความสนใจมาก จนมียอดเข้าชมไปกว่า 2.5 ล้านวิว และมีคนแชร์ไปกว่า 9 พันครั้ง มีชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์มากมาย ทั้งให้กำลังใจและบอกให้ไปแจ้งตำรวจ ซึ่งมีชาวเน็ตรายหนึ่งเข้ามาแนะนำว่า "ไม่ว่าจะอยู่ถูกหรือผิดกฎหมายก็แจ้งความได้ ไม่ต้องกลัวตำรวจส่งกลับไทย ตำรวจเกาหลีกับตม.คนล่ะส่วน"</p>
<p>ที่มา: คมชัดลึก, 25/9/2566 (https://www.komchadluek.net/hot-social/Social/559401)</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เศรษฐกิจ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงาน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/106143