[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 09 พฤศจิกายน 2566 03:07:02



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: เมื่อ ‘พระ AI’ ท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ของ ‘พระคน’
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 09 พฤศจิกายน 2566 03:07:02
สุรพศ ทวีศักดิ์: เมื่อ ‘พระ AI’ ท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ของ ‘พระคน’
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-11-08 22:05</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สุรพศ ทวีศักดิ์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>หลังจากโลกโซเชียลมีการเผยแพร่และแชร์ภาพพระที่วาดโดย AI หรือที่เรียกกันเล่นๆ ว่า “พระ AI” ในเชิงเปรียบเทียบกับ “พระคน” พระ AI ห่มจีวรถูกระเบียบเหมือนพระคนทุกอย่าง แต่แสดงออกตรงกันข้ามกับ “ภาพจำ” เกี่ยวกับพระคนตามความเชื่อที่สืบทอดกันมา เช่น พระ AI แข่งรถ เล่นคอนเสิร์ต ร้องคาราโอเกะ นั่งดื่มกินกับสาวๆ และอื่นๆ ที่ล้วนแต่ท้าทายหรือ “สลาย” ความเชื่อเรื่องความสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ของพระคนโดยสิ้นเชิง </p>
<p>ต่อปรากฏการณ์ดังกล่าว โฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แถลงว่า “อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ภาพลักษณ์ของทางคณะสงฆ์ และอาจทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความไม่สบายใจ” พศ. จึงทำหนังสือถึงตำรวจไซเบอร์ เพื่อให้ตรวจสอบ ดำเนินการนำภาพที่ไม่เหมาะสมออกไป และ พศ. เองก็กำลังตรวจสอบแหล่งที่มาของภาพ AI พระสงฆ์แข่งจักรยานยนต์ เพื่อประสานตำรวจไซเบอร์ดำเนินการต่อไป</p>
<p>ผมเองไม่แน่ใจว่าตำรวจไซเบอร์จะใช้อำนาจดำเนินการเรื่องนี้ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์หรือกฎหมายฉบับใด แต่ถ้าพูดในทาง “หลักการ” ของการใช้เสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออก จะผิดหลักเสรีภาพดังกล่าวก็ต่อเมื่อเป็นการ “ทำอันตรายต่อคนอื่น” เช่น มีการใช้ AI วาดภาพพระ ก พระ ข ซึ่งเป็นพระคนที่มีตัวตนอยู่จริง โดยวาดภาพพระ ก พระ ข แข่งรถ เล่นคอนเสิร์ต หรือกระทำสิ่งอื่นๆ ในทางเสียหาย โดยที่พระ ก พระ ข ไม่เคยทำแบบนั้นจริงๆ หรือเป็นการละเมิด “สิทธิส่วนบุคคล” ในกรณีอื่นๆ แบบนี้ถึงจะถือได้ว่า “ขัดหลักเสรีภาพ” และรัฐสามารถใช้กฎหมายยับยั้งหรือเอาผิดได้ </p>
<p>แต่ข้ออ้างที่ว่า “อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ภาพลักษณ์ของทางคณะสงฆ์” ยังไม่ใช่ข้ออ้างที่ “สมเหตุสมผล” พอที่จะใช้กฎหมายยับยั้งการใช้เสรีภาพในการแสดงออกได้ เพราะเป็นข้ออ้างบนพื้นฐานของ “ความเชื่อ” สองระดับ คือ </p>
<p>1. ความเชื่อระดับการคาดเดา คือเชื่อว่า “อาจส่งผลให้เกิดความเสียหาย...” ซึ่งเป็นความเห็นหรือดุลพินิจส่วนบุคคลที่เป็นเรื่อง “อัตวิสัย” (subjective) ของแต่ละคน ซึ่งย่อมจะเห็นไม่ตรงกัน เพราะบางคนอาจเห็นว่าภาพพระ AI อาจส่งผลเสียหายต่อภาพลักษณ์ของคณะสงฆ์ แต่บางคนอาจเห็นว่าไม่ได้ส่งผลเสียหายเช่นนั้น เพราะคนดูภาพเขาแยกแยะได้อยู่แล้วว่าแบบไหนคือ “พระ AI” แบบไหนคือ “พระคน” ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับภาพลักษณ์ของพระคนได้จริงเกิดจากการกระทำหรือความประพฤติของพระคนตามที่เป็น “ข่าวฉาว” ต่างๆ มากกว่า </p>
<p>ดังนั้น ความเชื่อที่ว่า “อาจส่งผลให้เกิดความเสียหาย...” จึงไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอย่างเป็น “ภาววิสัย” (objective) ที่มีหลักฐานเชิงประจักษณ์ให้ทุกคนเห็นร่วมกันได้ หรือมีหลักฐานแสดงรูปธรรมของความเสียหายเพียงพอที่รัฐจะใช้กฎหมายเอาผิดได้</p>
<p><strong>2. ความเชื่อระดับศรัทธา</strong> (faith) คือความศรัทธาในภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ที่สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์กว่าคนธรรมดาทั่วไป เพราะถูกสอนมาว่าพระสงฆ์คือผู้ละกิเลสแล้ว หรือเป็นผู้ฝึกตนเพื่อละกิเลส พระสงฆ์จึงต้องมีภาพลักษณ์ของผู้สงบ สำรวม สมถะ เรียบง่าย ปล่อยวาง ไม่ยึดติดเรื่องใดๆ ในทางโลก จึงกระทำหรือแสดงออกแบบโลกย์ๆ อย่างภาพพระ AI ไม่ได้ ประเด็นความเชื่อระดับศรัทธานี้มีข้อพิจารณาอย่างน้อย 2 ด้าน คือ </p>
<p>ด้านแรก ในสังคมสมัยใหม่ที่มีลักษณะเป็น “สังคมโลกวิสัย” (secular society) ถือว่าความเชื่อหรือศรัทธาทางศาสนาใดๆ เป็น “ความเชื่อส่วนบุคคล” ดังนั้น จึงเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ที่ใครๆ จะเลือกศรัทธาในภาพลักษณ์ที่สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์เหนือคนธรรมดาของพระสงฆ์หรือไม่ก็ได้ </p>
<p>คนที่ศรัทธาก็มีเสรีภาพในการนำเสนอ, เผยแพร่, ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดีงามน่าเลื่อมใสของพระสงฆ์ได้เต็มที่อยู่แล้ว และทำเช่นนั้นกันมายาวนานอยู่แล้ว ส่วนผู้ที่ไม่เชื่อหรือไม่ศรัทธาก็มีการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ภาพลักษณ์ที่ไม่ดี หรือล้อเลียนเสียดสีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของพระสงฆ์ในรูปแบบของคำพูด ข้อเขียน ภาพวาด และอื่นๆ มาตลอดประวัติศาสตร์ยาวนานอยู่แล้ว </p>
<p><strong>แม้แต่ในคัมภีร์ไตรปิฎกเองก็มีเรื่องเหล่านี้ พุทธะเองก็ไม่เคยเรียกร้องให้ใช้ “อำนาจรัฐ” มาจัดการกับผู้ที่ไม่เชื่อ หรือไม่ศรัทธาที่โจมตี วิจารณ์ หรือล้อเลียนเสียดสีตัวท่านเองและพระสงฆ์ แต่กลับสอนให้มีสติ มีขันติธรรม เผชิญการท้าทายเหล่านั้นด้วยจิตใจเปิดกว้าง หนักแน่น และโต้ตอบด้วยเหตุผล</strong></p>
<p>ด้านที่สอง คือด้านที่เป็น “ความจริง” ว่าแม้จะมีการนำเสนอ, เผยแพร่, ประชาสัมพันธ์เพื่อปลูกฝังศรัทธาในภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ที่สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์กว่าคนธรรมดาทั่วไปผ่านการสร้าง “เรื่องเล่าหลัก” (grand narrative) ต่างๆ ทั้งในระดับคัมภีร์ และด้วยวิธีอื่นๆ ว่า “พระสงฆ์คือผู้ละกิเลสแล้ว หรือเป็นผู้ฝึกตนเพื่อละกิเลส พระสงฆ์จึงต้องมีภาพลักษณ์ของผู้สงบ สำรวม สมถะ เรียบง่าย ปล่อยวาง ไม่ยึดติดเรื่องใดๆ ในทางโลก ปฏิบัติตนมุ่งสู่นิพพานหรือความหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์เท่านั้น”  แต่ตาม “ข้อเท็จจริง” แล้ว พระสงฆ์ยังมี “ยศช้างขุนนางพระ” รับเงินนิตยภัตจาก “ภาษีประชาชน” นอกเหนือจากเงินทำบุญ พระสงฆ์อยู่ใต้ระบบ “มหาเถรสมาคม” ซึ่งเป็น “ศาสนจักรของรัฐ” ที่ทำหน้าที่สนับสนุนอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีอำนาจทางกฎหมาย และรับงบประมาณจากภาษีประชาชน ซึ่งระบบศาสนจักรดังกล่าวขัดแย้งกับหลักการรัฐโลกวิสัย (secular state) ที่ต้อง “แยกศาสนจักรกับรัฐ” (separation of church and state) </p>
<p>กล่าวคือ โดยทั่วไปรัฐที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ มักจะเป็นรัฐโลกวิสัยที่แยกสถาบันหรือองค์กรศาสนาออกจากการเป็นสถาบันหรือองค์กรของรัฐ ปล่อยให้องค์กรทุกศาสนาเป็นเอกชนทั้งหมด และแยกหลักความเชื่อทางศาสนาออกจากอุดมการณ์รัฐ หรือหลักการปกครองทั้งหมด ปล่อยให้เรื่องศาสนาเป็น “ความเชื่อส่วนบุคคล” ของแต่ละคน, ของกลุ่มศาสนา นิกายศาสนา หรือชุมชุนผู้ศรัทธานั้นๆ โดยรัฐไม่ก้าวก่าวแทรกแซงกิจการภายในขององค์กรศาสนาใดๆ ไม่อุปถัมภ์หรือส่งเสริมศาสนาใดๆ เพียงแต่ให้หลักประกันเสรีภาพ ความเสมอภาคทางศาสนา และความเชื่ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ศาสนา และส่งเสริมการมีความอดกลั้น (tolerance) ระหว่างศาสนาและความเชื่อต่างๆ เท่านั้น </p>
<p>แต่ระบบคณะสงฆ์ไทยเป็นระบบที่ขัดแย้งกับหลักการรัฐโลกวิสัยดังกล่าว พระสงฆ์เองยังมียศศักดิ์ (สมณศักดิ์ หรือฐานันดรพระ) มีอำนาจทางกฎหมาย และใช้งบประมาณต่างๆ จากภาษีประชาชนอยู่ มี “บัญญีเงินฝากส่วนตัว” และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ “ทางโลก” ที่สวนทางกับภาพลักษณ์สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์เหนือคนธรรมดาตามที่ประชาสัมพันธ์กัน จึงเป็นเหตุให้บรรดาคนที่ไม่ศรัทธาในภาพลักษณ์ดังกล่าว (แต่พวกเขาต้องจ่ายภาษีที่ถูกนำไปสนับสนุนความเชื่อเช่นนั้น) ตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ และล้อเลียนเสียดภาพลักษณ์เช่นนั้น ด้วยวิธีการต่างๆ จนกระทั่งมาถึงยุคภาพวาดพระ AI อย่างที่เห็น</p>
<p>ส่วนประเด็นว่าภาพวาดพระ AI เป็นงานศิลปะหรือเป็นการนำเสนอที่ “สร้างสรรค์” หรือไม่? เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่คงวิพากษ์วิจารณ์กันไป แต่การล้อเลียนเสียดสีเช่นนั้นอยู่ในขอบเขตของการใช้ “เสรีภาพ” หรือไม่ หรือขัดหลักเสรีภาพหรือไม่? เราก็ต้องตอบตามหลักเสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออกในหลักสิทธิมนุษยชนว่า “ยังอยู่ในขอบเขตการใช้เสรีภาพ” หรือ “ไม่ขัดหลักเสรีภาพ” หากไม่เป็นการ “ทำอันตราย” ต่อทรัพย์สิน สิทธิ เสรีภาพ ร่างกาย ชีวิต และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น หรือไม่ทำอันตรายในลักษณะเดียวกันต่อสถาบันทางสังคมหรือองค์กรใดๆ ที่พิสูจน์ได้อย่างเป็นภาววิสัย </p>
<p><strong>ดังนั้น เราจึงอ้าง “ความเชื่อส่วนบุคคล” หรือ “ความรู้สึกส่วนตัว” ที่ไม่ชอบใจ ไม่สบายใจ ไม่พอใจการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การแสดงออกใดๆ มาเรียกร้องให้ใช้กฎหมายเอาผิดไม่ได้ ถ้าทำได้ก็เท่ากับเรายินยอมให้ใช้อำนาจรัฐละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนได้</strong></p>
<p>ปัญหาใหญ่จริงๆ ของบ้านเราคือ เรายินยอมให้มีการใช้อำนาจรัฐละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนได้ เช่น ยอมให้มีการใช้มาตรา 112, 116 ละเมิดเสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การเขียน การแสดงออก การชุมนุมทางการเมือง การเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้เป็นประชาธิปไตย หรือการแก้ไขและยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้จริง มีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองและอื่นๆ ได้จริงอย่างที่สังคมประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าเขามีกัน </p>
<p>พูดอีกอย่างคือ เราถูกปลูกฝังให้ “รู้สึกอ่อนไหว” ต่อการตั้งคำถาม วิพากษ์ วิจารณ์ หรือการล้อเลียนเสียดสีบุคคลสาธารณะ หรือสถาบันต่างๆ ที่ใช้ภาษีประชาชนซึ่งมีอำนาจที่ศักดิ์สิทธิ์เข้มแข็งมั่นคงอยู่แล้ว ไม่สั่นคลอนเพียงเพราะถูกตั้งคำถาม วิจารณ์ หรือล้อเลียนเสียสีอยู่แล้ว และเราถูกลวงให้ “ไม่รู้สึกอ่อนไหว” ต่อการใช้อำนาจรัฐละเมิดเสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด และการแสดงออกของประชาชนที่เห็นชัดๆ ว่าพวกเขาเหล่านั้นถูกขังคุก และได้รับความทุกข์ทรมานอื่นๆ เพียงเพราะใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นในทางที่ผู้มีอำนาจ หรือคนบางกลุ่มไม่ชอบ</p>
<p>พูดให้ชัดคือ สังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่เคารพหลักเสรีภาพ มักจะสร้าง “รูปปฏิมาศักดิ์สิทธิ์” ของชนชั้นปกครองและนักบวชตามคติความเชื่อแบบยุคก่อนสมัยใหม่ขึ้นมาให้คนในยุคสมัยใหม่ต้องเคารพสักการะ โดยมีกฎหมายบังคับศรัทธาลงโทษประชาชนที่ถูกมองว่าไม่เคารพสักการะ หรือหาทางใช้กฎหมายอื่นๆ ลงโทษประชาชนที่มีความคิดแบบยุคสมัยใหม่ที่ยึดถือ “ความเป็นคนเท่ากัน” ว่าไม่มีใครสูงส่งศักดิ์สิทธิ์เหนือเสรีภาพในการวิจารณ์ตรวจสอบ ถามว่าพุทธศาสนาและสถาบันหรือองค์กรทางพุทธศาสนามีไว้เพื่อสร้างสังคมให้ล้าหลังเช่นนี้หรือ </p>
<p>แต่ความท้าทายของสถาบันศาสนาและผู้ศรัทธาศาสนาในยุคที่อำนาจใดๆ ไม่สามารถควบคุมโลกของการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าได้จริง ก็คือสถาบันศาสนาและผู้ศรัทธาเหล่านั้นจะมีวิธีอยู่ร่วมกับการแสดงออกหลากรูปแบบที่ “ไม่ถูกใจ” หรือ “ไม่ชอบใจ” เพราะขัดกับ “ความเชื่อ” หรือความศรัทธาของสถาบันตนหรือของพวกตนอย่างเปิดกว้างหรือมีความอดกลั้นได้อย่างไร ในเมื่อคุณไม่สามารถขจัดสิ่งตรงข้ามกับศรัทธา หรือสิ่งที่คุณไม่ชอบให้หมดไปได้</p>
<p><strong>หรือพูดในเชิงสร้างสรรค์คือ คุณจะพิสูจน์ “คุณค่า” ของศรัทธาทางศาสนา บทบาทของพระสงฆ์และอื่นๆ อย่างไรให้สังคมร่วมสมัยยอมรับได้ว่า หลักคำสอนพุทธศาสนา บทบาทของพระสงฆ์และสถาบันสงฆ์ยังมีคุณค่า หรือมีประโยชน์ต่อการสนับสนุน “ความเป็นมนุษย์” ของประชาชนในยุคปัจจุบันที่ต้องมีศักดิ์ศรี มีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคตามมาตรฐานของหลักสิทธิมนุษยชนและระบอบประชาธิปไตยแบบประเทศที่เจริญแล้วเขามีกัน นี่ต่างหากคือปัญหาท้าทายต่อพระสงฆ์ ชาวพุทธ และสถาบันสงฆ์อย่างถึงราก ไม่ทราบว่า พ.ศ. มีคำตอบให้กับปัญหาท้าทายเช่นนี้อย่างไร!</strong></p>
<p> </p>
<p><strong>ที่มาภาพ:</strong> https://prachatai.com/journal/2023/11/106699 (https://prachatai.com/journal/2023/11/106699)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทความ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วัฒนธรรม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A8-%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สุรพศ ทวีศักดิ์[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106720