[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 14:57:31



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เปิดตัว 'เรา' แพลตฟอร์มช่วยเหลือผู้ถูกคุกคามทางเพศ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 14:57:31
เปิดตัว 'เรา' แพลตฟอร์มช่วยเหลือผู้ถูกคุกคามทางเพศ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-11-12 11:37</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สสส. ร่วมกับ สมาคมเพศวิถีศึกษา, Sidekick เปิดตัวแพลตฟอร์ม "เรา" รับฟังปัญหาผู้ถูกคุกคามทางเพศ อีกหนึ่งช่องทางให้คนสามารถระบายปัญหา และรับการฟื้นฟูผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53326291094_00587d30a9_o_d.png" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพ: สสส. (อ้างในสำนักข่าวสร้างสุข)</span> (https://www.thaihealth.or.th/สสส-ภาคีฯ-จัดกิจกรรม-เรา)</p>
<p>สำนักข่าวสร้างสุข (https://www.thaihealth.or.th/สสส-ภาคีฯ-จัดกิจกรรม-เรา) รายงานเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2566 ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ สมาคมเพศวิถีศึกษา ไซด์คิก (Sidekick) องค์กรออกแบบการสื่อสารเพื่อสังคม จัดงาน “เรา” พื้นที่พลังบวก สืบเนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ทุกวันที่ 25 พ.ย. ของทุกปี เป็น “วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงสากล” นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายดำเนินงานยุติปัญหาความรุนแรง โดยจัดงาน “เรา” พื้นที่พลังบวก สะท้อนให้สังคมได้เห็นถึงปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผลักดันให้เป็นประเด็นสาธารณะ ที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญร่วมแก้ไข ในงานมีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม “เรา” ชุมชนออนไลน์เสริมพลังหญิง ให้ได้ทดลอง Public Beta Testing ก่อนใช้งานจริงในต้นปี 2567 กิจกรรมเสวนา “พื้นที่ออนไลน์ที่ปลอดภัย หน้าตาเป็นอย่างไร ผู้ใช้ต้องเป็นคนกำหนด” นิทรรศการ ทำความเข้าใจกับคำว่า Trauma หรือ เหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ</p>
<p>“องค์กรเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ระบุว่า 88% ของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถูกคุกคามทางเพศบนออนไลน์โดยเด็กหญิงวัยรุ่น และคนกลุ่มเปราะบางรับผลกระทบมากที่สุด มีสาเหตุสำคัญจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ข้อมูลจากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ปี 2564 พบข่าวความรุนแรงในครอบครัวที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้น 24.7% และยาเสพติด 17.2% ผู้หญิงที่ถูกกระทำส่วนใหญ่ไม่สามารถออกจากความสัมพันธ์ได้ ดังนั้นการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก อย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังคงเป็นภารกิจหลักที่ สสส. มุ่งมั่นขับเคลื่อนต่อไป พร้อมผลักดันความรุนแรงเป็นประเด็นสาธารณะ เพื่อลดความรุนแรงอันเนื่องจากเหตุแห่งเพศ โดยมียุทธศาสตร์การดำเนินงาน 4 ด้าน 1.พัฒนาองค์ความรู้ และแนวปฏิบัติในการลดความรุนแรง 2.พัฒนาต้นแบบในระดับชุมชนและสถานประกอบการ 3.เสริมศักยภาพแกนนำ/เครือข่ายลดความรุนแรง 4.สนับสนุนการขับเคลื่อนงานนโยบายลดความรุนแรง” นาง ภรณี กล่าว</p>
<p>ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท ที่ปรึกษาแผนงานสุขภาวะผู้หญิงฯ สมาคมเพศวิถีศึกษา กล่าวว่า ปี 2564-2566 แผนงานสุขภาวะผู้หญิงฯ ร่วมกับ Sidekick และผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ศึกษาข้อมูลทำงานกับเยาวชนหญิงที่กำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย รวมทั้งเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน พบว่า เคยประสบเหตุการณ์ถูกคุกคาม หรือล่วงละเมิดในเรื่องที่เกี่ยวกับเพศ จำนวน 270 คน จาก 18 มหาวิทยาลัย 75 % เคยถูกคุกคามทางเพศโดยคนแปลกหน้าในที่สาธารณะ ตามมาด้วยการคุกคามทางเพศในพื้นที่ออนไลน์ 58 % และ 87 % ของเยาวชนกลุ่มนี้บอกว่าเมื่อเจอเหตุการณ์ถูกคุกคาม หรือมีภาวะที่ถูกกระทบทางจิตใจจากเหตุการณ์ในอดีต จะเลือกหาความช่วยเหลือจากเพื่อนและคนในครอบครัว มีเพียง 20% ที่เลือกใช้ช่องทางความช่วยเหลือแบบเป็นทางการ เช่น จิตแพทย์ ตำรวจ และสายด่วนต่าง ๆ และยังมีอีก 10% ที่บอกว่าไม่เคยขอความช่วยเหลือจากแหล่งใด ๆ เลย</p>
<p>“เหตุการณ์ที่เคยถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดในอดีตได้สร้างผลกระทบทางจิตใจ มีผลไปถึงการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รู้สึกเครียด หวาดผวา เสียความมั่นใจในตัวเอง บางส่วนต้องเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ ยกเลิกหรือเปลี่ยนบัญชีโซเชียลมีเดีย และส่วนใหญ่บอกว่าไม่กล้าเข้าสังคมและทำความรู้จักคนใหม่ ๆ จึงพัฒนาแพลตฟอร์ม “เรา” โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาเป็นที่ปรึกษา ให้ข้อมูล โดยมีรูปแบบการแชร์ประสบการณ์ การก้าวข้ามเรื่องร้าย ๆ ในอดีตของบุคคลที่มีชื่อเสียง เคล็ดลับการสร้างวันดี ๆ ให้กับตัวเอง ช่องทางการพูดคุยแลกเปลี่ยนออนไลน์ โดยจัดกิจกรรมเยียวยา และเสริมพลังทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์ที่สมาชิกสมัครเข้าร่วมได้ มีข้อมูลหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ สำหรับผู้ที่ต้องการ เข้าใช้งานได้ที่ www.rao.asia แพลตฟอร์มของเพื่อนที่เข้าใจ” ดร.วราภรณ์ กล่าว</p>
<p>ทิพย์เกสร สุตันคำ ตัวแทนผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม “เรา” กล่าวว่า แพลตฟอร์ม “เรา” เป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นช่องทางให้สร้างเพื่อน สร้างกำลังใจ มอบแรงบันดาลใจให้กัน ใช้งานได้ทุกช่วงเวลาทั้งตอนรู้สึกดาวน์ ต้องการกำลังใจ หรือช่วงเวลาที่รู้สึกดีๆและอยากแบ่งปัน Feature ที่ชอบมากที่สุดคือ พื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยน ด้วยความที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน จึงทำให้รู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยคนอื่นๆในพื้นที่ชุมชนของ “เรา” มีประสบการณ์ เคยเจอเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน ก็จะเข้าใจกันมากกว่าเวลาคุยกับคนรอบข้างที่มองว่าสิ่งที่เราเจอมาเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย จนทำให้เลือกเก็บทุกอย่างไว้คนเดียวมาตลอด พอมาเจอช่องทางที่ได้พูดและได้รับการตอบกลับมาเป็นข้อความที่ดี เป็นกำลังใจ ให้ข้อคิด ทำให้เราเจอทางออกอีกทาง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การคุกคามทางเพศ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แพลตฟอร์มช่วยเหลือผู้ถูกคุกคามทางเพศ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%AA" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สสส.[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สมาคมเพศวิถีศึกษา[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/sidekick" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">Sidekick[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106769