[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 22:55:14



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ขูดรีดทุกฝีเข็ม : ต้นทุนที่มองไม่เห็น ภายใต้เสื้อผ้าแบรนด์ดัง และชีวิต 'แรงงา
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 22:55:14
ขูดรีดทุกฝีเข็ม : ต้นทุนที่มองไม่เห็น ภายใต้เสื้อผ้าแบรนด์ดัง  และชีวิต 'แรงงานข้ามชาติ'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-11-13 21:32</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>วรรณา แต้มทอง : รายงาน / ภาพ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p> </p>
<p>“คิดว่ามาทำงานในประเทศของคนอื่น จะดีกว่าประเทศตัวเอง…โดนถูกกดขี่อย่างเดียวเลย” มะมะเขิ่น อดีตแรงงานในโรงงานเย็บผ้าแห่งหนึ่ง กล่าว</p>

<h2><span style="color:#2980b9;">มีสิทธิต่อสู้ แต่ “ไม่มีสิทธิ” ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ</span></h2>
<p>มะมะเขิ่นเป็นชื่อสมมติของแรงงานข้ามชาติหญิงที่ผ่านการลุกขึ้นมาต่อสู้กับนายจ้างเจ้าของโรงงาน เพื่อเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำให้ตัวเอง เธอเคยเป็นแรงงานในโรงงานเย็บผ้าแห่งหนึ่งบริเวณชายแดนของประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานเย็บผ้าและโรงงานอุสาหกรรมอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ภาครัฐเข้ามาส่งเสริมการลงทุนชายแดน ทำให้มีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านหลายคนข้ามฝั่งมาเป็นแรงงานราคาถูกให้นายจ้าง</p>
<p>โรงงานเย็บผ้าที่มะมะเขิ่นเคยทำงานเป็นโรงงานเย็บผ้าขนาดใหญ่ที่ผลิตเสื้อผ้าให้กับแบรนด์ค้าปลีกชื่อดังจากต่างประเทศ ถ้าเห็นโลโก้หรือพูดชื่อของแบรนด์ออกไปคนไทยแทบทุกคนน่าจะรู้จักดี มหากาพย์การต่อสู้ของมะมะเขิ่นและเพื่อนแรงงานข้ามชาติในโรงงานเดียวกันเริ่มต้นขึ้นในช่วงโควิด-19 ระบาด มะมะเขิ่นเล่าว่า ย้อนไปหลายปีเมื่อโควิด-19 มา หลายโรงงานมียอดออร์เดอร์ลดลง ตามมาด้วยรายได้ของแรงงานที่ลดตามเมื่อไม่มีงาน ในช่วงนั้นตัวมะมะเขิ่นเคยได้ค่าแรงจากการเย็บเสื้อผ้าทั้งเดือนรวมกันเพียง 2,000 บาท เนื่องจากค่าจ้างที่ได้รับตอบแทนจากการทำงานน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อออร์เดอร์ตัดเย็บน้อยลง รายได้ในแต่ละเดือนจึงแทบไม่เหลือ เพราะค่าจ้างของมะมะเขิ่นและแรงงานข้ามชาติคนอื่นๆ ในโรงงานแห่งนี้ถูกคำนวณจากชิ้นงานที่แต่ละคนทำ</p>
<p>“นายจ้างไม่ให้ค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด ชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานก็ย่ำแย่เกินกว่าปกติที่ควรจะเป็น จึงไปขอนายจ้างให้ปรับค่าแรงขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง เพราะอยู่ไม่ได้ นายจ้างก็ไม่ได้สนใจ ใครไม่ทำก็ออกไป แต่ถ้าออกจากงานที่นี่จะหางานที่ไหนได้ในช่วงโควิด-19 ไปเรียกร้องก็เหมือนเอาหัวไปชนกำแพง เสียเปล่า เพราะไม่ได้อะไร” มะมะเขิ่น กล่าว</p>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329874840_390572cfde_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329415581_e9a6b850a9_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">มะมะเขิ่น (ชื่อสมมติ) อดีตแรงงานข้ามชาติในโรงงานเย็บผ้า</span></p>
<p>นอกจากนี้มะมะเขิ่นเล่าถึงสภาพการทำงานโดยปกติของเธอขณะที่ทำงานเย็บภาพในโรงงานนี้ที่ค่อยข้างหนัก เธอมีเวลาเข้างาน 08.00 น. ส่วนเวลาเลิกงานไม่แน่นอน 22.00 น. หรือ 23.00 น. แต่ถ้าช่วงไหนมีออร์เดอร์เข้ามาเยอะคนงานก็ต้องทำงานข้ามไปถึงรุ่งเช้าของอีกวัน ก่อนหน้าโควิด-19 โรงงานยังคงมีออร็เดอร์จำนวนมากแรงงานแต่ละคนต้องเย็บเสื้อผ้าเป็นพันๆ ชิ้นต่อเดือน</p>
<p>“ลักษณะงานเป็นการเหมาเย็บเสื้อผ้า จะได้ค่าแรงเท่าที่ตัวเองทำ ถ้าถามว่าได้เท่าไหร่ วันที่ไม่ได้ค่าจ้างก็มี บางวันก็ได้ 50 บาท 100 บาท 150 บาท จนถึง 300 บาท จำไม่ได้ว่าในหนึ่งวันเย็บผ้าไปกี่ชิ้น แต่รู้แค่ว่าเวลาพักก็น้อยมาก ทำงานกลับมาแล้วรู้สึกเหนื่อยมาก จนกินข้าวไม่ลง ชีวิตการทำงานที่นี่ 1 ปี ช่วงปกติ (ก่อนโควิด-19) ได้เยอะสุด 9,000 บาท” มะมะเขิ่น กล่าว</p>
<p> </p>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329088751_bfdaa37655_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329088936_0ec883c315_b.jpg" /></p>
<p>แรงงานในโรงงานเย็บผ้าแห่งนี้จะมีวันหยุดเพียง 1 วันต่อเดือน ในหลังจากวันที่ได้รับเงินเดือน</p>
<p>“บางครั้งป่วยขอลาก็ไม่ได้ง่ายๆ ต้องป่วยใกล้ตายแล้ว นายจ้างถึงจะยอมปล่อยให้ไปโรงพยาบาล ตอนมาพักฟื้นตัวก็ได้ยาพารามาแค่เม็ดเดียว ชีวิตแรงงานเป็นเรื่องยาก ไม่เพียงแค่เราคนเดียว เพื่อนเราก็ประสบพบเจอปัญหานี้เช่นเดียวกัน” มะมะเขิ่น กล่าว</p>

<p>หลังจากที่มะมะเขิ่นและแรงงานข้ามชาติในโรงงานเดียวกันรวมนับร้อยคนลุกขึ้นเรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรมกับชีวิตพวกเขา สิ่งที่ได้กลับมากลับไม่ใช่ค่าจ้างที่พวกเขาต้องการ นายจ้างปิดประตูโรงงานไม่ให้แรงงานที่รวมตัวกันเรียกร้องเข้าไปทำงานในโรงงาน ก่อนจะมีการเรียกให้แรงงานที่มีปากเสียงทั้งหมดไปเซ็นเอกสาร</p>
<p>“แต่เอกสารไม่มีข้อความระบุอะไรไว้ เป็นเพียงกระดาษเปล่า จึงเกิดข้อกังวลกลัวว่าเขาจะไปใส่ข้อสัญญาต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรม เลยไม่มีใครยอมเซ็นเอกสาร ต่อมาก็มีเอกสารที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาพม่าเขียนว่า ลูกจ้างยินยอมจะปฏิบัติตามระเบียบของโรงงานทั้ง 15 ข้อ แต่ก็ไม่มีรายละเอียดของกฎระเบียบทั้ง 15 ข้อระบุมา ลูกจ้างก็เลยไม่เซ็นอีก สุดท้ายวันที่ 22 ช่วงเช้าเข้าไปทำงานได้ แต่ช่วงเย็นมีการติดประกาศว่าคนที่จะทำงานต่อต้องเซ็นเอกสาร หากไม่เซ็นพรุ่งนี้ไม่ต้องมาทำงาน พวกเราจึงไปติดต่อกังองค์กรที่เขาให้ความช่วยเหลือแรงงานในพื้นที่ ซึ่งเขาแนะนำให้ไปทำงานต่อ พอไปทำงานฝนก็ตก โรงงานก็ปิดไม่ให้เข้าทำงาน” มะมะเขิ่น กล่าว</p>

<p>มะมะเขิ่นและแรงงานข้ามชาติคนอื่นๆ ได้รับแจ้งจากโรงงานว่า ใครที่ต้องการทำงานต้องเซ็นใบสมัครงานใหม่ ซึ่งครั้งนี้แรงงานในขบวนการต่อสู้บางคนก็ยอมเซ็นเอกสาร เพื่อให้ได้กลับเข้าทำงานอีกครั้ง ส่วนคนที่ยืนยันไม่เซ็นเอกสารก็ต้องออกจากงานไป</p>
<p>“เราไม่ได้ขอนายจ้างเกินสิ่งที่ควรจะได้ เราควรได้รับตามค่าแรงตามปกติที่แรงงานควรได้ หากขอ 300 บาทไม่ได้จริงๆ เราก็ขอ 250 บาทก็ได้” มะมะเขิ่น กล่าว</p>
<p> </p>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329314863_94abfd1752_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329432449_4e2e681c85_b.jpg" /></p>
<p>ความพยายามในการเรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรมของมะมะเขิ่นจบลงที่เธอถูกไล่ออกจากงาน ที่สำคัญรายชื่อของแกนนำแรงงานในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ยังถูกนายจ้างนำไปขึ้นแบล็คลิสแจ้งต่อเจ้าของโรงงานคนอื่นไม่ให้รับแรงงานกลุ่มนี้เข้าทำงาน ทำให้มะมะเขิ่นยังตกงานอยู่จนทุกวันนี้</p>
<p>“เรื่องที่ผ่านมาพยายามลืม หากจะให้ตัดเย็บเสื้อผ้าหรือกางเกงก็สามารถเย็บขึ้นมาใหม่ได้ แต่ชีวิตเราเดินทางไปข้างหน้าไม่ได้แล้ว ไปสมัครงานเขาก็ไม่รับ เรายังมีครอบครัวที่ต้องดูแล เราเป็นแม่ มีลูกต้องเลี้ยง มีพ่อแม่ที่อายุมากต้องดูแล ในแต่ละวันเราจะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร เกิดความกดดันเข้ามาที่ตัวเรา เราต้องพยายามอย่างมาก” มะมะเขิ่น กล่าว</p>

<p>อย่างไรก็ตาม การต่อสู้ของมะมะเขิ่นยังไม่จบลง เธอและเพื่อนแรงงานข้ามชาติที่ถูกไล่ออกจากงานได้รวมตัวกันยื่นฟ้องบริษัทเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าต่อในต่างประเทศ โดยความช่วยเหลือขององค์กรด้านสิทธิในพื้นที่ ใน “ข้อหาปล่อยปละละเลยและได้รับประโยชน์โดยไม่เป็นธรรม” จากการที่โรงงานที่ทางแบรนด์จ้างผลิตสินค้ามีการบังคับใช้แรงงานและจ้างค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม</p>
<p>“เราเป็นแรงงาน เราไม่รู้อะไรเลย เรารู้แค่ว่าเราผลิตเสื้อผ้า ผลิตให้กับใคร ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์เสื้อผ้าในประเทศอังกฤษ เราจึงไปหาองค์กรที่ช่วยเหลือ เขาแนะนำวิธีการฟ้องร้องมา พวกเราจึงตัดสินใจร้องเรียนไปยังศาลอังกฤษ” มะมะเขิ่น กล่าว</p>
<p> </p>

<p>สุดท้าย เมื่อถามมะมะเขิ่นว่า ความเจ็บปวดของการเป็นแรงงานในโรงงานเย็บผ้าสำหรับตัวเธอคืออะไร มะมะเขิ่นกล่าว่า “ชีวิตแรงแรงงานที่เย็บผ้าเจ็บปวดอย่างมาก ในความเป็นจริงเสื้อผ้าที่ต่างชาติใส่เป็นเสื้อผ้าผืนเดียวกับผืนที่แลกมาด้วยน้ำเหงื่อและมีน้ำตาของแรงงานที่ต้องอดทน”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53328020487_ee237430ba_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">“ค่าตำรวจ” - “บัญชีไส้ไก่” ปัญหาคอร์รัปชันที่ซ่อนอยู่ในโรงงานเย็บผ้า</span></h2>
<p>จากการสัมภาษณ์มะมะเขิ่นทำให้ทราบว่ายังมีปัญหาคอร์รัปชั่นอีกปัญหาหนึ่งที่ซ่อนอยู่ในการขูดรีดและบังคับใช้แรงงานในโรงงานเย็บผ้า มะมะเขิ่นอธิบายถึงรายละเอียดในเอกสารการจ่ายเงินเดือนแรงงานที่ทำงานในโรงงานเย็บผ้า ซึ่งมีช่องหนึ่งที่แรงงานแต่ละคนจะถูกหักเงินจากยอดเงินเดือนที่ต้องได้รับ 3 เปอร์เซ็นต์ทุกเดือน โดยในเอกสารเขียนว่า “ประกันสังคม” แต่ในความเป็นจริงแรงงานข้ามชาติในโรงงานเย็บผ้าแห่งนี้ไม่ได้ถูกนายจ้างนำชื่อเข้าระบบประกันสังคม</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329314913_8d0e3fab75_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329088836_a64604d2b4_b.jpg" /></p>
<p>มะมะเขิ่นเล่าว่าแรงงานข้ามชาติทุกคนในโรงงานต่างทราบดีว่า ยอดเงินที่ถูกหักทุกเดือนนี้ในนาม “ประกันสังคม” เป็น “ค่าตำรวจ” ที่นายจ้างแจ้งว่าหักไว้เพื่อจ่ายให้แก่ตำรวจ โดยแรงงานเข้าใจคำว่า “ค่าตำรวจ” ตามที่ทางโรงงานแจ้งว่า  </p>
<p>“คนงานเคยรวมตัวกันไปถาม โดยทางผู้จัดการบอกว่าเป็นค่าตำรวจ เราเป็นคนอยู่ในชายแดน เอกสารมีแค่ Border Pass (ใบผ่านแดน) ก็ต้องจ่ายค่าตำรวจด้วย แต่เวลาที่ต้องไปต่อใบอนุญาตทำงานหรือตีวีซ่าขาเข้า ขาออก เราเป็นคนที่เสียเงินเอง ทางโรงงานก็เก็บเงินไปแต่ก็ไม่ได้เป็นคนออกให้” มะมะเขิ่น กล่าว</p>

<p>ทางผู้สื่อข่าวได้ติดต่อสอบถามไปยังสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ (ไม่ประสงค์ออกนาม) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกรณี “ค่าตำรวจ” ว่า</p>
<p>“ค่าตำรวจเป็นคำพูดที่แปลมาจากแรงงานต่างด้าว ซึ่งเขาไม่เข้าใจคำว่า “ค่าคุ้มครอง” ก็คือ “ค่าตำรวจ” นั้นเอง ทุกคนที่เป็นแรงงานต่างด้าวรู้จักแต่ตำรวจ ทหารแต่งตัวยังไง เขาก็เรียกว่าตำรวจ ปกครองแต่งตัวยังไง เขาก็เรียกตำรวจ เพราะเขารู้จักแต่ตำรวจ แต่เขาไม่รู้จักทหารและปกครอง คำว่า “ค่าตำรวจ” ก็คือ ค่าคุ้มครอง ค่าดูแล ตามที่ผู้ต้องหาไปกล่าวอ้าง” เจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าว</p>

<p>ในคดีนี้เจ้าของโรงงานมีความผิดแบ่งทั้งหมดเป็น 3 คดี คดีที่ 1 กับตัวโรงงานในฐานะนิติบุคคลในความผิดฐานเป็นนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน คดีที่ 2 เป็นการดำเนินคดีกับตัวผู้จัดการโรงงานและพวกในความผิดฐานเอาไปเสียเอกสารของผู้อื่น ร่วมกันใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่น และร่วมกันลักทรัพย์ สุดท้ายคดีที่ 3 ดำเนินคดีกับโรงงานในความผิดฐานเอาไปเสียเอกสารใบอนุญาตทำงานและเอกสารประจำตัวของลูกจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ทั้ง 3 คดีพนักงานตรวจแรงงานพิจารณาเห็นควรสั่งฟ้องไปยังพนักงานอัยการแล้ว และขณะนี้อัยการได้สั่งฟ้องทั้ง 3 คดีเป็นที่เรียบร้อย</p>
<p>เจ้าหน้าที่อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง “ค่าตำรวจ” ว่า ผู้จัดการสาขาของโรงงานเย็บผ้าได้ทำการคอร์รัปชั่น และเปลี่ยนแปลงเอกสาร</p>
<p>“เขาเรียกว่า “บัญชีไส้ไก่” ทั้ง 3 คนให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนว่าสมมติลูกจ้างทำงานได้วันละ 100 บาท ก็จะต้องถูกหัก โดยหักค่าคุ้มครองให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องเอาไปจ่ายทหาร ปกครอง และตำรวจ ก็เป็นการแบบอ้างไปให้ลูกจ้างฟัง เพื่อให้ลูกจ้างกลัวห้ามออกนอกพื้นที่ ทำงานต้องอยู่ในโรงงาน โอทีก็ทำไป ก็เป็นการแอบอ้าง เมื่อเอาลูกจ้างมาสอบปากคำเคยเห็นหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจไปเรียกรับเงินไหม ลูกจ้างไม่มีใครยืนยัน และไม่มีใครเห็นตามคำกล่าวอ้างของผู้จัดการ…ต่อมาเราเลยมาสืบสวนสอบสวนเชิงลึก โดยเจ้าหน้าที่รัฐ 3 ฝ่าย คือ ทหาร ตำรวจ และปกครอง แล้วพบว่าไม่มีเจ้าหน้าที่รายใดเขาไปเกี่ยวข้องเรียกรับในการหาผลประโยชน์หรือเรียกค่าคุ้มครองตามที่ทางแรงงานพูดถึง โดยแรงงานเอาคำพูดมาจากผู้จัดการ เพื่อที่จะเอาเหตุนี้มาหักค่าแรงบัญชีไส้ไก่ โดย 100 บาท หนึ่งต้องมีการจ่ายค่าคุ้มครอง 3% หรือ 5% แล้วแต่ สองหักค่าที่พัก หักค่าทำงานไม่ตรงเป้า อันนี้ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแล้ว ว่าเป็นการแอบอ้างเจ้าหน้าที่ของรัฐจริง” เจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าว</p>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329550265_68d5bc2b00_b.jpg" /></p>
<p>เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ระบุว่า ผู้จัดการสาขาของโรงงานเย็บผ้ามีการหักเงินจากแรงงานโดยแอบอ้างว่าเป็น “ค่าตำรวจ” และทำ “บัญชีไส้ไก่” ขึ้นมาสอดแทรกเพื่อแจ้งแก่แรงงาน โดยผู้จัดการสาขาและพวกจะทำการยึดบัตร ATM ของแรงงานแต่ละคนไว้ และกดเงินที่จะหักจากแรงงานออกมาก่อนเมื่อถึงวันเงินเดือนออก</p>
<p>“โดยมีการแจ้งในบัญชีไส้ไก่ให้กับทางลูกจ้างได้ดูก่อน สมมุติทำงาน 100 บาท หักค่าตำรวจ หักค่าทำงานไม่ตรงเวลา ลาป่วย ก็จะถูกหักไป เหลือ 70 บาท ผมก็จะเอา 70 บาทมาให้คุณ แล้วผู้ต้องหาก็จะเอาส่วนเงินที่ได้จากการกดเองไป เป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย แล้วก็เอาบัตร ATM ไปด้วย จึงมีความผิดใช้บัตรอิเล็คทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ แล้วก็เอาไปเสียเอกสารของผู้อื่นโดยมิชอบ” เจ้าหน้าที่ตำรวจ กล่าว</p>

<p>ทั้งนี้ หลังจากที่ข่าวการบังคับใช้แรงงานในโรงงานเย็บผ้าได้ถูกสื่อต่างชาติเผยแพร่ออกไป พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล หรือ “บิ๊กโจ๊ก” ได้ลงมาตรวจสอบเรื่องนี้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ทางกองบัญชาการตำรวจภูธรมีการตั้งคณะทำงานสืบสวนสอบสวนขึ้น “โดยนำตำรวจฝีมือดีที่สุดของภาค ซึ่งเป็นระดับผู้กำกับการลงมาทำการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ตามหลักกลไกการส่งต่อตามหลัก NRM : National Referral Mechanism การคัดแยกในเบื้องต้นไม่พบว่าเป็นผู้เสียหานจากการค้ามนุษย์ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมไปถึงแรงงานบังคับตามมาตรา 6/1 หลังจากนั้นเราก็ทำเรื่องยุติไปในเบื้องต้น แต่ต่อมาทางกลุ่ม NGO ไม่เห็นด้วย จึงมาร้องขอความเป็นธรรมต่อท่านรองสุรเชษฐ์ใหม่ ก็เลยมีการคัดแยกใหม่ในรอบที่ 2”</p>
<p>ในการคัดแยกผู้เสียหายรอบที่ 2 มีการให้ NGO เข้าร่วมในการสัมภาษณ์แรงงานด้วย แม้จะได้ข้อมูลที่มากขึ้น แต่ก็ยังไม่พบผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เช่นเดิม</p>
<p> </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จะทำอย่างไรให้ “นักลงทุนข้ามชาติ” ไม่หลุดจากวงโคจร “ความรับผิด”</span></h2>
<p>“เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว มีคำพูดที่ว่า นักลงทุนเวลามาก็หิ้วกระเป๋ามาใบเดียว นั่นหมายถึงกระเป๋าเงิน เมื่อเข้ามาอยู่ในพื้นที่แล้ว อาจจะมีการต่อสู้โดยคนงานเรียกร้องสิทธิ มันไม่ไหวแล้ว นักลงทุนก็แค่หิ้วกระเป๋าซึ่งเต็มไปด้วยเงินเหมือนกัน กลับประเทศตัวเอง ปัจจุบันสถานการณ์แบบนี้ยังมีอยู่” สุชาติ ตระกูลหูทิพย์ กล่าว</p>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329129026_f8e42c5fe7_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สุชาติ ตระกูลหูทิพย์ จากมูลนิธิ MAP Foundation</span></p>
<p>เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าจากต่างชาติเป็นอีกหนึ่งคนที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ในการรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามาติที่เกิดขึ้นในโรงงานเย็บเสื้อผ้า สุชาติ ตระกูลหูทิพย์ จากมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP Foundation) ที่ทำงานให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติมาอย่างยาวนานอธิบายว่า</p>
<p>“ภาพรวมของแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในอุตสาหกรรมเย็บเสื้อผ้า ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ไม่ได้รับสิทธิเหมือนที่กฎหมายไทยกำหนด โดยเฉพาะตามพื้นที่ที่อยู่ตามชายแดนประเทศไทยเองยิ่งหนักสาหัส ค่าจ้างขั้นต่ำแทบไม่ต้องพูดถึงเลยว่าแรงงานข้ามชาติจะได้รับ ในขณะที่ใช้สิทธิอื่นๆ ก็เช่นกัน ไม่สามารถใช้สิทธิในวันหยุด เช่น ลากิจโดยได้รับค้าจ้าง อันนี้เป็นปัญหาที่เราเจออยู่ตลอดเวลา แรงงานข้ามชาติมีปัญหาการถูกละเมิดสิทธิ์อยู่ตลอด” สุชาติ กล่าว</p>

<p>แรงงานข้ามชาติในโรงงานงานเย็บผ้าจมอยู่กับสภาพการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมทั้งที่ทำงานให้กับแบรนด์เสื้อผ้าที่มีราคา สุชาติมองว่าปัจจัยที่ทำให้แรงงานถูกขูดรีดส่วนหนึ่งมาจากการที่แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ข้ามมาจากฝั่งพม่า ซึ่งมีสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับประเทศไทย และปัจจุบันยังมีปัญหาความไม่สงบภายในประเทศเพิ่มขึ้นมา</p>
<p>“สิ่งที่ทำให้คนงานจมอยู่กับการถูดกดขี่ ปัจจัยที่สำคัญเวลาที่เขาคิด เวลาที่เขาอดทน ไม่ใช่เป็นเรื่องของตัวเขาคนเดียว เวลาที่เขาทนคือเพื่อครอบครัวของเขา ถ้าเกิดเขาลุกขึ้นมาต่อสู้หรือเขาไม่ทน สิ่งที่เขาจะเจอคือถูกเลิกจ้าง หางานใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย ครอบครัวที่อยู่ประเทศต้นทางก็รอรายได้จากเขาเหมือนกัน สิ่งที่ทำให้คนงานคิดเยอะในกระบวนการเรียกร้องสิทธิของเขา คือเรื่องครอบครัว สภาพเศรษฐกิจครอบครัว ซึ่งคนอยู่เบื้องหลัง ไม่แค่คนสองคน บางครอบครัวมี 7-8 คน ที่รอความหวังจากเขา อันนี้เป็นส่วนที่ทำให้เขาต้องจมอยู่กับการถูกละเมิดสิทธิ นายจ้างเองก็อาศัยจังหวะตรงนี้ในการกด เขารู้อยู่แล้วว่าคนงานไม่มีทางไปไหน” สุชาติ กล่าว</p>

<p>ไม่เพียงเจ้าของโรงงานที่ได้ประโยชน์จากการขูดรีดแรงงาน เจ้าของแบรนด์ที่สั่งผลิตสินค้าจากทางโรงงานที่มีการขูดรีดแรงงานเองก็ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการสั่งสินค้านั้น ดังนั้น เพื่อไม่ให้เจ้าของแบรนด์ซึ่งเป็นนักลงทุนจากต่างประเทศหลุดออกจากวงโคจรของความรับผิด สุชาติมีข้อเสนอว่า เจ้าของแบรนด์ต้องเข้ามาร่วมรับรู้สถานการณ์ปัญหาจากการผลิตสินค้าที่มีการละเมิดสิทธิอย่างตรงไปตรงมา “ไม่ใช่เมื่อรู้ว่าโรงงานละเมิดสิทธิ ก็ตัดออร์เดอร์ไปสั่งสินค้าที่อื่น”</p>
<p>“เป็นไปได้ไหมที่รัฐบาลจะตั้งกองทุนขึ้นมา เป็นกองทุนที่เรียกเก็บจากนักลงทุนต่างชาติเลย ใครจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยก็เรียกเก็บเงินไว้ก่อน เงินจะเข้ากองทุนนี้ แล้วถ้าเกิดนักลงทุนคนนี้มีการละเมิดสิทธิและหลบหนีไป รัฐก็จะใช้เงินจากกองทุนนี้ไปจ่ายให้กับคนงานเป็นการชดเชยตามสิทธิที่เขาควรจะได้รับ เราเคยเสนอไว้นานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนออกมาว่าจะเอาอย่างไรกับนักลงทุนเหล่านี้”</p>

<p>สุชาติระบุว่า ในต่างประเทศทางองค์กรรณรงค์สิทธิแรงงานระหว่างประเทศ Clean Clothes Campaign มีการทำแคมเปญ “Pay Your Workers” ที่ตัวแบรนด์ต้องจ่ายเงินเข้ามา ถ้าแบรนด์นี้มีการละเมิดสิทธิก็จะเอาเงินจากกองทุนนี้ที่แบรนด์เข้ามา ไปจ่ายให้แก่คนงาน สุชาติมองว่าเป็นแนวทางที่สามารถทำควบคู่ไปได้กับกองทุนเรียกเก็บเงินจากนักลงทุนที่เสนอให้มีการจัดตั้งในประเทศไทย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53329387346_5bc097d893_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพจาก เฟซบุ๊ก Clean Clothes Campaign</span></p>
<p>การคุ้มครองสิทธิแรงงานยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ภาครัฐและธุรกิจจะต้องคำนึงถึง เพื่อทำให้แนวคิดธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (Business and Human Rights) ขยับไปสู่การปฏิบัติจริง เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้ามาในลงทุนในประเทศไทยใช้วิธีการเช่า</p>
<p>“นักลงทุนส่วนใหญ่เช่า มีน้อยมากที่จะซื้อเป็นของตัว หรือถ้าซื้อเป็นของตัวเองก็จะจ้างคนอื่นมาบริหาร ซึ่งทรัพย์สินจะไม่เป็นของนายจ้างโดยตรงที่จะสามารถที่ไปยืดได้ หากมีการฟ้องร้องกัน ที่เราเจอก็คือเตรียมความพร้อมมาหมดแล้ว ก่อนที่จะหนีไป มีการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ไปที่อื่น คนงานก็ไม่ตามยืดทรัพย์หรือเรียกร้องอะไรได้จากนักลงทุน ผมมองว่าตัวรัฐบาลไทยต้องเข้มงวดกับตัวนโยบายที่จะจัดการกับนักลงทุนต่างชาติ” สุชาติ กล่าว</p>
<p> </p>

<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงาน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/depth" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">depth[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าวเชิงลึก[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงานข้ามชาติ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">โรงงานเย็บผ้า[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงานเย็บผ้า[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ละเมิดสิทธิแรงงาน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การบังคับใช้แรงงาน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บัญชีไส้ไก่[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ค่าตำรวจ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สุชาติ ตระกูลหูทิพย์[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106794