[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 19 พฤศจิกายน 2566 20:20:07



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - “เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน” เปิดตัว “ร่างนิรโทษกรรมประชาชน” ให้ทุกฝ่าย รวม ม.1
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 19 พฤศจิกายน 2566 20:20:07
“เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน” เปิดตัว “ร่างนิรโทษกรรมประชาชน” ให้ทุกฝ่าย รวม ม.112 เพื่อลดขัดแย้ง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-11-19 20:08</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพจาก เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>“เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน” เปิดตัว “ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พ.ศ....” หวังนิรโทษฯ คดีการเมืองของทุกฝั่งฝ่าย นับตั้งแต่ปี 49 เป็นต้นมาจนกว่ากฎหมายจะถูกประกาศใช้ รวมนิรโทษกรรมคดีม.112 ไม่นิรโทษฯ เจ้าหน้าที่เพราะที่ผ่านมาก็ได้ไปจากรัฐธรรมนูญ 50 และ 60 อยู่แล้ว และการนิรโทษฯ นี้เป็นแค่ขั้นแรกของการลดความขัดแย้งทางการเมือง แต่กฎหมายไม่ถูกแก้ก็ยังอาจถูกดำเนินคดีได้อีก</p>
<p>19 พ.ย.2566 ที่ตึก All Rise (สำนักงาน iLaw) เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชนที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันขอองค์กรภาคประชาสังคม 13 องค์กร จัดเสวนาและแถลงข่าวเปิดตัว “ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พ.ศ....” หรือ “ร่างนิรโทษกรรมประชาชน” โดยมีเป้าหมายเพื่อลบล้างความผิดของประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมและแสดงออกทางการเมือง หวังลดความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังคงมีอยู่ระหว่างฝ่ายต่างๆ</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53341834435_5ceabe70ce_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">(ซ้ายไปขวา) อานนท์ ชวาลาวัณย์,ภัทรานิษฐ์ เยาดำ และ พูนสุข พูนสุขเจริญ</span></p>
<p>อานนท์ ชวาลาวัณย์ จาก ilaw กล่าวว่าการเสนอครั้งนี้เนื่องจากองค์กรในเครือข่ายเป็นห่วงต่อสถานการณ์ที่การแสดงออกของประชาชนที่เป็นสิทธิตามปกติกลับโดนดำเนินคดีอาญาจากการแสดงออกทางการเมืองทั้งที่เสิทธิโดยชอบของเขา โดยนับตั้งแต่ 2548 เป็นต้นมาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตยกลับถูกทหารใช้เป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารถึงสองครั้งคือ 2549 และ 2557</p>
<p>ตัวแทนจาก iLaw กล่าวต่อว่าในการยึดอำนาจทั้งสองครั้งทหารก็อ้างเรื่องความแตกสามัคคีของคนในชาติมาเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหารแต่เมื่อได้อำนาจมาแล้วคณะรัฐประหารกลับออกประกาศคำสั่งต่างๆ หรือใช้กฎหมายที่มีอยู่ในการดำเนินคดีกับประชาชนเพื่อควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนและทำให้การใช้สิทธิตามปกติของประชาชนกลายเป็นความผิดทางอาญา</p>
<p>นอกจากนั้นยังมีการใช้กำลังสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่รัฐจนมีประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตอยู่เป็นระยะ เช่นเหตุการณ์สลายชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2552-2553 กรณีที่แยกดินแดงในช่วงปี 2564 และการสลายการชุมนุมม็อบเอเปค 2565 แต่หลังเหตุการณ์เหล่านี้ยังมีผู้ชุมนุมที่ถูกดำเนินคดีเพราะร่วมชุมนุมแต่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังที่บางครั้งเป็นการทำเกินกว่าเหตุก็ไม่ได้มีการสอบสวนหรือเอาเจ้าหน้าที่มาลงโทษ มีผู้ต้องขังคดีการเมืองบางคนที่อยู่ในเรือนจำมาตั้งแต่ยังเป็นรัฐบาลทหาร คสช.</p>
<p>อานนท์กล่าวอีกว่าแม้จะมีรัฐบาลใหม่แล้วและประกาศว่าจะนำประเทศออกจากความขัดแย้งโดยการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งทางเครือข่ายเห็นว่าต่อให้มีรัฐธรรมนูญใหม่แล้วแต่ถ้าคนที่ถูกดำเนินคดีคดีของเขายังเดินหน้าต่อก็จะไม่ได้แก้ไขความขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้น จึงจำเป็นต้องเสนอทางออกจากความขัดแย้งทางการเมืองด้วยการเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมให้คดีของคนเหล่านี้จากทุกฝั่งฝ่ายยุติไป โดยนับตั้งแต่ 2549 เป็นต้นมา</p>
<p>ตัวแทนจากไอลอว์กล่าวว่าเรื่องนิรโทษกรรมไม่ใช่เรื่องใหม่ของสังคมไทยที่ผ่านมามีมาแล้ว 23 ครั้ง แต่ทุกครั้งไม่ได้เกิดจากการริเริ่มโดยประชาชนแต่เกิดจากผู้มีอำนาจ แต่ครั้งนี้เป็นการริเริ่มมาจากประชาชนและหวังว่าจะสามารถทำสำเร็จได้</p>
<p>ภัทรานิษฐ์ เยาดำ จากเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน ชี้แจงว่าการนิรโทษกรรมในทางกฎหมายคือการออกกฎหมายจากฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้ลืมความผิดที่ผ่านมาและให้ความกรุณาแก่คนที่กระทำความผิด การนิรโทษกรรมก็จะมีผลทางกฎหมายคือทำให้คนที่ถูกดำเนินคดีได้รับการยกเว้นความผิดยกเว้นโทษได้รับการปล่อยตัวหรือลบล้างประวัติอาชญากรรม</p>
<p>ภัทรานิษฐ์กล่าวต่อไปว่า ในทางกฎหมายมหาชนคือการลืมในทางกฎหมายเป็นการลบความผิด แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการแก้หรือลบตัวบทกฎหมายที่มีอยู่เพราะฉะนั้นการจะนิรโทษกรรมจึงต้องใช้อย่างเคร่งครัด ในทางกฎหมายจึงต้องมีการกำหนดช่วงเวลา วัตถุประสงค์ของการนิรโทษกรรม ประเภทข้อหาหรือความผิด และรูปแบบของการนิรโทษกรรมที่จะออกมาเป็นกฎหมายระดับพระราชกำหนดหรือพระราชบัญญัติ และการนิรโทษกรรมที่เกิดขึ้นทั่วโลกก็ไม่ได้มีแค่เรื่องความผิดทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ไม่ร้ายแรง คดีที่เกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่น คดีทางเศรษฐกิจ เป็นต้น</p>
<p>ภัทรานิษฐ์ยังกล่าวอีกว่าในทางกฎหมายระหว่างประเทศหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน การนิรโทษกรรมรายบุคคลสามารถทำได้ การนิรโทษกรรมเราไมได้พูดถึงเรื่องนอกกฎหมายแต่อย่างใด แต่ได้รับรองสิทธิในการกระทำนี้ไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในสิทธิของบุคคลที่จะได้รับการเยียวยา สิทธิในการได้รับการเยียวยา คือการได้รับการเยียวยาจากรัฐ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิที่จะได้รู้ความจริงด้วยว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้อยู่ในกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่การนิรโทษกรรมก็ไม่ได้ยกเว้นได้ทุกความผิด ในทางหลักการแล้วความผิด เช่น การฆ่าล้างเผาพันธุ์ การซ้อมทรมาน การบังคับสูญหายหรือการสังหารคนนอกระบบกฎหมาย ก็ไม่สามารถนิรโทษกรรมได้</p>
<p>ภัทรานิษฐ์กล่าวว่าสถิติคดีทางการเมืองจำนวนมากไม่ได้มีแค่ผลกระทบที่เกิดกับคนที่ถูกดำเนินคดีอย่างเดียว แต่ทำให้เห็นว่าสถาบันทางการเมืองต่างๆ ไม่ได้อยู่ภายใต้หลักนิติรัฐนิติธรรมอีกต่อไปโดยเฉพาะจะเห็นชัดในช่วงหลังการรัฐประหาร ดังนั้นการนิรโทษกรรมจึงเป็นการคืนสถานะเดิมให้แก่บุคคลและยังเปิดโอกาสให้สถาบันทางการเมืองต่างๆ และสถาบันในกระบวนการยุติธรรมได้ฟื้นฟูกลับมาเป็นโครงสร้างที่ค้ำจุนความยุติธรรมในสังคมได้อย่างแท้จริงด้วย</p>
<p>ภัทรานิษฐ์กล่าวอีกว่าการนิรโทษกรรมยังเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่จะนำสังคมออกจากความขัดแย้ง การนิรโทษกรรมยังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านด้วย หากทำได้ก็จะเป็นการก้าวข้ามความขัดแย้งหรือทำให้กลับคืนสู่สภาวะปกติได้ โดยกรอบของกระบวนการยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านก็ยังมีเรื่องที่รัฐสามารถทำได้อีกเช่นการแสวงหาความจริงของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในช่วงที่ผ่านมาก็ต้องทำ การดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิดที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน  การเยียวยาความเสียหาย และการรับประกันว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เคยเกิดขึ้นจะไม่เกิดขึ้นอีกการจะทำแบบนี้ก็เช่นการปฏิรูปโครงสร้างสถาบันทางการเมืองต่างๆ รวมถึงการแก้ไขกฎหมายด้วย</p>
<p>พูนสุข พูนสุขเจริญ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนอธิบายร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมว่าร่างกฎหมายนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะนิรโทษกรรมให้แก่ประชาชนเท่านั้น แล้วก็ยกเว้นการนิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่ไว้เพราะว่าเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่สมควรแก่เหตุก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอยู่แล้วนอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญปี 2550 และ 2560 อยู่แล้ว แต่เป็นประชาชนที่ไม่เคยได้รับการคุ้มครองและดูแลมาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา</p>
<p>ตัวแทนจากศูนย์ทนายความฯ กล่าวว่ากรอบระยะเวลาของการนิรโทษกรรมนี้จะนับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมาจนถึงวันที่กฎหมายฉบับนี้ถูกประกาศใช้ และไม่ได้คุ้มครองไปถึงเหตุในอนาคตซึ่งถ้าหากยังมีการกระทำความผิดตามกฎหมายหลังจากกฎหมายถูกใช้แล้วก็ยังถูกดำเนินคดีได้อีก</p>
<p>ส่วนความผิดที่จะได้รับการนิรโทษกรรมโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการใดๆ เนื่องจากทางเครือข่ายเห็นว่าเป็นคดีตามความผิดเหล่านี้ชัดเจนว่าเป็นคดีทางการเมืองและไม่ควรเป็นความผิดตั้งแต่แรกโดยจะมีทั้งหมด 6 ประเภทคือ</p>
<ol>
<li>คดีความผิดตามประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ</li>
<li>คดีพลเรือนที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหารตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 37/57 และประกาศคณะรักษาความสงบฉบับที่ 38/57</li>
<li>คดีตามฐานความผิดในมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา</li>
<li>คดีตามฐานความผิดในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548</li>
<li>คดีตามฐานความผิดในพระราชบัญญัติออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559</li>
<li>คดีตามฐานความผิดที่เกี่ยวโยงกับ 1-5</li>
</ol>
<p>พูนสุขระบุว่าอย่างไรก็ตามการกำหนดไว้แบบนี้ก็ไม่ใช่เช็คเปล่าที่จะให้ยกความผิดเหล่านี้ไปเลยเพราะสุดท้ายแล้วก็ต้องผ่านกระบวนการของรัฐสภาพิจารณาว่า 5 ฐานความผิดนี้เป็นคดีการเมืองหรือไม่</p>
<p>ตัวแทนจากศูนย์ทนายความฯ กล่าวถึงความผิดฐานอื่นๆ ว่าร่างกฎหมายนี้จะให้  “คณะกรรมการนิรโทษกรรมประชาชน” เป็นผู้พิจารณาถึงมูลเหตุจูงใจว่าเป็นการแสดงออกทางการเมืองหรือมีแรงจูงใจทางการเมืองหรือไม่ เนื่องจากกรอบระยะเวลาที่จะให้มีการนิรโทษกรรมตามกฎหมายนี้มีระยะเวลายาวนานกว่าสิบปีจึงต้องมีกรรมการขึ้นมาพิจารณา เพราะไม่สามารถกำหนดให้ความผิดทางอาญาบางอย่างเป็นคดีการเมืองได้เลยทันทีแต่ต้องดูแรงจูงใจทางการเมืองด้วย</p>
<p>พูนสุขอธิบายว่าผลของการนิรโทษกรรมนี้คือการทำให้คดีตามประเภทที่กำหนดไว้และคดีที่ผ่านการวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ แล้วก็จะต้องถูกยกเลิกไปทั้งในชั้นสอบสวนของตำรวจ ชั้นอัยการ หรือชั้นศาลต้องถูกจำหน่ายออกจากสารบบไป เช่น ถ้ายังไม่ฟ้องก็ต้องไม่ฟ้อง ถ้ายังอยู่ในชั้นตำรวจก็ต้องมีการเพิกถอนหมายจับไม่แจ้งข้อกล่าวหา ถ้าอยู่ในชั้นศาลก็ถอนคำฟ้องออกเสมือนไม่มีคดีนั้นเกิดขึ้น รวมถึงให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรยกเลิกประวัติอาชญากรรมด้วย</p>
<p>พูนสุขอธิบายถึงสัดส่วนกรรมการของคณะกรรมการนิรโทษกรรมประชาชนดังนี้</p>
<ol>
<li>ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธาน</li>
<li>ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร</li>
<li>ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล</li>
<li>สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองจำนวน 10 คนตามสัดส่วนของพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร</li>
<li>ตัวแทนประชาชนผู้ถูกดำเนินคดีจากการรัฐประหาร 2549 1 คน</li>
<li>ตัวแทนประชาชนผู้ถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมช่วงปี 2552-2553 1 คน</li>
<li>ตัวแทนประชาชนผู้ถูกดำเนินคดีจากช่วงการรัฐประหาร 2557-2563 1 คน</li>
<li>ตัวแทนประชาชนผู้ถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมช่วงปี 2563-2566 1 คน</li>
<li>ตัวแทนจากองค์กรภาคประชาชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการค้นหาความจริงและอำนวยความยุติธรรม 2 คน</li>
</ol>
<p>สำหรับเรื่องขั้นตอนหลังจากการแถลงครั้งนี้ พูนสุขระบุว่าจะยังมีการรับฟังความเห็นจากประชาชนเพิ่มโดยสามารถแสดงความเห็นได้ที่ แบบสอบถามความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชน พ.ศ. (https://docs.google.com/forms/d/1XP7GeCWDYh-7ickg_Px6FMsbDjgsm5rId54z3XHulHk/viewform?edit_requested=true) และหลังจากนั้นก็จะมีการเปิดให้ประชาชนเข้าชื่อเพื่อนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในปี 2567 ซึ่งขอให้ติดตามกันต่อไปว่าจะยื่นในช่วงไหนของปี</p>
<p>พูนสุขตอบคำถามนักข่าวว่าสำหรับร่างกฎหมายนิรโทษกรรมนี้เมื่อเทียบกับร่างกฎหมายของพรรคก้าวไกลแล้วไม่ได้ขัดแย้งกัน เพียงแต่ของภาคประชาชนนี้มีการกำหนดฐานความผิดที่จะได้รับการนิรโทษกรรมไว้ว่าความผิดประเภทใดจะได้รับการนิรโทษกรรมไปเลย แต่ของพรรคก้าวไกลก็จะให้คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาเป็นผู้พิจารณาทั้งหมดว่าคดีตามความผิดอะไรบ้างที่จะได้รับการนิรโทษกรรม</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">นิรโทษกรรม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ร่างนิรโทษกรรมประชาชน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82-%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พูนสุข พูนสุขเจริญ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C-%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%A2%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อานนท์ ชวาลาวัณย์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ภัทรานิษฐ์ เยาดำ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106883