[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 06 ธันวาคม 2566 03:14:42



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เผย 3 แนวทางการได้มาซึ่ง ส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกตั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 06 ธันวาคม 2566 03:14:42
เผย 3 แนวทางการได้มาซึ่ง ส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกตั้ง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-12-05 14:21</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>อนุ กมธ.ศึกษาฯ ระบบเลือกตั้ง ส.ส.ร.สภาผู้แทนราษฎร เผย 3 แนวทางการได้มาซึ่ง ส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกตั้ง อาจเป็น 'ตัวแทนพื้นที่-สัดส่วนผู้เชี่ยวชาญ-ตัวแทนกลุ่มความหลากหลายทางสังคม' หวังให้ทุกฝ่ายคลายข้อกังวล และเห็นพ้อง ส.ส.ร. ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด - ประธานอนุ กมธ.รับฟังความเห็นประชาชนทำประชามติฯ เผยเตรียมแจกแบบสอบถามรับความเห็น สส. - สว. หลังเปิดสมัยประชุมสภา คาดนำเสนอผลต่อที่ประชุมคณะใหญ่สัปดาห์สุดท้ายของปี 66</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50401044531_6b887d390c_k_d.jpg" /></p>
<p>เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2566 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับนักวิชาการเพื่อรับฟังข้อเสนอทางเลือกระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ว่า การรับฟังความเห็นข้อเสนอทางเลือกระบบการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ของอนุ กมธ.เพื่อต้องการคลายข้อกังวลของกลุ่มบุคคลที่ยังไม่เห็นด้วยกับการ ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เพื่อให้การได้มาซึ่ง ส.ส.ร.มีความชอบธรรมมากขึ้น โดยที่ประชุมวันนี้ (4 ธ.ค.66) ได้เชิญนักวิชาการที่เคยยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงคณะกรรมการศึกษาจากรัฐบาล เพื่อให้ได้ความเห็นรอบด้านมากขึ้น อาทิ ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ รองศาสตราจารย์กนกรัตน์ เลิศชูสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา</p>
<p>ภายหลังการพิจารณาเบื้องต้นที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนวทางการสรรหา ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภท X คือ ส.ส.ร.ที่เป็นตัวแทนพื้นที่ / ประเภท Y คือ ส.ส.ร.ที่เป็นสัดส่วนนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีประสบการณ์ ซึ่งอาจมาจากการเลือกตั้งโดยตรง หรือ ให้ ส.ส.ร.ประเภท X ที่ได้รับคัดเลือก เป็นผู้สรรหาผู้เชี่ยวชาญ และ ประเภท Z คือ ส.ส.ร.ที่เป็นตัวแทนกลุ่มความหลากหลายทางสังคม อาทิ กลุ่มหลากหลายทางเพศ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มคนพิการ ซึ่งขณะนี้ อนุ กมธ.อยู่ระหว่างการรวบรวมความเห็นและการประเมินข้อดีข้อเสีย บนเงื่อนไขว่า แนวทางได้มาซึ่ง ส.ส.ร.ทุกประเภทดังกล่าว ล้วนมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งหากรวบรวมข้อมูลข้อเสนอแนะครบถ้วนแล้วจะนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และยื่นให้คณะกรรมการศึกษาของรัฐบาลนำไปพิจารณาต่อ ด้วยความหวังว่า เมื่อเห็นทางเลือกที่เป็นไปได้เหล่านี้ จะทำให้ทุกฝ่ายคลายข้อกังวล และเห็นตรงกันได้ว่า ส.ส.ร. ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด</p>
<h2><span style="color:#3498db;">เตรียมแจกแบบสอบถามรับความเห็น สส. - สว. หลังเปิดสมัยประชุมสภา คาดนำเสนอผลต่อที่ประชุมคณะใหญ่สัปดาห์สุดท้ายของปี 66</span></h2>
<p>ด้านนายนิกร จำนง ประธานคณะอนุกรรมการ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เปิดเผยก่อนเข้าประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการ (อนุกมธ.) พิจารณาศึกษาการจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีนายพริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นประธานอนุกมธ. ว่าที่ประชุมจะรับฟังข้อเสนอเกี่ยวกับประเด็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ยังมีความเห็นต่างกันเรื่องของสัดส่วนการได้มาซึ่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ว่านอกจากส่วนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนแล้ว ส่วนที่เหลือจะมาจากนักวิชาการ เช่นเดียวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 หรือไม่อย่างไร นอกจากนี้กล่าวถึงความคืบหน้าการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยว่า วันที่ 7 ธ.ค. นี้ นายเจือ ราชสีห์ และนายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท ในฐานะคณะอนุกรรมการฯ จะนำทีมลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อรับฟังความเห็นประชาชน หลังจากนั้นเมื่อเปิดสมัยประชุมแล้ว ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 13-14 ธ.ค. และการประชุมวุฒิสภา วันที่ 18-19 ธ.ค. นี้ จะได้แจกแบบสอบถามเพื่อรับฟังความเห็นจากทั้ง สส.และ สว. โดยวันนี้ (4 ธ.ค. 66) ตนได้ส่งหนังสือขออนุญาตแจกแบบสอบถามต่อสมาชิกทั้งสองสภา ไปยังนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้มีประเด็นคำถามที่สอบถาม สส. และ สว. อาทิ เห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ เห็นด้วยหรือไม่กับกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา เนื้อหาส่วนใดบ้างที่ควรแก้ไข และที่มาของสสร.ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชนหรือสัดส่วนนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้วย อย่างไรก็ตามหลังการรับฟังความคิดเห็นจาก สส.และสว. แล้ว วันที่ 21 ธ.ค. นี้ จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการ เพื่อสรุปผลการดำเนินการ ก่อนจะรายงานต่อที่ประชุมคณะใหญ่ซึ่งมีนายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธ.ค. ต่อไป </p>
<p>นายนิกร กล่าวถึงกรณีการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 ด้วยว่าตนได้ตัดเรื่องเสียงเกินกึ่งหนึ่งสองชั้นออกไปแล้ว โดยลำดับถัดไปจะนำคณะเข้าหารือกับเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ วันที่ 11 ธ.ค. เพื่อรับฟังแนวทางการทำประชามติของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการทำประชามติรับฟังความเห็นจากประชาชนมากที่สุด และเป็นประเทศที่ใช้ระบบประชาธิปไตยทางตรง ส่วนข้อถามถึงกรณีที่มีพรรคการเมืองต้องการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ม.112 ว่าเห็นด้วยหรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า ตนยึดแนวทางของพรรคชาติไทยพัฒนา โดยจุดยืนเดิมคือไม่สนับสนุนการนิรโทษกรรมความผิดที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือความผิดร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายของบุคคลภายนอก รวมทั้งความผิดในคดีอาญา ในกรณีนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืนต้องค่อยเป็นค่อยไปในการดำเนินการ</p>
<p><span style="color:#3498db;">ที่มาเรียบเรียงจากเว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา </span><span style="color:#3498db;">[1]</span> (https://www.tpchannel.org/radio/news/23770)<span style="color:#3498db;"> </span><span style="color:#3498db;">[2]</span> (https://www.tpchannel.org/radio/news/23768)
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การแก้ไขรัฐธรรมนูญ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ส.ส.ร.[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ประชามติ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107116