หัวข้อ: พระอินทโมลี (ช้าง) วัดบรมธาตุ จังหวัดชัยนาท เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 11 ธันวาคม 2566 12:25:29 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/64365268953972_130041052_2691445007784065_429.jpg) พระอินทโมลี (ช้าง) วัดบรมธาตุ จังหวัดชัยนาท (พ.ศ.๒๓๘๕-๒๔๖๕) พระอินทโมลีศรีบรมธาตุวรวิหาร สุวิจารรณ์สังฆปาโมกข์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ท่านมีนามเดิมว่าช้าง เกิดที่บ้านคุ้งสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เมื่อเดิน แปด พ.ศ.๒๓๘๒ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดาชื่อโชติ มารชื่อบัว ท่านเป็นบุตรคนโต มีสุขภาพร่างการแข็งแรงสมบูรณ์ บิดาจึงตั้งชื่อว่าช้าง เป็นคนอัธยาศัยดี มีเมตตากรุณามาแต่เด็ก การศึกษา เมื่อท่านอายุ ๙ ขวบ ย้ายไปอยู่ในเขตท้องที่อำเภอเมือง บิดาได้นำไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนกับพระครูเมธังกร (จู) วัดพระบรมธาตุ ด้วยท่านมีสติปัญญาดีเฉลียวฉลาดจึงเป็นที่ยกย่องและโปรดปรานของพระครูเมธังกร พออายุได้ ๑๓ ปีจึงบรรพชาเป็นสามเณรและเริ่มศึกษาภาบาลี เช่น คัมภีร์มูลกัจจายน์ธรรมบท และมงคลทีปนี จนแตกฉานสามารถแปลข้อความจากภาษาบาลีเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการคงวัดบางกะพี้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายาว่า อินทสโร หลังจากได้ศึกษาด้านคันถธุระ จนสามารถค้นคว้าหลักธรรมะได้อย่างดีแล้วจึงมุ่งทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยได้รับการถ่ายทอดหลักปฏิบัติจากพระครูอินทชาติวรญาณ พร้อมทั้งเชี่ยวชาญด้านอิทธิปาฏิหาริย์ เช่น เสกของหลักให้เบาเหมือนนุ่น ร่นระยะทางให้สั้นได้ หน้าที่การงานและสมณศักดิ์ : พ.ศ.๒๔๑๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมในพระครูเมธังกร นามว่าพระใบฎีกาช้าง กาลต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ ฯ สืบต่อจากเจ้าอาวาสองค์ก่อน ส่วนจะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อวันเดือนปีอะไรไม่มีหลักฐานแน่นนอน จึงมิอาจทราบได้นอกจากคะเนตามอายุการปกครองวัด คงจะในราวระหว่าง พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๔๓ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร มีราชทินนามว่าพระครูอินทโมลี พร้อมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์อีกด้วย พ.ศ.๒๔๔๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะเมืองชัยนาท พ.ศ.๒๔๕๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระอินทโมลีบรมธาตุวิหารสุวิจารณ์สังฆปาโมกข์ ความดีที่ควรยกย่อง ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ท่านได้พัฒนาวัดโดยการบูรณะก่อสร้างกุฎิ วิหาร และสนับสนุนการศึกษาเป็นอย่างดี การปฏิบัติธรรมของท่านได้รับยกย่องว่าเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ถือสันโดษ ยึดมั่นในระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ของประเพณีจนเป็นที่เกรงขามกันโดยทั่วไป อย่างเช่นตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งหนึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง คือ เจ้าเมืองชัยนาทขี่ม้าออกตรวจการเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎรในเขตท้องที่และได้ขี่ม้าเข้าไปในวัดโดยไม่ถอดหมวก พระอินทโมลีได้ใช้อำนาจอาชญาวัด ใช้ไม้ตีเจ้าเมืองพร้อมทั้งถามว่า เข้ามาในวัดทำไมไม่ถอดหมวก เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่กล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้น หลังจากได้รับถ่ายทอดวิชาจากพระครูอินทรชาติวรณาณ ทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานวิชาไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา การปลุกเสก จนเป็นที่พอใจของอาจารย์แล้วท่านก็ได้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนวิชาดังกล่าวจนมีคนมาขอศึกษากับท่านมากมายและตัวท่านเองก็มีวิชาอาคมเสมอกับพระครูวิมลคุณากร(ศุข) ถึงกับคนเก่าๆ ของเมืองชัยนาท เล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงพ่อช้างกับหลวงพ่อวัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านชอบพอกันมาตั้งแต่เด็ก มีวิชาดีด้วยกันทั้งคู่ เคยทดสอบวิชากันเช่นหลวงพ่อศุขวัดปากคลองฯ สร้างเสือสมิง หลวงพ่อช้างวัดพระบรมธาตุฯ สร้างควายธนู ทั้งเสือสมิงและควายธนูต่างก็นทำอะไรกันไม่ได้ หมายความว่ามีวิชาเสมอกัน อนึ่ง เมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นตามลำน้ำเจ้าพระยา มาถึงวัดพระบรมธาตุฯ ท่านนำพระสวดมนต์ถวายพระพร จนได้รับคำชมเชยว่าเสียงดัง ฟังชัด แม่นยำ และได้รับพระราชทานผ้ากราบ ผ้ารองย่าม เป็นที่ระลึก พระอินทโมลี (ช้าง) อาจารย์ผู้ยิ่งยงแห่งวัดพระบรมธาตุวรวิหาร หมู่ที่ ๖ ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท มีชื่อเสียงทางด้านเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ยึดมั่นในกฎเกณฑ์ประเพณี ได้ถึงแก่กาลมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ ๒๔๖๕ ขณะอายุของท่านได้ ๘๑ ปี |