[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 13 ธันวาคม 2566 17:17:01



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'ชุมชนสร้างโรงเรียน โรงเรียนสร้างชุมชน' เสียงจาก 'นร.-ครู' รร.ขนาดเล็ก ในว
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 13 ธันวาคม 2566 17:17:01
'ชุมชนสร้างโรงเรียน โรงเรียนสร้างชุมชน' เสียงจาก 'นร.-ครู' รร.ขนาดเล็ก ในวันที่มีโจทย์คะแนน PISA
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-12-13 16:39</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ผลประเมิน PISA ล่าสุด เด็กไทยวิกฤติ คะแนนต่ำสุดในรอบ 20 ปี แน่นอนเรื่องนี้สะท้อนถึงคุณภาพการศึกษาด้วยส่วนหนึ่ง แต่อีกนัยยะคือผลประเมินนี้กำลังบอกว่า การศึกษาไทยในแบบเดิมอาจไม่ได้ตอบโจทย์ความก้าวหน้าของโลกในทุกวันนี้ ร่วมถึงสิ่งที่เด็กต้องเผชิญในปัจจุบัน</p>
<p>13 ธ.ค.2566 ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โครงการ ACCESS School ของมูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ร่วมกับภาคีเครือข่ายการศึกษาและชุมชนหลายภาคส่วน จัดเวทีสาธารณะเรื่องเล่า - ประสบการณ์ - ความท้าทายและนวัตกรรมการจัดการโรงเรียนขนาดเล็กร่วมกับชุมชนในเวทีการแบ่งปันการเรียนรู้ผ่านงานเสวนาระดับชาติ</p>
<h3>“การศึกษาที่ใกล้ตัวเราที่สุดอยู่ที่โรงเรียน อยู่ที่ชุมชน คนที่อยู่ใกล้การศึกษามากที่สุดคือ เด็ก คุณครู ผู้ปกครอง ชุมชน” รุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง ผู้จัดการฝ่ายโครงการและนโยบาย มูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) สะท้อนมุมมองในเวทีดังกล่าว</h3>

<p>จากการทำงานกับโรงเรียนเครือข่ายทั้งภาคกลาง เหนือ อีสาน โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ อาทิ โรงเรียนสอนคิด (Thinking School) ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยโรงเรียน King’s School โอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนซ์ รวมถึงนวัตกรรมจิตศึกษา การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning: PBL) และชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ที่ได้รับต้นแบบมาจากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ นำเครื่องมือเหล่านี้ทำงานกับโรงเรียนและครู ปรับรูปแบบการเรียนการสอนโดยเน้นการสอนแบบ Active Learning ฝึกให้ผู้เรียนได้คิดวิพากษ์และมีระบบเพื่อหาคำตอบ ซึ่งคำตอบอาจไม่ได้มีเพียงข้อเดียว จากการเรียนแบบไม่มีตำตอบตายตัวที่ใช้จิตวิทยาเชิงบวก จะเสริมสร้างนิสัยช่างคิด กล้าแสดงออก และก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้</p>
<p>“ผลลัพธ์สูงสุดอยู่ที่เด็ก การเรียนที่ไม่ต้องจัดลำดับความเก่งของเด็กด้วยคะแนนและตัวเลขบางอย่าง จากการทำงานเราได้ข้อสรุป ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาโรงเรียนที่ตอบโจทย์โลกในปัจจุบันและนำพาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีศักยภาพ เกื้อกูล เด็กมีทักษะชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งการมีความรู้เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ เด็กที่มีทักษะชีวิตดีจะนำพาชุมชน สังคม ประเทศไทยให้พัฒนาขึ้นได้”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ซึ่งแนวทางนี้ ได้รับการยืนยันจากตัวนักเรียน</span></h2>
<p>วริษา จันทร์อ่ำ เด็กนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เล่าถึงโรงเรียนเก่าสมัยประถม คือโรงเรียนวัดโคกทอง ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก  “ในตอนที่หนูเรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดโคกทอง  มีการสอนจิตศึกษา ทำให้เด็กมีความกล้าแสดงออก สนุกกับการเรียน เรียนง่ายขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น ไม่มีการจด  มีแต่การแนะนำเสนอความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในห้องเรียน ข้อดีที่หนูเห็นคือ นักเรียนสนุก เรียนเข้าใจ ครูสอนทั่วถึง แถมเป็นโรงเรียนที่อยู่ไม่ไกลจากบ้าน ไม่ต้องไปเรียนในตัวเมือง สำหรับหนูรู้สึกดีมาก เรามีความรู้ มีความสามารถในการแสดงออก”</p>
<p>โรงเรียนขนาดเล็กไม่ได้แข่งกับใครวริษาเล่าว่า ครูแค่ต้องการให้เด็กเข้าใจที่ครูสอน ต้องการให้เด็กมีความรู้ แม้ผู้ปกครองบางท่านอาจกังวลถึงวิธีการเรียน ที่ไม่มีการบ้านให้เด็กมาทบทวนหลังเลิกเรียน แต่ท้ายที่สุดผลลัพธ์จากตัวเด็กก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การเรียนรู้ไม่ใช่แค่การสอบ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">โรงเรียนขนาดเล็ก เป็นปัญหาจริงหรือ ?</span></h2>
<p>ชนิตา พิลาไชย หรือ ผอ.แหม่ม ประธานเครือข่ายโรงเรียนนอกกะลา (ภาคกลาง) ชวนตั้งคำถามและเล่าว่า เดิมทีปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กเกิดขึ้นจากผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนตกต่ำในปี 2553 - 57 ไม่ว่าผล NT ผล O - NET มีเด็กออกจากโรงเรียนเข้าไปเรียนโรงเรียนในตัวเมืองสูง เมื่อผลสัมฤทธิ์ต่ำ โรงเรียนขนาดเล็กจึงถูกปรามาสว่าเด็กไม่มีคุณภาพ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53395203985_f0ef514965_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ชนิตา พิลาไชย หรือ ผอ.แหม่ม ประธานเครือข่ายโรงเรียนนอกกะลา (ภาคกลาง)</span></p>
<p>“จากเหตุการณ์นี้ เราพบว่าโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ออกแบบนวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีคุณภาพ นั่นก็คือการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วย PBL การสร้างให้เด็กมีภาวะจิตจดจ่อผ่านจิตศึกษา และเครื่องมือที่จะสามารถทำให้คุณครูจัดการเรียนรู้ร่วมกันและออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันได้คือ PLC ได้ลงมือพาครูไปอบรม และลงมือทำ จนปี 2560 ได้พบกับเพื่อนโรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนนอกกะลา (ภาคกลาง) สร้างคุณภาพการศึกษาในห้องเรียนและทำงานร่วมกันจนถึงปัจจุบัน”</p>
<p>โจทย์ใหญ่ “ยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก” จนถึงวันนี้ เราสามารถแสดงผลลัพธ์ให้ได้เห็นแล้ว ทั้งร่วมมือกันพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ มีครูโค้ชอยู่ทุกจังหวัด มีเครือข่าย และภาคประชาสังคม ให้โรงเรียนขนาดเล็กเป็นที่พึ่งของชุมชน ภาครัฐและเอกชนเสริมหนุนซึ่งกันและกัน</p>
<p>“เราแก้ไขปัญหาการศึกษาได้อย่างแท้จริง เกิดผลลัพธ์สูงสุดคือ เด็กทุกคนสามารถเข้าเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นได้” ผอ.แหม่มกล่าว</p>
<p>ปัจจุบัน โครงการ ACCESS School ชุมชนสร้างโรงเรียน โรงเรียนสร้างชุมชน มีโรงเรียนขนาดเล็กและกลางในเครือข่ายจำนวนมากกว่า 400 โรงเรียน มีชุมชนกว่า 1,400 ชุมชนและเด็กที่ได้รับผลประโยชน์จากการทำงานแล้วกว่า 60,000 คน เวทีนี้จึงเป็นเหมือนการทบทวนบทเรียนการทำงานที่ผ่านมา ในการทำงานร่วมกับกับครู โรงเรียนขนาดเล็ก ชุมชน วัด ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และหน่วยงานท้องถิ่น และร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อเสนอซึ่งกันและกัน </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การศึกษา[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/pisa" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">PISA[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">โรงเรียนขนาดเล็ก[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107226