[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 21 ธันวาคม 2566 16:08:28



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'ไอโอ' โจมตีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯ รัฐบาลแจง ไทยมีกฎหมายคุ้มครองอยู่แล้วหล
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 21 ธันวาคม 2566 16:08:28
'ไอโอ' โจมตีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯ รัฐบาลแจง ไทยมีกฎหมายคุ้มครองอยู่แล้วหลายฉบับ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 15:28</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>องค์กร Protection International เผยความคืบหน้ากรณีไอโอโจมตี อังคณา – อัญชนา สองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯ ระบุ 7 ธ.ค 66 ที่ผ่านมา รัฐไทยได้ทำหนังสือชี้แจง 5 ประเด็นใหญ่ตามข้อสงสัยของคณะผู้เชี่ยวชาญ UN เน้นย้ำว่าไทยมีกฎหมายหลายฉบับดูแลนักป้องสิทธิฯ ขณะที่สองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิชี้หนังสือตอบกลับ มองแค่ระบบโครงสร้างไม่ได้มองการปฏิบัติ ระบุการตอบของรัฐบาลไทยเป็นการตอบแบบมาตราการทั่วๆ ไปยังไม่เป็นรูปธรรมที่ใช้ได้จริง แนะรัฐต้องมีมาตรการที่จำเป็นหรือกฎหมายเฉพาะ คุ้มครองนักปกป้องสิทธิฯ</p>
<p> </p>
<p>21 ธ.ค. 2566 องค์กร Protection International ซึ่งทำงานสนับสนุนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและอำนวยความสะดวกให้กับอังคณา นีละไพจิตร ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ สมาชิกคณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจ องค์การสหประชาชาติ (UN Human Rights Expert- WGEID)  และ  อัญชนา หีมมิหน๊ะ อดีตอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน  สองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้เข้าถึงความยุติธรรมกรณีการถูกโจมตีและละเมิดสิทธิออนไลน์โดยการทำไอโอ ได้เผยแพร่เอกสารแปล (อย่างไม่เป็นทางการ) ของรัฐบาลไทยตอบกลับผู้รายงานพิเศษสหประชาชาติ 6 คณะ ซึ่งประกอบด้วย คณะทำงานว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง , ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออก, ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมอย่างสงบ และการสมาคม , ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน; ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและทนายความ และผู้รายงานพิเศษว่าด้วยความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง ที่ก่อนหน้านี้ได้ส่งหนังสือ(ลำดับที่ AL THA 3/2023 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ถึงรัฐบาลไทยเพื่อให้ชี้แจงข้อเท็จจริงจากการขาดความรับผิดและมาตรการคุ้มครองต่อการข่มขู่และการคุกคามทางออนไลน์ ต่ออังคณา และอัญชนา สองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสองทั้งหมด 5 ข้อ โดยหนังสือตอบกลับของรัฐไทยลงวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ลงนามโดยผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การสหประชาชาติ นครเจนีวา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เปิดหนังสือตอบกลับ 5 ข้อ ของรัฐไทย ระบุมีกฎหมายหลายฉบับดูแลนักป้องสิทธิฯ</span></h2>
<p>โดยข้อที่ 1 หนังสือตอบกลับของรัฐอ้างว่า แม้ศาลเห็นชอบว่าบุคคลทั้งสองเป็นผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและเป็นผู้เสียหายจากการกระทำดังกล่าวแต่ได้ยกฟ้องฐานที่ขาดข้อพิสูจน์ว่าเว็บไซต์ pulony.blogspot.com มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กอ.รมน. หรือกองทัพไทย นอกจากนั้น เลขาธิการกอ.รมน. ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวระบุว่าเว็บไซต์ดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐแต่ได้ถูกขึ้นบัญชีติดตามและตรวจสอบโดยกอ.รมน.</p>
<p>ส่วนข้อที่ 2 ที่ยูเอ็นให้รัฐไทยระบุถึงมาตรการที่รัฐบาลจะประกันว่าผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยเฉพาะผู้ซึ่งทำหน้าที่เก็บและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะสามารถดำเนินงานที่ชอบธรรมในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเกื้อหนุนได้โดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อภัยคุกคามหรือไม่ต้องเสี่ยงที่จะเผชิญกับการข่มขู่และการตอบโต้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ประเด็นนี้หนังสือตอบกลับระบุว่า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนเป็นกลุ่มบุคคลสำคัญภายใต้ทั้งแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ฉบับที่ 2</p>
<p>นอกจากนี้ในหนังสือตอบกลับยังย้ำอีกว่า รัฐบาลสนับสนุนบทบาทของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนรวมทั้งผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยผ่าน การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา  การประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย กำหนดมาตรการคุ้มครองและเยียวยาสำหรับผู้เสียหายไม่เพียงจากการทำให้สูญหายและการทรมานเท่านั้นหากยังรวมถึงการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี</p>
<p>และยังอ้างเพิ่มเติมว่า ได้ดำเนินงานเพื่อผลักดันร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปาก ที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการและได้ส่งร่างกฎหมายไปให้กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเสนอแนะให้นำเนื้อหาของร่างเข้าไปผนวกเป็นส่วนหนึ่งของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต</p>
<p>นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่ามีกองทุนยุติธรรมให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายซึ่งให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย การไกล่เกลี่ย ความคุ้มครองและความช่วยเหลือด้านกฎหมายกับบุคคลทุกคนและในหนังสือตอบกลับยังอ้างอีกว่า กอ.รมน.ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการสอบสวนตามรายงานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและในการประกันให้การปฏิบัติหน้าที่ต่าง  ๆ มีความสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศความร่วมมือเช่นนี้รวมถึงการจัดอบรมประจำปีให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเกี่ยวกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนอีกด้วย</p>
<p>ส่วนข้อ 3 ที่ยูเอ็นได้ขอให้รัฐไทยระบุถึงมาตรการที่นำมาใช้เพื่อประกันให้เกิดความรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเข้าถึงความจริง ความยุติธรรม การชดเชยและหลักประกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำในกรณีของสองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนรายละเอียดในหนังสือตอบกลับระบุว่า อังคณาและอัญชนาสามารถเข้าถึงระบบยุติธรรมและมีสิทธิในการฟ้องคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมถึงสิทธิอุทธรณ์คดีต่อศาลอุทธรณ์ ในการพิจารณาของศาลสูง และหากพบว่าหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อบุคคลทั้งสอง หน่วยงานดังกล่าวย่อมถูกศาลสั่งให้รับผิดสอดคล้องตามหลักกฎหมาย และอาจมีคำสั่งให้ต้องชดเชยและเยียวยา  และตามข้อมูลของ กอ.รมน. หากพบว่าเจ้าหน้าที่คนใดละเมิดกฎหมายและทำให้เกิดความเสียหายและอันตรายต่อบุคคลอื่น กอ.รมน.จะทำการสอบสวนภายในอีกด้วย</p>
<p>ส่วนข้อ 4 ในกรณีที่ยูเอ็นถามถึงมาตรการเป็นการเฉพาะใด ๆ ที่ได้นำมาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการโจมตีด้วยเหตุทางเพศสภาพ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมทั้งการใส่ร้ายป้ายสีทางออนไลน์ต่อผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในหนังสือตอบกลับได้อ้างว่า มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้คุ้มครองพลเมืองไทยจากการเลือกปฏิบัติและความรุนแรงหลายมาตราแล้วในกรณีการโจมตีทางออนไลน์ รวมทั้งการโจมตีด้วยเหตุแห่งเพศสภาพหนังสือตอบกลับได้อ้างว่าเป็นกรณีที่อยู่ใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2560</p>
<p>และในส่วนข้อที่ 5  ที่คณะทำงานยูเอ็นให้รัฐไทยระบุถึงมาตรการที่ได้นำมาใช้เพื่อประกันบูรณภาพทางกายและใจของอังคณา นีละไพจิตร และอัญชนา หีมมิหน๊ะเมื่อคำนึงถึงภัยคุกคามและการข่มขู่ที่ทั้งสองคนต้องเผชิญอย่างต่อเนื่อง  หนังสือตอบกลับระบุอีกว่า ทั้งสองสามารถเข้าถึงระบบยุติธรรมรวมทั้งมีสิทธิในการฟ้องคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีสิทธิอุทธรณ์คดีต่อศาลอุทธรณ์ บุคคลทั้งสองยังสามารถเข้าถึงมาตรการเยียวยารวมทั้งผ่านพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50565432497_b1d64eb550_b.jpg" style="width: 1024px; height: 768px;" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">แฟ้มภาพ 'อังคณา นีละไพจิตร' และ 'อัญชนา หีมมิหน๊ะ'</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การตอบของรัฐบาลไทยเป็นการตอบแบบมาตรการทั่วๆ ไปยังไม่เป็นรูปธรรมที่ใช้ได้จริง</span></h2>
<p>ปรานม สมวงศ์  จาก Protection International กล่าวถึงหนังสือตอบกลับของรัฐบาลที่มีออกมาในครั้งนี้ว่า “เป็นเรื่องดีที่ประเทศไทยยืนยันว่า ไทยตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศ แต่การตระหนักอย่างเดียวไม่พอ การตอบของรัฐบาลไทยเป็นการตอบแบบมาตราการทั่วๆไปยังไม่เป็นรูปธรรมที่ใช้ได้จริงเพื่อจะคุ้มครอง ยังไม่ระบุมาตรการกลไกที่นำมาใช้เป็นหลักประกันในการคุ้มครองได้จริงเพื่อให้เกิดความรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเข้าถึงความจริง ความยุติธรรม การเยียวยา และการประกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำต่อผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ตัวอย่างเช่น แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนที่ยังยกมาอีก ก็ยังไม่มีการกำหนดมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อคุ้มครองและยอมรับการดำเนินงานของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ยังไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย โดยถือเป็นเพียงมติของหน่วยงานฝ่ายบริหารภายใต้รัฐบาลไทย และมีสถานะเป็นเพียง “กฎ” ทำให้ให้ไม่มีน้ำหนักหรือไม่มีศักยภาพในการบังคับใช้ตามกฎหมาย  และในกรณีของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯ สองท่านนี้ก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม/ความช่วยเหลือด้านกฎหมายจากกระทรวงยุติธรรม</p>
<p>“อังคณา” ชี้ กอ.รมน.แจงทำงานร่วมกับกสม.ในการสอบสวนตามรายงานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องระมัดระวังเหตุ กอ.รมน.เป็นผู้ถูกร้องจึงไม่ควรเข้ามาเกี่ยวข้องในการสอบสวนและ กสม.ต้องมีความเป็นอิสระ มีความเป็นธรรม ไม่ลำเอียง จึงควรระมัดระวังอย่างมากในเรื่องการถูกแทรกแซง</p>
<p>ด้านอังคณา กล่าวว่า ชื่นชมที่รัฐบาลไทยตอบข้อกล่าวหาของคณะผู้เชี่ยวชาญ สหประชาชาติ กรณีการข่มขู่และการคุกคามต่อผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดีส่วนตัวเห็นว่าคำตอบของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐรวมถึง กอ.รมน. เป็นการตอบคำถามเชิงนโยบายอย่างกว้าง ในเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดอบรม หรือการทำแผนชาติด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ โดยไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงต่อปัญหาการปฏิบัติ หรือข้อจำกัดต่างๆที่ทำให้ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนไม่สามารถเข้าถึงการเยียวยา ทั้งด้านความยุติธรรม การนำคนผิดมาลงโทษ รวมถึงการเยียวยาทางจิตใจได้จริง</p>
<p>เพื่อให้ปฏิบัติได้จริงตามที่รัฐบาลได้ตอบคำถามคณะผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ รัฐบาลต้องมีการออกมาตรการที่จำเป็น เช่น รับรองแนวปฏิบัติด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (UN Guidelines on Human Rights Defenders) หรือมีการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมถึงให้มีการชดใช้เยียวยาเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และรัฐไม่ควรมองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเป็นศัตรู ซึ่งศาลได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า แม้รัฐธรรมนูญจะบัญญัติให้มีการเยียวยากรณีการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเรื่องการเยียวยากรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้การชดใช้เยียวยาไม่เกิดขึ้นจริง”</p>
<p>“อีกประการที่กังวล คือ คำตอบของ กอ.รมน. ที่ระบุว่า ‘กอ.รมน.ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในการสอบสวนตามรายงานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ..’ เห็นว่าเนื่องจาก กอ.รมน. ในสถานะผู้ถูกร้อง จึงไม่สมควรเป็นผู้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน อีกทั้งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ถือเป็นสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ ที่ต้องมีความเป็นอิสระ มีความเป็นธรรม และไม่ลำเอียง จึงควรระมัดระวังอย่างมากในเรื่องการถูกแทรกแซง โดยเฉพาะการให้ผู้ถูกร้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ เพราะนอกจากอาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแล้ว ยังอาจทำให้ผู้เสียหายเกิดความหวาดกลัวในการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกด้วย” อังคณากล่าว</p>

<p>“อัญชนา”ระบุหนังสือตอบกลับของรัฐบาลไทยที่มีออกมาในครั้งนี้เป็นการมองแค่ระบบโครงสร้างไม่ได้มองการปฏิบัติว่าเป็นอย่างไร</p>
<p>ขณะที่อัญชนาระบุว่า หนังสือตอบกลับของรัฐบาลไทยที่มีออกมาในครั้งนี้เป็นการมองแค่ระบบโครงสร้างไม่ได้มองการปฏิบัติว่าเป็นอย่างไร รวมถึงการเข้าถึงสิทธิของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เมื่อมีการอ้างถึงกฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปาก รวมถึงกฎหมาย พ.ร.บ คอมฯ ที่บอกนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหรือประชาชนที่ได้รับการละเมิดสามารถที่จะนำกฎหมายเหล่านี้มาใช้ได้ แต่ในความเป็นจริงในเคสของตนและคุณอังคณานั้นเมื่อได้มีการดำเนินการขอแจ้งความเพื่อหาผู้โพสต์ในเฟสบุ๊ค ซึ่งเป็นโดเมนของเว็บไซต์ไอโอ แต่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องก็บอกว่าไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะโดเมนเนม อยู่ต่างประเทศรวมถึงกระทรวงที่เกี่ยวข้องโดยตรงเอง เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็ตรวจสอบไม่ได้ แสดงว่าระบบของรัฐมีปัญหา เมื่อระบบไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้แล้วจะทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิได้อย่างไร</p>
<p>นอกจากนี้ในส่วนของเรื่องของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ก็ไม่ได้มีความชัดเจนในเรื่องของเงินเยียวยาแม้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะตอบคำถามกับคณะทำงานยูเอ็นว่าผู้กระทำเป็นรัฐถึงจะเยียวยาได้ แต่ในความเป็นจริงศาลไม่ได้ระบุแบบนี้ ทุกวันนี้เหมือนทุกคนลอยตัวอยู่เหนือปัญหาไม่มีระบบการเยียวยาที่สามารถพิสูจน์ได้ และการเยียวยาแบบมีเงื่อนไข ระบุว่าผู้ถูกกระทำต้องพิสูจน์ว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐทำ จึงจะมีโอกาสในการเข้าถึงการเยียวยาได้แต่ยาก เพราะพิจารณาจากคำพิพากษา</p>
<p>ทนายความชี้ รัฐควรสร้างเครื่องมือที่เป็นกฎหมายมารองรับหากมีประชาชนถูกละเมิดสิทธิจากการใช้สิทธิหรือทำหน้าที่ปกป้องสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชนต้องมีเครื่องมืออะไรที่จะมาคุ้มครองที่เป็นรูปธรรม</p>
<p>ขณะที่สัญญา เอียดจงดี ทนายความในคดีนี้ กล่าวว่า จากกรณีที่รัฐได้ทำหนังสือตอบกลับคณะผู้แทนของยูเอ็นไปนั้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าวิธีคิดของรัฐไทยยังผลักภาระให้กับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งกระบวนการยุติธรรมทั้งห้าข้อที่รัฐได้พยายามชี้แจงใส่ในหนังสือตอบกลับคณะทำงานยูเอ็นนั้น เป็นกระบวนการยุติธรรมที่ผลักภาระให้กับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิที่ต้องไปพิสูจน์ว่าตนเองถูกละเมิด และใครเป็นคนละเมิดแล้วถ้าบุคคลที่ละเมิดนั้นเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ยังต้องมาพิสูจน์อีกว่าเสียหายยังไง เท่าไหร่ ทำไมเราไม่มองกลับกันว่าคนที่ถูกกล่าวอ้างเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกหน้าว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐไทยเป็นผู้กระทำ มันจึงควรมีเครื่องมือที่กำหนดให้ ภาระการพิสูจน์ ตกแก่รัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องพิสูจน์ว่าตนเองไม่ได้ทำ เราจะไปถึงจุดนี้ได้อย่างไร</p>
<p>และในเรื่องที่เราถูกกระทำนั้นในบางครั้งเราไปใช้สิทธิทางกฎหมาย ก็ถูกฟ้องกลับ  ซึ่งหากพิจารณาตาม มาตรา มาตรา 161/1 และ 165/2 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งให้อำนาจศาลในการตรวจสอบกรณีที่ประชาชนฟ้องกันโดยไม่สุจริต แต่ในทางปฏิบัติที่เราทำกันมา ในส่วนมาตรานี้ศาลไม่เคยลงมาตรวจสอบอย่างจริงจัง ซึ่งทำไมประธานศาลฎีกาไม่ออกข้อกำหนดหรือแนวระเบียบปฏิบัติว่าในกรณีที่เป็นการฟ้องปิดปาก ให้รัฐไต่สวนคำร้องตรงนี้ก่อน ว่ามีมูลหรือไม่ ก่อนที่จะมีการไต่สวนมูลฟ้องว่ามีมูลหรือไม่มีมูลซึ่งตรงส่วนนี้จะโอเคกว่าและจะแบ่งเบาภาระไปได้เยอะ และรัฐบาลควรทำงานเชิงรุกเมื่อมีการกล่าวหาและควรแบ่งเบาภาระของผู้เสียหายด้วยการออกกฎหมายภายในมารองรับมาตรการระหว่างประเทศต่างๆที่มีออกมาเพื่อมุ่งที่จะเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้สิทธิ์ตรงนี้</p>
<p>“สรุปคือ รัฐควรสร้างเครื่องมือที่เป็นกฎหมายมารองรับเลยว่าถ้ามีคนกล่าวอ้างว่าถูกละเมิดสิทธิจากการใช้สิทธิหรือทำหน้าที่ปกป้องสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน ต้องมีเครื่องมืออะไรที่จะมาคุ้มครองเขาได้บ้าง มีเครื่องมืออะไรที่จะมาเยียวยาได้บ้าง ต้องทำให้ชัดเจนเลย” ทนายความกล่าว</p>
<p> </p>

<p> </p>
<p><strong>ดาวน์โหลดเอกสารตอบกลับของรัฐบาลไทยได้ที่ลิงค์นี้</strong></p>
<p>https://spcommreports.ohchr.org/TMResultsBase/DownLoadFile?gId=37847 (https://spcommreports.ohchr.org/TMResultsBase/DownLoadFile?gId=37847)</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B2-%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อังคณา นีละไพจิตร[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B8%AB%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%8A%E0%B8%B0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อัญชนา หีมมิหน๊ะ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/protection-international" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">Protection International[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107318