[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 23 ธันวาคม 2566 20:47:40



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ศาลเลื่อนพิพากษาคดี ม.112 ของ 'วุฒิ' ระบุไม่อนุญาตให้เปลี่ยนคำให้การเป็นปฏิเส
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 23 ธันวาคม 2566 20:47:40
ศาลเลื่อนพิพากษาคดี ม.112 ของ 'วุฒิ' ระบุไม่อนุญาตให้เปลี่ยนคำให้การเป็นปฏิเสธ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-12-23 17:17</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เผยศาลเลื่อนพิพากษาคดี ม.112 ของ 'วุฒิ' กรณีถูกกล่าวหาจากการโพสต์เฟซบุ๊กจำนวน 12 ข้อความช่วงปี 64 ระบุไม่อนุญาตให้เปลี่ยนคำให้การเป็นปฏิเสธ แต่ให้รวบรวมพยานหลักฐาน-เหตุบรรเทาโทษประกอบก่อนนัดพิพากษา 14 ก.พ. 67</p>
<p><img alt="" src="https://tlhr2014.com/wp-content/uploads/2023/12/22dec23faiiWEB.jpg" /></p>
<p>ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (https://tlhr2014.com/archives/62524) รายงานว่าเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2566 ศาลอาญามีนบุรีนัดฟังคำพิพากษาในคดีของ “วุฒิ” (นามสมมติ) ชาวเพชรบูรณ์วัย 51 ปี ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) กรณีถูกกล่าวหาจากการโพสต์เฟซบุ๊กจำนวน 12 ข้อความ ในช่วงปี 2564 แต่ให้เลื่อนนัดฟังคำพิพากษาไปในวันที่ 14 ก.พ. 2567 </p>
<p>คดีนี้มี สุรวัชร สังขฤกษ์ เป็นผู้กล่าวหา โดยในวันที่ 20 ธ.ค. 2564 วุฒิได้เดินทางไปที่ สน.นิมิตรใหม่ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาและได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยจะขอให้การในชั้นศาลต่อไป พนักงานสอบสวนจึงได้ให้พิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ก่อนให้ปล่อยตัวไป โดยไม่มีการควบคุมตัวไว้ </p>
<p>ต่อมาในวันที่ 27 มี.ค. 2566 รุ่งโรจน์ แดงสวัสดิ์ พนักงานอัยการ ฝ่ายคดีอาญามีนบุรี 2 ได้สั่งฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญามีนบุรี โดยขณะนั้นวุฒิได้ให้การปฎิเสธตลอดข้อกล่าวหา และยื่นขอประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 150,000 บาท </p>
<p>เวลา 16.55 น. สุรพันธ์ เจริญกิตติ ผู้พิพากษา มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยอ้างเหตุเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี ทำให้วุฒิถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษมีนบุรีตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค. 2566 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 270 วันแล้ว หลังจากนั้นศาลอาญามีนบุรีมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวเรื่อยมา</p>
<p>คดีนี้มีนัดสืบพยานในวันที่ 22 – 24 พ.ย. 2566 โดยในวันแรกของการสืบพยาน กรองแก้ว ถนอมรอด ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนได้อธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟังและสอบถามว่ามีแนวทางการต่อสู้คดีอย่างไร วุฒิและทนายความได้แถลงต่อศาลว่าขอให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าว </p>
<p>ต่อมาศาลได้แจ้งสิทธิให้แก่จำเลยว่า หากจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลจะสามารถใช้ดุลยพินิจในการลงโทษสถานเบาได้ ภายหลังการปรึกษาหารือกับทนายความ วุฒิจึงตัดสินใจถอนคำให้การเดิมจากปฏิเสธเป็นรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา และศาลมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติทำการสืบเสาะและพินิจจำเลยก่อนพิพากษา</p>
<p>วันที่ 21 ธ.ค. 2566 เวลา 9.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 201 ญาติของวุฒิ ได้แก่ น้องสาว, ภรรยา และลูกชาย เดินทางมาเพื่อรอพบและให้กำลังใจวุฒิที่ถูกเบิกตัวมาจากเรือนจำพิเศษมีนบุรี โดยมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, เจ้าหน้าที่จาก iLaw, ผู้สื่อข่าวอิสระ และ “ตะวัน” ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ พร้อมเพื่อนนักกิจกรรม เข้าร่วมสังเกตการณ์คดี</p>
<p>เวลา 10.30 น. หลังจากศาลเสร็จการพิจารณาในคดีอื่น ๆ วุฒิถูกนำตัวขึ้นมาที่ห้องพิจารณาคดีโดยถูกพันธนาการด้วยกุญแจข้อมือและข้อเท้า เขานั่งลงก่อนหันมาทักทายกลุ่มคนที่มาร่วมสังเกตการณ์และให้กำลังใจ</p>
<p>ต่อมาเวลา 10.38 น. ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนออกนั่งพิจารณาคดี ก่อนแจ้งกับทนายความและวุฒิว่า หลังจากได้ไปปรึกษาแล้วเห็นว่า คดีนี้ไม่สามารถลงโทษสถานเบาได้ เนื่องจากข้อความเกี่ยวข้องกับระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงสอบถามจำเลยอีกครั้งว่ายังคงจะให้การรับสารภาพเช่นเดิมหรือไม่ พร้อมระบุว่าจากรายงานการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติ ไม่พบว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อน และไม่ปรากฎว่าจำเลยเกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมทางการเมือง</p>
<p>หลังจากที่ทนายความและวุฒิปรึกษาหารือกัน วุฒิตัดสินใจแถลงต่อศาลขอถอนคำให้การในวันที่ 22 พ.ย. 2566 จากรับสารภาพเป็นปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยอ้างว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้โพสต์ข้อความตามฟ้องโจทก์ พร้อมยื่นคำให้การใหม่</p>
<p>ผู้พิพากษาระบุว่า จากคำให้การในวันที่ 22 พ.ย. 2566 เท่ากับว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงแล้วว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความตามฟ้อง หากจะเปลี่ยนไปให้การปฏิเสธ จะต้องยกข้อต่อสู้อื่นขึ้นมา เช่น ข้อความตามฟ้องไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112</p>
<p>ทนายความจึงแถลงต่อศาลว่า พยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งเป็นภาพโพสต์ข้อความโดยไม่ระบุที่มา (ไม่ระบุ URL) และไม่ได้ตรวจสอบระบุตัวบุคคลที่เป็นผู้โพสต์ (ไม่มีการตรวจสอบ IP Address) จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ จึงยืนยันขอต่อสู้ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้โพสต์ข้อความดังกล่าว โดยฝ่ายของจำเลยมีพยานผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2 คน ซึ่งตรวจสอบพิสูจน์ตัวตนของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ที่จะมาให้ความเห็นในเรื่องนี้</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาเห็นว่า จำเลยขอถอนคำให้การเป็นรับสารภาพแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ถอนคำให้การรับสารภาพเป็นปฏิเสธ ไม่อนุญาตให้จำเลยถอนคำให้การในวันที่ 22 พ.ย. 2566 แต่เห็นควรให้โอกาสจำเลยในการรวบรวมพยานหลักฐานและรวบรวมเหตุบรรเทาโทษมาเสนอต่อศาลเพื่อประกอบดุลยพินิจในการพิพากษาภายในวันที่ 2 ก.พ. 2567 และให้เลื่อนไปนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 14 ก.พ. 2567</p>
<p>นอกจากนี้ ทนายความยังพยายามสอบถามถึงเรื่องการประกันตัวของวุฒิ โดยหลังจากที่วุฒิตัดสินใจให้การรับสารภาพไปในวันที่ 22 พ.ย. 2566 ทนายความได้พยายามยื่นขอปล่อยชั่วคราวอีกครั้งเนื่องจากมีเหตุในคดีที่เปลี่ยนแปลงไป แต่วุฒิก็ยังคงไม่ได้รับการประกันตัว โดยผู้พิพากษาระบุว่า การสั่งประกันตัวไม่ได้ขึ้นกับผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน แต่ขึ้นอยู่กับผู้พิพากษาเวรที่มีหน้าที่สั่งประกันตัวในวันนั้น </p>
<p>หลังจากนี้ทนายความจะเข้าเยี่ยมวุฒิที่เรือนจำพิเศษมีนบุรีเพื่อปรึกษาหารือเรื่องแนวทางในคดี และจะดำเนินการใด ๆ ตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป</p>
<p>ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีข้อสังเกตว่า ตามหลักสิทธิของจำเลยในคดีอาญา จำเลยมีสิทธิที่จะให้การปฏิเสธเพื่อให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แม้เคยให้การรับสารภาพก่อนหน้านี้  แต่ในการถอนคำให้การในชั้นศาลนั้น มีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสอง วางหลักไว้ว่า เมื่อมีเหตุอันควร จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การก่อนศาลพิพากษาได้ ถ้าศาลเห็นสมควรอนุญาต กล่าวคือในการถอนคำให้การในชั้นศาล ศาลจะใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาว่ามี ‘เหตุอันควร’ หรือไม่ ก่อนมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต</p>
<p>อย่างไรก็ตาม คดีนี้จำเลยมีข้อต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้โพสต์ พยานหลักฐานของโจทก์เป็นพยานหลักฐานปลอม ผ่านการตัดต่อ จึงไม่เพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นเหตุสำคัญที่อาจจะสามารถเปลี่ยนผลของคดีได้ จำเลยจึงควรมีสิทธิในการถอนคำให้การเดิมเพื่อต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมต่อไป</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A1112" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ม.112[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กระบวนการยุติธรรม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107357