[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 23 ธันวาคม 2566 22:30:18



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - แนะทำประชามติในวันเลือกตั้งท้องถิ่น ช่วยประหยัดงบฯ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 23 ธันวาคม 2566 22:30:18
แนะทำประชามติในวันเลือกตั้งท้องถิ่น ช่วยประหยัดงบฯ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-12-23 16:17</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'ธนกร' แนะทำประชามติในวันเลือกตั้งท้องถิ่น ช่วยประหยัดงบฯ - 'พริษฐ์' ย้ำ รธน.ใหม่ควรถูกร่างโดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด สามารถออกแบบระบบเลือกตั้งให้มีตัวแทนจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ และกลุ่มความหลากหลายได้ </p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50401044531_6b887d390c_k_d.jpg" /></p>
<p>23 ธ.ค. 2566 มติชนออนไลน์ (https://www.matichon.co.th/politics/news_4344474) รายงานว่าธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวถึงกรณีที่คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่มีผลสรุปออกมาว่าจะจัดทำให้มีการออกเสียงประชามติแก้รัฐธรรมนูญถึง 3 ครั้ง ว่า การแก้รัฐธรรมนูญถือเป็น 4 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ที่ได้แถลงไว้กับสภาไว้แล้วก็ตาม แต่เรื่องแรกตนมองว่า ควรให้น้ำหนักความสำคัญกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง สร้างรายได้ พัฒนาอาชีพ ความเป็นอยู่ให้กับประชาชนในภาพรวมทั้งประเทศมาเป็นอันดับแรกก่อน ควบคู่ไปกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยกเว้นหมวด 1 และหมวด 2 เนื่องจากตนได้รับฟังเสียงสะท้อนของพี่น้องประชาชนจากการลงพื้นที่มา ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าต้องการให้รัฐบาลเร่งสร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ แก้ปัญหาความเดือดร้อนปากท้องความเป็นอยู่ของประชาชนมาเป็นเรื่องแรก เพราะหลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 มา เศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ รายได้ไม่เพิ่ม แต่ภาระค่าใช้จ่ายยังเท่าเดิม</p>
<p>ผู้สื่อข่าวถามว่า การแก้รัฐธรรมนูญก็ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่แถลงต่อสภาฯ รัฐบาลควรทำอย่างไร นายธนกร กล่าวว่า นโยบายเร่งด่วนมี 4 เรื่อง ได้แก่</p>
<p>1. แก้ปัญหาหนี้สินให้เกษตรกร ประชาชน และภาคธุรกิจ
2. การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
3. เร่งผลักดันสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวจากการจัดเทศกาลต่าง ๆ เพื่อดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ
4. การแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น</p>
<p>นายธนกร กล่าวว่า ซึ่งตนเห็นว่าการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญสามารถทำควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไปด้วยกัน</p>
<p>“เห็นด้วย เรื่องการทำแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเว้นหมวด 1 หมวด2 ถ้าคณะอนุกรรมการฯ มีผลสรุปว่าควรทำประชามติ 3 ครั้ง การใช้งบประมาณที่กกต.แจ้งว่าจะใช้ครั้งละ 3,200 ล้านบาทนั้น เท่ากับต้องใช้งบประมาณสูงถึง 9,600 ล้านบาท จึงขอให้มีการพิจารณาทำประชามติ พ่วงไปกับการเลือกตั้งท้องถิ่นเพื่อลดการใช้งบประมาณลง เพื่อให้สามารถแก้รัฐธรรมนูญควบคู่กับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไปพร้อมกันได้โดยไม่ใช้งบประมาณมากจนเกินไป” นายธนกร กล่าว</p>
<h2><span style="color:#3498db;">'พริษฐ์' ย้ำ รธน.ใหม่ควรถูกร่างโดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด</span></h2>
<p>ผู้จัดการออนไลน์ (https://mgronline.com/politics/detail/9660000114941) รายงานว่านายพริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรคก้าวไกล แสดงความเห็นกรณี นิกร จำนง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ ของรัฐบาล ระบุมีข้อเสนอให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ทั้งหมด 100 คน แบ่งเป็น 77 คนมาจากการเลือกตั้ง (จังหวัดละ 1 คน) และ 23 คนที่คัดเลือกโดยรัฐสภา จากกลุ่มผู้มีความเชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ กลุ่มความหลากหลาย ซึ่งจะทำให้เป็น สสร. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด</p>
<p>นายพริษฐ์ กล่าวว่า ตนและพรรคก้าวไกลยืนยันมาตลอด ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรถูกร่างโดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เพราะจะทำให้กระบวนการมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยมากที่สุด รวมถึงเปิดกว้างมากที่สุดต่อความเห็นที่แตกต่างหลากหลายและการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม เราเห็นต่างกันได้ว่า สสร. ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่ แต่ตนคิดว่าต้องตั้งหลักกันให้ชัด ว่าเราไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่าง “การมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด” กับ “การมี สสร. ที่มีพื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์-กลุ่มความหลากหลาย” เพราะเราสามารถมีทั้งสองอย่างได้ (หากเราต้องการ) ผ่านการออกแบบระบบเลือกตั้ง</p>
<p>ถึงแม้เรายอมเดินหน้าตามสมมุติฐานว่าเราต้อง “รับประกัน” พื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์-กลุ่มความหลากหลาย ใน สสร. (ทั้งที่ความจริงสมมุติฐานนี้ยังมีคนที่มีความเห็นที่แตกต่าง เช่น บางคนมองว่าผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์ไม่จำเป็นต้องอยู่ใน สสร. แต่ให้อยู่ในชั้นคณะกรรมาธิการยกร่าง / บางคนมองว่ากลุ่มดังกล่าวก็ควรจะลงสมัครรับเลือกตั้งผ่านกระบวนการเดียวกับคนทั่วไป) เราสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ โดยยังคงหลักการว่า สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด</p>
<p>กรอบคิดสำคัญที่จะช่วยปลดล็อกความเป็นไปได้คือการมองว่า สสร. ไม่จำเป็นต้องมี สสร. ประเภทเดียว แต่อาจประกอบไปด้วย สสร. ที่แบ่งออกเป็นหลายประเภทที่ล้วนมาจากการเลือกตั้ง (คล้ายกับ สส. ที่ปัจจุบันมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท นั้นคือ สส. แบบแบ่งเขต และ สส. แบบบัญชีรายชื่อ)</p>
<p>โดยทางเลือกหนึ่งคือการแบ่ง สสร. ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภท ก. = สสร. ประเภท ตัวแทนพื้นที่, ประเภท ข. = สสร. ประเภท ตัวแทนผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์ (เช่น นักวิชาการด้านกฎหมาย นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ ผู้มีประสบการณ์การเมืองในระบบ ผู้มีประสบการณ์การเมืองภาคประชาชน) และ ประเภท ค. = สสร. ประเภท ตัวแทนกลุ่มความหลากหลาย (เช่น เยาวชน กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มคนพิการ)
โดย สสร. ทั้ง 3 ประเภทนั้นมาจากการเลือกตั้งทางตรงทั้งหมด โดยใช้วิธีให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคน มีบัตรเลือกตั้งทั้งหมด 3 ใบ ได้แก่:</p>
<p>- บัตรเลือกตั้ง ก. = เลือก สสร. ประเภทตัวแทนพื้นที่ โดยอาจใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง</p>
<p>- บัตรเลือกตั้ง ข. = เลือก สสร. ประเภทตัวแทนผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์ โดยเปิดให้ผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์ที่สนใจเป็น สสร. และผ่านคุณสมบัติที่กำหนด สมัครเข้ามา เพื่อรวบรวมรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์ และเปิดให้ประชาชนเลือกผ่านคูหาเลือกตั้งว่าต้องการผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์เป็นตัวแทนของเขาในฐานะ สสร. ประเภท ข.</p>
<p>- บัตรเลือกตั้ง ค. = เลือก สสร. ประเภทตัวแทนกลุ่มความหลากหลาย โดยเปิดให้ประชาชนที่สนใจเป็น สสร. ตัวแทนกลุ่มความหลากหลาย สมัครเข้ามาโดยระบุในกระบวนการสมัครและการรณรงค์หาเสียงว่าตนเป็นตัวแทนกลุ่มความหลากหลายกลุ่มใดหรือในมิติใด (โดยจะกำหนดหมวดหมู่ต่างๆ เป็นการเฉพาะหรือไม่ก็ได้) เพื่อรวบรวมรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นตัวแทนกลุ่มความหลากหลายต่างๆ และเปิดให้ประชาชนเลือกผ่านคูหาเลือกตั้งว่าต้องการผู้สมัครคนใดเป็นตัวแทนกลุ่มความหลากหลายต่างๆ ในฐานะ สสร. ประเภท ค.</p>
<p>ระบบเลือกตั้งแบบนี้ เป็นเพียงระบบหรือวิธีหนึ่งที่จะทำให้เรามี สสร. ที่มีตัวแทนผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์-กลุ่มความหลากหลายได้ โดยที่ สสร. ทุกคนยังคงมาจากการเลือกตั้ง 100% นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายระบบหรือวิธีที่เป็นไปได้เพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์เดียวกัน ซึ่งทางคณะอนุกรรมาธิการภายใต้คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนราษฎร ที่ตนเป็นประธาน (ซึ่งเคยเชิญคุณนิกรและตัวแทน คณะกรรมการศึกษาฯ ของรัฐบาล มาร่วมประชุมก่อนหน้านี้) ได้ศึกษา-จัดทำข้อเสนอ และกำลังเรียบเรียงเป็นรายงานเพื่อส่งต่อให้สภาผู้แทนราษฎร-คณะรัฐมนตรี-ประชาชน พิจารณาอย่างเป็นทางการในต้นเดือนมกราคม</p>
<p>โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวว่า ตนเข้าใจดีว่าเรามีจุดยืนที่ต่างกันได้ว่า สสร. ควรจะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งความจริง พรรคก้าวไกลเสนอให้เป็น 1 คำถามรองในการทำประชามติเพื่อให้ประชาชนเป็นคนตัดสินใจโดยตรง แต่โปรดอย่าใช้เหตุผลว่าเราต้องมีพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์-กลุ่มความหลากหลาย ใน สสร. มาเป็นเหตุผลในการบอกว่าเราไม่ควรมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด</p>
<p>เพราะหากเราออกแบบระบบเลือกตั้งกันอย่างรอบคอบ เราสามารถมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ที่ยังคงมีพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์-กลุ่มความหลากหลายได้ (หากเราประสงค์ให้มี) โดยไม่จำเป็นต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การแก้ไขรัฐธรรมนูญ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%A3-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สสร.[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ประชามติ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ธนกร วังบุญคงชนะ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พริษฐ์ วัชรสินธุ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107355