[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 24 ธันวาคม 2566 01:36:04



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ผู้ประกันตน-นักวิชาการ แจกการบ้านเตรียมต้อนรับคณะกรรมการประกันสังคมชุดใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 24 ธันวาคม 2566 01:36:04
ผู้ประกันตน-นักวิชาการ แจกการบ้านเตรียมต้อนรับคณะกรรมการประกันสังคมชุดใหม่
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-12-23 18:52</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก/ภาพประกอบ: สหภาพคนทำงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ผู้ประกันตน นักวิชาการ ร่วมสะท้อนปัญหา และข้อเสนอถึงบอร์ดประกันสังคมชุดใหม่ ที่จะมีการเลือกตั้ง 24 ธ.ค.นี้ โดยมีโจทย์ใหญ่คือสังคมผู้สูงวัย การบูรณาการประกันสังคมถ้วนหน้า ยกระดับสวัสดิการ จูงใจคนเข้าระบบ</p>
<p> </p>
<p>23 ธ.ค. 2566 เพจเฟซบุ๊ก The Reporters (https://www.youtube.com/watch?v=GvpIhK1Hbig) ถ่ายทอดสดออนไลน์เมื่อ 12 ธ.ค. 2566 วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ จัดเวทีแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) ประกันสังคมขึ้นที่ห้องประชุมประภาศน์ อวยชัย อาคารเอนกประสงค์ 1 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยเชิญผู้ประกันตน มาตรา 33 39 และ 40 มาร่วมสะท้อนปัญหาของระบบประกันสังคม และข้อเสนอที่อยากให้คณะกรรมการประกันสังคมชุดใหม่ ที่จะมีการเลือกตั้ง 24 ธ.ค.นี้ เข้าไปแก้ไข</p>
<p>ผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย</p>
<ol>
<li>นภาพร อติวานิชยพงศ์ นักวิชาการวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</li>
<li>อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานจากเครือข่ายด้านประชากรข้ามชาติ หรือ MWG ที่จะมาสะท้อนปัญหาของแรงงานข้ามชาติที่เป็นผู้ประกันตน</li>
<li>สุจิน รุ่งสว่าง ตัวแทนผู้ประกันตน ม.40 หรือแรงงานอิสระ หรือไม่มีนายจ้าง</li>
<li>วิภา มัจฉาชาติ ตัวแทนผู้ประกันตน ม. 39 หรือแรงงานรับจ้างทั่วไป</li>
<li>สุธิลา ลืนคำ ตัวแทนผู้ประกันตน ม. 33 หรือลูกจ้างบริษัท</li>
</ol>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/GvpIhK1Hbig?si=B5PKFT1trVWzWm3x" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>การเสวนาแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก นภาพร ได้มาเล่าถึงประวัติการเกิดขึ้นของกระแสธารแนวคิดเรื่อง รัฐสวัสดิการ ที่เริ่มก่อตัวขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อทศวรรษที่ 18 และการประกาศใช้ พ.ร.บ.ประกันสังคม สำเร็จในประเทศไทย ครั้งแรกในปี 2533 ส่วนช่วงที่ 2 เปิดให้ผู้ประกันตนทุกมาตรา สะท้อนปัญหา และข้อเสนอถึงระบบประกันสังคม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เสนอ: ตั้งกองทุนใหม่ พัฒนาสวัสดิการให้แรงงาน</span></h2>
<p>นภาพร อติวานิชยพงศ์ นักวิชาการวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เสนอว่า มองว่า แม้ว่าเราจะมีกองทุนประกันสังคมจะใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ด้วยมูลค่า 2.2-2.3 ล้านล้านบาท และประเทศไทยยังมีกองทุนสวัสดิการอีกจำนวนมากเกือบ 20 กองทุน เช่น กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนเงินทดแทน และอื่นๆ แต่ภาครัฐยังไม่สามารถสร้างรัฐสวัสดิการที่ดีให้กับประชาชนได้ เนื่องจากแต่ละกองทุนมีเงินอย่างละนิดอย่างละหน่อย </p>
<p>นภาพร เสนอการบูรณาการหรือนำเงินจากกองทุนอื่นๆ ราว 10% ของกองทุน ดึงมาอยู่ใน ‘กองทุนกลางเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน’ แยกสักกองทุนหนึ่ง โดยการผ่านกฎหมาย ยกตัวอย่าง กองทุนประกันสังคม เรามีเงินราว 2.2-2.3 ล้านล้านบาท ถ้า 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี คาดว่าจะได้ราว 2 แสนกว่าล้านบาท และถ้าทุกกองทุนแบ่งคนละเล็กน้อย นำมารวมที่กองทุนกลาง เราจะมีเงินมหาศาล และสามารถนำเงินจากกองทุนนี้มาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนได้ </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ประกันสังคมเตรียมรับโจทย์สังคมผู้สูงวัย </span></h2>
<p>อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายด้านประชากรข้ามชาติ หรือ MWG หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา ระบุว่า ตอนนี้ประกันสังคมอาจมีโจทย์เรื่องสังคมผู้สูงอายุ ก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าในปี 2583 หรือ 20 ปีข้างหน้า ตัวเลขของกำลังแรงงานไทยจะลดลงอย่างน้อย 6 ล้านคน แต่ตอนนี้ไม่แน่แล้วว่าภายใน 10 ปีนี้ อาจจะหายไปถึง 7 ล้านคน โจทย์สำคัญตอนนี้คือถ้าเราพึ่งพาระบบประกันสังคมแบบเดิม จะนำเงินที่ไหนมาดูแลผู้สูงอายุระยะยาวได้ ดังนั้น ในแง่ของการผลิตจะมีทางเลือก 2 ทาง ได้แก่ การนำเครื่องจักร หรือนำเทคโนโลยีออโตเมชันเข้ามาทดแทน แต่ว่าจะมีนายจ้างสักกี่รายที่ทำได้ และอีกทางเลือกคือการนำเข้าแรงงานข้ามชาติ ซึ่งคิดว่าอนาคตเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องนำเข้าแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานมากขึ้น </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53415811321_904c3ea4d6_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ขวา) อดิศร เกิดมงคล</span></p>
<p>อดิศร ระบุว่า มี 4 ประเด็นใหญ่ที่อยากฝาก คือเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน รวมถึงแรงงานข้ามชาติ เพราะว่าตอนนี้แรงงานข้ามชาติถูกกีดกันออกจากระบบการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ดังนั้น เราควรหาระบบกลไกรับฟังความคิดเห็นเรื่องประกันสังคมเข้ามาทดแทน ต่อมา เรื่องที่ 2 คือการปฏิรูประบบประกันสังคมให้ชัดเจน โปร่งใส และตรวจสอบได้ </p>
<p>ผู้ประสานงาน MWG ระบุต่อว่า เรื่องที่ 3 คือการลงทุน ที่เป็นไปได้หรือไม่ที่จะหาแหล่งรายได้อื่นๆ เข้ามาช่วยเสริม และสุดท้าย หนึ่งมันเลี่ยงไม่ได้ที่เรารับแรงงานข้ามชาติเข้ามามากขึ้น และกระบวนการผลิตอาจเปลี่ยนไป เราอาจจะเจอผู้ประกันตนที่เป็นวิชาชีพอิสระเพิ่มมากขึ้น และเขาอาจจะกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ เราจะออกแบบตัวประกันสังคมอย่างไรให้มันสอดรับกับทุกคน ซึ่งก็คือเรื่องประกันสังคมถ้วนหน้า</p>
<p>นภาพร เสนอโจทย์ให้ผู้ที่ชนะเลือกตั้ง เข้าไปเป็นบอร์ดประกันสังคม อาจต้องคิดถึงเรื่องการขยับเพดานเงินสมทบจาก 15,000 บาท เป็น 50,000 บาท และจำเป็นต้องปรับอัตราเงินสมทบในระดับสูงโดยเร็ว โดยอาจตั้งเป้าว่าภายใน 25 ปีข้างหน้า ต้องปรับเพิ่มเงินสมทบเป็นร้อยละ 30 ของฐานเงินเดือน เพื่อรองรับโจทย์สังคมผู้สูงวัย ซึ่งหากตัดสินใจช้าเกินไปเงินกองทุนอาจไม่พอใช้ </p>
<p>ด้านสุจิน รุ่งสว่าง ตัวแทนผู้ประกันตน ม.40 และหนึ่งในผู้ร่วมเสวนา แสดงความกังวลถึงความยั่งยืนของกองทุน และมองว่าบอร์ดฯ ต้องหาวิธีดึงให้แรงงานอิสระ ซึ่งตอนนี้มีจำนวนประมาณ 21.6 ล้านคน ให้เข้ามาในระบบประกันสังคมมากขึ้น เพราะตอนนี้มีเพียง 10 กว่าล้านคนเท่านั้น ที่ส่งสมทบกองทุนฯ ซึ่งเป็นจำนวนน้อยมาก แต่การเพิ่มสิทธิประโยชน์อาจช่วยสร้างแรงจูงใจตรงนี้ได้ </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">บูรณาการประกันสังคมถ้วนหน้า จูงใจคนเข้ากองทุน</span></h2>
<p>เสียงสะท้อนจากวงเสวนาในเรื่องต่อมา คือการทำประกันสังคมถ้วนหน้า หรือผู้ประกันตน ทุกมาตรา ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน อดิศร แจกโจทย์ก่อนแล้วว่า เรื่องนี้อาจต้องคำนึงถึง เนื่องจากต่อไปประเทศไทย อาจมีแรงงานอิสระมากขึ้น และการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้เท่ากันทุกมาตรา เป็นเรื่องจำเป็น</p>
<p>สุจิน มองว่า เป็นไปได้ไหมในระยะสั้น เธออยากให้ผู้ประกันตน มาตรา 40 (ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ) ซึ่งตอนนี้สามารถส่งสมทบ 3 รูปแบบ คือ คนรวย คนปานกลาง และคนจน โดย 1. ‘คนจน’ สมทบ 70 บาท รัฐช่วยออกให้ 30 บาท 2. ‘คนปานกลาง’ สมทบ 100 บาท รัฐช่วยออกให้ 50 บาท และ 3. ‘คนรวย’ แรงงานส่งสมทบ 300 รัฐออกให้ 150 บาท </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53414891837_e16c2a4782_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ขวา) สุจิน รุ่งสว่าง</span></p>
<p>ในความเห็นของสุจิน ควรปรับให้เหลือช่องทางเดียวและควรได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากัน นอกจากนี้ เธออยากให้ภาครัฐขยับเพดานส่งสมทบ เพื่อช่วยเหลือแรงงานที่รายได้น้อย สุดท้าย เธอเสนอว่าควรให้ผู้ประกันตนทุกมาตรา ได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากัน หรือเหลือแค่มาตรา 33 และ 39</p>
<p>ความเห็นนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับตัวแทนผู้ประกันตนมาตรา 39 วิภา มัจฉาชาติ และตัวแทนผู้ประกันตน มาตรา 33 สุธิลา ลืนคำ โดยวิภา สะท้อนว่าถ้าทำให้สิทธิประโยชน์เท่ากัน เธอเชื่อว่าจะสามารถจูงใจคนให้ส่งสมทบประกันสังคม ก่อนหน้านี้ เธอเคยไปถามผู้ประกันตนว่า อยากส่งสมทบประกันสังคมบ้างไหม บางคนบอกเลยว่าไม่อยาก เพราะมันไม่ตอบโจทย์ และไม่คุ้มค่าในการส่ง </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปรับปรุงระบบเลือกตั้งต้องเข้าถึงได้ทุกคน</span></h2>
<p>นภาพร จากฝ่ายวิชาการ เสนอว่า เป็นไปได้หรือไม่ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ไม่ควรต้องให้ผู้ประกันตนทุกมาตราลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่ควรเป็นระบบอัตโนมัติ และสามารถใช้สิทธิจากสถานที่ทำงานได้เลย เพื่ออำนวยความสะดวก และลดขั้นตอนยุ่งยากให้กับแรงงาน </p>
<p>ขณะที่วิภา มัจฉาชาติ ผู้แทนมาตรา 39 มีข้อเสนอถึงผู้ที่ได้เข้าไปเป็นบอร์ดประกันสังคม 3 ข้อใหญ่ 1. แก้ไขระเบียบการเลือกตั้งต่างๆ 2. กระจายงบประมาณมาให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 39 และ 40 ไม่กระจุกที่ใดที่หนึ่ง และ 3. ลดงบประมาณที่ไม่จำเป็นลง เช่น งบประมาณจัดทำปฏิทินประกันสังคม หรืออื่นๆ และเปลี่ยนมาเป็นเรื่องสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53416247310_dc16aa4d13_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ซ้าย) วิภา มัจฉาชาติ</span></p>
<p>วิภา ชี้แจงว่า เรื่องระเบียบเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมตอนนี้ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ของแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มมาตรา 39 และ 40 เนื่องจากระเบียบรับสมัครเป็นคณะกรรมการ ในคณะกรรมการประกันสังคม ระบุว่า ผู้ประกันตนต้องส่งสมทบติดต่อกัน 36 เดือน หรือว่า 3 ปี ซึ่งยากมากสำหรับผู้ประกันตน มาตรา 39 และ 40 เนื่องจากแรงงานอิสระรับจ้างทั่วไปไม่มีความมั่นคงด้านรายได้และการงานมากพอที่จะส่งสมทบติดต่อกัน 36 เดือน </p>
<p>สุจิน ตัวแทนมาตรา 40 มองเช่นเดียวกันว่า ระบบเลือกตั้งผลักให้ผู้ประกันตน มาตรา 40 ออกจากบอร์ดประกันสังคม เธอวิจารณ์เรื่องหน่วยเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมว่า ถ้าเรายังใช้ระบบแบบนี้แรงงานนอกระบบจะไม่สามารถเข้าไปสู่เป็นบอร์ดประกันสังคมได้เลย เนื่องจากเรามีหน่วยเลือกตั้งที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด แต่คนที่อยู่ตามชายแดน ตำบล หรือพื้นที่ห่างไกล ต้องเดินทางมาที่อำเภอเมือง ต้องจ่ายค่ารถอาจจะประมาณ 500-1,000 บาท เพื่อมาเลือกตัวแทนแรงงานมาตรา 40 ของพวกเขาให้เข้าไปเป็นคณะกรรมการประกันสังคม ซึ่งมันเพิ่มภาระให้กับประชาชนที่ยากจนและอยากเลือกตั้ง อยากให้เลือกตั้งคราวหน้าควรคิดเรื่องนี้ให้มันสอดคล้องกับแรงงานที่มาใช้สิทธิ</p>
<p>อดิศร เสนอว่า ตอนนี้แรงงานข้ามชาติไม่สามารถเลือกตั้งได้ เนื่องจากระเบียบเลือกตั้งกำหนดว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งถ้ามองในแง่นี้ไม่ได้แค่เฉพาะแรงงาน 3-4 สัญชาติเท่านั้น แต่มีแรงงานไร้สัญชาติด้วย ซึ่งมีจำนวนถึง 1.5 ล้านคน พอเขาเลือกตั้งไม่ได้ คำถามคือผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งสักกี่คนจะสนใจปัญหาของพวกเขา ดังนั้น ถ้าได้เข้าไปเป็นคณะกรรมการประกันสังคม อยากเสนอแก้ไขให้ตัวของแรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงการเลือกตั้งของบอร์ดประกันสังคมด้วย</p>
<p>อดิศร ระบุด้วยว่า ก่อนหน้านี้ตัวหนังสือของ กสม. ส่งไปที่สำนักงานประกันสังคมแล้วว่า การกำหนดแบบนี้ในระเบียบเลือกตั้งขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน แต่ประกันสังคมอธิบายว่าเป็นเรื่องสิทธิทางการเมือง และการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน </p>
<p>วิภา มองด้วยว่า สำนักงานประกันสังคมต้องปรับปรุงเรื่องการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมด้วย เนื่องจากตัวเลขของผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งมีเพียง 8 แสนราย ซึ่งน้อยมาก ขณะที่ตัวเลขผู้ประกันตน มาตรา 33 39 และ 40 มีถึงหลายสิบล้านคน ทั้งที่ใช้งบประมาณเยอะมากในการจัดเลือกตั้ง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เพิ่มวาระ 2 ปี เป็น 4 ปี ให้นโยบายต่อเนื่อง</span></h2>
<p>สุจิน เสนอเพิ่มวาระ บอร์ดประกันสังคม จาก 2 ปี เป็น 4 ปี เพื่อให้การผลักดันนโยบาย และการทำงานต่อเนื่อง</p>
<p>วิภา เสนอว่า อยากให้มีการกระจายเงินในกองทุนประกันสังคม หรืองบประมาณต่างๆ เพื่อนำมาใช้ด้านการศึกษาให้กับผู้ประกันตนมาตรา 39 หรือ 40 เพื่อให้มาตรา 39 หรือมาตรา 40 ได้เรียนรู้เรื่องประกันสังคมมากขึ้น </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปรับปรุงสิทธิประโยชน์รักษาพยาบาล</span></h2>
<p>สุธิลา ลืนคำ ตัวแทนผู้ประกันตน มาตรา 33 กล่าวว่า มาตรา 33 มันมี 7 กรณีสิทธิประโยชน์ มันควรปรับปรุง หลายกรณีอย่างเราไปทำฟัน ได้เงินช่วยเหลือ 900 บาท แต่ 900 บาททำอะไรได้ และต้องเสียค่าธรรมเนียม 50 บาทอีก แต่พอไปรักษาโรคทันตกรรมแล้วมีส่วนต่าง เช่น กรณีครอบรากฟัน สาเหตุจากฟันผุ ค่ารักษาหมดเป็นหมื่นบาท ซึ่งสิทธิประโยชน์สำหรับทำฟันมันไม่พอ และเราอยู่ในประเทศที่ค่าครองชีพต่ำด้วย มันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง มันไม่เพียงพอ เธอเลยอยากให้มีการปรับปรุงสิทธิการรักษา 7 กรณี </p>
<div class="note-box">
<p>ทั้งนี้ 7 สิทธิประโยชน์จากประกันสังคมของมาตรา 33 ประกอบด้วย 1. สงเคราะห์บุตร 2. คลอดบุตร 3. อันตราย หรือเจ็บป่วย 4. ทุพพลภาพ 5. ว่างงาน 6. ชราภาพ และเสียชีวิต สำหรับการรักษาโรคทันตกรรม อยู่ในกรณีที่ 3 อันตราย และเจ็บป่วย ซึ่งกำหนดว่า ผู้ประกันตนสามารถขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด ในวงเงินรวมไม่เกิน 900 บาทต่อปี </p>
</div>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53416247315_4310c8b11d_b.jpg" /></div>
<div style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ซ้าย) สุธิลา ลืนคำ</span></div>
<h2><span style="color:#2980b9;">แรงงานข้ามชาติ: ค่าคลอดบุตรไม่ต้องสำรองจ่าย </span></h2>
<p>อดิศร นักรณรงค์สิทธิแรงงานข้ามชาติ มองว่า ตอนนี้ปัญหาแรงงานข้ามชาติคือการเข้าถึงการรักษาพยาบาล เขาเชื่อว่า 5 อันดับแรก โรคที่เจอมันเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน ความดัน หรือหัวใจ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน และส่งเสริมได้ เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะลดงบฯ ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล และไปเสริมระบบป้องกันโรคให้มากขึ้น </p>
<p>อดิศร กล่าวต่อว่า อีกประเด็นที่อยากให้แก้ไขคือสิทธิประโยชน์การชราภาพ ใน พ.ร.ก.ระบุชัดเจนว่า กรณีของแรงงานข้ามชาติว่าในกรณีที่ต้องใช้สิทธิชราภาพ ในกรณีที่ต้องกลับบ้านไป สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ชราภาพได้เลยไม่ต้องรออายุ 55 ปี แต่ประกันสังคมไปออกกฎหมายว่า ถ้าจะใช้สิทธินี้ไทยต้องทำข้อตกลงกับประเทศนั้นๆ ก่อน ซึ่งตอนนี้ไม่มีใครทำข้อตกลงกับไทยเลย เพราะว่าสิทธิประโยชน์ของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน มันเลยไม่ล็อกเขาว่าต้องให้เงินชราภาพเท่านั้นเท่านี้ตามเรา มันเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น มันเป็นเทคนิคที่รัฐใช้เลี่ยงสิทธิประโยชน์นี้เข้ามา </p>
<p>ผู้ประสานงาน MGW ระบุต่อว่า ต่อมาคือการแก้ไขสิทธิค่าคลอดบุตรที่ต้องสำรองจ่ายเงินก่อน เพราะในหลายๆ ประเทศ รวมถึงไทย การคลอดบุตรเป็นสิทธิพื้นฐานในเรื่องของสุขภาพ แต่ปัญหาที่เราเจอคือว่าประกันสังคมจะคลอดบุตรต้องออกเงินก่อน และให้ขอคืนทีหลัง ทำให้แรงงานข้ามชาติที่ต้องการคลอดบุตร ต้องสะสมเงินให้ได้อย่างน้อย 1 หมื่นกว่าบาท อัตราค่าแรงขั้นต่ำมันต่ำมากกว่าจะสะสมได้ การที่จะต้องสะสมเงินมันเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น มันเกิดภาวะฟุ่มเฟือยเพื่อคลอดบุตร มันเกิดภาวะตัวดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมา อันนี้ต้องเปลี่ยนกรอบคิดใหม่  </p>
<p>นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนออื่นๆ เช่น การปรับปรุงบำนาญชราภาพของมาตรา 39 ที่น้อยเกินไป การผลักดันกฎหมายประกันสังคมต้องให้สอดคล้องกับอนุสัญญาหรือมาตรฐานสากล ระบบมอนิเตอร์การทำงานของสำนักงานประกันสังคมเพื่อป้องกันผู้ประกันตนตกหล่น และต้องมีการปฏิรูประบบสวัสดิการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน นอกเหนือจากปัจจัย 4 เช่น การเพิ่มเรื่องสิ่งแวดล้อม การคมนาคม หรืออื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเป็นสวัสดิการได้เช่นกัน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงาน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ผู้ประกันตน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B2-%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สุธิลา ลืนคำ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อดิศร เกิดมงคล[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2-%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วิภา มัจฉาชาติ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สุจิน วงษ์สว่าง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107358