[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 02 มกราคม 2567 00:07:21



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - รมว.พม. แจงปมเบี้ยผู้สูงอายุ ต้องดูฐานะการเงินรัฐบาล
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 02 มกราคม 2567 00:07:21
รมว.พม. แจงปมเบี้ยผู้สูงอายุ ต้องดูฐานะการเงินรัฐบาล
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-01-01 15:25</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แจงปมเบี้ยผู้สูงอายุ ต้องดูฐานะการเงินรัฐบาล ระบุคนวัยทำงานน้อยลงกระทบรายได้ประเทศลดตาม สวนทางยอดคนชรามากขึ้น - เตรียมจัดสัมมนาแก้ปัญหาโครงสร้างประชากร ขอทุกหน่วยงานร่วมมือจริงจัง เหตุเด็กเกิดใหม่ลดลง หวั่นประชากรของไทยลดฮวบในอนาคต</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/49023059927_44e3979c67_o_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">แฟ้มภาพ</span></p>
<p>1 ม.ค. 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงกรณีที่มีองค์กรผู้สูงอายุบางส่วนเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ว่า ประเทศไทยกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบแล้ว และอีกไม่กี่ปีจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุสุดยอดซึ่งมีประชากรผู้สูงอายุเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด จึงแสดงให้เห็นว่าคนวัยทำงานจะมีจำนวนน้อยลง สวนทางปริมาณของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้ของรัฐบาลหรือของประเทศมาจากภาษี ซึ่งถ้าคนทำงานมีน้อยลง รายได้ของประเทศก็จะลดลง แต่ผู้ที่ต้องการใช้สวัสดิการดังกล่าวมีจำนวนเพิ่มขึ้น</p>
<p>นายวราวุธ กล่าวอีกว่า ตนก็อยากให้ผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพ 3,000 หรือ 5,000 บาท แต่อยากให้ทุกคนคำนึงถึงรายรับของรัฐบาลด้วย มิฉะนั้นประเทศเราจะยังอยู่ในวังวนการกู้ยืมเงินแล้วเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ทั้งนี้เราเห็นใจผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องมีเบี้ยผู้สูงอายุ ซึ่งพม.จะทำให้ดีที่สุดในการกระจายให้ทั่วถึงประชาชนที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปทุกคน ขณะเดียวกันจำเป็นต้องคำนึงถึงฐานะทางการเงินของรัฐบาลด้วย ซึ่งไม่เพียงกรณีของเบี้ยผู้สูงอายุ ยังรวมถึงเรื่องเบี้ยผู้พิการและเงินอุดหนุนสำหรับเด็กแรกเกิดด้วย</p>
<h2><span style="color:#3498db;">เตรียมจัดสัมมนาแก้ปัญหาโครงสร้างประชากร</span></h2>
<p>นายวราวุธ ยังกล่าวถึงงานของกระทรวง พม.ที่จะเร่งดำเนินการในปี 2567 ว่ากระทรวงพม.จะจัดสัมมนาเกี่ยวกับโครงสร้างประชากร ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 โดยเราถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทยในขณะนี้ เพราะปัจจุบัน ประเทศไทยมีอัตราการเกิดอยู่ที่ประมาณ 400,000 กว่าคน แต่อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 600,000 คน ถือว่าติดลบ ถ้ายังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้ประชากรของไทยลดลงเหลือ 33 ล้านคน ภายในเวลา 50-60 ปีจากนี้ไป ซึ่งแปลว่าคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตขึ้นมา จะกลายเป็นกลุ่มคนที่ต้องรับภาระมากมายในสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ</p>
<p>นายวราวุธ กล่าวอีกว่า ดังนั้น ปัญหาทางสังคมและโครงสร้างประชากรของไทยในขณะนี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยการผนึกกำลังของทุกภาคส่วน ไม่ใช่แค่การส่งเสริมให้มีจำนวนเด็กแรกเกิดเพิ่มขึ้น เพราะเรากำลังมีปัญหาที่ประชาชนกลุ่ม Gen Y หรือกลุ่ม Gen Z ไม่อยากจะมีครอบครัวและไม่อยากมีผู้สืบสกุล ทุกกระทรวงและทุกหน่วยงานจึงต้องร่วมผนึกกำลังกันแก้ไขปัญหา และร่วมสร้างสังคมให้มีความอบอุ่น มีความปลอดภัย และมีคุณภาพ เพื่อทำให้กลุ่มคนเหล่านี้รู้สึกถึงความปลอดภัยและความอุ่นใจในการสร้างครอบครัวและมีลูกหลาน</p>
<p><span style="color:#3498db;">ที่มาเรียบเรียงจากสำนักข่าวไทย </span><span style="color:#3498db;">[1]</span> (https://tna.mcot.net/politics-1296497)<span style="color:#3498db;"> </span><span style="color:#3498db;">[2]</span> (https://tna.mcot.net/politics-1296483)<span style="color:#3498db;"> </span></p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เศรษฐกิจ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ผู้สูงอายุ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สวัสดิการ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เบี้ยผู้สูงอายุ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%98-%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วราวุธ ศิลปอาชา[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคมสูงวัย[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107461