หัวข้อ: วายร้ายก็มีเหตุผล? สำรวจหลักการเหล่าร้าย สะท้อนอีกมุมของฮีโร่ใน My Hero Academia เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 12 มกราคม 2567 09:02:39 วายร้ายก็มีเหตุผล? สำรวจหลักการของเหล่าร้าย ภาพสะท้อนอีกมุมของฮีโร่ใน My Hero Academia (https://thematter.co/wp-content/uploads/2022/09/MHA_web-600x454.jpg) (บทความนี้เปิดเผยข้อมูลของวายร้ายที่ปรากฏในการ์ตูนเรื่อง My Hero Academia) เขาว่ากันว่าการจะเขียนฮีโร่ที่ดีได้ เขาต้องมีตัวร้ายที่ดีพอ เว้นไว้สำหรับไม่กี่เรื่อง การ์ตูน หนัง หนังสือ หรือสื่อบันเทิงใดๆ ในปัจจุบันมักจะก้าวออกจากการเขียนตัวร้ายที่อยากครองโลกโดยไม่มีเหตุผลหรืออยากทำลายล้างจักรวาลเพราะอะไรก็ไม่รู้ไปนานแล้ว ด้วยเหตุผลว่าการเขียนตัวร้ายที่ไม่อาจเป็นที่เข้าใจหรือไร้แก่นสาร การกระทำที่หยุดพวกเขาโดยฮีโร่นั้นก็จะขาดมิติไปโดยปริยาย ในยุคสมัยที่มีสื่อฮีโร่และยอดมนุษย์อยู่ในกระแสหลักมากมายเช่นนี้ก็นำมาสู่ยุคที่เราได้เห็นการเขียนตัวร้ายที่หลากหลายมากขึ้น อาจเป็นตัวร้ายที่เป็นภาพกระจกดำมืดสะท้อนฮีโร่ ขั้วตรงข้ามของกันและกัน หรือคนคนเดียวกันที่เจอวันแย่ๆ อันเปลี่ยนชีวิตของเขาไปตลอดกาล ฯลฯ และหนึ่งในเรื่องที่อัดแน่นไปด้วยฮีโร่และวายร้ายของพวกเขาคือ ‘My Hero Academia’ การ์ตูนโชเน็นเกี่ยวกับโรงเรียนยอดมนุษย์ในโลกที่ประชากรจำนวนมากมีพลังวิเศษหรือ ‘อัตลักษณ์’ ที่หลากหลายและแตกต่างกัน แต่สิ่งที่ทำให้พวกเขาโดดเด่นคือวิธีที่พวกเขาแต่ละคนเลือกใช้พลังเหล่านั้น และบ่อยครั้งการเลือกใช้อัตลักษณ์และอำนาจของตัวละครหลายๆ คนนำพาให้พวกเขาจัดหมวดหมู่อยู่ในการเป็น ‘วายร้าย’ และในขณะที่เราจะไม่เถียงเลยว่าการกระทำของคนกลุ่มนี้จะเป็นที่ยอมรับว่าไม่ผิดได้หรือเปล่า เพราะคำตอบที่ชัดเจนคือผิดแน่ๆ ในหลายๆ ส่วน แต่โดยมากแล้วเหล่าวายร้ายตลอดเรื่องนั้นมีหลักการภายในที่น่าสนใจและเป็นที่เข้าใจได้เสมอ มากไปกว่านั้น บ่อยครั้งวายร้ายของเรื่องนี้ทำให้เราพินิจแนวคิดและแง่มุมต่างๆ ของการเป็นฮีโร่ผ่านหลักการของพวกเขาอีกด้วย Stain (https://thematter.co/wp-content/uploads/2022/09/album-MHA-02.png) เช่นเดียวกันกับหลายๆ คนในโลกของ My Hero Academia ‘อาคากุโระ ชิโซเมะ’ เองก็มองไปยังออลไมต์ ฮีโร่หมายเลข 1 เป็นตัวอย่างในชีวิตของเขา ในขณะที่บางคนอาจจะมองไปยังความแข็งแกร่ง บ้างอาจมองไปยังความกล้าหาญ บางคนอาจมองไปยังความไม่ย่อท้อ แต่ชิโซเมะมองว่าออลไมต์เป็นมากกว่าฮีโร่ แต่เป็นบรรทัดฐาน บรรทัดฐานสำหรับจริยธรรมที่เขาจะใช้วัดคุณค่าของผู้มีอัตลักษณ์ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นฮีโร่หรือวายร้าย ภายใต้ชื่อ ‘สเตน’ เขาเฝ้ามองโลกและการต่อสู้ระหว่างวายร้ายและฮีโร่ และไม่ว่าจะเป็นใคร หากคนคนนั้นในอัตลักษณ์ เขาจะนำบรรทัดฐานสูงลิบของเขาวัดว่าคนคนนั้นควรค่าต่อการเป็นฮีโร่หรือไม่ และหากคำตอบคือไม่ (โดยมากจะเป็นไม่) ด้วยดาบและอัตลักษณ์ทำให้เลือดแข็งตัวของเขา เขาจะปลิดชีวิตของฮีโร่คนนั้น เป็นที่มาของฉายา ‘สเตน มือสังหารฮีโร่’ สำหรับสเตนแล้วโลกไม่มีพื้นที่สีเทา หากไม่สามารถเป็นผู้มีอัตลักษณ์ที่สมบูรณ์แบบตามบรรทัดฐานของเขาได้ เช่น ใช้อัตลักษณ์เพื่อสนองอีโก้ของตัวเองหรือใช้มันด้วยเหตุผลที่เห็นแก่ตัว ใช้ความรุนแรงโดยใช่เหตุ ฮีโร่คนนั้นจะถูกมองว่าไม่ต่างไปจากวายร้ายในสายตาของสเตน และแม้จะเป็นผู้ตัดสินโลก สเตนไม่คิดว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม แต่มองว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมเสียมากกว่า ฉะนั้นเขาอาจมองตัวเองเป็นผู้ที่ยอมมือสกปรกเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ที่เราอาจเรียกได้ว่าเป็นจุดสังเกตของ Savior Complex พฤติกรรมที่คนคนหนึ่งมองว่าตัวเองต้องช่วยผู้อื่นตลอดเวลาเพราะเขาเป็นผู้เดียวที่มีคำตอบและความสามารถ และแม้ในเรื่องนี้สเตนจะเป็นวายร้าย ก็น่าคิดว่าพฤติกรรมนี้เองก็เป็นสิ่งที่อยู่ในกลางความเชื่อฮีโร่หลายๆ คนหรือคนผู้หวังดีจำนวนมากในโลกของเราเหมือนกัน Toga (https://thematter.co/wp-content/uploads/2022/09/album-MHA-03.png) ครั้งแล้วครั้งเล่าความรักนำไปสู่โศกนาฏกรรม และสำหรับ ‘โทกะ ฮิมิโกะ‘ ความรักเป็นใจกลางของตัวละครของเธอ อัตลักษณ์ของโทกะคือการแปลงร่างเป็นเหยื่อผ่านการดื่มเลือด และมันเชื่อมโยงโดยตรงกับตัวละครของเธอในทุกแง่มุม การดื่มเลือดไม่ใช่เรื่องธรรมดาในสานตาของสังคม แต่สำหรับโทกะ นั่นคือการแสดงความรักในระดับที่สูงที่สุด และการแสดงความรักนั้นนำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันของโทกะและเหยื่อของเธอ โลกจากมุมมองของโทกะแตกต่างจากคนอื่น นกชุ่มเลือดเป็นสิ่งน่ารักสำหรับเธอ แต่เมื่อสังคมและพ่อแม่รู้ความชอบของเธอสิ่งที่พวกเขาทำคือบังคับให้เธอกดข่มความแตกต่างนั้นเอาไว้ แทนที่จะหาวิธีช่วยเหลือให้เธอสามารถเข้าหาสังคมได้อย่างปกติ การกดทับนี้นำพาให้เธออยู่สังคมใต้หน้ากากของเด็กนักเรียนหญิงธรรมดาทั่วไป และเมื่อไม่มีใครสอนว่าเธอต้องจัดการกับความแตกต่างนี้ยังไงหน้ากากของเธอก็หลุดออกในที่สุด และหน้าจริงที่ธรรมดาสำหรับเธอคือสิ่งที่สังคมไม่อาจยอมรับได้ เพราะการกดทับตัวตนของเธอนำไปสู่การกระทำที่เธอไม่อาจหนีได้ การฆาตกรรมเพราะความรัก และเมื่อสังคมผลักไสเธอถึงที่สุดคนกลุ่มเดียวที่ไม่ปฏิเสธความธรรมดาในรูปแบบที่เธอถูกสอนให้เรียนรู้เองทั้งชีวิตคือเหล่าวายร้ายนั่นเอง ใน My Hero Academia ฮีโร่และวายร้ายเกือบทุกคนเกิดขึ้นมาพร้อมกับอัตลักษณ์อะไรสักอย่าง ให้พูดในสายตามนุษย์คือไม่มีใครธรรมดาทั้งสิ้น ในกรณีของโทกะสิ่งที่อดคิดไม่ได้เลยคือจะเป็นอย่างไรหากเธอไม่ถูกบังคับให้ปิดบังตัวตนของตัวเอง และได้รับการสนับสนุนเช่นเดียวกันกับเด็กนักเรียน UA หลายๆ คนให้กลายเป็นฮีโร่ แทนที่จะกดทับไม่ให้พูดถึงจนกลายเป็นวายร้ายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ทัน Re-destro (https://thematter.co/wp-content/uploads/2022/09/album-MHA-04.png) อัตลักษณ์เป็นสิ่งที่ควรถูกปลดปล่อย ไม่ใช่เก็บงำ เป็นความเชื่อที่ตกทอดกันมาภายในครอบครัวของ ‘โยซึบาชิ ริคิยะ’ หรือ รี-เดสโทร ที่เชื่อว่าเช่นเดียวกันกับที่มนุษย์ธรรมดาหายใจ อัตลักษณ์เองก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรถูกกดทับและควบคุม แต่ว่าผู้มีอัตลักษณ์ควรที่จะมีอิสระในการใช้มันตามความต้องการของพวกเขา และนั่นจะเป็นวิธีที่จะสามารถทำให้สังคมที่เต็มไปด้วยผู้มีพลังวิเศษจะคงอยู่ได้ ตัวอย่างเช่น หนึ่งในเหตุผลที่คนคนหนึ่งจะกลายเป็นวายร้ายนั้นอาจมาจากการควบคุมการใช้อัตลักษณ์นั้นเองแต่แรก เพราะเมื่อสังคมยังคงเชื่อว่าคนคนหนึ่งต้องอยู่ภายใต้กฎและกรอบที่สังคมวาดไว้ ตัวเลือกของคนที่เกิดมาโดยเลือกอัตลักษณ์ของตัวเองไม่ได้นั้นมีอยู่อย่างจำกัด การประนีประนอมเป็นส่วนสำคัญของการคงโครงสร้างทางสังคมเอาไว้ และนั่นอาจไม่ต่างกันทั้งในสังคมของเราหรือสังคมที่เต็มไปด้วยคนที่มีพลังเหนือมนุษย์ อิสระเป็นหนึ่งในสิ่งที่เราส่วนมากย่อมเชื่อในการต่อสู้เพื่อให้ได้มา ในขณะเดียวกันสังคมเองก็ถูกสร้างขึ้นมาจากกฎเกณฑ์ เช่นนั้นแล้วหากกฎเกณฑ์ที่มีไม่สามารถสนับสนุนคนทุกคนได้ การดึงโครงสร้างลงมาทั้งหมดหรือการประนีประนอมเพื่อเปลี่ยนแปลงจะสำคัญกว่ากัน? Overhaul (https://thematter.co/wp-content/uploads/2022/09/album-MHA-05.png) อัตลักษณ์คือโรคที่ทำลายโครงสร้าง นั่นคือความเชื่อของ ‘ชิซากิ ไค‘ ยากูซ่ากลัวโรคผู้เชื่อว่าตัวเองสามารถเป็นยารักษาเชื้อโรคอัตลักษณ์ที่ทำลายโครงสร้างของโลกที่ควรจะเป็น และจะเป็นผู้ที่พามันกลับไปสู่สภาพที่มันเคยเป็นก่อนจะมีอัตลักษณ์เข้ามาเปลี่ยนมัน โลกที่ยากูซ่าเคยเป็นองค์กรอาชญากรรมที่ทรงอำนาจกว่านี้ ในขณะที่เราหลายๆ คนอาจคิดว่ามนุษย์นั้นมีหลักศีลธรรมภายในตัวเองแต่แรก แล้วการเกิดอัตลักษณ์เป็นเหมือนการกระตุ้นอีกแรงที่นำไปสู่การเป็นฮีโร่และวายร้าย แต่โอเวอร์ฮอลมองว่ารากของปัญหาอยู่ที่อัตลักษณ์ต่างหากที่นำไปสู่การก่อร่างศีลธรรมและความต้องการทำชั่วดีของบุคคล การทำลายมันจากโลกจึงเป็นหนทางเดียว แต่โอเวอร์ฮอลก็ลักลั่นในแนวคิดของตัวเอง ในขณะที่เขาอยากทำลายเชื้อโรคอัตลักษณ์ ในความเป็นจริงแล้วโลกที่เขาเล็งเห็นไม่ใช่สังคมปลอดโรค แต่เป็นสังคมที่ป่วยจากอีกโรคต่างหาก นั่นคือเขาต้องการปลุกอำนาจของยากูซ่า กลุ่มคนที่เขาเชื่อว่าแม้จะเป็นอาชญากรก็ยังมีเกียรติและศักดิ์ศรีกว่าฮีโร่หรือวายร้ายในปัจจุบัน ในขณะที่ตัวของเขาเองไม่สนใจในสังคมหรือแม้แต่คนรอบข้างของเขาเลย ดูเหมือนว่าความกลัวโรคและการสัมผัสของเขานั้นจะลึกกว่าแค่อาการทางกายภาพ โอเวอร์ฮอลเป็นภาพสะท้อนของคนผู้มีอำนาจ ความสามารถ และความมุ่งมั่น แต่ขาดแนวคิดที่มั่นคง การไตร่ตรองตรรกะภายในของตัวเอง มุมมองต่อตัวเองที่ซื่อตรง และการให้ค่าคนรอบข้างทุกคนอย่างแท้จริง ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ต้องนึกถึงไม่ว่าจะเป็นฮีโร่หรือวายร้าย Shigaraki (https://thematter.co/wp-content/uploads/2022/09/album-MHA-06.png) ‘เด็กผู้ไม่เคยได้รับอ้อมกอดจากหมู่บ้านของเขา จะเผามันเพียงเพื่อจะเอาความอบอุ่นจากกองเพลิง’ คำกล่าวพื้นบ้านจากแอฟริกาว่าไว้ และมันน่าจะเป็นคำกล่าวที่เล่าเรื่องราวของ ‘ชิการาคิ โทมูระ’ ได้ดีกว่าอะไรทั้งสิ้น ชิการาคิต้องการทำลายสังคมฮีโร่ โดยความต้องการนี้ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่วัยเด็ก ก่อนจะเป็นโทมูระ เขาเคยชื่อชิมูระ เท็นโกะ หลานของยอดมนุษย์ และลูกชายของพ่อผู้เกลียดยอดมนุษย์ พ่อที่ทำโทษเขาทุกครั้งที่เขาพูดถึงฮีโร่ หลังจากอุบัติเหตุทำให้อัตลักษณ์การย่อยสลายของเขาคร่าชีวิตคนทั้งครอบครัว ‘ออลฟอร์วัน’ รับเท็นโกะมาเลี้ยงพร้อมมอบชื่อใหม่และนามสกุลของตัวเองแก่เขา ชิการาคิ โทมูระ ด้วยความต้องการจะให้เขากลายเป็นผู้สานต่อเจตจำนงของเขา โทมูระเกลียดออลไมต์ยิ่งกว่าใคร ไม่ใช่เพราะเขาเป็นฮีโร่หมายเลขหนึ่ง แต่ด้วยเหตุผลที่เขาเกลียดชีวิตในทุกสิ่ง และออลไมต์เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังของสังคมที่ทอดทิ้งเขา ในที่นี้หมู่บ้านไม่ได้หมายถึงครอบครัว แต่คือสังคมที่เชื่อว่าเด็กน้อยคนหนึ่งที่หลงอยู่บนท้องถนนสักพักเดี๋ยวก็มีฮีโร่เข้ามาช่วยเอาไว้เอง และเขาต้องการที่จะทำลายมันด้วยมือของเขาเอง โทมูระเป็นตัวละครที่ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นภาพสะท้อนต่อมิโดริยะ อิสึกุ ตัวละครเอกของเรื่อง ทั้งสองแทบจะมีจังหวะชีวิตและการเติบโตในด้านตัวละคร แนวคิด และความสามารถไปพร้อมๆ กัน และต้องรอดูกันต่อไปว่าสุดท้ายแล้วงกระจกบานนี้เมื่อส่องเข้าไปแล้ว ใบหน้าที่อยู่อีกฝั่งจะคล้ายกันขนาดไหน จาก https://thematter.co/entertainment/my-hero-academia-villains-explored/186812 (https://thematter.co/entertainment/my-hero-academia-villains-explored/186812) https://www.youtube.com/v//fqMHdYPxl3Y https://youtu.be/fqMHdYPxl3Y?si=Sllhtls18qTFDWm3 (https://youtu.be/fqMHdYPxl3Y?si=Sllhtls18qTFDWm3) https://www.youtube.com/v//cRjfhsYeflY https://youtu.be/cRjfhsYeflY?si=-ozCfY4W0XI4izpn (https://youtu.be/cRjfhsYeflY?si=-ozCfY4W0XI4izpn) https://www.youtube.com/v//Kj-jmyQc_0w https://youtu.be/Kj-jmyQc_0w?si=JKo1fTz54U2nn9BK (https://youtu.be/Kj-jmyQc_0w?si=JKo1fTz54U2nn9BK) https://www.youtube.com/v//q6HVEtBQqzM https://youtu.be/q6HVEtBQqzM?si=et1cWUiSR_DUXPON (https://youtu.be/q6HVEtBQqzM?si=et1cWUiSR_DUXPON) (https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTWmNOwDAx4f9QQ4_Pga4-8YdVGTApSt7ftGQ&usqp=CAU) (https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTqG0_hNc-pUPlYqrlWw0Yv08kICqQyyfbsHQ&usqp=CAU) (https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQkUZbxvh8u_wGfUTnj7MNRP39a7hpGBTwolg&usqp=CAU) (https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRdYR9EFPccKFpvo7pG7GaWNuI9R4OsshQA7A&usqp=CAU) (https://ae01.alicdn.com/kf/HTB1DtqiXyDxK1RjSsphq6zHrpXaJ.jpg_640x640q90.jpg) จาก http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16247.0.html (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16247.0.html) |