[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 15:41:45



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - งานศึกษาชี้ทัศนคติต่อการทำงานนั้นไม่เกี่ยวข้องกับ 'เจเนอเรชั่น'
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 15:41:45
งานศึกษาชี้ทัศนคติต่อการทำงานนั้นไม่เกี่ยวข้องกับ 'เจเนอเรชั่น'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-02-12 11:14</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>งานศึกษาชี้ทัศนคติต่อการทำงานนั้นไม่เกี่ยวข้องกับ 'เจเนอเรชั่น' แต่เป็นเพราะทุกวันนี้แต่ละคนไม่ว่าจะอายุเท่าใดมีมุมมองต่อเรื่องงานแตกต่างไปจากเมื่อหลายปีก่อน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/26/Office_workers_in_the_1970%27s_%289717154582%29.jpg/764px-Office_workers_in_the_1970%27s_%289717154582%29.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพประกอบ: Wikimedia Commons</span> (https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/26/Office_workers_in_the_1970%27s_%289717154582%29.jpg/764px-Office_workers_in_the_1970%27s_%289717154582%29.jpg)</p>
<p>"คนรุ่นมิลเลนเนียลไม่อยากทำงาน พวกเขาหมกมุ่นอยู่กับขนมปังปิ้ง อะโวคาโด และลาเต้มากเกินไป" นี่เป็นเพียงหนึ่งในหลายอคติที่คนทำงานอายุเกิน 50 ปี มักพูดถึงคนรุ่นหลังพวกเขา ส่วนคนที่ถูกวิจารณ์ก็มักจะตอบกลับด้วยเสียงเบื่อหน่ายว่า "โอเค บูมเมอร์" พร้อมกลอกตาและพูดจาเย้ยหยันเกี่ยวกับค่านิยมการทำงานที่เน้นผลลัพธ์มากเกินไปของคนที่เกิดระหว่างกลางทศวรรษ 1950 ถึงกลางทศวรรษ 1960 </p>
<p>มายาคติที่ว่าคนรุ่นใหม่ไม่ทุ่มเทในการทำงานเท่ากับคนรุ่นเก่า ไม่ใช่แค่เรื่องระหว่างเจเนอเรชั่น 'เบบี้บูมเมอร์' (Baby Boomer) และ 'มิลเลนเนียล' (Millennial หรือ Generation Y) เท่านั้น ระหว่างพวกเขายังมี 'เจน X' (Generation X) ซึ่งเกิดระหว่างปี 1965 ถึง 1980 และ 'เจน Z' (Generation Z) ที่เกิดระหว่างปลายทศวรรษ 1990 ถึงต้นทศวรรษ 2010</p>
<p>สำหรับผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจความแตกต่างเหล่านี้ มีหนังสือและคู่มือวางขายเต็มชั้นวาง ทุกเล่มมุ่งอธิบายว่าอะไรที่ทำให้คนแต่ละเจเนอเรชั่นมีพฤติกรรมเฉพาะตัว มาร์ติน ชโรเดอร์ (Martin Schröder) ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยซาร์ลันด์ (Saarland University) ก็ถูกถามเช่นกันว่าเขาต้องการเขียนหนังสือในหมวดที่ได้รับความนิยมนี้หรือไม่ </p>
<p>"สำนักพิมพ์เสนอสัญญาหนังสือที่ให้ผลกำไรกับผม ถ้าผมสามารถแสดงให้เห็นว่าคนรุ่นมิลเลนเนียลแตกต่างจากคนรุ่นเก่าได้" เขาอธิบาย </p>
<p>ดังนั้น เขาจึงเริ่มวิเคราะห์ชุดข้อมูลหลายแสนชุดที่ครอบคลุมช่วงเวลากว่า 4 ทศวรรษ เนื้อหาที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมายและหัวข้อนี้มักถูกหยิบยกมาพูดคุยอยู่เสมอ แต่เขากลับพบผลลัพธ์ที่น่าประหลาดใจ</p>
<p>"ผมไม่สามารถหาอะไรมายืนยันได้ว่าทัศนคติต่อการทำงานและอาชีพนั้นเกี่ยวข้องกับปีที่คน ๆ นั้นเกิดได้จริง ๆ " ชโรเดอร์ กล่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/5b/Work_from_the_beach%21.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพประกอบ: Wikimedia Commons</span> (https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Work_from_the_beach!.jpg)</p>
<p>ภาพลักษณ์ของคนรุ่นมิลเลนเนียลที่ทำงานสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง นั่งอยู่บนชายหาดในบาหลี เขียนโค้ด "เว็บไซต์" หรือ "ทำอะไรสักอย่างที่เกี่ยวกับสื่อ" ก็เป็นเพียงมายาคติเท่านั้น และยังมีมายาคติเกี่ยวกับเบบี้บูมเมอร์ที่ใกล้จะหมดไฟในวัยเกือบ 60 ปี ที่ว่าพวกเขาทำให้ประเทศ (และพวกเขา) ร่ำรวย จากการทำงานหนักสัปดาห์ละ 70 ชั่วโมงเป็นเวลาหลายทศวรรษ ในขณะที่ชีวิตครอบครัวกลับล่มสลาย</p>
<h2><span style="color:#3498db;">'ผลกระทบด้านอายุ' และ 'ผลกระทบด้านช่วงเวลา'</span></h2>
<p>"แน่นอน เช่นเดียวกับมายาคติทุกอย่าง มันมีข้อเท็จจริงอยู่บ้าง แต่เมื่อคุณพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ความแตกต่างระหว่างเจเนอเรชั่นจริง ๆ แล้วไม่ได้มีอะไรมากนัก สิ่งที่สำคัญกลับกลายเป็นว่า ผู้คนอยู่ในช่วงชีวิตใดเมื่อถูกถามเกี่ยวกับทัศนคติในการทำงาน" ชโรเดอร์ กล่าว ซึ่งหากพิจารณา 'ผลกระทบด้านอายุ' (age effects) และ 'ผลกระทบด้านช่วงเวลา' (period effects) แล้ว ชโรเดอร์ชี้ว่าเราควรมองข้าม 'ผลกระทบของเจเนอเรชั่น' (generational effect) ไปได้เลย</p>
<p>ยกตัวอย่างเช่น ชายอายุ 60 ปี ที่บ่นเกี่ยวกับลูกศิษย์ฝึกงานอายุ 15 ปี ที่ไม่ค่อยสนใจที่จะทำกะกลางคืนหรือทำงานวันหยุดสุดสัปดาห์เพื่อหารายได้และก้าวหน้าในอาชีพมากขึ้นนั้น "ปรากฏว่านี่ไม่ใช่ปัญหาของคนต่างเจเนอเรชั่นจริง ๆ สิ่งที่เราพบคือ ทุกคนคิดและทำตัวแตกต่างไปจากเมื่อ 30 ปี ที่แล้ว" ชโรเดอร์ กล่าว </p>
<p>"ไม่ใช่สังกัดของเจเนอเรชั่นที่อธิบายการคิดของเรา แต่เป็นเพราะว่าเราอยู่ในช่วงชีวิตใดเมื่อถูกถามถึงทัศนคติต่อการทำงาน วันนี้พวกเราแต่ละคนมองโลกแตกต่างไปจากเมื่อหลายปีก่อน ทั้งคนอายุ 15 ปี และ 60 ปี หากคุณถามคนหลายรุ่นในเวลาเดียวกันว่าพวกเขาคิดอย่างไรเกี่ยวกับการทำงาน คุณจะพบว่าคำตอบของพวกเขาเหมือนกันโดยพื้นฐาน พูดอีกนัยหนึ่ง งานในปัจจุบันไม่ได้สำคัญกับเราเหมือนเมื่อ 50 ปี ที่แล้ว ไม่ว่าเราจะอายุ 15 ปี หรือ 50 ปี ก็ตาม" ชโรเดอร์ กล่าว </p>
<p>ข้อสรุปของชโรเดอร์มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุน เขาใช้ข้อมูลจากบุคคลเกือบ 600,000 คน จาก Integrated Values Survey ซึ่งสำรวจบุคคลใน 113 ประเทศ ระหว่างปี 1981-2022 เกี่ยวกับทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับการทำงานและอาชีพ นอกเหนือจากการตรวจสอบแรงจูงใจในการทำงานแล้ว ชโรเดอร์ ยังขุดค้นข้อมูลมหาศาลนี้เพื่อให้เข้าใจความสำคัญเชิงอัตวิสัยอื่น ๆ เช่น เวลาว่าง ชั่วโมงทำงาน โอกาสในการแสดงความคิดริเริ่ม วันหยุดยาว ความรู้สึกประสบความสำเร็จ งานที่รับผิดชอบ งานที่น่าสนใจ งานที่เหมาะสมกับความสามารถ การมีเพื่อนร่วมงานที่ดี และการมีโอกาสพบปะกับคนที่น่าพอใจในการทำงาน ผลลัพธ์สำคัญคือ "เจเนอเรชั่นที่ผู้ตอบแบบสอบถามสังกัดแทบไม่มีผลต่อคำตอบที่ให้"</p>
<h2><span style="color:#3498db;">อะไรที่ทำให้มายาคติเรื่องเจเนอเรชั่นกับการทำงานยังคงมีอยู่</span></h2>
<p>ชโรเดอร์ ยกเหตุผล 3 ประการที่ทำให้มายาคติเรื่องเจเนอเรชั่นกับการทำงานยังคงมีอยู่ </p>
<p>"ประการที่ 1 มายาคติที่ว่าคนหนุ่มสาวมักไม่ค่อยเต็มใจทำงานมากกว่าคนวัยกลางคนเสมอ แต่ข้อมูลแสดงให้เห็นชัดเจนว่าพวกเราทุกคน ไม่ว่าอายุหรือเจเนอเรชั่น จะมองว่าการทำงานแลกกับเงินมีความสำคัญน้อยกว่าในอดีต" </p>
<p>"ด้วยความสับสนระหว่างผลกระทบของอายุและช่วงเวลา กับผลกระทบของเจเนอเรชั่น มายาคติที่ว่าคนหนุ่มสาวไม่ค่อยเต็มใจทำงานจึงไม่มีอยู่จริง" ชโรเดอร์ กล่าว</p>
<p>"ประการที่ 2 ที่เรามัก (อยากจะ) เชื่อเรื่องช่องว่างระหว่างวัยให้ดูเหมือนเป็น ‘ลัทธิเจเนอเรชั่น’ ชโรเดอร์มองว่ามันเป็นลัทธิใหม่ที่เสนอวิธีอธิบายโลกแบบง่ายเกินไป สมองของเราชอบจัดประเภทผู้คน เพราะมันทำให้เรามองเห็นกลุ่มสังคมของเราดีกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งทำให้เรารู้สึกดีเกี่ยวกับตัวเอง แต่การคิดแบบ ‘ลัทธิ’ นั้นอันตราย และมักผิดครรลองครองธรรม เหมือนกับการเหยียดเพศและเหยียดสีผิว ถ้าเราไม่ระวัง ก็จะใช้การด่วนสรุปที่ไร้หลักฐาน " ชโรเดอร์ อธิบาย "ดูเหมือนว่าแรงกระตุ้นที่แทบจะต้านทานไม่ได้ในการจัดหมวดหมู่ และถ้าเราไม่ระวัง นำไปสู่การเหมารวมและเลือกปฏิบัติ เช่น สีผิวหรือเพศ ก็ยังใช้ได้กับคุณสมบัติประจำตัวอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ ปีเกิด (เจเนอเรชั่น)"</p>
<p>"เหตุผลที่ 3 ที่เรามักจะคิดว่ามีผลกระทบระหว่างเจเนอเรชั่น ในขณะที่จริง ๆ แล้วไม่มีเลย ก็เพราะว่าสำหรับบางคน ข้ออ้างนี้เป็นพื้นฐานในการหาเลี้ยงชีพของพวกเขา" ชโรเดอร์ กล่าว "พูดกันตรง ๆ คือ 'นักวิจัยหนุ่มสาว' และ 'กูรูด้านเจเนอเรชั่น' ได้เพิกเฉยผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ขัดแย้งกับรูปแบบธุรกิจของพวกเขา เพราะรายได้ของพวกเขาขึ้นอยู่กับการขายการให้คำปรึกษา โค้ชชิ่ง หนังสือ และซีรีย์บรรยายที่ 'ปรับตามรุ่น' ต่อไป ทั้งหมดนี้ให้คำแนะนำและแนวทางเกี่ยวกับสิ่งที่ท้ายที่สุดแล้วเป็นเพียงมายาคติที่แอบอ้างว่าเป็นข้อเท็จจริง" ชโรเดอร์ กล่าว</p>
<p>แต่นั่นไม่ใช่ความเสี่ยงที่ศาสตราจารย์ชโรเดอร์ต้องเผชิญ "ใครก็ตามที่แสดงให้เห็นว่าการแยกแยะระหว่างเจเนอเรชั่นไม่สมเหตุสมผล ย่อมจะไม่ได้ประโยชน์ทางการเงินจากสิ่งนั้น แน่นอน มันเป็นการค้นพบที่ต้องลงลึกกับข้อมูล มักจะทำโดยศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย'" ชโรเดอร์ กล่าวมุกตลกพร้อมยิ้ม</p>
<p>งานวิจัยนี้ตีมพิมพ์ในวารสาร Journal of Business and Psychology (https://link.springer.com/article/10.1007/s10869-023-09921-8)</p>
<p> </p>
<p><strong>ที่มา:</strong>
From Baby Boomers to Gen Alpha – Is it time to stop talking about generations? (EurekAlert, 29 January 2024) (https://www.eurekalert.org/news-releases/1032669)
Boomers Aren’t Harder Workers Than Millennials? Myths About Generational Work Ethic Debunked (StudyFinds, 30 January 2024) (https://studyfinds.org/boomers-millennials-work-ethic/)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิเศษ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แรงงาน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ต่างประเทศ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เยอรมนี[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/gen-y" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">Gen Y[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/baby-boomer" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">Baby Boomer[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ช่องว่างระหว่างวัย[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เจเนอเรชั่น[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/generation" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">Generation[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108032