[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 03:46:30



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เปิด 'โลกผู้ป่วยจิตเวช-โรคมีราคา' กับสิทธิการรักษาที่มีอยู่โดยที่บางคนยังต
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 03:46:30
เปิด 'โลกผู้ป่วยจิตเวช-โรคมีราคา' กับสิทธิการรักษาที่มีอยู่โดยที่บางคนยังต้องต่อสู้และบางคนยังไม่รู้
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-02-24 02:23</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>พิชญ์สินี ชัยทวีธรรม รายงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รายงานสัมภาษณ์ผู้ศึกษากระบวนการเข้าถึงการรักษาพยาบาลจิตเวชในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งสวัสดิการของรัฐ พร้อมทั้งพูดคุยกับผู้ผ่านประสบการณ์การรักษาจิตเวช โดยเฉพาะผู้ที่ที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายทุกเดือนจากค่ายารักษา เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ หลังต้นเดือนก่อน สส.ก้าวไกลเปิดประเด็นนี้ในสภา จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53548004385_b491359eae_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">“วันที่ 5 มกราคม 2566 สิริลภัส กองตระการ สส.กทม. พรรคก้าวไกล ลุกขึ้นอภิปรายถึงงบประมาณในสัดส่วนกระทรวงสาธารณสุข ว่า จากนโยบายที่พรรคเพื่อไทย หาเสียงกับประชาชน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ได้หยิบยกประเด็นสุขภาพจิตและยาเสพติดให้เป็นนโยบายสำคัญ 1 ใน 13 นโยบาย ยกระดับ 30 บาทพลัส เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน และดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดนี้จะให้น้ำหนักไปที่อาการของผู้ป่วยจิตเวชที่มาจากยาเสพติดมากกว่าปัญหาสุขภาพจิตปกติที่เป็นวิกฤตเหมือนกัน” (ภาพและเนื้อข่าวจาก </span><span style="color:#e67e22;">https://www.thaipbs.or.th/news/content/33567</span> (https://www.thaipbs.or.th/news/content/33567)<span style="color:#e67e22;">)</span></p>
<p>หลังจาก สส.ก้าวไกลเปิดประเด็นดังกล่าวในสภา สิ่งที่ตามมาคือกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหานี้ในสังคมออนไลน์และเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ผู้ป่วยซึมเศร้า และกระบวนการเข้าถึงการรักษาพยาบาลหรือสวัสดิการของรัฐ จึงชวนผู้อ่านไปพูดคุยกับกลุ่มคนที่ศึกษาวิจัยเรื่องนี้โดยตรง ผู้ผ่านประสบการณ์การรักษาจิตเวชในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่ที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายทุกเดือนจากค่ายารักษา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">3 กลุ่มป่วยโรคซึมเศร้า และสิทธิที่มีอยู่ในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ</span></h2>
<p>ฐิตินบ โกมลนิมิ ตัวแทนกลุ่มเพื่อนผู้ป่วยซึมเศร้า ระบุว่า ในวัฎจักรของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีคนอยู่อย่างน้อย 3 กลุ่มหลัก   คือ </p>
<ol>
<li>คนที่ไม่รู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจนอาการปรากฏแล้วและไม่มีโอกาสเข้ารับการรักษาพยาบาล</li>
<li>คนที่รู้ตัวว่าป่วยแต่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาล และ  </li>
<li>ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ระหว่างการรักษาและทุกข์อยู่กับระบบสุขภาพอย่างเดียวดาย</li>
</ol>
<p>​“หากแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษานั้น หรือจำเป็นต้องได้รับยานอกบัญชีฯ การเรียกเก็บค่าส่วนต่างถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เพราะ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ระบุไว้ว่า สถานพยาบาล หรือโรงพยาบาล  ‘ไม่สามารถเรียกเก็บค่าบริการเพิ่ม’ หรือ ‘เรียกเก็บค่าบริการเกินกว่าที่คณะกรรมการกำหนดไว้’ (Extra Billing) จากผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้ใช้บริการร้องเรียนกับ สปสช. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและสภาองค์กรของผู้บริโภคจำนวนมาก”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53547898449_75335981cc_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ฐิตินบ โกมลนิมิ ตัวแทนกลุ่มเพื่อนผู้ป่วยซึมเศร้า</span></p>
<p>​ฐิตินบ ในฐานะผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้วิจัยระบุว่า ได้รับการวินัจฉัยว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรงที่กลับมาป่วยซ้ำหลายครั้ง และมีแนวโน้มต้องกินยาต้านเศร้าประคองอาการไปตลอดชีวิต ซึ่งป่วยมาแล้ว 8 ปี โดยเฉพาะ 4 ปี หลังจำเป็นต้องพึ่งพาบริการบัตรทองแต่ถูกเรียกเก็บเงินยานอกบัญชียามาเกือบตลอด เมื่อเร็วๆ นี้ก็เพิ่งเจรจากับหน่วยบริการโดยไม่ให้เสียความสัมพันธ์กับแพทย์ผู้รักษา ทำให้การรักษาพยาบาล 3 ครั้งหลังไม่ต้องจ่ายเงินแล้ว </p>
<p>​“สิทธิที่เรามีอยู่แล้ว แต่เรากลับต้องต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธินั้นมาและมีผู้ป่วยจำนวนมากยังไม่รู้ ไม่กล้าเจรจากับแพทย์ผู้รักษา”</p>
<p>เกิดประเด็นเรื่องสุขภาพจิตสำคัญอย่างไร และทำไมจึงต้องเป็นเรื่องที่รัฐต้องให้ความสำคัญ บทความนี้จะเล่าผ่านประสบการณ์ของผูป่วยจิตเวชส่วนเล็กๆที่อนุญาตให้เปิดเผยเรื่องราวการรักษา เป็นเพียงยแค่บุคคลส่วนน้อยของู้ป่วยจิตเวชอีกมากมายในสังคมไทยที่สามารถเล่าเรื่องราวการรักษา และความเจ็บป่วยของโรคจิตเวชได้ว่าเป็นเรื่องที่รัฐต้องให้ความสำคัญ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เรารักษาเพื่อไปทำงานหาเงินแล้วมารักษาต่อ</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53546693192_2abb5ddc07_o.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพวาด ภัทร คะชะนา</span></p>
<p>“การที่เราป่วยเป็นจิตเวช มันถูกผลักให้เป็นภาระของผู้ป่วยเองในการดูแลตัวเอง เพื่อไปหาเงินมาดูแลตัวเอง จ่ายค่ารักษาทุกเดือนเพื่อออกไปหาเงินมาจ่ายค่ายา ชีวิตมันวนแบบนี้พร้อมค่าใช้จ่ายจิตเวชที่กลายมาเป็นค่าใช้จ่ายประจำทุกเดือน”</p>
<p>ภัทร คะชะนา แรงงานนอกระบบหรือฟรีแลนซ์ หนึ่งในผู้ผ่านประสบการณ์การรักษาจิตเวชที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายทุกเดือนจากค่ายารักษาจิตเวช</p>
<p>“การกินยามันก็ช่วยให้เราออกไปทำงานเพื่อหาเงินมารักษาได้ แต่ก็เป็นภาระทุกเดือน ถ้าทำงานเป็นแรงงานเงินเดือนอาจจะพอจ่ายไหว แต่แรงงานนอกระบบที่ไม่มีสวัสดิการแบบเราก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่หนักหนาอยู่”</p>
<p>ภัทร เล่าว่า การที่ได้กินยาจิตเวชก็เป็นเรื่องที่ดี ทำให้นอนหลับ ผ่อนคลายได้ แต่ไม่ได้หายขาด และต้องใช้เวลารักษาต่อเนื่อง บางคนอาจแค่ไม่กี่ปี แต่อาการแต่ละคนของผู้จิตเวชก็ไม่มีเหมือนกัน ในใจ ประสบการณ์เลวร้ายต่างๆที่เผชิญบนสังคมนี้ทำให้กลายมาเป็นผู้ป่วยจิตเวช ดังนั้นค่าใช้จ่ายยารักษาผู้ป่วยจิตเวชจึงกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายประจำ ที่ไม่สามารถตอบได้ว่าแต่ละคนต้องจ่ายไปอีกนานแค่ไหน</p>
<p>“แม้แต่การเข้าถึงนักจิตวิทยา ก็เป็นเรื่องยาก เพราะผู้ป่วยมีจำนวนมาก ทำให้หลายครั้งที่ต้องไปรอ เราเสียโอกาสในการทำงาน เพื่อหาเงินมาจ่ายค่ายาอีก มันยิ่งทับถมให้เราเครียดกับเรื่องค่าใช้จ่าย สุดท้ายเราก็เลิกหาหมอเพราะค่าใช้จ่ายและการสูญเสียรายได้ไป”</p>
<p>ภัทร เล่าถึงประสบการณ์การไปหาหมอจิตเวชในรพ.รัฐ ซึ่งจำนวนผู้ป่วยเยอะ และบางครั้งที่อาการของเขาแย่ลงมากๆ ก็ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ เพราะต้องรอถึงสามเดือน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายและการสูญเสียเวลาทำงาน ยิ่งทำให้ตัวเขาที่อาการแย่อยู่แล้วมาเจอความเครียดในการเข้าถึงการรักษา ก็ยิ่งทำให้อาการแย่ลง</p>
<p>“ดังนั้นคนที่มีกำลังเงินและเวลาก็จะมีโอกาสเข้าถึงการรักษา ถ้ารัฐให้ความสำคัญจริงๆมันต้องเป็นการรักษาที่ฟรีทุกตัว และทุกกลุ่มโรคจิตเวชต้องเป็นรัฐสวัสดิการ”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มองโลกในแง่ดี</span></h2>
<p>“การที่เราป่วยมันเพราะเรามองโลกในแง่ลบเกินไป ต้องมองแบบนี้ถึงดีขึ้น แต่ทำไมการรักษามันกลายมาเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ที่ต้องมองในแง่ดี ต้องคิดในแง่ดี ทั้งๆที่ความเป็นจริงสภาพเศรษฐกิจมันแย่จนหางานทำแทบไม่ได้ กลายเป็นวาทกรรมต่อผู้ป่วยจิตเวชต่างๆ แต่การรักษาทำไมไม่อยู่ในการดูแลของรัฐ เพราะแต่ละวันที่ออกไปทำงาน เจอสังคม มันก็เกิดความเครียด ความรู้สึกแย่ได้ ซึ่งมันไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเรารู้สึก แต่เพราะสถานการณ์ที่ไปเจอในสังคมมันกระตุ้นให้อาการแย่ลง”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53546693267_2c49a92063_o.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพถ่ายเชิงศิลปะสะท้อนภาวะซึมเศร้า โดย ภัทร คะชะนา</span></p>
<p>ภัทรเล่าว่า ยารักษาจิตเวชที่ยังคงต้องมีค่าใช้จ่ายก็เป็นการทับถมผู้ป่วย หากมองชีวิตปัจเจกบุคคลในแต่ละวัน ทุกคนต้องตื่นออกมาทำงาน ออกมาใช้ชีวิตเจอสังคม และเรื่องราวต่างๆ เสร็จจากงานก็กลับบ้าน พร้อมความรู้สึกที่ได้รับมาตลอดทั้งวัน ยิ่งถ้าไม่สามารถระบายหรือพูดคุยกับใครได้ และยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายยาจิตเวชอีก ก็ยิ่งทำให้อาการแย่ลงไปอีก</p>
<p>“เราไปนั่งทำบุญ ทำสมาธิ เป็นเรื่องที่ต้องดูแลตัวเอง จัดการตัวเองดีก็ไม่ต้องหาหมอ เป็นเพราะตัวเราทั้งนั้น เป็นวาทกรรมที่ทำให้ปัจเจกบุคคลต้องดูแลตัวเองเกลื่อนกลาดในสังคม เราไม่ได้ปฎิเสธเคมีในสมองนะ แต่เรื่องราวแย่ๆที่เข้ามาก็มาจากสังคม ใครจะไปคิดบวกได้ตลอดเวลา เช่นไปทำงาน เจอเจ้านายที่แย่ ค่าแรงน้อย ก็ยิ่งสะสมความเครียด ไหนจะค่าใช้จ่ายรายวัน ค่ายารายเดือนอีก”</p>
<p>คุณภัทรอธิบายว่า แม้เราจะมองโลกในแง่ดีแค่ไหน แต่ไม่มีใครสามารถทำได้ตลอดเวลา ไปเจอความแย่ๆในสังคมที่เราต้องออกไปทำงานใช้ชีวิต </p>
<p>และคุณภัทรอธิบายเพิ่มว่า ในสภาวะระบบเศรษฐกิจของมนุษย์ก็ทำให้คนต้องดิ้นรนกันแบบนี้ แต่ระบบเศรษฐกิจแบบนี้มันส่งผลต่อสุขภาพจิตเราด้วยหรือไม่ มันควรอยู่ในการดูแลของรัฐด้วยหรือไม่ เพราะคนต้องอดทนกับระบบเศรษฐกิจแบบนี้ในทุกๆวัน </p>
<p>“ถ้าในกรุงเทพ ตื่นเช้าแจ่มใสออกไปทำงาน ไปเจอรถติด แย่งกันขึ้นขนส่งสาธารณะ ไปเจอสภาพแวดล้อมแย่ๆในที่ทำงาน แล้วก็กลับบ้านมากินยา นอนหลับ เพื่อพรุ่งนี้ไปเจอสภาวะเช่นนี้อีกทุกวัน” ภัทร กล่าวและเสริมว่า การป่วยของแต่ละคนมันซับซ้อนแต่มันเกี่ยวข้องสังคมแน่นอน </p>
<p>“เพราะเราต้องอยู่ในระบบเศรศฐกิจที่ทำงานหนัก เอาตัวรอดสูง ในคนอายุประมาณ 30 และน้อยกว่าเราลงไปมักจะมีคำถามว่า เรียนไปจะตกงานไหม ความเครียดมันเกิดขึ้นในสังคมได้ทุกแบบ สังคมการเมืองและเศรษฐกิจแบบนี้ที่ทำให้ผู้ชนะจากการเอาตัวรอดมีน้อยกว่าผู้แพ้ที่เกลื่อนในสังคม ซึ่งอาจไม่ได้เป็นแค่บ้านเรา แต่อาจเป็นทั้งโลก” ภัทร กล่าว และเรียกระแบบเศรษฐกิจแบบนี้ว่า เป็นระบบเศรษฐกิจที่คลั่งความสำเร็จกับความขยัน </p>
<p>“การที่มีวาทกรรมดูแลตัวเอง มันได้แยกให้เป็น ตัวมึงของมึง ตัวกูของกู มันล้นจนเกินไป จนทำให้ลืมไปว่าการป่วยอาจจะเพราะสภาพแวดล้อม สิ่งที่เติบโตและพบเจอก็ได้” ภัทร กล่าวพร้อมอธิบายว่า บางเรื่องที่ไม่สามารถผ่านไปได้ด้วยตัวคนเดียวเพราะเกี่ยวข้องกับคนในครอบครัว เพื่อน หรือคนที่เกี่ยวข้องในเรื่องราวแย่ๆ ทำให้ปัจเจกบุคคลไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยคนเดียวได้ </p>
<p>และวาทกรรมให้ดูแลตัวเองก็นับว่าเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่งในสายตาของภัทร และกล่าวด้วยว่า “ประโยคจากหนังสือเล่มหนึ่งเขียนไว้ว่า มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่อัตราคนป่วยโรคซึมเศร้าจะเพิ่มสูงขึ้น”</p>
<p>“การที่มีจำนวนผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นย่อมเกี่ยวข้องกับสังคม และเป็นเรื่องที่รัฐต้องดูแล ให้ความสำคัญเรื่องนี้จริงจัง” ภัทรทิ้งท้าย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไม่มีใครอยากป่วยเป็นโรคซึมเศร้า</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53547898479_d8c5b4b8f8_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพ กรกนก คำตา </span></p>
<p>“เรารักษามา 5 ปี ช่วงแรกรักษาที่รพ.ศรีธัญญา ซึ่งปัจจุบันเราไม่ได้รักษาที่นั่นเพราะมันมีเอฟเฟคของยา ปวดหัว ภาววะบ้านหมุน ทนไม่ได้ น้ำหนักขึ้นเยอะมาก และมันทำให้เราขาดยาไม่ได้ เคยยุ่งจนไม่มีเวลาไปหาหมอ เพื่อรับยา แล้วปวดหัวจากการขาดยาจนทนไม่ไหวเลยต้องไปให้ฉุกเฉินของรพ.ศรีธัญญา แต่โรงพยาบาลก็ปฏิเสธไม่รับเข้าอาการฉุกเฉิน ด้วยเหตุผลว่ายาต้านเศร้าไม่มีเอฟเฟคที่รุนแรงแบบนี้ แม้เราจะยืนยันแค่ไหนก็ตาม สุดท้ายก็มาใหม่ในวันเวลาทำการ” กรกนก คำตา อีกหนึ่งคนที่ผ่านประสบการณ์การรักษาและยังรักษาจิตเวช โรคซึมเศร้าอยู่กล่าว </p>
<p>เธอเล่าว่า ตอนป่วย 2 ปีแรกเธอเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีธัญญา โดยใช้สิทธิ 30 บาท ในการส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัดให้มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีธัญญา โดยมีค่าใช้จ่ายเป็น ค่ายาอยู่ที่ 2,000 ค่าจิตบำบัด 300 บาท ทำให้ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลต้นสังกัดก่อนไปรักษาที่โรงพยาบาลศรีธัญญาเป็นประจำ เกิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางซ้ำซ้อน และยาที่ใช้รักษาเธอ ก็ไม่ได้ถูกจัดเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นค่าใช้จ่าย 2,000 กว่าบาทต่อเดือน</p>
<p>“หลังจากรักษาที่โรงพยาบาลศรีธัญญามาประมาณ 2 ปี เรารู้สึกว่าอาการเราไม่ดีขึ้น ไม่มีแรงลุกมาทำงาน ไม่สามารถใช้ชีวิตแบบปกติได้ เลยลองหาวิธีรักษาแบบอื่นที่น่าจะช่วยให้อาการดีขึ้น ก็มีเพื่อนแนะนำคลินิคเอกชนแห่งหนึ่งย่านบางนามา ซึ่งอาการเราก็ดีขึ้น อาการเราเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก”</p>
<p>กรกกนก เล่าว่าการที่เธอรักษาอยู่ที่รพ.ศรีธัญญาทำให้อาการของเธอทรงตัว มีชีวิตได้ แต่ไม่ได้ดีขึ้นถึงขนาดที่จะกลับมามีชีวิต ทำงานได้ตามปกติ และด้วยค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณ 2,000 บาท และขั้นตอนการส่งตัวไปรักษา ทำให้เธอเลือกมองหาทางอื่นในการรักษาแทน และได้รับคำแนะนำจากเพื่อนว่าคลินิคเอกชนแห่งหนึ่งย่านบางนารักษาได้ดี เธอเลยเลือกลองไปรักษาที่คลินิคเอกชนแทน</p>
<p>ซึ่งผลลัพธ์ของการตัดสินใจครั้งนี้ทำให้อาการของ กรกนก ดีขึ้นอย่างมาก แต่แลกมากับค่าใช้จ่าย 6,000 ต่อเดือน รวมค่ายาและค่ารักษาจากหมอ </p>
<p>“อาการดีขึ้นมาก อาการต่างไปเลย ทำงานได้ ใช้ชีวิตประจำวันได้ สามารถพึ่งพาตัวเองได้มาากขึ้น ทำอะไรได้ดีมากขึ้น อาการดิ่งน้อยลงมาก และน้ำหนักกลับมาปกติเท่าตอนก่อนกินยาที่รพ.ศรีธัญญา”</p>
<p>กรกกนกเล่าว่าค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่อาการของเธอก็ดีขึ้นมากเช่นกัน เธอเริ่มรักษาคลินิคเอกชน ด้วยยา 5 ตัว และรักษาต่อเนื่อง ปัจจุบันลดยาเหลือ 4 ตัว เพราะอาการของเธอดีขึ้นเรื่อยๆเอง</p>
<p>“เราเคยถามหมอที่รพ.ศรีธัญญาว่า ทำไมน้ำหนักเราขึ้นเยอะ หมอตอบเราว่าก็ลดการกินข้าวลง อย่ากินตามใจ” </p>
<p>กรกนกอธิบายว่าเธอได้นำเรื่องยาเก่าที่กินจากโรงพยาบาลศรีธัญญาไปปรึกษาหมอที่คลินิคเอกชน และได้รับคำตอบว่า หากผู้ป่วยรับยาแล้วมีเอฟเฟคของยาที่ทำให้กังวล ผู้ป่วยสามารถขอเปลี่ยนยาได้ แต่โรงพยาบาลศรีธัญญาก็ไม่ได้เปลี่ยนให้เธอ และนอกจากนั้นหมอยังอธิบายแก่ กรกนก ว่ายาที่เธอเคยใช้รักษาเป็นยาที่ค่อนข้างเก่า ปัจจุบันไม่นิยมมารักษาคนไข้เพราะมียาตัวอื่นที่เอฟเฟคของยาน้อยกว่าเข้ามาแทนที่ยาเหล่านี้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53548004435_9e2efdf36a_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพใบสั่งยาของกรกนก คำตาจากคลินิค เพื่อไปซื้อยาจากเภสัช</span></p>
<p>“ค่าใช้จ่ายล้นมือมาก 6,000ต่อเดือนคือค่ารักษา ค่าใช้จ่ายในชีวิตเราอีก เงินเดือนแทบไม่พอหมุน แล้วมีช่วงหนึ่งที่เราเครียดจากการทำงานที่หนึ่ง เราเลยลาออก หมอกลัวว่าการขาดรายได้จะทำให้ย่ิงสะสมความเครียด หมอเลยหาทางออกให้โดยการใช้ใบสั่งยาหมอไปซื้อยาจากคลินิกข้างนอกแทน”</p>
<p>กรกนกเล่าว่า การไปซื้อยาที่ร้านยาส่งก็ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปเล็กน้อย เหลือประมาณ 4,000 กว่าบาทต่อเดือน</p>
<p>“เราคิดว่าค่ารักษาจิตเวชของเราต่อเดือนสามารถนำไปผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ได้เลยนะ แต่เรามาแบกค่าใช้จ่ายเองทั้งๆที่มันเป็นเรื่องสุขภาพ มีทั้งสิทธิ 30 บาท แต่โรคซึมเศร้าได้แค่ยาทั่วไป ซึ่งถ้าคุณไม่มีเงินจ่ายยานอกบัญชีก็แล้วแต่ว่าคุณจะไปตายเอาดาบหน้า หรือจะฆ่าตัวตาย หรือจะหาเงินเยอะๆเพื่อไปรักษาที่เอกชนแพงๆ ซึ่งทำไมยาพวกนี้ที่มีคุณภาพโรงพยาบาลรัฐไม่เคยจ่ายยาพวกนี้ ต้องไปหาที่โรงพยาบาลเอกชน หมอในโรงพยาบาลรัฐเหมือนไม่อัปเดทว่ามีตัวยาใหม่ๆบนโลกนี้ที่ดีกว่า”</p>
<p>กรกนกเล่าว่า หากยาปัจจุบันที่เธอใช้รักษาจากคลินิคเอกชน เข้าไปอยู่ในยานอกบัญชีของรัฐก็ยังดี เพราะค่ารักษาก็จะถูกกว่า แต่สิ่งที่เธอคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องรัฐต้องทำอย่างจริงจังคือ การให้ผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงการรักษา ด้วยตัวยาที่มีคุณภาพโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ</p>
<p>“เพราะหากยังต้องหาเงินมารักษาด้วยยาแพงๆ แล้วก็ออกไปทำงานมาจ่ายค่ายา วนไปแบบนี้ ถ้าเราเกิดไม่มีเงินขึ้นมาจะทำยังไง ต้องมีเงินเท่านั้นถึงจะเข้าถึงการรักษาที่ดีได้หรือ” เธอกล่าาว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐปล่อยผู้ป่วยยโรคจิตเวชไปตามยถากรรม</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53547565801_ebef7a4bf5_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพใบเสร็จยารักษาโรคซึมเศร้าของกรกนก คำตา</span></p>
<p>“รัฐผลักให้ค่าใช้จ่ายเรื่องสุขภาพ อย่างโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องรับผิดชอบเอง มันทำให้เราเสียโอกาสที่จะนำเงินที่รักษาต่อเดือนไปทำอย่างอื่นในชีวิตเรา หรือบางคนที่เขามีอาการรุนแรงจนทำงานไม่ได้ก็จบเลย ไม่มีเงินรักษาตัวเอง”</p>
<p>กรกนกอธิบายว่า ในปัจจุบันหากป่วยเป็นโรคซึมเศร้า รัฐไม่ได้ดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทำให้ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงยาที่มีคุณภาพ หรือถ้าอยากได้ยาที่มีคุณภาพก็ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ยิ่งถ้าเป็นผู้ป่วยที่อาการซึมเศร้ารุนแรงจนไม่สามารถออกมาทำงานและใช้ชีวิตเองได้ ก็จะยิ่งยากที่จะหายจากโรคซึมเศร้า เพราะราคาค่ารักษาที่สูง </p>
<p>“วาทกรรมที่บอกให้เรามองโลกในแง่ดีต่างๆ เพราะโรคซึมเศร้าเกี่ยวข้อกับสารเคมีในสมองด้วย เพราะฉนั้นการใช้วิธีทางเลือกจึงยากที่จะหายจากโรคนี้ได้ อีกอย่างหนึ่งคือผู้ป่วยโรคนี้มักไม่ได้เป็นคนที่มีเงินมากมายพอที่จะไปกิจกรรมที่ต้องใช้เงิน เหลือแค่เข้าวัดที่ใช้เงินน้อยหน่อย แต่สำหรับเรา เข้าวัด ทำสมาธิ ดำน้ำ ดูปะการัง พวกกิจกรรมทางเลือกไม่ได้ช่วยเราให้อาการดีขึ้นเลย รู้สึกว่ายาจำเป็นและช่วยได้มาก”</p>
<p>เธอเล่าว่า เมื่อได้รับการรักษาด้วยยาที่เข้ากับอาการของโรคเธอแล้วนั้น มันทำให้อาการของเธอดีขึ้นมากกว่าการไปหากิจกรรมทางเลือกอื่น และรู้สึกได้ว่าถ้าหยุดยา แล้วไปใช้การรักษาทางเลือกแบบอื่นคงไม่ได้ดีสำหรับเธอแน่</p>
<p>“ดังนั้นยาเลยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราออกไปทำงานได้ ดูแลครอบครัวได้ เราเลยอยู่ได้ด้วยการพึ่งพายาและหาเงินซื้อยาไปเรื่อยๆ เลยอยากให้ยาที่มีคุณภาพเหล่านี้เป็นยาที่ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย อยากให้มีจิตแพทย์เยอะกว่านี้ เพราะตามโรงพยาบาลรัฐตามต่างจังหวัดบางที่มีจิตแพทย์แค่ 1 คน”</p>
<p>กรกนกเล่าว่า เพราะตอนนี้เธออยู่กรุงเทพเลยสามารถเข้าถึงจิตแพทย์ได้ก็จริง แต่ก็เข้าถึงได้ด้วยเงิน จึงเป็นเรื่องสำคัญว่าทำไมผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องเข้าถึงยาและการรักษา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย </p>
<p>“นอกจากนั้น สภาพแวดล้อมมีผลต่ออาการผู้ป่วยมาก ไม่ใช่แค่ข้อเสนอว่ายาที่มีคุณภาพต้องไม่มีค่าใช้จ่าย ทุกคนเข้าถึงได้ แต่รัฐต้องสนับสนุนด้วยการเข้ามาดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าที่ทำงานไม่ไหว คนที่ป่วยระดับที่อยากฆ่าตัวตายตลอดเวลา ทำงานไม่ได้ ซึ่งผู้ป่วยระดับนี้ถ้าไม่ได้อยู่ในครอบครัวที่มีเงินดูแลเขาได้ เขาจะทำยังไง”</p>
<p>กรกนกอธิบายว่า บางคนไม่มีเงินเพรราะทำงานไม่ได้ สาเหตุมาจากสภาพจิตใจที่ซึมเศร้าจนออกไปทำงานไม่ได้ จนไม่มีเงินจะกินข้าว ไม่มีเงินดูแลตัวเอง ผู้ป่วยเหล่านี้จะเข้าถึงการรักษาได้อย่างไร</p>
<p>“เราประเมินตัวเองว่า อาการของเรายังไม่ได้ดีขนาดที่จะออกมาหาเงินรักษาตัวเองได้ แต่เราก็ต้องทำงานหาเงินมารักษาตัวเอง  และเรารู้ว่าเราจะหายได้ก็ต่อเมื่อเราหยุดทำงานมารักษาจริงจัง เพราะเงิน เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด และทำให้อาการของโรคซึมเศร้าแย่ลง”</p>
<p>กรกนกเสริมว่า เธอก็ไม่สามารถหยุดทำงานได้อยู่ดี ปัจจัยที่ทำให้อาการจะดีขึ้นหรือแย่ลงก็คือการทำงานหาเงินมารักษาตัวเอง </p>
<p>“พอทำงานในสภาพที่เราก็รู้อยู่ว่าไม่พรร้อม ก็ทำให้เครียด แต่ก็ต้องทำเพื่อหาเงินมาารักษา ก็วนเป็นงูกินหาง เป็นวงจรที่ไม่มีวันจบ”</p>
<p>กรกนกเล่าว่า เธอได้ฟังการบรรยายเรื่องประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ รัฐจะเข้ามาดูแลผู้ป่วย โดยการให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทำงานแค่ 2-3 วันต่อสัปดาห์ได้ เพราะรัฐเข้าใจว่าผู้ป่วยบางคนไม่สามารถทำงานได้ครบ 5 วันได้ และต้องการการรักษา</p>
<p>“เราอยากให้ไทยมีการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่การเข้าถึงการรักษาที่ง่าย ยาที่มีคุณภาพโดยไม่มีค่าใช้จ่ายและมีการดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าโดยรัฐ แบบที่ประเทศที่เขามีรัฐสวัสดิการทำกัน เพราะบางคนไม่สามารถทำงานได้จริงๆทุกวันนี้เหมือนปล่อยคนไข้ไปตามยถากรรม” </p>
<p>กรกนกอธิบายว่า การที่รัฐไม่ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เป็นการปล่อยปละการดูแลประชาชน ทำให้ผู้ป่วยไม่มีสวัสดิการ เพราะเขาไม่สามารถเข้าการรักษาถึงได้</p>
<p>“ไม่มีใครอยากเกิดมาเป็นโรคซึมเศร้า แต่มันเป็นแล้ว ก็อยากหาย ก็ไม่ได้อยากจะฆ่าตัวตาย ไม่ได้อยากจะลุกขึ้นมาทำงานไม่ได้ อยากเป็นคนธรรมดา แต่มันป่วยไปแล้ว ในฐานะที่เราเป็นพลเมือง รัฐควรเข้ามาดูแลและคุ้มครองชีวิตเราให้ดีที่สุดในฐานะมนุษย์” กรกกนก กล่าวทิ้งท้าย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เพราะไม่มีแผลทางกาย เลยมองไม่เห็นแผลในใจ มันเลยไม่ใช่เคสฉุกเฉินของโรงพยาบาล</span></h2>
<p>“สาเหตุการที่เราป่วยเป็นซึมเศร้ามันไม่ได้มาจากเรื่องของตัวเองเลย แต่มันเป็นเรื่องที่เจอในสังคม เรามาเรียนด้วยความหวังที่เราจะมีความสุขในการเรียนสาขาที่ชอบ คือสาขาภาพพิมพ์ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เรียน เพราะอาจารย์สาขานี้ล่วงละเมิดทางเพศ ทำให้เราเป็นซึมเศร้า” เพชรนิล สุขจันทร์ศิลปินและนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว</p>
<p>เธอเล่าถึงสาเหตุของการเป็นโรคซึมเศร้านั้นไม่ได้เป็นจากเรื่องส่วนตัว หรือเส้นทางการเติบโตของชีวิตในครอบครัวของตนเอง แต่เกิดจากคนที่เธอได้ไปเจอในสังคม และล่วงละเมิดสิทธิบนเนื้อตัวร่างกายมาแล้วหนึ่งครั้ง ซึ่งก็ได้สร้างบาดแผลไว้ในใจของเธอมาตลอด และการล่วงละเมิดทางเพศครั้งที่สอง โดยอาจารย์สาขาภาพพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เพชรนิลไม่ได้เรียนต่อสาขานี้ แม้จะเป็นสาขาที่ตัวเองชอบมากก็ตาม</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53547565851_da01387e6a_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพเพชรนิล สุขจันทร์ งานนิทรรศการ P.S.T.D. ความรุนแรงจากการสลายการชุมนุม</span></p>
<p>“ในอดีตก่อนจะมาเรียนมหาวิทยาลัยที่นี่เราเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งมันก็เป็นแผลในใจ พอโดนทำซ้ำอีกทีในมหาวิทยาลัย มันเลยทำให้เรารู้สึกไม่ไหวกับการใช้ชีวิตแล้ว” เพชรนิลกล่าว</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>อ่านเพิ่มเติมการถูกล่วงละเมิดทางเพศใน ‘ช่วยกันเอาความจริงออกมา’ ศิลปะ ‘ซุกไว้ใต้หมอน’ ของนิสิตจุฬาฯ กลับโดนแจ้งความ ม.112 (https://prachatai.com/journal/2023/03/103060)</li>
</ul>
</div>
<p>“เหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศจากอาจารย์สาขาภาพพิมพ์ ทำให้เราเกิดอาการหวาดระแวง ร้องไห้ตลอดเวลา นอนไม่หลับ กินข้าวไม่ได้ เป็นเวลา 1 เดือน จนแฟนต้องพาไปหาหมอ” เพชรนิล กล่าว และเล่าว่าช่วงแรกที่ไปรักษาจิตเวช เธอไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน โดยมีญาติเป็นคนสนับสนุนค่าใช้จ่าย </p>
<p>“จำได้ว่าแรกๆยา 3 ตัว คุยกับหมอประมณครึ่งชม. รวมยาและค่ารักษาออกมาที่ 8,000 บาท แล้วต้องปรับยาอีก ครั้งละ 3,000-5,000 บาท ซึ่งเดือนแรกๆก็ต้องปรับไปหลายครั้งต่อเดือน จนทำงานศิลปะการเมืองนั่นแหละ เลยได้หยุดรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนไป เพราะค่าใช้จ่ายมันแพงมาก”</p>
<p>เพชรนิลเล่าถึงราคาค่าใช้จ่ายที่ไปหาหมอจิตเวชแต่ละครั้ง และภายหลังญาติก็หยุดการสนับสนุนการรักษาของเธอไปเพราะไม่เห็นด้วยกับการที่เธอออกมาทำงานศิลปะการเมือง</p>
<p>“นรกเลยเกิดขึ้น เราต้องไปรักษารพ.รัฐ ก็ใช้สิทธิรพ.ของมหาวิทยาลัย ซึ่งจองคิวยากมาก เป็นผู้ป่วยนอกอย่างเราต้องมาตั้งแต่ 04.00-05.00 น. เพื่อจับบัตรคิว และจิตเวชที่นี่รับผู้ป่วยนอกกเพิ่มแค่ 3-4 คนต่อวัน ซึ่งเราก็ทำไม่ได้ เพราะเรียนหนักก็นอนดึก ต้องตื่นเช้ามาลุ้นจับบัตรคิวอีก ก็แทบเหลือเวลานอนไม่ถึง 5 ชม.ด้วยซ้ำ”</p>
<p>เพชรนิลเล่าว่าการไปรักษาที่รพ.รัฐเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะจำนวนผู้ป่วยเยอะ แต่รับผู้ป่วยเข้าการรักษาน้อย ทำให้ต้องตื่นเช้าไปจับบัตรคิว เพราะทางโรงพยาบาลไม่ได้มีระบบจองคิวล่วงหน้า เลยทำให้ผู้ป่วยแต่ละวันหนาแน่นมาก และไม่สามารถรู้ได้ว่าวันนี้ที่ไปรอเธอจะได้คิวเข้ารักษาจิตเวชหรือไม่ หรือจะได้วันไหนก็ไม่สามารถรู้ได้ ซึ่งถ้าทำตามระบบของโรงพยาบาลไปเรื่อยๆอาจจะได้เจอหมอแต่เวลาเรียนอาจจะขาดและเรียนไม่จบแทน </p>
<p>“สุดท้ายก็เข้าไม่ถึงหมอ ไม่มียากิน ก็พยายามทำตัวให้มีความสุขเข้าไว้ ช่วงนั้นเลยกลายเป็นคนกินเบียร์เยอะมาก การเมาทำให้เราลืมเรื่องเศร้าไปได้ บางทีกินแล้วหลับเลย และถ้าวันไหนไม่ได้กินเบียร์ตอนกลางคืน มันกลายเป็นว่าเราใช้เวลาช่วงกลางคิดมาก คิดกับตัวเองเยอะเกินไป จนกลายเป็นความเครียดนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง”</p>
<p>เพชรนิลเล่าว่า การที่ไม่สามารถเข้าหาหมอจิตเวขได้โดยง่ายทำให้เธอให้มาพึ่งพาแอลกอฮอล์เพื่อเมาให้ลืมความเศร้า ลืมความเครียดและหลับไป ทำให้แอลกอฮอล์เป็นส่วนหนึ่งในการผ่านพ้นแต่ละค่ำคืนไป และเมื่อไม่ได้พึ่งพาก็จะทำให้ตนเองเครียดและนำไปสู่การทำร้ายตนเอง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53547755338_0710b428e5_o.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพเพชรนิลถ่ายโดย sama_517 </span></p>
<p>“สภาพแวดล้อมมีผลกับตัวเรามาก ถ้าเราไปอยู่ในสังคมที่มีสภาพแวดล้อมที่ไม่มีความเข้าใจเรื่องโรคซึมเศร้า สังคมที่ใช้คำพูดด้วยคววามรุนแรง หรือขาดแฟนเราที่เป็นคนรับฟังเราไป”</p>
<p>เพชรนิลเล่าว่า มีครั้งหนึ่งที่เธอได้ไปเจอเรื่องที่ทำให้ตัวเองเศร้า ทำให้คิดลบกับตัวเอง แล้วระหว่างทางกลับบ้านก็เจอเรื่องราวคำพูดที่รุนแรง ยิ่งกระตุ้นให้เธอเกลียดตัวเอง เมื่อถึงบ้านแล้วเจอยาพาราเซตามอลที่บ้าน ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้าน แต่เธอมองยาเป็นสิ่งที่ทำให้เธอสามารถฆ่าตัวตาย ได้และได้ตัดสินใจที่จะฆ่าตัวตายด้วยการตัดสินใจของตนเอง (committed suicide) </p>
<p>“ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรเลยนะ เอาแค่ให้ตัวเองตายง่ายที่สุด เลยเลือกกินยาพาราไป 50 เม็ด คิดแล้วนะว่าตายชัวร์ แต่ก็ไม่”</p>
<p>เธอเล่าให้ฟังว่าหลังจากกินยาพาราเซตามอลเข้าไป 50 เม็ด ด้วยความตั้งใจว่าตนเองจะได้ตายแน่นอน กลับกลายเป็นว่าเธอยังไม่ตาย และกินข้าวไม่ได้เลยในวัน 2 วันแรกหลังกินยา และเริ่มอาเจียนออกมาในวันที่ 3 ซึ่งแฟนของเธอเห็นอาการพอดี เลยรีบพาไปหาหมอ </p>
<p>“คือวันแรกๆมันมีสำรอกออกมานิดหน่อย แต่ไม่ได้แบบอ้วกแหวะแบละออกมานะ แต่มึนหัวปวดท้อง จนมาวันที่ 3 ได้กลิ่นแรงนิดหน่อยก็อ้วกกระจาย อ้วกตลอด” </p>
<p>เพชรนิลเล่าให้ฟังว่า 3 วันที่หลังกินยาไป โดยตั้งใจว่าตายแน่นอนแต่กลับไม่ตาย ทำให้เธอเครียดกว่าเดิม ทำให้เกิดความคิดว่าจะเป็นโรคอื่นเพิ่มหรือไม่ จะกลายเป็นคนพิการหรือไม่ ชีวิตจะลำบากกว่าเดิมไหม ซึ่งถ้ามีโรคหรืออาการพิการเพิ่มขึ้นมาที่มีค่ารักษาแพง เธอไม่มีเงินที่จะไปรักษาต่อ </p>
<p>เธออธิบายว่าเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นต่ออีกระลอกหลังจากที่พยายามทำให้ตัวเองตายแต่ไม่ตาย</p>
<p>“ซึ่งการกินยาฆ่าตัวตายที่เล่ามานี้ เราไม่ได้บอกแฟนว่าจะลงมือทำ หรือให้สัญญาณอะไรเลยว่าจะเรากำลังจะกินยาเพื่อให้ตัวเองตาย เพราะแฟนเราเป็นคนสำคัญสำหรับเรามาก เลยไม่อยากให้รับรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น ไม่อยากให้เขาต้องแบกรับเรื่องราวจากการตัดสินใจของเราเอง ให้เป็นกระบวนการฆ่าตัวตายที่เขาไม่ต้องมารับรู้ จะได้ไม่ต้องช่วยชีวิตแล้วเราก็ตายไปเลย” เพชรนิลกล่าว</p>
<p>“พอแฟนเห็นเราซม 3 วัน ถึงจะไม่รู้ว่าเรากำลังอยู่ในกระบวนการฆ่าตัวตายแต่เขาก็รับรู้ความไม่ปกติได้เลยพาไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลตามสิทธินักศึกษาเรา เราเรียกช่วงเหตุการณ์นี้ว่า นรกรอบที่ 2” </p>
<p>เพชรนิลเล่ามาถึงตรงนี้ เธอบอกว่า อาการป่วยของเธอจะเห็นได้ว่าโรคซึมเศร้าของเธอเริ่มมาตั้งแต่การล่วงละเมิดทางเพศ จนนำมาสู่อาการนอนไม่หลับ กินอาหารไม่ได้ คิดมาก มองตัวเองในแง่ลบ ต้องพึ่งพาแอลกอฮอล์ตอนกลางคืนเพื่อให้ผ่านพ้นแต่ละค่ำคืนไปได้ และเมื่อไปเจอสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เธอเกิดความรู้สึกกับตัวเองในทางที่แย่ ทุกประสบการณ์แย่ๆ ที่สะสมมาไม่ได้หายไป จนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย</p>
<p>“เราเข้าไปอยู่ในห้องฉุกเฉินตั้งแต่บ่ายโมง ได้ตรวจกับหมอตอนสองทุ่ม และหมอให้แฟนเรากลับบ้านตอนสี่ทุ่ม ตลอดเวลานั้นแฟนเรานั่งเฝ้าเราอยู่ข้า