[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 13 มีนาคม 2567 06:32:40



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 10 ปีที่ถูกขัง ชะตากรรมชาวอุยกูร์ยังไร้จุดหมาย เมื่อ 'การเมืองระหว่างประเทศ'
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 13 มีนาคม 2567 06:32:40
10 ปีที่ถูกขัง ชะตากรรมชาวอุยกูร์ยังไร้จุดหมาย เมื่อ 'การเมืองระหว่างประเทศ' มาก่อน 'มนุษยธรรม'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-03-13 03:42</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: เสวนา 'The Fort' จัดวงเสวนา หัวข้อ "เสรีภาพที่รอคอย: สิบปีผู้ลี้ภัยอุยกูรย์ในห้องกักของไทย" เมื่อ 9 มี.ค. 2567 (ถ่ายโดย The Fort)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เดือน มี.ค. 2567 ครบ 10 ปี ที่ชาวอุยกูร์ลี้ภัยมาที่ประเทศไทย และถูกควบคุมตัวโดยตำรวจตรวจเข้าเมืองไทยตั้งแต่ปี'57 เป็นต้นมา ปัจจุบัน มีชาวอุยกูร์ถูกคุมขังในห้องกักกัน ตม.ไทย ราว 43 ราย และยังไม่รู้ว่าต้องถูกคุมขังอีกนานเท่าไร </p>
<p>รายงานจาก 'สภาอุยกูร์โลก' (World Uyghur Congress) เผยว่า ระหว่างปี 2557-2566 มีชาวอุยกูร์ เสียชีวิตในห้องกักของ ตม. ไทยแล้ว 5 ราย ซึ่งนำไปสู่การเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการกักตัวผู้ลี้ภัยในห้องกัก ตม.</p>
<p>แม้ว่าเมื่อปีที่แล้ว (2566) กรรมการสิทธิมนุษยชน หรือ กสม. มีข้อเสนอที่ชัดเจนว่าให้รัฐบาลไทยคุ้มครองผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ แต่ชาวอุยกูร์กลับยังต้องเผชิญความเสี่ยงต่างๆ อนาคตของผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ในไทยจะเป็นอย่างไร และรัฐบาลไทยควรปรับเปลี่ยนนโยบายนี้อย่างไร เพื่อยุติการกักผู้ลี้ภัยชาวอุย์กูร์อย่างไร้จุดหมาย</p>
<p>เมื่อ 9 มี.ค. 2567 องค์กรภาคประชาสังคม 'The Fort' จัดวงเสวนา หัวข้อ "เสรีภาพที่รอคอย: สิบปีผู้ลี้ภัยอุยกูร์ในห้องกักของไทย" เชิญภาคประชาสังคมจากหลายภาคส่วนมาร่วมพูดถึงปัญหาและความเป็นมาของปัญหาควบคุมตัวชาวอุยกูร์ในประเทศไทย คุณภาพชีวิตในเรือนจำและห้องกัก และทางแก้ไขอาจอยู่ที่การนำหลัก 'มนุษยธรรม' นำการเมืองระหว่างประเทศ</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="314" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FTheFortSpace%2Fvideos%2F701854375438656%2F&amp;show_text=false&amp;width=560&amp;t=0" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">ไทม์ไลน์ผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่ถูกควบคุมตัวในประเทศไทย</span></h2>
<p>- 12-13 มี.ค. 2557 ตม.พบชาวอุยกูร์ เมืองซินเจียง ประเทศจีน จำนวน 220 คน คาดว่าเป็นผู้ชาย 78 คน ผู้หญิง 60 คน และเด็กๆ อีก 82 คน บางคนเป็นเด็กทารก ที่สวนยางพารา อ.รัตภูมิ สงขลา และถูกนำตัวไปกระจายตามห้องกัก ตม.ทั่วประเทศ </p>
<p>- ปลายเดือน มิ.ย. 2558 ทางการไทยส่งตัวผู้หญิงและเด็กชาวอุยกูร์จำนวน 170 กว่ารายไปประเทศตุรกี</p>
<p>- 8 ก.ค. 2558 ชาวอุยกูร์ จำนวน 109 ราย ถูกทางการไทยบังคับส่งกลับไปที่ประเทศจีน ใส่กุญแจมือ และคลุมถุงดำ ส่งตัวพวกเขาให้กับเจ้าหน้าที่จีนที่กรุงเทพฯ จากนั้น มีการส่งตัวขึ้นเครื่องบินพร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจชาวจีนที่มารับตัวในระหว่างการส่งตัว และไม่มีใครทราบชะตากรรมของพวกเขาอีกเลยหลังจากนั้น </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52258018771_767d4f012a_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ ชาวอุยกูร์จำนวน 109 คนถูกเอาถุงดำคลุมหัวและใส่กุญแจมือ ระหว่างถูกส่งตัวกลับประเทศจีน</span></p>
<p>- 27 ก.ค. 2565 ทางการไทยนำชาวอุยกูร์ 50 รายในสถานกันกัก ตม. ทั่วประเทศ มาอยู่ที่ ตม.สวนพลู กรุงเทพฯ และปัจจุบันมี 43 ราย ที่ยังถูกกักที่ ตม. สวนพลู กรุงเทพฯ </p>
<p>- ทั้งนี้ รายงานของสภาอุยกูร์โลก เผยว่า ตั้งแต่ 2557 เป็นต้นมา มีชาวอุยกูร์เสียชีวิตระหว่างถูกคุมขังโดยทางการไทย อย่างน้อย 5 ราย กรณีล่าสุด 2 ใน 5 เสียชีวิต จากปัญหาด้านสุขภาพระหว่างถูกกักตัวในปี 2566</p>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ขอให้พ่อของเขาได้กลับมาพบกับครอบครัวอีกครั้ง</span></h2>
<p>เสวนาเริ่มต้นด้วยการอ่านจดหมาย (https://www.facebook.com/TheFortSpace/videos/991203972683781)จากสมาชิกครอบครัวของผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่อยู่ในห้องกัก ตม. ถึงรัฐบาลไทย </p>
<p>ผู้เขียนจดหมาย เคยเป็นหนึ่งในผู้แสวงหาที่ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่เดินทางมายังประเทศไทย และถูกจับกุมเมื่อ 14 มี.ค. 2557 ภายหลังเขา พี่น้อง และแม่ ได้ลี้ภัยไปยังที่ประเทศตุรกี เมื่อปี 2558 แต่พ่อของเขาต้องถูกควบคุมตัวอยู่สถานกักกันของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน รวม 10 ปี </p>
<p>จดหมายของเขา ระบุว่า เขาขอโทษทางการไทยที่เข้ามาโดยไม่รับอนุญาตเมื่อคราวนั้น เขายืนยันว่าต้องหลบหนีการประหัตประหารเข้ามาในประเทศไทย แม้ว่าตัวเขาและแม่ได้เดินทางไปยังประเทศตุรกีแล้ว แต่พวกเขายังคงคิดถึงและยังหวังว่าพ่อของเขาจะได้กลับมาพบหน้าครอบครัว</p>
<p>จดหมายทิ้งท้ายถึงการขอความเมตตาถึงรัฐบาลไทยที่จะปล่อยตัวพ่อของเขาจากสถานกักกันคนต่างด้าวของ ตม. และขอให้พ่อของเขาได้กลับมาพบครอบครัวอีกครั้ง</p>
<p>"การพลัดพรากจากครอบครัวสร้างความเจ็บปวดในหัวใจ และเรายังฝันที่จะได้กลับมาอยู่ร่วมกันอีกครั้ง แต่สิ่งนี้ไม่อาจจะเกิดขึ้นถ้าไม่ได้รับความเมตตาจากท่าน ผมขอให้ท่านคำนึงถึงผลระทบต่อมนุษย์ที่ต้องพลัดพราก และช่วยให้มีการปล่อยตัวพ่อของผม เพื่อให้เราสามารถอยู่รวมกันเป็นครอบครัวได้อีกครั้งหนึ่ง" จดหมายระบุ</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="314" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FTheFortSpace%2Fvideos%2F991203972683781%2F&amp;show_text=false&amp;width=560&amp;t=0" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อเสนอจาก กสม.ต่อการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยอุยกูร์</span></h2>
<p>รัตติกุล จันทร์สุริยา ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้กล่าวถึงข้อเสนอของ กสม. หลังจากที่ได้เข้าไปตรวจเยี่ยมห้องกักคนต่างด้าวของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เมื่อปี 2566 เธอพบว่า สภาพความเป็นอยู่ของผู้กักกันในสถานกักกันคนต่างด้าวตอนนี้ทำให้พวกเขามีปัญหาด้านสุขภาพ และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง</p>
<p>ที่ปรึกษา กสม. เผยปัญหาว่า ชาวอุยกูร์ในห้องกักฯ ตม. สวนพลู เข้าไม่ถึงสิทธิการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก และเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย หรือผู้ถูกกักกัน ตามหลักสิทธิมนุษยชน และหลักกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง หรือ ICCPR</p>
<p>เนื่องด้วยชาวอุยกูร์เข้าไม่ถึงสิทธิการติดต่อกับบุคคลภายนอก หรือสมาชิกครอบครัว ที่ปรึกษา กสม. เสนอว่า ชาวอุยกูร์ควรสามารถติดต่อกับที่ปรึกษาทางกฎหมาย เจ้าหน้าที่สถานทูตต่างๆ และกรณีผู้นับถือศาสนาอิสลาม ควรได้ติดต่อกับจุฬาราชมนตรี โดยการสื่อสารอาจอยู่ภายใต้การสังเกตการณ์ หรือการควบคุมของเจ้าหน้าที่ ตม.ได้ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53583911331_d909e99c20_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">รัตติกุล จันทร์สุริยา (ถ่ายโดย The Fort)</span></p>
<p>รัตติกุล เสนอด้วยว่า ชาวอุยกูร์ควรเข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุข เช่น ให้มีแพทย์ และจิตแพทย์ เข้าไปตรวจสุขภาพในห้องกัก และเสนอให้มีการแยกเด็กและผู้หญิงในสถานที่ต่างหาก เพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ และหลักการแมนเดลลา </p>
<div class="note-box">
<p>หลักการพื้นฐาน 5 ประการสำคัญ หลักการแมนเดลา ประกอบด้วย</p>
<ol>
<li>ผู้ต้องขังพึงได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพต่อศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์</li>
<li>ห้ามทรมมานหรือการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังด้วยความทารุณ</li>
<li>ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังโดยคำนึงถึงความต้องการขั้นพื้นฐานโดยไม่เลือกปฏิบัติ</li>
<li>วัตถุประสงค์ของเรือนจำ คือ การคุ้มครองสังคมให้ปลอดภัยและลดการกระทำความผิดซ้ำ</li>
<li>ผู้ต้องขัง เจ้าหน้าที่ ผู้ให้บริการต่างๆ ในเรือนจำ และผู้เข้ามาเยี่ยมจะต้องได้รับความปลอดภัยตลอดเวลา</li>
</ol>
</div>
<p>รัตติกุล เสนอทางออกระยะยาวว่า ทางการไทยควรเปิดปรับปรุงห้องกักใหม่ จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นไปตามหลักการแมนเดลลาและสิทธิมนุษยชน รวมถึงแก้ไขความแออัดในห้องกัก โดยมีช่องทางและโอกาสให้ผู้ลี้ภัยสามารถเดินทางไปประเทศที่ 3</p>
<p>ที่ปรึกษา กสม. เรียกร้องให้รัฐไทยปฏิบัติตามจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปเผชิญอันตรายในประเทศต้นทาง และเรียกร้องให้มีการคุ้มครองตามหลักการผู้แสวงหาการคุ้มครองในระดับสากล เธอยืนยันด้วยว่า กสม.จะติดตามตรวจสอบประเด็นคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่สถานการณ์ของอุย์กูร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาดีขึ้น  </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ชาวอุย์กูร์ยังไม่ได้ไปไหน เพราะการเมืองต่างประเทศ</span></h2>
<p>ต่อมา วงเสวนา "เสรีภาพที่รอคอย: สิบปีผู้ลี้ภัยอุยกูรย์ในห้องกักของไทย" มีผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย กัณวีร์ สืบแสง สส.พรรคเป็นธรรม ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการฝ่ายภูมิภาคเอเชีย ฮิวแมนไรต์ วอตช์ ชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ประธานมูลนิธิศักยภาพชุมชน และ แอนเดรีย จิโอเก็ตตา ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชีย International Federation for Human Rights โดยมี พุทธณี กางกั้น ผู้อำนวยการเดอะฟอร์ท ดำเนินรายการ</p>
<p>ภายในวงเสวนา ได้ทำให้เห็นว่าหนึ่งในอุปสรรคที่ขวางกั้นการเดินทางลี้ภัยไปประเทศที่ 3 ของชาวอุยกูร์คือ 'การเมืองระหว่างประเทศไทย-จีน' </p>
<p>ทั้งนี้ ชาว 'อุย์กูร์' เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน มีประชากรอยู่ราว 10 ล้านราย ช่วงที่ผ่านมาพวกเขาเผชิญกับนโยบายกดขี่ทางวัฒนธรรม และศาสนา เนื่องจากจีนมีนโยบายไม่อนุญาตให้ชาวอุยกูร์นับถือศาสนาอิสลาม อีกทั้ง ไม่ให้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ทำให้เขามีความต้องการลี้ภัย เพื่อไปยังประเทศที่ 3 ที่อนุญาตให้พวกเขาดำเนินการใช้ชีวิตตามหลักศาสนกิจได้ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53584235249_83113e38ea_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แผนที่มณฑลซินเจียง ประเทศจีน (ที่มา: สถานทูตและสถานกงศุลสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย)</span></p>
<p>ชาวอุย์กูร์บางส่วนใช้เส้นทางลี้ภัยลงมาที่บริเวณภายใต้ของไทย หรือประเทศมาเลเซีย เพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศที่ 3 โดยประเทศที่พวกเขาต้องการลี้ภัยไปมากที่สุด และดีที่สุดคือประเทศตุรกี </p>
<p>กัณวีร์ สืบแสง สส.พรรคเป็นธรรม กล่าวว่า เมื่อปี 2557 สมัยที่เขาทำงานเป็นผู้ประสานงาน ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เขาได้รับแจ้งจาก ตม.ภาค 6 จ.สงขลา ให้ช่วยตรวจสอบผู้ลี้ภัยกลุ่มหนึ่ง โดยแกนนำในกลุ่มอ้างว่าพวกเขาเป็นชาวเติร์กกิก และกำลังอยู่ระหว่างทางกลับบ้าน แต่ภายหลังทราบว่าเป็นชาวอุยกูร์จากประเทศจีน ที่ต้องการจะเดินทางไปที่ประเทศตุรกี </p>
<p>กัณวีร์ ระบุว่า เขาติดต่อไปยังสถานทูตตุรกี ประจำประเทศไทย และให้ส่งเจ้าหน้าที่มาคุยกับผู้ลี้ภัย หลังจากนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของจัดทำสถานะ 'ผู้ลี้ภัย' ให้ชาวอุยกูร์ 220 ราย โดยที่ทางการตุรกี ระบุว่า เขาไม่ต้องการให้มีการจัดทำสถานะในประเทศไทย และต้องการส่งตัวผู้ลี้ภัยไปที่ประเทศตุรกีก่อน และค่อยจัดทำสถานะดังกล่าว เนื่องจากเป็นกรณีพิเศษ </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53584361090_f4a93f2493_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">กัณวีร์ สืบแสง (ถ่ายโดย The Fort)</span></p>
<p>สส.พรรคเป็นธรรม กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้เขาติดต่อไปยังตำรวจตรวจเข้าเมือง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอให้ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้เดินทางไปยังประเทศตุรกี และทางการไทยได้ยืนยันว่า เป็นเรื่องที่ดี และให้ดำเนินการได้ พร้อมกับขอให้ประเทศตุรกีรับผู้ลี้ภัยเพิ่ม ซึ่งทางตุรกีตกลง</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ขณะที่ประเทศตุรกีส่งเครื่องบินจากกรุงอังการามารับผู้ลี้ภัยอุยกูร์ กัณวีร์ได้ทราบข่าวร้ายว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยในขณะนั้น (สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล) ไม่อนุญาตให้ทางการตุรกีมารับผู้ลี้ภัยแล้ว </p>
<p>"วันที่เครื่องบินจากอังการาบินมายังประเทศไทย เราได้รับข่าวร้ายจากรัฐบาลไทยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไม่ต้องการให้เครื่องบินจากอังการามายังประเทศไทย และบอกว่าข้อตกลงล่มแล้ว" กัณวีร์ กล่าว และระบุว่า หลังจากนั้น เขาได้ทราบข่าวว่า ชาวอุยกูร์ถูกคุมขังในสถานกักกันทั่วประเทศไทย เช่น ภาคใต้ ภาคอีสาน และอื่นๆ </p>
<p>อดีตผู้ประสานงาน UNHCR เผยว่า ในระหว่างที่เขาไปทำงานที่ซูดานใต้ ภูมิภาคแอฟริกา เขาได้ทราบข่าวว่า ทางการไทยบังคับส่งตัวชาวอุย์กูร์ 109 คนกลับไปที่ประเทศจีน เมื่อ 8 ก.ค. 2558 และนับจากวันนั้นเป็นต้นมา เขาก็ไม่ทราบข่าวคราวของชาวอุยกูร์กลุ่มนี้อีกเลย</p>
<p>โรเบิร์ตสัน ตั้งข้อสังเกตว่า การส่งตัวกลับไปประเทศจีนนั้นอาจเป็นความพยายามเอาใจประเทศจีนของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น เพราะว่าไทยและจีนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน  </p>
<p>ชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ประธานมูลนิธิศักยภาพชุมชน เสริมว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนที่มีความใกล้ชิดกันนี้สะท้อนจากนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน นำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โดยมีนโยบายการยกเลิก VISA เข้าเมืองให้กับชาวจีน และมีมาตรการหลายๆ อย่างเพื่อชักชวนนักธุรกิจจีนให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53584360240_cbc0a2c3e2_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ฟิล โรเบิร์ตสัน (ถ่ายโดย The Fort)</span></p>
<p>รองผู้อำนวยการฝ่ายภูมิภาคเอเชีย ฮิวแมนไรท์ วอตช์ กล่าวว่า การส่งตัวชาวอุยกูร์ 109 คนกลับไปประเทศจีน ทำให้ประเทศไทยถูกโจมตีอย่างหนักเนื่องจากเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง </p>
<p>ด้วยกระแสการต่อต้านที่เกิดขึ้น ทำให้รัฐบาลไทย มองว่า การตัดสินใจที่ดีที่สุดคือ 'การไม่ตัดสินใจ' เพราะว่าส่งกลับจีนก็ถูกนานาชาติประณามว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างใหญ่หลวง และจะไม่ส่งไปตุรกี เพราะกังวลเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีน ทำให้อุย์กูร์ราว 40 ราย ต้องอยู่สถานกักกันแบบไม่มีกำหนด หรืออาจจะต้องอยู่จนเสียชีวิต </p>
<p>ชลิดา เสริมว่า เธอเคยนำเรื่องที่กักกันชาวอุย์กูร์ไปถามในกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เพราะเธอมองว่าพื้นที่เรือนจำ หรือห้องกัก ไม่ใช่พื้นที่ที่ควรกักชาวอุย์กูร์ ห้องกักควรใช้ควบคุมตัวระยะสั้นๆ เพื่อรอส่งไปยังประเทศที่ 3 เท่านั้น  </p>
<p>อย่างไรก็ตาม กมธ.การต่างประเทศ ตอบกลับว่าไม่สามารถทำได้ เนื่องจากประเทศจีนมีการตรวจสอบเรื่องชาวอุย์กูร์ในประเทศอย่างใกล้ชิด และถ้าต้องส่งคนเหล่านี้ไปประเทศที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตจากจีน นอกจากนี้ มีคนใน กมธ. ตั้งคำถามว่า ทำไมต้องมานั่งฟังจีนตลอดเวลา ซึ่งเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งบอกว่า ไทยต้องการความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน และมาตรการการสนับสนุนทางเศรษฐกิจจากจีน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">คุมขังไม่มีกำหนด ขัดกฎหมายระหว่างประเทศ</span></h2>
<p>สำหรับกรณีการคุมขังผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ในห้องกักอย่างไม่มีกำหนดนั้น แอนเดรีย ตั้งข้อสังเกตว่า การกระทำลักษณะนี้ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ ICCPR ข้อที่ 9 กำหนดว่า "บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกาย และบุคคลจะถูกจับกุมหรือควบคุมโดยอำเภอใจมิได้" ซึ่งไทยเคยให้สัตยาบันไว้ ก็ต้องปฏิบัติตาม </p>
<p>นอกจากนี้ แอนเดรีย มองว่า ถ้ามีการเสนอเคสต่างๆ ของอุย์กูร์ ไปกับคณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ (Working Group on Arbitrary Detention) ซึ่งดำเนินภายใต้สหประชาชาติ เขาเชื่อว่าจะมีหนังสือส่งข้อเสนอแนะส่งมาให้กับไทย เพื่อปล่อยตัวผู้ที่ถูกพรากไปด้วยเสรีภาพแน่นอน </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53584246634_2b1a9d5793_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แอนเดรีย จิโอเก็ตตา (ถ่ายโดย The Fort)</span></p>
<p>โรเบิร์ตสัน เรียกร้องให้ประเทศไทยไม่ส่งกลับผู้ลี้ภัยอุยกูร์กลับไปที่จีน เพราะมีความเสี่ยงว่าบุคคลเหล่านี้จะถูกทรมาน และถูกลงโทษอย่างไม่เหมาะสม อีกทั้ง ยังเป็นการขัดต่อหลักอนุสัญญาที่ไทยเคยให้สัตยาบันไว้ และกฎหมายในไทยอย่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย มาตรา 13 บัญญัติว่า ห้ามส่งบุคคลใดก็ตามสู่ภัยอันตรายที่อาจจะเป็นภัยต่อชีวิต</p>
<p>"ไทยต้องมีความกล้าที่จะยืนหยัดว่าภายใต้กฎหมายในประเทศไทยและต่างประเทศ ไม่สามารถส่งกลับไป (จีน) ได้ กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย" โรเบิร์ตสัน กล่าว </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">'มนุษยธรรม' ควรมาก่อน</span></h2>
<p>กัณวีร์ กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลไทยมีการบังคับส่งตัวชาวอุยกูร์ ทั้งหมด 109 คนกลับไปประเทจีน เขาพยายามคุยกับ กรรมาธิการทุกกรรมาธิการ รวมถึงกรรมาธิการการกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้เลย </p>
<p>สส.พรรคเป็นธรรม กล่าวต่อว่า หลังจากที่เขามาทำงานเป็นนักการเมือง เขาคิดว่ามีพื้นที่มากขึ้น แต่ยังไม่มีอำนาจในการตัดสินใจอะไรถ้ายังไม่ได้เป็นรัฐบาล ก็อยากจะอธิษฐานอย่างจริงๆ จังๆ ว่ารัฐบาลต้องตัดสินใจอย่างนี้โดยเร็ว เนื่องจากพวกเขาไม่ทราบว่าต้องถูกขังอีกกี่ปี หรือต้องเสียชีวิตอีกกี่คน </p>
<p>ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน กัณวีร์ มองว่า หลายคนอาจจะไม่เห็นด้วยกับเขา และพยายามบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศคือไทยกับจีนนั้นสำคัญกว่า แต่เขาอยากชี้ให้เห็นว่าเรื่อง 'คน' สำคัญกว่านั้นมาก </p>
<p>"เรื่องของคนมันมีความสำคัญ หลายๆ คนอาจจะไม่ได้เห็นด้วยกับผม หลายๆ คนบอกว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศสำคัญมากกว่า แต่ถ้าประเทศไม่มีมนุษย์ ประเทศก็ไม่สามารถไปต่อได้ เพราะฉะนั้น ผมพยายามผลักดันทุกอย่าง" กัณวีร์ กล่าว </p>
<p>กัณวีร์ กล่าวว่า สุดท้าย เขาหวังว่าอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไป และไม่อยากจะรออีก 2-3 ปี อยากให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมกัน พยายามด้วยกัน เพื่อหวังว่าอาจจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง </p>
<p>พุทธณี กางกั้น พิธีกรเสวนา ตั้งคำถามว่า การยุติการควบคุมตัวชาวอุยกูร์ที่อยู่ใน ตม. 40 กว่าคนนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนล่มสลายเลยหรือ ‘เราต้องการความกล้าหาญจากรัฐบาลไทย’ </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปัญหาของชาวอุย์กูร์ในห้องกักฯ ตลอด 10 ปีคือเรื่องสุขภาพ</span></h2>
<p>ชลิดา กล่าวว่า ที่มูลนิธิศักยภาพชุมชน พยายามที่จะจัดการช่วยเหลืออุย์กูร์ในเรือนจำ และสถานกักกัน เธอมองว่า ข้อเสนอของเธอเหมือนทาง กสม. คือต้องเปิดโอกาสให้พวกเขาเข้าถึงการแพทย์ เพราะว่าพวกเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย สภาพห้องกักขังที่เลวร้ายทำให้อย่างน้อย 5 รายอยู่ในสภาพใกล้เสียชีวิต และเธอไม่สามารถเยี่ยมเยียนเขาในห้องกักฯ และไม่ได้รับอนุญาตให้เยี่ยม </p>
<p>โรเบิร์ตสัน เห็นด้วยกับข้อเสนอว่า ผู้ต้องขังในสถานกักกันควรมีสิทธิในการเข้าถึงที่ปรึกษาทางกฎหมาย เพื่อไปต่อในประเทศที่ 3 และควรได้รับการเข้าถึงบริการทางด้านสาธารณสุขทั้งในและนอกสถานกักกัน หรือเรือนจำ</p>
<p>แอนเดรีย เน้นย้ำว่า สิ่งที่ขอจากรัฐบาลไทยไม่ได้เป็นเรื่องพิเศษ หรืออภิสิทธิ์ใดๆ แต่เป็นเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ทำตามกรอบสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ยากเลย แต่ว่าสภาพห้องกักไทยตอนนี้ถือว่าต่ำกว่ามาตรฐาน และปีนี้รัฐบาลไทยจะอาสาไปเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ (UNHRC) ดังนั้น เรื่องบางเรื่องไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องอ่อนไหวเกินไปอย่างการปรับปรุงห้องกัก ซึ่งรัฐบาลไทยควรให้คำมั่นในการพัฒนาในเรื่องนี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">คดีของผู้ต้องหาอุย์กูร์ กระบวนการที่ลากยาวนับสิบปี</span></h2>
<p>ชลิดา กล่าวถึง กรณีที่ชาวอุยฺกูร์ 2 ราย คือ 'อาเด็ม คาราดัก' และ 'เมียไรลี ยูซุฟู' ตกเป็นผู้ต้องหาคดีวางระเบิดศาลเจ้าพระพรหมฯ เมื่อปี 2558 โดยผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ยังคงให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53584360255_8f5d4dd8ab_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ชลิดา ทาเจริญศักดิ์ (ถ่ายโดย The Fort)</span></p>
<p>อย่างไรก็ตาม ชลิดา เป็นห่วงเรื่องความล่าช้าในการพิจารณาคดี แม้ว่าจะมีการตัดบัญชีรายชื่อพยานจากเดิม 700 ปาก เหลือเพียง 140 ปากแล้วก็ตาม ซึ่งคาดว่าจะทำให้การดำเนินคดีใช้เวลาราว 2 ปี (จนถึงปี 2569) ถึงจะมีการอ่านคำพิพากษาคดีนี้ในศาลชั้นต้น </p>
<p>กรณีคุณภาพชีวิตในเรือนจำ ผู้ต้องหาทั้ง 2 รายได้รับความลำบากเรื่องอาหาร เนื่องจากอาหารที่เรือนจำจัดเตรียมไม่ได้เป็นอาหารฮาลาล ทำให้ผู้ต้องหาไม่สามารถทานอาหาร น้ำหนักลด 10-12 กก. จึงมีการร้องเรียน และศาลมีคำสั่งทบทวนและจัดหาอาหารฮาลาลให้พวกเขาได้ </p>
<p>พุทธณี ให้ความเห็นกรณีการดำเนินคดีอาญากับชาวอุย์กูร์ใช้เวลานานเกินความจำเป็น ทำให้ความยุติธรรมล่าช้าออกไป ซึ่งไม่ควรจะช้าขนาดนี้ 
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ต่างประเทศ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อุยกูร์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คดีระเบิดราชประสงค์[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ตม.[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">จีน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ตุรกี[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สถานกักกันคนต่างด้าวหลักการไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตราย[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108406