หัวข้อ: ชวนชม : พรรณไม้ในวรรณคดีไทย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 มีนาคม 2567 12:11:44 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94009096092647_1_Copy_.jpg)
จาก วรรณคดีเรื่องอิเหนา ตอน นางจินตะหราพาอิเหนาชมสวน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ชวนชม พรรณไม้ในวรรณคดีไทย ชวนชม (Desert Rose; Impala Lily; Mock Azalea) เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า "กุหลาบทะเลทราย" (Desert Rose) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ "ชวนชม" ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนว่า "ปู้กุ้ยฮวย" ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย แต่ดอกชวนชมมีสาร abobioside, echubioside ตรงนำยางสีขาว ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ กินเข้าไปจะเป็นพิษ แต่น้ำยางมีรสขมมาก โอกาสกินมีน้อย ถ้ากินจะมีผลต่อหัวใจ อาการเบื้องต้นจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาพร่า หัวใจเต้นอ่อน ความดันลดลงอาจตายได้ ถิ่นกำเนิดของชวนชม : มีการค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ P. Forskal ทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่า ในปี พ.ศ.๒๓๐๕ แต่ตอนนั้นเชื่อว่าเป็นเพียงลั่นทมพันธุ์ใหม่ ต่อมาปี พ.ศ.๒๓๕๗ นายโจเซฟ ออกัสต์ ซูลตส์ (Josef August Schultes) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างชวนชมกับลั่นทมจนเป็นที่ยอมรับ ส่วนในประเทศไทย มีการพบชวนชมตั้งแต่ประมาณสมัยรัชกาลที่ ๖ แต่ก็ไม่ทราบว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไร (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/97486751402417_2_Copy_.jpg) ชวนชม มีลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน อวบน้ำ ต้นและกิ่งเป็นลำกลม ผิวค่อนข้างเรียบสีเขียวอมเทา เปลือกบาง แตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ ส่วนโคนของลำต้นพองออกมีขนาดรูปทรงเล็กแตกต่างกันไปตามชนิดของพันธุ์ เรียกว่า โขด ทำหน้าที่เป็นรากที่ใช้สะสมอาหารเหมือนพืชหัวทั่วๆ ไป ลักษณะทั่วไป : ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนรอบกิ่งคล้ายๆ กังหันหลายๆ ชั้น และออกหนาแน่นตรงปลายกิ่ง ลักษณะใบและขนาดของใบแตกต่างไปตามพันธุ์ เช่น ใบรูปไข่กลับ ใบรูปหอกกลับ รูปแถบ ปลายใบมีทั้งเว้า มน แหลม และใบตัด ขอบใบเรียบ หยักหรือเป็นคลื่น ใบแผ่แบนหรือห่อขึ้น แผ่นใบหนาแข็งเขียวเข้มเป็นมันหรือมีขนใต้ท้องใบ ดอกเป็นช่อออกที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งประมาณ ๑๐-๒๐ ดอก ส่วนใหญ่มีกลีบดอก ๕ กลีบ อาจมีดอกซ้อนหรือ ๖ กลีบบ้าง กลีบดอกเรียงติดอยู่รอบโคนกลีบดอก หรือหลอดดอก ลักษณะกลีบดอกมีหลายรูปแบบ คือ รูปกลม รูปไข่ รูปไข่กลับ รูปแถบและรูปรี ขึ้นอยู่กับพันธุ์ มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ฝักหรือผลออกเป็นคู่ติดกัน ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนเล็กๆ คล้ายเมล็ดข้าวเปลือก มีขนสีน้ำตาลอ่อนเป็นพู่ ติดอยู่ที่ปลายแหลมทั้งสองข้าง เดิมชวนชมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบแอฟริกาซึ่งมีสภาพแห้งแล้ง เมื่อนำมาปลูกในสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า ดินปลูกที่ดีขึ้น ชวนชมย่อมเจริญเติบโตได้ดีกว่าในดินทรายถิ่นกำเนิดเดิม แต่โครงสร้างของต้นชวนชมก็ยังเป็นไม้อวบน้ำอยู่เช่นเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม คือต้นยังอวบน้ำและทนน้ำขังไม่ได้ ดังนั้น การปลูกเลี้ยง ควรปลูกในที่มีแสงแดดจัดในช่วงครึ่งวันเช้า ดินที่เหมาะสม คือ ดินโปร่งร่วนซุย ระบายน้ำได้ดีคล้ายดินทราย และควรเติมวัสดุปรุงดินต่างๆ เพิ่มลงไปในดินเพื่อให้มีความร่วนซุย เช่น ใบก้ามปู กาบมะพร้าวสับ เปลือกถั่วลิสง แกลบดิบ และทรายหยาบ เป็นต้น โดยธรรมชาติของชวนชมเป็นต้นไม้ที่มีความอ่อนช้อย การตัดแต่งกิ่งควรตัดกิ่งเกะเก้งก้างออกไปเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และได้โชว์โขดหรือหัวที่สวยงานของชวนชม (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61667380647526_3_Copy_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64236822765734_4_Copy_.jpg) โขดหรือหัวที่สวยงานของชวนชม |