[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 05 เมษายน 2567 00:34:49



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'พริษฐ์' เผยไพ่ตาย 3 ใบของรัฐบาล ลดทอนอำนาจ ปชช. ล็อกสเปก รธน.ฉบับใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 05 เมษายน 2567 00:34:49
'พริษฐ์' เผยไพ่ตาย 3 ใบของรัฐบาล ลดทอนอำนาจ ปชช. ล็อกสเปก รธน.ฉบับใหม่
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-04-04 23:09</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: พริษฐ์ วัชรสินธุ (ที่มา: TP Channel (https://www.youtube.com/watch?v=3FNy37HHpP8))</p>
<p>ภาพประกอบ: ที่มา: TP Channel (https://www.youtube.com/watch?v=3FNy37HHpP8)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'พริษฐ์' อภิปราย พยากรณ์รัฐบาลซ่อนไพ่ตาย 3 ใบ ลดทอนอำนาจของ ปชช.แก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดทางอำนาจที่ไม่ยึดโยงกับ ปชช.เข้ามาแทรกแซง ล็อกสเปก เสนอนายกฯ ต้องสนับสนุน สสร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100%</p>
<p> </p>
<p>4 เม.ย. 2567 ยูทูบ TP Channel  (https://www.youtube.com/watch?v=3FNy37HHpP8)ถ่ายทอดสดออนไลน์วันนี้ (4 เม.ย.) การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 32 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ วาระอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 พริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายเรื่องกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ที่ล่าช้า และข้อเสนอให้นายกฯ สนับสนุนสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และไม่สนับสนุน สสร.ที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53632097110_547950cfb1_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">พริษฐ์ วัชรสินธุ (ที่มา: TP Channel (http://www.youtube.com/watch?v=3FNy37HHpP8))</span></p>
<p>สส.พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ต้อตอปัญหาในการเมืองไทยหลายประการ ยกตัวอย่าง การแต่งตั้งองคมนตรีที่มาจากคณะรัฐประหาร ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเสนอแก้ไขมาตรา 112 เป็นสิทธิการล้มล้างการปกครอง ศาลอุทธรณ์ปฏิเสธสิทธิการประกันตัวผู้ถูกกล่าวหามาตรา 112 แม้ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี หรือยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน กกต.ยื่นคำร้องยุบพรรคการเมืองที่ประชาชนเลือกเข้ามาในสภาฯ </p>
<p>ต้นตอปัญหาที่ยกขึ้นมานั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งนายกฯ และรัฐบาลยืนยันมาตลอดว่าต้องแก้ไข เราจะหลุดจากรัฐธรรมนูญนี้ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความแน่วแน่ของรัฐบาล ซึ่งวัดได้จาก 2 โจทย์ และ 2 คำถามสำคัญ ประกอบด้วย</p>
<ol>
<li>รัฐธรรมนูญ จะสำเร็จเมื่อไร </li>
<li>รัฐธรรมนูญ จะหน้าตาเป็นอย่างไร</li>
</ol>
<p>หลังการเลือกตั้ง ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังการเลือกตั้ง โดยผ่าน สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด โดยคาดว่าใช้เวลา 18 เดือน แต่ตอนนี้ผ่านมาเกือบครึ่งทาง ชัดเจนว่าคำพูดเมื่อเวทีนั้นเป็นเพียงลมปากที่เชื่อถือไม่ได้ และหลังจากรัฐบาลไปจับมือกับพรรคการเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับคณะรัฐประหาร ก็เห็นแล้วว่าความกระตือรือร้นของรัฐบาลระเหยหายไป </p>
<p>พริษฐ์ เผยว่า รัฐบาลจะมีอยู่ 2 ทางเลือกหลักในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือการเดินตามเส้นทางประชามติ 2 ครั้ง โดยขั้นตอนแรก ยื่นและหาทางบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผ่าน สสร. เข้าสู่รัฐสภา และเดินตามทางประชามติ 3 ครั้ง ซึ่งเริ่มต้นจากการเพิ่มประชามติขึ้นใหม่อีกรอบ ตอนต้นกระบวนการก่อนเสนอร่าง รธน. ใหม่ต่อรัฐสภา โดยทั้ง 2 แบบมีข้อดีข้อเสียต่างกัน บางคนมองว่าทางเลือกที่ 1 เร็วกว่า ประหยัดงบประมาณ ขณะที่ทางเลือกที่ 2 อาจจะชัวร์กว่า อย่างไรก็ตาม โจทย์นี้ไม่ได้ใหม่ และรัฐบาลทราบอยู่แล้ว มันจึงเป็นเรื่องน่าผิดหวังที่รัฐบาลไม่ได้เดินหน้าอย่างเต็มที่ แต่ผ่านมา 6 เดือน รัฐบาลยังตอบข้อสอบนี้ไม่ได้ ทำได้เพียงเดินหน้าเป็นวงกลม พายเรือในอ่าง เหมือนตลก 6 ฉากที่ไม่ได้ขยับเข้าใกล้รัฐธรรมนูญใหม่ของพี่น้องประชาชน</p>
<p>พริษฐ์ กางกรอบระยะเวลาการทำงานของรัฐบาล 6 เดือนที่ผ่านมา โดย 3 เดือนแรก หลังจัดตั้งรัฐบาล พรรคเพื่อไทย ให้สัญญาว่าจะมีการเดิมทีในประชุม ครม.นัดแรก รัฐบาลจะออกมติ ครม. เพื่อจัดทำประชามติ และตั้ง สสร.เพื่อทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่เมื่อมีประชุม ครม.มีการเปลี่ยนจากทำประชามติ เป็นการจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติแทน </p>
<p>25 ธ.ค. 2566 คณะกรรมการฯ มีการแถลงแค่ข้อสรุปการศึกษาข้อเดียวคือเสนอให้ ครม.เดินหน้าประชามติ 3 ครั้ง โดยให้ประชามติครั้งแรกมีคำถามว่า ‘เห็นชอบหรือไม่หากท่านจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเว้น หมวด 1 หรือหมวด 2’ ซึ่งหลายฝ่ายโต้แย้งไว้ว่าการตั้งคำถามแบบนี้มีปัญหา และมีความเสี่ยงว่าจะทำให้ประชามติไม่ผ่านน้อยลง เพราะพอยัดไส้เงื่อนไขหรือรายละเอียดปลีกย่อยในคำถาม ทำให้ประชาชนอาจเห็นด้วยกับบางส่วนของคำถาม และอาจไม่เห็นด้วยกับบางส่วนของคำถาม ไม่แน่ใจว่าจะลงมติเช่นไร ทำให้คนที่อยากจะเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะลงคะแนนเห็นชอบอย่างเป็นเอกภาพ </p>
<p>อย่างไรก็ตาม ผ่านไปไม่ถึง 28 วันหลังแถลงข้อเสนอ สส.พรรคเพื่อไทย กลับลำเสนอยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญกับเรื่อง สสร. เข้าสู่การพิจารณาของรัฐบาล ย้อนกลับมาใช้การทำประชามติ 2 ครั้ง </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผ่านมา 6 เดือน รัฐบาลส่งศาล รธน.วินิจฉัย ประชามติแก้ไขร่าง รธน.ไร้จุดหมาย</span></h2>
<p>พริษฐ์ กล่าวว่า เมื่อรัฐบาลหันไปใช้วิธีการทำประชามติ 2 ครั้ง ต้องมาเจอตอเรื่องการบรรจุวาระรัฐธรรมนูญ เข้าสู่ระเบียบการประชุมรัฐสภา ซึ่งมีการชี้ว่าสวนทางกับความเห็นเสียงข้างมากคำวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ 4/2564 ที่ประธานฯ หยิบมาอ้าง พอถูกบีบให้จนมุม จึงตัดสินใจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินใจแทน โดยไม่มีหลักประกันว่าจะตัดสินใจเมื่อไร หรือวินิจฉัยอย่างไร</p>
<p>ความล่าช้าตลอด 1 ปีแรกของรัฐบาล อาจทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสในการมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนพร้อมใช้งานก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้า ที่พูดแบบนี้หากเรากางดูขั้นตอนต่างๆ การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเทียบกับกรอบระยะเวลา ที่เป็นไปได้ เราจะเห็นได้ชัดว่า หากรัฐบาลตัดสินใจได้ตั้งแต่ต้น ไม่ว่าทำประชามติ 2 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง เราน่าจะมี รธน.ฉบับใหม่ทันภายใน 3-4 ปี แต่พอรัฐบาลใช้เวลา 6 เดือนศึกษา และไม่ตัดสินใจ ทำให้รัฐบาลต้องรอว่า ศาล รธน.จะเมตตาหรือไม่ </p>
<p>ถ้าศาล รธน.วินิจฉัยว่า ทำประชามติ 2 ครั้ง ก็น่าจะทันกรอบระยะเวลา 4 ปีพอดี แต่หากศาลฯ วินิจฉัยออกมาว่าทำประชามติ 3 ครั้ง มันจะมีความเสี่ยงต้องกลับมาเริ่มกระบวนการทั้งหมดใหม่ และอาจไม่ทันการเลือกตั้งครั้งหน้า</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">คำถามสำคัญ รธน. หน้าตาเป็นเช่นไร</span></h2>
<p>พริษฐ์ ระบุว่า เขาต้องการเตือนภัยในอนาคตว่ามันอาจจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ แม้ว่าโจทย์รัฐธรรมนูญใหม่อาจเป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่มีโจทย์อีกข้อคือรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกมาแล้ว หน้าตาเป็นอย่างไร เนื้อหาสาระอย่างไร และออกแบบระบอบการเมืองแบบไหน</p>
<p>พริษฐ์ ฟันธงว่า แม้ว่าเราจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกมาทันก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้าก็ตาม แต่รัฐบาลเศรษฐา ที่ตั้งตัวอยู่ได้จากใบบุญเครือข่ายอำนาจเดิม จะไม่มีทางไว้ใจให้ประชาชนมาร่วมออกแบบระบอบการเมือง และจัดทำกติกาสูงสุดของประเทศตามที่พวกเขาใฝ่ฝัน และพวกเขาควรจะมีสิทธิทำได้ในฐานะคนที่มีอำนาจสูงสุดของประเทศนี้ </p>
<p>สส.พรรคก้าวไกล เชื่อว่า รัฐบาลจะล็อกไม่ให้แก้ไขหมวด 1 หรือ 2 แต่ประชาชนอาจจะไม่สามารถแก้ไขหมวด 3 หรืออื่นๆ ด้วยเหมือนกัน เพราะเมื่อไรก็ตามที่จินตนาการของประชาชนไปขัดกับผลประโยชน์ของรัฐบาล และกลุ่มอำนาจเดิม รัฐบาลอาจจะนำไพ่ไม้ตาย 3 ใบที่ไปซุ่มออกแบบ และเตรียมควักออกมาใช้ เพื่อลดทอนอำนาจของประชาชนในการกำหนดเนื้อหาของ รธน.ฉบับใหม่ </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53632097175_fbd6786e37_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไพ่ใบแรก สสร. สูตรผสม </span></h2>
<p>พริษฐ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลผสมนำโดยเศรษฐา ไม่เคยบอกว่าสนับสนุน สสร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100 % และอาจมีการนำโมเดล สสร. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดมาใช้ ซึ่งคิดค้นโดย นิกร จำนง ประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กำหนดว่า 77 คนมาจากการเลือกตั้ง 1 คนต่อ 1 จังหวัด และอีก 23 คนมาจากนักวิชาการตัวแทนกลุ่มความหลากหลายที่แต่งตั้งโดยรัฐสภา ฟังแล้วอาจจะดูดี แต่อย่าลืมว่าหากองค์กรที่ทำการแต่งตั้งกลุ่มดังกล่าวคือรัฐสภา โมเดลนี้กำลังเปิดช่องให้วุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากเลือกตั้งเข้ามาเขียน รธน.ฉบับใหม่ได้ </p>
<p>พริษฐ์ มองว่า 2 เป้าหมายนี้ทำควบคู่กันได้ และ กมธ.พัฒนาการเมืองฯ เคยจัดส่งรายงานเสนอรัฐสภา เพื่อพยายามชี้ให้เห็นว่าหากรัฐบาลจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องมีนักวิชาการหรือกลุ่มความหลากหลายอยู่ใน สสร. รัฐบาลก็มีเมนูระบบเลือกตั้ง สารพัดรูปแบบ เพื่อรับประกันระบบดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้องหันไปหาโมเดลของ สสร.ที่ไม่ได้จากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการมี สสร.แบบบัญชีรายชื่อ ที่ลงสมัครเป็นทีม อาจจะทำให้เรามีตัวแทนวิชาการหรือกลุ่มความหลากหลายเข้าไปอยู่ใน สสร. โดยธรรมชาติอยู่แล้ว หรือการเพิ่มบัตรเลือกตั้งขึ้นมาอีก 1 ใบ เพื่อให้ประชาชนเลือกนักวิชาการหรือกลุ่มความหลากหลายเข้าไปเป็น สสร. แต่ถ้าในอนาคตรัฐบาลยังดึงดันเพื่อเปิดช่องให้มี สสร.บางส่วนที่มาจากการแต่งตั้ง โดยอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง มันก็แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้ต้องการนักวิชาการหรือกลุ่มความหลากหลายอยู่ใน สสร. แต่เจตนาคือการมี สสร.ที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน เพื่อให้ท่านสามารถควบคุม เพื่อไปต่อกรหรือโหวตแข่งกับ สสร.ที่มาจากการเลือกตั้ง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53630755717_24094fef4d_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไพ่ใบที่ 2: กินรวบ กมธ.ยกร่าง</span></h2>
<p>สส.พรรคก้าวไกล กล่าวว่า แม้ว่า สสร.จะเป็นคนลงมติชี้ขาด แต่คนยกร่างมาตราต่างๆ ใน รธน. คือ กมธ.ยกร่างที่ทำงานภายใต้ สสร. ดังนั้น องค์ประกอบของคณะกรรมการยกร่างที่พรรคเพื่อไทยได้เข้าไปสมาชิก ได้มีการเปลี่ยนจากร่างพรรคเพื่อไทยปี 2563 ซึ่งสะท้อนให้เห็นชัดว่าเจตนาและความพยายามของพรรคเพื่อไทยที่จะรุกคืบและเข้าไปยึดกุมกินรวบคณะกรรมาธิการยกร่าง </p>
<p>ประการแรก สัดส่วนสมาชิก กมธ.ยกร่าง ที่มาจากการ สสร.ที่มาจากเลือกตั้งของประชาชน มีสัดส่วนลดลงจาก 30 คน เหลือ 24 คน หรือ 2 ใน 3 เดิม 61% ตอนนี้เหลือเพียง 51% ประการที่ 2 เห็นว่า กมธ. ที่ไม่ได้เป็น สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งก็เปลี่ยน จากเดิมที่ถูกแต่งตั้งโดย สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เปลี่ยนมาเป็นการถูกแต่งตั้งโดยองค์ประกอบต่างๆ ที่มีทั้งส่วนมาจากการเลือกตั้งอย่างสภาผู้แทนราษฎร และส่วนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอย่างสมาชิกวุฒิสภา </p>
<p>ประการที่ 3 ร่างที่เสนอมาในปีนี้ มีการจงใจแจกโควต้าให้ ครม. และ สส.รัฐบาลแยกออกจากกัน แทนที่จะรวมกัน ทำให้ กมธ.คนนอกที่ต้องถูกเสนอชื่อ ฝ่ายรัฐบาลสามารถเสนอชื่อได้ 14 คน ขณะที่ฝ่ายค้านเสนอชื่อได้เพียง 4 คนเท่านั้น </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53631859523_36ba085df5_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ใบสุดท้าย: สว.</span></h2>
<p>สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ระบุว่า สำหรับไพ่ใบสุดท้าย เมื่อ สสร.จัดทำรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว จะทำประชามติกับประชาชนทั่วประเทศว่าเห็นชอบหรือไม่ แต่พอเป็นร่างปี 2567 พอ สสร.จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้วจะต้องส่งไปที่รัฐสภา เพื่อให้รัฐสภามีสิทธิในการกลั่นกรองแก้ไขหรือตีกลับร่างดังกล่าว ก่อนที่จะมีการส่งไปทำประชามติ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นการเปิดให้อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเข้ามาแทรกแซงอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งได้ เพราะว่าเวลาเราพูดถึงรัฐสภาที่มีสมาชิก 700 คน โดย 200 คนเป็นสมาชิกวุฒิสภา โดยในชุดใหม่นี้ไม่ได้ถูกแต่งตั้งโดย คสช. แต่มาจากการเลือกตั้ง “ระบบแบ่งกลุ่มอาชีพ เลือกกันเอง” ซึ่งถูกวิจารณ์หนักว่าจะถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐ เพราะฝ่ายรัฐถือว่าเป็นฝ่ายที่มีอำนาจมากที่สุดในการจัดตั้งผู้สมัครทั่วประเทศ ซึ่งอาจจะทำให้มี สว.ชุดใหม่ก็จริง แต่ก็อาจจะยึดโยงกับกลุ่มอำนาจเดิม สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่คิดค้นกันไว้ และจะทยอยออกมาใช้เพื่อควบคุมเนื้อหารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ </p>
<p>หากคำทำนายของผมเป็นจริง ผมคิดว่ารัฐบาลเอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่มากว่าความคิดของประชาชน ท่านไม่ยอมให้ประชาชนออกแบบเนื้อหาของ รธน.ใหม่กันเอง แต่พยายามคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่จะเข้ามาล็อกสเปกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แบบนี้เขาไม่เรียกว่าประชาธิปไตยเต็มใบ แต่เป็น ปชต.ที่ต้องขอใบอนุญาต ที่ต้องจ่ายด้วยราคาที่แพง เทียบเท่ากับอนาคตของประเทศนี้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53631651856_5fc0a72056_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อเสนอแนะ นายกฯ ต้องหนุน สสร.เลือกตั้ง 100%</span></h2>
<p>พริษฐ์ ระบุว่า จากข้อกังวลที่ได้ตั้งต้นไว้ตอนต้นที่ได้ระบุว่าเราอาจจะได้ รธน.ที่ล่าช้า และไม่ตรงสเปกของประชาชน ผมขอสรุปข้อเสนอแนะ 4 ข้อ 1. หากมีความจำเป็นที่ต้องเพิ่มการทำประชามติจาก 2 ขึ้นมาเป็น 3 ครั้ง ก็ขอให้ปฏิเสธคำถามยัดไส้ที่ คกก.ศึกษาเสนอขึ้นมา และหันไปใช้คำถามที่มีลักษณะเปิดกว้างสำหรับประชามติครั้งแรก เพื่อให้คำถามประชามติครั้งแรกจะผ่านความเห็นชอบของประชาชน</p>
<p>2. ไม่ว่าจะต้องทำประชามติกี่ครั้งว่า ท่านจะเสนอ หรือสนับสนุน สสร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% และไม่เปิดช่องให้อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแทรกแซง หรือขี่คอได้ 3. อยากให้นายกฯ ยืนยันว่าจะสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ที่ทำให้ รธน.นั้นมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น อย่างน้อย ในบริบทที่สมาชิก สว. 250 คนที่ผ่านมาเป็นอุปสรรคแก้ไข รธน.กำลังจะหมดวาระลง</p>
<p>4. อยากให้รัฐบาลเร่งพิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งปัจจุบันมี 2 ร่างคือ ร่างที่เสนอโดยพรรคก้าวไกล และอีกร่างเสนอโดยพรรคเพื่อไทย ที่เข้าคิวรอพิจารณาในระเบียบวาระสภาผู้แทนราษฎร </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53632097085_e37113b617_b.jpg" /></p>
<p>พริษฐ์ ขออนุญาตทิ้งท้ายถึงรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ว่าความสำเร็จหรือความล้มเหลวของรัฐบาลชุดนี้ในการผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระบบการเมืองไทย หรืออนาคตของรัฐธรรมนูญของประเทศ แต่จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อความจริงใจและความสามารถในการรักษาสัจจะที่นักการเมืองให้ไว้กับประชาชน ซึ่งถูกตั้งคำถามจากประชาชนมาโดยตลอดถึงรัฐบาล เช่น นโยบายดิจิทัลวอลเลต ขึ้นค่าแรง นโยบายเกณฑ์ทหาร ซอฟต์พาวเวอร์ และอื่นๆ และสิ่งที่เขากังวลมากที่สุดคือการที่ต่อไปพรรคเพื่อไทย จะไม่สนใจประชาชนอีกต่อไป </p>
<p>"สิ่งที่ผมกังวลที่สุด คือท่านเองอาจจะไม่ได้สนใจหรือไม่ได้รู้สึกเป็นเดือดเป็นร้อนกับการที่ท่านผิดคำพูดประชาชน เพราะสุดท้ายแล้ว ระบบการเมืองที่ทำให้ท่านเข้าสู่อำนาจ ระบบการเมืองที่ทำให้ท่านสามารถดำรงอยู่อำนาจต่อได้ ระบบการเมืองที่ท่านต้องการจะออกแบบสำหรับอนาคตผ่านการล็อกสเปกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ไม่ได้มีประชาชนเป็นตัวแปรหลักสมการและไม่มีประชาชนอยู่กลางหัวจิตหัวใจของท่านอีกต่อไป" พริษฐ์ ทิ้งท้าย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รัฐธรรมนูญ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สภาร่างรัฐธรรมนูญ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พริษฐ์ วัชรสินธุ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พ.ร.บ.ประชามติ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรคเพื่อไทย[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรคก้าวไกล[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ประชุมสภา[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108691