[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ตลาดสด => ข้อความที่เริ่มโดย: ใบบุญ ที่ 23 พฤษภาคม 2567 14:40:36



หัวข้อ: Amazon ป่ามหัศจรรย์
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 23 พฤษภาคม 2567 14:40:36
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/4b/Amazon_Manaus_forest.jpg)

Amazon ป่ามหัศจรรย์


ลักษณะทั่วไปทางภูมิศาสตร์
          แอมะซอน (Amazon) ป่ามหัศจรรย์ของโลกก็เนื่องมาจากลักษณะสำคัญต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ ขนาดพื้นที่และอีกมากมาย นับเป็นป่าที่ถูกยกให้เป็นป่าลึกลับและเป็นปอดของโลก อันเนื่องมาจากเป็นป่าดิบชื้นเขตร้อนที่มีพื้นที่กว้างใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในโลก โดยมีอาณาเขตพื้นที่ประมาณ 5.5 ล้านตารางกิโลเมตร กินพื้นที่ประมาณ 9 ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ คือ บราซิล เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ โบลิเวีย กายอานา ซูรินาม และเฟรนช์เกียนา โดย 60% ตั้งอยู่ในประเทศบราซิล และมีแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกไหลผ่าน คือ แม่น้ำแอมะซอน  ทิศตะวันตกของป่าคือภูเขาแอนดีส ส่วนทิศตะวันตกคือมหาสมุทรแอตแลนติก มีปริมาณน้ำตลอดปี เนื่องจากมีลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งขนาดใหญ่รวมถึงแม่น้ำใต้ดินที่ชื่อว่า แม่น้ำริโอแฮมซ่า ที่มี

พืชและสัตว์หลากหลายสายพันธุ์
          ป่าแห่งนี้เป็นป่าที่ถือว่ามีระบบนิเวศที่สมบูรณ์สุดในตอนนี้ แหล่งรวมพืชพันธุ์นานาชนิด ทั้งชนิดที่หายากและชนิดที่ยังรอการสำรวจและค้นพบอีกมากมาย  จากข้อมูลการสำรวจและประมาณการของนักสำรวจ กล่าวว่า พบต้นไม้ประมาณ 390 พันล้านต้นและมีพันธุ์ไม้ประมาณ 16,000 ชนิด  พื้นที่ป่าส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าทึบ ต้นไม้สูงใหญ่จะมีใบขึ้นในส่วนที่สูงที่สุดของลำต้น ทำให้แสงอาทิตย์ไม่สามารถสอดส่องไปยังพื้นดินได้ ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เพียง 1% เท่านั้น  ดินในผืนแห่งนี้จะมีลักษณะไม่หน่าแน่น ทำให้ต้นไม้ต้องหยั่งลึกรากลึกลงไปกินรัศมีในวงกว้าง

          พืชพรรณหายากสามารถหาได้จากผืนป่าแห่งนี้ เช่น ต้นไม้ระเบิด ที่เป็นต้นไม้ที่มีการขยายพันธุ์ที่โดยการระเบิดตัวเองกลายเป็นเม็ดพันธุ์ โดยสามารถขยายพันธุ์ด้วยแรงระเบิดไปได้ไกลถึง 150 ฟุต

          สัตว์ป่าหายากก็สามารถพบได้ที่ป่าแอมะซอนได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างสัตว์ที่พบในป่านี้เท่านั้นก็อย่างเช่น เคเมนหรือไคเมน สีขาว (Caiman) ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มเดียวกับจระเข้

          ในป่าแห่งนี้จึงขึ้นชื่อว่าเป็นป่าที่รวบรวมสัตว์ดุร้าย รวมถึงมีพิษมากที่สุดในโลก เช่น มดหัวกระสุน ชื่อก็บอกถึงความเจ็บปวดราวกับถูกกระสุนปืนยิงได้เลย โดยความเจ็บนี้อาจเทียบได้ 30 เท่าเมื่อเทียบกับการถูกผึ้งต่อย  เสือจากัวร์ ที่มีความดุร้ายรุนแรงจนสามารถทำกะโหลกของสัตว์ที่เป็นเหยื่อแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ได้ในพริบตา นอกจากนี้ยังมีสัตว์อื่น ๆ อีกมากมายเช่น กบลูกศรพิษ ที่มีความสวยงามแต่มีพิษร้ายแรง รวมไปถึงสัตว์น่ากลัวที่เรารู้จักกันดีอย่าง อนาคอนด้างูยักษ์ และปลาที่ดุร้ายที่สุดอย่างปลาปิรันยา

แม่น้ำสายสำคัญ
          ป่าแอมะซอนมีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน เช่น แม่น้ำแอมะซอน ซึ่งถือเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีความยาวประมาณ 4,100 ไมล์ ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนและสัตว์ป่าในกลุ่มลุ่มแม่น้ำแอมะซอน

กลุ่มชาติพันธุ์
         จากข้อมูลนักสำรวจ ได้รายงานว่า ป่าแอมะซอนเป็นบ้านเกิดของกลุ่มคน 300 กลุ่ม รวมถึงยังมีหลายชนเผ่า ที่คงยังเป็นชนเผ่าที่ปิดตัวเองจากโลกภายนอก ไม่ติดต่อและรับคนต่างถิ่นเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด



(https://www.scimath.org/images/2018/Article/2561-Period6/10468/10468-1.jpg)
ภาพชนเผ่า - ที่มา https://pixabay.com/ , eismannhans

จะเห็นได้ว่าเป็นป่าที่มีความมหัศจรรย์และมีความสวยงามจากธรรมชาติเป็นอย่างมาก  ทำให้แอมะซอนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจจากคนทั่วโลกจากหลาย ๆ กลุ่ม เช่น นักสำรวจ นักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงนักท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากยอมจ่ายเงินให้กับไกด์ท้องถิ่น เพื่อเดินทางไปสัมผัสพืชพรรณหายากและสัตว์ป่าหายากเหล่านี้ แต่ที่เป็นเรื่องที่ไม่น่ายินดีก็คือ การบุกรุกและการรุกล้ำอาณาเขตจากกลุ่มนักลงทุนและแสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติ ก็มุ่งหวังเข้าไปที่ผืนป่าแห่งนี้เช่นกัน

          ป่าแอมะซอนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีรายงานบันทึก ทุกปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปมากกว่า 700 ล้านคน ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี และด้วยความที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และเริ่มมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเริ่มสนใจพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ก็เลยทำให้พื้นที่ป่าแห่งนี้กลายเป็นที่หมายตาของนักลงทุนและแสวงหาผลประโยชน์

          เมื่อนักท่องเที่ยวเริ่มสนใจเข้าพื้นที่ป่า การบุกรุกเพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างก็เริ่มเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปยังป่าแห่งนี้ และนั่นจึงเป็นที่มาของการตัดไม้ทำลายพื้นที่ป่านั่นเอง มีรายงานว่า ในช่วง 50-60 ปีที่ผ่านมา มีการทำลายป่าไปถึง 17% - 20 % ของพื้นที่ป่าทั้งหมด และมีการปลุกคืนพื้นที่เพียง 3 % เท่านั้น ซึ่งเทียบไม่ได้กันเลยกับความเสียหายทั้งหมด

          กลุ่มนักวิจัยที่ชื่อว่า Global Forest Watch ในมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ (University of Merryland) ได้รายงานว่า ในปี 2018 กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียพื้นป่าหลายแห่งในโลก รวมไปถึง ป่าแอมะซอนแห่งนี้

          เมื่อไม่กี่ปีมานี้ นายทุนแสวงหากำไรได้จัดตั้งโครงการสำรวจ-ขุดเจาะน้ำมัน ในบริเวณที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองแอมะซอน แต่ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ว่า ชนเผ่าพื้นเมืองแอมะซอนชนะคดีพิพาทนี้ โดยศาลระบุว่าชาวพื้นเมืองวาโอรานี่มีสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของเอกวาดอร์ในการครอบครองที่ดินที่อาศัยมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งรัฐจะต้องการคุ้มครองโดยไม่มีข้อแม้

         ที่ผ่านมามีการบุกรุกทำลายผืนป่าแอมะซอนอย่างต่อเนื่อง จากการแผ้วถางป่าเพื่อแปลงเป็นพื้นที่เกษตรกรรม รวมถึงการตัดไม้และสำรวจแร่ธาตุอย่างผิดกฎหมาย

         ความเสียหายของป่าแห่งนี้เปรียบได้กับการทำลายปอดของโลก ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรช่วยกันปกป้องผืนป่าซึ่งเป็นป่าสำคัญของโลกแห่งนี้



ที่มา https://www.scimath.org/article-earthscience/item/10468-amazon-2