[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ จิบกาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 30 พฤษภาคม 2567 14:15:35



หัวข้อ: เด็กวัยทารก หมายถึง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 30 พฤษภาคม 2567 14:15:35
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67985403579142_444480444_1854161795099492_216.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75126706022355_444480264_1854169408432064_713.jpg)
ชื่อเล่น "มีนา" ค่ะ อายุ ๙ เดือน

วัยทารก

วัยทารก (Infancy) หมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกคลอดจนถึง ๑๒ เดือน หรือ ๑ ปีเป็นวัยที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าช่วงวัยอื่นๆ โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่เกิดจากวุฒิภาวะมากกว่าผลจากสิ่งแวดล้อมและเป็นไปอย่างสม่าเสมอ มีแบบแผนที่แน่นอนคือ จากศีรษะสู่เท้า จากแกนกลางลาตัวออกมาสู่ มือและเท้า

ทารก (อังกฤษ: infant) คือ เด็กแบเบาะ หรือ เด็กเล็กๆ ทั่วไปหมายถึงเด็กอายุระหว่าง ๑ เดือนขึ้นไป จนถึง ๑-๒ ปี โดยทารกอายุน้อยกว่า ๑ เดือน เรียกว่า ทารกแรกเกิด (อังกฤษ: newborn, neonate) เด็กอายุ ๑-๒ ปีขึ้นไป อาจเรียกว่า เด็กวัยหัดเดิน (อังกฤษ: toddler) เด็กที่อยู่ในครรภ์ เรียกว่า ทารกในครรภ์ (อังกฤษ: fetus)

ลักษณะทางกายภาพของทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิดโดยทั่วไปจะมีไหล่และสะโพกที่กว้าง ท้องยื่น และแขนขาค่อนข้างยาวเมื่อเทียบกับขนาดตัว ข้อมูลจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วพบว่าความยาวโดยเฉลี่ยของทารกแรกเกิดจะอยู่ที่ ๓๕.๖-๕๐.๘ เซนติเมตร ส่วนทารกแรกเกิดที่เกิดก่อนกำหนดจะมีขนาดเล็กกว่านี้

น้ำหนัก
น้ำหนักแรกเกิดของทารกที่เกิดครบกำหนดโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ ๓.๔ กิโลกรัม และมักอยู่ในช่วง ๒.๗-๔.๖ กิโลกรัม

ในช่วง ๕-๗ วันหลังเกิด ทารกแรกเกิดมักมีน้ำหนักตัวลดลงประมาณ ๓-๗% เป็นผลจากการปัสสาวะเอาน้ำส่วนเกินในร่างกายซึ่งปกติจะอยู่ในปอดและเนื้อเยื่ออื่นๆ ออกมา ประกอบกับการที่ปริมาณน้ำนมแม่ในช่วงแรกยังน้อยอยู่ซึ่งจะเพิ่มขึ้นในวันหลังๆ หลังจากพ้นสัปดาห์แรกไปแล้ว ทารกแรกเกิดปกติจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ ๑๐-๒๐ กรัมต่อวัน

ศีรษะ
ศีรษะของทารกแรกเกิดจะมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับขนาดตัว และในกะโหลกศีรษะก็จะมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับใบหน้า ในขณะที่ผู้ใหญ่จะมีขนาดกะโหลกศีรษะเป็นหนึ่งในเจ็ดของความสูง แต่ทารกแรกเกิดจะมีขนาดกะโหลกศีรษะเป็นหนึ่งในสี่ของความยาวตัว ขนาดรอบศีรษะของทารกแรกเกิดโดยปกติจะอยู่ที่ ๓๓-๓๖ เซนติเมตร แต่ละชิ้นส่วนของกะโหลกศีรษะของทารกแรกเกิดจะยังประสานกันไม่สนิทเกิดเป็นจุดที่ไม่มีกระดูกเรียกว่ากระหม่อม ซึ่งตำแหน่งที่ใหญ่ที่สุดจะมีอยู่สองตำแหน่งเรียกว่ากระหม่อมหน้า มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และกระหม่อมหลังมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นชิ้นส่วนแต่ละชิ้นของกะโหลกศีรษะจะค่อยๆ โตขึ้นและเชื่อมเข้าด้วยกันตามธรรมชาติ

การที่ชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะไม่เชื่อมกันสนิทตั้งแต่แรกเกิดนี้ทำให้ทารกมนุษย์ที่มีศีรษะและสมองขนาดใหญ่สามารถคลอดผ่านช่องคลอดที่ถูกวิวัฒนาการมาให้รองรับการยืนเดินด้วยสองขาได้ เนื่องจากแผ่นกะโหลกแต่ละชิ้นสามารถเคลื่อนเข้าหาหรือแม้แต่เกยกันได้ระหว่างคลอด ทารกแรกเกิดบางคนจึงมีรูปร่างของศีรษะที่บิดเบี้ยวไปเล็กน้อย ซึ่งจะค่อยๆ คืนกลับสู่รูปร่างปกติภายใน ๒-๓ วันหรือไม่กี่สัปดาห์หลังเกิด หนังศีรษะของทารกแรกเกิดอาจบวมหรือรอยช้ำได้โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่ไม่มีเส้นผม บริเวณรอบๆ ตาก็อาจบวมฉุเล็กน้อยได้ ซึ่งเป็นผลจากการคลอด

ผมและขน
ทารกแรกเกิดบางคนจะมีขนตามร่างกาย เป็นขนเส้นเล็กละเอียด สีอ่อน เรียกว่า ขนอ่อน มักเห็นได้ชัดที่บริเวณหลัง ไหล่ หน้าผาก หู และใบหน้าของทารกเกิดก่อนกำหนด ขนอ่อนนี้จะหลุดร่วงหายไปภายใน ๒-๓ สัปดาห์ ทารกแรกเกิดบางคนมีเส้นผมหนาเต็มศีรษะ ส่วนบางคนโดยเฉพาะทารกแรกเกิดชาวคอเคเซียนอาจมีเส้นผมเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเส้นผมเลย ซึ่งเส้นผมที่มีเล็กน้อยนี้อาจเป็นผมสีบลอนด์หรือสีน้ำตาลแม้พ่อแม่จะมีผมดำก็ได้