[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 28 พฤศจิกายน 2567 14:21:52



หัวข้อ: ไม้กี กีปั๊วะ ไม้สามง่ามสื่อสารกับเทพเจ้าจีน ไม่ได้มีดีแค่เอาไว้ล้างป่าช้า
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 28 พฤศจิกายน 2567 14:21:52

ไม้กี กีปั๊วะ ไม้สามง่ามสื่อสารกับเทพเจ้าจีน ไม่ได้มีดีแค่เอาไว้ล้างป่าช้า

http://www.youtube.com/watch?v=BbByhzjD-9Y (http://www.youtube.com/watch?v=BbByhzjD-9Y)





หัวข้อ: Re: ไม้กี กีปั๊วะ ไม้สามง่ามสื่อสารกับเทพเจ้าจีน ไม่ได้มีดีแค่เอาไว้ล้างป่าช้า
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 28 พฤศจิกายน 2567 14:36:47

ไม้กี คือ ไม้ที่ใช้เป็นสื่อกลางระหว่างร่างทรงกับองค์เซียนซือ หรือ เจ้าองค์ต่างๆ ที่ลงมาประทับ
เพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในสถานที่นั้น

ลักษณะของไม้กี จะมีลักษณะเหมือนวงเวียน ที่กางขาออกพอประมาณ หรือ คล้ายไม้ง่าม มีบางแห่งทำเป็นรูปเก้าอี้หรือเกี้ยว
โดยปกติแล้ว แต่โบราณมาได้ใช้กิ่งของต้นหลิวมาทำ เพราะว่าเป็นไม้มงคลด้วยเหตุผลดังนี้
1. เป็นหนึ่ง ใน 3 สิ่งที่ทำให้พระโพธิสัตว์กวนอิมสำเร็จโพธิญาณ นอกเหนือจากแจกันหยกและน้ำที่ถูกใส่ไว้
2. มีคุณอำนาจวิเศษ สามารถขจัดสิ่งชั่วร้ายอัปมงคล
3. มีความเหนียวคงทน ลักษณะของกิ่ง สวยงามไม่คดงอ ตาไม้ไม่มากจนเกินไป

แต่ในประเทศไทยนั้น หาต้นหลิวที่มีขนาดใหญ่พอที่จะทำไม้กีได้ยาก จึงมีการนำไม้ชนิดอื่น
เช่น ทับทิม มะขาม ไม้ยางซึ่งก็มีใช้บ้างแต่ก็น้อยมาก ส่วนมากที่นิยมใช้กันในเมืองไทยจะเป็นไม้ทับทิม

กรรมวิธีการสร้างไม้กีแต่ละอันนั้น ก็คงเริ่มจากการคัดสรรไม้มงคล ที่ต้องลักษณะพิเศษ
กล่าวคือ กิ่งข้างที่จะให้หู้กี หรือ บู๊กี ถือนั้น ให้ชี้ขึ้นฟ้า กิ่งอีกข้างที่มือรอง หรือ เจี่ยกีถือ ให้ชีไปทางทิศเหนือ หรือ ทิศตะวันออก
เมื่อได้กิ่งที่เหมาะสมแล้ว ก็ตัดให้ได้ขนาดตกความยาวมงคล นำมาเกลาให้ได้รูป เจาะรูที่ปลาย ทิ้งให้ไม้แห้ง
เมื่อแห้งแล้วจึงนำมาขึ้นเชือก โดยใช้เชือกแดง หรือ อั่งเสาะ มาพันและมัดเป็นเปลาะให้คลุมหมด
ตามความยาวทั้งสองข้างของไม้กี เพื่อความคงทนและแข็งแรง กันไม้แตกหักเวลาใช้งานไปนานวัน
ก่อนการขึ้นเชือก บางสายอาจมีการลงยันต์ที่ไม้ก่อน บางทีก็ใช้ผ้าแดงห่อ ก่อนชั้นหนึ่งจึงพันเชือก เหมือนกับเป็นการสวมเกราะ
หรือว่า แต่งตัวให้ไม้กี เมื่อได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำมาใช้ในพิธีคุยกี เพื่อกิจต่างๆได้

นอกจากไม้กีที่เป็นอุปกรณ์สำคัญแล้ว ก็จะมีกระบะไม้ ที่พื้นกระบะเป็นแผ่นทองเหลือง บางที่เป็นไม้ บ้างก็ใช้กระบะทราย
บางที่เวลาที่ออกนอกสถานที่จะใช้กระด้ง โดยกระบะเหล่านี้เรียกกันว่ากีปั๊วะ เอาไว้สำหรับให้ไม้กีวิ่งเป็นตัวหนังสือ

ท่านเทพ อาจารย์ เมื่อเข้าประทับทรง จะไม่พูดโต้ตอบกับคนด้วยวาจา แต่จะโต้ตอบด้วยการเขียนหนังสือ
ซึ่งต้องอาศัยล่าม หรือคนอ่านตัวหนังสือที่ร่างทรงเขียนคนหนึ่ง และต้องมีคนจดข้อความอีกคนหนึ่ง (บางที่ใช้สองคนเพื่อเช็คถูกผิด)
เนื่องจากเป็นการสื่อสารระหว่างองค์เทพเจ้า กับ เหล่าคณะศิษยานุศิษย์ เกี่ยวกับกิจรรมการกุศลต่าง หรือ ปรึกษา การรักษาคนป่วย
สรุปง่ายๆ ว่า เป็นการประทับทรงผ่านไม้ง่ามชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า กี หรือ การจับฮู่กี การลงประทับทรงผ่านไม้กีนั้น
ส่วนใหญ่เป็นที่นิยมในถิ่นของชาวจีนฮกเกี้ยน และ แต้จิ๋ว เท่านั้น ส่วนใหญ่ มูลนิธิที่นิยมเชิญการประทับทรง (ส่วนใหญ่)
จะเป็นเครือเต็กก่า (จี้กง) กับ เครือกู้ภัย (ไต้ฮงโจวซือ) เป็นต้น

ส่วนการเข้าประทับฮู่กีทรงมี 2 แบบ
ซังกี ร่างทรงยังจะพอรู้ตัวอยู่บ้าง สามารถเคลื่อนไหวแต่บังคับตัวเองไม่ได้ แล้วแต่ว่าไม้ที่ร่างทรงจับไว้ในมือจะพาไป
จุ้ยกี ร่างทรงจะเหมือนหลับไปเลย ไม่รู้ตัวว่าได้ทำอะไรไปบ้าง


สำหรับผู้ที่จะเป็นร่างทรงไม้กีนั้น จะมี 2 คน คนแรกมือนึงจับไม้กี และอีกมือถืออาวุธประจำพระ (กระบี่,แส้,น้ำเต้า)
คนอีกคนนั้น มือหนึ่งจับไม้กี อีกข้างหนึ่งถือธงประจำองค์เทพนั้นๆ เรามักพบเห็นในพิธีล้างป่าช้า
โดยไม้กีจะคอยชี้ตำแหน่งของศพที่ถูกฝังอยู่ นอกจากนั้นแล้ว ไม้กี ยังสามารถใช้สื่อสารระหว่างคนเทพได้
ด้วยการที่ร่างทรงจะเขียนอักษรผ่านไม้กี ต้องใช้ฮวดกั่ว หรือ ล่าม อ่านและแปล
เพราะไม้กีจะเขียนบนพื้นโดยที่ไม่มีพู่กันจึงไม่มีรอยอักษร ต้องใช้ความตาไวในการสังเกต

นอกจากในพิธีล้างป่าช้าแล้วนั้น ร่างทรงไม้กียังสามารถใช้ในพิธีไคกวงเบิกพุทธรัศมี หรือ ที่เรียกว่าพิธีเบิกเนตรแบบคนจีนนั่นเอง
โดยจะเพิ่มพู่กันที่ปลายไม้ หากสังเกตปลายไม้จะมีรูสำหรับเสียบพู่กัน และใช้พู่กันจุ่มหมึกแดง ทำพิธีเบิกเนตรพระพุทธรูป
หรือ เทวรูป โดยการจุดไปยังส่วนต่างๆ ของรูปปั้น เพื่อเป็นการเปิดประสาททั้ง 5 และยังมีคาถากำกับแต่ละส่วน
เสมือนว่าให้พระพุทธรูปนั้นมีความรู้สึกและบังเกิดปราณภายใน

สายที่ทรงโดยใช้การ คุยกี นั้น มี 4 สายหลักในไทยคือ
1.สายเม้ง (โป๊ยเซ๊ยน)
2.สายพ้งไล้ (เซี๊ยโจ้ว / ฮอเฮี้ยฮุ้ง)
3.สายเกาะ(เต็กก่า / จี้กง และเทวาจารญ์)
4.สายตึ้ง (สายป๋อเต็กตึ้ง / ไต้ฮงกง)