หัวข้อ: โศลก ว่าด้วย ฝุ่นบนกระจก เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 12 มิถุนายน 2553 12:17:56 (http://www.postercheckout.com/PrintImages/NIM/jpgs/AF608.jpg) โศลก ว่าด้วย ฝุ่นบนกระจก โศลก 2 บทในศาสนาพุทธ นิกายมหายาน ที่ถูกอ้างถึง และส่งผล สะเทือนต่อโลกทัศน์ ของคนจำนวนมากในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมาก็คือ โศลก ว่าด้วย ละอองฝุ่นบนกระจก ของ เว่ยหลาง หรือ ฮุ่ยเล้ง สังฆปริณายกองค์ที่ 6 กับ เซ่งสิ่ว เมื่อท่านฮ่งยิ่ม พระสังฆปริณายกองค์ที่ 5 จะหาผู้สืบทอดธรรมะ และฐานะสังฆปริณายกองค์ที่ 6 นั้น ท่านสั่งให้ศิษย์ เขียนโศลกขึ้นบทหนึ่ง เพื่อเป็นเครื่องตัดสิน เซ่งสิ่วจรดความ 4 บรรทัดไว้ที่ผนังช่องทางเดินด้านทิศใต้ของอารามว่า กายนี้อุปมาเหมือนดั่งต้นโพธิ์ ใจนี้อุปมาเหมือนดังกระจกเงาใส จงหมั่นเช็ดถูอยู่ทุก-ทุกกาลเวลา อย่าให้ฝุ่นละอองเข้าจับคลุมได้ เมื่อฮุ่ยเล้ง คนป่าบ้านนอก ไร้การศึกษา อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นคนหางแถวประจำอาราม วันๆ ทำหน้าที่อยู่แต่ในห้องครัว ได้ยินคนท่องบ่น ก็วานคนให้เขียนความ 4 บรรทัดไว้ที่ผนังว่า (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/778/9778/images/bua.gif) ต้นโพธิ์เดิมหามีไม่ ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใส มูลเดิมไม่มีอะไรสักอย่าง แล้วฝุ่นจะจับลงอะไร ท่านฮ่งยิ่ม กล่าวว่า เซ่งสิ่วไปถึงแค่ปากธรณีประตูธรรม ขณะที่ฮุ่ยเล้งล่วงเข้าสู่ประตูนั้นแล้ว (http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:OhZ__7NwctqFQM%3Ahttp://www.2how.com/board/picture/0702/13ipc855.jpg) หัวข้อ: Re: ฝุ่นบนกระจก เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 12 มิถุนายน 2553 12:21:18 (http://img441.imageshack.us/img441/9214/61362428.jpg) (http://img695.imageshack.us/img695/4062/61926091.gif) (:LOVE:)มาทักทายพี่ แป๋ม ก่อน (:LOVE:) (:SLE:) (:SLE:) (:SLE:) (:88:) (:88:) (:88:) หัวข้อ: Re: ฝุ่นบนกระจก เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 12 มิถุนายน 2553 13:14:41 (http://www.panyathai.or.th/wiki/images/Phuangchomphuu_5.jpg) โก้วเล้ง ราชานวนิยายกำลังภายใน ยกความนัยของโศลก 2 บทนี้มาใช้บรรยายฉากการปะทะกันระหว่าง เซี่ยงกัวกิมฮ้ง และ ลี้คิมฮวง ใน ฤทธิ์มีดสั้น ผ่านปากผู้เฒ่า เทียนกีเล่านั้ง เจ้าของกระบองสมปรารถนา เจ้าของศาสตราวุธอันดับ 1 ของแผ่นดิน ตัวละครอีกตัวในเรื่องดังกล่าวอย่างสุดพิสดาร เทียนกีเล่านั้งระบุว่า โศลกของพระสังฆปริณายกองค์ที่ 6 นั้น จึงนับว่าเป็นแก่นธรรมอันเลอเลิศ แก่นแท้ของวิชาการต่อสู้และสรรพเรื่องราวนั้น "เมื่อถึงขั้นสุดยอด หลักเหตุผลความเป็นจริงไม่แตกต่าง ดังนั้นไม่ว่าการกระทำเรื่องราวใด ต้องดำเนินถึงขั้นไร้คนไร้เรา ลืมวัตถุลืมเรา ค่อยบรรลุถึงจุดสุดยอด สู่ความสำเร็จขั้นล้ำลึก" ลำพังขั้น "ในมือไร้ห่วง ในใจมีห่วง" นั้น เป็นเพียงขั้นแรกเริ่ม เพิ่งก้าวข้ามประตู หากคิดเข้าสู่ห้องหับรโหฐานยังไกลอีกมากนัก ว่ากันว่า เว่ยหลางบรรลุตั้งแต่อายุ 24 ปี ตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่ชายคาสำนักปฏิบัติธรรมของท่านฮ่งยิ่ม ตั้งแต่เดินกลับจากตัดฟืนแล้ว ได้ยินเสียงคนสาธยายสูตรเก่าว่าด้วยการตัดราวกับเพชรสำหรับตัด หรือวัชรเฉจทิกสูตรว่า "คนเราควรใช้จิตไปในทางอิสระทุกเมื่อ" (เส้นทางสาย ZEN จากปรมาจารย์ตั๊กม้อ ถึง เว่ยหลาง : เสถียร จันทิมาธร สำนักพิมพ์มติชน) คนมีปัญญาฟังโศลกของท่านเว่ยหลางแล้ว อาจบรรลุอย่างฉับพลันทันที เหมือนสารีบุตรมานพ พบประทับใจในกิริยาพระอัสสชิ จึงถามถึงคำสอนของผู้เป็นอาจารย์ พระอัสสชิตอบว่า พระพุทธองค์สอนว่า "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น" เพียงเท่านั้นสารีบุตรมานพ ก็ล่วงธรณีประตูธรรม แม้จะพบความนัยที่ซ่อนอยู่ในโศลกของท่านเหว่ยหลาง แต่ฝุ่นก็จะจับกระจกอยู่ดี เหตุเพราะถึงเข้าใจแต่ก็ยังมีกระจกอยู่ เพียงแค่เข้าใจ มันไม่ได้ทำให้กระจกหายไป เข้าใจไม่ได้ทำให้ถึงจิตเดิมแท้ เพราะยังไม่ถึงจิตเดิมแท้จึงยังมีกระจกเงาให้ฝุ่นเกาะจับอยู่ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล อ่านพระสูตรของเว่ยหลางแล้ว ท่านเรียบเรียง จิต คือ พุทธะ ขึ้น โดยมีความตอนหนึ่งว่า "...จิตของเรานั้น ถ้าทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นจากการนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันจะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราจะได้พบว่า มันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่า เป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้ โดยทางอายตนะ ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายลงได้เลย..." ผู้รู้ซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน ให้ทางไว้ว่า ให้มีสติรู้ทันอารมณ์ จะรู้ทันก็ต้องรู้อารมณ์เดียวก่อน เพราะเมื่อรู้ว่าจิตเคลื่อนจากอารมณ์ที่คอยรู้อยู่ก็จะ 'รู้ทัน' เมื่อรู้ทันมันก็จะไม่แส่ส่าย รู้อย่าไปอยากเพราะยิ่งแสวงหายิ่งไม่เจอ รู้อารมณ์ก็ไม่ใช่ไปนึกเอา ให้รู้เหมือนเข้าใกล้ไฟแล้วกายรู้สึกร้อน ไม่ใช่นึกเอาจากคำบัญญัติว่าร้อน หรือคิดถึงความร้อนนั้น การรู้ตรงตามสภาวะที่มันกำลังเป็นอยู่ ไม่เข้าไปแทรกแซงสภาวะนั้นด้วยตัณหาและทิฏฐิใดๆ ทั้งสิ้น นั่นเอง คือ การรู้สภาวะธรรม รู้ตามความเป็นจริง นั่นเอง ทำให้รู้ว่าธรรมใดเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับ ธรรมนั้นก็ดับ รู้แล้ว สติสมบูรณ์แล้วไม่ต้องละกิเลสเพราะขณะสติสมบูรณ์ ไม่มีกิเลสให้ละ รู้แล้ว สมบูรณ์แล้ว ก็ไม่มีตัวตน (วิถีแห่งการรู้แจ้ง : พระปราโมทย์ ปาโมชโช) " ไม่มีตัวตนก็ไม่มีกระจกให้ฝุ่นลงจับอีกต่อไป " (http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:Fi-ZzvNHcS0MiM:http://www.212cafe.com/boardvip/user_board/cm99/picture/01254_0.jpg) Credit by : http://wirayuth.exteen.com/20040916/entry (http://wirayuth.exteen.com/20040916/entry) (:88:) ufoatkaokala11.com Pics by : Google ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ |