[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 14 เมษายน 2555 14:07:56



หัวข้อ: พระธรรมปาโมกข์ รูปที่ ๓ : พระธรรมปาโมกข์ (ถม วราสโย)
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 14 เมษายน 2555 14:07:56
พระธรรมปาโมกข์ยุคกรุงรัตนโกสินทร์

(http://www.sookjai.com/index.php?action=dlattach;topic=32864.0;attach=2001;image)
พระธรรมปาโมกข์ (ถม  วราสโย)วัดมงกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร



พระธรรมปาโมกข์
รูปที่ ๓
ถม  วราสโย

พระธรรมปาโมกข์ (วราสโย ถม)   วัดมงกุฎกษัตริยาราม   นามเดิมว่าถม  นามฉายาว่า วราสโย  เกิดเมื่อ ณ วันพุธ แรมค่ำ ๑  เดือนอ้าย  ปีระกา  จุลศักราช ๑๒๒๓  พ.ศ. ๒๔๐๔ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เปนบุตรหลวงสิทธินายเวร ( ขำ สิทธิขมังกุร)  นายเวรมหาดเล็ก ข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  บ้านเดิมอยู่ที่ปากคลองคราม ในคลองบางกอกน้อย  จังหวัดธนบุรี

ในรัชกาลที่ ๕ ถวายตัวเปนศิษย์ศึกษาในสำนักสมเด็จพระมหาสมณะแต่ยังดำรงพระยศเปนกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส  แล้วอุปสมบทที่วัดมงกุฎกษัตริย์ เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙   พระพรหมมุนี ( กิตติสาโร แฟง) เมื่อครั้งยังเป็นพระกิตติสารมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์   สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งเปนกรมหมื่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์  แล้วเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระมหาสมณะแลพระพรหมมุนี  (แฟง)   ต่อมาได้เปนตำแหน่งพระครูสมุห์  แล้วเปนพระครูพิศาลสรภัญถานานุกรมในสมเด็จพระมหาสมณะ   เมื่อเสด็จดำรงพระยศเปนเจ้าคณะรองคณะธรรมยุติกา  แล้วเข้าแปลพระปริยัติธรรมที่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๓๓ แปลได้ ๗ ประโยคในคราวเดียวนั้น

ถึงปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๓๖  ทรงตั้งเปนพระราชาคณะที่พระราชกระวีมาอยู่วัดบวรนิเวศ ต่อมาเมื่อโปรดให้เพิ่มตำแหน่งราช เข้าในชั้นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๓๘ จึงทรงเลื่อนเปนพระราชาคณะผู้ใหญ่ในราชทินนามเดิม เมือวันที่ ๒๘ มีนาคม  แลโปรดให้อาราธนากลับไปอยู่วัดมงกุฎกษัตริยาราม มีสำเนาที่ทรงตั้งดังนี้

ให้เลื่อนพระราชกระวี เปนพระราชกระวี   นรสีห์พจนปิลันทน์  สถิตย์ ณ วัดมงกุฎกษัตริยารามราชวรวิหาร  พระอารามหลวง  มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๔ ตำลึงบาท  มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๓ รูป คือ พระครูปลัด ๑  พระครูสมุห์ ๑  พระครูใบฎีกา ๑  รวม ๓ รูป

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๘  ตรงกับปีกุญ พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเลื่อนเปนพระเทพกระวี  มีสำเนาที่ทรงตั้งดังนี้

ให้เลื่อนพระราชกระวี เปนพระเทพกระวี ศรีวิสุทธินายก  ตรีปิฎกปรีชา  มหาคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี  สถิตย์ณวัดบวรนิเวศวิหาร  พระอารามหลวง  มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๔ ตำลึงกึ่ง  มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๔ รูป คือ พระครูปลัด ๑  พระครูสังฆวิไชย ๑  พระครูสมุห์ ๑  พระครูใบฎีกา ๑  รวม ๔ รูป

ถึง ร.ศ. ๑๒๕  ตรงกับปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๔๙  ทรงเลื่อนเปนพระธรรมปาโมกข์ มีสำเนาที่ทรงตั้งดังนี้

ให้เลื่อนพระเทพกระวี  เปนพระธรรมปาโมกข์  ยุตโยคยตินายก  ไตรปิฎกธารี  ธรรรมวาทีคณฤศร  บวรสังฆารามคามวาสี  สถิตย์ณวัดมงกุฏกษัติยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวง มีนิตยภัตรราคาเดือนละ๗ ตำลึง  มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๖ รูป คือ พระครูปลัด  มีนิตยภัตรราคาเดือนละหนึ่งตำลึง ๑  พระครูวินัยธร ๑  พระครูวินัยธรรม ๑  พระครูสังฆพิไชย ๑  พระครูสมุห์ ๑  พระครูใบฎีกา ๑ รวม ๖ รูป

แต่ภายหลัง พระธรรมปาโมกข์ ถม เกิดขัดกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ   จึงถวายพระพรลาสิกขาบท   โปรดให้ออกจากตำแหน่งพระราชาคณะ  เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๖๒    แล้วย้ายไปอยู่วัดมัชฌันติการาม บางเขนในเดือนนั้น  ครองตนเป็นอุบาสก  ไม่มีครอบครัว  สมาทานนิตยศีล  บำเพ็ญทานการกุศล  เช่นอุทิศเงินสร้างกุฏิวราสัย ที่คณะนอก ๑ หลัง  ถวายที่ดินแก่วัดมกุฏกษัตริยารามและแก่วัดบวรนิเวศวิหาร  บริจาคเงินแก่มหามกุฏราชวิทยาลัย  และถวายพระแก้วมรกตองค์น้อยเป็นสมบัติของวัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นต้น


รวบรวมเรียบเรียง โดยกิมเล้ง : http://www.sookjai.com (http://www.sookjai.com)

ข้อมูล
-อังกุรปัญญานุสรณ์ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๕
- http://www.mua54.org (http://www.mua54.org)




.