หัวข้อ: โรควุ้นในลูกตาเสื่อม อย่ามองข้าม เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 28 มิถุนายน 2555 00:02:21 เงาตะกอนน้ำวุ้นตาและไฟแลบ (Floaters and Flashes)
(http://www.lasikcare.net/site4/images/stories/demo/lasik/Eyesick/vitreous_detachment_sm.jpg) เงาตะกอนน้ำวุ้นตาคืออะไร “เงาตะกอนวุ้นน้ำตา” (Floaters) คือ เงาดำเล็กๆ หรือหยากไย่ที่เห็นลอยไปมา จะเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อมีแสงสว่างเข้าตามาก เช่น เมื่อมองพื้นขาวหรือท้องฟ้าใส เงาดำจะจางลงไปเมื่อแสงเข้าตาน้อย เช่น ขณะอยู่ในที่ร่ม หรือในบ้าน เป็นต้น รูปร่างของเงาดำมีลักษณะต่างๆ กันตามรูปร่างของตะกอนในน้ำวุ้นตา เช่น เป็นจุดวงแหวน ลูกน้ำ หยากไย่ คล้ายใยแมงมุม เป็นต้น ซึ่งถ้าหากเงาดำนี้เกิดขึ้นทันทีทันใดก็อาจทำให้ตกใจได้ จำนวนของเงาดำนี้มีความสำคัญมาก คนปกติทั่วไป ถ้าเห็นเงาดำ 2-3 จุด ส่วนใหญ่ไม่มีอันตราย เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของตาเมื่ออายุมากขึ้นเท่านั้น ผู้ที่มีสายตาสั้น หรือหลังลอกต้อกระจก จะพบปรากฎการณ์นี้มากกว่าคนปกติทั่วไป อาจจะมีเลือดออกในน้ำวุ้นจากการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ หัวข้อ: Re: โรควุ้นในลูกตาเสื่อม อย่ามองข้าม เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 28 มิถุนายน 2555 00:03:09 สาเหตุของเงาตะกอนวุ้นน้ำตา
ปกติช่องว่างภายในลูกตามีวุ้นเหมือนเยลลี่บรรจุอยู่เต็มไม่มีการเคลื่อนไหว แต่เนื่องจากการมีอายุที่มากขึ้น การมีสายตาสั้นมากๆ หรือการโดนกระแทกที่ศรีษะหรือบริเวณตา ทำให้น้ำวุ้นเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวและตกตะกอน เงาของตะกอนอาจจะใสๆ หรือสีเทา ลอยไปลอยมาตามการไหลของน้ำวุ้นเมื่อมีการกลอกตา อาการของตะกอนน้ำวุ้นที่มีอันตราย การที่น้ำวุ้นเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว เป็นปรากฎการณ์ตามปกติ ดังนั้น การมองเห็นเงาดำ 2-3 จุด ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ในบางรายภาวะที่มีอาการตกตะกอนนี้ น้ำวุ้นตาจะหดตัว แยกออกจากจอประสาทตาไปพร้อมกัน บางครั้งดึงรั้งจนจอตาฉีกขาด และถ้าตำแหน่งที่ฉีกขาดตรงกับเส้นเลือดที่จอตา เลือดจะไหลเข้าไปน้ำวุ้นตาทำให้เห็นเงาดำเป็นจุดเล็กๆ จำนวนมาก ในกรณีนี้อันตรายมากเพราะจอตาอาจลอกหลุดได้ ในบางรายระหว่างที่น้ำวุ้นตากำลังดึงจอประสาทตา จะมีอาการมองเห็นไฟแลบเป็นรูปโค้งๆ (เหมือนถูกถ่ายรูปด้วยแฟลช) มักจะเห็นตอนค่อนข้างมืดในขณะกลอกตาไปทางใดทางหนึ่ง อาการเห็นไฟแลบนี้อาจจะเป็นอยู่ 2-3 วัน ถึง 6 เดือน โดยไม่มีอันตรายใดๆ ฉะนั้น หากไม่ได้รับการตรวจตาอย่างละเอียด ก็ไม่มีโอกาสทราบได้ว่า ตะกอนน้ำวุ้นตาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยหรือไม่ ดังนั้น ถ้ามีเงาดำที่เกิดขึ้นทันทีทันใดหรือมีอาการเห็นแสงไฟแลบ ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ทันที วิธีการรักษาตะกอนน้ำวุ้นตา แม้ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาให้ตะกอนน้ำวุ้นตาละลายไปได้ แต่ให้เข้าใจว่า เฉพาะเงาดำที่เกิดจากการตกตะกอนตามธรรมชาติของน้ำวุ้นตานั้นไม่มีอันตรายใดๆ ต่อตา ไม่มีผลที่จะทำให้สายตามัวลง และทั่วๆ ไปจะไม่เป็นมากขึ้น นอกจากจะทำให้รำคาญ และวิตกกังวลเท่านั้น เมื่อผู้ป่วยเข้าใจแล้วว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามวัยเช่นเดียวกับสีผมที่เปลี่ยนไป ความวิตกก็คลายลง และเกิดความเคยชินจนเงาดำค่อยๆ ลางหายไปเองจากความรู้สึก ดังนั้น จึงไม่ทำการผ่าตัดเพื่อเอาตะกอนน้ำวุ้นตาออก เพราะประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับการเสี่ยง ผู้ป่วยบางรายต้องพบกับความรำคาญขณะอ่านหนังสือ เพราะเงาตะกอนน้ำวุ้นตามาบังรบกวนประสาทตา วิธีการแก้ไข คือ ให้กลอกตามองขึ้น มองลงไปรอบๆ จะทำให้น้ำวุ้นภายในลูกตาไหลวน ตะกอนก็จะเคลื่อนย้ายตำแหน่งไป ทำให้ไม่บังตา ควรได้รับการตรวจตาจากจักษุแพทย์หรือไม่? ถ้ามีเงาตะกอนน้ำวุ้นตาหรือไฟแลบ ผู้ป่วยที่เห็นเงาตะกอนน้ำวุ้นตาหรือไฟแลบเกิดขึ้น ประมาณร้อยละ 15 ของผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติของจอประสาทตา คือ รูรั่ว หรือ รอยฉีกขาดเกิดขึ้นร่วมด้วย ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที รอยนี้ก็จะลุกลามเป็นจอประสาทตาหลุดลอก ซึ่งต้องได้รับการผ่าตัดรักษา การรักษารูรั่วหรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตาที่ยังไม่หลุดลอก ทำได้ง่ายโดยใช้เลเซอร์ไปอุดรอยรั่วเท่านั้นก็เพียงพอ ดังนั้น ผู้ป่วยที่มองเห็นจุดลอย ควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจว่า จอประสาทตาอ่อนแอและมีโอกาสเป็นรูรั่วหรือไม่ แต่ในรายที่เห็นไฟแลบและมองเห็นตะกอนจำนวนมาก ต้องรีบพบจักษุแพทย์ทันที เพราะมีอัตราเสี่ยงกับการมีรูรั่วที่จอประสาทตามากที่สุด โรงพยาบาลจักษุรัตนิน (www.rutnin.com (http://www.rutnin.com)) โทร 0-2639-3399 แฟกซ์ 0-2639-3311 จากคอลัมน์ " รักสุขภาพ " ของหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ตอน โรควุ้นในลูกตาเสื่อม ซึ่งเขาได้อ้างอิงจาก fwdder.com/topic/9673 หัวข้อ: Re: โรควุ้นในลูกตาเสื่อม อย่ามองข้าม เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 28 มิถุนายน 2555 00:04:30 โรควุ้นในลูกตาเสื่อม
คนที่เล่นคอมพ์เกือบทุกคน เป็นโรค 'วุ้นในลูกตาเสื่อม' ตอนนี้ในประเทศไทย มีคนเป็นโรคนี้ถึง 14 ล้านคนแล้ว จากข้อมูลทางหนังสือพิมพ์ (นี่เฉพาะแค่ที่มีข้อมูลบันทึกไว้ คนที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นจะมากขนาดไหน?) อาการก็คือ ! คุณจะเห็นเป็นคราบดำๆ เหมือนหยากไย่ ลอยไปลอยมาเหมือนคราบที่ติดกระจก จะเห็นชัดก็ต่อเมื่อ คุณมองไปยังภาพแบล็คกราวนด์ที่มีสีสว่าง เช่น ท้องฟ้าขาวๆ ฝาห้องขาวๆ ฝาห้องน้ำขาวๆ จะเห็นเป็นคราบดำๆ ลอยไปลอยมา ถ้าอาการมากกว่านั้นก็คือ ประสาทตาฉีกขาด คุณจะมองเห็นแสงแฟลชในที่มืด ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา (น่ากลัวมากๆค่ะ) และถึงขั้นนี้จะต้องผ่าตัด (ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันว่าจะดีเหมือนเดิม จะตาบอดหรือไม่?) สาเหตุของโรคนี้คือ ! 'การใช้สายตามากเกินไป' (เล่นคอม) แต่ก่อนโรคนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุ หรือ คนที่มีอาชีพใช้ที่สายตามากๆ เช่น ช่างเจียระไนเพชรพลอย ! ที่ต้องใช้สายตาเพ่งมากๆ แต่เดี๋ยวนี้คนเป็นโรควุ้นในลูกตาเสื่อมกันมากเพราะ เล่นเนต หรือ เล่นคอม (คุณฟังไม่ผิดหรอก เดี๋ยวนี้คนเป็นโรคนี้กันมากเพราะเล่นคอมนี่แหละ) ถามว่าทำไม คนเล่นเนต เล่นคอม ถึงเป็นกันมาก? ไม่ว่าคุณจะเล่นเนต, เล่นเกมส์, อ่านไดอารี่, อ่านบทความ, อ่านหนังสือหรืออะไรก็ตาม ที่อยู่บนจอคอมพิวเตอร์ ล้วนทำให้สายตาคุณเสียได้ทั้งสิ้นเพราะว่า ถ้าคุณอ่านหนังสือที่เป็นแผ่นกระดาษธรรมดาๆ 'ระยะห่างระหว่าง ลูกตา กับ ตัวหนังสือ จะคงที่ แน่นอนเพราะขอบของตัวหนังสือจะคมชัด ทำให้สมองกะระยะโฟกัสได้ถูกต้องแน่นอนกว่า กล้ามเนื้อและประสาทตาจึงทำงานค่อนข้างคงที่ แต่ ! ตัวหนังสือบนจอคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเป็นจุดๆ ประกอบกัน เหมือนแขวนลอยบนจอ ขอบของตัวหนังสือไม่คมชัด สมองจะสับสนในการปรับระยะโฟกัส ( เพราะจอแก้ว จะมีความหนาของแก้ว แต่เรามองผ่านมันไป ) (จอ LCD เราก็ต้องมองผ่านเข้าไปเหมือนกัน ตัวหนังสือไม่ได้ติดอยู่ด้านบนเหมือน อยู่บนแผ่นกระดาษ) การปรับระยะโฟกัสจึงไม่แน่นอน บวกกับ ลักษณะการอ่านหนังสือในคอมนั้น จะต้องใช้เม้าส์จิ้ม ลากแถบด้านข้างจอ เพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือขึ้นลง เพื่อที่จะอ่านบรรทัดด้านล่างได้หรือไม่ก้อ ใช้ลูกหมุนที่อยู่บนเม้าส์หมุนเพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือ แต่การเลื่อนบรรทัดนี้ ไม่เหมือนกับการอ่านหนังสือจากแผ่นกระดาษ ที่แขนกับคอเราจะปรับการมองขึ้นลงโดยอัตโนมัติ มีระยะที่แน่นอน สัมพันธ์กัน แต่ว่าการเลื่อนบรรทัดด้วยแถบด้านข้าง หรือลูกกลิ้งบนเม้าส์นั้น มันจะมีลักษณะการเลื่อนแบบกระตุกๆ (คุณสังเกตุดู ) มันจึงทำให้ปวดตามากๆ เพราะจะต้องลากลูกตาเลื่อนตามบรรทัดที่กระตุกๆ นั้นไปตลอด บวกกับ การพิมพ์ตัวหนังสือนั้น บางทีคุณต้องก้มเพื่อมองนิ้ว ว่ากดตำแหน่งบนแป้นพิมพ์ถูกตัวอักษรหรือไม่ ทำให้เดี๋ยวก้ม เดี๋ยวเงย ลูกตาปรับโฟกัสบ่อยเกิน ทำให้ลูกตาทำงานหนัก กว่าจะพิมพ์งานเสร็จ คุณจะปวดตามากๆ ตัวอย่างเช่นกรณีเด็กนักศึกษา เร่งพิมพ์รายงานส่งอาจารย์ ติดต่อกันข้ามคืน ! สองสามวัน ตาจะปวดมากๆ รวมทั้งเวลาการเปิดใช้โปรแกรม word ในการพิมพ์ตัวหนังสือมักจะมีสีพื้นที่เป็นสีขาวสว่าง (ที่นิยมก็คือ ตัวหนังสือสีดำบนพื้นสีขาว) สีพื้นที่สว่างจ้านี่เอง ทำให้ตาคุณจะเกิดอาการแพ้แสง ถ้ามีการพิมพ์ติดต่อกันนานๆ เพราะจ้องจอสีขาวนานเกินไป หรือไม่ก็คนที่ชอบเล่นเกมส์บ่อย ๆ มักจะมีการปรับแสงสว่าง เพราะเวลาเล่นเกมส์ ภาพพื้นหลังของเกมส์มักจะมืดๆ สรุปก็คือ 1. การมองตัวหนังสือที่แขวนลอยอยู่ในจอโฟกัสไม่แน่นอน กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนัก 'ทำให้สายตาเสีย' 2. การเลื่อนตัวหนังสือและแถบบรรทัด ในหน้าคอม หรือ หน้าเนต มันจะเลื่อนแบบเป็นกระตุกๆ ทำให้สายตาเสีย การกระตุกๆ ของแถบบรรทัดนี่เอง ที่ทำให้สายตาเสีย 3. การก้มๆเงยๆ มองแป้นพิมพ์ และมองจอคอม กลับไปกลับมา 'ทำให้สายตาเสีย ' 4. การปรับจอภาพที่! มีแสงสว่างจ้ามากเกินไปโดยไม่รู้ตัว 'ทำให้สายตาเสีย' (คล้ายๆ กับการเปิดดูทีวี ในห้องมืดๆ เป็นประจำ แล้วทำให้สายตาเสียน่ะเองค่ะ อย่างเดียวกัน) 5. การใช้จอคอม ที่มีความกว้างมากเกิน !! (จอคอมกว้างๆ นั้น เหมาะสำหรับการดูภาพ ดูหนัง แต่ไม่เหมาะกับการดูตัวหนังสือ !!) เพราะว่า สายตาคนเรานั้นมีระยะการมองตัวอักษรที่ 1 ฟุต (12นิ้ว) แต่จอคอมสมัยใหม่ กลับมีความกว้าง 17 นิ้ว 19 นิ้ว หรือมากกว่านั้น ซึ่งมันกว้างเกินระยะกวาดสายตามอง จากขอบหนึ่งไปสู่อีกขอบหนึ่ง (ทำให้ปวดทั้งคอ ทั้งลูกตา) ถามกลับไปว่า ทำไม กระดาษเอกสาร ที่ใช้ในการอ่านการเขียนทั่วไปจึงมีขนาด A4 ? คำตอบ ก็คือ ความกว้างของกระดาษ A4 ไม่กว้างเกินไป กำลังพอดีกับการกวาดสายตามอง และเป็นคำตอบเดียวกับที่ว่าทำไมขนาดของจอคอมคุณที่ใช้ ไม่ควรเกิน 15 นิ้ว นั่นเอง ส่วนมากคนทั่วไป มักจะคิดไม่ถึงว่า การเล่นคอมทุกวันนั้น จะเป็นสาเหตุใหญ่ที่สามารถทำให้ตาบอดได้ ถ้าเกิดอาการรุนแรงเพราะกว่าจะรู้ตัวแล้วไปหาหมอ หมอก็อาจจะบอกว่า คุณไม่สามารถรักษาหายได้แล้ว และต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น!!! อ้างอิง : tiida-club.net/smf/index.php?topic=11056.0 หัวข้อ: Re: โรควุ้นในลูกตาเสื่อม อย่ามองข้าม เริ่มหัวข้อโดย: That's way ที่ 03 กรกฎาคม 2555 02:56:09 แล้วถ้าวุ้นมะพร้าวเสื่อมแก้ได้ยังไงฮะ
;D |