หัวข้อ: สมุนไพร พรรณพฤกษา - "ชะลูด" ไม้ยาหอมที่คนไทยควรรู้ เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 05 กรกฎาคม 2555 18:57:41 .
. (http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRa52luiq8D3hlFnnsb9kPQvDs5011-p4Es2BlDQ2OrcksMTawp) ...สมุนไพร พรรณพฤกษา (http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTYaJFT7_4NmX8qapdradsl1CcGWVEVfsgU2Cm1ulpobO2asZL9zA) (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/1/19/Chaludchang.jpg/220px-Chaludchang.jpg) เปลือกชะลูด ชะลูดช้าง หรือ ซ่อนกลิ่นเถา ภาพจาก : samunpri.com และ th.wikipedia.org ชะลูด ไม้ยาหอมที่คนไทยควรรู้ ยาหอมเกือบทุกตำรับมักจะมีชะลูดเป็นตัวยาประกอบอยู่ด้วย แต่ไม่น่าเชื่อว่าคนไทยทั่วไปกลับรู้จักไม้ชนิดนี้น้อยมาก ชะลูดพบได้ในภาคใต้มากกว่าภาคอื่นๆ ดังนั้น ชื่อท้องถิ่นที่ปรากฏในเอกสารทางการ "หอพรรณไม้" ของกรมป่าไม้ จึงปรากฏเฉพาะชื่อทางภาคใต้ซึ่งเรียก ชะลูด ว่า ลูด (ปัตตานี) หรือ นูด (สงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี) แต่สมุนไพรชนิดก็ปรากฏมีมากในภาคอีสานด้วย แต่อาจยังไม่ได้ทำรายงานอย่างเป็นทางการ คนอีสานเรียกไม้ชนิดนี้ว่า “ตังตุ่น” ชะลูด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Alyxia reinwardtii Bl. จัดอยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE สำหรับไม้ในสกุลนี้ในประเทศไทยมีรายงานพบ 4 ชนิดด้วยกันคือ ชะลูด (Alyxia reinwardtii Bl.) ชะลูดช่อสั้น (Alyxia schlechteri H. Lv.) เครือข้าวมวก (Alyxia siamensis Craib) เครือมวกไทย (Alyxia thailandica D.J. Middleton) ลักษณะเป็นไม้เลื่อยมีเถาขนาดเล็ก ลำต้นมีลักษณะเกลี้ยง เปลือกสีดำ และมีน้ำยางสีขาว ใบเป็นแบบใบเดี่ยว จะออกรอบข้อ ข้อละ ๓ ใบ จะเป็นรูปขอบขนาน หรือรูปรี ปลายใบแหลมหรือมน ส่วนโคนใบจะเป็นครีบ ด้านบนเป็นมันและขอบใบจะม้วน ออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ดอกออกเป็นช่อคล้ายซี่ร่มมีสีขาวนวล ดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อละ ๔ – ๑๐ ดอก โคนดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ดอกแยกเป็น ๕ กลีบ ดอกจะส่งกลิ่นหอมช่วงค่ำ ลักษณะเด่นคือ ผลเป็นแบบผลแห้ง แข็ง รูปรี มีความยาวประมาณ ๑ ซ.ม. การขยายพันธุ์ทำได้โดยการเพาะเมล็ด ปักชำและตอนกิ่ง ชะลูดควรปลูกในที่ร่มและมีไม้ใหญ่หรือเสาให้ชะลูดคอยเลื้อย และอยากบอกดังๆ ว่า ชะลูด เป็นพันธุ์ไม้ที่เหมาะสำหรับการปลูกเป็นไม้ประดับด้วย การใช้ประโยชน์ ในเขตภาคกลางกล่าวไว้ว่า ชะลูดมีประโยชน์ดังนี้ • เนื้อไม้ เป็นยาบำรุงหัวใจ รักษาลม และขับลม • เปลือกชั้นใน มีกลิ่นหอมและชุ่มชื่น ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง • ใบ ใช้รักษาอาการไข้ • ดอก ใช้รักษาอาการไข้เพ้อคลั่ง • ผล ใช้รักษาอาการไข้ • ราก ใช้รักษาพิษเสมหะ พิษไข้และลม • ประโยชน์อื่น ๆ ใช้เป็นเครื่องหอมปรุงแต่งผ้าหรือเสื้อผ้า ให้มีกลิ่นหอม หรือใช้อบเสื้อผ้าให้หอม ใช้ปรุงแต่งกลิ่นใบยาสูบ และใช้เป็นเครื่องหอมอื่นๆ เช่น ธูปหอม คนอีสานในอดีต ใช้ชะลูดแช่น้ำอาบในกรณีที่กินอาหารผิดสำแดง (แพ้อาหาร) แล้วมีอาการออกตุ่ม และใช้ทั้งเถาเป็นส่วนประกอบของเครื่องหอม แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันนี้หันไปนิยมใช้น้ำหอมจากสารสังเคราะห์ ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ จะพบส่วนของเปลือกชะลูดวางจำหน่ายในตลาดสินค้าพื้นเมือง โดยเฉพาะอินโดนีเซีย จะเรียกว่า “อบเชยขาว” (white cinnamon) นำมาเข้ายาสมุนไพรหลายชนิด เช่น เป็นยาแก้อาการเกร็ง (antispasmodic) เป็นยาระงับอาการปวดกระเพาะ ยาแก้ท้องอืด (atulence) ยาแก้ปวดมวนในท้อง (colic) แก้ไข้ (fever) แก้บิด (dysentery) และขับลม นอกจากนี้ ยังใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องหอมเช่นเดียวกับคนไทย ในบางครั้งอาจมีการใช้ส่วนของใบและดอกแทนเปลือกได้ด้วย ทั้งใบและดอกมีรสคล้ายเครื่องเทศขม สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า ส่วนของเปลือกเมื่อนำไปสกัดจะได้สารต้านอนุมูลอิสระและต้านแบคทีเรียได้ ในวงการไม้ประดับพบว่ามีชะลูดอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า “ชะลูดช้าง” มีลักษณะคล้ายกับชะลูดแต่ดอกใหญ่กว่า โดยต้องเข้าใจว่าชะลูดช้าง เป็นไม้ที่อยู่คนละวงศ์กับชะลูด พูดง่ายๆ ว่าคนละต้นกัน ชะลูดช้าง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Marsdenia oribunda (Brongn.) Schltr. แต่เมื่อค้นหาชื่อชะลูดช้างในอินเตอร์เน็ตจะพบว่าชะลูดช้างมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stephanotis oribunda ซึ่งเป็นชื่อพ้องกัน ชะลูดช้าง อยู่ในวงศ์ ASCLEPLADACEAE มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Creeping Tuberose, Madagascar, Jasmine, Wax Flower. เป็นไม้เถาเลื้อย • เถา มีขนาดเล็กสีขาว กลม และทุกส่วนของชะลูดช้างจะมียางสีขาว • ใบ เป็นแบบใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อของลำต้นหรือเถา ใบเป็นรูปรี หรือรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบกว้างและหนาเป็นมันคล้ายแผ่นหนัง โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบยกขึ้นทางด้านบนทำให้มีลักษณะเป็นรางออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ • ดอก มีลักษณะเป็นหลอด ปลายดอกแยกออกเป็น ๕ กลีบ กลีบดอกมีสีขาวสะอาดเช่นเดียวกับดอกมะระ และมีกลิ่นหอมจัด กลีบดอกหนา เนื้อดอกละเอียด เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากมาดากาสการ์ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้เหมือนกัน ทั้ง ชะลูดช้าง และชะลูดที่ใช้เป็นยาหอม ซึ่งเป็นยาเอกลักษณ์ของยาไทยขนานแท้ จึงควรส่งเสริมการปลูกเพื่อนำประโยชน์ไปใช้ดูแลสุขภาพคนไทยอย่างยิ่ง แต่คนไทยไม่รู้จักและไม่นิยมปลูกชะลูด หรือ “ตังตุ่น” (เรียกแบบอีสาน) ซึ่งกำลังเป็นไม้หายาก และเป็นไม้ที่ปลูกเสริมการปลูกป่าได้ เพราะเป็นไม้ที่ชอบขึ้นในที่ร่ม (:UU:) ที่มา : คอลัมน์ “สมุนไพรเพื่อสุขภาพ” โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง มูลนิธิสุขภาพไทย, มติชนรายสัปดาห์ ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๑๖๕๖ หน้า ๙๓ |