หัวข้อ: วัดเจ็ดยอด จ.เชียงใหม่ สถานที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 กันยายน 2555 13:26:43 .
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54084875931342_1.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/44308466174536_3.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/39369627874758_2.jpg) พระเจดีย์เจ็ดยอดก่อด้วยศิลาแลง จำลองแบบมาจากเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามที่สุดในโลก วัดเจ็ดยอด (Wat Jed Yod Royal Temple) ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วัดเจ็ดยอด เป็นวัดเก่าแก่ทางด้านประวัติศาสตร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยเพราะเป็นวัดที่มีโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ล้ำค่าครบทุกประการ ทั้งศาสนธรรม ศาสนวัตถุ ศาสนบุคคล ศาสนพิธีที่บรรพชนได้สร้างไว้ ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ชาวพุทธรู้จักดี เพราะเป็นวัดที่กษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายสถาปนาขึ้น และยังเป็นสถานที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘ ของโลก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๐๒๐ หรือเมื่อ ๕๐๐ กว่าปีล่วงมาแล้ว ผู้สร้างวัดเจ็ดยอดคือ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์มังราย พระองค์โปรดให้สร้างวัดเจ็ดยอดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๘ ในครั้งนั้นมีพระเถระชาวลังกาได้นำต้นศรีมหาโพธิ์มาจากประเทศศรีลังกา จึงเกิดพระราชศรัทธาที่จะปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ จึงนำต้นศรีมหาโพธิ์ ที่พระเถระชาวลังกานำมาจากลังกาทวีป นำมาปลูกไว้ในเขตอรัญญิกของเมือง ณ บริเวณที่ตั้งวัดปัจจุบันนี้ และตั้งชื่อว่า“วัดมหาโพธาราม” โดยถือต้นศรีมหาโพธิ์ เป็นโพธิบัลลังก์ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ และถือเป็นศูนย์กลางของวัด ดังนั้น วัดเจ็ดยอดจึงมีชื่อเรียกมาแต่โบราณว่า “วัดมหาโพธาราม หรือโพธารามมหาวิหาร” และนิมนต์พระอุตตมปัญญามหาเถระมาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดนี้ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/87365012988448_4.jpg) เมื่อ ๕๐๐ กว่าปีล่วงมาแล้ว ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราชได้โปรดให้มีการทำสังคายนาชำระพระไตรปิฎกขึ้น ณ วัดเจ็ดยอดแห่งนี้ โดยได้อาราธนาพระเถระผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกจากทั่วแคว้นแดนล้านนามามากกว่า ๑๐๐ รูป มาร่วมประชุมทำสังคายนาในครั้งนั้น นับได้ว่าการประชุมครั้งสำคัญนั้น ได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทยเป็นครั้งแรก และเป็นครั้งที่ ๘ ของโลก เพราะส่วนใหญ่ การประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกจะถูกจัดขึ้นในประเทศอินเดียและศรีลังกา การประชุมครั้งนั้นใช้เวลา ๑ ปี จึงสำเร็จเรียบร้อย เรียกได้ว่าเป็นการชำระตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้ตัวอักษรล้านนาจารึกเป็นภาษาพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งแรก ณ วัดเจ็ดยอดแห่งนี้ โดยมีพระธรรมทินมหาเถระเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระเจ้าติโลกราชเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/79304263285464_5.jpg) การประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘ ของโลก (http://www.sookjaipic.com/images_upload/69931252093778_1.jpg) ประวัติความเป็นมาของวัดเจ็ดยอด (ข้อมูล คัดจากแผ่นป้ายคอนกรีตภายในวัดเจ็ดยอด) วัดเจ็ดยอดหรือวัดโพธารามมหาวิหาร ตั้งอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือริมแม่น้ำขาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญมากแห่งหนึ่งของประเทศไทย พญาติโลกราช กษัตริย์ลำดับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๑๙๘๕ – ๒๐๓๐) ของแคว้นล้านนา ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่จำพรรษาของพระอุตตมปัญญามหาเถร เจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๙๘ พร้อมกับการปลูกต้นพระศรีมหาโพธิให้เหมือนเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงผจญมาร อีกทั้งจำลองสัตตมหาสถาน คือสถานที่สำคัญ ๗ แห่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับเสวยวิมุติสุข แห่งละ ๗ วัน ก่อนการเผยแผ่ศาสนา ได้แก่โพธิบัลลังก์ (เจดีย์เจ็ดยอดในปัจจุบัน ซึ่งถ่ายแบบศิลปกรรมจากเจดีย์มหาโพธิวิหารพุทธคยาในประเทศอินเดีย ผนังวิหารด้านนอกประดับปูนปั้นเทพชุมนุม) อนิมิสเจดีย์ รัตนจงกรม รัตนฆรเจดีย์ ราชายตนเจดีย์ อชปาลนิโครธ และมณฑปสระมุจลินท์ แล้วทำการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นครั้งที่ ๘ ของโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๐ ใช้เวลาประชุมสังคายนานาน ๑ ปี โดยมีพระธรรมทินมหาเถระ สำนักวัดป่าตาล เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพญาติโลกราชเป็นประธานฝ่ายฆราวาส พระราชทานนามว่า “โพธารามมหาวิหาร” เพราะมีต้นพระศรีมหาโพธิและวิหารใหญ่ แต่เนื่องจากวิหารมียอดเป็นเจดีย์ ๗ องค์ คนทั่วไปจึงนิยมเรียกชื่อว่า “วัดเจ็ดยอด” (http://www.sookjaipic.com/images_upload/69931252093778_1.jpg) เจดีย์ที่บรรจุอัฐ พระเจ้าติโลกราช พ.ศ.๒๐๓๐ เมื่อพญาติโลกราชสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๐๓๐ พญายอดเชียงราย ราชนัดดาของพระองค์ทรงโปรดให้สร้างจิตกาธาน (เชิงตะกอน) เพื่อเป็นที่ถวายพระเพลิงพระศพ พร้อมกันนั้นได้ทรงสร้างเจดีย์ใหญ่บรรจุอัฐิและอังคารธาตุไว้ด้วย ต่อมาในสมัยพญาเมืองแก้ว (พ.ศ. ๒๐๔๓–๒๐๖๘) ทรงบูรณะ ปฏิสังขรณ์ และทรงโปรดให้สร้างอุโบสถ ตามศาสนสถานต่าง ๆ เหล่านี้ ล้อมรอบด้วยกำแพงที่มีซุ้มประตูโขงหรือประตูทางเข้าหลักของทางวัดอยู่ทางด้านทิศตะวันออก วัดเจ็ดยอดได้ร้างไประยะหนึ่ง จนกระทั่งต้นสมัยรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละ เจ้าเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๓๓๙) ได้มาฟื้นฟูบ้านเมือง และปฏิสังขรณ์อารามต่างๆ ทั่วเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งวัดเจ็ดยอดแห่งนี้ด้วย วัดเจ็ดยอดจึงดำรงความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งรวมศิลปกรรมชั้นเยี่ยม ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาคู่เมืองเชียงใหม่สืบมาจนถึงปัจจุบัน กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะและอนุรักษ์ ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ ครั้งที่สอง พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๒๗ และครั้งที่สาม พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๔๗ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/97748115037878_3.jpg) ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตามประวัติการสร้างวัด เมื่อพ.ศ. ๑๙๙๘ ในครั้งนั้นมีพระเถระชาวลังกาได้นำต้นศรีมหาโพธิ์มาจากประเทศศรีลังกา พระเจ้าติโลกราช ทรงนำต้นศรีมหาโพธิ์ต้นนั้น มาปลูกไว้ในบริเวณวัดนี้ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/95285039850407_4.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/35495182457897_5.jpg) |