หัวข้อ: มิจฉาทิฐิ หรือ มิจฉาทิฏฐิ คืออะไรแน่ ? เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 14 กรกฎาคม 2553 02:01:27 มิจฉาทิฐิ หรือ มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิด การเห็นกงจักรเป็นใบบัว
พระพุทธองค์ทรงตรัส[1]ไว้ ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า * ทานที่ให้แล้วไม่มีผล * การบูชาไม่มีผล * การบวงสรวงไม่มีผล * ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี * โลกนี้ไม่มี * โลกอื่นไม่มี * มารดาไม่มีบุญคุณ * บิดาไม่มีบุญคุณ * สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี * สมณพราหมณ์ที่ปฏิบัติ ดีปฏิบัติชอบ ทราบถึงโลกนี้และโลกอื่นด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง และสามารถทำให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย ไม่มี" ซึ่งจากการประพฤติผิดมิชอบนี้เอง จะส่งผลให้บุคคลนั้น ๆ ต้องไปเกิดยังนรก อเวจีเพื่อใช้กรรมที่ตนเองก่อไว้หลายร้อยชาติ ปัจจัย ให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ มี 2 อย่าง ได้แก่ * ปรโตโฆสะ คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น เสียงจากผู้อื่น ฟังคำบอกเล่า ชักจูงของผู้อื่น * อโยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยไม่แยบคาย การไม่ใช้ปัญญา พิจารณา ความไม่รู้จักคิด การปล่อยให้อวิชาครอบงำ ตรงกันข้ามกับคำว่า โยนิโสมนสิการ อ้างอิง * พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์". * พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม". * อักขณสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ * ตติยปัณณาสก์ อาสาวรรคที่ ๑ ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ 1. ^ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ - คหบดี วรรค - ๑๐. อปัณณกสูตร ข้อที่ ๑๐๕. |