หัวข้อ: ชีวิตคนเราอยู่ที่เรากำหนดหรืออยู่ที่กรรมกำหนด? เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 26 สิงหาคม 2553 15:52:23 (http://lh6.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/S_4KrG3DIlI/AAAAAAAAA_I/2zDmreErXrY/P525001-7.jpg) http://www.youtube.com/v/an4yPkF9xx8?fs=1&hl=en_US ถาม................จริง ๆ แล้วชีวิตคนเรา อยู่ที่เรากำหนดเองหรืออยู่ที่กรรมกำหนด? ตอบ........เราทำกรรม แล้วกรรมนั้นเป็นตัวบังคับให้เป็นไป เคยได้ยินโบราณเขาว่าไหม ? สี่คนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนนำทางสี่คนหาม ก็คือสภาพร่างกายของเรา ที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม สามคนแห่ คือ สภาพของความปกติธรรมดา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ต้องมีกันทุกคน หนึ่งคนนั่งแคร่ คือตัวเราที่เป็นจิตอาศัยอยู่ในร่างกายนี้ สองคนนำทาง ก็คือ ความดีความชั่ว หรือบุญบาปที่เราทำสร้างเอาไว้ถึง เวลาก็จะนำเราไปฉะนั้นเราเป็นคนทำ ในเมื่อเราทำ ถึงเวลาผลดีผลชั่วส่งผลขึ้นมาเรากลับไปยินดีรับแต่ผลดี แล้วไม่ยินดีรับในสิ่งที่ไม่ดี ก็เลยทำให้ สภาพจิตของเราดิ้นรนเกิดความทุกข์มากเป็นพิเศษ กลายเป็นว่าทุกข์เพราะเราไปดิ้นรนเอง แต่ถ้าสภาพจิตเรายอมรับได้ว่า เราทำเราก็ต้องรับถ้าสภาพจิตยอมรับอย่างนั้น เห็นเป็นธรรมดา ความดิ้นรนมีน้อย ความทุกข์ก็จะน้อยไปด้วย ฉะนั้น.............ตอบคำถามของโยมตรง ๆ ก็คือ เราทำแต่สิ่งที่เราทำนั้นส่งผลให้เราเป็นอย่างพรหมลิขิตก็คือตัวเราทำให้เป็นไปเอง อยากจะได้ในสิ่งที่ดี ๆ แต่ไม่ทำสิ่งที่ดี ๆ ให้ต่อเนื่องไปทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง ถึงเวลาความดีมาสนองก็ยินดีรื่นเริงบันเทิงใจ ถึงเวลาความชั่วเข้ามาก็เดือดร้อนทุกข์ใจ รำคาญใจ กลายเป็นว่าสภาพจิตหาความเที่ยงไม่ได้ เดี๋ยวก็ฟูด้วยความยินดี เดี๋ยวก็ฟุบด้วยความยินร้าย ก็เท่ากับว่าเราสร้างทุกข์ให้แก่ตัวเองอยู่ตลอดเวลาถ้าหากสภาพจิตของเราเป็นกลาง{มั่นคง}ไม่ยินดียินร้ายตามอารมณ์ต่าง ๆ ได้ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เราหวั่นไหวได้ พระพุทธเจ้าท่านเปรียบว่า เหมือนกับภูเขาที่เป็นแท่งทึบ แรงลมพัดมาเท่าไรก็ไม่หวั่นไหว ถ้าอย่างนั้นเราเองก็ไม่ต้องเดือดร้อนเพราะบรรดาโลกธรรมและสุขทุกข์ต่าง ๆ พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญเทศน์ช่วงบ่าย ณ บ้านอนุสาวรีย์วันอาทิตย์ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ |