หัวข้อ: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 26 มกราคม 2553 23:23:07 (http://img10.imageshack.us/img10/8452/lpcha1.jpg) การปล่อยวาง โดย หลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี “การปล่อยวาง” ความจริงมันหมายความอย่างนี้ อุปมาเหมือนเราแบกก้อนหินหนักอยู่ก้อนหนึ่ง แบกไปก็รู้สึกหนัก แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมัน ก็ได้แต่แบกอยู่นั่นแหละ พอมีใครบอกว่าให้โยนมันทิ้งเสียซิ ก็มาคิดอีกแหละว่า เอ๊ะ! ถ้าเราโยนมันทิ้งเสียแล้ว เราก็ไม่มีอะไรเหลือน่ะซิ ก็เลยแบกอยู่นั่นแหละ ไม่ยอมทิ้ง ถึงจะมีใครบอกว่า โยนทิ้งไปเถอะ แล้วจะดีอย่างนั้น เป็นประโยชน์อย่างนี้ เราก็ยังไม่ยอม โยนทิ้งอยู่นั่นแหละเพราะกลัวแต่ว่าจะไม่มีอะไรเหลือ ก็เลยแบกก้อนหินหนักไว้ จนเหนื่อยอ่อนเพลียเต็มที จนแบกไม่ไหวแล้ว ก็เลยปล่อยมันตกลง ตอนที่ปล่อยมันตกลงนี่แหละ ก็จะเกิดความรู้เรื่อง การปล่อยวาง ขึ้นมาเลย เราจะรู้สึกสบาย แล้วก็รู้สึกได้ด้วยตนเองว่า การแบกก้อนหินนั้นมันหนักเพียงใด แต่ตอนที่เราแบกอยู่นั้น เราไม่รู้หรอกว่า การปล่อยวาง มันมีประโยชน์เพียงใด (http://images.pajaew.multiply.com/image/1/photos/upload/300x300/RnabWwoKCnUAACIfSww1/15.jpg?et=1VNtassBvPPZOND%2BFu4S1w) ดอกกล้วยหมูสังสีนวล ที่มาภาพ : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=17&t=25676&st=0&sk=t&sd=a&start=60 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=17&t=25676&st=0&sk=t&sd=a&start=60) หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 26 มกราคม 2553 23:42:09 (http://img685.imageshack.us/img685/5599/77469107.jpg) รากฐานที่เราจะต้องปฏิบัติใหม่ๆ ๑. ให้เป็นคนซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ๒. ให้เป็นคนกลัว เป็นคนละอายต่อบาป ๓. มีลักษณะที่ถ่อมตัวในใจของเรา เป็นคนที่มักน้อย เป็นคนที่สันโดษ ถ้าคนมักน้อยในการพูดการอะไรทุกอย่าง มันก็เห็นตัวของตัวไม่เข้าไปวุ่นวาย รากฐานที่มีอยู่ในจิตนั้นก็ล้วนแต่ศีล สมาธิ ปัญญาเต็มอยู่ในจิต ไม่มีอะไรอื่น จิตในขณะนั้นก็เดินในศีล ในสมาธิ ในปัญญาโดยอาการเช่นนั้น ฉะนั้นนักปฏิบัติเรานั้นอย่าประมาท ถึงแม้ว่าถูกต้องแล้วก็อย่าประมาท ผิดแล้วก็อย่าประมาท ดีแล้วก็อย่าประมาท มีสุขแล้วก็อย่าประมาท ทุกอย่างท่านว่าอย่าประมาท ทำไมไม่ให้ประมาท เพราะอันนี้มันเป็น ของไม่แน่ ให้จับมันไว้อย่างนี้ จิตใจเราก็เหมือนกัน ถ้ามีความสงบแล้วก็วางความสงบไว้ แหม มันอยากจะดีใจ แต่ดีก็ให้รู้เรื่องมัน ชั่วก็ให้รู้เรื่องมัน (http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ZUqrfd6y85TiEM:http://www.palungjit.com/buddhism/gallery/data/557/P-03.jpg) หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 27 มกราคม 2553 00:55:25 (http://www4.pantown.com/data/14856/board13/123-20061118084610.jpg) กรรม กรรมคือการกระทำ กรรมคือการยึดมั่นถือมั่น กาย วาจา และใจ ล้วนสร้างกรรม เมื่อมีการยึดมั่นถือมั่น เราทำกันจนเกิดความเคยชินเป็นนิสัย ซึ่งจะทำให้เราเป็นทุกข์ได้ในกาลข้างหน้า นี่เป็นผลของ การยึดมั่นถือมั่นและของกิเลสเครื่องเศร้าหมองของเราที่เกิดขึ้นในอดีต ความยึดมั่นทั้งหลายจะทำให้ เราสร้างกรรม สมมติว่าท่านเคยเป็นขโมยก่อนที่จะบวชเป็นพระ ท่านขโมยเขา ทำให้เขาไม่เป็นสุข ทำให้ พ่อแม่หมดสุข ตอนนี้ท่านเป็นพระแต่เวลาที่ท่านนึกถึง เรื่องที่ท่านทำให้ผู้อื่นหมดสุขแล้ว ท่านก็ไม่สบายใจ และเป็นทุกข์แม้จนทุกวันนี้ จงจำไว้ว่า ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม จะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด ผลในอนาคตได้ ถ้าท่านเคยสร้างกรรมดีไว้ในอดีต และวันนี้ก็ยังจำได้ ท่านก็เป็นสุข ความสุขใจเป็นผล จากกรรมในอดีต สิ่งทั้งปวงมีเหตุเป็นปัจจัยทั้งในระยะยาว และถ้าใคร่ครวญดูแล้วทั้งในทุกๆ ขณะด้วย แต่ท่านอย่าไปนึกถึงอดีตหรือปัจจุบันหรืออนาคต เพียงแต่เฝ้าดูกายและจิต ท่านจะต้องพิจารณา จนเห็น จริงในเรื่องกรรมด้วยตัวของท่านเอง จงเฝ้าดูจิต ปฏิบัติแล้วท่านจะรู้อย่างแจ่มแจ้ง อย่าลืมว่ากรรมใคร ก็เป็นของคนนั้น อย่ายึดมั่นและอย่าจับตาดูผู้อื่น ถ้าผมดื่มยาพิษ ผมก็ได้รับทุกข์ ไม่ใช่เรื่องที่ท่านจะมา เป็นทุกข์ด้วย จงรับเอาแต่สิ่งดีที่อาจารย์สอน แล้วท่านจะเข้าถึงความสงบ จิตของท่านจะเป็นเช่นเดียว กันกับจิตของอาจารย์ ถ้าท่านพิจารณาดู ท่านก็จะรู้ได้ แม้ว่าขณะนี้ท่านจะยังไม่เข้าใจ เมื่อท่านปฏิบัติต่อไป มันก็จะแจ่มแจ้งขึ้น ท่านจะรู้ได้ด้วยตนเอง ได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรม เมื่อเรายังเล็ก พ่อแม่วางกฎระเบียบกับเรา และหัวเสียกับเรา แท้จริงแล้วท่านต้องการจะช่วยเรา กว่าเราจะรู้ก็ต่อมาอีกนาน พ่อแม่และครูบาอาจารย์ดุว่าเราและเราก็ไม่พอใจ ต่อมาเราจึงเข้าใจว่า ทำไม เราจึงถูกดุ ปฏิบัติไปนานๆ แล้วท่านก็จะเห็นเอง ส่วนผู้ที่คิดว่าตนฉลาดล้ำก็จะจากไปในเวลาอันสั้น เขา ไม่มีวันจะได้เรียนรู้ ท่านต้องขจัดความคิดว่าตัวฉลาดสามารถออกไปเสีย ถ้าท่านคิดว่าท่านดีกว่าผู้อื่น ท่านก็จะมีแต่ทุกข์ เป็นเรื่องน่าสงสาร อย่าขุ่นเคืองใจ แต่จงเฝ้าดูตนเอง (http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ybjBXP1Y_z0LgM:http://www.tourthai.com/gallery/images007/lotus4.jpg) หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 27 มกราคม 2553 01:24:42 (http://i80.photobucket.com/albums/j199/grippini/walking/DSC05124.jpg) ธรรมโอสถ... “..พวกแพทย์...พวกหมอ.. เขาปรุงยาปราบโรคทางกาย จะเรียกว่า..สรีระโอสถ..ก็ได้ ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ใช้ปราบโรคทางใจ.. เรียกว่า...ธรรมโอสถ.. ดังนั้น...พระพุทธเจ้าของเรา.. จึงเป็นแพทย์ปราบโรคทางใจ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก.. โรคทางใจเป็นได้ไว และเป็นได้ทุกคนไม่เว้นเลย.. เมื่อท่านผู้รู้ว่า...ท่านเป็นไข้ใจ... จะไม่ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ.. พิจารณาดูเถิด.. การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรม.. มิใช่เดินด้วยกาย... แต่ต้องเดินด้วยใจ... จึงจะเข้าถึงได้...” (:88:) http://www.bp.or.th/webboard/index.php?action=profile%3Bu=3868%3Bsa=showPosts (http://www.bp.or.th/webboard/index.php?action=profile%3Bu=3868%3Bsa=showPosts) หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 27 มกราคม 2553 01:44:26 (http://img134.imageshack.us/img134/7038/standj.jpg) ปริยัติปฏิบัติ หลวงพ่อมักแนะนำพระภิกษุสามเณร ผู้ที่มุ่งเข้ามาประพฤติปฏิบัติที่วัดหนองป่าพงว่า "ไม่ต้องอ่านหนังสือ ให้อ่านใจตัวเองดีกว่า" แต่ไม่ใช่ว่าท่านประมาทในเรื่องปริยัติธรรม เพียงแต่เป็นห่วงว่าลูกศิษย์จะหลงเข้าใจผิดว่า ตนรู้ธรรมะดีแล้ว ทั้ง ๆ ที่จิตยังเข้าไม่ถึง "ปริยัตินี้เหมือนตำรายาที่ชี้บอกให้หารากไม้ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติ ออกแสวงหาต้นยา ให้รู้จักว่า ต้นนี้เป็นอย่างนั้น ต้นนั้นเป็นอย่างนี้ มันไม่เกิดประโยชน์อะไร" มิหนำซ้ำ ความรู้ที่เป็นสัญญาความทรงจำอาจจะมีโทษต่อผู้ภาวนา "นักปริยัติชอบสงสัย เช่น เวลานั่งสมาธิ ถ้าจิตสงบปั๊บ เอ! มันเป็นปฐมฌานละกระมัง ชอบคิดอย่างนี้ พอนึกอย่างนี้จิตถอนเลย ถอนหมดเลย เดี๋ยวก็นึกว่าเป็นทุติยฌานแล้วกระมัง อย่าเอามาคิด พวกนี้มันไม่มีป้ายบอก มันคนละอย่าง ไม่มีป้ายบอกว่า นี่ทางเข้าวัดหนองป่าพง มิได้อ่านอย่างนั้น มันไม่บอก มีแต่พวกเกจิอาจารย์มาเขียนไว้ว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน มาเขียนไว้ทางนอก ถ้าจิตเราเข้าไปสงบถึงขั้นนั้นแล้ว ไม่รู้จักหรอก รู้อยู่แต่ว่ามันไม่เหมือนปริยัติที่เราเรียน ถ้าผู้เรียนปริยัติแล้วชอบกำเข้าไปด้วย ชอบนั่งคอยสังเกตว่าเอ เป็นอย่างไร มันเป็นปฐมฌานแล้วหรือยัง นี่มันถอนออกหมดแล้ว ไม่ได้ความ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพราะมันอยาก พอตัณหาเกิดมันจะมีอะไร มันก็ถอนออกพร้อมกัน นี่แหละเราทั้งหลายต้องทิ้งความคิดความสงสัยให้หมด ให้เอาจิตกับกายวาจาล้วน ๆ เข้าปฏิบัติ ดูอาการของจิต อย่าแบกคัมภีร์เข้าไปด้วย ไม่มีคัมภีร์ในนั้น ขืนแบกเข้าไปมันเสียหมด เพราะในคัมภีร์ไม่มีสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ผู้ที่เรียนมากๆ รู้มาก ๆ จึงไม่ค่อยสำเร็จ เพราะมาติดตรงนี้" หลวงพ่อเคยสอนพระที่แตกฉานในทางปริยัติรูปหนึ่งว่า "เอาปริยัติของคุณใส่หีบใส่ห่อเก็บไว้เสีย อย่าเอามาพูด เวลามีอะไรขึ้นมา มันไม่เป็นอย่างนั้น เหมือนกับเราเขียนหนังสือว่า ความโลภ เวลามันเกิดขึ้นในใจมันไม่เหมือนกับตัวหนังสือ เวลาโกรธก็เหมือนกัน เขียนใส่กระดานดำเป็นอย่างหนึ่ง มันเป็นตัวอักษร เวลามันอยู่ในใจ มันอ่านอะไรไม่ทันหรอก มันเป็นขึ้นมาที่นี่เลย สำคัญนัก สำคัญมาก จริงอยู่ปริยัติเขียนไว้ถูก แต่ต้อง โอปนยิโก ให้เป็นคนน้อม ถ้าไม่น้อมก็ไม่รู้จักความจริง" (http://images.palungjit.com/attachments/24029d1251297685-magic-lotus-magic-lotus-jpg) คัดลอกจาก: อุปลมณี แก้วก่องส่องธรรมนำชน เรืองโลก เรืองอุบล คือ พระโพธิญาณเถร หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 27 มกราคม 2553 02:16:17 สาธุครับ
หลวงปู่ชาเป็นหนึ่งในพระเถระที่ผมชอบมากที่สุด อ่านประวัติท่านมาเยอะมาก ยิ่งอ่านยิ่งศรัทธา เรียบง่าย แต่ลึกซึ้ง ศิษย์หลวงปู่มั่น แม่ทัพธรรมแห่งภาคอีสาน เป็นคนเดียวในบรรดาศิษย์สายหลวงปู่มั่น ที่ไม่ได้เป็นธรรมยุติ อนุโมทนากับสิ่งดี ๆ ที่โพสท์ให้สังคมครับ สาธุ ๆ (:88:) (:88:) (:88:) หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 27 มกราคม 2553 10:53:19 (http://mblog.manager.co.th/uploads/89/images/2551-03-14.jpg) รู้จักปล่อยแล้วก็วาง ให้โยมทำจิตให้อยู่กับลมหายใจ หายใจออกยาวๆ สูดลมเข้ามายาวๆ หายใจออกไปยาวๆ แล้วก็ตั้งจิตขึ้นใหม่ แล้วก็กำหนดลมว่า พุทโธ พุทโธ โดยปกติถึงแม้ว่ามันจะเหนื่อยมากเท่าไร ก็ยิ่งกำหนดลมเข้าให้ละเอียด ละเอียดเข้าไปมากเท่านั้นทุกครั้ง เพื่ออะไรเพื่อจะต่อสู้กับเวทนาเมื่อมันกำลังเหน็ดเหนื่อย ก็ให้โยมหยุดความคิดทั้งหลาย ให้โยมหยุดคิดอะไรๆ ทั้งปวงเสียให้เอาจิตมารวมอยู่ที่จิต แล้วเอาจิตให้รู้จักลมภาวนาพุทโธ พุทโธ ปล่อยวางข้างนอกให้หมด อย่าไปเกาะกับลูก อย่าไปเกาะกับหลาน อย่าไปเกาะกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งนั้นให้ปล่อย ให้เป็นอันเดียว รวมจิตลงที่อันเดียว ดูลม ให้กำหนดลม เอาจิตนั่นแหละไปรวมอยู่ที่ลม คือให้รู้ที่ลมในเวลานั้น ไม่ต้องไปรู้อะไรมากมาย กำหนดให้จิตมันน้อยไปๆ ละเอียดไปๆ เรื่อยๆ ไปจนกว่าจะมีความรู้สึกน้อยๆ มันจะมีความตื่นอยู่ในใจมากที่สุด อันนี้เวทนาที่มันเกิดขึ้น มันจะค่อยๆ ระงับไปๆ ผลที่สุดเราก็ดูลมเหมือนกับญาติมาเยี่ยมเรา เราก็จะตามไปส่งญาติขึ้นรถลงเรือ เราก็ตามไปถึงท่าเรือ ไปถึงรถเราก็ส่งญาติเราขึ้นรถ เราก็ส่งญาติเราลงเรือ เขาก็ติดเครื่องเรือเครื่องรถไปลิ่วเท่านั้นแหละ เราก็มองไปเถอะเมื่อญาติเราไปแล้ว เราก็กลับบ้านเรา เราดูลมก็เหมือนกันฉันนั้น เมื่อลมมันหยาบเราก็รู้จัก เมื่อลมมันละเอียดเราก็รู้จัก เมื่อมันละเอียดไปเรื่อยๆ เราก็มองไปๆ ตามไปน้อมไปๆ ทำจิตให้มันตื่นขึ้น ทำลมให้มันละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ ผลที่สุดแล้วลมหายใจมันน้อยลงๆ จนกว่าลมหายใจไม่มี มันก็จะมีแต่ความรู้สึกเท่านั้นตื่นอยู่ นั้นก็เรียกว่า เราพบพระพุทธเจ้าแล้ว เรามีความรู้ตื่นอยู่ ที่เรียกว่า พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าเป็นเช่นนั้นเราได้อยู่กับพระพุทธเจ้าแล้ว เราได้พบพระพุทธเจ้าแล้ว เราพบความรู้แล้ว เราพบความสว่างแล้ว มันไม่ส่งจิตใจไปทางอื่นแล้ว มันจะรวมอยู่ที่นั่น นั้นเรียกว่า เข้าถึงพระพุทธเจ้าของเรา ถึงแม้ว่าท่านปรินิพพานไปแล้ว นั่นเรียกว่าพระพุทธรูป เป็นรูปกาย มีรูป แต่พระพุทธเจ้าอย่างแท้จริงนั้นก็คือ ความรู้อันสว่างไสว เบิกบานอย่างนี้ เมื่อพบเช่นนี้เราก็มีอันเดียวเท่านั้น ให้มารวมที่นี้ ฉะนั้นให้วาง วาางทั้งหมดเหลือแต่ความรู้อันเดียว แต่อย่าไปหลงนะ อย่าให้ลืม ถ้าเกิดนิมิตเป็นรูปเป็นเสียงอะไรมา ก็ให้ปล่อยวางทั้งหมด ไม่ต้องเอาอะไรทั้งนั้นแหละ ไม่ต้องเอาอะไร เอาแต่ความรู้สึกอันเดียวเท่านั้นแหละ ไม่ห่วงข้างหน้า ไม่ห่วงข้างหลัง หยุดอยู่กับที่ จนกว่าว่าเดินไปก็ไม่ใช่ ถอยกลับก็ไม่ใช่ หยุดอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่มีที่ยึดไม่มีที่หมาย เพราะอะไรเพราะว่าไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีเราและไม่มีของของเรา...หมด นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้า สอนให้เราหมดอย่างนี้ ไม่ให้เราคว้าเอาอะไรไป ให้เรารู้อย่างนี้ รู้แล้วก็ปล่อย ก็วาง (http://suebsak.com/kk/images/kk02.jpg) ภาพจาก : http://board.palungjit.com/members/wellrider-119305-page3.html (http://board.palungjit.com/members/wellrider-119305-page3.html) หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 27 มกราคม 2553 12:10:17 (http://www.igetweb.com/www/pm/gallery/103796.jpg) ทะเลาะ............ สมัยหนึ่งอาตมาไปบริหารพระ ๓-๔ องค์ ไปอยู่ในป่า ไฟไม่ค่อยจะมี เพราะอยู่บ้านป่า องค์หนึ่งก็ได้หนังสือธรรมะมาอ่าน อ่านอยู่ที่หน้าพระประธาน ที่ทำวัตรกัน อ่านอยู่ก็ทิ้งตรงนั้นแล้วก็หนีไป ไฟไม่มีมันก็มืด พระองค์มาทีหลังก็มาเหยียบหนังสือ จับหนังสือขึ้นมาก็โวยวายขึ้นว่า "พระองค์ไหนนไม่มีสติ ทำไมไม่รู้จักที่เก็บหนังสือ" สอบสวนถามก็ไปถึงพระองค์นั้น พระองค์นั้นก็รับปากว่า "ผมเอาหนังสือเล่มนี้ไว้ที่นี่" "ทำไมท่านไม่รู้จักที่เก็บหนังสือ ผมเดินมาผมเหยียบหนังสือนี้" "โอ...อันนั้นเป็นเพราะท่านไม่สำรวมต่างหากเล่า" เห็นไหมมันมีเหตุผลอย่างนั้น จึงเถียงกัน องค์นั้นบอกว่า "เพราะท่านไม่เอาไปไว้ในที่เก็บ ท่านไม่รู้จักเก็บหนังสือ ท่านจึงไว้อย่างนี้" องค์นี้บอกว่า "เป็นเพราะท่านไม่สำรวม ถ้าท่านสำรวมแล้ว คงไม่เดินเหยียบหนังสือเล่มนี้" มีเหตุผลว่าอย่างนั้น มันก็เกิดเรื่องทะเลาะกัน ทะเลาะกันไม่จบ ด้วยเรื่องเหตุผล เรื่องธรรมะที่แท้จริงนั้น ต้องทิ้งเหตุทิ้งผล คือธรรมะมันสูงกว่านั้น ธรรมะที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ ระงับกิเลสทั้งหลายได้นั้น มันอยู่นอกเหตุเหนือผล ไม่อยู่ในเหตุ อยู่เหนือผล ทุกข์มันจึงไม่มีสุขมันจึงไม่มี ธรรมนั้นท่านเรียกว่าระงับ ระงับเหตุ ระงับผล ถ้าพวกใช้เหตุผลอยู่อย่างนี้ เถียงกันตลอดจนตายเหมือนพระสององค์นั้น (http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:Fi-ZzvNHcS0MiM:http://www.212cafe.com/boardvip/user_board/cm99/picture/01254_0.jpg) ธรรมที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ " ต้องอยู่นอกเหตุเหนือผล นอกสุขเหนือทุกข์ นอกเกิดเหนือตาย " (http://www.baanlaesuan.com/plantlover/Webboard/images_board%5Creply_Q131A18.jpg) หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 27 มกราคม 2553 12:44:22 (http://img97.imageshack.us/img97/9204/cha3f.jpg) แมว กิเลสนี่เหมือนแมว ถ้าให้กินตามใจ มันก็ยิ่งมาเรื่อย ๆ แต่มีวันหนึ่ง มันข่วนนะถ้าเราไม่ให้อาหารมัน ไม่ต้องให้อาหารมัน มันจะมาร้องแงว ๆ อยู่ เราไม่ให้อาหารมันสักวัน หนึ่ง สองวัน เท่านั้นก็ไม่เห็นมันมาแล้ว เหมือนกันแหละ กิเลสไม่มากวนเรา เราก็จะได้สงบใจต่อไป หลวงพ่อชา สุภทฺโท ขอบพระคุณที่มาค่ะ.. จาก.. derbyrock กระดานสนทนา วัดบางพระ หมวด ธรรมะ (http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSIrb2A9Ig78xZXNTHS2j5-HkvOgySm9b-6NJT-fQu06_nIa4sm) "กิเลสนี้เหมือนแมว ถ้าให้กินตามใจแล้วก็ยิ่งมาเรื่อยๆ อีกวันหนึ่งมันกวนหนักเข้าก็ไม่ต้องให้อาหารมันเถอะ มันจะมากี่วันก็ 'ช่างมัน' เมื่อไม่เห็นจานข้าวก็หนีเท่านั้นแหละ นี่เรียกว่ากิเลสไม่ครอบเราแล้วเราก็จะได้สบายต่อไป" หลวงปู่ชา สุภทฺโท -http://www.facebook.com/pages/ปรมัตถธรรม/264337953636012 (http://webboard.yenta4.com/uploads/2009/12/18/49543-cat.jpg) หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 27 มกราคม 2553 16:06:54 (http://www.thaitravelhealth.com/blog/wp-content/uploads/2008/04/thai-lotus-museum.jpg) มนุษย์เป็นผู้มีบุญวาสนาบารมี ความจริง พระพุทธเจ้าท่านทรงบอกทรงสอนไว้หมดทุกอย่างแล้ว เรื่องศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดีตลอดจนข้อประพฤติปฏิบัติทุกประการก็ทรงพร่ำสอนไว้หมดทุกอย่าง เราไม่ต้องไปคิด ไปบัญญัติอะไรอีกแล้วเพียงให้ทำตามในสิ่งที่ท่านทรงสอนไว้เท่านั้น นับว่าพวกเราเป็นผู้มีบุญ มีโชคอย่างยิ่ง ที่ได้มาพบหนทางที่ท่านทรงแนะทรงบอกไว้แล้ว คล้ายกับว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงสร้างสวนผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์พร้อมไว้ให้เรา แล้วก็เชิญให้พวกเราทั้งหลายไปกินผลไม้ในสวนนั้น โดยที่เราไม่ต้องออกแรงทำอะไรในสวนนั้นเลย เช่นเดียวกับคำสอนในทางธรรม ที่พระองค์ทรงสอนหมดแล้ว ยังขาดแต่บุคคลที่จะมีศรัทธาเข้าไปประพฤติปฏิบัติเท่านั้น ฉะนั้น พวกเราทั้งหลายจึงเป็นผู้ที่มีโชคมีบุญมากเพราะเมื่อมองไปที่สัตว์ทั้งหลายแล้ว จะเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เช่น วัว ควาย หมู หมา เป็นต้น เป็นสัตว์ที่อาภัพมาก เพราะไม่มีโอกาสที่จะเรียนธรรม ไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติธรรม ไม่มีโอกาสที่จะรู้ธรรม ฉะนั้นก็หมดโอกาสที่จะพ้นทุกข์ จึงเรียกว่าเป็นสัตว์ที่อาภัพ เป็นสัตว์ที่ต้องเสวยกรรมอยู่ ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทั้งหลายจึงไม่ควรทำตัวให้เป็นมนุษย์ที่อาภัพ คือไม่มีข้อประพฤติ ไม่มีข้อปฏิบัติ อย่าให้เป็นคนอาภัพ คือ คนหมดหวังจากมรรค ผลนิพพาน หมดหวังจากคุณงามความดี อย่าไปคิดว่าเราหมดหวังเสียแล้ว ถ้าคิดอย่างนั้น จะเป็นคนอาภัพเหมือนสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย คือไม่อยู่ในข่ายของพระพุทธเจ้า ฉะนั้น เมื่อมนุษย์เป็นผู้มีบุญวาสนาบารมีเช่นนี้แล้ว จึงควรที่จะปรับปรุงความรู้ ความเข้าใจ ความเห็นของตนให้อยู่ในธรรม จะได้รู้ธรรม เห็นธรรม ในชาติกำเนิดที่เป็นมนุษย์นี้ ให้สมกับที่เกิดมาเป็นสัตว์ที่ควรตรัสรู้ธรรมได้ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 27 มกราคม 2553 16:23:51 (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/173/3173/images/22-10-2007/02.jpg) ความพอดี "มะม่วง มันอยู่สูงห้าเมตร เราอยากได้ เอาไม้สิบเมตรมาสอย ไม่ได้ ... มันยาวเกินไป เอาไม้สองเมตร มาสอยมะม่วงห้าเมตร มันก็ไม่ได้ ไม่พอดี มันสั้นเกินไป เราอย่าเข้าใจว่า คนจบดอกเตอร์มาปฏิบัติ สบายเหลือเกิน เพราะเรียนรู้มาพอแล้ว อย่าเข้าใจอย่างนั้น ดอกเตอร์มันยาวเกินไป ... ก็ได้" ดี...ให้พอดี บางคนนั่งสมาธิกัดฟันจนเหงื่อไหล...ความสงบไม่ได้อยู่ตรงนั้น ความสงบอยู่ที่ความพอดี ดีเกินไปก็ไม่สงบ เพราะดีเกินครู มันไม่พอดี ต้องดีให้พอดี ถ้าดีเกินดี มันไม่ดีหรอก จิตจะวิ่งวุ่นตลอดเวลา การฝึกสมาธิหรือการทำกรรมฐานนี้ เรื่องสำคัญอยู่ที่อารมณ์ จิตเรามีอารมณ์หลายๆอย่าง แต่เราต้องฝึกให้จิตมีอารมณ์เดียวเช่นเราจะดูลมหายใจเข้า-ออก ก็ใช้การเฝ้าดูลมนี้เป็นอารมณ์ ให้จิตระลึกอยู่อย่างเดียว หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 27 มกราคม 2553 17:19:01 (http://img190.imageshack.us/img190/6781/692as.jpg) สงบจิตด้วยการนั่งสมาธิ ปฏิบัติทำไมมันถึงยากถึงลำบาก เพราะว่ามันอยาก พอไปนั่งสมาธิปุ๊บก็ตั้งใจว่าอยากจะให้มันสงบ ถ้าไม่มีความอยากให้สงบก็ไม่นั่งไม่ทำอะไร พอเราไปนั่งก็อยากให้มันสงบ เมื่ออยากให้มันสงบ ตัววุ่นวายก็เกิดขึ้นมาอีก ก็เห็นสิ่งที่ไม่ต้องการเกิดขึ้นมาอีก มันก็ไม่สบายใจอีกแล้ว นี่มันเป็นอย่างนี้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า อย่าพูดให้เป็นตัณหา อย่ายืนให้เป็นตัณหา อย่านั่งให้เป็นตัณหา อย่านอนให้เป็นตัณหา อย่าเดินให้เป็นตัณหา ทุกประการนั้นอย่าให้เป็นตัณหา ตัณหาแปลว่าความอยาก ถ้าไม่อยากจะทำอะไรเราก็ไม่ได้ทำ อันนั้นปัญญาของเราไม่ถึง ทีนี้มันก็เลยอู้เสีย ปฏิบัติไปไม่รู้จะทำอย่างไร พอไปนั่งสมาธิปุ๊บ ก็ตั้งความอยากไว้แล้ว อย่างพวกเราที่มาปฏิบัติอยู่ในป่านี้ ทุกคนต้องอยากมาใช่ไหม นี่จึงได้มา อยากมาปฏิบัติที่นี้ มาปฏิบัตินี่ก็อยากให้มันสงบ อยากให้มันสงบก็เรียกว่าปฏิบัติเพราะความอยาก มาก็มาด้วยความอยาก ปฏิบัติก็ปฏิบัติด้วยความอยาก เมื่อมาปฏิบัติแล้วมันจึงขวางกัน ถ้าไม่อยากก็ไม่ได้ทำ จึงเป็นอยู่อย่างนี้ จะทำอย่างไรกับมันล่ะ อย่าให้ตัณหาเข้าครอบงำในการปฏิบัติ การกระทำความเพียรก็เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าว่า อย่าทำให้เป็นตัณหา อย่าพูดให้เป็นตัณหา อย่าฉันให้เป็นตัณหา ยืนอยู่ เดินอยู่ นั่งอยู่ นอนอยู่ ทุกประการท่านไม่ให้เป็นตัณหา คือทำด้วยการปล่อยวาง เหมือนกับซื้อมะพร้าว ซื้อกล้วยมาจากตลาดนั่นแหละ เราไม่ได้เอาเปลือกมันมาทานหรอก แต่เวลานั้นยังไม่ถึงเวลาจะทิ้งมัน เราก็ถือมันไว้ก่อน การประพฤติปฏิบัตินี้ก็เหมือนกันฉันนั้น สมมุติ-วิมุติ มันก็ต้องปนอยู่อย่างนั้น เหมือนกับมะพร้าว มันจะปนอยู่ทั้งเปลือกทั้งกะลาทั้งเนื้อมัน เมื่อเราเอามาก็เอามาทั้งหมดนั่นแหละ เขาจะหาว่าเราทานเปลือกมะพร้าวอย่างไรก็ช่างเขาปะไร เรารู้จักของเราอยู่เช่นนี้เป็นต้น อันความรู้ในใจของตัวเองอย่างนี้ เป็นปัญญาที่เราจะต้องตัดสินเอาเอง นี้เรียกว่าตัวปัญญา ดังนั้น การปฏิบัติเพื่อจะเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ไม่เอาเร็วและไม่เอาช้า ช้าก็ไม่ได้ เร็วก็ไม่ได้ จะทำอย่างไรดี ไม่มีช้า ไม่มีเร็ว เร็วก็ไม่ได้ มันไม่ใช่ทาง ช้าก็ไม่ได้ มันไม่ใช่ทาง มันก็ไปในแบบเดียวกัน (http://img44.imageshack.us/img44/1029/lpcha2.jpg) ตั้งใจทำสมาธิมากเกินไป ก็กลายเป็นความอยาก แต่ว่าพวกเราทุกๆ คนมันร้อนเหมือนกันนะ มันร้อน พอทำปุ๊บก็อยากให้มันไปไวๆ ไม่อยากจะอยู่ช้า อยากจะไปหน้า การกำหนดตั้งใจหาสมาธินี้ บางคนตั้งใจเกินไป บางคนถึงกับอธิษฐานเลย จุดธุปปักลงไป กราบลงไป ?ถ้าธูปดอกนี้ไม่หมด ข้าพเจ้าจะไม่ลุกจากที่นั่งเป็นอันขาด มันจะล้ม มันจะตาย มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน จะตายอยู่ที่นี้แหละ? พออธิษฐานตั้งใจปุ๊บก็นั่ง มันก็เข้ามารุมเลย พญามาร นั่งแพล็บเดียวเท่านั้นแหละ ก็นึกว่าธูปมันคงจะหมดแล้วเลยลืมตาขึ้นมาดูสักหน่อย โอ้โฮ ยังเหลือเยอะ กัดฟันเข้าไปอีก มันร้อนมันรน มันวุ่นมันวาย ไม่รู้ว่าอะไรอีก เต็มทีแล้ว นึกว่ามันจะหมด ลืมตาดูอีก โอ้โฮ ยังไม่ถึงครึ่งเลย สองทอดสามทอดก็ไม่หมด เลยเลิกเสีย เลิกไม่ทำ นั่งคิดอาภัพอับจน แหม ตัวเองมันโง่เหลือเกิน มันอาภัพ มันอย่างโน้นอย่างนี้ นั่งเป็นทุกข์ว่าตัวเองเป็นคนไม่จริง คนอัปรีย์ คนจัญไร คนอะไรต่อมิอะไรวุ่นวาย ก็เลยเกิดเป็นนิวรณ์ นี่ก็เรียกว่าความพยาบาทเกิด ไม่พยาบาทคนอื่น ก็พยาบาทตัวเอง อันนี้ก็เพราะอะไร เพราะความอยาก ทำสมาธิด้วยการปล่อยวาง อย่าทำด้วยความอยาก ความเป็นจริงนั้นนะ ไม่ต้องไปทำถึงขนาดนั้นหรอก ความตั้งใจนะคือตั้งใจในการปล่อยวาง ไม่ต้องตั้งใจในการผูกมัดอย่างนั้น อันนี้เราไปอ่านตำราเห็นประวัติพระพุทธเจ้าว่า ท่านนั่งลงที่ใต้ต้นโพธิ์นั้น ท่านอธิษฐานจิตลงไปว่า ?ไม่ตรัสรู้ตรงนี้จะไม่ลุกหนีเสียแล้ว แม้ว่าเลือดมันจะไหลออกมาอะไรก็ตามทีเถอะ? ได้ยินคำนี้เพราะไปอ่านดู แหม เราก็จะเอาอย่างนั้นเหมือนกัน จะเอาอย่างพระพุทธเจ้าเหมือนกันนี่ ไม่รู้เรื่องว่ารถของเรามันเป็นรถเล็กๆ รถของท่านมันเป็นรถใหญ่ ท่านบรรทุกทีเดียวก็หมด เราเอารถเล็กไปบรรทุกทีเดียวมันจะหมดเมื่อไหร่ มันคนละอย่างกัน เพราะอะไรมันถึงเป็นอย่างนั้น มันเกินไป บางทีมันก็ต่ำเกินไป บางทีมันก็สูงเกินไป ที่พอดีๆ มันหายาก (http://img219.imageshack.us/img219/7338/93320090715122754.jpg) หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 27 มกราคม 2553 19:15:33 (http://i241.photobucket.com/albums/ff76/flora_cafe/wl/whitepond.jpg) นินทากาเล... เมื่อเขานินทาต้องหยุดนิ่งพิจารณาดูว่าเขาว่าอะไรกัน ถ้าไม่เป็นจริงก็แล้วไป แต่หากเป็นจริงอย่างเขาว่า ก็แก้ไขตัวเราเสียก็หมดเรื่องกันเท่านั้นเอง ธรรมะไปในแง่นี้ ถ้าเราไม่มีธรรมมะอย่างนั้นเขาว่าให้เรา เราก็โกรธให้เขา อันนี้ไม่ใช่แง่ธรรมะ ถ้าเป็นแง่ธรรมะแล้ว เขาว่าให้เรามัน จริงหรือเปล่า? มีอะไรมั้ย? ที่เขาว่าไม่ดี จริงไหม? เราควรเคารพ เออเราเป็นจริงนะ เราก็เขี่ยสิ่งที่ไม่ดีออกจากใจของเราเสีย อย่างนั้นมันจะเกิดประโยชน์ ที่เขานินทาเกิดประโยช์นแล้ว เราจะต้องเอาความดีในสิ่งที่ไม่ดีเราจะต้องเอาความสงบในสิ่งที่มันวุ่นวายให้มันได้ นี่เราเรียกว่าแง่ธรรมมะ ฉะนั้นจึงว่าให้น้อมใจเข้าสู่ธรรมะ ไม่ใช่น้อมธรรมะเข้ามาสู่ใจ เพราะธรรมะ มันเป็นอย่างนี้ เพราะธรรมะคือความถูกต้องเสมอ จากหน้า37 หนังสือมรดกธรรมเล่มที่38 ความสงบอยู่ที่ไหน พระโพธิญาณเถร หลวงพ่อชา สุภทฺโท หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 28 มกราคม 2553 07:56:08 (:LOVE:) (:LOVE:) (:LOVE:) (:BR:) (:BR:) (:BR:) หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 28 มกราคม 2553 20:06:56 (http://www.maldivestourism.net/wp-content/uploads/2007/12/maldives-resort.jpg) วันนี้...ล้างหน้าแล้ว อย่าลืม...ล้างใจ ทีนี้เวลาตื่นนอน ตอนเช้า "ล้างหน้าแล้วก้อให้ล้างใจด้วย บางคนล้างแต่หน้าไม่ล้างใจ "จึงมีหน้าตาบูดบึ้ง เริ่มบ่นตั้งแต่ดึก นึ่งข้าว ต้มแกง จนสว่าง มองเห็นถ้วยชามก้อขวางหูขวางตาไปหมด เราจะต้องล้างทั้งภายนอกและภายใน พิจารณาดูว่า วัตถุสิ่งของ ดินฟ้าอากาศมันก็เป็นไปตามสภาพเดิมของมันนั่นแหละ แต่เรามันเป็นของเราเพราะไม่รู้จักล้างใจ ฉะนั้นภายในจึงมีขี้โลภ ขี้โกรธ ไหลออกมา ถ้าเราพิจารณารู้ทัน มันกลัวไม่กล้า มันก็ถอยออกหนีเหมือนกัน การล้างภายในเป็นยาอายุวัฒนะ ล้างบ่อยๆจิตใจสบายพ้นจากนรกหมดความขุ่นมัว ไหว้พระแล้วทำใจให้สงบนึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ท่านมีบุญคุณต่อเรามาก แต่ท่านก็ตายไปแล้ว เราเองก็ต้องตายเช่นกัน ไม่มีอะไร เที่ยงแท้ แน่นอน หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 28 มกราคม 2553 20:23:14 (http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/data/imagefiles/R654-6.jpg) เธอ...จงระวัง Watch your thought, they become words. Watch your words, they become actions. Watch your actions, they become habits. Watch your habits, they become character, Watch your character, it becomes your destiny. เธอจงระวังความคิดของเธอ เพราะความคิดของเธอ จะกลายเป็นความประพฤติของเธอ เธอจงระวังความประพฤติของเธอ เพราะความประพฤติของเธอ จะกลายเป็นความเคยชินของเธอ เธอจงระวังความเคยชินของเธอ เพราะความเคยชินของเธอ จะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ เธอจงระวังอุปนิสัยของเธอ เพราะอุปนิสัยของเธอ จะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 28 มกราคม 2553 22:01:21 (http://www.watkoh.com/forum/richedit/upload/2k16a03e5029.jpg) จำเป็นไหมที่จะต้องนั่งภาวนาให้นานๆ ไม่จำเป็นต้องนั่งภาวนานานนับเป็นหลายๆ ชั่วโมง บางคนคิดว่ายิ่งนั่งภาวนานานเท่าใดก็จะยิ่ง เกิดปัญญามากเท่านั้น ผมเคยเห็นไก่กกอยู่ในรังของมันทั้งวันนับเป็นวันๆ ปัญญาที่แท้เกิดจากการที่เรา มีสติในทุกๆ อิริยาบถ การฝึกปฏิบัติของท่านต้องเริ่มขึ้นทันทีที่ท่านตื่นนอนตอนเช้า และต้องปฏิบัติ ให้ต่อเนื่องไปจนกระทั่งนอนหลับไป อย่าไปห่วงว่าท่านต้องนั่งภาวนาให้นานๆ สิ่งสำคัญก็คือท่าน เพียงแต่เฝ้าดูไม่ว่าท่านจะเดินอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือกำลังเข้าห้องน้ำอยู่ แต่ละคนต่างก็มีทางชีวิตของตนเอง บางคนต้องตายเมื่อมีอายุ ๕๐ ปี บางคนเมื่ออายุ ๖๕ ปี และบางคนเมื่ออายุ ๙๐ ปี ฉันใดก็ฉันนั้น ปฏิปทาของท่านทั้งหลายก็ไม่เหมือนกัน อย่าคิดมาก หรือกังวลใจในเรื่องนี้เลย จงพยายามมีสติและปล่อยทุกสิ่งให้เป็นไปตามปกติของมัน แล้วจิตของท่านก็จะสงบมากขึ้นๆ ในสิ่งแวดล้อมทั้งปวง มันจะสงบนิ่งเหมือนหนองน้ำใสในป่า ที่ซึ่งบรรดาสัตว์ป่าที่สวยงาม และหายากจะมาดื่มน้ำในสระนั้น ท่านจะเข้าใจถึงสภาวะธรรมของสิ่งทั้งปวง (สังขาร) ในโลกอย่างแจ่มชัด ท่านจะได้เห็นความอัศจรรย์และแปลกประหลาดทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไป แต่ท่านก็จะยังคงสงบอยู่เช่นเดิม ปัญหาทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นแต่ท่านจะรู้ทันมันได้ทันที นี่แหละคือศานติสุขของพระพุทธเจ้า หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 28 มกราคม 2553 22:57:46 (http://img154.imageshack.us/img154/7181/4por3.jpg) มงคลชีวิตนี้พระเดชพระคุณหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ได้ประพันธ์ไว้ หลวงพ่อชา สุภทฺโท ขอบพระคุณที่มาค่ะ.. จาก.. derbyrock กระดานสนทนา วัดบางพระ หมวด ธรรมะ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 29 มกราคม 2553 18:36:50 (http://i391.photobucket.com/albums/oo360/mettajetovimuti/14563655.jpg) บุรุษจับเหี้ย... วิธีกำหนดอารมณ์ จับอารมณ์ ให้รู้จักจิตของตน ให้รู้จักอารมณ์ของตน เปรียบโดยวิธีที่บุรุษทั้งหลายจับเหี้ย เหี้ยตัวหนึ่งเข้าไปในโพรงจอมปลวกที่มีรูอยู่หกรู ก็ปิดรู้นั้น ๆ เสียห้ารู เหลือรูเดียวให้เหี้ยออกแล้วนั่งจ้องมองที่รูเดียวนั้น เหี้ยออกมาก็จับได้ ฉันใด การกำหนดจิตก็ฉันนั้น ปิดตา ปิดหู ปิดจมูก ปิดลิ้น ปิดกาย เหลือแต่จิตอันเดียวเปิดไว้ คือ การสำรวมสังวร กำหนดจิตอย่างเดียว การภาวนาก็เหมือนกับบุรุษจับเหี้ย กำหนดจิตให้อยู่ที่ลมหายใจ มีสติ ระมัดระวังรู้อยู่แล้ว กำลังทำอะไร มีสัมปชัญญะ คือ รู้ตัวว่ากำลังทำสิ่งนั้น ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตขณะนั้น คือรู้ตัวว่ากำลังทำสิ่งนั้น ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตขณะนั้น ทำให้รู้จัก (http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQq2D9HXXOV4CsFJc1xFRZxbu4AN6fX6_dCif1jVyXzDlSyEm74xROtxNIC) หลวงพ่อชา สุภทฺโท ขอบพระคุณที่มาค่ะ.. จาก.. derbyrock กระดานสนทนา วัดบางพระ หมวด ธรรมะ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 29 มกราคม 2553 19:02:13 (http://farm2.static.flickr.com/1155/1458999057_c1f419621b.jpg?v=0) นักปฏิบัติ กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย คือนักปฏิบัติ กินมาก นอนมาก พูดมาก คือ คนโง่ ธรรมดาๆ ตามความเป็นจริงแล้ว โลกที่เราอยู่นี้ไม่มีอะไรทำไมใครเลย ไม่มีอะไรจะเป็นที่วิตกวิจารณ์เลย ไม่มีอะไรที่น่าจะร้องไห้หรือหัวเราะ เพราะมันเป็นเรื่องอย่างนั้นธรรมดาๆ แต่เราพูดธรรมดาได้ แต่มองไม่เห็นธรรมดา แต่ถ้าเรารู้ธรรมะสม่ำเสมอ ไม่มีอะไรเป็นอะไรแล้ว มันเกิดมันดับของมันอยู่อย่างนั้น เราก็สงบ อยู่กับใคร การคลุกคลีอยู่กับผู้มีปฏิปทาไม่เสมอกัน ทำให้เกิดความลำบาก ความรู้สึกจะมารวมอยู่ตรงนี้ อารมณ์เราเป็นอย่างนี้ เราจึงจะรู้จักที่รวมแห่งสมาธิ ปล่อยลม-ได้สมาธิ-ปัญญา เรากำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว เราปล่อยลมให้เป็นธรรมชาติ อย่าไปบังคับลมให้มันยาว อย่าไปบังคับลมให้มันสั้น ปล่อยสภาพลมให้พอดี แล้วดูลมหายใจเข้าออก เมื่อปล่อยอารมณ์ได้ เสียอะไรก็ไม่ได้ยิน ถ้าจิตเราวุ่นวายกับสิ่งต่างๆ ไม่ยอมรวมเข้ามา ก็ต้องสูดลมเข้าไปให้มากที่สุด จนกว่าจะไม่มีที่เก็บ แล้วก็ปล่อย ลมออกให้มากที่สุด จนกว่าลมจะหมดในท้องสัก 3 ครั้งถ้าเรามีสติอย่างนี้ อย่างวันนี้ เข้าสมาธิ สัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จิตใจของเรา จะมีความเยือกเย็น ไปตั้งหลายวัน แล้วจิตจะสะอาด เห็นอะไรจะรับพิจารณาทั้งนั้น นี้เรียกว่าผลเกิดจากสมาธิ สมาธิมีหน้าที่ทำให้สงบ เมื่อจิตเรา สงบแล้ว จะมีการสังวร สำรวมด้วยปัญญา เมื่อสำรวมเข้า ละเอียดเข้า มันจะเป็นกำลัง ช่วยศีลให้บริสุทธิ์ขึ้นมาก แล้วสมาธิก็จะเกิดขึ้นมาก เมื่อสมาธิเต็มที่ก็จะเกิดปัญญา (http://www.bloggang.com/data/7lotus/picture/1125121612.jpg) ไม่กลัวตาย กลัวอะไร? กลัวตายความตายมันอยู่ที่ไหน? อยู่ที่ตัวเราเอง จะหนีพ้นมันได้ไหม? ไม่พ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในที่ มืด หรือในที่แจ้ง ก็ตายทั้งนั้น หนีไม่พ้นเลย จะกลัวหรือไม่กลัวก็ไม่มีทางพ้น เมื่อรู้อย่างนี้ ความกลัวไม่รู้หายไปไหน เลยหยุดกลัว เหมือนกับที่เราออกจากที่มืดสู่ที่สว่างนั่นแหละ (:88:) : http://www.bp.or.th/webboard/index.php?action=profile%3Bu=3868%3Bsa=showPosts (http://www.bp.or.th/webboard/index.php?action=profile%3Bu=3868%3Bsa=showPosts) Pics by : Google ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย อนุโมทนาค่ะ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 06 มีนาคม 2553 20:45:51 (http://planet.kapook.com/files/blogimages/k/kalapoasaimo/bg/nid/kapook-10569-9472.jpg) แก้วแตก โยมว่า "อย่ามาทำแก้วฉันแตกนะ" ของมันแตกได้ โยมจะไปห้ามมันไม่ได้ ไม่แตกเวลานี้ ต่อไปมันจะแตก เราไม่ทำแตก คนอื่นจะทำแตก คนอื่นไม่ทำแตก ไก่มันจะทำแตก พระพุทธเจ้าท่านให้ยอมรับ ท่านมองทะลุไปว่า แก้วใบนี้แตกแล้ว แก้วที่ไม่แตกนี้ ท่านให้รู้ว่ามันแตกแล้ว จับทุกที ที่ใส่น้ำดื่มเข้าไปแล้ววางไว้ ท่านก็ให้เห็นว่าแก้วมันแตกแล้ว เข้าใจไหม นี่คือความเข้าใจของท่านเป็นอย่างนั้น เห็นแก้วที่แตกอยู่ในแก้วใบที่ไม่แตก เพราะเมื่อมันหมดสภาพแล้ว ไม่ดีเมื่อไรมันก็จะแตกเมื่อนั้น ทำความรู้สึกอย่างนี้แล้ว ก็ใช้แก้วใบนี้ไป รักษาไป อีกวันหนึ่ง พอมันหลุดมือแตก "ผัวะ" สบายไปเลย ทำไมสบาย เพราะเห็นว่ามันแตกก่อนแตกแล้ว เห็นไหม แต่ถ้าเป็นโยม "แหม ฉันถนอมมันเหลือเกิน อย่าทำให้มันแตกนะ" อีกวันหนึ่งสุนัขทำแก้วแตก เกลียดสุนัข ถ้าลูกทำแตกก็เกลียดลูก เกลียดทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้แก้วแตก เพราะเราไปกั้นฝายไว้ไม่ให้น้ำไหลออกไป กั้นไว้อย่างเดียว ไม่มีทางระบายน้ำ ฝายมันก็แตกเท่านั้นแหละใช่ไหม ต้องทำฝาย แล้วทำทางระบายน้ำด้วย พอน้ำได้ระดับแค่นี้ ก็ระบายน้ำ ข้าง ๆ นี่ เมื่อมันเต็มที่ก็ให้มันออกข้างนี้ ท่านเห็นอนิจจัง ความไม่เที่ยงอยู่อย่างนั้น นั่นแหละเป็นทางระบายของท่าน อย่างนี้โยมจะสงบ นี่คือการปฏิบัติธรรมะ หลวงพ่อชา สุภัทโท ขอบพระคุณที่มาค่ะ จาก : derbyrock หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 06 มีนาคม 2553 22:59:15 (http://farm4.static.flickr.com/3546/3499138829_b8d3ba2bba_m.jpg) ดอกโมกเอยโมกขธรรมล้ำเลิศค่า.....ปรารถนาโมกข์หมายปลายทางถึง..... อัฏฐังคิกมรรคไม่หย่อนตึง.....โมกน้อยดอกหนึ่งเริ่มแย้มบาน..... โดย.. อักษราภรณ์ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 มีนาคม 2553 10:16:39 (http://i431.photobucket.com/albums/qq32/arsom/Landscape/2-1.gif) หลวงปู่ชา นับเป็นนักปฏิบัติธรรมที่ติดดินที่สุด ท่านสอนจากธรรมชาติที่ต่ำที่สุด เพื่อให้เกิดสิ่งที่สูงที่สุดคือมรรคผล โดยมีคนเปรียบเทียบแง่มุมนี้ว่า คล้ายกับแนวคำสอนของ ท่านพุทธทาสภิกขุ แต่จุดเด่นอันหนึ่งของแนวคำสอนของหลวงปู่ชาก็คือ "การเปรียบเทียบ" ท่านหาเรื่อง มาเปรียบเทียบเพื่ออธิบายคำสอนของท่านได้อย่างเหมาะเจาะ และเข้าใจง่าย ดังข้อเปรียบเทียบ ต่อไปนี้.- มะม่วง ถ้าพูดให้สั้นเข้ามา ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี มันก็เป็นอันเดียวกัน ศีลก็คือสมาธิ สมาธิก็คือศีล สมาธิก็คือปัญญา ปัญญาก็คือสมาธิ ก็เหมือนมะม่วงใบเดียวกัน เมื่อมันเป็นดอกขึ้นมา มันก็ดอกมะม่วง เมื่อเป็นลูกเล็ก ก็เรียกว่าผลมะม่วงเมื่อมันโตขึ้นมา ก็เรียกมะม่วงลูกโต มันโตขึ้นไปอีก ก็เรียกมะม่วงห่าม เมื่อมันสุกก็คือมะม่วงสุก มันก็มะม่วงลูกเดียวกันนั่นแหละ มันเปลี่ยนๆไป มันจะโตมันก็โตไปหาเล็ก เมื่อมันเล็กมันก็เล็กไปหาโต (http://a.imageshack.us/img199/3360/efs.gif) มีด สมถกับวิปัสสนา มันแยกกันไม่ได้หรอก มันจะแยกกันได้ก็แต่คำพูด เหมือนกับมีดเล่มหนึ่งนะ คมมันก็อยู่ข้างหนึ่ง สันมันก็อยู่ข้างหนึ่งนั่นแหละ มันแยกกันไม่ได้หรอก ถ้าเราจับด้ามมันขึ้นมาอันเดียวเท่านั้น มันก็ติดมาทั้งคมทั้งสันนั่นแหละ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 มีนาคม 2553 10:21:28 เปรียบเทียบเพื่ออธิบายคำสอน หลวงปู่ชา นับเป็นนักปฏิบัติธรรมที่ติดดินที่สุด ท่านสอนจากธรรมชาติที่ต่ำที่สุด เพื่อให้เกิดสิ่งที่สูงที่สุดคือมรรคผล โดยมีคนเปรียบเทียบแง่มุมนี้ว่า คล้ายกับแนวคำสอนของ ท่านพุทธทาสภิกขุ แต่จุดเด่นอันหนึ่งของแนวคำสอนของหลวงปู่ชาก็คือ "การเปรียบเทียบ" ท่านหาเรื่อง มาเปรียบเทียบเพื่ออธิบายคำสอนของท่านได้อย่างเหมาะเจาะ และเข้าใจง่าย ดังข้อเปรียบเทียบ ต่อไปนี้.- (http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTBKVR8ij-YQ_wiuvJHna92747K6_v7RAbIUdzfE3ARGVAeH14&t=1&usg=__D3QZ7Rypo10BtPAcR301fa1775A=) งู มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุข ความจริงสุขนั้นก็คือทุกข์อย่างละเอียด เช่นเดียวกับทุกข์ก็คือ ทุกข์อย่างหยาบ พูดอย่างง่ายๆ สุขและทุกข์ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่ง ทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ มันก็กัดเอา ไปจับหางมันก็เหมือนเป็นสุข แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน (http://minuet.dance.ohio-state.edu/~gallo54/images/words/snake/snake_fangs.jpg) เพราะทั้งหัวงูและหางงู มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน เช่นเดียวกับสุขและทุกข์ ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกัน (http://www.sookjai.com/Themes/default/images/post/xx.gif) (http://shechive.files.wordpress.com/2009/11/a-cute-dog-10.jpg?w=500&h=358) หมายังรู้ หมามันยังรู้จักอารมณ์ของมันเลย เวลาหิวมันก็คราง หงิงๆ ใครไม่รู้จักอารมณ์ของตัว เอ็งก็ตายเสียดีกว่า (http://cdn.stumble-upon.com/mthumb/829/10192829.jpg) (http://cdn.stumble-upon.com/altmthumb/974/28826974.jpg) (http://img0.liveinternet.ru/images/attach/c/0/38/842/38842048_01_s.gif) (http://i40.tinypic.com/35i4zzo.gif) หลวงพ่อชา สุภทฺโท ขอบพระคุณที่มาค่ะ.. จาก.. derbyrock กระดานสนทนา วัดบางพระ หมวด ธรรมะ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 มีนาคม 2553 10:25:34 (http://www.vcharkarn.com/uploads/147/147349.jpg) โคตรของสมาธิ มีอุบาสกคนหนึ่งถามหลวงพ่อว่า "ถ้าทำสมาธินี้ เอาแต่ขณิกก็พอ ไม่จำเป็นต้องไปไกล กว่านั่นใช่ไหมครับ" หลวงพ่อชาตอบว่า "ก็ไม่เป็นไรอย่างนั้น คือหมายความว่า มันต้องเดินไปถึงกรุงเทพฯ ก่อนว่ากรุงเทพฯมันเป็นอย่างนี้ อย่าไปถึงแค่โคราชซิ.. คือไปให้ถึงกรุงเทพฯก่อน และเราก็ผ่านอุบลราชธานีด้วย ผ่านโคราชด้วย ผ่านกรุงเทพฯด้วย คือเรียกว่าสมาธินะ ขณิกสมาธิ อัปปณาสมาธิ มันจะถึงที่ไหนก็ให้มันถึงที่ มันจึงจะรู้จักโคตรของสมาธิ ว่ามันเป็นอย่างไร อัปปณาสมาธิที่มันมากกว่าอุปจารสมาธิ" หัวกลอย ให้กลับความรักที่มีอยู่ ให้กลายเป็นความรักสากล ให้กลายเป็นความรักที่มีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย รักเหมือนแม่รักลูก พ่อรักลูก แม้ผมอยู่กับพวกท่าน ผมก็รักท่านเหมือนเป็นลูกเป็นหลาน ให้ล้างความใคร่ ออกจากความรักเหมือนหัวกลอย ต้องแล่เอาพิษออกจึงกินได้ ความรักก็เช่นเดียวกัน ต้องพิจารณา มองให้เห็นทุกข์ของมัน ค่อยๆล้างเอาเชื้อแห่งความมัวเมาออก เพื่อให้เหลือแต่ความรักล้วนๆ เหมือนครูบาอาจารย์รักศิษย์ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 มีนาคม 2553 10:33:29 (http://i306.photobucket.com/albums/nn251/jawrakea/2-11.jpg) จิตคือควาย เปรียบเสมือนกับการเลี้ยงควาย จิตของเราก็เหมือนควาย อารมณ์คือต้นข้าว ผู้รู้เหมือนเจ้าของ เวลาเราไปเลี้ยงควายทำอย่างไร ปล่อยมันไป แต่เราพยายามดูมันอยู่ ถ้ามันพยายามเดินไปใกล้ต้นข้าว ก็ตวาดมัน ควายได้ยินก็จะถอยออกไป แต่เราอย่าเผลอนะ ถ้ามันดื้อไม่ฟังเสียง ก็เอาไม้ฆ้อนฟาดมันจริงๆ มันจะไปไหนเสีย วัวไม่กินหญ้าก็คือหมู ทุกวันนี้ อาตมาไม่ค่อยได้เทศน์มาก อยู่วัดอยู่วาก็เหมือนกัน ปีนี้เทศน์ให้แม่ชีฟังถึงสองสามครั้งหรือเปล่า ก็จำไม่ได้ พระเจ้าพระสงฆ์ก็ให้อยู่เฉยๆ ให้ดูเอาปฏิบัติเอง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะเข้าใจว่า คนมีศรัทธา จึงเข้ามาในวัด จึงมาบวชเป็นปะขาว จึงมาบวชเป็นเณร จึงมาบวชเป็นพระ เข้าใจอย่างนั้น ถ้าเข้าใจอย่างนั้นก็เหมือนกันกับวัวเราน่ะแหละ วัวมันกินอะไร มันกินหญ้า จับมันมาปล่อยในสนามหญ้าแล้ว ถ้ามันไม่กินหญ้า มันก็เป็นหมูเท่านั้นแหละ ขอบพระคุณที่มาค่ะ.. จาก.. derbyrock กระดานสนทนา วัดบางพระ หมวด ธรรมะ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 มีนาคม 2553 11:14:32 (http://img511.imageshack.us/img511/9607/pichunterinlandscapeseaxl0.jpg) นักปฏิภาณ บางครั้งหลวงพ่อชา ท่านมีจิตแจ่มใส เดาใจคนถามได้อย่างแม่นยำ จึงมักจะมีการใช้ ปฏิภาณ โต้ตอบปัญหาอย่างเฉียบแหลมอยู่เสมอ (http://img165.imageshack.us/img165/7364/9pinkekf1.jpg) ใครรู้อัตตา คนที่นับถือพระเจ้า ไม่ยอมรับคำสอนเรื่อง "อนัตตา" ของพระพุทธศาสนา เหตุผลของเขาก็คือ "จะเอาอะไรมารู้อนัตตาเล่า ถ้าไม่ใช่อัตตา" วันหนึ่ง มีชาวคริสต์มาถามหลวงพ่อว่า "ใครรู้อนัตตา" หลวงพ่อถามกลับทันที "ใครรู้อัตตา" (http://imgg.dt07.net/481/481701_vb.jpg) นกไม่รู้เรื่องปลา มีชาวต่างประเทศถามหลวงพ่อว่า ชีวิตพระเป็นอย่างไร? หลวงพ่อคิดว่าตอบอย่างไรก็ไม่เข้าใจแน่ เพราะเขายังไม่รู้จักพระ จึงตอบไปว่า ถึงปลาจะบอกว่าอยู่ในน้ำเป็นอย่างไร นกก็ไม่มีทางจะรู้ได้ ตราบใดที่นกยังไม่เป็นปลา หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 08 มีนาคม 2553 11:25:59 ของแปลก ในความเคร่งเครียดในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อก็ยังมีแง่มุมที่ขบขันให้เราได้เห็นบ้าง เป็นการหักมุมที่ค่อนข้างจะตื่นเต้นมาก ดังที่ท่านบันทึกไว้ในการเดินทางไปประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๒๐ ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการเดินทางในวันที่ ๖ ในขณะที่บินอยู่ เครื่องบินได้เกิดอุบัติเหตุ ยางระเบิด ๑ เส้นบนอากาศ พนักงานการบินจึงได้ประกาศให้ผู้โดยสาร เตรียมตัวรัดเข็มขัด มีฟันปลอมก็ต้องถอดออก แม้กระทั่งแว่นตาหรือรองเท้า เครื่องบริขารทุกอย่างต้องเตรียมพร้อมหมด ผู้โดยสารทุกคนเมื่อเก็บเครื่องบริขารทุกอย่างเสร็จแล้ว ต่างคนต่างก็เงียบ คงคิดว่าจะเป็นวาระสุดท้าย ของพวกเราทุกคนเสียแล้ว ขณะนั้นเราก็ให้คิดว่าเป็นครั้งแรกที่เรา ได้เดินทางมาเมืองนอก เพื่อสร้างประโยชน์แก่พระศาสนา จะเป็นผู้มีบุญอย่างนี้เทียวหรือ เมื่อระลึกได้เช่นนี้แล้ว ก็ตั้งสัตย์อธิษฐาน มอบชีวิตให้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็กำหนดจิตรวมลงในสถานที่ควรอันหนึ่ง แล้วก็ได้รับความสงบเยือกเย็น ดูคล้ายกับ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น พักในที่ตรงนั้น จนกระทั่งเครื่องบินได้ลดระดับ ลงมาถึงแผ่นดินด้วยความปลอดภัย ฝ่ายคนโดยสารก็ปรบมือกันด้วยความดีใจ คงคิดว่าเราปลอดภัยแล้ว สิ่งที่แปลกก็คือ ขณะเมื่อเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุ ต่างคนก็ร้องเรียกว่า หลวงพ่อช่วยปกป้องคุ้มครองพวกเราทุกคนด้วย แต่เมื่อพ้นอันตรายแล้ว เดินลงจากเครื่องบิน เห็นประณมมือไหว้พระเพียงคนเดียวเท่านั้น นอกนั้นไหว้แอร์โฮสเตสทั้งหมดในที่นั้น นี้เป็นสิ่งที่แปลก (:88:) http://www.baanmaha.com/community/ (http://www.baanmaha.com/community/)คำสอนหลวงพ่อชา-สุภัทโท-31449/ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 08 มีนาคม 2553 18:30:31 (http://img222.imageshack.us/img222/5149/b5b34390542655a26677f49.jpg) หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 มีนาคม 2553 19:25:01 (http://upic.me/i/2s/247471.jpg) จิตที่ถูกปฏิบัติจะพัฒนาได้ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย ความสงสัยจะไม่มีวันสิ้นสุดไปได้ ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี ด้วยการคาดคะเน หรือด้วยการถกเถียงกัน หรือจะอยู่เฉยๆ ไม่ปฏิบัติภาวนาเลย ความสงสัยก็หายไปไม่ได้อีกเหมือนกัน กิเลสจะหายสิ้นไปได้ ก็ด้วยการพัฒนาทางจิต ซึ่งจะเกิดได้ ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น พระอาจารย์ชา สุภัทโท (:LOVE:) http://chatu2008.spaces.live.com/blog/cns (http://chatu2008.spaces.live.com/blog/cns)!8D50BFF48EE14169!774.entry หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 มีนาคม 2553 20:36:21 (http://img197.imageshack.us/img197/4718/standon.jpg) ........คิด กับ พิจารณา........ ปัญหาอีกข้อหนึ่งที่นักปฏิบัติมักสงสัยบ่อย ๆ ก็คือการพิจารณาคืออะไรกันแน่ คอยสงสัยว่ามันต่างกับความนึกคิดอย่างไร หลวงพ่อได้อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างชัดแจ้งในคำตอบที่ท่านให้กับนักปฏิบัติจากอเมริกาที่มากราบนมัสการและสนทนาธรรมที่วัดหนองป่าพง “ความคิดอย่างหนึ่ง ความพิจารณาอย่างหนึ่ง คือความคิดนั้นจิตมันไม่ส่ายหรอก มันก็คิดของมันไปเรื่อย ๆ หยาบ ๆ ทีนี้เมื่อจิตสงบปุ๊บมันจะมีความรู้สึก เกิดความรู้สึกอย่างหนึ่งขึ้นมา คล้าย ๆ ความคิด แต่มันไม่ใช่ความคิด อันนี้มันเกิดมาจากความสงบที่กลั่นกรองออกมาแล้ว มันจะเป็นปัญญาอ่อน ๆ ถ้าเรารู้ไม่ทันมัน มันก็เป็นสังขาร ถ้าเรารู้ทันมัน มันก็เป็นปัญญา เป็นปัญญายังไง เมื่ออะไรมันรู้เกิดขึ้นมามันก็เห็นว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่เป็นปัญญา ถ้าเราปรุงแต่ง คิดยังงั้นคิดยังงี้ นี่มันเป็นสังขารแล้ว ไอ้ความรู้อันนั้นมันเกิดมาจากอวิชชาแล้วมันจึงเป็นอย่างนั้น ถ้าเกิดมาจากวิชชาแล้วก็ต้องรู้จักปล่อย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปล่อยมันไปเรื่อย ๆ นี่มีปัญญาแล้ว ควรให้มีตรงนี้ อันนี้แหละจะเป็นวิปัสสนาต่อไป ตรงนี้เริ่มแล้ว” ถาม “แล้วตอนนั่งจะรู้ได้ยังไงว่าเป็นปัญญาจริงหรือว่าเป็นอวิชชา ?” หลวงพ่อ “เป็นปัญญาที่แท้จริงคือมันไม่ไปยึดหมายในอารมณ์อันนั้น เห็นแล้วก็ไม่รำคาญ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นเรื่องธรรมดาไม่มีอะไรแล้ว เมื่อกิเลสเกิดขึ้นมา ความรู้มากระทบ มันก็หายไป ๆ ถ้าเป็นอวิชชากระทบมาจับเลย คือเรื่องการภาวนามันมีสองอย่าง ท่านตรัสไว้ว่า มัน เจโตวิมุตติ อันหนึ่ง ปัญญาวิมุตติ อันหนึ่งนะ ปัญญาวิมุตติ นั้นเรียกว่ามันเร็วมาก อย่างคนสองคนนี้จะเดินไปดูลวดลายซักอย่างหนึ่ง อย่างโยมก็ไปดูพร้อมกันนี่น่ะ ดูห้านาทีพร้อมกันนี่ เข้าใจเอามาทำเลย รู้ ทีนี้อีกคนหนึ่งจะต้องมานั่งคิดตรงนั้นมันทำยังงั้น ก็กลับไปดูอีก ตรงนั้นมันทำยังงั้น แน่ะ เจโตวิมุตติ ต้องมาทำจิตให้มันมาก ๆ เสียหน่อยหนึ่ง ทำสมาธิให้มากเสียหน่อยหนึ่ง โยมนี่ไม่ต้องอะไรแล้วนี่ ไปมองดูเข้าใจแล้วก็มาทำ ไม่สงสัย กลับมาเขียนเลยทำเลย นี่ ปัญญาวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติและเจโตวิมุตติ นี้ก็ไปถึงที่สุดเหมือนกัน แต่ว่ามีอาการต่างกัน มีอาการต่างกันอย่างไร ปัญญาวิมุตตินี้มีสติสัมปชัญญะรอบอยู่เสมอเลย เมื่อเห็นอะไรพ้นขึ้นมา รู้ รู้ มันปล่อย มันวางง่าย คนที่เจโตวิมุตตินี่เห็นขึ้นมาแล้วไม่ได้ ต้องไปนั่งพิจารณา นี่ก็ไปได้เหมือนกัน ให้รู้จักจริตของเรา บางคนที่อาจจะไม่รู้ว่ามันเป็นสมาธิด้วย เราเดินไปเดินมา สมาธิคือความตั้งใจมั่น มันมีอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว ถ้าคนมีปัญญาไม่ต้องยาก ทำสมาธินี่พอเป็นรากฐานเฉย ๆ คล้าย ๆ ว่าเขาเรียนกัน มศ.3 น่ะ มศ.6 นะ ได้ม.6 ปุ๊บแล้วก็แยกไป จะไปเข้าตรงไหน ใครชอบอะไร ใครชอบเกษตรก็ไปเกษตร ใครชอบอะไรก็ไป มันแยกตรงนี้อย่างนี้ สมาธิก็เหมือนกันอย่างนี้ มันไปอย่างนี่ก็ไปถึงที่สุดของมัน” หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 10 มีนาคม 2553 20:58:34 (http://img25.imageshack.us/img25/1292/tesana4s.jpg) " การไม่กระทำบาปนั้นมันเลิศที่สุด บางคนบางคราว โจรมันก็ให้ได้ มันก็แจกได้ แต่ว่าจะพยายามสอนให้มันหยุดเป็นโจรนั้นน่ะ มันยากที่สุด การจะละความชั่วไม่กระทำผิดมันยาก การทำบุญ โจรมันก็ทำได้ มันเป็นปลายเหตุ การไม่กระทำบาปทั้งหลายทั้งปวงนั้นน่ะ เป็นต้นเหตุ" (:LOVE:) ขอบพระคุณที่มาค่ะ จาก : derbyrock หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:24:42 (http://i170.photobucket.com/albums/u280/Michael2505/buddha_flower.jpg) ปุถุชน กับ ธรรมะ ภาษาธรรมะที่พระพุทธเจ้าท่านสอนนั้น ก็สอนให้แก่พวกเราทั้งหลายนี้แหละ พวกเราที่เป็นปุถุชนให้เป็นอริยชน เหมือนเราจะสร้างบ้านเรือน เราก็ต้องหาสิ่งที่ยังไม่สำเร็จ จะเป็นเสา เป็นขื่อ เป็นแป ฯลฯ มันไม่ได้สำเร็จมาเลยทีเดียวหรอก เราต้องไปแปลงสภาพมันขึ้นมา เสาเรือนก็ดี เดิมเกิดจากไม้ที่มันยาว มันคดอยู่ ซึ่งรวมอยู่กับต้นไม้นั่นแหละ เราต้องไปเลื่อย ไปแปรรูปออกมา คนฉลาดก็สามารถนำเอามาสร้างบ้านเรือนได้ เราก็เหมือนกัน ยังเป็นปุถุชนอยู่ มีลูกมีเมีย มีอะไรต่างๆ เป็นธรรมดาของโลก แต่ถ้าเรารู้จักการภาวนา รู้จักธรรมะแล้ว ก็สามารถระบายสิ่งไม่ดี สิ่งที่ผิดออกได้ ไม่วันนี้ก็พรุ่งนี้ ไม่น้อยก็มาก เหมือนกับเราแบกของหนัก เมื่อเอาทิ้งไปทีละน้อยๆ ทิ้งบ่อยๆ มันก็เบาได้ เมื่อทิ้งไปๆ ผลที่สุดก็วางหมด เหมือนกับเราแบกไม้ฟืนนั่นแหละ เมื่อถึงกระท่อมก็ทิ้งโครมเลย มันก็เบาเห็นไหมล่ะ นี่ความเบาเป็นอย่างนี้ ความชั่วทั้งหลาย ที่เราทำมามันหนักใจของเรา เราค่อยฝึกหัดปฏิบัติไปๆ ใจมันก็ค่อยสว่างไสว ของยากก็เลยกลายเป็นของง่าย ของมืดมันก็สว่าง ของสกปรกมันก็สะอาด รู้จักหลักประพฤติปฏิบัติอย่างนั้น รู้เรื่องอย่างนั้นคือธรรมะ ถ้าไม่รู้เรื่องท่านบอกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้ เราก็ไม่รู้อะไร ความพอใจทำให้หมดปัญหา เมื่อหากว่า เราพอแล้ว สิ่งอื่นก็หมดราคา พูดง่ายๆว่าเรารับประทานอาหาร แม้ว่าอาหารจะเอร็ดอร่อยอย่างไรก็ช่างมัน เมื่อมันมีเกินที่เราต้องการแล้ว ถ้าหากว่าเราอิ่มอยู่ทุกอย่างแล้ว อาหารที่เหลือนั้นมันหมดราคาน้อยลง ไม่เหมือนเรารับประทานครั้งแรก ทีแรกอันนั้นก็จะเอา อันนี้ก็จะเอามีราคาหมดทุกอย่าง พออิ่มเข้าอิ่มเข้า อาหารที่อร่อย ย่อมหมดราคาน้อยลง เพราะเราอิ่ม มันเลยเป็นของหมดราคา เมื่อความหิวมีอยู่ก็เอาหมด ผักน้ำพริกก็เอา แก่เท่าไรก็ว่าอ่อน เพราะความหิวมีอยู่ ความอยากมีอยู่ ความต้องการมีอยู่ เมื่อความเป็นเราเป็นเขามีอยู่เป็นต้น มันก็มีปัญหาอยู่ตลอดกาลตลอดเวลาเสมอ หลวงพ่อชา สุภทฺโท ขอบพระคุณที่มาค่ะ.. จาก.. derbyrock กระดานสนทนา วัดบางพระ หมวด ธรรมะ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: varaporn ที่ 02 กรกฎาคม 2553 18:01:39 ...ขอบพระคุณมากมาย...
หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 04 กันยายน 2553 07:14:11 (http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTeailYFiN0zA5V0_QKVj5s-0JJWDjCQ7P-TfnIPWcDWK5J3UY&t=1&usg=__xauhEnD4WNobRTB4ynhX1aYJpSY=) จิตประภัสสร หลวงพ่อชา การปฏิบัติเรื่องจิตนี้ .... ความจริงจิตนี้ไม่เป็นอะไร มันเป็นประภัสสรของมันอยู่อย่างนั้น มันสงบอยู่แล้ว ที่จิตไม่สงบทุกวันนี้เพราะจิตมันหลงอารมณ์ ตัวจิตแท้ๆนั้นไม่มีอะไร เป็นธรรมชาติอยู่เฉยๆเท่านั้น ที่สงบไม่สงบ ก็เป็นเพราะอารมณ์มาหลอกลวง จิตที่ไม่ได้ฝึกก็ไม่มีความฉลาด มันก็โง่ อารมณ์ก็มาหลอกลวงไป ให้เป็นสุขเป็นทุกข์ ดีใจเสียใจ จิตของคนตามธรรมชาตินั้นไม่มีความดีใจ เสียใจ ที่มีความดีใจเสียใจนั้นไม่ใช่จิต แต่เป็นอารมณ์ที่มาหลอกลวง จิตก็หลงไปตามอารมณ์นั้นโดยไม่รู้ตัว แล้วก็เป็นสุขเป็นทุกข์ ไปตามอารมณ์เพราะยังไม่ได้ฝึก ยังไม่ฉลาด แล้วเราก็นึกว่า จิตเราเป็นทุกข์ นึกว่าจิตเราสบายความจริงมันหลงอารมณ์ พูดถึงจิตของเราแล้ว มันมีความสงบอยู่เฉยๆ มีความสงบยิ่ง เหมือนกับใบไม้ที่ไม่มีลมมาพัด ก็อยู่เฉยๆ ถ้ามีลมมาพัดก็กวัดแกว่งเป็นเพราะลมมาพัด และก็เป็นเพราะอารมณ์ มันหลงอารมณ์ถ้าจิตไม่หลงอารมณ์แล้วจิตก็ไม่กวัดแกว่ง ถ้ารู้เท่าอารมณ์แล้ว มันก็เฉยเรียกว่า ปกติของจิตเป็นอย่างนั้น ที่เรามาปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อให้เห็นจิตเดิม เราคิดว่าจิตเป็นสุข จิตเป็นทุกข์แต่ความจริงจิตไม่ได้สร้างสุข สร้างทุกข์ อารมณ์มาหลอกลวงต่างหากมันจึงหลงอารมณ์ ฉะนั้น เราจึงต้องมาฝึกจิตให้ฉลาดขึ้น ให้รู้จักอารมณ์ ไม่ให้เป็นไปตามอารมณ์ จิตก็สงบเรื่องแค่นี้เองที่เราต้องมา ทำกรรมฐานกันยุ่งยากทุกวันนี้ โดย-พระโพธิญานเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) คัดลอกมาจากหนังสือ "นอกเหนือเหตุผล (http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSerPbRV0Qjku7HN11ToUb0JIsbDsn8DctYOT67y9a0B1d-VGE&t=1&usg=__Af8MO5xdEwQxV721MrQPJngNf64=) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,1808.0.html (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,1808.0.html) อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 17 ตุลาคม 2553 19:32:18 (http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G3664558/G3664558-7.jpg) ลูกถีบหลวงพ่อชา : อย่าฝากหัวใจไว้กับคนอื่น ลูกถีบหลวงพ่อชา : อย่าฝากหัวใจไว้กับคนอื่น พระอาจารย์ญาณธมฺโม วัดป่ารัตนวัน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา อาตมาอาจจะเป็นพระองค์เดียวในวงลูกศิษย์หลวงพ่อชา "ที่โดนท่านถีบ" แต่ว่าซาบซึ้งที่ท่านถีบอาตมา และเพราะความซาบซึ้งนั้น จะมาเล่าให้ญาติโยมฟัง คือตอนนั้นอาตมาบวชใหม่ๆ พรรษาแรกอยู่ที่วัดหนองป่าพง ปีนั้นพระเณร ๗๐ กว่ารูป พระเยอะ ญาติโยมเข้าวัดกันมาก วันนั้นได้ไปบิณฑบาต ตอนกลับจากบิณฑบาตมีพระองค์หนึ่งมาคุยด้วย และพระองค์นั้นก็เพิ่งบวชใหม่เหมือนกัน ทั้งสององค์ต่างยังมีนิสัยแบบฆารวาส และพระองค์นั้นก็ได้ไปตำหนิติเตียนพระที่อยู่ในวัดที่ไม่ถูกใจ อาตมาฟังแล้วคิดในใจว่า บวชเป็นพระทำไมมาจับผิดกัน ทำไมท่านตำหนิพระองค์นั้นองค์นี้ ก็เลยเดินหนีไม่อยากคุยด้วย แต่ไม่ได้เดินหนีอย่างเดียว เดินหนีตำหนิท่าน ในใจยังคิดเรื่องท่าน พอดีเดินเข้ามาในวัด เดินก้มหน้าคิดถึงเรื่องพระองค์นี้องค์นั้นอยู่ ได้ยินเสียงหลวงพ่อชา พูดขึ้นมาว่า "กูดมอนิ่ง" ก็มองขึ้นไป เห็นหลวงพ่อชาก็อยู่ใกล้ๆ ท่านยิ้มใส่เรา พูดภาษาอังกฤษ " แปลว่าสวัสดีตอนเช้า"กูดมอนิ่ง เราก็ดีใจ ไม่เคยได้ยินหลวงพ่อพูดเป็นภาษาอังกฤษ ก็เลยยกมือไหว้ท่านและตอบท่านว่า "กูดมอนิ่ง หลวงพ่อ" หลวงพ่อชาท่านพูดภาษาอังกฤษได้ ๒ คำ "กูดมอนิ่ง" สวัสดีตอนเช้า กับ "ดู ยู ว้อน อะคัพ ออฟ ที" แปลว่า คุณต้องการน้ำชาไหม เพราะหลวงพ่อท่านเคยไปประเทศอังกฤษ ชาวอังกฤษเขากินน้ำชากันทั้งวันทั้งคืนและเขาจะถามตลอดเวลา "ดู ยู ว้อน อะคัพ ออฟ ที" หลวงพ่อเลยท่องไว้จำไว้ เพราะท่านว่ามันจำง่ายดี เพราะว่าเหมือนพระสวดให้พร ยถาวริวะหา อุปปะกัปปาติ แต่ท่านไม่ได้ถามอาตมา "ดู ยู ว้อน อะคัพ ออฟ ที" เรายกมือไหว้ท่านรู้สึกดีใจอารมณ์เปลี่ยน ฉันเสร็จก็กลับกุฏิ เดินจงกรมนั่งสมาธิถึงหกโมงเย็นก็คิดว่าเดี๋ยวจะไปกุฏิหลวงพ่อชา ถ้าใครเคยไปวัดหนองป่าพง จะเห็นกุฏิเก่าของท่านข้างๆ โบสถ์ ซึ่งหลวงพ่อมักจะนั่งบนเก้าอี้หวาย อาตมาเข้าไปก็กราบท่าน ขอนวดเท้า เพราะเราเคยฝึกนวดเท้า บางครั้งท่านจะให้เราไปนวด วันนั้นพระเณรเยอะ ประมาณทุ่มหนึ่งเขาตีระฆัง ท่านก็ไล่พระเณรขึ้นโบสถ์หมด พระเณรประมาณ ๗๐ รูป ท่านบอกว่า ท่านญาณอยู่นี่ ก็นั่งสองต่อสองกับท่านก็จับเท้าท่านไว้ ท่านก็ไม่ได้พูดท่านนั่งหลับตาภาวนา เราก็นวดเท้าท่าน อากาศเย็นสบายช่วงฤดูหนาว พระเจ็ดสิบรูปเริ่มสวดมนต์ทำวัตรเย็น เราฟังพระสวดมนต์เจ็ดสิบรูป เหมือนเทวดา เหมือนเทพกำลังจะโปรดเรา เราก็นั่งคิด เรากำลังนั่งกับพระอรหันต์ กำลังสร้างบุญกุศล ถวายการนวดแก่พระอรหันต์อยู่ เทวดากำลังสวดอนุโมทนาด้วย จิตใจขึ้นสวรรค์เลย พอดีจิตใจขึ้นสวรรค์ หลวงพ่อใช้เท้าถีบหน้าอกอาตมาจนหงายหลัง หัวกระแทกพื้น เราก็ช็อกอยู่ งงเลย..!!! หลวงพ่อชี้หน้า นั่นตอนเช้าพระองค์หนึ่งพูดไม่ถูกใจเรา เราก็เสียใจ อีกองค์หนึ่งพูดแค่ "กูดมอนิ่ง" ดีใจทั้งวัน อย่าไปดีใจ เสียใจกับคำพูดคนอื่น อย่าไปฝากหัวใจไว้กับคนอื่น ต้องฝากหัวใจไว้กับพระธรรม ทีนี้ท่านก็เทศน์กัณฑ์ใหญ่ เราก็ยกมือไหว้ท่าน น้ำตาไหล เพราะอะไร ซาบซึ้งในเมตตากรุณาของท่าน ท่านก็คงเห็นเราตอนเช้า ว่าพระองค์นี้ตกนรก จิตเป็นทุกข์ เพราะคำพูดคนอื่น ท่านก็เลยพูดแค่ "กูดมอนิ่ง" ให้ดึงเราขึ้นจากนรก และตอนเย็นท่านก็ปล่อยให้เรานวดเท้าท่านให้ขึ้นสวรรค์ ขึ้นสวรรค์แล้ว ต้องถีบลงมาถึงแผ่นดิน เพราะเทวดาสอนธรรมไม่ได้ต้องมนุษย์ เพื่อให้จดจำไว้ "อย่าฝากหัวใจไว้กับคำพูดของผู้อื่น เพราะเราจะผิดหวัง ต้องฝากหัวใจไว้กับพระธรรม ก็เลยได้จดจำคำพูดหลวงพ่อ..." http://larndham.org/index.php?/topic/37247-%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%96%e0%b8%b5%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%8a%e0%b8%b2-%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%9d%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%83%e0%b8%88/ (http://larndham.org/index.php?/topic/37247-%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%96%e0%b8%b5%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%8a%e0%b8%b2-%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%9d%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%83%e0%b8%88/) อนุโมทนาสาธุ ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 17 ตุลาคม 2553 20:36:52 อนุโมทนาสาธุครับ
ได้อ่านของหลวงปู่ มีความสุขทุกที หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 19 ตุลาคม 2553 16:36:28 (http://sites.google.com/site/patijja/_/rsrc/1268896728950/wan-ni-chaw-phuthth-suksa-laea-ptibati-tam-khir/thrng-saedng-reuxng-thi-pen-pi-di-yak/247477.jpg?height=279&width=320) นิวรณ์ ศัตรู หรือ ครูผู้สอนใจ หลวงพ่อชา สุภัทโท หลวงพ่อท่านให้ภาวนาตั้งท่าทีทัศนะต่อนิวรณ์ที่กำลังรุมเร้ารบกวนจิตใจอยู่ว่า เป็นครูบาอาจารย์หรือเครื่องทดสอบสติปัญญาของตน มากกว่าที่จะมองเห็นนิวรณ์เป็นตัวศัตรูที่น่าเกลียด อันอาจทำให้เกิดความตึงเครียดเป็น วิภวตัณหา ซึ่งเป็นเหตุให้ความไม่อยากให้นิวรณ์นั้นอยู่ในใจของตนทุกข์เพิ่มทวี อีกวิธีการหนึ่งที่หลวงพ่อสอนสำหรับแก้องค์นิวรณ์ คือคำว่า ไม่แน่ เมื่อมันเกิดอะไรขึ้นมาในใจของเรานี่ มันเกิดเป็นอารมณ์ขึ้นมา ที่เราชอบใจก็ตาม เราเห็นว่ามันผิดมันถูกก็ตามเถอะ ให้เราตัดมันไปเลยว่า อันนั้นมันไม่แน่ จะเกิดอะไรขึ้นมาก็ช่างมันเถอะ สับมันลงไป ไม่แน่ ไม่แน่ อย่างเดียว ขวานเล่มเดียวสับลงไป ไม่แน่ทั้งนั้นแหละ มันแน่ตรงที่ไหนล่ะ ถ้าเห็นว่ามันไม่แน่ ทุกสิ่งทุกอย่าง ราคามันก็น้อยลง อารมณ์ทั้งหลายมันเป็นของที่ไม่มีราคาแล้ว ของที่ไม่มีราคาแล้วเราจะเอาไปทำไม เรื่อง การปฏิบัติต่อ นิวรณ์ จึงขึ้นกับ ทัศนะมุมมอง และ ท่าทีของการปฏิบัติต่อมัน ถ้า ปฏิบัติด้วยการรู้เท่าทัน เช่นที่ทรงแสดง ใน ธัมมานุปัสสนา นิวรณ์บรรพ คือ รู้ชัดว่า มีหรือไม่มีอยู่ในจิต รู้ชัดว่า ที่มีนี้ มีเพราะเหตุใด รู้ชัดว่า ที่มันดับไป ดับด้วยเหตุใด รู้ชัดว่า ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุใด และ เห็นสภาวธรรมทั้งหลาย เป็นเรื่อง"สักแต่ว่า" ที่ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ถ้าอยู่ในหลักการนี้ การปฏิบัติต่อจิต ไม่ว่าจะเป็นการอบรมจิตด้วยสมาธิภาวนาวิธีใดๆ ก็จะจัดเป็นฉันทะ เป็นเหตุแห่งความเจริญ และ ก็จะบ่ายหน้าไปสู่ความสิ้นทุกข์ทั้งสิ้น แต่ ถ้าปฏิบัติต่อจิต ด้วยการไปตั้งหน้าตั้งตารังเกียจนิวรณ์ เห็นนิวรณ์เป็นศัตรูที่จะต้องกำจัด จนกลายเป็นการปฏิบัติต่อนิวรณ์ด้วยวิภวตัณหา(อยากให้ไม่เกิด หรือ ไม่อยากให้เกิด) ก็จะกลายเป็นความเครียด และ ทุกข์ เมื่อจิตมีนิวรณ์เข้า การฝึกจิต อบรมจิต ด้วยกรรมฐานต่างๆ ก็คือ การประกอบเหตุอันควร เพื่อนำไปสู่ผลอันควร เป็น การประกอบเหตุ แล้ว ปล่อยให้ผลมันดำเนินไปเอง การฝึกจิต ไม่ใช่เป็นการทำจิตที่เป็นอนัตตา(บังคับไม่ได้) ให้กลายเป็นจิตที่เป็นอัตตา(บังคับได้) การฝึกจิต ไม่ใช่การสั่งจิตว่า "จงสงบเดี๋ยวนี้ จงหายโกรธเดี๋ยวนี้ จงสงัดจากกามเดี๋ยวนี้" โดย ไม่ประกอบเหตุอันควร ....ซึ่ง นั่นคือ การบังคับจิต และ เป็นสิ่งที่ไม่ถูก แต่ การฝึกจิต คือ "การประกอบเหตุที่จะเป็นเหตุนำจิตไปสู่ความสงบ ที่จะนำจิตไปสู่ความมีเมตตา ที่จะนำจิตไปสู่ความจางคลายจากราคะ " แล้ว ปล่อยให้จิตมันดำเนินไปสู่ผล ....เป็นกุศโลบายที่พระพุทธองค์ท่านประทานไว้ให้แก่ผู้เดินตามที่มีจริตนิสัยบางประเภท สำหรับอบรมจิต (http://sites.google.com/site/patijja/_/rsrc/1262847925591/wan-ni-chaw-phuthth-suksa-laea-ptibati-tam-khir/thrng-saedng-reuxng-thi-pen-pi-di-yak/DSC08715.JPG?height=165&width=200) http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=437.0 (http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=437.0) หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 19 ตุลาคม 2553 16:57:41 สาธุ อนุโมทนาครับ
หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 26 ธันวาคม 2553 16:37:41 (http://dungtrin.com/newsletter/images/2006-09-28-pic06.gif) สำคัญที่สติ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี สติเป็นธรรมอันเอก ที่จะคอยประคององค์สมาธิให้เดินไปในแนวสัมมาปฏิปทา ข้อนี้หลวงพ่อท่านเน้นไว้หนักหนา “สิ่งที่รักษาสมาธิไว้ได้ คือสตินี้เป็นธรรม เป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง ซึ่งให้ธรรมอันอื่นๆ ทั้งหลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียง สตินี้คือชีวิต ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เหมือนตาย ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เป็นคนประมาท ในระหว่างที่ขาดสตินั้น พูดไม่มีความหมาย การกระทำไม่มีความหมาย ธรรมคือสตินี้ คือความระลึกได้ในลักษณะใดก็ตาม สติเป็นเหตุให้สัมปชัญญะเกิดขึ้นมาได้ เป็นเหตุให้ปัญญาเกิดขึ้นมาได้ ทุกสิ่งสารพัด ธรรมทั้งหลายถ้าหากว่าขาดสติ ธรรมทั้งหลายไม่สมบูรณ์ อันนี้คือการควบคุมการยืน การนั่ง การนอน ไม่ใช่เพียงขณะนั่งสมาธิเท่านั้น แต่เมื่อเราออกจากสมาธิไปแล้ว สติยังเป็นสิ่งประจำใจอยู่เสมอ มีความรู้อยู่เสมอ เป็นของที่มีอยู่เสมอ ทำอะไรก็ระมัดระวัง เมื่อระมัดระวังทางจิตใจ ความอายก็เกิดขึ้นมา การพูด การกระทำอันใดที่ไม่ถูกต้อง เราก็อายขึ้น อายขึ้น เมื่อความอายมีกำลังกล้าขึ้นมา ความสังวรก็มากขึ้นด้วย เมื่อความสังวรมากขึ้น ความประมาทก็ไม่มี” นี่ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้นั่งสมาธิอยู่ตรงนั้น เราจะไปไหนก็ตาม อันนี้มันอยู่ในจิตใจของตัวเอง ไม่ได้หนีไปไหน นี่ท่านว่าเจริญสติ ทำให้มาก เจริญให้มาก อันนี้เป็นธรรมะคุ้มครองรักษากิจการที่เราทำอยู่หรือทำมาแล้ว หรือกำลังจะกระทำอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นธรรมะที่มีคุณประโยชน์มาก ให้เรารู้ตัวทุกเมื่อ ความเห็นผิดชอบมันก็มีอยู่ทุกเมื่อ เมื่อความเห็นผิดชอบมีอยู่เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อ ความละอายก็เกิดขึ้น จะไม่ทำสิ่งที่ผิดหรือสิ่งที่ไม่ดี เรียกว่าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว แม้ในการเจริญปัญญา สติในแง่ของการระลึกรู้อยู่ในความไม่แน่ ก็เป็นปัจจัยอันสำคัญอย่างหนึ่ง “ก็ให้รู้ว่า อันนี้มันไม่แน่นอนอย่างนี้เรื่อยไปเถอะ แล้วปัญญามันจะเกิดหรอก แต่อย่าไปคิดออกหน้ามันนะ ให้ดูไปเถอะให้มันรู้ ถ้าหากเรารู้มันจะมารายงานเราหรอก มันก็คล้ายๆ คนเข้าไปในบ้านที่มีหน้าต่างอยู่ ๖ ช่อง แล้วก็มีคนๆ เดียวอยู่ในนั้น เราไปดูหน้าต่าง ก็มีคนโผล่ออกไป ทางโน้นก็มีคนโผล่ออกไป มันก็ไอ้คนๆ เดียวกันนั่นแหละ ไม่ใช่คน ๖ คน คนๆ เดียวมันไปโผล่ทั่วถึงกันทั้งหมด ๖ ช่อง คนๆ เดียวก็เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของไม่แน่ไม่นอนทั้งนั้น นี้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา จะตัดความสงสัยทั้งหลายออกไปได้” (http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ9EBObM2o2hViYKKcUXVc-wvm1C83NPKts2XFZoeb-KaO4o0ZY) http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19634 (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19634) Pics by : Google อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ หัวข้อ: Re: การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 26 ธันวาคม 2553 17:28:23 (http://www.dhammavariety.com/_files/news/2010_08_05_210931_em71p9bl.jpg) ครูรู้จักศิษย์ คำว่า ครู มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตคือ คุ ซึ่งแปลว่าความมืด และรุ แปลว่า ความสว่าง ครู จึงหมายถึงผู้ที่นำศิษย์ออกจากความมืดมาสู่ความสว่าง เป็นธรรมดาอยู่เองที่บรรดาลูกศิษย์แต่ละคนของครูนั้น มาจากหลายถิ่น ต่างพื้นเพ ต่างจริตนิสัย ต่างจิตใจกันเหมือนไม้ในป่า แต่ช่างไม้ที่ฉลาดรู้จักพืชพันธู์ และคุณภาพของไม้แต่ละต้น ย่อมสามารถนำไม้จากป่า มาทำให้เกิดประโยชน์ใช้สอยได้ตามความเหมาะสม ครูที่ฉลาดรู้จักลูกศิษย์แต่ละคนของตน ก็ย่อมสามารถปลุกปั้นสั่งสอนศิษย์ให้สำเร็จประโยชน์บรรลุจุดหมายปลายทางได้ฉันนั้น หลวงพ่อเคยเปรียบเทียบให้ฟังอีกนัยหนึ่งว่า "การให้ธรรมะนี่ก็เหมือนกับให้ยารักษาคนไข้ นายแพทย์รักษาคนไข้ก็ต้องรู้ว่ายาชนิดไหนเหมาะแก่ใคร ต้องรู้จักคนไข้ รู้สมุฏฐานของโรคหรือเหมือนกับเราทอดแห ไปเหวี่ยงแหสะเปะสะปะคร่อมแม่น้ำเลย ไม่ได้หรอก ต้องคอยเวลาเห็นปลาบ้อน(ผุด)นั่นแหละ มันบ้อนตรงไหนก็เหวี่ยงลงตรงนั้นเลย ถึงจะได้ การสอนก็ต้องดูว่าเขาจะรับได้แค่ไหน ดูความพอดีของเขา เพราะความพอดีนั้นแหละคือธรรมะ ถ้าไม่พอดีไม่เป็นธรรมะ" หลวงพ่อเป็นครูที่รู้จักลูกศิษย์ เหมือนหมอที่รู้จักคนไข้ และท่านก็ฉลาดในการจัดยา คือเลือกวิธีสอนให้เหมาะแก่จริตนิสัยของลูกศิษย์แต่ละคนด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเทศน์ การพูดจาปราศรัยหรือการปฏิบัติต่อลูกศิษย์ในโอกาสต่าง ๆ ท่านจะพูดหรือทำอะไรที่เหมือนกับว่า ท่านรู้ใจหรือรู้ความเป็นไปของลูกศิษย์อีกด้วย พระอาจารย์สุริยนต์ได้ให้ตัวอย่างในเรื่องการวางคำสอนว่า "เช่นลูกศิษย์ฝรั่ง ปกติฝรั่งเขาชอบยิ้มแย้ม ชอบให้ถาม ถ้าเฉยเกินไปเขาก็คิดว่ามันเป็นบรรยากาศที่อึดอัดสำหรับเขา หลวงพ่อจึงต้องเอาใจใส่ไต่ถามความเป็นอยู่ ถามทุกข์สุข การปฏิบัติเป็นอย่างไร ก้าวหน้าหรือถอยหลังอย่างไร ถ้าพระเณรคนไทยท่านก็จะดูนิสัยเหมือนกัน บางองค์มีความเข้าใจในท่านพอสมควรแล้ว ท่านก็ไม่จำเป็นต้องถามมาก บางองค์ซื่อหรือไม่ค่อยมีปัญญา ท่านก็หาอุบายธรรมะที่เหมาะสมชี้แนะให้ บางองค์หนักไปทางโทสะจริต ท่านก็หาธรรมะคำพูดที่แฝงความขบขัน หรือยกตัวอย่างที่มีความเมตตามีความกตัญญู ทำให้อารมณ์ผ่อนคลายคล้อยตาม เบิกบานร่าเริงได้ เป็นเหตุให้มีกำลังใจ และมีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม" พระอาจารย์เอนกเล่าว่า เคยได้ยินหลวงพ่อปรารภถึงลูกศิษย์อย่างนี้ "ทำไมจะไม่รู้จักลูกศิษย์ ถ้าไม่รู้จักจะเป็นครูบาอาจารย์ได้อย่างไร เปรียบเหมือนชาวสวนกล้วย ถ้าไม่รู้จักลำต้น ใบ ผล ของมันจะทำสวนกล้วยได้อย่างไร ครูบาอาจารย์ก็เหมือนกัน ทำไมจะไม่รู้จักลูกศิษย์ ลูกศิษย์แต่ละรูปก็มีกายกับใจเท่านั้น พูดถึงใจมันก็ไม่แปลกกัน ใจคนหนุ่ม คนแก่ พระเณร ญาติโยม ถ้าเป็นใจที่ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสมันก็ไม่ต่างกัน" นี่หลวงพ่อพูดง่าย ๆ อย่างนี้ หลวงพ่อท่านเป็นคนช่างสังเกต ปัญญาท่านแหลมคม ประกอบด้วยประสบการณ์ในการสอนศิษย์มีมาก ท่านจึงดูคนออกง่าย ท่านมองลูกศิษย์ เดิน ยืน นั่ง นอน ฉัน กราบ ทำงาน ความฉับไวและความละเอียดในการอุปัฏฐาน ท่านก็เห็นทั้งไส้ทั้งพุงเลย ยิ่งกว่านั้นบางทีในโอกาสที่หลวงพ่อเห็นสมควร ท่านอาจพูดบางคำที่แสดงให้ศิษย์เห็นว่า รู้ความคิดของศิษย์รูปนั้น ๆ เพื่อเร้าความละอายและความเกรงกลัวต่อบาปให้เกิดขึ้นในผู้ประมาท (http://www.guitarthai.com/picpost/gtpicpost/A1687969.gif) http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=1209.0 (http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=1209.0) Credit by : http://www.tairomdham.net/index.php/topic,2690.0.html (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,2690.0.html) *8q Pics by : Google อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ หัวข้อ: ยอดคำสอน หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 18 พฤษภาคม 2554 16:35:32 (http://www.thaisecondhand.com/view/productpic/08/07/p6716771n1.jpg) ยอดคำสอน หลวงพ่อชา สุภทฺโท ยอดคำสอน เป็นคำสอน เป็นคติ เป็นปรัชญาสั้นๆ ที่คมลึกซึ้ง ใครได้ฟังแล้วจะเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง และบางครั้งอาจจะถึงกับอุทานออกมาว่า ท่านคิดและกลั่นกรองคำเหล่านี้ ออกมาจากจิตได้อย่างไร ถ้าจิตนั้นไม่บริสุทธิ์แจ่มใสเยี่ยงผู้บรรลุธรรม คำสอนของหลวงปู่ชาทั้งหมด สามารถสรุปลงได้ดังนี้ 1. จุดหมาย : มรรค ผล นิพพาน พ้นทุกข์ 2. เนื้อหา : ศีล สมาธิ ปัญญา 3. วิธีการ : สมถ วิปัสสนา 4. กลวิธี : มองเข้าหาตัว ดูธรรมชาติ เปรียบเทียบ กับธรรมชาติ ทำให้ดู แล้วรู้ตาม ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/Dhamma/PriestBrowse.asp (http://www.manager.co.th/Dhamma/PriestBrowse.asp) ขอท่านได้สังเกตคำสอนต่อไปนี้.- การปฏิบัติคืออำนาจ พระพุทธศาสนาไม่มีอำนาจอะไรเลย แม้ก้อนทองคำก็ไม่มีราคา ถ้าเราไม่มารวมกันว่ามันเป็นโลหะที่ดีมีราคา ทองคำมันก็ถูกทิ้งเหมือนก้อนตะกั่วเท่านั้นแหละ พระพุทธศาสนาตั้งไว้มีอยู่ แต่ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ จะไปมีอำนาจอะไรเล่า อย่างธรรมะเรื่องขันติมีอยู่ แต่เราไม่อดทนกัน มันจะมีอำนาจอะไรไหม? ชนะตนเอง ถ้าเราเอาชนะตัวเอง มันก็จะชนะทั้งตัวเองชนะทั้งคนอื่น ชนะทั้งอารมณ์ ชนะทั้งรูป ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น ทั้งรส ทั้งโผฎัฐพพะ เป็นอันว่าชนะทั้งหมด สุขทุกข์ คนที่ไม่รู้จักสุข ไม่รู้จักทุกข์นั้น ก็จะเห็นว่า สุขกับทุกข์นั้นมันคนละระดับ มันคนละราคากัน ถ้าผู้รู้ทั้งหลายแล้ว ท่าน จะเห็นว่า สุขเวทนา กับทุกขเวทนา มันมีราคาเท่าๆ กัน หัวข้อ: ยอดคำสอน หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 18 พฤษภาคม 2554 16:54:52 เกิดตาย เมื่อเราเกิดมาแล้วโยม ก็คือเราตายแล้วนั่นเอง ความแก่กับความตายมันก็คืออันเดียวกันนั่นแหละ เหมือนกับต้นไม้ อันหนึ่งต้น อันหนึ่งปลาย เมื่อมีโคนมันก็มีปลาย เมื่อมีปลายมันก็มีโคน ไม่มีโคน ปลายก็ไม่มี มีปลาย ก็ต้องมีโคน มีแต่ปลาย โคนไม่มีก็ไม่ได้ มันเป็นอย่างนั้น ของจริง ธรรมของจริงของแท้ที่ทำให้บุคคลเป็นอริยะได้ มิใช่เพียงศึกษาตามตำรา และนึกคิดคาดคะเนเอาเท่านั้น แต่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นจริงๆ ของจริงจึงจะเป็นของจริงขึ้นมาได้ ได้เสีย ทุกอย่างที่เรามีอยู่เป็นอยู่นั้น มันเป็นสักแต่ว่า "อาศัย" เท่านั้น ถ้ารู้ได้เช่นนี้ ท่านว่ารู้เท่าตามสังขาร ที่นี้แม้จะมีอะไรอยู่ก็เหมือนไม่มี ได้ก็เหมือนเสีย เสียก็เหมือนได้ หัวข้อ: ยอดคำสอน หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 19 พฤษภาคม 2554 16:48:44 (http://2.bp.blogspot.com/_PxjUn4XUwYs/Sq-Gap0SLKI/AAAAAAAAA28/doxKkZX_rHE/s1600/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%86.bmp) พิการ เด็กทั้ง 2 พิการ เดินทางได้ จะเข้ารกเข้าป่าก็รู้ แต่เราพิการใจ (ใจมีกิเลส) จะพาเข้ารกเข้าป่าหรือเปล่า คนพิการกายอย่างเด็กนี้ มิได้เป็นพิษเป็นภัยกับใคร แต่ถ้าคนพิการใจมากๆ ย่อมสร้างความวุ่นวายยุ่งยากแก่มนุษย์และสัตว์ ให้ได้รับความเดือดร้อนมากทีเดียว คนดีอยู่ไหน คนดีอยู่ที่เรานี่แหละ ถ้าเราไม่ดีแล้ว เราจะอยู่ที่ไหนกับใคร มันก็ไม่ดีทั้งนั้น ชีวิต เมื่อเราทอดอาลัยในชีวิต วางวันเสีย ไม่เสียดาย ไม่กลัวตาย ก็ทำให้เราเกิดความสบาย และเบาใจจริงๆ นั่งที่ไหนดี จะนั่งหัวแถวหรือหางแถวก็ไม่แปลก เหมือนเพชรนิลจินดา จะวางไว้ที่ไหนก็มีราคาเท่าเดิม และจะได้เป็นการลดทิฐิมานะให้น้อยลงไปด้วย สอนคนอย่างไร ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อนแล้ว จึงสอนคนอื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรก สอนคนด้วยการทำให้ดู ทำเหมือนพูด พูดเหมือนทำ มนุษย์ศาสตร์ มนุษยศาสตร์ทั้งหลาย มีแต่ศาสตร์ที่ไม่มีคมทั้งนั้น ไม่สามารถจะตัดทุกข์ได้ มีแต่ก่อให้เกิดทุกข์ ศาสตร์เหล่านั้น ถ้าไม่มาขึ้นกับพุทธศาสตร์แล้ว มันจะไปไม่รอดทั้งนั้น หลับ-ไม่หลับ ถ้าหลับมันก็ไม่รู้ ถ้ารู้มันก็ไม่หลับ มรรคผล มรรคผลยังไม่พ้นสมัย คนโง่เท่านั้นที่ปฏิเสธว่า ในพื้นดินไม่มีน้ำแล้วไม่ยอมขุดบ่อ ไม้คด คนงอ ต้นไม้เถาวัลย์ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร คนคดคนงอนั้น ร้ายนัก เป็นพิษเป็นภัยทั้งอยู่บ้านและอยู่วัด หลง คนหลงโลกคือคนหลงอารมณ์ คนหลงอารมณ์คือคนหลงโลก แสดงอาการ การหัวเราะเป็นอาการของคนบ้า การร้องไห้เป็นอาการของทารก ฉะนั้นท่านผู้ถึงสงบ จะไม่หัวเราะไม่ร้องไห้ สอนอย่างไร ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรก ความอาย เมืองนี้ยังไม่เคยมีพระบิณฑบาตเลย เพราะเขามีความอายกันเป็นส่วนมาก แต่ตรงกันข้ามกับเรา เราเห็นว่า คำที่ว่าอายนี้ เราเห็นว่า อายต่อบาป อายต่อความผิดท่านั้น เมืองนอก เราได้เดินทางไปเมืองนอก และเมืองในนอก และเมืองในใน และเมืองนอกนอก รวมสี่เมืองด้วยกัน ที่รวมสมาธิ เมื่อนั่งหลับตาให้ยกความรู้สึกขึ้นเฉพาะลมหายใจ เอาลมหายใจเป็นประธาน น้อมความรู้สึกตามลมหายใจ เราจึงจะรู้ว่าสติมันรวมอยู่ตรงนี้ ความรู้มันจะมารวมอยู่ตรงนี้ เกาสีชัง เรามาอาศัยอยู่ที่เกาะนี้ คือที่พึ่งทางใน ซึ่งเป็นที่อันน้ำคือกิเลสตัณหาท่วมไม่ถึง แม้เราจะอยู่บนเกาะสีชัง แต่ก็ยังค้นหาเกาะภายในอีกต่อไป ผู้ที่ท่านได้พบ และอาศัยเกาะอยู่ได้นั้น ท่านย่อมอยู่เป็นสุข ต่างจากคนที่ลอยคออยู่ในทะเล คือความทุกข์ กินแบบไหน ฉันอาหารไม่พิจารณา จะเป็นเหมือนปลากินเหยื่อ ย่อมติดเบ็ด บริขาร บริขารทั้งปวงเป็นเพียงเครื่องประดับขันธ์ห้าเท่านั้น การไม่รู้จักประมาณในการบริโภคบริขาร มีความกังวลในการจัดหา ย่อมเป็นการยุ่งยาก ขาดการปฏิบัติธรรม ย่อมไม่ได้รับผลอันตนพึงปรารถนา (http://www.dhammathai.org/webboard/data/imagefiles/R6100-19.gif) http://www.phrabuddhasasana.com/ps/index.php?option=com_content&task=view&id=155&Itemid=26 (http://www.phrabuddhasasana.com/ps/index.php?option=com_content&task=view&id=155&Itemid=26) หัวข้อ: Re: คติรอยธรรม ตามรอยโพธิญาณ หลวงพ่อชา เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 02 มิถุนายน 2554 21:27:07 คติรอยธรรม ตามรอยโพธิญาณ(http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc4/hs253.snc4/39992_137195692987769_100000920169547_171714_7150764_n.jpg) “การมาอบรมในการบวช ก็เลิกสิ่งชั่วกันไปเลย เลิกอะไรที่มันเป็นกรรมเป็นเวร เอาชนะตนเอง ไม่เอาชนะคนอื่น...” *** “คนไม่ละกิเลส เป็นคนแบกโลก กิเลสก็คือโลก โลกก็คือทุกข์ คนสะสมกิเลส จึงเป็นคนแบกโลก แบกทุกข์ไม่รู้สิ้นสุด...” *** “เป็นพระ เป็นเณรเรา อยู่ดีกินดีแล้ว จะอยู่สบายไม่ได้ กามสุขัลลิกานุโยค นี่มันเป็นพิษอย่างมาก ให้พวกท่านทั้งหลายกระเสือกระสน หาข้อประพฤติปฏิบัติของตน เพิ่มข้อวัตรขึ้น เตือนตนเองมากขึ้น อันใดที่มันบกพร่อง ก็พยายามทำดีขึ้นไป...” *** “อย่าทำให้เป็นตัณหา อย่าพูดให้เป็นตัณหา ยืนอยู่ เดินอยู่ นั่งอยู่ นอนอยู่ ทุกประการท่านไม่ได้ให้เป็นตัณหา คือทำด้วยการปล่อยวาง...” *** “ผู้ปฏิบัติควรสนใจการกระทำกิจวัตร อาจริยวัตร อุปัชฌายวัตร อันนี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจ ของพวกเราทั้งหลายให้เป็นกลุ่ม เป็นก้อน มีความสามัคคีพร้อมเพรียงซึ่งกันและกัน...” *** “ผู้ปฏิบัติ จะต้องเป็นผู้มักน้อยสันโดษ กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย และให้เป็นคนที่ง่ายที่สุด กินง่าย นอนง่าย อะไร ๆ ก็ให้ง่าย ๆ แบบตาสีตาสาธรรมดา สิ่งเหล่านี้ทำไปแล้ว มันจะให้กำลังใจ” (http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash2/hs139.ash2/40310_137201162987222_100000920169547_171726_8259991_n.jpg) http://portal.in.th/i-dhamma/pages/10132/ (http://portal.in.th/i-dhamma/pages/10132/) หัวข้อ: Re: อาหารใจ : หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 05 มิถุนายน 2554 04:47:15 (http://www.methodsofhealing.com/files/2008/10/clouds.jpg) อาหารใจ หลวงพ่อชา สุภทฺโท โยมฝรั่งคนหนึ่งตั้งคำถามหลวงพ่อ ๓ ข้อว่า " ปฏิบัติทำไม? ปฏิบัติอย่างไร? ปฏิบัติแล้วเกิดผลอย่างไร? " หลวงพ่อท่านจึงย้อนถามกลับว่า " กินข้าวทำไม? กินข้าวอย่างไร? กินข้าวแล้วเกิดผลอย่างไร? " โยมฝรั่งคนนั้นก็งงและไม่ค่อยพอใจกับคำตอบของหลวงพ่อเท่าใดนัก เพราะไม่เข้าใจหลวงพ่อท่านจึงอธิบายเสริมต่อว่า " .. ปฏิบัติทำไม? ก็คือกินข้าวทำไม? ปฏิบัติอย่างไร? ก็คือกินอย่างไร? ก็ให้นึกซิว่าเรากินข้าวทำไม? เหตุที่เรากินก็เพราะหิว มีความหิว มีความทุกข์ ถ้าไม่กินก็เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น เราปฏิบัติเพราะอะไร? เพราะความหิว เรากินอาหารก็เพื่อระงับความหิวทางกาย เราปฏิบัติธรรมเพื่อระงับความหิวทางใจ ใจเป็นทุกข์ ก็ต้องใช้ธรรมะมาแก้ทุกข์ ทีนี้ปฏิบัติอย่างไร? ก็เหมือนกับเรากินอย่างไร? ก็ต้องเอาอาหารมาใส่ถ้าใจขาดอาหารก็เอาธรรมะมาใส่ ให้ใจได้กินธรรมะ ปฏิบัติแล้วเป็นอย่างไร? ก็เหมือนกับกินแล้วเป็นอย่างไรนั่นแหละ กินแล้วก็อิ่มใช่ไหม? ปฏิบัติแล้วก็อิ่มธรรมะ (http://wallbase1.org/thumbs/rozne/thumb-1096141.jpg) *8q : ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต Pics by : Google อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ หัวข้อ: Re: ที่พึ่งทางใจ หลวงพ่อชา สุภทฺโท เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 05 มิถุนายน 2554 05:07:58 (http://wallbase1.org/thumbs/rozne/thumb-94325.jpg) ที่พึ่งทางใจ หลวงพ่อชา สุภทฺโท ใจของเราเป็นสิ่งสำคัญ แต่โดยมาก คนเราไม่ค่อยมองดูในสิ่งที่สำคัญนั้น ไปมองดูในสิ่งอื่นที่มันไม่สำคัญ บางคนแต่งบ้านแต่งช่องอะไรสารพัดอย่าง แต่ กลับไม่ค่อยคิดที่จะแต่งใจกัน พระพุทธองค์ท่านจึงตรัสว่า “ให้หาที่พึ่งทางใจ” ที่พึ่งที่แน่นอนก็คือใจของเรานี่เอง พึ่งสิ่งอื่นก็พึ่งได้ แต่ก็ไม่แน่นอน เราจะพึ่งสิ่งอื่นได้ก็เพราะเราพึ่งตัวเราเอง เราต้องมีที่พึ่งก่อน จะพึ่งอาจารย์ จะพึ่งมิตรสหาย การที่จะพึ่งได้ดีนั้น เราต้องทำตัวของเราเป็นที่พึ่งให้ได้เสียก่อน (http://wallbase1.org/thumbs/rozne/thumb-726422.jpg) lek : ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต Pics by : Google อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ หัวข้อ: Re: ใจจะสงบได้ ก็เพราะความเห็นที่ถูกต้อง :หลวงพ่อชา เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 30 เมษายน 2555 16:49:46 (http://www.dhammada.net/wp-content/uploads/2012/02/dhp028.jpg) ธรรมะโอวาท หลวงพ่อชา "การละบาป เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าการทำบุญ ถ้าทำบาปแลกบุญจะขาดทุนเรื่อยไป" "ใจจะสงบได้ ก็เพราะความเห็นที่ถูกต้อง" .....ใจของเรามันอยู่ในกรง ยิ่งกว่านั้น มันยังมีเสือกำลังอาละวาดอยู่ในกรงนั้นด้วย ใจที่มันเอาแต่ใจของเรานี้..... ถ้าหากมันไม่ได้อะไรตามที่มันต้องการแล้ว มันก็อาละวาด เราจะต้องอบรมใจด้วยการปฏิบัติภาวนา ด้วยสมาธิ นี่แหละที่เราเรียกว่า "การฝึกใจ"..... "ธรรมดาจิตนั้นนะ..มันมีเวลาขยัน และขี้เกียจ ถ้าทำเพียรด้วยสัจจะ เราต้องทำเรื่อยทั้งที่ขี้เกียจ ทำจิตให้จิตรู้อยู่ การรู้ภายใน การฉลาดภายในจิตจะเป็นอย่างนี้ การทำทุกวัน บางทีสงบ บางทีไม่สงบ เป็นอนิจจัง" "เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้นในจิตใจของเราแล้ว จะมองไปที่ไหน..จะมีแต่ธรรมะทั้งนั้น เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตลอดเวลา" (http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTDiYb0dk4lgmAW_FWFrt2tO3Yo0fuxGbbO9XyLF54XfiO65i9mNg) รวบรวมคติธรรมดี ๆ มาให้อ่านกัน... พุทธศาสนา - ธรรมะ - palungjit.com |