[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 มิถุนายน 2567 13:06:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 138 139 [140] 141 142 ... 1149
2781  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15-21 ม.ค. 2567 เมื่อ: 21 มกราคม 2567 12:21:07
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15-21 ม.ค. 2567
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-01-21 10:39</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p><strong>ประชากรลด – เศรษฐกิจไทยไม่อาจรอเด็กเกิดใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงาน</strong></p>
<p> หากประเทศไทยต้องการเพิ่มกำลังแรงงาน อาจขยายอายุการทำงานไปถึง 65 ปี แทนการเร่งอัตราการเกิดของประชากร เนื่องจากประชากรเกิดใหม่จะต้องรออย่างน้อย 18-25 ปี จึงจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งอาจไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาตลาดแรงงานที่กำลังจะต้องเผชิญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า</p>
<p>ใน 10 เดือนแรกของปี 2566 มีจำนวนเด็กเกิดใหม่ 433,030 คน ในขณะที่มีจำนวนคนตายถึง 472,546 คน ทำให้ประชากรไทย ณ เดือนตุลาคม ปี 2566 ลดลง 37,516 คน จาก 66.09 ล้านคนในปี 2565</p>
<p>โดย ณ สิ้นปีงบประมาณ 2565 ประชากรไทยมีเพศชาย 32.27 ล้านคน และเพศหญิง 33.82 ล้านคน มีสัญชาติไทย 64.87 ล้านคน</p>
<p>Generation Alpha ผู้ที่เกิดหลังปี 2555 11.28% และ Generation Z ผู้ที่เกิดปี 2540-2555 มีสัดส่วน 20.23% (สัญชาติไทยรวม 2 Generation คิดเป็นสัดส่วนของประชากรอยู่ที่ 31.42%)</p>
<p>Generation Y ผู้ที่เกิดปี 2524-2539 มีสัดส่วน 23.25% (สัญชาติไทย 23.26%)</p>
<p>Generation X ผู้ที่เกิดปี 2508-2523 มีสัดส่วน 24.65% (สัญชาติไทย 24.71%)</p>
<p>Baby Boomer ผู้ที่เกิดปี 2489-2507 มีสัดส่วน 17.07% (สัญชาติไทย 17.13%)</p>
<p>ก่อน Baby Boomer: ผู้ที่เกิดก่อนปี 2488 มีสัดส่วน 3.52% (สัญชาติไทย 3.48%)</p>
<p>จากสถิตินี้แสดงให้เห็นว่ามีจำนวนผู้มีสัญชาติอื่นอาศัยในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มก่อน Baby Boomer มีผู้มีสัญชาติอื่นเพียงประมาณ 6 หมื่นคน แต่ในกลุ่ม Generation Alpha และ Generation Z รวมกันมีถึง 3.7 แสนคน</p>
<p>ตัวเลขจำนวนประชากรที่มีสัญชาติไทย ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 (อ้างอิงจากข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน) อยู่ที่ 65,066,812 คน ลดลง 39,669 คน จาก 65,106,481 คน ณ สิ้นปี 2565 และมีประชากรที่ไม่ใช่สัญชาติไทยเพิ่มจาก 983,994 คน ณ สิ้นปี 2565 เป็น 991,155 คน</p>
<p>สถิติตัวเลข ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่าจำนวนผู้เกิดใหม่อยู่ถึงกว่า 4.6 หมื่นคน ภายในเวลา 11 เดือน</p>
<p>จากตัวเลขสถิติแรงงาน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ สิ้นปี 2565 ประเทศไทยมีกำลังแรงงานอยู่ประมาณ 40 ล้านคน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 สัดส่วนแรงงานต่อประชากรทั้งหมดอยู่ที่ 62% ในขณะที่มีผู้มีอายุตั้งแต่ 15-60 ปี มีอยู่ 43.7 ล้านคน ณ สิ้นปี 2565 และมีผู้มีอายุระหว่าง 61-65 ปีอยู่ 3.9 ล้านคน</p>
<p>ใน 2 ปีที่ผ่านมา กลุ่ม Gen Z ที่มีจำนวนประชากรน้อยกว่า Gen อื่น เริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน ในขณะที่ Gen Baby Boom อยู่ในอายุเกษียณในปีนี้เป็นปีสุดท้าย หรือก็คือ ในปีหน้าจะมีคนที่อยู่ในวัยหลังเกษียณ 20.59%</p>
<p>กำลังแรงงานจะหายไปจากระบบราว 9.1 แสนคนในปี 2567 เนื่องจากเกษียณอายุที่ 60 ปี แต่มีแรงงานที่เข้ามาใหม่เพียง 7.9 แสนคน และส่วนต่างระหว่างกำลังแรงงานที่หายไปกับแรงงานเข้าใหม่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากประเทศอยู่ในสถานการณ์นี้อีกแค่ 10 ปี จะมีกำลังแรงงานหายไปจากตลาดรวมราว 3 ล้านคน</p>
<p>กองทุนประกันสังคมต้องแบกรับผลของกำลังแรงงานที่หายไปนี้ และผู้เสียภาษีเองก็ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายภาครัฐที่มาพร้อมกับสังคมสูงวัย ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยเกษียณอายุ ระบบสาธารณสุข และการปรับระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะกับสังคมสูงวัย</p>
<p>เศรษฐกิจไทยไม่สามารถรอเด็กเกิดใหม่เติบโตอีก 18-25 ปี เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน ภาครัฐควรใช้มาตรการอื่นแทนการเร่งอัตราการเกิด ที่จะสามารถแก้ปัญหาจำนวนแรงงานลดลงได้รวดเร็วกว่ามาตรการเร่งอัตราการเกิดแบบเดิมๆ เพราะตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ปัญหานี้มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น</p>
<p>ที่มา: ข่าวช่อง 7HD, 21/1/2567</p>
<p><strong>ดีอีเปิด 10 "ข่าวปลอม" ประจำสัปดาห์ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุด อันดับ 1 เพจปลอมกรมพัฒนาฝีมือแรงงานรับสมัครพนักงาน</strong></p>
<p>20 ม.ค. 2567 นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ เปิดเผยถึง ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 12-18 ม.ค. 2567 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 1,194,201 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ  ทั้งสิ้น 140 ข้อความ</p>
<p>ทั้งนี้ช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 113 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 27 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 97 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 59 เรื่อง</p>
<p>ทั้งนี้ ดีอี ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย</p>
<p>กลุ่มที่ 1 นโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ จำนวน 53 เรื่อง อาทิ กรมการจัดหางาน แนะนำงานสร้ายรายได้ 890-2,800 บาท รับและส่งชิ้นงานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นต้น</p>
<p>กลุ่มที่ 2  ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 19 เรื่อง อาทิ ผิวไม่ใส เพราะหายใจไม่สุด มีเสมหะพิษ ที่ขับออกไม่หมด สะสมที่ปอด เป็นต้น</p>
<p>กลุ่มที่ 3  ภัยพิบัติ จำนวน 4 เรื่อง อาทิ วันที่ 17-19 ม.ค.นี้ หลายพื้นที่ตั้งแต่ ภาคเหนือ มาถึงภาคกลาง อุณหภูมิจะลดลงอีกโดย กทม.อุณหภูมิต่ำสุด 20 องศา เป็นต้น</p>
<p>กลุ่มที่ 4  เศรษฐกิจ จำนวน 21 เรื่อง อาทิ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดให้ลงทุน Gold Trading การลงทุนหุ้นเริ่มต้น 50$ (1,750 บาท) กองทุนปันผลเริ่มต้น 500$ (17,490 บาท) กำไรสูงสุด 20% เป็นต้น</p>
<p>โดย แบ่งเป็นเรื่องการหลอกลวงธุรกรรมทางการเงิน จำนวน 18 เรื่อง</p>
<p>สำหรับ ข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจในลำดับต้นๆ ในสัปดาห์ล่าสุดนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็น ข่าวด้านกลุ่มนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และกลุ่มเศรษฐกิจ ตามลำดับ</p>
<p>โดยข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชน มากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่</p>
<p>1.รับสมัครพนักงานแพ็กของ รายได้เฉลี่ย 450 บาท/ต่อวัน ผ่านเพจกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน</p>
<p>2.สินเชื่ออเนกประสงค์กรุงไทย 5 พลัส วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท ผ่านเพจ Loan Versatile 5 Plus</p>
<p>3.กรมการจัดหางาน แนะนำงานสร้างรายได้ 890-2,800 บาท รับและส่งชิ้นงานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย</p>
<p>4.เพจเฟซบุ๊ก Loan 5 Plus ที่ปรึกษาด้านสินเชื่อธนาคารกรุงไทย</p>
<p>5. งินกู้ด่วน 5,000-300,000 บาท ทุกอาชีพก็กู้ได้ ผ่านเพจ KA PRO ติดต่อผ่านไลน์</p>
<p>6.กลุ่ม Line ร่วมกับ SET เรียนรู้การซื้อ-ขายหุ้นฟรี ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาท รับปันผล 4,000-8,000 บาท/สัปดาห์</p>
<p>7. เพิ่มเงินบำนาญรายเดือนให้ข้าราชการรายละ 5,000 – 10,000 บาท</p>
<p>8. ฟันผุติดต่อกันได้ผ่านการหอมหรือจูบ</p>
<p>9. อุปกรณ์ Power Factor Saver ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 50% ไม่ผิดกฎหมาย</p>
<p>10. เปิดลงทุน Gold Trading เริ่มต้น 50$ (1,750 บาท) กองทุนปันผลเริ่มต้น 500$ (17,490 บาท) กำไรสูงสุด 20%</p>
<p>ที่มา: คมชัดลึก, 20/1/2567</p>
<p><strong>รมว.แรงงานยืนยันเงินเยียวยาแรงงานไทยจากอิสราเอล 5 หมื่นจ่ายเร็ว ส่งเอกสาร กต. กว่า 4.7 พันราย</strong></p>
<p>นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยที่กลับจากประเทศอิสราเอล เนื่องจากเกิดการสู้รบในพื้นที่ ซึ่งได้ยื่นคำร้องเพื่อขอรับเงินเยียวยาแรงงานไทยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล รายละ 50,000 บาท ว่าหลังจากที่สำนักงบประมาณได้อนุมัติเงินงบประมาณโครงการเยียวยาฯ ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2566 กระทรวงแรงงานได้เร่งดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาฯให้ผู้มีสิทธิฯ ทันทีในวันที่ 27 ธันวาคม 2566 ดังนั้น จนถึงวันที่ 18 มกราคม 2567 รวม 15 วัน กระทรวงแรงงานได้โอนเข้าบัญชีให้ผู้มีสิทธิหรือทายาทของแรงงานแล้ว จำนวน 1,210 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 60,500,000 บาท ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จไม่เกินเดือน ก.พ. นี้</p>
<p>“ขอยืนยันว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานเร่งดำเนินการอย่างเต็มที่ ดำเนินการทันที และไม่ล่าช้า เพื่อให้พี่น้องแรงงานที่กลับจากอิสราเอลได้รับเงินเยียวยา 50,000 บาท โดยเร็วที่สุด ส่วนหนึ่งที่ยังไม่ได้รับเงินเนื่องจากบางรายเอกสารไม่สมบูรณ์ ยังไม่ได้เซ็นในเอกสาร จึงมีการส่งกลับไปให้แก้ไข ทั้งนี้ คาดว่าจะทยอยโอนเงินเยียวยาได้มากขึ้นวันละอย่างน้อย 250 – 300 ราย เพื่อให้ดำเนินการแล้วเสร็จให้ครบไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์นี้” นายพิพัฒน์ กล่าว</p>
<p>ด้าน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตนและเจ้าหน้าที่ทุกคนได้เร่งทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้แรงงานไทยได้รับสิทธิประโยชน์โดยเร็วที่สุด ในส่วนของความคืบหน้าค่าพาหนะเดินทางของแรงงานที่กลับจากอิสราเอล ซึ่งมีแรงงานไทยได้ติดต่อสอบถามมายังกระทรวงแรงงานเป็นจำนวนมากถึงเรื่องที่ยังไม่ได้รับเงินค่าเดินทางกลับจากอิสราเอลดังกล่าวนั้น เกี่ยวกับความคืบหน้าในเรื่องนี้ ขณะนี้ กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการส่งคำร้องขอรับเงินค่าเดินทางฯ ไปยังกระทรวงการต่างเทศ (กต.) เรียบร้อยแล้ว จำนวน 4,729 คน จากจำนวนผู้มายื่นคำร้องตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2566 – วันที่ 15 มกราคม 2567 ทั้งสิ้น 5,012 คน จำแนกเป็น ค่าตั๋วเครื่องบิน 2,698 คน และค่าแท็กซี่ 3,699 คน</p>
<p>“ในการยื่นคำร้องขอรับค่าเดินทางกลับจากอิสราเอลนั้น กระทรวงแรงงานจะทำหน้าที่รับเรื่องของคนไทยทุกคนที่เดินทางกลับประเทศไทยเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล ทั้งกลุ่ม นักเรียน นักศึกษา และแรงงานไทย ซึ่ง กต.จะเป็นผู้พิจารณาค่าชดเชย/ค่าใช้จ่าย หลังจากยื่นเอกสารกับกระทรวงแรงงานแล้ว กต.จะดำเนินการจ่ายค่าพาหนะให้แรงงานต่อไป” นายไพโรจน์ กล่าวและว่า แรงงานไทยที่ยื่นคำขอไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับค่าเงินค่าเดินทางกลับจากอิสราเอล สามารถติดตามการยื่นคำขอได้ที่ Hotline call center กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ โทร.02 572 8442</p>
<p>ที่มา: มติชนออนไลน์, 18/1/2567</p>
<p><strong>เชื่อแนวรบยิว-อามาส มีจุดสิ้นสุด รอเปิดพื้นที่สีเขียวส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลอีกระลอก</strong></p>
<p>นายพงศ์ศักดิ์ ศรีมานนท์ จัดหางานจังหวัดพิษณุโลก นายวีระศักดิ์ สุวรรณโณที่ปรึกษาจัดหางานจังหวัดพิษณุโลก/อนุกรรมธิการการมีส่วนร่วมของประชาชา-วุฒิสภาพร้อมคณะภาคีเครือข่าย ระดมแนวคิดการจัดหาแรงงานยังตำแหน่งที่ว่างงาน โดยเฉพาะให้ผู้ว่างงานมาลงทะเบียนและภาคเอกชนจะเป็นผู้เลือกหรือช็อปปิ้งในระบบออนไลน์</p>
<p>พร้อมรับฟังสถานการณ์การสู้รบในอิสราเอลว่า จะเปิดพื้นที่สีเขียวบริเวณใดบ้าง หรือยังมีพื้นที่สีแดงเขตใดบ้างเพื่อเตรียมส่งแรงงานไทยกลับไปทำงานในต่างแดนอีก</p>
<p>จัดหางานจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ใครที่อยากไปทำงานต่างประเทศ หากไม่เข้าใจ จะต้องมาที่สำนักงานจัดหางานทุกแห่ง ไม่ต้องรอให้กลุ่มมิชฉาชีพ อ้างว่า จะหางานให้ทำ แม้จะอ้างผ่านระบบแรงงานก็ตาม หากถูกหลอกแล้วย้อนกลับมาหาหน่วยงานราชการ จะแก้ไขลำบาก ยากที่จะทวงเงินคืน ที่ผ่านมาพบเจออยู่บ่อยครั้ง</p>
<p>อันดับแรก คนที่จะไปต่างประเทศ ต้องมาตรวจสอบว่า บริษัทดังกล่าว มีตัวตนหรือไม่ ขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางานหรือไม่ หรือ แม้จะทราบว่าบริษัทดังกล่าวนั้นมีจริง แต่อาจมีบุคคลอื่นแอบอ้างชื่อ โดยที่บริษัทไม่รู้ก็ได้ ซึ่งจัดหางานจังหวัด ทราบถึง ตัวบุคคลนั้นๆว่า เป็นพนักงานจริงหรือไม่</p>
<p>ส่วนสถานการณ์ในอิสราเอล ยืนยันว่า การรบคงไม่ยืดเยื้อ แบบไม่มีจุดสิ้นสุด นายจ้างฝั่งอิสราเอล ยังต้องมีการผลิตหรือประกอบธุรกิจ ณ.วันนี้ กระทรวงแรงงานได้หารือกับกระทรวงต่างประเทศว่า พื้นที่อิสราเอล เป็นสีเขียวหรือสีแดงบริเวณใดบ้าง หากรับรองว่า เป็นพื้นที่สีเขียว ก็พร้อมจัดส่งแรงงานได้ หากคนไทยมีความประสงค์</p>
<p>อย่างไรก็ตาม หากถามว่า สถานการณ์ปกติหรือยัง ณ.วันนี้ คงตอบเพียงว่า ยัง แต่แรงงานแถบประเทศรัฐเซียหรือประเทศใกล้เคียงได้เดินทางไปทำงานบ้างแล้วในพื้นที่ปลอดภัย ซึ่งก็ทำงานได้ปกติ เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่ประเทศอิสราเอล จะประกาศสงครามยาว และเป็นไปไม่ได้ที่นักธุรกิจจะหยุดการผลิต มิฉะนั้นประเทศก็อยู่ไม่ได้ สรุปคือ อิสราเอลยังต้องหาแรงงานไทยอยู่</p>
<p>เท่าที่สอบถาม แรงงานไทยที่กลับมาเพราะสงคราม ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ทำงานอะไร บอกเพียงว่า ช่วงนี้ต้องการผักผ่อน ไม่คิดจะทำอะไร คาดว่า แรงงานไทยคงหาโอกาส รอจังหวะสถานการณ์คลี่คลายแล้วย้อนกลับเข้าไปทำงานในอิสราเอลใหม่ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมในต่างแดน</p>
<p>ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 16/1/2567</p>
<p><strong>แรงงานโรงแรมยังขาดหนัก ผู้ประกอบการ 60% รับกระทบคุณภาพบริการ</strong></p>
<p>สมาคมโรงแรมไทย (THA) เปิดเผยว่า สมาคมได้ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สำรวจดัชนีเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม (Hotel Business Operator Sentiment Index) เดือนธันวาคม 2566 (สำรวจระหว่างวันที่ 8-25 ธันวาคม 2566) จากผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 75 แห่ง พบว่าโรงแรมกว่า 60% ยังเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน</p>
<p>โดยมีผู้ประกอบการเพียง 35% ที่ระบุว่าสถานการประกอบการไม่มีปัญหาเรื่องแรงงาน และผู้ประกอบการที่บอกว่ามีปัญหาและยอมรับว่ากระทบต่อคุณภาพการให้บริการ แต่ไม่กระทบจำนวนลูกค้าที่รับได้ และ 15% ที่มีปัญหาระบุว่า การขาดแคลนแรงงานยังกระทบกับจำนวนลูกค้าที่รับได้ แต่ไม่กระทบกับคุณภาพการให้บริการ ส่วนอีก 15% ยอมรับว่ากระทบทั้งคุณภาพการให้บริการและจำนวนลูกค้าที่รับได้</p>
<p>อย่างไรก็ตาม โรงแรมกว่า 50% สามารถปรับราคาห้องพักได้สูงกว่าช่วงก่อน COVID-19 โดยเฉพาะโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป ขณะที่โรงแรมระดับไม่เกิน 3 ดาวส่วนใหญ่ยังปรับราคาได้จำกัด</p>
<p>ทั้งนี้ โรงแรมในภาคใต้มีสัดส่วนของโรงแรมที่ปรับราคาได้สูงกว่าก่อน COVID-19 สูงกว่าภาคอื่น ๆ ขณะที่โรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ยังมีราคาห้องพักใกล้เคียงกับช่วงก่อน COVID-19</p>
<p>ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 16/1/2567</p>
<p><strong>สนค. เผยวิกฤตการศึกษาไทย ระดับคะแนนต่ำในภูมิภาคอาเซียน เด็กเมินสายอาชีวะ ส่งผลกระทบขาดแคลนแรงงานสายอาชีพ</strong></p>
<p>15 ม.ค. 2567 นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวถึง การพัฒ นาการค้า การลงทุน และเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อแรงงานที่จำเป็นต้องอาศัยทักษะและกระบวนการคิดที่ตอบสนองต่อตลาดแรงงาน</p>
<p>จึงมีเสียงสะท้อนให้มีการปรับปรุงระบบการศึกษาของไทย เพื่อให้ประเทศสามารถผลิตแรงงานที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการแต่ละภาคส่วนได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากบางส่วนมองว่า แรงงานของไทยยังมีจำนวนที่ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองในบางอุตสาหกรรม</p>
<p>จากผลสำรวจความต้องการแรงงานในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ปี 2565 พบว่า มีภาวะขาดแคลนแรงงานฝีมือ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องจักรและยานยนต์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มากถึง 12,000 ตำแหน่ง</p>
<p>นายพูนพงษ์ กล่าวว่า แม้รายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ปี 2566 จะแสดงให้เห็นถึงการเติบโตของกำลังแรงงานในระยะยาวที่ดีขึ้น แต่มีความเสี่ยงว่า ไทยอาจประสบปัญหาแรงงานทักษะที่ไม่เพียงพอในภาคบริการ</p>
<p>ในขณะที่คู่แข่งด้านการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ต่างเร่งการพัฒนาด้านแรงงานทั้งในแง่ของจำนวนและคุณภาพ ซึ่งในอนาคตอาจทำให้การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศของไทยทำได้ยากขึ้น และเป็นความท้าทายที่อาจส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ</p>
<p>เมื่อย้อนดูคุณภาพการศึกษาของไทยซึ่งเป็นต้นทางการผลิตแรงงาน พบว่า คะแนนของเด็กไทยต่ำลงในทุกหมวด ทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน อย่างไรก็ตาม หากเทียบเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ระดับคะแนนของไทยยังต่ำกว่าสิงคโปร์ เวียดนาม และมาเลเซีย ทั้งยังมีทิศทางที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง</p>
<p>นายพูนพงษ์ กล่าวอีกว่า ปัญหาของระบบการศึกษาไทย คือ การผลิตบุคลากรที่ไม่ตรง หรือไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เกิดขึ้นจากค่านิยมที่ให้ความสำคัญกับการเข้าศึกษาในสายสามัญมากกว่าสายอาชีวะ ประกอบกับภาพลักษณ์ในเชิงลบที่มีต่อผู้เรียนในสายอาชีวะ ทำให้ความต้องการศึกษาในสายอาชีวะลดลง</p>
<p>"ไทยขาดแคลนแรงงานในสายอาชีวะจำนวนมาก ไม่สามารถรองรับการขยายตัวของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามายังไทย รวมถึงมีความเสี่ยงที่จะขาดแคลนแรงงานบางสาขาในอนาคต และขาดบุคลากรด้านการศึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีในการสอนให้เพิ่มสูงขึ้น"</p>
<p>นายพูนพงษ์ ยังกล่าวอีกว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาในระบบการศึกษาไทย ส่งผลต่อการค้าและการลงทุนที่เกิดขึ้น เช่น ขาดแรงงานทักษะใหม่ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2565 พบว่า ไทยมีผู้ทำงานจริงเพียง 39.6 ล้านคน จากประชากร 66.1 ล้านคน</p>
<p>ขณะที่ผลสำรวจด้านแรงงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในปี 2565 พบว่า ไทยยังขาดแคลนแรงงานภาคอุตสาหกรรมในทุกระดับการศึกษา ซึ่งในภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการแรงงานกว่า 168,992 คน แบ่งออกเป็นความต้องการแรงงานในระดับปริญญาตรีขึ้นไป 29,037 คน ระดับ ปวช.-ปวส. 38,079 คน ระดับ ป.6-ม.6 96,786 คน และอื่น ๆ อีก 5,090 คน</p>
<p>สะท้อนว่าระบบการศึกษาของไทยยังพัฒนาแรงงานได้น้อยกว่าความต้องการของตลาดอยู่มากพอสมควร ในขณะที่ ผู้ประกอบการต่างชาติมีค่าแรงสูง มีการแย่งตัวแรงงานด้วยการแข่งขันด้านค่าแรง ทำให้ต้นทุนการประกอบการสูงขึ้น และอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเลือกลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่มีจำนวนแรงงานในสายงานที่เกี่ยวข้องมากกว่า</p>
<p>ที่สำคัญคือ แรงงานที่มีลักษณะการทำงานซ้ำ ๆ อาจถูกแทนที่ด้วยระบบการทำงานอัตโนมัติ และอาจส่งผลให้ตัวเลขการจ้างงานรวมของประเทศลดลง และการศึกษาที่ขาดคุณภาพส่งผลต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพราะมีผลิตภาพต่ำ และมีทักษะที่ไม่หลากหลาย ทางเลือกในการประกอบอาชีพจึงมีน้อย เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ</p>
<p>นายพูนพงษ์ฯ ย้ำว่า การศึกษานับเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ เพราะเป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาว ทั้งยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาพอสมควร ไม่สามารถสร้างหรือปรับเปลี่ยนได้ในเวลาอันสั้น ควรต้องเร่งพัฒนาการศึกษาตั้งแต่วันนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในประเทศ</p>
<p>ที่มา: Thai PBS, 15/1/2567</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107723
 
2782  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เปิดใจ "ป๊อบ สุริยา" ย้อนนาทีชีวิต เกือบสิ้นชื่อ! เพราะชะล่าใจคิดว่าเป็นกรดไห เมื่อ: 21 มกราคม 2567 11:34:25
เปิดใจ "ป๊อบ สุริยา" ย้อนนาทีชีวิต เกือบสิ้นชื่อ! เพราะชะล่าใจคิดว่าเป็นกรดไหลย้อน
         


เปิดใจ &quot;ป๊อบ สุริยา&quot; ย้อนนาทีชีวิต เกือบสิ้นชื่อ! เพราะชะล่าใจคิดว่าเป็นกรดไหลย้อน" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;“ป๊อบ สุริยา” หลอนขั้นสุดวินาทีเฉียดตายเกือบวิญญาณออกจากร่าง รอบวชแก้บนหลังได้ชีวิตใหม่!
         

https://www.sanook.com/news/9188518/
         
2783  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - พบ 21 วัดในสกลนคร ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อ: 21 มกราคม 2567 10:49:44
พบ 21 วัดในสกลนคร ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-01-21 09:53</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>พบ 21 วัดใน จ.สกลนคร ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เผยเคยขอผ่อนผันตามมติ ครม. นานแล้วแต่ยังไม่ได้รับการพิจารณา หลายฝ่ายประชุมแก้ไขปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดิน ชี้หากเอกสารครบพร้อมเดินต่อ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://snk.onab.go.th/th/file/get/file/20211026154549c9e5d3a4a4774d31999314ee2e195200.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">แฟ้มภาพสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ</span></p>
<p>ทีมสื่อพรรคเพื่อไทยแจ้งข่าวว่าเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2567 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสกลนคร นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหารือและมอบนโยบายการแก้ไขปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินของวัดในพื้นที่ โดยมี นายกฤช เอื้อวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม</p>
<p>ที่ประชุมได้หารือแนวทางการแก้ไขปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินของวัดในพื้นที่ จ.สกลนคร ซึ่งพบว่าเป็นประเด็นปัญหามาช้านาน และเคยมีการเสนอไปยังคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รัฐสภา เพื่อขอสร้างวัดในพื้นที่จังหวัดสกลนครที่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 21 วัด โดยแยกเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณป่าสงวนดงผาลาด จำนวน 13 วัด วัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณป่าสงวน ป่า 2484 จำนวน 7 วัด และวัดที่ตั้งอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 1 วัด โดยทั้ง 21 วัด ได้ดำเนินการขอผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย. 2563 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2564 เป็นเวลานานพอสมควรแล้ว แต่ทางวัดยังไม่ได้รับการพิจารณา</p>
<p>นางพวงเพ็ชร กล่าวว่า การประชุมหารือและแก้ไขปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินวัดในพื้นที่จังหวัดสกลนครวันนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการรวบรวมองคาพยพที่เกี่ยวข้อง มารับฟังปัญหาและหาแนวทางในการช่วยเหลือร่วมกัน อย่างไรก็ตาม การดำเนินการต่างๆ ยังคงอยู่ในระหว่างการตรวจสอบเอกสาร ต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน จากนั้นเราจะมีการประชุมกันอีกครั้ง เพื่อติดตามความคืบหน้าและเร่งรัดให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ขอให้มั่นใจว่าคณะทำงานได้ทำการช่วยเหลือเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และให้พื้นที่เกิดประโยชน์สูงสุด</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107721
 
2784  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - รอบโลกแรงงาน มกราคม 2024 เมื่อ: 21 มกราคม 2567 09:18:25
รอบโลกแรงงาน มกราคม 2024
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-01-21 08:45</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p><strong>คนหนุ่มสาวญี่ปุ่น 1.06 ล้านคน ฉลองปีใหม่ในฐานะคนเพิ่งบรรลุนิติภาวะอายุ 18 ปี</strong></p>
<p>กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของญี่ปุ่นประมาณการว่า จนถึงวันที่ 1 ม.ค. 2024 มีผู้ชายราว 550,000 คน และผู้หญิงราว 520,000 คนที่มีอายุครบ 18 ปีในประเทศ</p>
<p>เมื่อเทียบกับตัวเลขในปี 2566 แล้ว จำนวนผู้ที่มีอายุ 18 ปีในปี 2024 ลดลงราว 60,000 คน ทำให้ตัวเลขนี้น้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่มีการเก็บสถิติครั้งแรกในปี 1968</p>
<p>ทั้งนี้ จนถึงวันขึ้นปีใหม่ของปี 2023 กระทรวงนิยามคนที่เพิ่งบรรลุนิติภาวะใหม่ว่าผู้ที่มีอายุครบ 20 ปี</p>
<p>ผู้ที่มีอายุ 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 0.86 ของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งลดลงมาร้อยละ 0.03 จากปีก่อนหน้า และเป็นสัดส่วนที่น้อยสุดเป็นประวัติการณ์</p>
<p>ที่มา: NHK World, 1/1/2024</p>
<p><strong>บริษัทสวีเดนล้มละลายทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990</strong></p>
<p>ยูซี (UC) ซึ่งเป็นหน่วยงานอ้างอิงด้านเครดิต เปิดเผยว่าบริษัทในสวีเดนที่ล้มละลายมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 29% ในปี 2023 แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดภาวะฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์จนส่งผลให้ระบบธนาคารของสวีเดนต้องหยุดชะงัก รายงานดังกล่าวระบุว่า เหตุที่บริษัทในสวีเดนล้มละลายเพิ่มขึ้นนั้น เป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน</p>
<p>ที่มา: Bloomberg, 2/1/2024</p>
<p><strong>แรงงาน 436 คน เตรียมหยุดงานประท้วง Viterra บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเกษตรกรรมของแคนาดา</strong></p>
<p>แรงงาน 436 คน ในบริษัท Viterra Canada ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเกษตรกรรม ผู้ดำเนินงานคลังเก็บธัญพืช โรงแปรรูป และโครงสร้างพื้นฐานการเกษตร ในแคนาดาและสหรัฐฯ เตรียมประท้วงหยุดงานภายใน 72 ชั่วโมง แรงงานเหล่านี้ เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน GSU ในรัฐ Saskatchewan  ยื่นหนังสือแจ้งการเตรียมหยุดงาน พร้อมระบุเหตุผลว่า ไม่พอใจข้อเสนอสัญญาจ้าง โดยต้องการค่าแรงที่ยุติธรรม, การรักษาสมดุลชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น และความเคารพในสถานที่ทำงาน</p>
<p>"ข้อเสนอสุดท้ายของ Viterra ไม่เพียงพอ เราไม่ได้เรียกร้องอะไรเว่อร์วัง แค่สิ่งที่คนพึงได้รับ" เลขาธิการ GSU กล่าว และยืนยันว่าการหยุดงานไม่ใช่ทางเลือกที่ยินดี แต่จำเป็นต้องทำ "เราหวังว่าบริษัทจะเข้าใจข้อกังวล และถ้าไม่ ก็พร้อมยืนหยัดต่อสู้ เพื่อให้เสียงของพวกเราถูกได้ยิน"</p>
<p>การเจรจาที่ยืดเยื้อมาเป็นปีไม่สามารถหาข้อสรุปได้ หลังข้อเสนอสุดท้ายวันที่ 15 ธ.ค. 2023 ไม่เป็นที่ยอมรับ ทั้งสองฝ่ายยังมีกำหนดเจรจาต่ออีกในวันที่ 3-4 ม.ค. 2024 นี้ หากยังตกลงกันไม่ได้ แรงงานจะเริ่มหยุดงานประท้วงในวันที่ 5 ม.ค. 2024 เวลา 14.00 น. Viterra แม้เตรียมแผนฉุกเฉินรับมือผลกระทบ แต่ก็ยอมรับอาจพิจารณาปิดกั้นพนักงาน (lockout) "เราพยายามเจรจาอย่างเต็มที่ หวังว่าจะหาทางออกร่วมกับ GSU ได้"  รองประธานฝ่ายทรัพยากรบุคคล Viterra กล่าว</p>
<p>ที่มา: CBC, 2/1/2023</p>
<p><strong>แรงงานผิดกฎหมายหรือชาวต่างชาติที่อยู่ในไต้หวันเลยกำหนดวีซ่า ค่าปรับเพิ่ม 5 เท่า</strong></p>
<p><img alt="" src="https://th.rti.org.tw/upload/Kunpol/Kunpol_2024/202401/20240105/101-.jpg" /></p>
<p>กระทรวงมหาดไทยประกาศว่า กฎหมายคนเข้าเมืองฉบับใหม่ เริ่มใช้ในปีใหม่ 2024 โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ส่วนที่เป็นมาตรการเกี่ยวข้องกับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ก่อน ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2024 เป็นต้นไป ส่วนที่เป็นบทลงโทษจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มี.ค. 2024 เป็นต้นไป โดยแรงงานผิดกฎหมายหรือชาวต่างชาติที่อยู่ในไต้หวันเลยกำหนดวีซ่า จะมีค่าปรับจากเดิมถึงเพิ่ม 5 เท่า จากที่เสียค่าปรับสูงสุด 10,000 เหรียญไต้หวัน เพิ่มโทษปรับเป็น 10,000-50,000 เหรียญ พร้อมจำกัดการเดินทางเข้าไต้หวันเป็นเวลา 7 ปี</p>
<p>ที่มา: Radio Taiwan International, 5/1/2024</p>
<p><strong>Lazada สิงคโปร์ ขอโทษสหภาพแรงงาน หลังปลดพนักงานไม่แจ้งล่วงหน้า เร่งเจรจาเงินชดเชย</strong></p>
<p>Lazada แพลตฟอร์มออนไลน์ยักษ์ใหญ่ ต้องขอโทษสหภาพแรงงาน FDAWU กรณีปลดพนักงานโดยไม่แจ้งล่วงหน้า พร้อมเปิดโตเจรจาเงินชดเชยให้ดีขึ้น ก่อนหน้านี้ สหภาพแรงงานไม่พอใจการกระทำดังกล่าว บอกไม่ยอมรับ และร้องเรียนไปยังกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้การเจรจาเรื่องเงินชดเชยกับแรงงาน FDAWU ยังคงดำเนินต่อไป ลาซาด้าต้องเร่งแก้ไขสถานการณ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความเป็นธรรมให้กับพนักงานที่ถูกปลด โดย Lazada สิงคโปร์แถลงการณ์ว่า บริษัทกำลัง "ร่วมมือและปรึกษา" กับรัฐบาลสิงคโปร์, NTUC, FDAWU และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ พร้อมยืนยันให้ข้อมูลทุกอย่างกับสหภาพแรงงาน เพื่อให้มั่นใจว่าการปลดพนักงานเป็นไปอย่างยุติธรรม</p>
<p>ด้านโฆษกกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ ยืนยันว่า "เห็นความคืบหน้าที่ดี" ในการเจรจาระหว่างลาซาด้าและ FDAWU กระทรวงฯ เน้นย้ำให้ลาซาด้าทำงานร่วมกับสหภาพฯ เพื่อให้มั่นใจว่า โครงสร้างการทำงานใหม่จะเกิดขึ้นอย่างยุติธรรมและรับผิดชอบ รวมถึงการเสนอเงินชดเชยที่เหมาะสมตามมาตรฐานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังย้ำเตือนให้บริษัทต่างๆ ปฏิบัติอย่างรับผิดชอบเมื่อต้องลดต้นทุน โดยเฉพาะบริษัทที่มีสหภาพแรงงานควรเปิดการเจรจากับสหภาพแรงงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของพนักงานที่ได้รับผลกระทบ</p>
<p>ที่มา: CNA, 6/1/2024</p>
<p><strong>Amazon เตรียมเลิกจ้างพนักงานหลายร้อยคน ในฝ่ายบริการสตรีมมิ่งอย่าง Prime Video</strong></p>
<p>Amazon เตรียมเลิกจ้างพนักงานหลายร้อยคน ในฝ่ายบริการสตรีมมิ่งอย่าง Prime Video และส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Amazon MGM Studios สตูดิโอผลิตคอนเทนต์ในสหรัฐอเมริกาของ Amazon ในขณะที่ผู้บริหาร Prime Video และ Amazon MGM Studios ระบุบริษัทมีการลด การลงทุน เพื่อเพิ่มการลงทุนไปที่การผลิตเนื้อหา-พัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าแทน โดยก่อนหน้านี้  Amazon มีการปลดพนักงานมากกว่า 27,000 ตำแหน่ง ช่วงโควิด-19</p>
<p>ที่มา: Geekwire, 10/1/2024</p>
<p><strong>ศาลฎีกาเกาหลีใต้สั่งให้บริษัทญี่ปุ่นจ่ายค่าเสียหายแก่แรงงานในช่วงสงครามโลก</strong></p>
<p>ศาลฎีกาเกาหลีใต้ได้ตัดสินยืนตามศาลระดับที่ต่ำกว่าอีกครั้ง โดยสั่งให้บริษัทญี่ปุ่นจ่ายค่าเสียหายให้กับโจทก์ที่ฟ้องเรื่องการใช้แรงงานช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2</p>
<p>ในวันพฤหัสบดีที่ 11 ม.ค. 2024 ศาลฎีกาเกาหลีใต้ได้ปฏิเสธคำอุทธรณ์ของบริษัทนิปปอน สตีล และสั่งให้ทางบริษัทจ่ายค่าเสียหายให้กับครอบครัวของชาวเกาหลีใต้คนหนึ่งที่เสียชีวิตไปแล้ว โดยเขาได้อ้างว่าถูกบังคับใช้แรงงานในโรงงานเหล็กกล้าที่ญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2</p>
<p>ศาลระดับที่ต่ำกว่าได้ตัดสินตามคำร้องของโจทก์ ตอนนี้คำสั่งให้จ่ายค่าเสียหายถือเป็นที่สิ้นสุด</p>
<p>เมื่อเดือน ธ.ค. 2023 ศาลฎีกาเกาหลีใต้ได้สั่งให้บริษัทญี่ปุ่น 3 บริษัทรวมถึงนิปปอน สตีลจ่ายค่าเสียหายให้คนงานช่วงสงครามในคดีที่แยกกัน 5 คดี</p>
<p>รัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่าสิทธิในการเรียกร้องใด ๆ ก็ตามยุติลงแล้วอย่างสมบูรณ์และเป็นที่สิ้นสุดเมื่อญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ปรับความสัมพันธ์ระหว่างกันสู่ระดับปกติในปี 1965</p>
<p>นายฮายาชิ โยชิมาซะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวว่า รัฐบาลได้ยื่นประท้วงฝ่ายเกาหลีใต้ต่อคำตัดสินในวันที่ 11 ม.ค. 2024</p>
<p>นายฮายาชิกล่าวว่า เป็นที่ชัดเจนว่าคำตัดสินนี้ขัดแย้งกับข้อตกลงปี 1965 และเสียใจเป็นอย่างยิ่งรวมถึงยอมรับไม่ได้อย่างสิ้นเชิง</p>
<p>ที่มา: NHK World, 11/1/2024</p>
<p><strong>‘Google’ ประกาศปลดพนักงานนับร้อยเพื่อลดต้นทุน</strong></p>
<p>บริษัท ‘กูเกิล’ (Google) เผยแผนปลดพนักงานหลายร้อยตำแหน่งจากทีมต่าง ๆ ขณะที่ ผู้บริหารชั้นสูงบางรายประกาศการตัดสินใจลาออกจากบริษัทด้วย ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์</p>
<p>ภายใต้แผนการปลดพนักงานครั้งนี้ กูเกิลจะลดขนาดทีมงานจากหน่วยที่ดูแลบริการด้าน Voice Assistant รวมทั้งจากทีมธุรกิจอุปกรณ์สมาร์ทโฟน ‘พิกเซล’ (Pixel) ทีมธุรกิจระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ ‘เนสท์’ (Nest) และหน่วยธุรกิจอุปกรณ์ ‘ฟิตบิต’ (Fitbit) รวมทั้ง ปลดเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของทีมพัฒนาเทคโนโลยีเสริมจริง (Augmented Reality – AR) เช่นเดียวกับทีมวิศวกรส่วนกลางที่จะต้องลดคนหลายร้อยตำแหน่งด้วย</p>
<p>รอยเตอร์ระบุว่ากูเกิลซื้อกิจการฟิตบิตมาตั้งแต่ปี 2021 ในราคา 2,100 ล้านดอลลาร์ แต่ก็ไม่ได้ออกนาฬิกา ‘พิกเซล’ รุ่นใหม่ ๆ ที่ควรจะเป็นผลิตภัณฑ์คู่แข่งกับนาฬิกาแอปเปิลวอทช์ (Apple Watch) มาสักพักแล้วด้วย</p>
<p>ผู้สื่อข่าวติดต่อไปยังกูเกิลเพื่อสอบถามรายละเอียด แต่ไม่ได้รับคำตอบเกี่ยวกับจำนวนพนักงานที่จะถูกปลดจริง ๆ</p>
<p>ทั้งนี้ การปรับองค์กรของกูเกิลเกิดขึ้นในช่วงที่บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอื่น ๆ เช่น ไมโครซอฟท์ (Microsoft) กำลังตั้งความหวังกับการผลักดันปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างเนื้อหาใหม่ ๆ เองได้ (generative artificial intelligence) ของตนออกมา หลัง ChapGPT ของบริษัท OpenAI กลายมาเป็นนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา</p>
<p>เมื่อปีที่แล้ว กูเกิลเพิ่งประกาศเพิ่มความสามารถของ generative AI เข้าไปในบริการผู้ช่วยเสมือนจริง (virtual assistant) ของตน หลังบริษัทอัลฟาเบท (Alphabet) ซี่งเป็นบริษัทแม่เผยแผนลดพนักงาน 12,000 ตำแหน่งหรือ 0.6% ของจำนวนพนักงานจากทั่วโลก เมื่อเดือน ม.ค. 2023</p>
<p>ที่มา: VOA, 12/1/2024</p>
<p><strong>แรงงานต่างชาติในไต้หวันจะได้รับอนุญาตเข้าออกไต้หวันแบบหลายครั้งเหมือนแรงงานกึ่งฝีมือ โดยไม่ต้องยื่นขอทุกครั้งอีกต่อไป</strong></p>
<p>สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงมหาดไทยประกาศว่า ตามอำนาจในกฎหมายคนเข้าเมืองฉบับใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2024 เป็นต้นมา อนุญาตให้แรงงานต่างชาติทั่วไปที่ทำงานอยู่ในไต้หวันและมีความจำเป็นต้องเดินทางออกนอกประเทศ สามารถยื่นขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศและกลับเข้าไต้หวันใหม่ได้หลายครั้งหรือที่เรียกว่า Multiple Re-entry Permit ตลอดระยะเวลาของอายุบัตร ARC จากเดิมที่ต้องยื่นขอกลับเข้าไต้หวันได้ทุกครั้ง นับเป็นบริการอำนวยความสะดวกแก่แรงงานต่างชาติที่ดีมากอีกหนึ่งรายการ</p>
<p>ที่มา: Radio Taiwan International, 12/1/2024</p>
<p><strong>ผลศึกษาพบคนทำงานที่บ้านมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งน้อยกว่าทำงานที่ออฟฟิศ 31%</strong></p>
<p>ปัจจุบันบริษัทต่างๆ พยายามใช้วิธีการมากมายเพื่อดึงพนักงานให้กลับเข้ามาทำงานออฟฟิศ แต่จากงานศึกษาชิ้นใหม่ดูเหมือนฝ่ายบริหารมีเครื่องมือที่ดีกว่าในการลดความน่าดึงดูดใจของการทำงานทางไกล นั่นก็คือ "การไม่เลื่อนตำแหน่ง"</p>
<p>ตามข้อมูลของ Live Data Technologies ที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลคนทำงาน 2 ล้านคนพบว่าพนักงานที่ทำงานทางไกล (หรือทำงานอยู่ที่บ้าน) มีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งน้อยกว่าเพื่อนร่วมงานที่ทำงานประจำสำนักงานถึง 31% ในปี 2023 ที่ผ่านมา</p>
<p>นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะในปี 2023 KPMG ได้ทำการสำรวจความเห็น CEO จำนวน 400 คน 90% กล่าวว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะให้โบนัส เลื่อนตำแหน่ง หรือมอบหมายงานที่ดีกว่า ให้แก่พนักงานที่เข้ามาทำงานที่สำนักงาน นอกจากนี้ Amazon กำลังบังคับใช้นโยบายเข้มงวดให้พนักงานเข้าออฟฟิศอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ โดยการบล็อกการเลื่อนตำแหน่งสำหรับทุกคนที่ไม่ปฏิบัติตาม</p>
<p>ที่มา: Morning Brew, 13/1/2024</p>
<p><strong>ILO ส่งเอกสารกรณีพิพาทสิทธิการหยุดงานไปศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ</strong></p>
<p>องการแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2023 ILO ได้ส่งเอกสารจำนวน 342 ชิ้น 5 เล่ม (dossier) ไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ตามข้อกำหนดในข้อ 65(2) ของกฎบัตรศาล</p>
<p>การส่งเอกสารชุดนี้ เป็นผลมาจากการตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารของ ILO ที่ให้ส่งกรณีพิพาทเรื่องสิทธิการหยุดงานไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรุงเฮก เอกสารเหล่านี้ มาจากทั้ง ILO และแหล่งภายนอก  มีแนวโน้มว่าจะชี้แจงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับข้อพิพาทในการตีความ เช่น การถกเถียงภายในองค์กรที่ผ่านมาเกี่ยวกับการตีความอนุสัญญาหมายเลข 87 ความเป็นไปได้ในการส่งกรณีพิพาทตามข้อ 37(1) ของรัฐธรรมนูญ ILO หลักปฏิบัติ ("jurisprudence") ของหน่วยงานกำกับดูแลของ ILO เกี่ยวกับสิทธิการหยุดงาน และการยอมรับสิทธิการหยุดงานในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ</p>
<p>เอกสารชุดนี้มาพร้อมกับบันทึกแนะนำ  ตามธรรมเนียมปฏิบัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเตรียมแถลงการณ์ลายลักษณ์อักษรโดยรัฐสมาชิกฝ่ายอนุสัญญาหมายเลข 87 และองค์กรนายจ้างและลูกจ้างระหว่างประเทศ 6 แห่ง ที่ได้รับสถานะการปรึกษาหารือระดับทั่วไป ณ ILO สำนักงานทะเบียน ICJ จึงได้เผยแพร่เอกสารชุดนี้ของ ILO บนเว็บไซต์ ICJ</p>
<p>ที่มา: ILO, 14/1/2024</p>
<p><strong>สมาพันธ์แรงงานเวียดนามเสนอลดชั่วโมงทำงานลงต่ำกว่า 48 ชั่วโมง/สัปดาห์</strong></p>
<p>สมาพันธ์แรงงานแห่งชาติเวียดนาม เสนอให้กระทรวงแรงงาน ออกกฎหมายลดชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ต่ำกว่า 48 ชั่วโมง ปัจจุบันแม้แรงงานเวียดนามทำงานเฉลี่ย 41.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ 25% ทำงานเกิน 49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามข้อมูลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)</p>
<p>อย่างไรก็ตาม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานของเวียดนามกล่าวว่า ข้อเสนอนี้ต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากธุรกิจหลายแห่งกำลังประสบปัญหาจากความท้าทายทางเศรษฐกิจ ซึ่งการลดชั่วโมงทำงานอาจเป็นไปได้หลังปี 2030</p>
<p>ที่มา: Vietnam Briefing, 16/1/2024</p>
<p><strong>YouTube เตรียมปลดพนักงานนับร้อย</strong></p>
<p>มีการเปิดเผยว่า Youtube แพลตฟอร์มวิดีโอชื่อดัง เตรียมปรับลดพนักงานราว 100 คน เป็นส่วนของฝ่ายดูแลและจัดการครีเอเตอร์ ทั้งนี้จากการแข่งขันของแพลตฟอร์มวิดีโอที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้เม็ดเงินโฆษณาชะลอตัวลดลงในปีที่ผ่านมา ซึ่ง Youtube พยายามฟื้นฟูธุรกิจอย่างหนัก</p>
<p>ที่มา: The New York Times, 17/1/2024</p>
<p><strong>แรงงานภาคบริการสาธารณะในไอร์แลนด์เหนือหยุดงานประท้วงครั้งใหญ่</strong></p>
<p>แรงงานภาคบริการสาธารณะในไอร์แลนด์เหนือ มากกว่า 100,000 คน ประกาศหยุดงานประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี  ส่งผลกระทบต่อบริการรถโดยสาร รถไฟ โรงเรียน และโรงพยาบาล</p>
<p>การประท้วงครั้งนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของสหภาพแรงงาน 16 กลุ่ม ซึ่งไม่พอใจเรื่องการปรับขึ้นค่าแรง โดยจะมีการชุมนุมใหญ่ในเบลฟัสต์ ลอนดอนเดอร์รี โอมาห์ และเอนนิสกิลเลน สาเหตุหลักของการประท้วงคือ ข้อตกลงเรื่องค่าแรงที่ไม่คืบหน้า และค่าแรงของพนักงานภาครัฐในไอร์แลนด์เหนือต่ำกว่าที่อื่นในสหราชอาณาจักร</p>
<p>ที่มา: BBC, 18/1/2024</p>
<p><strong>สหพันธ์แรงงานสากล เปิดตัวชุดเครื่องมือเพื่อสนับสนุนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในที่ทำงาน</strong></p>
<p>เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2024 สหพันธ์แรงงานสากล (Global Union Federations - GUFs) ได้เปิดตัวชุดเครื่องมือที่ครอบคลุมสำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) ในที่ทำงาน นับเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมความเท่าเทียมและความปลอดภัยในสถานประกอบการ ชุดเครื่องมือนี้สอดคล้องกับอนุสัญญาหมายเลข 190 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการในโลกของการทำงาน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย. 2021</p>
<p>ที่มา: IndustriALL, 18/1/2024</p>
<p><strong>ผลสำรวจเผยบริษัทอเมริกัน อยากเรียกคนกลับมาทำงานในออฟฟิศ</strong></p>
<p>รายงานการสำรวจความเห็นจากบริษัทในสหรัฐฯ เผยว่ามากกว่า 80% จะใช้สารพัดวิธีเพื่อเช็คยอดการเข้างาน และ 9 ใน 10 บริษัทเล็งหาทางจูงใจนำพนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ สืบเนื่องจากปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน</p>
<p>การสำรวจความเห็นที่จัดทำตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2023 ของบริษัท Resume Builder สอบถามความเห็นจากตำแหน่งผู้จัดการระดับสูงในบริษัทที่มีพนักงานอย่างน้อย 11 คน และพบว่า บริษัทเหล่านี้แทบทั้งหมด เห็นตรงกันว่าจะตรวจสอบการเข้างาน แต่เห็นต่างกันในแง่วิธีการ</p>
<p>ข้อมูลจากรายงานระบุว่า บริษัทส่วนใหญ่เลือกวิธีสแกนบัตรพนักงาน (62%) รองลงมาคือการตรวจสอบด้วยวิธีดั้งเดิมและการเข้าใช้ระบบอินเทอร์เน็ตไว-ไฟ (50%) เรื่อยไปจนถึงใช้ระบบเซ็นเซอร์นับจำนวนคน และติดเซ็นเซอร์ไว้ใต้โต๊ะพนักงาน</p>
<p>จูเลีย ทูธเอเคอร์ โค้ชด้านอาชีพและเรซูเม่จาก Resume Builder มีความเห็นว่า หากการตรวจสอบของที่ทำงานหนักข้อขึ้น “บริษัทอาจจะเสียคนระดับท็อปไป” เพราะผู้คนไม่ชอบการตามติดแบบจุกจิกทุกฝีก้าว ในลักษณะที่คล้ายกับระบอบเผด็จการในนิยาย 1984 ที่เรียกว่า Big Brother</p>
<p>ผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า เหตุผลหลักของการเรียกร้องให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศคือปัญหาประสิทธิภาพของงาน โดยวิธีที่จะใช้จูงใจให้คนออกมาจากบ้าน คือการให้มีช่วงเวลาสังสรรค์ (52%) จัดเลี้ยงอาหารฟรี (46%) ขึ้นเงินเดือน (40%) และสวัสดิการเรื่องเลี้ยงดูบุตร (37%)</p>
<p>63% ของบริษัทที่ทำแบบสำรวจมองว่า การมาทำงานที่สำนักงานจะพัฒนาวัฒนธรรมการทำงาน ในขณะที่อีก 29% เชื่อว่าจะช่วยลดภาวะหมดไฟของพนักงาน</p>
<p>ทูธเอเคอร์มองว่า หากต้องมีแรงจูงใจสักอย่างให้พนักงาน ก็คิดว่าควรเป็นอะไรที่สามารถชดเชยต้นทุนในการออกมาทำงานนอกบ้าน เช่น เรื่องของการเดินทาง เสื้อผ้า หรือการดูแลเด็กและสัตว์เลี้ยง และยังมองว่า บริษัทควรมีการสำรวจความเห็นพนักงาน เพราะมีบ่อยครั้งที่สิ่งที่นายจ้างให้นั้นไม่ตรงกับความต้องการของพนักงานทั่วไป</p>
<p>ในหมู่ผู้ทำแบบสำรวจ มีถึงหนึ่งในสามที่บอกว่าจะไล่พนักงานที่ไม่ยอมทำตามมาตรการออก และมี 53% ที่บอกว่าจะพิจารณาเรื่องการลดเงินเดือนแทน</p>
<p>นักเศรษฐศาสตร์อย่างเซลชุก เอเรน มองปรากฏการณ์นำคนกลับเข้าออฟฟิศในอีกมุม โดยเห็นว่า การเรียกคนกลับมาทำงานที่สำนักงานคือ เครื่องมือของนายจ้างในการบีบพนักงานให้ลาออก เพื่อลดจำนวนลูกจ้างในช่วงที่มีสัญญาณเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปีนี้</p>
<p>“มันอาจเป็นสิ่งที่พวกเขา (บริษัท) ต้องการ เขาต้องการลดพนักงานในแบบนั้นเพราะกังวลถึงแนวโน้มเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2024” เอเรนกล่าวที่เวทีของเครือข่ายคลังสมองด้านเศรษฐกิจ The Conference Board</p>
<p>อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่เหมือนจะโอบรับกระแสกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ คือกลุ่มคนวัยหนุ่มสาว ข้อมูลจากบริษัทข้อมูล Generation Lab พบว่าแรงงานในกลุ่มเจน Z (กลุ่มคนอายุ 27 ปีขึ้นไป) จำนวน 5 ใน 6 บอกว่าอยากจะทำงานในสำนักงานสัปดาห์ละ 3 วันเป็นอย่างน้อย</p>
<p>มาติน มิราเมซานี ประธานฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ของ Generation Lab มองแนวโน้มข้างต้นว่า นอกจากคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะไม่คัดค้านการทำงานนอกบ้านแล้ว ก็คงจะมี “การยอมรับโอกาสที่จะได้พบกับที่ปรึกษาและเพื่อนร่วมงานจริง ๆ”</p>
<p>ทั้งนี้ ผลสำรวจของ Resume Builder พบว่า 91% ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถาม ต้องการให้พนักงานเข้ามาออฟฟิศเพียงครั้งละเดือนเป็นอย่างน้อย และมี 75% ที่อยากให้พนักงานเข้ามาออฟฟิศเป็นรายสัปดาห์</p>
<p>ทูธเอเคอร์มองว่า บริษัทกำลังค่อย ๆ วางแนวทางให้พนักงานคุ้นชินกับการกลับเข้ามาทำงานในสำนักงาน และจะค่อย ๆ เพิ่มวันทำงานในออฟฟิศมากขึ้นไปเรื่อย ๆ</p>
<p>ที่มา: VOA, 19/1/2024</p>
<p><strong>ผลสำรวจปี 2023 นายไต้หวันจ้างปวดหัวปัญหาการสื่อสารกับแรงงานต่างชาติ ปัญหาหลบหนีและไม่ให้ความร่วมมือมากที่สุด</strong></p>
<p><img alt="" src="https://th.rti.org.tw/upload/Kunpol/Kunpol_2024/202401/20240119/101-cw.com.tw.jpg" /></p>
<p>กระทรวงแรงงานไต้หวันประกาศผลการสำรวจการบริหารดูแลและความเป็นอยู่ของแรงงานต่างชาติประจำปี 2023 พบปัญหาและอุปสรรคในการบริหารแรงงานต่างชาติของนายจ้างภาคการผลิต ประสบปัญหา 44.6% ในจำนวนนี้ ปัญหาที่สร้างความปวดหัวให้กับนายจ้างมากที่สุดได้แก่ การสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน ครองสัดส่วน 68.2% ของปัญหาทั้งหมด รองลงมาเป็นเรื่องการหลบหนี ซึ่งเป็นปัญหาที่นายจ้างภาคการผลิตเริ่มมีความกังวลมากขึ้นเป็นครั้งแรก ตั้งแต่มีการสำรวจเป็นต้นมา ครองสัดส่วน 34% ของปัญหาทั้งหมด ตามด้วยปัญหาที่แรงงานต่างชาติไม่ให้ความร่วมมือและไม่ตั้งใจทำงาน 27.3%</p>
<p>ที่มา: Radio Taiwan International, 19/1/2024</p>
<p><strong>งานศึกษาพบมลพิษทางอากาศกระทบแรงงานนอกระบบในอินเดีย</strong></p>
<p>การศึกษาซึ่งดำเนินการร่วมกันโดย Help Delhi Breathe และ Mahila Housing Trust ได้เปิดเผยว่าแรงงานนอกระบบในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้กับสถานที่ฝังกลบขยะในเดลี เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากมลภาวะทางอากาศ เนื่องจากมีอัตราการสัมผัสกิจกรรมกลางแจ้งในระดับสูง สภาพการทำงานและความเป็นอยู่ที่ไม่เอื้ออำนวย สถานที่ทำงานที่เป็นอันตราย และการเลือกปฏิบัติทางสังคม การศึกษานี้อิงจากการสำรวจที่จัดขึ้นในกลุ่มแรงงานนอกระบบ 590 คนใน 5 แห่ง ได้แก่ Bakkarwala, Gokulpuri, Sawda Ghevra, Nathu Colony และ Bhalswa</p>
<p>จากการสำรวจ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนสูงสุด (95%) กลัวที่จะตกงานหากพวกเขาแสดงความกังวลเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศในสถานที่ทำงานของตน สถานที่ทำงาน ได้แก่ คนทำงานที่บ้าน สถานที่ก่อสร้าง สถานที่ฝังกลบ คนขายของริมถนน คนเก็บขยะ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก คนงานในโรงงาน คนงานรายวัน เจ้าของร้านค้า และผู้ค้ารายย่อย ในขณะที่ 57% กลัวว่าจะถูกนายจ้างตำหนิ แต่อีก 13% ก็กลัวที่จะถูกตัดสินเช่นกัน ผู้คน 85% แสดงความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงคุณภาพอากาศในสถานที่ทำงานของตน</p>
<p>ที่มา: Time of India, 20/1/2024</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิเhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107718
 
2785  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - อนุโมทนา เปิดภาพงานบวช "เต้ย พงศกร" จัดเรียบง่าย คนบันเทิงร่วมพิธีคึกคัก เมื่อ: 21 มกราคม 2567 09:02:50
อนุโมทนา เปิดภาพงานบวช "เต้ย พงศกร" จัดเรียบง่าย คนบันเทิงร่วมพิธีคึกคัก
         


อนุโมทนา เปิดภาพงานบวช &quot;เต้ย พงศกร&quot; จัดเรียบง่าย คนบันเทิงร่วมพิธีคึกคัก" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;อนุโมทนา เปิดภาพงานบวช พระเอกหนุ่ม "เต้ย พงศกร" พร้อมน้องชาย จัดขึ้นอย่างเรียบง่าย เพื่อนพ้องและผู้ใหญ่ในวงการบันเทิงร่วมพิธีคึกคัก
         

https://www.sanook.com/news/9188478/
         
2786  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - พ่อค้ากลายเป็นเศรษฐี ได้มรดก 16 ล้านจากเพื่อนบ้าน ญาติโร่ฟ้องร้อง แต่ศาลปัดตก! เมื่อ: 21 มกราคม 2567 06:32:23
พ่อค้ากลายเป็นเศรษฐี ได้มรดก 16 ล้านจากเพื่อนบ้าน ญาติโร่ฟ้องร้อง แต่ศาลปัดตก!
         


พ่อค้ากลายเป็นเศรษฐี ได้มรดก 16 ล้านจากเพื่อนบ้าน ญาติโร่ฟ้องร้อง แต่ศาลปัดตก!" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;
         

https://www.sanook.com/news/9188126/
         
2787  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กสม. ชี้เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ช้าถึง 50 ปี เป็นการละเมิด เมื่อ: 21 มกราคม 2567 06:11:53
กสม. ชี้เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ช้าถึง 50 ปี เป็นการละเมิดสิทธิฯ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-01-20 14:25</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กสม. ชี้กรมอุทยานฯ ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ ช้าถึง 50 ปี เป็นการละเมิดสิทธิฯ เสนอ ครม. เร่งแก้ไข - เผยผลตรวจสอบกรณีโรงพยาบาลของรัฐเปิดเผยข้อมูลสุขภาพของแรงงานอันเป็นความลับกระทบต่อสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลและการต่อใบอนุญาตทำงาน</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53474137437_bff4cf645b_o_d.jpg" /></p>
<p>เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2567 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์  ภัยหลีกลี้ และ นางสาวสุภัทรา  นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้งที่ 2/2567 โดยมีวาระสำคัญดังนี้</p>
<h2><span style="color:#3498db;">1. กสม. ชี้ กรมอุทยานฯ ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ ช้าถึง 50 ปี เป็นการละเมิดสิทธิฯ เสนอ ครม. เร่งดำเนินการแก้ไข</span></h2>
<p>นายวสันต์  ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนเมื่อเดือนมีนาคม 2566 ระบุว่า ตามที่ กสม. ได้มีหนังสือที่ สม 0003/146 ลงวันที่ 23 เมษายน 2551 แจ้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินสำหรับผู้อพยพจากการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์โดยเร่งด่วน แต่ปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไข ประชาชนจำนวน 900 ครัวเรือน ที่อยู่ในพื้นที่ตำบลด่านแม่แฉลบ ตำบลนาสวน และตำบลเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ยังคงได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากการดำเนินงานที่ล่าช้าของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (ผู้ถูกร้อง) และข้าราชการที่มีหน้าที่และอำนาจในการแก้ไขปัญหา จึงขอให้ตรวจสอบ</p>
<p>กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ได้รับรองให้บุคคลมีสิทธิในทรัพย์สิน การจำกัดสิทธิให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลสามารถจัดการโภคทรัพย์และทรัพยากรธรรมชาติของตนได้อย่างเสรีและจะไม่ถูกลิดรอนวิถีการยังชีพไม่ว่ากรณีใด รวมทั้งบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐในการจัดให้มีมาตรการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อให้ประชาชนมีที่ทำกินอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และตรวจสอบกรรมสิทธิ์การถือครองที่ดินทั้งประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อประกันให้บุคคลมีมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอและดีขึ้นอย่างต่อเนื่องสำหรับตนเองและครอบครัว</p>
<p>จากการตรวจสอบปรากฏข้อเท็จจริงว่า เดิมบริเวณพื้นที่พิพาทมีประมาณ 15,000 ไร่ อยู่ในพื้นที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สงวนหวงห้ามไว้ใช้ในราชการทหาร จนกระทั่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2517 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้นำที่ดินบริเวณดังกล่าวไปจัดสรรให้แก่ประชาชนที่อพยพจากน้ำท่วมเนื่องจากการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ จำนวน 900 ครอบครัว และให้จัดทำใบสำคัญกรรมสิทธิ์ให้แก่ประชาชนที่เข้าไปอยู่ทำประโยชน์จริงภายในเวลาอันสมควร</p>
<p>ต่อมามีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาพระฤาษีและป่าเขาบ่อแร่ ในท้องที่ตำบลชะแล ตำบลท่าขนุน ตำบลหินดาด ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ ตำบลเขาโจด ตำบลนาสวน ตำบลด่านแม่แฉลบ ตำบลหนองเป็ด ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2524 มีผลให้พื้นที่พิพาทเกือบทั้งหมดอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ และได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนการหวงห้ามที่ราชพัสดุที่ได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร ในท้องที่ตำบลนาสวน และตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2529 มีผลให้พื้นที่จัดสรรไม่เป็นที่ดินราชพัสดุ แต่ยังคงอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ทำให้ประชาชนผู้ได้รับการจัดสรรไม่อาจนำที่ดินไปออกเอกสารสิทธิได้ และการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นไปอย่างล่าช้า</p>
<p>เมื่อปี 2548 ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจึงร้องเรียนต่อ กสม. ซึ่งได้ตรวจสอบและมีความเห็นว่า การประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินฯ ทับซ้อนที่ดินที่จัดสรรให้แก่ผู้อพยพจากการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ และการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของผู้อพยพจากการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ที่ล่าช้า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาต่อผู้ถูกร้องให้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาการกันแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ตามรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ลงวันที่ 14 กันยายน 2550 รวมทั้ง คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบและต้องอพยพจากการก่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ด้วยเช่นกัน</p>
<p>กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า นับแต่เมื่อปี 2517 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้นำที่ดินพิพาทไปจัดสรรให้แก่ประชาชนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่จากการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ ทั้ง 900 ครอบครัว ซึ่งรวมครอบครัวของผู้ร้องด้วย จนกระทั่งปัจจุบันเป็นระยะเวลายาวนานถึง 50 ปี ประกอบกับเมื่อปี 2550 กสม. ได้มีข้อเสนอแนะให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ ผู้ถูกร้อง แก้ไขปัญหาการทับซ้อนที่ดินพิพาทระหว่างพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์กับพื้นที่ที่ประชาชนได้รับการจัดสรร จนกระทั่งถึงปี 2566 ประชาชนผู้ร้องได้จัดรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ซึ่งผู้ที่แสดงความคิดเห็นเกือบทั้งหมดเห็นด้วยกับการดำเนินการของผู้ถูกร้อง ที่จะเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาสำหรับกันพื้นที่พิพาทออกจากเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ต่อคณะรัฐมนตรี อันจะมีผลทำให้ประชาชนในพื้นที่พิพาทสามารถออกเอกสารสิทธิในที่ดินได้ อย่างไรก็ดี นับเป็นระยะเวลายาวนานถึง 16 ปี แล้ว นับแต่ กสม. ได้มีข้อเสนอแนะให้แก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทับซ้อน แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการใด จึงส่งผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินและสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ด้วยเหตุผลดังกล่าว กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนไปยังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้เร่งเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาพระฤาษี และป่าเขาบ่อแร่ แปลงที่สอง ป่าโรงงานกระดาษไทย แปลงที่หก และป่าเขาพระฤาษี และป่าเขาบ่อแร่ แปลงที่หนึ่ง ในท้องที่ตำบลเขาโจด ตำบลนาสวน ตำบลด่านแม่แฉลบ ตำบลแม่กระบุง อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลสหกรณ์นิคม ตำบลหินดาด ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ และตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. .... ซึ่งจะมีผลเพิกถอนพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 14,786 ไร่ เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป</p>
<p>นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไปยังคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาอนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาพระฤาษี และป่าเขาบ่อแร่ ฯ โดยเร่งด่วน และให้คณะทำงานแก้ไขปัญหาของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการอพยพออกจากพื้นที่ที่สร้างเขื่อนศรีนครินทร์ ตามคำสั่งจังหวัดกาญจนบุรี ที่ 2266/2566 เร่งดำเนินการให้ประชาชนได้รับเอกสารสิทธิในที่ดินที่ได้รับจัดสรรโดยเร็ว หลังจากที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลบังคับใช้</p>
<h2><span style="color:#3498db;">2. กสม. ตรวจสอบกรณีโรงพยาบาลของรัฐเปิดเผยข้อมูลสุขภาพของแรงงานอันเป็นความลับ ชี้ส่งผลกระทบต่อสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลและการต่อใบอนุญาตทำงาน</span></h2>
<p>นางสาวสุภัทรา  นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ซึ่งร้องเรียนแทนผู้เสียหาย ระบุว่า ผู้เสียหายเป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 ผู้เสียหายได้เข้ารับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อขอใบรับรองแพทย์สำหรับนำไปใช้ต่อใบอนุญาตทำงาน แต่แพทย์ออกใบรับรองแพทย์โดยระบุคำว่า “ARV” ซึ่งย่อมาจาก antiretroviral drugs เป็นชื่อกลุ่มยาต้านไวรัสเอชไอวี ลงในรายการผลตรวจอื่น ๆ ทั้งที่ข้อมูลสุขภาพของบุคคลถือเป็นความลับ และภาวะติดเชื้อเอชไอวีไม่ใช่โรคต้องห้ามในการทำงาน ผู้ร้องเห็นว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการเปิดเผยสถานะของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเป็นการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มูลนิธิฯ ยังร้องเรียนว่า โรงพยาบาลดังกล่าวออกใบรับรองแพทย์ให้แก่ผู้เสียหายระบุคำว่า “หัวใจโต” โดยไม่ได้ตรวจวินิจฉัยโรคอย่างละเอียดซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ส่งผลกระทบต่อผู้เสียหายในการทำประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและต่อใบอนุญาตทำงาน จึงขอให้ตรวจสอบ</p>
<p>กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 32 รับรองว่า บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว การกระทำอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิดังกล่าว หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ อันสอดคล้องกับหลักของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี</p>
<p>ประเด็นแพทย์ของโรงพยาบาลระบุคำว่า “ARV” ลงในใบรับรองแพทย์ที่ออกให้แก่ผู้เสียหาย จากการตรวจสอบปรากฏว่า แพทย์ของโรงพยาบาลได้ระบุข้อมูลเช่นเดียวกันนี้กับแรงงานต่างด้าวรายอื่น ๆ ที่มีประวัติการรับยา ARV ด้วย โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาทำประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ด้านธุรการในการบันทึกข้อมูลสำหรับขอรับการชดเชยค่าบริการทางการแพทย์จากประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว อย่างไรก็ดี กสม. เห็นว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการออกใบรับรองแพทย์เพื่อต่อใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว รวมทั้งเป็นการระบุข้อมูลที่เกินความจำเป็น ทั้งที่โรงพยาบาลสามารถเลือกใช้วิธีการอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้รับบริการให้น้อยที่สุดได้แต่มิได้เลือกใช้ เช่น การบันทึกข้อมูลลงในเวชระเบียนและฐานข้อมูลด้านการประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว การกระทำดังกล่าวจึงถือเป็นการเปิดเผยสถานะของผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้ผู้อื่นรับรู้ข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีความจำเป็นอันสมควร ซึ่งขัดต่อหลักจริยธรรมวิชาชีพแพทย์และคำประกาศสิทธิของผู้ป่วยในเรื่องหลักประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยและการรักษาความลับของผู้ป่วย อีกทั้งอาจก่อให้เกิดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี เอื้อต่อการที่นายจ้างหรือสถานประกอบการจะใช้เป็นข้อมูลในการปฏิเสธ การรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าทำงาน การจ้างงาน ตลอดจนถูกรังเกียจและกีดกันการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างปกติสุข จึงเป็นการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลอันเป็นความลับ</p>
<p>ส่วนประเด็นที่สอง ซึ่งแพทย์ของโรงพยาบาลสรุปผลการตรวจว่า “ไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ เนื่องจากมีภาวะหัวใจโต” จากการตรวจสอบ ปรากฏว่า เป็นการสรุปผลโดยใช้ดุลพินิจของแพทย์จากการฉายภาพรังสี (เอกซเรย์) ทรวงอกของผู้เสียหายที่พบว่าบริเวณหัวใจมีขนาดโตขึ้นผิดปกติเมื่อเทียบกับผลการเอกซเรย์ในปีก่อน ๆ ซึ่งเมื่อแพทย์พิจารณาประกอบกับประวัติการติดเชื้อเอชไอวีของผู้เสียหายและอ้างอิงข้อมูลทางการแพทย์ที่ว่า ภาวะหัวใจโตมักพบได้ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีอันเป็นผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากกระบวนการรักษา จึงสันนิษฐานว่าผู้เสียหาย มีภาวะหัวใจโต อันเป็นอุปสรรคต่อการทำงานและอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรง ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลจึงปฏิเสธการทำประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวให้แก่ผู้เสียหาย โดยอ้างหลักความคุ้มค่าในการประกันสุขภาพ เนื่องจากเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง   </p>
<p>กสม. เห็นว่า การที่แพทย์ของผู้ถูกร้องอ่านแปลผลบนฟิล์มเอกซเรย์ทรวงอกของผู้เสียหายซึ่งเป็นการตรวจเบื้องต้นเท่านั้นโดยที่ยังไม่แน่ใจว่าผู้เสียหายมีความผิดปกติของโรคหัวใจหรือภาวะหัวใจโตผิดปกติจริงหรือไม่ ยังต้องมีการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษโดยแพทย์เฉพาะทางอย่างละเอียดอีกครั้ง แต่กลับระบุในช่องผลการตรวจอื่น ๆ ด้วยคำว่า “ARV, หัวใจโต” และสรุปผลการตรวจว่าไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ ทำให้ผู้เสียหายถูกปฏิเสธการรับทำบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและเกิดความตื่นตระหนกในผลตรวจสุขภาพ ถือเป็นการละเมิดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้อง ตามที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ข้อ 12 ได้ให้การรับรองไว้ รวมทั้งละเมิดสิทธิในการประกอบอาชีพและสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้เสียหาย อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้เสียหายไปตรวจกับแพทย์ด้านโรคหัวใจที่สถานพยาบาลอื่นและนำผลตรวจว่าเป็นปกติมาแสดงต่อโรงพยาบาลแหลมฉบังซึ่งไม่มีแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ แพทย์ของโรงพยาบาลจึงได้ออกใบรับรองแพทย์ฉบับใหม่ให้ โดยนำคำว่า “หัวใจโต” ออก และสรุปผลการตรวจสุขภาพเป็น “ปกติ” พร้อมทั้งให้การประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวแก่ผู้เสียหายแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ตามมาตรา 39 (5) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 แล้ว จึงเห็นควรยุติเรื่องในประเด็นนี้</p>
<p>นอกจากนี้ กสม. มีข้อสังเกตเกี่ยวกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2562 กรณีการจำแนกผลการตรวจสุขภาพ ประเภท 3 คือ ผู้ที่มีผลการตรวจ “ไม่ผ่าน” เนื่องจากเป็นโรคอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้โดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ และภาวะที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานโดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์นั้น ยังขาดความชัดเจนในทางปฏิบัติและเปิดช่องให้แพทย์ใช้ดุลพินิจได้อย่างกว้างขวาง และในทางปฏิบัติพบว่าแพทย์ยังต้องพิจารณาหลักความคุ้มค่าในการรับทำประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวประกอบด้วย จึงมีแนวโน้มที่แพทย์จะสรุปความเห็นว่า “ไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ” เพียงแต่มีข้อสงสัยว่าแรงงานต่างด้าวรายนั้นอาจเป็นโรคหรือมีภาวะเจ็บป่วยที่มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งที่ยังไม่ได้ตรวจวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด</p>
<p>เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะนี้อย่างเป็นระบบ กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 จึงมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและการปรับปรุงกฎหมายต่อโรงพยาบาลแหลมฉบัง ผู้ถูกร้อง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี แพทยสภา และกระทรวงสาธารณสุข สรุปได้ดังนี้   </p>
<p>(1) มาตรการในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ให้โรงพยาบาลแหลมฉบังและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี มีหนังสือกำชับแพทย์ในสังกัดเกี่ยวกับการออกใบรับรองแพทย์ทุกประเภท จะต้องไม่ระบุข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการออกใบรับรองแพทย์ในแต่ละประเภท รวมถึงข้อมูลอื่นที่ไม่จำเป็น เช่น คำว่า ARV หรือข้อความใด ๆ ในลักษณะเดียวกัน ที่ถือเป็นการเปิดเผยสถานะผู้ติดเชื้อเอชไอวีและละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ ให้แพทยสภา และกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศกำหนดแนวปฏิบัติของแพทย์เกี่ยวกับการออกใบรับรองแพทย์ทุกประเภทให้เกิดความชัดเจน ซึ่งการระบุข้อมูลต้องเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการขอใบรับรองแพทย์ และไม่ระบุข้อมูลที่ไม่มีความจำเป็นและอาจกระทบต่อสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลในใบรับรองแพทย์</p>
<p>(2) ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน </p>
<p>ให้แพทยสภา และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันทบทวนแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ ทุกประเภท โดยให้เก็บข้อมูลประวัติบุคคล (ส่วนที่ 1) ไว้ในเวชระเบียน ส่วนใบรับรองแพทย์ให้ระบุเฉพาะข้อมูลความเห็นของแพทย์ (ส่วนที่ 2) เท่านั้น โดยศึกษาแนวทางการเขียนใบรับรองแพทย์ของประเทศสิงคโปร์และสหราชอาณาจักร ซึ่งแพทย์จะประเมินว่าสามารถทำงานได้หรือไม่ได้ และไม่ระบุรายละเอียดผลตรวจอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของใบรับรองแพทย์นั้น และนำระบบมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (Hospital Accreditation: HA) มาใช้ในการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล ซึ่งจะต้องมีข้อกำหนดว่าจะไม่ตรวจเรื่องที่ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ เช่น เอชไอวี  </p>
<p>นอกจากนี้ ให้แพทยสภาจัดทำคู่มือการออกใบรับรองแพทย์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับแพทย์และนักศึกษาแพทย์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อปรับกระบวนทัศน์ของแพทย์ให้ต้องคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย</p>
<p>(3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย</p>
<p>กระทรวงสาธารณสุขควรพิจารณาแก้ไขปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดการจำแนกผลการตรวจสุขภาพ ประเภท 3 ผู้ที่มีผลการตรวจ “ไม่ผ่าน” เนื่องจากเป็นโรคอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้โดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ และภาวะที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานโดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ โดยกำหนดขอบเขตการใช้ดุลพินิจของแพทย์ให้มีความชัดเจน และเพิ่มกลไกการโต้แย้งดุลพินิจหรือความเห็นของแพทย์ ในการออกใบรับรองแพทย์ที่คลาดเคลื่อน รวมถึงกรณีการไม่รับทำประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กฎหมาย และการรักษาดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองสิทธิในสุขภาพของแรงงานต่างด้าวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการทำงานและการอยู่อาศัยในราชอาณาจักรต่อไป</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107705
 
2788  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ทำไมแอฟริกาใต้ถึงฟ้องอิสราเอลต่อศาลโลก และทำไมอียูถึงยังเพิกเฉยต่อเรื่องนี้ เมื่อ: 21 มกราคม 2567 04:28:30
ทำไมแอฟริกาใต้ถึงฟ้องอิสราเอลต่อศาลโลก และทำไมอียูถึงยังเพิกเฉยต่อเรื่องนี้
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-01-20 14:34</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>แอฟริกาใต้ทำการฟ้องร้องต่อศาลโลก กล่าวหาว่าอิสราเอลกระทำการ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ในปฏิบัติการโจมตีกาซ่า หลังจากที่กลุ่มฮามาสก่อเหตุโจมตีอิสราเอล ทำไมแอฟริกาใต้ถึงเป็นประเทศที่ฟ้องร้องในเรื่องนี้ และในขณะที่หลายประเทศมีจุดยืนสนับสนุนหรือคัดค้านการฟ้องร้องนี้ แต่ทำไมสหภาพยุโรปถึงยังคงสงวนท่าทีหรือไม่ก็วางตัวเป็นกลาง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53460931819_607fbdc418_k_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพ: CIJ_ICJ</span></p>
<p>เมื่อไม่นานนี้ แอฟริกาใต้ได้ไปยื่นฟ้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเป็นการฟ้องร้องกล่าวหาว่าอิสราเอลทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวปาเลสไตน์</p>
<div class="more-story">
<p><strong>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</strong></p>
<ul>
<li>'แอฟริกาใต้' ฟ้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกล่าวหา 'อิสราเอล' ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใน 'กาซา'</li>
</ul>
</div>
<p>เคลย์สัน มอนเยลา โฆษกของกรมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความร่วมมือของแอฟริกาใต้ แถลงถึงเรื่องนี้ว่า "มีรายงานที่ยังคงมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม รวมถึงรายงานที่ (อิสราเอล) กระทำถึงระดับที่นับเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือเป็นอาชญากรรมตามนิยามของ อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ปี 2491 ซึ่งมีการก่อเหตุตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอาจจะยังคงเกิดขึ้นภายใต้บริบทของการสังหารหมู่ในกาซ่า"</p>
<p>ทั้งแอฟริกาใต้และอิสราเอลต่างก็เป็นผู้ลงนามลงนามให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ปี 2491 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายกล่าวว่าการทำคดีเพื่อพิสูจน์ว่าอิสราเอลมีความผิดจริงฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั้นอาจจะกินเวลาหลายปี แต่ในการพิจารณาคดีที่มีขึ้นเมื่อช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือน ม.ค. นั้น นับเป็นมาตรการฉุกเฉินเพื่อให้มีคำสั่งอย่างเร่งด่วนต่ออิสราเอลออกมาบังคับใช้ไปก่อน</p>
<p>ทนายความระบุว่าถ้าหากแอฟริกาใต้ชนะคดีนี้ได้ในศาลโลกมันก็จะสร้างความอับอายต่ออิสราเอลไปทั่วโลก อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าคำตัดสินของศาลโลกจะมีผลผูกมัด แต่บางครั้งก็มีประเทศที่ไม่ปฏิบัติตาม เช่น รัสเซียยังคงไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลกที่ออกมาเมื่อปี 2565 ระบุให้พวกเขายุติการรุกรานยูเครน</p>
<p>มีอา สวาร์ต ศาสตราจารย์รับเชิญด้านกฎหมายนานาชาติที่มหาวิทยาลัยแห่งวิตวอเตอร์สแรนด์ในแอฟริกาใต้กล่าวว่า การบังคับกฎหมายเป็นจุดอ่อนของกระบวนการยุติธรรมจากศาลโลก มันมีความเป็นไปได้สูงมากที่อิสราเอลจะยังคงไม่ยอมยุติปฏิบัติการทางทหารของตัวเองต่อให้มีคำสั่งจากศาลออกมา และเรื่องนี้จะต้องถูกส่งต่อไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ</p>
<p>สหรัฐฯ เป็นประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นซึ่งมีอำนาจในการโหวตยับยั้งมติ ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ก็เป็นพันธมิตรที่แน่นแฟ้นของอิสราเอล ทางการสหรัฐฯ แสดงจุดยืนแบบเดียวกับอิสราเอลในเรื่องการฟ้องร้องของแอฟริกาใต้โดยบอกว่าเป็นการฟ้องร้องที่ "ไม่มีมูล"</p>
<h2><span style="color:#3498db;">อะไรทำให้แอฟริกาใต้ฟ้องร้องอิสราเอล</span></h2>
<p>เกอฮาร์ด เคมป์ ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายชาวแอฟริกาใต้จากมหาวิทยาลัยเวสต์ออฟอิงแลนด์ กล่าวว่า แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่สนับสนุนข้อเรียกร้องของปาเลสไตน์มาเป็นเวลานานแล้ว</p>
<p>เคมป์กล่าวว่า "นอกจากนี้ยังมีเหตุผลในแง่ของประวัติศาสตร์ด้วย พรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา (ANC) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของแอฟริกาใต้ มีความสัมพันธ์มายาวนานกับกาซ่า, ปาเลสไตน์ และขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์ ... ดังนั้นแล้วการที่แอฟริกาใต้เป็นผู้นำการฟ้องร้องอิสราเอลต่อศาลโลกจึงมีเป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้วย"</p>
<p>พรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา หรือ ANC เองเคยเป็นขบวนการปลดปลอยที่ถูกแบนมาก่อน พวกเขาเป็นกองกำลังติดอาวุธที่ต่อสู้กับรัฐบาลแบ่งแยกสีผิวของคนขาวในแอฟริกาใต้ ทาง ANC ระบุว่าพวกเขามองเห็นภาพสะท้อนของตัวเองเวลาเห็นความทุกข์ยากที่ชาวปาเลสไตน์ต้องเผชิญ</p>
<p>อดีตประธานาธิบดี เนลสัน แมนเดลา ของแอฟริกาใต้ ยังเป็นเพื่อนสนิทกับอดีตผู้นำปาเลสไตน์ ยัสเซอร์ อาราฟัต ด้วย นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวของแมนเดลาที่มีชื่อเสียงระบุว่าอิสรภาพของแอฟริกาใต้จะไม่สมบูรณ์จนกว่าชาวปาเลสไตน์จะได้รับอิสรภาพด้วย</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ทำไมกลุ่มประเทศอียูถึงเงียบเฉยต่อการฟ้องร้องของแอฟริกาใต้</span></h2>
<p>อนุสัญญาปี 2491 นั้นระบุให้ประเทศที่เป็นสมาชิก ซึ่งมีอิสราเอลและแอฟริกาใต้รวมอยู่ด้วย มีสิทธิในฐานะกลุ่มบุคคลที่จะสามารถป้องกันและยับยั้งอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้ ซึ่งในอนุสัญญานี้มีการนิยามการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เอาไว้ว่าเป็น "การก่อเหตุโดยเจตนาที่จะทำลายกลุ่ม สัญชาติ, ชนชาติ, เชื้อชาติสีผิว หรือศาสนาหนึ่ง ไม่ว่าจะโดยบางส่วนหรือทั้งหมด"</p>
<p>การฟ้องร้องคดีในครั้งนี้ยังถือเป็นครั้งแรกที่อิสราเอลจะต้องให้การในศาลในฐานะจำเลยจากการที่พวกเขาโจมตีฉนวนกาซ่า นับตั้งแต่ที่เกิดความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับฮามาสเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2566 การฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์อย่างมากสำหรับประเทศอิสราเอลทีอ้างว่าสร้างขึ้นเพื่อรองรับผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวโดยนาซีซึ่งนับเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์</p>
<p>ในขณะที่ปฏิบัติการที่อิสราเอลทำการโจมตีปาเลสไตน์ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2566 จนถึงตอนนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 23,000 รายแล้วจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขของปาเลสไตน์</p>
<p>ในขณะที่ประเทศพันธมิตรตะวันตกอย่างสหรัฐฯ กับอังกฤษวิพากษ์วิจารณ์การที่แอฟริกาใต้ฟ้องร้องอิสราเอล แต่ประเทศอื่นๆ อย่าง โบลิเวีย, บราซิล, โคลอมเบีย, จอร์แดน, มาเลเซีย, มัลดีฟส์, ตุรกี, เวเนซุเอลา และ 57 ประเทศจากองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) สนับสนุนการที่แอฟริกาใต้ฟ้องร้องอิสราเอล</p>
<p>ที่เหลือคือกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ที่มีคำถามว่าพวกเขามีจุดยืนอย่างไรต่อเรื่องนี้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วยังคงสงวนท่าทีต่อเรื่องนี้ ทั้งนี้อียูยังเคยมีความพยายามที่จะเป็นตัวกลางเจรจาสงครามอิสราเอล-ฮามาส แต่ก็ประสบปัญหาที่ว่าจุดยืนของประเทศสมาชิกทั้ง 27 ประเทศไม่สอดคล้องกัน</p>
<p>ปีเตอร์ สตาโน โฆษกคณะกรรมาธิการยุโรปแถลงยืนยันว่าทางอียูสนับสนุนศาลโลกแต่ไม่ได้ถึงขนาดพูดว่าจะสนับสนุนการดำเนินคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่มีการฟ้องร้องต่ออิสราเอล โดยระบุว่า ประเทศต่างๆ มีสิทธิที่จะฟ้องร้อง แต่ทางสหภาพยุโรปไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องร้องอิสราเอลในครั้งนี้ "พวกเรา(อียู)ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ได้" สตาโนกล่าว</p>
<p>มีการตั้งข้อสังเกตจากสื่อยูโรนิวส์ว่าทางอียูพยายามวางตัวไม่เข้าข้างฝ่ายใดในความขัดแย้งกาซ่า พวกเขาสนับสนุนสิทธิในการป้องกันตนเองของอิสราเอล ในขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้มีการคุ้มครองชีวิตของพลเรือนในฉนวนกาซ่าและมีมาตรการชั่วคราวเพื่อให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พลเรือนในกาซ่า</p>
<p>ทั้งนี้อียูยังเพิ่งจะเรียกร้องให้มี "ข้อตกลงหยุดยิงถาวร" ในกาซ่า เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมา ด้วยคะแนนเสียงสนับสนุน 312 เสียง คัดค้าน 131 เสียง งดออกเสียง 72 โหวต แต่ก็เป็นมติที่ออกมาในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้นไม่ได้มีน้ำหนักทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามทางอียูยังได้วิพากษ์วิจารณ์ฮามาสอย่างหนักด้วย โดยมีการเรียกร้องให้ปล่อยตัวประกันทั้งหมด และเรียกร้องให้ "รื้อทิ้ง" กลุ่มติดอาวุธฮามาส</p>
<p>อันโตนิโอ โลเปซ-อิสตูริซ ส.ส. พรรคประชาชนยุโรป (EPP) ซึ่งเป็นพรรคสายขวากลางกล่าวว่า "สันติภาพที่ยั่งยืนจะไม่เกิดขึ้นตราบใดที่กลุ่มฮามาสและกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ ยังคงอ้างใช้ข้อเรียกร้องของปาเลสไตน์และคุกคามการมีอยู่ของอิสราเอล ซึ่งเป็นประเทศประชาธิปไตยประเทศเดียวในภูมิภาค"</p>
<p>ช่วงหลังๆ กลุ่มประเทศอียูจะเริ่มแสดงท่าทีเรียกร้องให้อิสราเอลยับยั้งความรุนแรงมากขึ้น เช่น ประเทศส่วนใหญ่ของอียูโหวตในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสนับสนุนการเรียกร้องให้อิสราเอลยุติการโจมตีกาซ่า ในเดือน ธ.ค. ประเทศอียูรวมถึงประเทศที่เป็นพันธมิตรตัวยงของอิสราเอลอย่างประเทศเยอรมนีก็ประณามรัฐบาลขวาจัดของอิสราเอล ในเรื่องที่รัฐบาลอิสราเอลเรียกร้องให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกจากฉนวนกาซ่าไปตั้งรกรากที่อื่น</p>
<p>แต่ทว่าในกรณีแอฟริกาใต้ฟ้องร้องดำเนินคดีต่ออิสราเอลนั้น กลุ่มประเทศที่เป็นพันธมิตรตัวยงของอิสราเอลอย่าง เยอรมนี, ออสเตรีย, สาธารณรัฐเช็ก ต่างก็แสดงความกังขาต่อการฟ้องร้องคดีนี้</p>
<p>โรเบิร์ต ฮาเบค รองนายกรัฐมนตรีเยอรมนีแถลงว่า "คุณสามารถวิพากษ์วิจารณ์ว่ากองทัพอิสราเอลกระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุที่ฉนวนกาซ่าได้ แต่มันก็ไม่นับเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" และอ้างว่าพวกที่อยากฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จริงๆ คือพวกฮามาส โดยบอกว่า "เป้าหมายของพวกนั้นคือการกวาดล้างชาติอิสราเอล"</p>
<p>มีบางประเทศในอียูที่มีนักการเมืองที่สนับสนุนปาเลสไตน์และน่าจะสนับสนุนการฟ้องร้องของแอฟริกาใต้อยู่บ้าง แต่พวกเขาก็แสดงออกได้ไม่เต็มที่ ไม่ว่าจะเพราะระบบการเมืองในประเทศหรือเพราะมองว่าการฟ้องร้องเรื่องนี้ต้อง "ใช้ความระมัดระวัง" และมองว่าสิ่งที่ฮามาสทำก็อาจจะนับเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้เช่นกัน</p>
<p>เช่นในเบลเยียม รองนายกรัฐมนตรี เพตรา เดอ ซุตเตอร์ เรียกร้องให้เบลเยียมสนับสนุนแอฟริกาใต้อย่างเป็นทางการ ซุตเตอร์ทำงานให้กับรัฐบาลที่ถูกมองว่าเป็นรัฐบาลที่สนับสนุนปาเลสไตน์มากที่สุดในยุโรป แต่พรรคร่วมรัฐบาลในเบลเยียมที่มีความซับซ้อนและมาจาก 7 พรรค ก็ยังไม่ได้แสดงออกสนับสนุนตามที่ซุตเตอร์ต้องการ แต่มีการบริจาคเงินให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) 5 ล้านยูโร เพื่อสนับสนุนการสืบสวนอาชญากรรมสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการสู้รบของอิสราเอลกับฮามาส</p>
<p>ในไอร์แลนด์ นายกรัฐมนตรี เลโอ วารัดการ์ ทำงานในรัฐบาลที่เป็นหนึ่งในรัฐบาลที่สนับสนุนการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์มากที่สุด แต่ก็บอกว่าไอร์แลนด์จะไม่ร่วมในการฟ้องร้องถึงแม้ว่ากลุ่มส.ส.ในไอร์แลนด์จะกดดันเขาก็ตาม วารัตการ์บอกว่าพวกเขาต้อง "ระมัดระวังอย่างมาก" ในเรื่องนี้ โดยอ้างถึงเหตุการณ์ที่ฮามาสใช้กำลังบุกเข้าไปสังหารประชาชนราว 1,400 คนที่อิสราเอล วารัตการ์มองว่าคนเหล่านี้ถูกสังหาร "เพราะเป็นชาวยิว เพราะอาศัยในอิสราเอล" และตั้งคำถามว่า "เรื่องนี้ไม่นับว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรอกหรือ"</p>
<p>สเปนที่เป็นประเทศที่วิพากษ์วิจารณ์อิสราเอลอย่างเปิดเผยในกรณีสงครามกาซ่า ก็สงวนท่าทีในเรื่องนี้เช่นกัน ถึงแม้ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 250 ราย ได้ทำการเข้าชื่อเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนการฟ้องร้องของแอฟริกาใต้</p>
<p>ฟิลิปเปอ แดม ผู้อำนวยการสาขายุโรปด้านการรณรงค์ขององค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว้า รัฐบาลอียูควรจะให้การสนับสนุนการฟ้องร้องและกระบวนการทางกฎหมายในคดีนี้ และใช้มาตรการเพื่อบีบให้อิสราเอลทำตามคำสั่งศาล ซึ่งจะเป็นโอกาสที่อียูจะสามารถ "ย้ำจุดยืนในเรื่องข้อผูกมัดทางด้านความยุติธรรมและภาระความรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง" ในบริบทของความขัดแย้งในกาซ่า</p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong>
Why South Africa Has Taken Israel to the World Court, VOA, 10-01-2024
Why is the EU mostly silent on South Africa's genocide case against Israel?, Euronews, 12-01-2024
Israel Hamas war: In a first, the European Parliament calls for a 'permanent ceasefire', Euronews, 19-01-2024</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107706
 
2789  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "น้องไบรท์" ร้องเพลงเบิร์ธเดย์ "โต๋" อายุ 40 กระซิบหวานข้างหูถึงขอบเตียง เมื่อ: 21 มกราคม 2567 04:00:55
"น้องไบรท์" ร้องเพลงเบิร์ธเดย์ "โต๋" อายุ 40 กระซิบหวานข้างหูถึงขอบเตียง
         


&quot;น้องไบรท์&quot; ร้องเพลงเบิร์ธเดย์ &quot;โต๋&quot; อายุ 40 กระซิบหวานข้างหูถึงขอบเตียง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;"น้องไบรท์" ร้องเพลงเบิร์ธเดย์วันเกิด "โต๋ ศักดิ์สิทธิ์" อายุครบ 40 ปี กระซิบหวานข้างหูถึงขอบเตียง
         

https://www.sanook.com/news/9188418/
         
2790  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - “ณัฐชา” ไม่เห็นด้วย แก้กฎหมายคุ้มครองเด็ก ลดอายุรับโทษ แนะให้ดูเป็นรายคดี เมื่อ: 21 มกราคม 2567 02:59:30
“ณัฐชา” ไม่เห็นด้วย แก้กฎหมายคุ้มครองเด็ก ลดอายุรับโทษ แนะให้ดูเป็นรายคดี
         


“ณัฐชา” ไม่เห็นด้วย แก้กฎหมายคุ้มครองเด็ก ลดอายุรับโทษ แนะให้ดูเป็นรายคดี" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;
         

https://www.sanook.com/news/9188238/
         
2791  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เวที 'สรุปทิศทางประมงไทยในบริบทการค้าระหว่างประเทศ' แนะปรับปรุงกฎหมายและค เมื่อ: 21 มกราคม 2567 02:57:36
เวที 'สรุปทิศทางประมงไทยในบริบทการค้าระหว่างประเทศ' แนะปรับปรุงกฎหมายและความร่วมมือกัน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-01-20 14:55</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เวทีเสวนา 'สรุปทิศทางประมงไทยในบริบทการค้าระหว่างประเทศ : ข้อพิจารณาเรื่องสิทธิแรงงาน สิ่งแวดล้อม และมาตรฐานตลาดการค้าอาหารทะเล' เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎหมายและความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง - ผอ.EJF หวั่น ‘รัฐบาลเศรษฐา’ แก้ กม.ประมงทำสิทธิมนุษยชนถอยหลัง กระทบส่งออก 1.72 แสนล้านบาท - นายกสมาคมฯ ทูน่าไทย ชี้ประมงไทยไม่ยั่งยืนเพราะ “สกปรก-เสี่ยงสูง-งานยาก/งานหนัก” ถ้ารัฐไม่ส่งเสริมทุกส่วนจะถูกกีดกันทางการค้าโลก - นักวิชาการ มธ. แนะรัฐบาลสร้างมาตรฐานประมงยั่งยืน-สางปัญหา IUU ทำสินค้าให้ได้มาตรฐานยุโรปใส่ใจกระบวนการผลิตแข่งขันได้ทั่วโลก</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53475389074_8376b211c9_o_d.jpg" /></p>
<p>มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา แจ้งข่าวว่าเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2567 ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) เครือข่ายภาคประชาสังคม ประกอบด้วย มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (EJF) เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) และ Solidarity Center (SC) ได้จัดงานแถลงข่าวและเสวนาสรุปทิศทางประมงไทย ในบริบทการค้าระหว่างประเทศ : ข้อพิจารณาเรื่องสิทธิแรงงาน สิ่งแวดล้อม และมาตรฐานตลาดการค้าอาหารทะเล เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎหมายและความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนติดตามสถานการณ์กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานประมงและข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA)ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย โดยมีตัวแทนเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน นักวิชาการ ภาคธุรกิจ และผู้ที่สนใจเข้าร่วม</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ผอ.EJF หวั่น ‘รัฐบาลเศรษฐา’ แก้ กม.ประมงทำสิทธิมนุษยชนถอยหลัง กระทบส่งออก 1.72 แสนล้านบาท </span></h2>
<p>ดอมินิก ทอมสัน ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม(EJF) กล่าวถึงสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านการบริหารจัดการประมงไทย ภายใต้รัฐบาลนำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งภาคประชาชาสังคมมีข้อกังวลและข้อเสนอแนะในประเด็นนี้ว่า หลังจากหลายปีที่ประเทศไทยได้สร้างความอื้อฉาวในระดับนานาชาติในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน แรงงานบังคับ (Forced Labour) และแรงงานเด็ก (child labor) ก็มีการปฏิรูประบบอุตสาหกรรมประมง และได้ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้านการทำประมงและส่งออกอาหารทะเลที่ยั่งยืน ถูกกฎหมาย และเป็นธรรม มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในขณะนี้ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางและแนวทางจัดการอุตสาหกรรมประมงที่ถอยหลังกลับ ซึ่งจะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสิทธิมนุษยชนและชื่อเสียงของประเทศไทยต่อประชาคมโลก และจะสร้างผลกระทบต่อความพยายามของรัฐบาลใหม่ในการดึงดูดการลงทุนระหว่างประเทศใหม่</p>
<p>ดอมินิก กล่าวต่อว่า การผ่อนปรนมาตรการทางกฎหมายอาจเป็นตัวทำลายมาตรการทางการประมงและการส่งออกอาหารทะเลในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งตัวเลขประมาณการส่งออก ปี พ.ศ. 2564 มีมูลค่า 1.72 แสนล้านบาท การย้อนกลับไปดูพันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศไทยในเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับของอาหารทะเลจะทำให้ประเทศผู้ซื้ออาหารทะเลจำนวนมากอาจทบทวนการจัดซื้ออาหารทะเลจากประเทศไทยต่อไป แนวทางการรับมือนั้นจะต้องมีความชัดเจน มีความโปร่งใส แนวทางการปฏิบัติควรได้รับการพัฒนามากกว่าการผ่อนปรน สิ่งนี้จะทำให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลในประเทศไทยเจริญรุ่งเรือง ที่แรงงานสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย และมีส่วนช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไปที่เข้ามาในอุตสาหกรรมนี้</p>
<p>“ประชากรของปลามีจำนวนน้อยลงมากในปัจจุบัน การลดต้นทุนในการทำอุตสาหกรรมประมงที่ทำได้ตอนนี้ คือ การลดต้นทุนด้านแรงงาน ซึ่งจะเสี่ยงต่อเรื่องการค้ามนุษย์ การใช้งานแรงงานเยี่ยงทาส วงจรการจับปลากำลังไปสู่จุดจบของอุตสาหกรรมมากเรื่อยๆ บริบทไทยก่อน ปี 2015 เราไม่รู้มีเรือเท่าไหร่ มีเครื่องหมายประจำเรืออย่างไรบ้าง ไม่มีการถ่วงสมดุล การล่วงล้ำจับปลา กฎหมายประมงออกแบบมานานแล้ว และไม่มีการลงโทษที่เหมาะสม การโอนย้ายเราไม่รู้เลย ไม่มีใครตรวจสอบถ่วงดุลได้ การตรวจสอบท่าเรือไม่สามารถททำได้เพียงพอ ไม่สัญญาณเตือน ผลคือจำนวนปลาลดลงอย่างมาก” ดอมินิก กล่าว</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ฮิวแมนไรท์วอทช์ฯ กังวล หากคลายกฎทำประมงจะเปิดประตูค้ามนุษย์ </span></h2>
<p>ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผอ.ฮิวแมนไรท์วอทช์ ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า หากรัฐบาลไทยมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบข้อบังคับในการทำประมง คนที่เสียประโยชน์คือลูกเรือ โดยเฉพาะการแก้ไขในเรื่องระบบติดตามตรวจสอบเรือ เป็นระบบใหม่ที่ให้ออกเรือนานมากกว่า 30 วัน มีเรือออกไปรับปลาและเปลี่ยนถ่ายลูกเรือกลางทะเลได้ ซึ่งจะเป็นการเปิดประตูให้มีการค้ามนุษย์เกิดขึ้น และที่สำคัญจะทำให้เกิดการทำประมงที่ผิดกฎหมายเกิดขึ้นด้วย </p>
<p>“อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่าสมาคมประมงเป็นเด็กดื้อ ไม่ค่อยเชื่อฟังกฎหมายและไม่เชื่อฟังรัฐบาล คิดว่าอยู่ในทะเลจะทำอย่างไรก็ได้ตามความพอใจ จึงเห็นว่าไม่เหมาะที่จะให้สมาคมประมงกำหนดว่าอะไรเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยควรทำหรือไม่ควรทำ แนวโน้มคือเขาพยายามเสนอให้รัฐบาลชุดนี้เปิดเสรีอุตสาหกรรมประมง ยกเลิกการปกป้องสิทธิของลูกเรือ ซึ่งจะสร้างปัญหาเรื่องการทำประมงผิดกฎหมายตามมา ที่ผ่านมาสมาคมประมงไม่เคยยอมรับการปฏิรูปและไม่ยอมรับว่ามีการค้ามนุษย์เกิดขึ้นจริง ประเด็นเหล่านี้จะเป็นเรื่องที่ทำลายความสามารถของรัฐบาลไทยและเศรษฐกิจไทยในการส่งอาหารทะเลออกไปข้างนอก เพราะหากยกเลิกกฎระเบียบต่างๆ ในการปกป้องลูกเรือก็จะมีปฏิกิริยาจากต่างประเทศว่ารัฐบาลไทย เรือประมงไทย กลับมาใช้แรงงานการค้ามนุษย์แล้ว” ฟิล กล่าว </p>
<h2><span style="color:#3498db;">ประมงพื้นบ้านฯ ย้ำ ถ้าจะแก้ กม. ต้องสร้างความเท่าเทียมการเข้าถึงทรัพยากร -ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ -ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นหลัง</span></h2>
<p>ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมากลุ่มประมงพื้นบ้านไม่มีตัวตน และกำลังจะถูกลดความสำคัญอย่างน่าตกใจ พูดไม่ได้พูดจากความรู้สึกหรือความนึกคิดของตนคนเดียว แต่เป็นการรวบรวมความคิดเห็นของสมัชชา 66 องค์กรที่เป็นเครือข่ายประมงพื้นบ้านในนามสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เราได้สัมผัสในทุกเวทีการยกร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประมง พ.ศ. 2558 ที่จะเป็นกฎหมายฉบับใหม่ โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองทั้งหมด 6 พรรคเขียนร่างกฎหมายขึ้นมา โดยร่าง พ.ร.บ.ของพรรคเพื่อไทยได้เป็นฉบับเปรียบเทียบกับ พ.ร.ก. การประมง พ.ศ.2558 และฉบับแก้ไข 2560 ถ้าเราไปดูจุดมุ่งหมาย พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 ในมาตรา 4 (2) ได้ให้ความสำคัญกับประมงพื้นบ้าน หมายถึงพยายามที่จะสนับสนุนการประมงพื้นบ้าน องค์กรประมงท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนและยกความสำคัญของประมงพื้นบ้าน แต่พอเราไปดูร่าง พ.ร.บ.ของพรรคการเมืองทั้ง 6 พรรค โดยเฉพาะฉบับของพรรคเพื่อไทยเรากลับเห็นว่าในมาตรา 4 (2) มีการขีดทิ้ง แล้วพยายามที่จะไปส่งเสริมการประมงทุกประเภทที่ถูกกฎหมายทุกวิถีทางทุกรูปแบบ ซึ่งการซ่อนคำแบบนี้ไว้นั้นน่าตกใจ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าประมงพื้นบ้านกำลังจะไม่มีตัวตนในร่าง พ.ร.บ.ทุกฉบับที่กำลังจะแก้</p>
<p>“ประมงพื้นบ้านกำลังจะหมดตัวตน ความน่าเจ็บปวดของ พ.ร.ก.การประมง 2558 ...แต่วันนี้คณะกรรมการนโยบายเรื่องสัตว์น้ำในทะเลออกมาแบ่งให้ใช้ระบบสัดส่วนประมงโควต้า ปรากฎว่าประเทศไทยมีเรืออยู่ 60,000 ลำ เป็นประมงพานิชย์ 10,000 ลำ ได้สัดส่วนไป 80% ถ้าตามบันทึกในแต่ละปีได้ 1.2 ล้านตัน เรือประมงพื้นบ้านมีอยู่ 50,000 ลำ ได้สัดส่วนการจัดสัตว์น้ำ โควต้า 20% คิดเป็นสัดส่วนได้แค่ 2.8 ล้านตัน..นี่คือความจนจากการบริหารที่ยังไม่ทั่วถึง”</p>
<p>ปิยะ กล่าวต่อว่า วันนี้ถ้าจะแก้กฎหมายต้องเน้น 4 เรื่อง 1.ทะเลคือพื้นที่สาธารณะ ต้องสร้างความตระหนักว่าใครก็ตามที่ใช้พื้นที่สาธารณะประกอบอาชีพต้องผ่านกฎกติกาที่เป็นธรรมและเท่าเทียม 2.สร้างกติกากฎหมายที่เปิดโอกาสให้คนทุกคนทุกกลุ่มมีความเท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เรื่องแรงงานต่างชาติ 3.ความมั่นคงทางอาหารต้องมีในกฎหมาย ต้องมองว่าประมงไม่ใช่แค่อาชีพ วันนี้ทะเลทั่วโลกมันคือทะเลเดียวกันทั้งโลก เป็นแหล่งโปรตีนที่ใหญ่ที่สุด สะอาดที่สุด 4.ส่งต่อความยั่งยืนให้คนรุ่นหลัง การรักษาสัตว์น้ำ การรักษาแหล่งธรรมชาติให้รุ่นลูกรุ่นหลาน </p>
<p>“วิถีของประมงพื้นบ้านและพาณิชย์มันมีวิถีเดียวกันคือการจับสัตว์น้ำเพื่อเอาไปชาย แต่วิธีการจับมันไม่เหมือนกัน ความยั่งยืนคือการต้องไม่ทำลายพื้นที่อาศัยของสัตว์น้ำ เช่น กัลปังหา ปะการังเทียม ฯลฯ และต้องไม่ทำลายระบบพึ่งพาสัตว์น้ำ สัตว์ตัวใหญ่กินสัตว์น้ำตัวเล็ก สัตว์น้ำตัวเล็กกินแพลงตอน มันต้องเป็นระบบห่วงโซ่ เราต้องไม่ทำลายความยั่งยืนความมั่นคงอาหาร” ปิยะ กล่าว </p>
<h2><span style="color:#3498db;">นายกสมาคมฯ ทูน่าไทย ชี้ประมงไทยไม่ยั่งยืนเพราะ “สกปรก-เสี่ยงสูง-งานยาก/งานหนัก” ถ้ารัฐไม่ส่งเสริมทุกส่วนจะถูกกีดกันทางการค้าโลก</span></h2>
<p>ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย กล่าวถึงผลกระทบของการทำประมง ที่ไม่ยั่งยืนและละเมิดสิทธิแรงงานประมงในอดีตว่า ปัญหานี้ได้สร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศ เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ ไม่มีระบบการจ้างงานและสภาพแวดล้อม การทำงานที่ดี ไม่มีสวัสดิการขั้นพื้นฐานรองรับ ทั้งนี้การทำประมงที่ไม่ยั่งยืน ส่งผลทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง ไม่เพียงพอต่อการบริโภค อีกทั้งประชาชนเข้าถึงสัตว์น้ำคุณภาพได้ยากขึ้น เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยแรงงานเห็นว่าเป็นงานด้านประมงเป็นงาน 3D คือ งานสกปรก (Dirty) งานเสี่ยงสูงหรืออันตราย (Danger) และงานยากหรืองานหนัก (Difficult) และเสี่ยงต่อแรงงานบังคับ ค้ามนุษย์ ทั้งนี้ภาครัฐ หลายหน่วยงาน ต้องออกมาตรการทุ่มเททรัพยากรกำลังคนและระดมค่าใช้จ่ายเพื่อแก้ไขสถานการณ์เหล่านี้ </p>
<p>“มีบางอย่างไม่เป็นธรรมจริงๆ ผมเชื่อว่าการแก้กฎหมายไม่ได้จะกลับไปก่อนปี 2015 เพราะโรงงานต่างๆและเรือปรับปรุงไปไกลแล้ว ดังนั้น การถอยหลังเป็นไปไม่ได้ เพราะอุตสาหกรรมเขาก็อยู่ไม่ได้ ถ้าทำผิดกฎหมาย หลักสากล ก็ไม่มีคนซื้อ ประมงพาณิชย์ โดนกดมานานแล้ว ประมงพาณิชย์ ควรได้รับการดูแลปรับปรุง ตลาดเรามี เราเปลี่ยนแปลงเรือขนไทย capacity building ขอให้มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน จัดประชุมผู้ได้เสียทุกส่วน หาจุดร่วมที่ดีที่สุด เรายังมีศักยภาพ ที่จะ TOP 3 ในงานประมงที่ดูแลสิ่งแวดล้อม และปกป้องสิทธิแรงงาน” ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์</p>
<p>ดร.ชนินทร์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างการเจรจา FTA กับคู่ค้าสำคัญ อาทิ EU ที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการเจรจาปัจจุบันไม่ได้หารือประเด็นการลดภาษีอย่างเดียว ยังมีประเด็น เช่น แรงงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะกลายเป็นข้อกีดกันทางการค้า หากไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนดไว้ ดังนั้นอุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัว และปฏิบัติตามกฎระเบียบสากล อย่างไรก็ตามในเรื่องการผ่อนคลายมาตรการทำประมง เช่น การห้ามขนถ่ายสัตว์น้ำและลูกเรือกลางทะเล เรื่องแรงงานอายุขั้นต่ำ 18 ปี หรือการปรับปรุงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต้องพิจารณาให้รอบด้าน เพราะอาจส่งผลให้เกิดความไม่โปร่งใสในการทำประมง อาจมีการทำประมง IUU รวมถึงการค้ามนุษย์บนเรือประมง ที่จะส่งผลกระทบในการเจรจาทางการค้าและ การปฏิบัติตามกฎระเบียบคู่ค้า โดยเฉพาะ EU และสหรัฐอเมริกา หากเป็นเช่นนี้ไทยก็ไม่สามารถส่งสินค้าประมงไปยังกลุ่มประเทศที่มีความกังวลในเหล่านี้ได้ รวมถึงต้องคำนึงในเรื่องการทำตามอนุสัญญาฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง ปี 2007 ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่ไทยได้รับไว้เมื่อปี 2562 ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมประเทศ และความสามารถในการแข่งขันของไทยในฐานะผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อส่งออกสำคัญของโลก</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ปลอดประสพ โต้ ‘ประเทศไทยไร้แรงงานบังคับ’ นายกสมาคมประมงฯ ยัน กม.ตั้งแต่ ม.44 ต้องปฏิรูปเพื่อให้สินค้าประมงไทยตีขึ้นในตลาดโลก </span></h2>
<p>ปลอดประสพ สุรัสวดี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประเด็นกังวลจากภาคประชาสังคม ที่พูดถึงว่า การแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้จะทำให้สถานการณ์แย่ลง ตนมองว่าไม่มีทางที่จะแย่ลงและต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น กฎหมายที่ออกในช่วงรัฐบาลคณะรักษาความสงบในประเทศไทย (คสช.) เป็นกฎหมายที่ไม่ได้มีการฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน มีลักษณะเป็นเผด็จการ กฎหมายฉบับนี้สร้างผลกระทบต่อประมงพาณิชย์ อย่างมาก การที่ภาคประชาสังคมตั้งธงว่าจะถอยหลัง การยกประเด็นเรื่องเรือประมงนอกน่านน้ำ การขนถ่ายทางทะลนั้น ไม่สามารถทำได้มา 6-7 ปีแล้วในประเทศไทย บริบทสถานการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนจากอดีตไปอย่างมากจึงมองว่าควรที่จะนำบทเรียนเดิมมาเรียนรู้และแก้ปัญหาให้ประมงพาณิชย์สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่เสียดุลการค้าระหว่างประเทศอย่างทุกวันนี้ ในส่วนเรื่องของแรงงานนั้นมองว่าการแก้กฎหมายที่จะเกิดขึ้นในส่วนที่ดีพัฒนาขึ้นด้านแรงงานไม่ได้ไปแตะต้อง แต่จะเป็นเรื่องของกฎหมายที่สร้างข้อจำกัดเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมให้ประมงพาณิชย์ปลดล็อคบางเรื่องพัฒนาอุตสาหกรรมประมงให้กลับมาส่งออกอันดับต้นต้นของโลก </p>
<p>“กฎหมายอะไรก็ตามที่เกิดจากช่วงเผด็จการที่ใช้ ม.44 เราจะต้องนำกลับมาทบทวนทั้งหมดทุกอันไม่มียกเว้นเพราะเราเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่เรากำลังปรับปรุงขณะนี้คือการ Reform เราไม่ได้กลับหลังเราจะเดินไปข้างหน้าที่ดีกว่าเดิม... Forced Labour ไม่มีในประเทศไทย ทาสเราหมดไปตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ก่อนการเลิกทาสในอเมริกาอีก แต่มีคนทำผิดจริงต้องเอามันมาลงโทษ เพราะคนไม่ใช่สัตว์...” ปลอดประสพ กล่าว</p>
<p>มงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอบคุณทางหน่วยงาน ที่จัดโอกาสที่ดีที่มีสมาคมฯ มาชี้แจง ประเด็นที่ห่วงใยคือสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา สมาคมฯไม่มีโอกาสสื่อสาร หลายครั้งมองว่าองค์กรต่างประเทศนั้นได้ข้อมูลด้านเดียวทำให้เกิดปัญหาทัศนคติที่เป็นลบในอาชีพประมงไทย ทางสมาคมฯ เสนอการแก้กฎหมายประมง เพราะมองว่าเราในฐานะชาวประมงถูกรัฐบาล ยึดอำนาจ คสช. และใช้อำนาจเผด็จจการแก้กำหมายประมง ในขณะนี้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีความหวังว่าผลกระทบจาก 7-8 ปีที่ผ่านมาจะต้องได้รับการแก้ไข ประมงในประเทศไทยเสียดุลการค้าจากการนำเข้าสินค้าประมงที่มีสัดส่วนพอกับการส่งออก เราต้องเร่งแก้ทั้งเรื่องค่าปรับ การบังคับใช้กฎหมายจากการออกกฎหมายในช่วง ม.44 ที่ทำให้ประมงพาณิชย์ไม่สามารถส่งเสริมการดำเนินธุรกิจประมงได้ดีขึ้น โดยเฉพาะปัญหาประมงที่สำคัญคือความเข้มงวดของกฎหมายและการเปรียบเทียบปรับ การขนถ่ายสินค้าทางทะเล</p>
<p>“ท่านกังวลว่าจะกังวลเรื่องแรงงาน เราไม่ได้แตะอะไรเลย สิ่งที่เราแตะเราอยากได้แรงงานถูกกฎหมายโดยง่าย ต้นทางของมัน คือ ราชการกำหนดเงื่อนไข ทำให้ได้แรงงานมาทำงานประมงที่ยุ่งยาก เราพยายามทำให้แรงงานประกอบอาชีพได้ง่าย ค่าจ้างจ่ายผ่านบัญชี และเงินสด เราใช้ได้หมด ท่านไปถามแรงงานจริงๆก่อนว่าเขาต้องการอะไร เรามีวิธีการที่จะแก้ไขให้ท่านเชื่อมั่นได้ NGOs ทำงานกับสมาคมฯได้ เราทำงานเปิดเผย โปร่งใส เราไม่ได้หลบเลื่องที่จะแก้ปัญหา” มงคล กล่าว </p>
<p>“สิ่งที่รัฐบาลในอดีตทำคือทำลายอาชีพประมงที่ถูกกฎหมาย กม.ประมงถูกยึดให้ทำประมงได้แค่ 8 เดือน แต่เขียนบังคับให้จ่ายค่าจ้าง 1 ปี เรือถูกกฎหมายที่มีอยู่ 8-9 พันลำที่ขาดทุนทุกวันนี้ เพราะต้นทุนที่ออกไปค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกัน...ผมยืนยันว่าเรือประมงผิดกฎหมายมันสูญพันธุ์ไปแล้ว และการแก้ไขเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เราจะมาทำลายประมงพื้นบ้าน”มงคล กล่าว</p>
<h2><span style="color:#3498db;">นักวิชาการ มธ. แนะรัฐบาลสร้างมาตรฐานประมงยั่งยืน-สางปัญหา IUU ทำสินค้าให้ได้มาตรฐานยุโรปใส่ใจกระบวนการผลิตแข่งขันได้ทั่วโลก</span></h2>
<p>จารุประภา รักพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ขณะนี้ ประเทศไทยในเรื่องเขตการค้าเสรี (FTA) ในสหภาพยุโรป (EU) กำลังอยู่ในช่วงเจรจากำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งเท่าที่ทราบเรื่องการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) จะเป็นกรอบแรกที่จะดำเนินการเจรจา คาดว่าตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปจะมีการลงรายละเอียดว่าจะมีการหารือกันในเรื่องใดบ้าง ทั้งนี้ในมุมมองของ EU ในเรื่องของมาตรฐานสินค้าและความปลอดภัยทางอาหารที่ส่งออกจากประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ได้ค่อนข้างประสบความสำเร็จ และ EU ไม่ได้มองจุดนี้แล้วแต่มองไปที่มาตรฐานที่ควรคาดหวังอื่นๆ EU รับสินค้าจากไทยไม่เกิน 3 % ของมูลค่าสินค้านำเข้าจากทั่วโลก แต่เป็นผู้ซื้อรายใหญ่ของโลก ฉะนั้น EU จึงเน้นไปที่มาตรฐานเรื่องการประมงอย่างยั่งยืน และ มีความเกี่ยวข้องกับ IUU ทั้งประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งกระบวนการในภาคอุตสาหกรรมประมง ตลาดยุโรปจึงเป็นตัวชี้วัดสำคัญ ถ้าเราทำตามมาตรฐานยุโรปได้แปลว่าเราส่งสินค้าไปที่ไหนในโลกก็ได้ เพราะประเทศอื่นมีการเทียบมาตรฐานตัวเองกับมาตรฐานยุโรปเช่นเดียวกัน ยุโรปเป็นตลาดใหญ่ แม้จะไม่ได้มีมูลค่าเยอะที่สุด แต่เป็นตลาดที่มีคุณภาพ และสินค้าของเราที่ไปยุโรป เป็นสินค้าที่เราสร้างมูลเพิ่มได้มาก กระบวนการผลิตเกิดขึ้นประเทศไทยมากขึ้น เรามีการจ้างแรงงานจำนวนมาก และได้กำไรจากสิ่งนี้มาก</p>
<p>“ถ้าเราแข่งกันเฉพาะในเรื่องของสินค้าราคาถูก มันก็จะต้องถูกแซงเข้าสักวัน เราจึงต้องไปเคลื่อนในเรื่องคุณภาพ ถ้าเรามองว่าตลาดยุโรปสำคัญลูกค้าแคร์ในเรื่องกระบวนการผลิตและวิธีการผลิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่แค่สินค้า ใหญ่ ดี สด แต่เป็นเรื่องของกระบวนการผลิตและวิธีการผลิตได้มาตรฐานของประเทศปลายทางแล้วหรือไม่ ซึ่งแสดงออกด้วยตราสัญลักษณ์ ตรามาตรฐาน หรือแม้ไม่ได้แสดงตราแต่ตอนที่ตอนที่ประเทศไทยได้ใบเหลืองใน IUU ยอดสินค้า ตกทันที ดังนั้นมันจึงต้องมีการปรับเพื่อทันตามกระแสโลก” จารุประภา กล่าว </p>
<p>จารุประภา ทิ้งท้ายว่า รัฐบาลต้องหาจุดสมดุลในเรื่องนี้ให้ดี เพราะถ้าสร้างสมดุลได้ไม่ดี มันจะมีผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ และถูกทิ้งไว้ข้างหลัง รัฐจึงต้องเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ เราจึงต้องแข่งในเรื่องคุณภาพ เอาเทคโนโลยี มาช่วย และความรู้ที่มีมาเป็นการลดต้นทุน ต้องเคลื่อนไปอย่างนี้เพื่อให้โตอย่างยั่งยืน และเป็นเจ้าในการผลิตสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป ขณะที่เรื่องแรงงานนั้นปัจจุบันเป็นประเด็นที่สำคัญมาก การมีมุมมองเรื่องแรงงานข้ามชาติมีความจำเป็นและควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพสำคัญ เพราะมีความจำเป็นในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมประมงไทย ถ้าขาดแรงงานข้ามชาติก็เหมือนไทยขาดฟันเฟือง เพราะบางอย่างเป็นงานที่ต้องใช้คน ไม่สามารถใช้เครื่องจักรได้ แรงงานข้ามชาติจึงเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain เป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องพัฒนาไปด้วยกัน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107707
 
2792  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กสม. ชี้ 'คดีฆาตกรรมป้าบัวผัน' ขัดต่อหลักสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เมื่อ: 21 มกราคม 2567 01:26:33
กสม. ชี้ 'คดีฆาตกรรมป้าบัวผัน' ขัดต่อหลักสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-01-20 15:12</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กสม. ชี้ 'คดีฆาตกรรมป้าบัวผัน' ขัดต่อหลักสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เตรียมส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเอาผิดเจ้าหน้าที่ และเยียวยาผู้เสียหาย</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53474191197_43ee075c45_o_d.jpg" /></p>
<p>20 ม.ค. 2567 ตามที่ปรากฏข่าวกรณีเด็กและเยาวชน 5 คน ก่อเหตุทำร้ายร่างกายและฆ่านางสาวบัวผัน ตันสุ หรือ “ป้าบัวผัน” และนำศพไปทิ้งบ่อน้ำเพื่ออำพรางคดี เหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 ในท้องที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอรัญประเทศได้นำตัวนายปัญญา คงคำแสน หรือ “ลุงเปี๊ยก” ซึ่งเป็นสามีมาสอบสวนและให้การรับสารภาพว่าเป็นผู้ก่อเหตุ ซึ่งต่อมาปรากฏหลักฐานว่าสามีผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่กระทำทรมานและบังคับข่มขู่เพื่อให้รับสารภาพ รวมถึงให้นำชี้จุดเกิดเหตุ</p>
<p>คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ติดตามข่าวเหตุการณ์ข้างต้นมาอย่างต่อเนื่อง และเห็นว่า การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอรัญประเทศ ไม่เป็นไปตามหลักสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้ต้องหาหรือจำเลย รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนหลายประการ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 4 วางหลักไว้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับการคุ้มครอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน และมาตรา 27 ระบุว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม หรือเหตุอื่นใดจะกระทำไม่ได้ แต่กรณีที่เกิดขึ้น เห็นได้ชัดว่า “ป้าบัวผัน” และ “ลุงเปี๊ยก” ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายตามที่ควรจะเป็น และได้รับการปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม มีความพยายามช่วยเหลือผู้ก่อเหตุ และสร้างสถานการณ์ให้ “ลุงเปี๊ยก” ตกเป็น “แพะ” หรือจำเลยแทนอย่างเลวร้าย</p>
<p>การนำ “ลุงเปี๊ยก” ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพก็ขัดกับหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ (presumption of innocence) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ข้อ 14 ที่ว่า “ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้” หลักการเช่นว่านี้ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่คุ้มครองบุคคลที่ถูกกล่าวหาจะต้องไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นผู้กระทำความผิดจนกว่าจะได้มีการพิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัย</p>
<p>ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 และกติกา ICCPR ข้อ 14 ได้วางหลักไว้ว่า รัฐพึงให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จำเป็นและเหมาะสม โดยจัดหาทนายความให้แก่ผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และผู้ต้องหานั้นต้องได้รับแจ้งข้อกล่าวหาโดยพลันด้วย ด้วยเหตุนี้ การดำเนินคดีใด ๆ ต่อผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งสอดคล้องกับกติกา ICCPR และต้องแจ้งให้บุคคลนั้นได้รับทราบว่าตนมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือด้านกฎหมาย มีสิทธิปรึกษาหารือกับทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจ ทั้งนี้ หากเจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาและแจ้งสิทธิให้แก่ผู้ต้องหา ย่อมเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิ
ในกระบวนการยุติธรรมด้วย</p>
<p>นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงสิทธิของบุคคลที่จะไม่ถูกทรมานหรือการประติบัติหรือการลงโทษที่ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี กสม. เห็นว่า การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัว “ลุงเปี๊ยก” ไปสอบสวนในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศแต่ให้ถอดเสื้อ นำถุงดำมาคลุมศีรษะ และบังคับข่มขู่เพื่อให้รับสารภาพ เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรงแก่ร่างกายหรือจิตใจ และเป็นการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อันเป็นเหตุให้ถูกลดทอนคุณค่าหรือละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานความเป็นมนุษย์ด้วย ซึ่งในการดำเนินคดีอาญา รัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำการทรมานเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือหรือคำรับสารภาพจากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้ การกระทำดังกล่าวจึงถือเป็นการละเมิดต่อสิทธิที่จะไม่ถูกทรมานฯ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่งหากผู้บังคับบัญชาทราบแต่ไม่ดำเนินการเพื่อระงับการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยตามกฎหมายนี้ และการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่บันทึกภาพและเสียงในการควบคุมตัวก็ถือว่ามิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ เช่นกัน</p>
<p>กสม. ขอเน้นย้ำว่า สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาหรือจำเลย รวมถึงประชาชนทุกคน รัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ต้องเคารพ คุ้มครอง และเติมเต็มเพื่อให้สิทธิต่าง ๆ เกิดขึ้น จากกรณีข้างต้น กสม. จะส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อนำคนผิดมาลงโทษ และเพื่อฟื้นฟูและเยียวยาด้านร่างกายและจิตใจให้แก่ผู้เสียหายตามหน้าที่และอำนาจต่อไป</p>
<p>ขณะเดียวกัน กสม. จะร่วมกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนในเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมชั้นต้นธารสำหรับทุกคน (Access to Justice for All) เพื่อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมถึงแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อไป</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107708
 
2793  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - พฐ.ตรวจอัตลักษณ์เหยื่อพลุระเบิด ครบ 23 ร่าง เร่งเยียวยาญาติ เมื่อ: 21 มกราคม 2567 01:10:53
พฐ.ตรวจอัตลักษณ์เหยื่อพลุระเบิด ครบ 23 ร่าง เร่งเยียวยาญาติ
         


พฐ.ตรวจอัตลักษณ์เหยื่อพลุระเบิด ครบ 23 ร่าง เร่งเยียวยาญาติ" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;พฐ.ตรวจอัตลักษณ์เหยื่อพลุระเบิด จ.สุพรรณบุรี ครบทั้ง 23 ร่าง เร่งเยียวยาญาติต่อไป
         

https://www.sanook.com/news/9188430/
         
2794  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ว่าด้วยเอกสารปรีดี | หมายเหตุประเพทไทย EP. 506 [Live] เมื่อ: 20 มกราคม 2567 23:48:39
ว่าด้วยเอกสารปรีดี | หมายเหตุประเพทไทย EP. 506 [Live]
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-01-20 21:30</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="415" src="https://www.youtube.com/embed/kGRLsiuhJTM?si=fyQ10Pu8xd1-V7Qw" title="YouTube video player" width="720"></iframe></p>
<p>หมายเหตุประเพทไทย [LIVE] สัปดาห์นี้ พูดถึงสถานะของเอกสารชุด “ปรีดี พนมยงค์” ที่หอคลังจดหมายเหตุกระทรวงการต่างประเทศ จากเอกสารในหอจดหมายเหตุ ได้ถูกให้ความหมายใหม่กลายเป็นตำนาน จดหมายลับ บันทึกลับ และมีมสูตรอาหารได้อย่างไร?</p>
<p>รับชมใน "หมายเหตุประเพทไทย EP. 506 : ว่าด้วยเอกสารปรีดี" วันอาทิตย์ที่ 21 ม.ค. 67 เวลา 18.00 น.</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53471732310_48ca8a9a6a_k.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107714
 
2795  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - สาวไปบ้านแฟนครั้งแรก ช็อกน้องชายคือ "แฟนเก่า" เผยเหตุผลที่เลิก ไม่ใช่เพราะหม เมื่อ: 20 มกราคม 2567 22:39:46
สาวไปบ้านแฟนครั้งแรก ช็อกน้องชายคือ "แฟนเก่า" เผยเหตุผลที่เลิก ไม่ใช่เพราะหมดรัก
         


สาวไปบ้านแฟนครั้งแรก ช็อกน้องชายคือ &quot;แฟนเก่า&quot; เผยเหตุผลที่เลิก ไม่ใช่เพราะหมดรัก" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ซีนแย่... สาวโดนโชคชะตาเล่นตลก แฟนขับรถมารับที่บ้าน ช็อกคนนั่งเบาะหลังคือ "รักแรก" ช็อกซ้ำ ที่แท้เขาเป็นพี่น้องกัน!!!


         

https://www.sanook.com/news/9188450/
         
2796  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'ทนายอั๋น' ยื่น กกต. เสนอศาล รธน. ยุบพรรค 'ภูมิใจไทย' เมื่อ: 20 มกราคม 2567 22:16:43
'ทนายอั๋น' ยื่น กกต. เสนอศาล รธน. ยุบพรรค 'ภูมิใจไทย'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-01-20 16:00</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'ทนายอั๋น' ยื่น กกต. เสนอศาล รธน. ยุบพรรค 'ภูมิใจไทย' ปม 'ศักดิ์สยาม' ถือหุ้นบุรีเจริญฯ  พร้อมเตรียมร้องดีเอสไอตรวจสอบเส้นทางการเงิน หจก.</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52567906992_1f112378df_o_d.jpg" /></p>
<p>สำนักข่าวไทย รายงานเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2567 ว่านายภัทรพงศ์ ศุภักษร หรือ ทนายอั๋น เข้ายื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เพื่อให้ตรวจสอบเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2566  จากกรณีนายศักดิ์สยาม  ยังคงไว้ซึ่งหุ้นส่วนและเป็นผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น และให้พิจารณาส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งยุบพรรคภูมิใจไทย  ตามบทบัญญัติของ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 90(2) และมาตรา 92(3)</p>
<p>นายภัทรพงศ์ กล่าวว่า จากกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการถือของหุ้นของนายศักดิ์สยาม อดีต สส.บัญชีรายชื่อ และอดีตเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย  โดยผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันประชาชนทุกคน  ไม่ใช่เฉพาะคู่ความ ตนเห็นว่ามีประเด็นที่ต้องมายื่นต่อ กกต.  เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีคำวินิจฉันเรื่องดังกล่าว ที่มีนัยสำคัญว่านายศักดิ์สยาม  มีหุ้นของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่นนั้น ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ นั่นหมายความว่านายศักดิ์สยามมีความเป็นเจ้าของของห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญฯ และในขณะที่นายศักดิ์สยามเป็นเจ้าของ หจก.ดังกล่าวอยู่นั้น   หจก.นี้ได้รับงานทำถนนสร้างถนนหลวงมูลค่าหลายพันล้านบาท   ซึ่งในขณะนั้นนายศักดิ์สยามมีความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  </p>
<p>จึงมีข้อสงสัยว่าเงินดังกล่าวอาจจะเป็นการได้งาน ได้เงินมาจากการฮั้วประมูลหรือไม่  ซึ่งงานและเงินที่ได้จากการฮั้วประมูลนั้น  ถือเป็นเงินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย   และเงินนี้เอาไปบริจาคให้พรรคภูมิใจไทย  อีกทั้งพรรคเองก็รับเอาเงินบริจาคที่ถือเป็นเงินไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ  จึงอาจจะขัดต่อมาตรา 72 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560</p>
<p>นายภัทรพงศ์ ยังกล่าวว่า ไม่ต้องห่วงในคดีหลัก ซึ่งเปิดช่องให้ยื่นตรวจสอบ และเร็วๆ นี้ตนจะเดินทางไปยื่นหนังสื่อต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้ตรวจสอบเส้นทางการเงิน ว่าเริ่มมาจากจุดไหน  โดยเริ่มจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ไปแตะข้อเท็จจริงเรื่องเงินของ  หจก.บุรีเจริญฯ อาจได้มาซึ่งการฮั้วประมูล  ซึ่งการฮั้วประมูลมีความผิดทางกฎหมายในทางอาญาที่มีโทษสูง “ตนอยากให้ตรวจสอบเงิน หจก.ดังกล่าว  ที่มีนายศักดิ์สยามเป็นเจ้าของตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ  ได้นำเงินไปแจกจ่ายถ่ายเทไปยัง สส.ของพรรคภูมิใจไทยคนไหนหรือไม่ด้วย ซึ่งไม่ห่วง ถ้าผิดจริงโทษอาญารออยู่อีก” นายภัทรพงศ์ กล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107710
 
2797  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - รัฐบาลเร่งชี้แจง หลังนักวิชาการโต้ข่าว พบแหล่งลิเทียมในไทย แต่ไม่ใช่อันดับ 3 ขอ เมื่อ: 20 มกราคม 2567 20:59:22
รัฐบาลเร่งชี้แจง หลังนักวิชาการโต้ข่าว พบแหล่งลิเทียมในไทย แต่ไม่ใช่อันดับ 3 ของโลก
         


รัฐบาลเร่งชี้แจง หลังนักวิชาการโต้ข่าว พบแหล่งลิเทียมในไทย แต่ไม่ใช่อันดับ 3 ของโลก" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;
         

https://www.sanook.com/news/9188254/
         
2798  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'ก้าวไกล' เสนอตั้ง กมธ.แก้ปัญหาค่ายผู้ลี้ภัยชายแดน ทำระบบช่วยไปประเทศที่ 3-ใ เมื่อ: 20 มกราคม 2567 20:46:24
'ก้าวไกล' เสนอตั้ง กมธ.แก้ปัญหาค่ายผู้ลี้ภัยชายแดน ทำระบบช่วยไปประเทศที่ 3-ให้สถานะผู้ที่อยู่ในไทย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-01-20 16:14</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: มานพ คีรีภูวดล (ที่มา: ทีมสื่อพรรคก้าวไกล)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'มานพ' สส.ก้าวไกล เสนอตั้ง กมธ.วิสามัญหาทางออกปัญหาผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในพื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่งตามตะเข็บชายแดน หวังหน่วยงานเกี่ยวข้องประสานความร่วมมือ ทำระบบส่งผู้ลี้ภัยไปประเทศที่ 3 อย่างโปร่งใส และให้สิทธิสถานะบางอย่างในไทย</p>
<p> </p>
<p>20 ม.ค. 2567 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล รายงานเมื่อวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีการพิจารณาญัตติขอให้สภาผู้แทนฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและหาแนวทางแก้ไขปัญหากรณีผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในพื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่ง ในประเทศไท และผู้หนีภัยจากการสู้รบตามแนวชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเสนอโดย มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) บัญชีรายชื่อ และ ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. กรุงเทพฯ เขต 2 พรรคก้าวไกล</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53474253962_55650a7be8_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">มานพ คีรีภูวดล</span></p>
<p>มานพ กล่าวว่า พรรคก้าวไกลห่วงใยกรณีผู้ลี้ภัยและหนีภัยสู้รบ ในกรณีประเทศเมียนมา พื้นที่พักพิงชั่วคราวในประเทศไทยเกิดขึ้นมานานกว่า 30 ปี เพื่อรองรับผู้หนีภัยจากการสู้รบ ปัจจุบันมีทั้งหมด 9 แห่งใน 4 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน 4 แห่ง ตาก 3 แห่ง ราชบุรี 1 แห่ง และกาญจนบุรี 1 แห่ง มีจำนวนประชากรมากกว่า 70,000 คน โดยประเทศไทยคาดหวังจะให้คนเหล่านี้เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศเพียงชั่วคราวและจะส่งกลับเมื่อสถานการณ์การสู้รบในเมียนมาดีขึ้น แต่ความจริงผ่านมา 30 ปี สถานการณ์ยังไม่มีทีท่าจะหยุดลง
.
การมีสถานะชั่วคราวของผู้คนในพื้นที่พักพิง เต็มไปด้วยปัญหาข้อจำกัดทางกฎหมาย ทั้งการถูกจำกัดให้อยู่แต่ในพื้นที่ ไม่สามารถเดินทางเข้าออกนอกพื้นที่พักพิงได้ ผู้คนจึงได้แต่รอคอยความช่วยเหลือ ไม่สามารถหารายได้มาหล่อเลี้ยงชีวิตและครอบครัว การเข้าถึงบริการสาธารณะ สิทธิขั้นพื้นฐานในการรักษาพยาบาลหรือการศึกษา แทบเป็นไปไม่ได้ บ้านเรือนยังไม่มีความมั่นคง เป็นเพียงไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยใบตองตึงและมีสภาพแออัด บ่อยครั้งเกิดเพลิงไหม้และไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว</p>
<p>ขณะที่สถานการณ์การสู้รบในประเทศเมียนมายังมีอย่างต่อเนื่องและยิ่งทวีความรุนแรงในวันที่ 1 ก.พ. 2564 เมื่อรัฐบาลทหารพม่าก่อรัฐประหาร ส่งผลให้เกิดสงครามกลางเมือง ผู้คนถูกสังหารจำนวนมาก หลายหมื่นคนหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านซึ่งรวมถึงไทย กลุ่มทหารชาติพันธุ์ได้ลุกขึ้นจับปืนต่อสู้กับทหารพม่าโดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดน ส่งผลให้จำนวนผู้หนีภัยจากเมียนมาทะลักเข้ามายังประเทศไทยจำนวนมาก</p>
<p>ด้วยปัญหาเดิมของผู้ลี้ภัยจากการสู้รบที่อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงทั้ง 9 แห่ง ยังไม่ได้รับการแก้ไขผู้คนยังคงเผชิญปัญหาขาดความมั่นคงในชีวิต โอกาสกลับบ้านแทบไม่มี โอกาสไปประเทศที่ 3 ก็เป็นไปอย่างจำกัด ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญปัญหาการเข้ามาของผู้คนที่หนีภัยสู้รบอย่างต่อเนื่องตราบใดที่เมียนมายังไม่มีความสงบ ดังนั้น มีความจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหา เป็นที่มาที่ตนเสนอญัตติดังกล่าว</p>
<p>มานพกล่าวต่อว่า สถานะของผู้คนในทั้ง 9 แคมป์ ยังไม่ถือว่าเป็นผู้ลี้ภัย หรือ Refugee ตามความหมายสากล รัฐจึงใช้คำว่าที่พักพิงชั่วคราว ที่เป็นเช่นนี้เพราะประเทศไทยยังไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ.1951 (พ.ศ. 2494)</p>
<p>แต่ปีนี้มีข่าวดี สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) มีนโยบายอพยพโยกย้ายผู้ลี้ภัยทั้ง 9 แคมป์ไปยังประเทศที่ 3 ดังนั้น มีความจำเป็นต้องใช้ กมธ.วิสามัญนี้พูดคุยถึงกระบวนการเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย ได้ประสานความร่วมมืออย่างเป็นระบบ</p>
<p>มานพ ระบุต่อว่า คำถามของตนคือจะทำอย่างไรให้ระบบการเข้าถึงสิทธิไปประเทศที่ 3 มีความโปร่งใส ตรงกับความต้องการของคนที่อยากไปจริงๆ รวมถึงต้องคิดว่ากลุ่มที่หลงเหลือไม่ได้ไป และกลับประเทศต้นทางไม่ได้ เราจะบริหารจัดการอย่างไร เช่น ทำให้พวกเขามีสถานะบางอย่างที่อาศัยในประเทศไทยได้ นี่เป็นเรื่องสำคัญที่ กมธ. ต้องช่วยกันหาทางออก ทั้งในแง่กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และในแง่ความเข้าใจความรู้สึกของสังคม</p>
<p>มานพ กล่าวด้วยว่า นอกจากกลุ่มผู้ลี้ภัยเดิม ยังมีกลุ่มผู้ลี้ภัยใหม่ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่หลบหนีเข้ามาตามชายแดน หรือเรียกว่า “ผู้หนีภัยความไม่สงบ” ประเทศไทยจะทำอย่างไรให้มีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับคนกลุ่มนี้ ไทยต้องแสดงบทบาทให้ชัดเจน 2. กลุ่มหนีภัยทางการเมือง ที่เข้าไปอยู่ในเมืองชั้นใน เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ หรือภูเก็ต ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชั้นกลาง มีการศึกษา มีทักษะ มีข้อมูลจากภาคประชาสังคมว่ากลุ่มนี้อาจมีประมาณ 30,000 คน แต่จากการสอบถามหน่วยราชการพบว่าไม่มีข้อมูล และไม่รู้จะบริหารจัดการอย่างไร และ 3. กลุ่มผู้ลี้ภัยทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากความไม่สงบในประเทศเมียนมา</p>
<p>"ถ้าเราไม่มีระบบฐานข้อมูลของคนกลุ่มนี้ พวกเขาต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ เรื่องนี้จะเป็นปัญหาอุปสรรคต่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้น ระเบียงมนุษยธรรมควรเกิดขึ้น สถานการณ์แบบนี้ประเทศไทยไม่สามารถหนีความรับผิดชอบได้" สส.พรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์ กล่าว</p>
<p>ทั้งนี้ หลังการอภิปรายของ สส. จากพรรคการเมืองต่างๆ ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบส่งเรื่องนี้ไปที่คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร โดยมีระยะเวลาในการพิจารณา 90 วัน
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107711
 
2799  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - สาวตะลึง ค้นอัลบัมเก่าๆ เจอแฟนหนุ่มโผล่ร่วมเฟรมหลายรูป ทั้งที่ตอนนั้นยังไม่รู เมื่อ: 20 มกราคม 2567 20:09:12
สาวตะลึง ค้นอัลบัมเก่าๆ เจอแฟนหนุ่มโผล่ร่วมเฟรมหลายรูป ทั้งที่ตอนนั้นยังไม่รู้จักกัน!
         


สาวตะลึง ค้นอัลบัมเก่าๆ เจอแฟนหนุ่มโผล่ร่วมเฟรมหลายรูป ทั้งที่ตอนนั้นยังไม่รู้จักกัน!" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;สาวเปิดอัลบัมเก่าๆ เจอแฟนหนุ่มโผล่ร่วมเฟรม แถมไม่ใช่แค่รูปเดียว ทั้งที่ตอนนั้นยังไม่รู้จักกัน ก่อนเฉลยเบื้องหลังไมใช่ความบังเอิญ แต่ตั้งใจล้วนๆ


         

https://www.sanook.com/news/9188446/
         
2800  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เผยเตรียมบรรจุกีฬา 'อีสปอร์ต' เข้าการแข่งขัน 'กีฬากองทัพไทย' เมื่อ: 20 มกราคม 2567 19:15:15
เผยเตรียมบรรจุกีฬา 'อีสปอร์ต' เข้าการแข่งขัน 'กีฬากองทัพไทย'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-01-20 16:22</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เผย 'สุทิน คลังแสง' รมว.กลาโหม สั่งนำ 'มวยไทย' และ 'อีสปอร์ต' บรรจุเข้าในการแข่งขัน 'กีฬากองทัพไทย' ปีนี้ ก่อนดันสู่สังเวียนโลก เพื่อส่งเสริมนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53474261617_657904673c_o_d.jpg" /></p>
<p>20 ม.ค. 2567 ทีมสื่อพรรคเพื่อไทยแจ้งข่าวว่าจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกกระทรวงกลาโหมฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบนโยบายติดตามการพัฒนาการกีฬาของกองทัพไทย เพื่อนำไปสู่การเป็นตัวแทนชาติไทยในเวทีระดับโลก เพราะนอกจากจะฝึก "นักรบ" แล้วยังต้องจำเป็นต้องฝึก "นักกีฬา" ให้ไปต่อสู้ในเวทีระดับโลกได้ด้วย โดยเฉพาะกีฬาสมัยใหม่อย่าง "อีสปอร์ต" ซึ่งระดับโลกให้การรับรองแล้วและปัจจุบันได้รับความนิยมจากเยาวชนคนรุ่นใหม่และกำลังพลภายในกองทัพ</p>
<p>ทั้งนี้ได้เชิญผู้แทนจากกองบัญชาการกองทัพไทยเข้ารับนโยบาย เพื่อนำไปปฏิบัติทันที ในการบรรจุกีฬา "อีสปอร์ต" เข้าสู่การแข่งขันในกีฬาของกองทัพไทย และจะต้องพัฒนาไปถึงการแข่งขันระดับโลกเพราะในต่างประเทศให้ความสนใจกีฬาโลกยุคใหม่นี้มาก โดย พล.ต.กฤตพันธุ์ รักใคร่ ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย ได้รับนโยบายและยืนยันว่าสามารถปฏิบัติได้ทันทีตามนโยบายของรัฐมนตรี และมอบหมายให้ทุกเหล่าทัพไปเร่งคัดตัวนักกีฬาที่มีความสามารถเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในงานกีฬากองทัพไทยในปีนี้ ที่มีนักกีฬาจากสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม, กองบัญชาการกองทัพไทย, กองทัพบก, กองทัพเรือ,กองทัพอากาศ และ กองบัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลงแข่งขันมากกว่า 1,000 คนในช่วงเดือน มิ.ย. 2567</p>
<p>"ที่ผ่านมากีฬากองทัพไทยมีเพียง 7 ชนิด คือ ฟุตบอล, ฟุตซอล, แบดมินตัน, เซปักตะกร้อ, กระโดดร่ม, กอล์ฟ ,เปตอง โดยปีนี้คณะกรรมการจัดการแข่งขันรับนโยบายแล้วก็จะบรรจุกีฬา อีสปอร์ต เข้าไว้ในการแข่งขันเป็นชนิดกีฬาที่ 8 ซึ่งปัจจุบันมีการส่งเสริมให้แข่งขันกันในระดับโอลิมปิกและการแข่งขันระดับนานาชาติ และทุกเหล่าทัพของไทยมีการเตรียมนักกีฬาอีสปอร์ตแล้ว โดยได้ส่งไปแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ต่างๆ และประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่ในปีนี้จะเป็นปีแรกที่จะบรรจุเข้าไว้ในกีฬากองทัพไทยเพื่อส่งเสริมนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาลโดยมีเป้าหมาย นำนักกีฬาไทยและธงชาติไทยสู่เวทีระดับโลก"</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107712
 
หน้า:  1 ... 138 139 [140] 141 142 ... 1149
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.865 วินาที กับ 26 คำสั่ง