22 ธันวาคม 2567 16:37:39
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
กระบวนการ NEW AGE
.:::
จิตตปัญญาศึกษา : กระบวนการคิดให้แยบคาย ๑๐ แบบ
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: จิตตปัญญาศึกษา : กระบวนการคิดให้แยบคาย ๑๐ แบบ (อ่าน 2787 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 5162
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0
จิตตปัญญาศึกษา : กระบวนการคิดให้แยบคาย ๑๐ แบบ
«
เมื่อ:
15 มีนาคม 2553 09:06:55 »
Tweet
โดย ดร.
วิรัตน์ คำศรีจันทร์
รองผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหิดล 2549
http://gotoknow.org/blog/reading-transfer/45669
กระบวนการคิดแบบโยนิโสมนสิการ
เป็นการพิจารณาอย่างแยบคายเพื่อเลือกปฏิบัติทางการคิดให้ถูกต้องกับลักษณะ ของโจทย์ที่ต้องการเข้าถึงความจริง ผมศึกษาเอาจากหนังสือของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ แล้วใช้เป็นฐานพัฒนาวิธีคิด เพื่อเป็นเครื่องมือทำงานต่างๆ เช่น การพัฒนาประเด็นคำถามแบบมีโครงสร้าง การพัฒนาประเด็นการสนทนาแบบตารางไขว้ (Matrix Thinking System) เหมือนกับเรามีแบบสอบถามที่ไม่ตายตัวอยู่ในหัว
การสร้างความรู้โดยเฉพาะความรู้และปัญญาที่บูรณาการอยู่กับการปฏิบัติ หากขาดองค์ประกอบที่เป็นกระบวนการภายในของเรา ก็จะทำให้เป็นความรู้ที่แยกส่วนออกจากการปฏิบัติ และแยกส่วนออกจากความเป็นมนุษย์ ดังนั้น การสร้างความรู้ที่ลุ่มลึก จึงควรประกอบด้วย
หัวใจ + สติ + สมอง + และความเป็นจริงภายนอก
ซึ่งการทำความคิดให้แยบคาย หรือกระบวนการโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการทางความคิดอย่างหนึ่ง ซึ่งเราสามารถพิจารณาให้พอเพียงแก่เหตุปัจจัย 10 แบบ
1.คิดแบบสืบสาวปัจจัย
เราสามารถเข้าใจความจริงได้ดีขึ้นโดยศึกษาตัวแทนความเป็นจริงที่ปรากฏ (Proxy variable หรือ Reality Representation) แล้วสืบสาวไปประมาณสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเนื้อ ทว่าต้องเห็นด้วยตัวปัญญา ด้านหนึ่งคือ ลักษณะแบบ
ปฏิโลม
หรือการดูผลที่ปรากฏเพื่อเข้าใจสาเหตุ เป็นการศึกษาแบบถดถอยเข้าหาตัวแปรต้น (Regression) การเข้าใจสิ่งที่ผ่านไปแล้ว เช่น การศึกษาเชิงพัฒนาการ ประวัติศาสตร์เหตุการณ์ เป็นต้น อีกลักษณะหนึ่งคือการคิดแบบ
อนุโลม
ดูความเป็นปัจจุบันในฐานะที่เป็นพลวัตรปัจจัย เพื่อคาดประมาณว่าจะเกิดผลอย่างไรตามมา เป็นการคิดศึกษาแบบคาดอนาคต (Prediction) โดยดูจากสิ่งที่ปรากฏ ณ ปัจจุบันขณะ
2. คิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
เป็นกระบวนการคิดแบบลดทอน เพื่อเข้าใจความเป็นจริงพื้นฐานของปรากฏการณ์หรือสิ่งที่ใหญ่โต หรือสิ่งที่แลดูแบบผิวเผินแล้ว ไม่สามารถแสดงความเป็นจริงได้อย่างครอบคลุมองค์ประกอบทั้งหมดของสิ่งนั้น มีลักษณะการสร้างความจริงแบบวิเคราะห์ (Analytical Thinking) แตกความเป็นจริงของสิ่งนั้นออกไปจนสุดเขตที่จะทอนต่อไปได้อีก ใช้เกณฑ์ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือทอนออกไป (Discrimination) แล้วจึงหาข้อสรุป
3. คิดแบบสามัญลักษณะ
เป็น การคิดเพื่อเข้าถึงลักษณะร่วม หรือความเป็นธรรมดา ความเป็นคุณลักษณะทั่วไป (Normative and Commons) ที่อยู่ภายใต้สิ่งที่ดูเหมือนว่าแตกต่าง หลากหลาย โกลาหล มีลักษณะเป็นการสังเคราะห์ (Synthesis thinking) เป็นการคิดเพื่อสร้างปัญญาและความรู้อธิบายความเหมือนกันของสิ่งที่แตกต่าง ในระดับปรากฏการณ์ ใช้เกณฑ์ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงลักษณะร่วม (Assimilation) แล้วจึงหาข้อสรุป กระบวนการคิดแบบนี้เหมาะสำหรับการหาแบบแผนภายใต้ภาวะความไร้ระเบียบ เช่น เห็นความประสานสอดคล้องของเพลงแจ๊ส เห็นความเป็นระบบภายใต้ความวุ่นวาย โกลาหล เป็นต้น
4. คิดแบบอริยสัจ
เป็นการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผลที่สืบเนื่องเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ทุกข์เป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ นิโรธเป็นผล มรรคเป็นเหตุ ตอนผมเรียนปริญญาโทเทคโนโลยีการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.มงคล เอี่ยมสำอางค์
(ถึงแก่กรรมแล้ว) อาจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ท่านสอนการวิจัยให้พวกผมใช้เทคนิคการคิดแบบนี้ เป็นตารางสี่เหลี่ยมอยู่ในหัว(Quadrant analysis) แล้วพัฒนาการตั้งคำถามและค้นคว้าคำตอบให้ตนเองบนหน้ากระดาษ ทำแล้วทำเล่า จนกลายเป็นเค้าโครงการวิจัย ซึ่งได้ผลเป็นอย่างมาก ผมใช้เทคนิคนี้มาจนกระทั่งบัดนี้ หลายท่านอาจเรียกระบบคิดนี้ว่า
ธรรมวิจัย
5. คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์
ใครที่เก่งวิชาเรขาคณิต หรือนักใช้เหตุผล เช่นนักกฏหมาย หรือนักปรัชญา นักวางแผน นักบริหารแบบอิงวัตถุประสงค์ จะเข้าใจกระบวนการคิดแบบนี้ได้ดีกว่าเพื่อน เพราะเป็นการคิดแบบเชื่อมโยง อิงจุดหมายและหลักการ เพราะจุดหมายและเจตนาเป็นอย่างนี้ เหตุผลและความเป็นจริงทางการปฏิบัติควรเป็นอย่างไร เป็นต้น เครื่องมือการคิดที่เหมาะคือ ตารางที (T-square analysis) หรือตารางเปรียบเทียบ เป็นวิธีสร้างความรู้แบบสร้างเกณฑ์อ้างอิงขึ้นมาก่อน (คล้ายกับการต้องสร้าง Bench Mark หรือ Norm of Reference) แล้วจึงเปรียบต่างๆให้ได้ความจริงที่สัมพันธ์กันอีกด้าน (Comparative method)
6. การคิดแบบคุณโทษและทางออก
เป็นการคิดเชิงตรวจสอบ (Examine thinking) เพื่อเข้าถึงความเป็นจริงของการปฏิบัติต่างๆให้รอบด้าน อย่างรอบคอบ เพื่อสร้างทางออกร่วมกันให้ดีที่สุด มีความเป็นเหตุเป็นผลที่ได้ช่วยกันดู ช่วยกันตรวจตรา เหมาะสมกับการคิดเพื่อหาข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน การคิดที่นำผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดมาคิดร่วมกัน การคิดเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบที่เป็นสิ่งจูงใจและสิ่งขัดแย้งของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องที่มีจุดยืนหลากหลาย (Motivation analysis and Searching for Common Interests)
7. การคิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม
เป็นกระบวนการคิดเพื่อพิจารณาอรรถประโยชน์หรือคิดเพื่อวิเคราะห์ประโยชน์ใช้สอย ให้เข้าถึงคุณค่าพื้นฐานหรือคุณค่าที่แท้ เข้าใจจำแนกแยกแยะประโยชน์เพื่อการใช้สอย และคุณค่าที่แท้ ทำให้ได้หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่เหมาะสมที่พ้นไปจาก ปรากฏการณ์ผิวเผินและความฉาบฉวย
8. คิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม
เป็นกระบวนการคิดหาพลังในการสร้างสิ่งที่เป็นกุศลให้แก่เงื่อนไขที่เผชิญอยู่ เป็นกระบวนการคิดเพื่อครองตนและครองธรรม อยู่โดยธรรม และเผชิญทุกอย่างโดยมั่นในคุณธรรม มั่นในกุศลธรรม หนักแน่น เร้าใจเร้าสติปัญญาตนเองผ่านกระบวนการคิด เป็นกระบวนการคิดแบบนักอุดมคติ หรือคนที่ตั้งมั่นในคุณธรรมของปัจเจก
9. คิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบันขณะ
เป็นกระบวนการคิดแบบไม่คิดแต่เป็นการรู้สึกตรง ซึ่งอธิบายให้เข้าใจตรงความเป็นจริงได้ยาก หากใครเคยฝึกฝนการทำกรรมฐาน หรือทำอาณาปาณสติ เมื่อเป็นหนึ่งอยู่กับลมหายใจได้ จะเข้าใจความคิดแต่ไม่คิดอย่างเป็นปัจจุบันขณะได้ เป็นการคิดที่ส่งการรู้สึกทั่วไปยังทุกสรรพสิ่ง เหมือนกับเราเป็นหนึ่งเดียวกับรถเวลาขับรถ จิตใจเป็นหนึ่งเดียวกับกระบี่ เป็รกระบวนการคิดแบบตื่นรู้ ตื่นตัว เหมาะกับการปฏิบัติด้วยสติและความตื่นตัวที่สุด เช่น การเล่นกีฬา การทำกิจกรรมที่ผิดพลาดไม่ได้แม้แต่น้อย เป็นต้น
10. การคิดแบบวิภัชชวาท
เป็นกระบวนการคิดจำแนกแยกแยะที่เห็นจากวาทกรรม ท่านอธิบายว่าเป็นการคิดผ่านการพูด ซึ่งถ้าใครศึกษางานของมิเชล ฟูโกต์ หรือศึกษางานแนวนิรุกติศาสตร์ของจิตร ภูมิศักดิ์ หรือศึกษากระบวนการทางวาทกรรม (Discourse analysis) ก็พอจะเข้าใจได้ง่าย เพราะการพูดการสื่อสาร เป็นสิ่งที่สร้างความเป็นมนุษย์ (เราจึงจัดว่าสามารถใช้ศึกษาเพื่อเข้าใจความเป็นมนุษย์...มนุษยศาสตร์ได้) ในงานจิตวิทยาการศึกษาสมัยใหม่เช่น ของกานเย (Gange) ก็มีแนวทางอธิบายกระบวนการคิดแบบนี้ไว้ด้วย โดยเขาโต้แย้งนักการศึกษาที่กล่าวว่าการสอนให้จำเป็นการสอนที่ผิดพลาดว่า คนเราถ้าไม่มีข่าวสารเก็บไว้ในหัวก็จะไม่สามารถคิดให้ทะลุ (Break Through) จนเกิดความเข้าใจสิ่งต่างๆได้ ดังนั้นต้องป้อนข้อมูลและพัฒนาการจำก่อน การคิดแบบนี้เหมาะสำหรับการทำการเรียนรู้ให้แตกฉานแล้วคิด คิดแบบคนสดับตรับฟังรู้เรื่องต่างๆมาก คิดแบบพหูสูต..ทำนองนั้น การคิดแบบสุดท้ายนี้ ขาดไม่ได้ที่จะต้องศึกษาอบรมตนแบบ สุ จิ ปุ ลิ
ในทางจัดการความรู้กระบวนการคิด จัดว่าเป็นการประมวลความรู้ภายใน (Internal Knowledge and Information Computation Process)
กระบวนการคิดให้แยบคาย
หรือโยนิโสมนสิการ จึงเป็นการพัฒนาเชิงคุณภาพของการจัดการความรู้อย่างผสมผสานระหว่างความรู้ในตัวเรา (Tacit Knowlege) กับความรู้ภายนอกที่ใช้ร่วมกันของสังคม (Explicit Knowlege) ศึกษาเรียนรู้โดยพิสดารเอาจากหนังสือพุทธธรรมนะครับ ที่ย่อยมาแลกเปลี่ยนนี้ เป็นการเข้าใจของผมซึ่งยังเป็นนักเรียนอยู่ครับ
http://www.ce.mahidol.ac.th/content/index.php?option=com_content&view=article&id=110:2009-06-27-16-11-00&catid=39:2009-06-20-01-04-00&Itemid=46
บันทึกการเข้า
ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
กำลังโหลด...