[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 10:53:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วย ทางพ้นทุกข์  (อ่าน 6707 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2554 20:32:18 »




ทางพ้นทุกข์
เรื่องจากพระไตรปิฎก : พระสูตร

กุมารกสูตร ถ้าพวกเธอกลัวต่อความทุกข์ ... พวกเธออย่างได้ทำบาปกรรม
ทั้งในที่ลับและที่แจ้งเลย


ขณะประทับอยู่ที่พระเชตะวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังเมืองสาวัตถี
ระหว่างทางทอดพระเนตรเห็นเด็กหนุ่มจำนวนหนึ่งจับปลาอยู่
พระพุทธเจ้าตรัสถามพวกเขาว่า “พ่อหนุ่มทั้งหลาย พวกเธอกลัวความทุกข์ ความทุกข์
ไม่เป็นที่ปรารถนาของพระเธอมิใช่หรือ”

เด็กหนุ่มกราบทูลว่า “เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า”
พระพุทธองค์ตรัสสอนพวกเขาว่า
“ถ้าพวกเธอกลัวต่อความทุกข์ ถ้าความทุกข์ไม่เป็นที่รักของพวกเธอ พวกเธออย่างได้ทำบาปกรรม
ทั้งในที่ลับและที่แจ้งเลย ถ้าพวกเธอจะทำหรือกำลังทำ บาปกรรมที่ทำนี้จะตามสนองพวกเธอ
ถึงจะเหาะหนีไปไหนก็ไม่มีทางหลีกพ้นจากความทุกข์เลย”

พระสูตรนี้ชื่อว่า กุมารกสูตร การเบียดเบียนรังแกสัตว์
หรือการทำลายชีวิตสัตว์ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เป็นบาปทั้งสิ้น
วิธีสอนของพระพุทธองค์ง่าย ๆ และได้ผลดี คือทรงสอนให้เอาเขามาใส่ใจเรา
เมื่อนึกว่าเราเองไม่ชอบให้ใครเบียดเบียนรังแกคนอื่น สัตว์อื่น ก็คงไม่ชอบเช่นกัน
คิดได้ดังนี้แล้วก็จะมีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์เหมือน ๆ กัน

พหุธิติสูตร์ มีมาก อยากมาก ทุกข์มาก ไม่มี ไม่อยาก ไม่ทุกข์

โค 14 ตัวของพราหมณ์คนหนึ่งหายไป แกตามหาโคเข้าไปในป่า พบพระพุทธเจ้าประทับนั่งสมาธิอยู่ในป่า
เห็นพระพักตร์อิ่มเอิบด้วยความสุข จึงรำพึงว่าสมณะผู้นี้ท่าทางมีความสุขจริงหนอ พระพุทธเจ้าตรัสแก่เขาว่า

“พราหมณ์เอย โค 14 ตัว ของเราไม่มีเลย แต่ของท่านหายไปได้ 60 นี่แล้ว
ด้วยเหตุนี้เราจึงมีความสุข
งาที่มีใบเลวใบหนึ่งหรือสองใบในไร่เราก็ไม่มี เราจึงมีความสุข
หนูก็ไม่มีมาวิ่งกระโดดโลดเต้นในฉางของเรา เราจึงมีความสุข
เครื่องปูลาดที่ใช้มาตั้ง 7 เดือนที่มีสัตว์อาศัยอยู่ของเราก็ไม่มี เราจึงมีความสุข
พราหมณ์เอย ภรรยาผู้มีบุตรหนึ่งคนหรือสองคนของเราก็ไม่มี เราจึงมีความสุข
แมลงวันตัวที่มาไล่ตอมคนนอนหลับก็ไม่ไต่ตอมเราเลย เราจึงมีความสุข
พราหมณ์เอย ในเวลาเช้า เจ้าหนี้ทั้งหลายก็ไม่มาทวงหนี้เราเลย ด้วยเหตุนี้เราจึงมีความสุข”

พระสูตรนี้ชื่อ พหุธิติสูตร แสดงภาพตรงกันข้ามระหว่างพระพุทธเจ้ากับพราหมณ์ พราหมณ์มีโคและโคหาย
ปลูกงา งาก็ไม่ค่อยงาม ข้าวในฉางก็มีหนูเต็ม เครื่องปูลาดก็มีมดมีไรสิงอาศัย มีบุตรภรรยาจะต้องเลี้ยงดู
เวลานอนก็มีแมลงวันมาไต่ตอม จึงเต็มไปด้วยความทุกข์และกังวล

แต่พระพุทธองค์ไม่มีสิ่งเหล่านี้ จึงทรงมีความสุข
การมีมาก ๆ อยากได้มาก ๆ ก่อให้เกิดทุกข์ ไม่มี ไม่อยากได้จึงจะเป็นความสุขที่แท้
ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่อย่างนี้ก็อดที่จะแสวงหามาปรนเปรอตามประสาปุถุชนไม่ได้

โลกวิปัตติสูตร ถึงคราวสุขก็เพื่อฟูลอย ถึงคราวทุกข์ก็ถอยจม

ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม 8 ประการย่อมหมุนไปตามโลก และสัตว์โลก
ก็หมุนเวียนตามมันไป โลกธรรม 8 ประการคือ

ได้ลาภ - เสื่อมลาภ  ได้ยศ - เสื่อมยศ
สุข - ทุกข์  สรรเสริญ – นินทา

โลกธรรมทั้ง 8 ประการนี้เกิดขึ้นทั้งแก่ปุถุชนคนผู้มิได้เรียนรู้และแก่อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้
ต่างกันแต่ว่าฝ่ายแรกไม่รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์
มีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดาและลุ่มหลงยินดียินร้าย ปล่อยให้มันเข้ามาย่ำยีจิต
ปล่อยให้จิตขึ้นลงไปตามกระแสของมัน ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ มีความโศกและความพิไรรำพันเป็นต้น
ส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ พิจารณาเห็นตามเป็นจริงว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรเปลี่ยนไปตาเป็นธรรมดา ไม่ลุ่มหลงมัวเมา อยู่อย่างมีสติ
ย่อมปราศจากทุกข์ มีความโศกและความพิไรรำพัน เป็นต้น"

พระสูตรนี้ชื่อ โลกวิปัตติสูตร ทรงสอนให้รู้ธรรมดาของชีวิตว่าทุกคนไม่ว่าปุถุชนหรือพระอริยเจ้า
ย่อมพบพาน "โลกธรรม" 8 ประการด้วยกัน แต่การรับรู้แตกต่างกัน
ปุถุชนคนมีกิเลส ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ย่อมฟูหรือยุบไปตามกระแสโลกธรรม
ลุ่มหลง ไม่รู้ตามเป็นจริง
ผลที่สุดก็ไม่พ้นทุกข์

ส่วนพระอริยเจ้าไม่ฟู ไม่ยุบไปตามกระแสโลกธรรม รับรู้ตามเป็นจริงว่ามันก็แค่นั้น
ไม่ติดสมมติบัญญัติ อยู่เหนือโลกธรรม จึงหาความทุกข์มิได้
อาวุธที่สำคัญที่จะต่อกรกับโลกธรรมได้คือ "สติ"
พระอริยเจ้าท่านมีสติตลอดเวลาจึงรู้เท่ารู้ทัน
ปุถุชนถ้าหากหมั่นปลูกสร้างสติเสมอก็จะสามารถรู้เท่าทันยับยั้งใจ
ได้บางครั้งบางคราว แทนที่จะทุกข์มากก็ทุกข์น้อยลง


ขอบคุณข้อมูลจากธรรมะนอกธรรมมาสน์


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2554 20:58:17 »



อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย

ความสงสัยไม่มีวันสิ้นไปได้ ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี ด้วยการคาดคะเน
หรือด้วยการถกเถียงกัน หรือจะอยู่เฉยๆไม่ปฏิบัติภาวนาเลย
ความสงสัยก็หายไปไม่ได้
อีกเหมือนกัน กิเลสจะหายสิ้นไปได้ก็ด้วยการพัฒนาทางจิต
ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น

เมื่อเราปฏิบัติธรรม เราต้องทำใจของเราให้เป็นธรรม ไม่ใช่เอาธรรมะมาตามใจเรา
ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ ทุกข์ก็จะเกิดขึ้น แต่ไม่มีใครสักคนหรอกที่จะพ้นทุกข์ไปได้
พอเริ่มปฏิบัติทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแล้ว หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติ สำรวม และสันโดษ
สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราหยุด คือเลิกนิสัยความเคยชินที่เคยทำมาแต่เก่าก่อน
ทำไมถึงต้องทำอย่างนี้ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ไม่ฝึกฝนอบรมใจตนเองแล้ว
มันก็จะคึกคะนอง วุ่นวายไปตามธรรมชาติของมัน

พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วเป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฎชัดแก่เราได้...?



วิสาขาสูตร

นางวิสาขา มหาอุบาสิกา เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก
นางได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ขวบ
คราวหนึ่งหลานสาวที่รักยิ่งได้ถึงแก่กรรมลง นางเศร้าโศกเสียใจมาก
ร้องไห้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระพุทธองค์ตรัสสอนเธอว่า

“วิสาขา ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 100 ผู้นั้นก็ทุกข์ 100 ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 90 ผู้นั้นทุกข์ 90
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 80 ผู้นั้นทุกข์ 80 ผู้ใดมีสิ่งที่รัก 1 ผู้นั้นก็ทุกข์ 1
ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์
ไม่มีความโศกไม่มีความคับแค้นใจ

นางวิสาขาได้หายเศร้าโศก เพราะพระธรรมเทศนานั้น พระพุทธเจ้าได้เปล่งอุทานว่า

“โศก ปริเทวนา และทุกข์มากหลาย ย่อมมีในโลกนี้เพราะอาศัยสิ่งที่รัก
เมื่อไม่มีสิ่งที่รัก โศกเป็นต้น นั้นก็ไม่มี ผู้ไม่มีสิ่งอันเป็นที่รัก ย่อมไม่มีทุกข์ ไม่มีโศก
เพราะฉะนั้นผู้ไม่ต้องการโศกเศร้าก็ไม่ควรรักสิ่งใด

พระสูตรนี้ชื่อ วิสาขาสูตร สำหรับคนที่มีความรักและมีทุกข์เพราะความรัก

พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วเป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
จะพึงปรากฎชัดแก่เราได้...?

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กุมภาพันธ์ 2554 07:02:34 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2554 21:10:14 »



ทางพ้นทุกข์
จากพระธรรมเทศนา : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

การสำเร็จมรรคสำเร็จผล ไม่ได้สำเร็จที่อื่นที่ไกล สำเร็จที่ดวงใจของเรา
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ท่านวางไว้ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ท่านก็ไม่ได้วางไว้ที่อื่น วางที่กาย ที่ใจของเรานี้เอง นี่เรียกว่า เป็นที่ตั้งแห่งธรรมวินัย
ความที่พ้นทุกข์ ก็จะพ้นจากที่ไหนเล่า คือใจเราไม่ทุกข์ แปลว่าพ้นทุกข์
เพราะฉะนั้น ได้ยินแล้ว ให้พากันน้อมเข้าภายใน
ธรรมะคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า รวมไว้ในจิตดวงเดียว เอกํ จิตฺตํ
ให้จิดเป็นของเดิม จิตฺตํ ความเป็นอยู่ ถ้าเราน้อมเข้าถึงจิตแล้ว
ความสำเร็จอยู่ที่นั้น ถ้าเราไม่รวมแล้ว มันก็ไม่สำเร็จ ทำการทำงาน
ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ต้องรวมถึงจะเสร็จ ถ้าไม่รวมเมื่อไร ก็ไม่สำเร็จ

เอกํ ธมฺมํ มีธรรมดวงเดียว เวลานี้เราทั้งหลาย ขยายออกไปแล้ว
ก็กว้างขวางพิสดารมากมาย ถ้าวิตถารนัย ก็พรรณนาไปถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
รวมเข้ามาแล้ว สังเขปนัยแล้ว มีธรรมอันเดียว เอกฺ ธมฺมํ เป็นธรรมอันเดียว
เอกฺ จิตฺตํ มีจิตดวงเดียว นี่เป็นของเดิม ให้พากันให้พึงรู้ พึงเข้าใจต่อไป
นี่แหละต่อไป พากันให้รวมเข้ามาได้ ถ้าเราไม่รวมนี่ไม่ได้

เมื่อใดจิตเราไม่รวมได้เมื่อใด มันก็ไม่สำเร็จ
นี่แหละ ให้พากันพิจารณาอันนี้ จึงได้เห็นเป็นธรรม เมื่อเอาหนังออกแล้ว
ก็เอาเนื้อออกดู เอาเนื้อออกดูแล้ว ก็เอากระดูกออกดู เอาทั้งหมดออกดู
ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ตับ ไต ออกมาดู มันเป็นยังไง มันเป็นคน หรือเป็นยังไง
ทำไมเราต้องไปหลง เออนี่แหละ พิจารณาให้มันเห็นอย่างนี้แหละ
มันจะละสักกายทิฐิแน่ มันจะละวิจิกิจฉา ความสงสัย จะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้
มันเลยไม่มี สีลพัตฯ ความลูบคลำ มันก็ไม่ลูบคลำ อ้อจริงอย่างนี้

เมื่อเห็นเป็นเช่นนี้แล้ว จิตมันก็ว่าง

เมื่อรู้จักแล้วก็ตัด นี่มันจะได้เป็นวิปัสสนาเกิดขึ้น
อันนี้เรามีสมาธิแน่นหนาแล้ว ทุกขเวทนาเหล่านั้น มันก็เข้าไม่ถึงจิตของเรา
เพราะเราปล่อยแล้ว เราวางแล้ว เราละแล้ว
ในภพทั้งสามนี้ เป็นทุกข์อยู่เรื่องสมมติทั้งหลาย จิตนั้นก็ละภพทั้งสาม

มันก็เป็นวิมุตติ หลุดพ้นไปหมด นี่ละเป็น วิมุตติ แปลว่า หลุดพ้น
จะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ จิตนั้นจะได้เข้าสู่ปรินิพพาน ดับทุกข์ในวัฏสงสาร
ไม่ต้องสงสัยแน่ เวียนว่ายตายเกิดในโลกอันนี้ เรื่องมันเป็นอย่างนี้ วัฏสงสาร
ทำไมจึงว่า วัฏคือเครื่องหมุนเวียน สงสารคือ ความสงสัยในรูป
ในสิ่งที่ทั้งหลายทั้งหมด มันเลย ไม่ละวิจิกิจฉาได้ซี

เดี๋ยวนี้เรารู้แล้ว ไม่ต้องวนเวียนอีก เกิดแล้วก็รู้แล้ว ว่ามันทุกข์ ชราก็รู้แล้วมันทุกข์
พยาธิก็รู้แล้ว ว่ามันทุกข์ มรณะก็รู้แล้วมันทุกข์
เมื่อเราทุกข์เหล่านี้ ก็ทุกข์เพราะความเกิด เราก็หยุด ผู้นี้ไม่เกิด
แล้วใครจะเกิดอีกเล่า ผู้นี้ไม่เกิดแล้ว ผู้นี้ก็ไม่แก่ไม่ตาย ผู้นี้ไม่ตายแล้ว
อะไรจะมาเกิด มันไม่เกิด จะเอาอะไรมาตาย ดูซิ ใจความคิดของเรา
เดี๋ยวนี้เราเกิด เกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ตายอยู่อย่างนี้
 ~ มันก็เป็นทุกข์ไม่แล้วสักที ~




การบวชก็ยาก การยินดียิ่งยาก การครองเรือนไม่ดี เป็นทุกข์
การอยู่ร่วมกับผู้ไม่เสมอกันก็เป็นทุกข์ การท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏก็เป็นทุกข์
ดังนั้นจึงไม่ควรท่องเที่ยวในสังสารวัฏ และไม่ควรหาทุกข์ใส่ตน


ธรรมบท ปกิณณกวรรค

บันทึกการเข้า
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2554 21:33:52 »

วิสาขาสูตร vs วาเลนไทน์

โอ่ยยย ขี้มูกไหล ยากๆๆๆๆๆ แง ช๊อค ช๊อค
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2554 12:28:14 »



ทางพ้นทุกข์
ย่อจาก.. พระธรรมเทศนา : หลวงปู่ชา สุภัทโท

ธรรมชาติของจิตฝึกได้เสมอ

ธรรมชาติของใจนี้มันฝึกกันได้ เอามาใช้ประโยชน์ได้ เปรียบได้กับต้นไม้ในป่า
ถ้าปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติของมัน เราก็จะเอามันมาสร้างบ้านไม่ได้ จะเอามาทำแผ่นกระดานก็ไม่ได้
หรือทำอะไรอย่างอื่นที่จะใช้สร้างบ้านก็ไม่ได้ แต่ถ้าช่างไม้ผ่านมาต้องการไม้ไปสร้างบ้าน

เขาก็จะมองหาต้นไม้ในป่านี้ และตัดต้นในป่านี้เอาไปใช้ประโยชน์ ไม่ช้าเขาก็สร้างบ้านเสร็จเรียบร้อย
การปฏิบัติภาวนาและการพัฒนาจิตก็คล้ายกันอย่างนี้ ก็ต้องเอาใจที่ยังไม่ได้ฝึก

เหมือนไม้ในป่านี่แหละ มาฝึกมัน จนมันละเอียดประณีตขึ้น รู้ขึ้น และว่องไวขึ้น
ทุกอย่างมันเป็นไปตามภาวะธรรมชาติของมัน เมื่อเรารู้จักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ
เราก็เปลี่ยนมันได้ ทิ้งมันก็ได้ ปล่อยมันไปก็ได้ แล้วเราก็จะไม่ทุกข์อีกต่อไป

จิตยึดมั่นมันก็สับสนวุ่นวาย

ธรรมชาติของใจเรามันก็อย่างนั้น เมื่อใดที่เกาะเกี่ยวผูกพันยึดมั่นถือมั่นก็จะเกิดความวุ่นวายสับสน
เดี๋ยวมันก็จะวิ่งวุ่นไปโน่นไปนี่ พอมันวุ่นวายสับสนมากๆเข้า เราก็คิดว่าคงจะฝึกอบรมมันไม่ได้แล้ว
แล้วก็เป็นทุกข์ นี่ก็เพราะไม่เข้าใจว่ามันต้องเป็นของมันอย่างนั้นเอง ความคิด ความรู้สึก มันจะวิ่งไปวิ่งมา
อยู่อย่างนี้ แม้เราจะพยายามฝึกปฏิบัติ พยายามให้มันสงบ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น
มันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เมื่อเราติดตามพิจารณาดูธรรมชาติของใจอยู่บ่อยๆ ก็จะค่อยๆเข้าใจ
ว่าธรรมชาติของใจมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าจมอยู่กับอดีต

พระองค์ทรงสอนให้พิจารณาธรรมทั้งหลาย ที่กายที่ใจของเรา ธรรมะไม่ได้อยู่ไกลที่ไหน
อยู่ที่ตรงนี้ อยู่ที่กายที่ใจของเรานี่แหละ ดังนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง
เอาจริงเอาจังให้ใจมันผ่องใสขึ้น สว่างขึ้น ให้มันเป็นใจอิสระ ทำความดีอะไรแล้วก็ปล่อยมันไป
อย่าไปยึดไว้ หรืองดเว้นการทำชั่วได้แล้ว ก็ปล่อยมันไป
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่กับปัจจุบันนี้ ที่นี้และเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่อยู่กับอดีตหรืออนาคต
คำสอนที่เข้าใจผิดกันมาก แล้วก็ถกเถียงกันมากที่สุด ตามความคิดเห็นของตน

ก็คือเรื่อง "การปล่อยวาง" หรือ "การทำงานด้วยจิตว่าง" นี่แหละ การพูดอย่างนี้
เรียกว่าพูด "ภาษาธรรม" เมื่อเอามาคิดเป็นภาษาโลกมันก็เลยยุ่ง
แล้วก็ตีความหมายว่าอย่างนั้น ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบละซิ
ความจริงมันมีความหมายอย่างนี้ อุปมาเหมือนว่าเราแบกก้อนหินหนัก
อยู่ก้อนหนึ่ง แบกไปก็รู้สึกหนัก แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมันก็ได้ แต่แบกอยู่อย่างนั้นแหละ
พอมีใครบอกว่า ให้โยนมันทิ้งเสียซี ก็มาคิดอีกแหละว่า "เอ...ถ้าเราโยนทิ้งไปแล้ว
เราก็ไม่มีอะไรเหลือน่ะซิ
" ก็เลยแบกอยู่นั่นแหละ ไม่ยอมทิ้ง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กุมภาพันธ์ 2554 16:25:26 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554 16:27:34 »


ประโยชน์ของการปล่อยวาง

ถ้าจะมีใครบอกว่า โยนทิ้งเถอะ แล้วจะดีอย่างนั้น เป็นประโยชน์อย่างนี้ เราก็ยัง
ไม่ยอมโยนทิ้งอยู่นั่นแหละ เพราะกลัวแต่ว่าจะไม่มีอะไรเหลือ ก็เลยแบกก้อนหินหนักไว้
จนเหนื่อยอ่อนเพลียเต็มที จนแบกไม่ไหวแล้วก็เลยปล่อยมันตกลง

ตอนที่ปล่อยให้มันตกลงนี้แหละก็จะเกิดความรู้เรื่องการปล่อยวางขึ้นมาเลย
เราจะรู้สึกเบาสบาย แล้วก็รู้ได้ด้วยตนเองว่า การแบกก้อนหินนั้นมันหนักเพียงใด
แต่ตอนที่เราแบกอยู่นั้นเราไม่รู้หรอก ว่าการปล่อยวางมีประโยชน์เพียงใด

ดังนั้นถ้ามีใครมาบอกให้ปล่อยวาง คนที่ยังมืดอยู่ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจหรอก ก็จะหลับหูหลับตา
แบกก้อนหินก้อนนั้นยังไม่ยอมปล่อย จนกระทั่งมันหนักจนเหลือที่จะทนนั่นแหละ
ถึงจะยอมปล่อยแล้วก็จะรู้สึกได้ด้วยตนเอง ว่ามันเบามันสบายแค่ไหนที่ปล่อยมันไปได้
ต่อมาเราอาจจะไปแบกอะไรอีกก็ได้ แต่ตอนนี้เราพอรู้แล้วว่า ผลของการแบกนั้น
เป็นอย่างไร เราก็ปล่อยมันได้โดยง่ายขึ้น ความเข้าใจในความไร้ประโยชน์ของการแบกหาม

และความเบาสบายของการปล่อยวางนี่แหละ คือตัวอย่างที่แสดงถึงการรู้จักตัวเอง

ถ้ายึดมั่นเข้าเราก็ถูกกัด

เรื่องของใจมันเป็นอย่างนี้ บางทีก็คิดดี บางทีก็คิดชั่ว ใจมันหลอกลวง เป็นมายา จงอย่าไว้ใจมัน
แต่จงมองเข้าไปที่ใจ มองให้เห็นความเป็นอยู่อย่างนั้นของมัน ยอมรับมันทั้งนั้น ทั้งใจดีใจชั่ว
เพราะมันเป็นของมันอย่างนั้น ถ้าเราไม่ไปยึดถือมัน มันก็เป็นของมันอยู่แค่นั้น
แต่ถ้าเราไปยึดมันเข้า เราก็จะถูกมันกัดเอา แล้วเราก็เป็นทุกข์ ถ้าใจเราเป็นสัมมาทิฎฐิแล้ว
ก็จะมีแต่ความสงบ จะเป็นสมาธิ จะมีความฉลาด ไม่ว่าจะนั่งหรือจะนอน ก็จะมีแต่ความสงบ
ไม่ว่าจะไปไหน ทำอะไรก็จะมีแต่ความสงบ

ให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา

วิธีปฏิบัติธรรม
มีมากมายเป็นล้านๆวิธี พูดเรื่องการภาวนาไม่มีที่จบ สิ่งที่จะทำให้เกิดความสงสัย
มีมากมายหลายอย่าง แต่ให้กวาดมันออกไปเรื่อยๆ แล้วจะไม่เหลือความสงสัย
เมื่อเรามีความเข้าใจถูกต้องเช่นนี้ ไม่ว่าจะนั่งหรือจะเดิน ก็มีแต่ความสงบ ความสบาย ไม่ว่าจะ
ปฏิบัติภาวนาที่ไหน ให้มี
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อย่าถือว่าจะปฏิบัติภาวนาแต่เฉพาะขณะนั่งหรือ
เดินเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างทุกหนทุกแห่งเป็นการปฏิบัติได้ทั้งนั้น

ฝึกใจได้ใจจักปราศจากกิเลส

ถ้าท่านปฏิบัติได้อย่างนี้ ท่านก็จะเหมือนกับบ้านว่าง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ นี่คือใจว่าง
เป็นใจที่ว่างและอิสระจากกิเลส
ความชั่วทั้งหลาย เราเรียกว่าใจว่าง
แต่ไม่ใช่ว่างเหมือนว่าไม่มีอะไร มันว่างจากกิเลส แต่เต็มไปด้วยความฉลาด ด้วยปัญญา
~ ฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไร ก็ทำด้วยปัญญา คิดด้วยปัญญา จะมีแต่ปัญญาเท่านั้น ~




ถ้าท่านทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์ ถ้าความทุกข์ไม่เป็นที่รักของท่านทั้งหลายไซร้
ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำบาปกรรม ทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับเลย
ถ้าท่านทั้งหลายจักทำหรือทำอยู่ซึ่งบาปกรรมไซร้
ท่านทั้งหลายแม้จะเหาะหนีไป ก็ย่อมไม่พ้นไปจากความทุกข์เลย


กุมารกสูตร พุทธอุทาน

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554 16:28:48 »



ทางพ้นทุกข์
จากพระธรรมเทศนา : หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วเป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฎชัดแก่เราได้...?


เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาเฉพาะตัวของเราก็อยากจะพ้นจากทุกข์อย่างเดียว ดิ้นรนกระเสือกกระสน
หาอุบายที่จะพ้นจากทุกข์ มันพ้นไม่ได้หรอก คนเราเกิดขึ้นมาทุกคนใครจะพ้นจากทุกข์
ในโลกอันนี้ไม่มี ถึงพระพุทธเจ้าเองหรือสาวกทั้งปวงก็เหมือนกัน วิบากขันธ์ยังอยู่ตราบใด
ไม่พ้นทุกข์ตราบนั้น ที่ท่านพ้นจากทุกข์เพราะท่านรู้เรื่องรู้เหตุของทุกข์นั้นต่างหาก
แต่ถึงขนาดนั้นกองทุกข์ก็ยังมีอยู่ร่ำไป ทุกข์เพราะขันธ์ห้า เมื่อขันธ์ห้านี้ยังมีอยู่ตราบใดแล้ว
ก็ไม่พ้นจากทุกข์ตราบนั้น ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายล้วนเป็นแต่กองทุกข์

ท่านพ้นจากเกิด แก่ เจ็บ ตาย เพราะปัญญาของท่านเฉียบแหลมเฉลียวฉลาดรู้เท่าของเรื่องขันธ์ห้า
ขันธ์ห้าเป็นของติดตามอยู่ตราบใดแล้ว กองทุกข์ก็ยังไม่พ้นอยู่ตราบนั้น ท่านพิจารณาเห็นเหตุ
แห่งกองทุกข์เกิดจากขันธ์ห้า ทุกข์ทั้งหลายหมดในโลกนี้ ถ้ามีขันธ์ห้าตราบใดแล้ว มันต้องทุกข์
อยู่ตราบนั้น เราเป็นปุถุชนคนธรรมดาสามัญ ต้องการพ้นจากทุกข์ คือต้องการผล ไม่ต้องการเหตุ


เหตุให้เกิดทุกข์คือความทะเยอทะยานดิ้นรนได้แก่ตัณหาอย่างทุกวันนี้แหละ ขอให้คิดดูว่า
ความหนาวเกิดจากอะไร ความหนาวที่สัมผัสถูกต้องร่างกาย ความเยือกเย็นกระทบกระเทือนร่างกาย
เป็นเหตุให้เราเดือดร้อนทนทุกข์ทรมานอยู่เดี๋ยวนี้ ใครจะพ้นจากทุกข์ได้ ความอยู่ไม่สุขสบายนั้น
เรียกว่าทุกข์ ความทุกข์นั้นทุกคนก็พากันดิ้นรนอยากจะพ้นจากทุกข์ เช่นหาผ้าห่มมานุ่งมาห่ม
หาเครื่องอบอุ่นมาบำรุงบำเรอเพื่อให้พ้นจากทุกข์ มันพ้นที่ไหนเล่า ผ้าไม่ใช่มันเกิดเอง ไม่ใช่ของ
ทิพย์ มันต้องหาเงินหาทองมาซื้อ
คนที่มีเงินมีทองซื้อก็เข้าใจว่าได้ง่ายสบาย

คนไม่มีเงินไม่มีทอง หาเงินกว่าจะได้ก็ลำบากตรากตรำพอแรงแล้ว ขณะที่หาเงินนั้นฝ่าอุปสรรค
ขัดข้องหลายอย่างหลายประการ ซื้อมาแล้วมานุ่งมาห่มปกป้องความเย็นความร้อน
แล้วความเย็นความหนาวอันนั้นมันหายไปไหนเล่า มันก็ยังอยู่อย่างนั้นแหละ แต่ว่าพออบอุ่น
ไปได้ชั่วครู่ชั่วขณะหนึ่ง ไม่มีใครหายได้สักคนเดียว หาผ้ามาเท่าไรก็หามาเถอะ
อาตมาเคยถูกหนาวมาแล้วห่มผ้า ๔-๕ ผืนก็ห่มไปเถิดไม่อุ่นหรอก ต้องนอนผิงไฟ นอนผิงไฟ
ก็ยังไม่อุ่นอยู่นั่นแหละ อันที่ว่าป้องกันความเย็นความหนาวนั้นป้องกันไม่ได้หรอก

หากไม่หมดฤดูกาลของมันๆ ก็ยังหนาวเย็นอยู่อย่างนั้นตลอดไป แต่คราวนี้พอหนาวหมดฤดูกาล
ของมันแล้วก็ไปหาร้อน ความร้อนนั้นทำยังไงๆ มันก็ไม่หายอีกเหมือนกัน อาบน้ำก็แล้วพัดลมก็แล้ว
ตากอากาศก็แล้ว มันก็ยังร้อนอยู่นั่นแหละ หาเครื่องทำให้มันเย็นเอาพัดลมมาเป่ามันก็ยังร้อน
อยู่อย่างนั้นร่ำไป ที่พูดนี้ว่าแต่ เย็นกับร้อนเป็นทุกข์ คราวนี้ อย่างแก่ อย่างเจ็บ อย่างป่วยอาพาธ
ด้วยประการต่างๆ ก็เป็นทุกข์อีก ถ้ามีเงินมีทองก็ค่อยยังชั่วหน่อย พอแก้ไขบำบัดให้บรรเทาไป

ไม่ใช่หายนะ บรรเทานะชั่วระยะหนึ่งเท่านั้นแหละ ในชั่วชีวิตนี้จะเจ็บป่วยอยู่อย่างนั้นนับไม่ถ้วน
หายไปแล้วเจ็บมาอีก หายอย่างนี้ก็ไปเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด
หมดเงินเปลืองทองไปมากมาย ความเจ็บป่วยนี้เรียกว่าเป็นบางครั้งบางคราว ความเฒ่าทำยังไงๆ
ก็ไม่หาย แม้แต่หมอเอง
ก็แก่ก็เฒ่า หมอเองก็แก่ชรา ความแก่ความเฒ่าความชำรุดทรุดโทรม

ไม่มีใครทำให้หายได้สักคนเดียว ผลที่สุดคือความตาย ต้องตายด้วยกันทั้งนั้น ต่างแต่ว่าตายก่อน
หรือตายหลัง นี่คือความทุกข์อีกเหมือนกัน ทุกข์เพราะหิวกระหายประจำวัน
วันหนึ่งๆ นั้น รับประทานตั้ง ๒-๓ มื้อ หิวกระหายอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา พอหายจากรับประทานใน
วันหนึ่งๆ ในมื้อหนึ่งๆ เข้าใจว่าอิ่มหนำสำราญอยู่เป็นสุข คิดดูว่ากว่าจะได้รับประทานวันหนึ่งมิใช่ของง่ายๆ

เพราะมิใช่ของเกิดเองเป็นเองต้องหาเงินหาทองมาซื้อมาแลกเปลี่ยนถึงจะได้รับประทาน
ทุกข์นี้เราไม่ค่อยจะคิดถึงยิ่งเป็นแม่ครัวด้วยแล้วโอ้โฮยบางทีทำอาหารมากๆ จนเหนื่อยไม่อยาก
รับประทาน
ด้วยซ้ำ แต่ด้วยเหตุจำเป็นมันต้องทำ
นี้ก็เป็นทุกข์อันหนึ่งเหมือนกัน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กุมภาพันธ์ 2554 16:41:48 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554 16:30:06 »



อธิบายเรื่องทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้เพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น เรานอนมากก็เป็นทุกข์ ยืนมากก็เป็นทุกข์
เรานอนเข้าใจว่าได้ความสุขสบาย แท้ที่จริงบำบัดทุกข์เท่านั้นแหละ บำบัดนั้นหมายความว่า
ให้มันหายไปชั่วคราวในเมื่อนอนครั้งแรก บางทีนอนหลับๆ มันก็พลิกตัวไปเพราะเหตุที่มันเหน็ดเหนื่อย
ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้นั้น คนเราต้องการอยากจะพ้นจากทุกข์ฝ่ายเดียวไม่เหมือนพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีมากมายถึงแม้ในปัจฉิมชาติ เมื่อเป็นสิทธัตถะราชกุมารก็อุตส่าห์
บำเพ็ญเพื่อความพ้นจากทุกข์ ทำทุกรกริยาอยู่ถึง ๖ พรรษา กว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้ถึงเหตุของมัน

พอพระองค์รู้เรื่องเหตุของทุกข์คือความทะเยอทะยานอยาก ก็เลยเอามาประกาศแก่พุทธบริษัท
ความทะเยอทะยานอยากเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ยิ่งทะเยอทะยานเท่าไหร่ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น
เปรียบเหมือนกับเชือกรัดขาหมู ธรรมดาเขาผูกหมูต้องเอาเชือกผูกขา หมูมันก็ดิ้นรนใหญ่เชือกก็รัด
จนหนังขาด เนื้อขาด เอ็นขาด จนกระทั่งถึงกระดูกนั่นแหละเพราะความดิ้นรน
ตัวไหนถ้ามันไม่ดิ้นรนเลยคือนอนสบายเสียมันก็ไม่เจ็บขา แต่เขาผูกหมูไว้เพื่ออะไร
ผูกไว้เพื่อฆ่ากิน คือนอนท่าความตายนั่นเอง

คนเราถ้าดิ้นรนเท่าไหร่ก็ยิ่งรัดเข้ายิ่งเดือดร้อนมากเข้า ถ้าไม่ดิ้นรนแล้วคราวนี้นอนท่าความตาย
ก็ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง ไม่มีอะไรเป็นสรณะคอยแต่วันตายเท่านั้น
พระพุทธองค์เมื่อครั้งยังเป็นพระสิทธัตถะราชกุมาร พระองค์ดิ้นรนจนกระทั่งรอดตาย พระองค์ทรง
บำเพ็ญทุกรกริยาอยู่ถึง ๖ พรรษา
จนคนทั้งหลายเข้าใจว่าพระองค์ตายแล้ว จึงประสบหนทางพ้นจากทุกข์

ซึ่งได้แก่การพิจารณาเห็นเหตุ คือตัวสมุทัย เรื่องความทุกข์ต่างๆ พระองค์ไม่แก้หรอก
พระองค์แก้เหตุของทุกข์ ต่างหาก
ที่จริงพระองค์สอนพวกเรา
แต่สอนเท่าไรพวกเราก็ไม่เข้าใจ สอนพวกเราให้เห็นทุกข์และเหตุของทุกข์ เราก็อยาก
พ้นจากทุกข์อย่างเดียว ไม่เข้าถึงเรื่องเหตุของมัน
จึงต้องทนทุกข์เวทนาอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
ทุกๆ คนขอให้พากันพิจารณาถึงเรื่องทุกข์ คนใดถ้าไม่เอาทุกข์มาเป็นอารมณ์ไม่มีทาง
ที่จะพ้นจากทุกข์ได้
คนเราถ้าหากไม่เห็นทุกข์ด้วยตนเองแล้วมันจะเห็นทางพ้นจากทุกข์
ได้ที่ไหน ไม่ว่าคนในชาติศาสนาใดๆ คนมีวิชาอาคมหรือคนฉลาดเฉลียวต่างๆ
จะเป็นชาติไหนๆ ก็เอาเถอะหรือศาสนาใดๆก็เอาเถอะ

ธรรมแท้คือทุกข์ ถ้าตกลงถึงทุกข์ที่สุดต้องได้ประสบการพ้นจากทุกข์
คือทุกข์แค้นแสนสาหัสก็ยอมเสียสละเพื่อทุกข์นั้น ยอมสละหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ความยอมสละ
จึงกลายเป็นความสุข คนเรากลัวตายจึงไม่พ้นจากทุกข์
ถ้าไม่กลัวตายยอมสละเสีย แล้วต่อสู้มันจนถึงที่สุด เห็นความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญย่อมประสบสุข
เหมือนกับคนสู้เสือ ธรรมดาเห็นเสือทีแรกต้องกลัว เมื่อเข้าเผชิญหน้าจริงๆ จังๆ ไม่กลัวแล้ว
คราวนี้ไม่มีอะไรกำปั้นก็สู้กับเสือ ในผลที่สุด ต้องได้รับผลประโยชน์ในการต่อสู้อันนั้น ความทุกข์
ทรมานใครๆ ก็ไม่อยากเห็นมัน แต่ไม่ยอมเสียสละก็เลยไม่ได้พบความสุข

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554 16:33:02 »



ภาษากัมมัฏฐานท่านเรียกว่า ทำจนกระทั่งเหนือตาย ท่านว่าอย่างนั้น ทำจนกระทั่งเหนือตาย
จึงได้พ้นจากตาย คือต้องกล้าหาญต่อสู้เต็มที่ ทำอะไรนิดๆ หน่อยๆ กลัวเป็นทุกข์
นั่งเจ็บนิดหน่อยก็ไม่ได้ พอนานหนักเข้าเดี๋ยวนั่งเหนื่อยเดี๋ยวนั่งง่วงนอน เดี๋ยวนั่งสัปหงก
ลงนอนเสีย เคยตัวคราวนี้ พอนั่งหลับตาทำกัมมัฏฐานสักนิดหน่อยสัปหงกแล้ว
นั่งหลับตาสักนิดหน่อยพอจะเป็นสมาธิภาวนาก็ง่วงคิดถึงการนอน เอาเถิด พักเอาไว้เสียก่อน
เถิด ทีหลังค่อยทำ มาวันหลังเท่าเก่านั่นแหละ พอนั่งเวลาใดถึงเวลานั้น

ก็ถึงเวลาสัปหงกของเก่า
นั่นแหละ ความง่วงนอนของเก่านั่นแหละ เดี๋ยวก็เจ็บเมื่อยของเก่า
ความเจ็บ ความเมื่อย ความสัปหงก ถ้าหากว่าเราทำจนทะลุปรุโปร่งหรือล่วงเลยอันนั้นไป
ตายเป็นตาย ไหนก็จะต้องตายแล้ววันหนึ่งนั่นแหละ ตายกับภาวนาดีกว่า
ตายเวลานี้ดีกว่า เดี๋ยวก็หายจากความสัปหงก ความง่วง ความเมื่อยอันนั้น นั่นเรียกว่า
ต่อสู้เลยความตายไป นี่อธิบายให้ฟังถึงเรื่องความตาย ถึงเรื่องทุกข์ ทุกข์คนเราไม่ต้องการ
ต้องการแต่จะแก้ทุกข์อย่างเดียว ไม่เหมือนพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าก็เหมือนกันกับพวกเรา ท่านมาพิจารณาถึงเหตุของกองทุกข์คือความทะเยอ
ทะยาน ถ้าไม่ทะเยอทะยาน ทุกข์มันก็อยู่อย่างนั้น ทุกข์เป็นเหตุให้ทะเยอทะยาน
ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่ใจเป็นสัมผัสต่างหาก ทุกข์มันเกิดจากสัมผัสอายตนะต่างหาก ครั้นเมื่อละ
ความอยากแล้วสัมผัสก็ไม่มี ความทุกข์ก็เลยหายว่างปลอดโปร่งเลยเป็นใจ
ใจไม่มีทุกข์ก็เลยหมดจากทุกข์ มันอยู่ตรงนั้นแหละตรงที่แก้ได้ อาตมาเคยอธิบายให้ฟังหลาย
ครั้งหลายหนแล้ว จิตผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงแต่งอันนั้นแหละเป็นตัวเหตุ


เมื่อไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่งมัน วางเฉยเสีย ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย อันนั้นเป็นตัวใจ
จิตและใจอันเดียวกันนั่นแหละแต่มีลักษณะต่างกัน
จิตผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่งนั่นแหละที่เป็นเหตุ
ให้ยุ่งเหยิงเดือดร้อนวุ่นวายมาก เมื่อสติเข้าไปคุมจิตเลยไม่คิดไม่ปรุงไม่แต่ง
เก็บตัวปรุงตัวแต่งซึ่งมันเป็นเหตุเท่านั้น มันก็วางความปรุงความแต่งความคิดนึกต่างๆ เข้าไปถึงใจ
ใจคือตัวกลาง สิ่งทั้งปวงหมดถ้าเป็นตัวกลาง เขาเรียกว่าใจ ใจคนก็ชี้เข้ามาตรงหน้าอก

ความเป็นกลางคือว่าไม่คิดส่งไปมาหน้าหลัง ไม่คิดอดีตอนาคต นอกจากใจแล้วไม่มีเลย
ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงแต่งเรียกว่า จิต ผู้อยู่เป็นกลางๆ เรียกว่า ใจ
เราพิจารณาเราปฏิบัติธรรมะก็ปฏิบัติตรงนี้แหละ ตรงเอาสติไปกำหนดให้รู้จักจิตนั่นแหละ
ละจิตได้ปล่อยวางจิตได้ เข้าถึงใจนั่นแหละเป็นอันว่าถูกต้องในธรรมวินัย..เอาละอธิบายเท่านี้




เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน
คือตัณหาผู้สร้างภพ
การเกิดทุกคราว เป็นทุกข์ร่ำไป

นี่แน่ะ นายช่างปลูกเรือน เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึงแล้ว
ซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป

มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา ดังนี้แล


ธรรมบท ชราวรรค



http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=ebu&group=7
ผุ้รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปัน : ebusiness
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 9.0.597.98 Chrome 9.0.597.98


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2554 16:41:30 »


<a href="http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/09.%20Track%209.wma" target="_blank">http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/09.%20Track%209.wma</a>

.................ทางพ้นทุกข์....................


เมื่อโลกสันนิวาส อันไฟ

ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

ลุกโพลงอยู่เป็นนิตย์

พวกเธอทั้งหลายอันความมืด

คือ อวิชชา ปกคลุมแล้ว

ทำไมจึงไม่แสวงหา ประทีป

{คือ ญาณ ปัญญา}

เพื่อขจัดความมืด คือ{อวิชชา} นั้นเสียเล่า


.............................ทำกล่องเสียงให้ ป้า แป๋ม......................
บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

คำค้น: เรื่องจาก พระสูตร พระไตรปิฎก และ พระธรรมเทศนา จากพระอาจารย์  
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.571 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 19 พฤศจิกายน 2567 03:58:24